ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 31

โพสต์

[quote="mprandy


... ดูแค่รูป CSI ก็รู้แล้วว่าเหวนี้ลึกนัก  :8)[/quote]

เห่อๆเห็นรูปนี้ทีเดียวคิดเหมือนกันเลยว่าเหวนี้ยังอีกลึกนัก


Linzhi เขียน:


อยากฟังความเห็นคุณฮงด้วยครับ
น่าจะเป็นประโยชน์มาก เห็นข้อมูลเพียบเลย :wink:
ตอนนี้ผมกำลังรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นก่อนครับว่า
cirsis ที่ผ่านมาเกิดจากอะไร จบตรงไหน และตลาดหุ้นสะท้อนยังไง ซึ้งถ้ารวบรวมได้ครบเดี่ยวผมจะมาสรุปความเห็นของผมให้ฟังอีกทีครับ
ตอนนี้ยังเหลืออีก 1 วิกฤติครับที่ต้องย้อนไปดูก็คือ
saving and loan crisis  ที่ผมขอไปเตรียมคำถามก่อนครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 32

โพสต์

หลังจากอ่านความคิดของหมอเอ็มแล้วผมก็เข้าใจแล้วว่าจริงๆต้องดูที่ Case-Shiller index มากกว่า new single
family home sale


หมอครับผมมีคำถามเบื้องต้นหน่อยครับ

จริงๆแล้วผมว่าปัญหารอบนี้มันหนักเพราะว่ามันไปทำ
cds ซึ้งเป็นอนุพันธ์(ลม)ทีนี้ประเด็นก็คือ อนุพันธ์
มันต้องมีวันหมดอายุถูกไหมครับ อย่างบ้านเรา ก็มี
4 siries ก็คือเดือน 3,6,9,12
ผมว่าตอนนี้ทุกกแบงค์และวาณิชธนกิจที่ถือตราสาร
cds มันคงไม่กล้าที่จะทำเพิ่มแล้วถ้าของเก่าหมดไป

แบบนี้ปัญหาจะน้อยลงการลุกลามเป็นลูกโซ่จะน้อยลงไหมครับ

อาจารย์หมอมองเรื่องนี้ว่ายังไงครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
n_milkka
Verified User
โพสต์: 43
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ขออนุญาติมาเสริมนิดนึงค่ะ

indication อีกตัวก็คือ การซื้อรถ/ ออกรถใหม่ค่ะ
ขอบคุณ อ.หมอนะคะ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ลองมาดูย้อนหลังกันดีกว่าครับว่าเกิดอะไรขึ้น
ในหลายปีก่อนหน้านี้
ต้นเหตุมันก็มาจากไอ้การขาดดุลการค้านั้นแหละครับ
แล้วก็ลดดอกแล้วอสังหก็บูม
แล้วก็โลภมากใช้เกินตัว
คิด cds ขึ้นมาแล้วก็มีคนโลภมากหนักขึ้นไปอีก
ไปรับประกันความเสี่ยง  เฮ้อ จริงๆเลย พี่กันนี้น้า

แล้วก็ไปใช้ hybrid arm โดยไม่สนใจว่าเมื่อดอกเบี้ยลอยตัวแล้วตัวเองจะมีปัญหาผ่อนไหม

ปัญหามันก็เป็นประมาณรูปนี้แหละครับ

รูปภาพ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
to-rich
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ได้ความรู้มากเลยครับกระทู้นี้ มาปูเสื่อรอฟังต่อ :D
อยากถามเพิ่มเติมนิดนึงครับว่า ในบ้านเรามีการเก็บดัชนีที่เหมือนกับ CSI หรือไม่ครับ และอยากรู้ว่ามีใครที่ออกมากล่าวว่าอเมริกาจะเกิดภาวะเช่นนี้ล่วงหน้าบ้างครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 36

โพสต์

[quote="สวนหย่อม"]ระหว่างรอคำตอบจากเซียนๆ ผมขอคั่นเวลาด้วยการเป็นหมอดูนะครับ อิอิ

มั่วๆ ขำๆ ไม่ซีเรียสนะครับ

จากโพสต์ข้างบนดัชนี s&p500 ที่เหมาะสมเมื่อรู้ว่า E น่าจะลดราวครึ่งนึง
ผมคำนวณได้ทีี่ 540 ในขณะที่ถ้า E ไม่ลด จะได้ 950
เนื่องจากตอนนี้ E ที่เลวร้ายยังไม่ออก mr.market ก็เลยน่าจะเลือกไปอยู่
ตรงกลางระหว่าง 2 ค่านี้ ซึ่งก็คือแถวๆ 750 นั่นก็คือลดไป 1/6 จากดัชนีปัจจุบัน
ถ้าเทียบกับ set ปัจจุบันที่ 450 หายไป 1/6 ก็จะเท่ากับ 375 ซึ่งอยุ่ตรงแนวรับ
สำคัญพอดีเลย
:lol:
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 37

โพสต์

hongvalue เขียน: มีคำถามเล็กน้อยคั่นรายการนะครับ
1.ถ้าการที่ libor ขึ้นแรงๆเช่นช่วงก่อนหน้านี้
จะส่งผลต่อ liquidity ในตลาดเงินยังไงบ้างครับ
2.ผมอยากทราบว่าคนที่จะมาโจมตีค่าเงินนั้นเขาทำด้วยวิธีดังนี้ใช่หรือไม่

ถ้าเขาคาดการณ์ว่าค่าเงินเราจะอ่อนมากๆ
เขาก็จะนำเงินบาทที่เขามีอยู่มาซื้อเงินดอลล่าของเรา
และถ้า ธปท มี reserve ไม่พอ ก็จะต้องลอยตัวค่าเงิน

สรุปก็คือค่าเงินอ่อนกับเงินทุนสำรองน้อย
ทำให้ถูกโจมตีค่าเงินใช่ไหมครับ
1. ผมว่า LIBOR ที่ขึ้นไม่ใช่เป็นเหตุที่ทำให้สภาพคล่องมันหดหาย แต่มันเป็นผลของสภาพคล่องที่หดหายไปมากกว่า เพราะ LIBOR เป็น interbank rate การที่มันขึ้นพรวด ๆ แสดงว่า
A. แบงค์ที่ขอกู้ต้องการเงินอย่างยิ่ง (สภาพคล่องแบงค์ตัวเองมีปัญหา ?)
B. แบงค์ที่ให้กู้ไม่ยอมปล่อยกู้ง่าย ๆ (ถือเงินสดไว้ ปลอดภัยกว่า เดี๋ยวปล่อยกู้แล้วแบงค์นั้นล้มไป ซวยเลย)
C. ถูกทั้ง A และ B


แต่ผลที่ตามมาหลังจาก LIBOR ขึ้นสูง ๆ อยู่นานจะกลายเป็นปัญหาใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น ก็เพราะความซับซ้อนของอนุพันธ์การเงิน ตราสารหนี้ทั้งหลาย ที่มีตราสารหนี้จำนวนไม่น้อยเป็น structured note คือผลตอบแทนของตราสารหนี้มันแปรผันไปตามเครื่องชี้วัดอะไรบางอย่าง และเครื่องชี้วัดที่ popular สุดก็หนีไม่พ้น LIBOR นี่แหละ

ถ้าตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย LIBOR+0.5% จากเดิมต้องจ่ายประมาณ 2.8+0.5 = 3.3% ต่อปี กลายเป็น 4.8+0.5 = 5.3% ต่อปี เพิ่มขึ้น 60% ในเวลาสองเดือน :shock:

มีคนประมาณไว้ว่าตราสารหนี้ที่อ้างอิง LIBOR มีอยู่มหาศาลชนิด subprime เป็นของเด็กเล่น

วันนี้มีบทความเกี่ยวกับ LIBOR ในกรุงเทพธุรกิจด้วยครับ สนใจอ่านเพิ่มเติมได้

2. เรื่องโจมตีค่าเงินบาทสมัยต้มยำกุ้ง ก็ใช้วิธีนี้แหละครับ พอมองย้อนหลังไปก็แปลกมากที่เหตุการณ์นี้มีตัวอย่างให้เห็นตั้งแต่ปี 1970 ตอนยกเลิกมาตรฐานทองคำ fixed USD rate แต่ผู้บริหาร ธปท.สมัยนั้นไม่ได้ฉุกคิดตอนเปิดเสรี BIBF
สวนหย่อม เขียน: ผมยังดูไม่ค่อยเข้าใจครับ รบกวนคุณหมอช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ

ดูจากรูปถ้าเทียบว่าปี 2000 มีความสูงเท่ากับ 100
ทำไมในปี 2006 ที่ความสูงเท่ากับ 190 มันจึงสูงขนาดนั้นครับ
ความจริงน่าจะสูงเกินความสูงของปี 2000 ไม่เกินสองเท่า
แต่ดูจากรูปเหมือนจะสูงกว่าราวๆ 4 เท่าทีเดียว
กราฟนี่ใช้ scale แบบไหนเหรอครับ? หรือว่าผมเข้าใจอะไรผิดไป?

แล้วก็จุดเหวที่เหมาะสมน่าจะหมายถึงดัชนี CSI ที่ 90-100 หรือเปล่าครับ?
เฮียอย่าซีเรียสเรื่องรูปครับ มันเป็น scale ที่ทำให้ดูง่าย และดู dramatic หน่อยเท่านั้นเอง ส่วนความเหมาะสม อาจจะไม่จำเป็นต้องลงมาถึง 100 ก็ได้ครับ (ตามทฤษฎีควรจะเป็น 100 เพราะดัชนีปรับตาม inflation แล้ว) ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ CSI สูงได้ เช่น ความต้องการที่อยู่อาศัยในเขตเมือง ถ้ามีการเติบโตของเมืองใหญ่มากขึ้น มีประชากรในเมืองใหญ่มากขึ้นแต่ที่มันมีจำกัดก็ทำให้ราคาสูงขึ้นได้เหมือนกัน

แต่ที่ 180 หรือแม้กระทั่ง 155 มันสูงไป
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 38

โพสต์

mprandy เขียน: 1. ผมว่า LIBOR ที่ขึ้นไม่ใช่เป็นเหตุที่ทำให้สภาพคล่องมันหดหาย แต่มันเป็นผลของสภาพคล่องที่หดหายไปมากกว่า เพราะ LIBOR เป็น interbank rate การที่มันขึ้นพรวด ๆ แสดงว่า
A. แบงค์ที่ขอกู้ต้องการเงินอย่างยิ่ง (สภาพคล่องแบงค์ตัวเองมีปัญหา ?)
B. แบงค์ที่ให้กู้ไม่ยอมปล่อยกู้ง่าย ๆ (ถือเงินสดไว้ ปลอดภัยกว่า เดี๋ยวปล่อยกู้แล้วแบงค์นั้นล้มไป ซวยเลย)
C. ถูกทั้ง A และ B


แต่ผลที่ตามมาหลังจาก LIBOR ขึ้นสูง ๆ อยู่นานจะกลายเป็นปัญหาใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น ก็เพราะความซับซ้อนของอนุพันธ์การเงิน ตราสารหนี้ทั้งหลาย ที่มีตราสารหนี้จำนวนไม่น้อยเป็น structured note คือผลตอบแทนของตราสารหนี้มันแปรผันไปตามเครื่องชี้วัดอะไรบางอย่าง และเครื่องชี้วัดที่ popular สุดก็หนีไม่พ้น LIBOR นี่แหละ

ถ้าตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย LIBOR+0.5% จากเดิมต้องจ่ายประมาณ 2.8+0.5 = 3.3% ต่อปี กลายเป็น 4.8+0.5 = 5.3% ต่อปี เพิ่มขึ้น 60% ในเวลาสองเดือน :shock:

มีคนประมาณไว้ว่าตราสารหนี้ที่อ้างอิง LIBOR มีอยู่มหาศาลชนิด subprime เป็นของเด็กเล่น

วันนี้มีบทความเกี่ยวกับ LIBOR ในกรุงเทพธุรกิจด้วยครับ สนใจอ่านเพิ่มเติมได้

รู้เยอะจริงๆ คนอะไรเนี้ย ชีวิตนี้อ่านหนังสือมากี่เล่มแล้วเนี้ย

ตัวจริงไม่ได้เป็นหมอแต่อยู่แบงค์ชาติใช่ม้า  :lol:  :lol:
55 แซวเล่นเด้อ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ผมขอลงรายละเอียดเรื่องโจมตีค่าเงินเล็กน้อยนะครับ

สมมุติว่า hedgefund คาดว่าค่าเงินเราต้องอ่อน

เขาจะต้องไปกว้านซื้อเงินสกุลบาทมาให้ได้มากที่สุดก่อน

ถูกไหมครับ ไม่งั้นเขาก็จะไม่มีเงินมาถล่มค่าเงินไทย



สมมุตินะครับ ธปท มี เงินอยู่ 1 billion us ที่ exchage rate 25 สรุปว่าแลกเงินบาทได้ทั้งหมด 25000 ล้านบาท
ถ้า hedgefund มันมีเงินบาทที่มันไปกว้านซื้อมาจากไหนก็ไม่รู้อะ (ใครรู้ช่วยบอกหน่อย)ทั้งหมด 40000 ล้าน
ธปท เราก็หน้าตักไม่พอ ต้องลอยตัวให้เป็น 40 บาท
เพื่อที่จะแลกให้มันได้

มันก็ได้กำไรจากค่าเงินที่อ่อนจาก 25 ไป 40 ถูกไหมครับ

ผมจะพยายามถามเป็น case แล้วให้ช่วยเช็กคำตอบแล้วกันนะคับ จะได้ไม่รบกวนเวลาอันมีค่าของอาจารย์หมอมากเกินไป

และสุดท้ายสิ่งที่ reserve บอกก็คือความมั่นคงที่จะไม่ถูกโจมตีค่าเงินถูกไหมครับ และผมอยากถามเพิ่มว่าถ้า reserve มันบอกว่า รวม หรือ หัก swap หมายความว่าไงเหรอครับ


อิอิ จะเก่งเศรษฐศาสตร์ก็คราวนี้แหละตรู
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 40

โพสต์

hongvalue เขียน:ผมขอลงรายละเอียดเรื่องโจมตีค่าเงินเล็กน้อยนะครับ

สมมุติว่า hedgefund คาดว่าค่าเงินเราต้องอ่อน

เขาจะต้องไปกว้านซื้อเงินสกุลบาทมาให้ได้มากที่สุดก่อน

ถูกไหมครับ ไม่งั้นเขาก็จะไม่มีเงินมาถล่มค่าเงินไทย



สมมุตินะครับ ธปท มี เงินอยู่ 1 billion us ที่ exchage rate 25 สรุปว่าแลกเงินบาทได้ทั้งหมด 25000 ล้านบาท
ถ้า hedgefund มันมีเงินบาทที่มันไปกว้านซื้อมาจากไหนก็ไม่รู้อะ (ใครรู้ช่วยบอกหน่อย)ทั้งหมด 40000 ล้าน
ธปท เราก็หน้าตักไม่พอ ต้องลอยตัวให้เป็น 40 บาท
เพื่อที่จะแลกให้มันได้

มันก็ได้กำไรจากค่าเงินที่อ่อนจาก 25 ไป 40 ถูกไหมครับ

ผมจะพยายามถามเป็น case แล้วให้ช่วยเช็กคำตอบแล้วกันนะคับ จะได้ไม่รบกวนเวลาอันมีค่าของอาจารย์หมอมากเกินไป

และสุดท้ายสิ่งที่ reserve บอกก็คือความมั่นคงที่จะไม่ถูกโจมตีค่าเงินถูกไหมครับ และผมอยากถามเพิ่มว่าถ้า reserve มันบอกว่า รวม หรือ หัก swap หมายความว่าไงเหรอครับ


อิอิ จะเก่งเศรษฐศาสตร์ก็คราวนี้แหละตรู
อิอิ ... ถูกครับ
ส่วน reserve เป็นเงินหน้าตัก (เงินสำรอง) ในการแลกเปลี่ยนเงินตราครับ มีทั้งที่เป็นเงินจริง ๆ (เงินที่มีอยู่แล้ว เช่นเงินใน ธปท.เอง, เงินฝากของ ธปท.ในธนาคารต่างประเทศ, พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯลฯ) และเงินที่ "คาดว่า" จะได้มา (หรือเสียไป) ผ่านสัญญาล่วงหน้า เช่นไปทำสัญญาซื้อขายเงินล่วงหน้าเอาไว้ในตลาด Forex ซึ่งจะต้องหักลบกลบหนี้กันในอนาคต

สมัยต้มยำกุ้ง เราเน่าตรง swap นี่แหละครับ เพราะเงินหน้าตักเรามีครบ แต่ต้องไปสู้กับ hedge fund ในตลาด Forex ผลคือเงินเรามีครบ แต่มีสัญญา "ส่งมอบ" USD ล่วงหน้าให้พวก hedge fund อยู่ พอถึงเวลาถ้าเราต้องส่งมอบสุดท้ายเงินหน้าตักเกือบหมดคลัง การดู reserve อย่างเดียวอาจโดนหลอกได้ (เหมือนเราคนไทยโดนรัฐบาลหลอกสมัยนั้น เพราะปริมาณ reserve เท่าเดิม) ต้องดูที่หักลบกลบหนี้ swap ไปด้วยเสมอ สมัยก่อนไม่มีการประกาศส่วน swap ครับ พอเกิดวิกฤตเลยต้องประกาศ คนจะได้ไม่กังวลเรื่องนี้อีก

Hedge fund ไม่ได้ใช้เงินมหาศาลกว้านซื้อเงินบาทมาหรอกครับ เขาก็ทำ swap กู้เงินบาทมาสู้นี่แหละ (เอาเงินเรา มาสู้กับเรา) กู้มา 25 บาท ทำสัญญาแลกไว้ 1 USD ลงท้ายพอลอยตัวแล้วก็เอาไปแลกกลับได้ 40 บาท เอา 25 บาทไปคืน แล้วได้กำไรเนื้อ ๆ 15 บาท

สรุปคือทุกอย่างสู้กันบนกระดาษ และคอมพิวเตอร์ ด้วยสัญญาล่วงหน้า...

การจะถล่มค่าเงินได้ Hedge fund ต้องร่วมมือกันหลายแห่ง เลือก target ประเทศที่มีทุนสำรองไม่มากนัก (สมัยนั้นเรามีหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญ) และต้องมีเชื้อ (เหตุผล พื้นฐานเศรษฐกิจ) ให้คนเชื่อว่าค่าเงินมันสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

จีนใช้ระบบแลกเปลี่ยนคงที่มานานมาก เพิ่งจะปล่อยให้ลอยตัว (แบบน้อย ๆ) ไม่กี่ปีนี้เอง แต่ก็ไม่มีใครกล้าโจมตี เพราะหน้าตักจีนใหญ่มาก (สมัยหลังต้มยำกุ้ง มีประมาณสามสี่แสนล้านเหรียญ ไม่รวมหน้าตักของฮ่องกงที่มีแยกต่างหาก) เลยไม่มีใครกล้ายุ่ง
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 41

โพสต์

hongvalue เขียน: คุณสวนหย่อมผมคิดได้ยินคำนึงว่า
...

ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะทำทีหลังนะครับ
ขอบคุณที่ชี้แนะคร้าบ อ. ฮง    :D  :D
ในยามลมแรง แม้แต่ไก่งวงยังบินได้
แต่เมื่อยามลมพัดหวน ผู้ที่อยู่รอดนั้่นคือพญาอินทรี
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 42

โพสต์

hongvalue เขียน: จริงๆแล้วผมว่าปัญหารอบนี้มันหนักเพราะว่ามันไปทำ
cds ซึ้งเป็นอนุพันธ์(ลม)ทีนี้ประเด็นก็คือ อนุพันธ์
มันต้องมีวันหมดอายุถูกไหมครับ อย่างบ้านเรา ก็มี
4 siries ก็คือเดือน 3,6,9,12
ผมว่าตอนนี้ทุกกแบงค์และวาณิชธนกิจที่ถือตราสาร
cds มันคงไม่กล้าที่จะทำเพิ่มแล้วถ้าของเก่าหมดไป

แบบนี้ปัญหาจะน้อยลงการลุกลามเป็นลูกโซ่จะน้อยลงไหมครับ

อาจารย์หมอมองเรื่องนี้ว่ายังไงครับ
CDO (Collateral debt obligation) ไม่ใช่อนุพันธ์ลมหรอกครับ แต่มันเป็นชื่อของตราสารหนี้อย่างหนึ่ง (เหมือนหุ้นกู้บ้านเรา) ที่เอาสินเชื่อมายำรวมกันแล้วขายออกเป็นตราสารหนี้ (กระบวนการนี้มีชื่อหรู ๆ ที่คนพูดกันบ่อยว่า securitization)

เหตุผลที่สถาบันการเงินผลิต CDO ออกมาก็เพราะว่าเขาต้องการ "หมุน" เงินให้มันเร็วขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินมี margin ในการดำเนินกิจการต่ำ ดังนั้นใครหมุนเงินได้เร็วกว่าก็ได้กำไรมากกว่า

วิธีที่เขาใช้กันก็คือ เอาเงินไปปล่อยกู้ -> เอาสินเชื่อที่ปล่อยกู้มาแปลงเป็น CDO -> เอา CDO ไปขายในตลาดตราสารหนี้ -> ได้เงินสดกลับมา -> เอาไปปล่อยกู้อีก

กลายเป็นวงจรไม่จบสิ้น สถาบันการเงินที่นิยมผลิต CDO ก็คือ investment bank (พวกพี่หมี, เจ้าเล่ห์แมน นั่นแหละ) ส่วนคนที่ซื้อ CDO ก็คือสถาบันการเงิน, ธนาคาร, กองทุนรวมตราสารหนี้, กองทุนบำเหน็จบำนาญ ฯลฯ ที่ต้องการลงทุนแบบความเสี่ยงต่ำหน่อย (คือต่ำกว่าหุ้น แต่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล) ผลตอบแทนมากน้อยแล้วแต่ "ความเสี่ยง" ที่ถูกจัดอันดับโดย Moody's หรือ S&P

กระบวนการซื้อขายตราสารหนี้ แม้จะเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น แต่ก็ยังสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล (ที่ถือว่าไม่มีความเสี่ยง) จึงมีบุคคลที่ 3 เข้ามายุ่งด้วยอีกคนหนึ่งคือ คนที่รับประกันความเสี่ยงนี้ ว่าถ้าเกิดตราสารที่ซื้อมาเกิด "เน่า" คือโดนเบี้ยว คนที่รับประกันจะจ่ายชดเชยให้ คนที่ซื้อตราสารหนี้ที่ต้องการความปลอดภัยก็จะซื้อประกันเอาไว้ โดยมีเบี้ยประกันสูงต่ำแล้วแต่ความเสี่ยงของตราสารที่ซื้อมา เขาเรียกการประกันนี้ว่า credit-default swap (CDS) -> ซึ่งบริษัทประกันอย่าง AIG เข้าไปรับประกันไว้

โดยปกติการทำมาหากินกับ CDS สร้างผลกำไรงามให้บริษัทที่รับประกัน เพราะในสภาวะปกติก็ไม่ต่างกับการรับประกันสินทรัพย์ประเภทอื่นเช่น รถยนต์, บ้าน, ชีวิต ที่โอกาสความเสี่ยงโดยรวมมันไม่มาก เช่นทำประกันรถไว้ 100 คัน อาจจะมีซัก 2-3 คันที่เกิดอุบัติเหตุ ต้องซ่อมหรือจ่ายค่าเสียหาย เทียบกับกำไรจากเบี้ยประกันกินเปล่าจากรถอีก 97 คันแล้วกำไร คิด ๆ ดูแล้วโมเดลนี้ยังไงก็ปลอดภัย

พอเกิดวิกฤตนี้ อุปมาเหมือนอยู่ดี ๆ เกิดแผ่นดินไหวทั้งประเทศ บ้านเมืองเสียหายหมด คนเสียชีวิต รถยนต์พังยับ บริษัทประกันก็อ้วกแตก ต้องจ่ายโลด

เขาเรียกว่า fooled by randomness คือ risk มันอาจจะต่ำมาก แต่ impact มันแทบจะเป็น infinity แล้วยังทำสบายใจ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ขอบคุณทุกๆท่านที่ช่วยให้ความรู้

คุณหมอ mprandy สุดยอดครับ  :cool:
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 44

โพสต์

รูปภาพ

ตรง Fed Fund Rate cut เหลือ 1% น่าจะต้องมีปัจจัยอีกตัวครับที่พิเศษและนักเศรษฐศาสตร์นึกไม่ถึง นั่นคือ...

9/11 Terrorist Attack ครับ เหตุการณ์นั้นทำให้อเมริกาเข้าสู่ recession ระยะหนึ่ง อุตสาหกรรมการบินและการเงินกระทบหนักมาก Fed ลดดอกเบี้ยทีละ 0.5% หลายหน และถี่ยิบจนดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดิน (6.25 -> 1.75% ในปีเดียว) และต่ำอยู่นาน

รูปภาพ

และแล้ว bubble ก็ถือกำเนิดขึ้น...  :8)
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
aonanfield
Verified User
โพสต์: 365
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ขอบคุณความรู้จากทุกท่านครับ
พี่หมอแพรนดี้ ความรู้เศรษฐศาสตร์สุดยอดเลยครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 60

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 46

โพสต์

สมกับเป็นอาจารย์ของหมอเลยนะครับ :cool: คนอะไรไม่รู้เก่งจริงๆ มะนาวต่างดุ๊ด ปลอมตัวมาหรือเปล่าเนี่ย :P
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 47

โพสต์

อย่าชมเลยครับ

เผอิญเหตุการณ์พวกนี้มันเกิดช่วงที่ผมอยู่ที่โน่นพอดี เลยถือเป็น first hand experience ได้เห็นความเป็นมาเป็นไปจากปี 2001-2007

ยังจำได้วัน 9/11 ไม่เป็นอันทำงาน ดูทีวีคิดว่าดูหนัง Hollywood อยู่
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 48

โพสต์

ตามความเห็นของผม ผลกระทบจากวิกฤติรอบนี้
ยังไม่จบอย่างที่อาจารย์หมอพูดก็คือเรื่องราคาบ้าน
และมันยังจะไปกระทบกับ real sector ทีหลังอีก
และรอบนี้ผลกระทบก็โดนก็เยอะมากๆ
บริษัทที่ผ่านสงครามโลก1,2
และ great depression ยังล้ม

ดูๆไปแล้วถ้าเห็นต่างชาติกลับมา net buy ใน q4
นี้ผมว่า เรียกว่า ปาฏิหารย์ได้เลยนะ


เมื่อเช้าอ่านเกี่ยวกับ libor ขึ้นไปถึง 6.88% สูงสุดในรอบ
24 ปี


mprandy เขียน:[1. ผมว่า LIBOR ที่ขึ้นไม่ใช่เป็นเหตุที่ทำให้สภาพคล่องมันหดหาย แต่มันเป็นผลของสภาพคล่องที่หดหายไปมากกว่า เพราะ LIBOR เป็น interbank rate การที่มันขึ้นพรวด ๆ แสดงว่า
A. แบงค์ที่ขอกู้ต้องการเงินอย่างยิ่ง (สภาพคล่องแบงค์ตัวเองมีปัญหา ?)
B. แบงค์ที่ให้กู้ไม่ยอมปล่อยกู้ง่าย ๆ (ถือเงินสดไว้ ปลอดภัยกว่า เดี๋ยวปล่อยกู้แล้วแบงค์นั้นล้มไป ซวยเลย)
C. ถูกทั้ง A และ B



ถ้าตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย LIBOR+0.5% จากเดิมต้องจ่ายประมาณ 2.8+0.5 = 3.3% ต่อปี กลายเป็น 4.8+0.5 = 5.3% ต่อปี เพิ่มขึ้น 60% ในเวลาสองเดือน :shock:

มีคนประมาณไว้ว่าตราสารหนี้ที่อ้างอิง LIBOR มีอยู่มหาศาลชนิด subprime เป็นของเด็กเล่น
ล่าสุด libor มัน 6.88% นิ (กรุงเทพธุรกิจวันนี้)

แล้วแบบนี้ที่บอกว่า libor+0.5%
จากตัวอย่างบอกว่าแค่ 4.8+0.5 ก็เพิ่มขึ้นตั้ง 60%
แล้วตอนนี้มัน 6.88%+.05=7.33%

โอ้ สภาพคล่องหายยาวแน่ๆเลยคราวนี้
หนักหนาสุดๆ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 49

โพสต์

อาจารย์หมอข้อถามเกี่ยวกับเรื่อง libor เพิ่มสองข้อ

1.libor จริงๆมันก็คล้ายกับ rp1วัน บ้านเราใช่ไหมครับ
2.มีคนใช้อัตราส่วนที่เรียกว่า

TEDSPREAD หรือการเอา libor - ด้วยผลตอบแทนจากตั๋วเงินคลัง( t-bill)

เมื่อปี 07 spread ไม่เกิน 50 basispoint

แต่ล่าสุดน่าจะรวมๆ 300 กว่า basispoint

แบบนี้หมายความว่า ยังไงดีครับ

ตีความงี้ได้ไหมครับ บริษัทที่มีเงินอยู่ไม่อยากลงทุน
เพราะต้นทุนเงินกู้สูง สูงเอาไปซื้อพันธบัตรดีกว่า

และประเด็นนี้จะนำมาสู่ปัญหาภาค real sector
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 50

โพสต์

hongvalue เขียน:อาจารย์หมอข้อถามเกี่ยวกับเรื่อง libor เพิ่มสองข้อ

1.libor จริงๆมันก็คล้ายกับ rp1วัน บ้านเราใช่ไหมครับ
2.มีคนใช้อัตราส่วนที่เรียกว่า

TEDSPREAD หรือการเอา libor - ด้วยผลตอบแทนจากตั๋วเงินคลัง( t-bill)

เมื่อปี 07 spread ไม่เกิน 50 basispoint

แต่ล่าสุดน่าจะรวมๆ 300 กว่า basispoint

แบบนี้หมายความว่า ยังไงดีครับ

ตีความงี้ได้ไหมครับ บริษัทที่มีเงินอยู่ไม่อยากลงทุน
เพราะต้นทุนเงินกู้สูง สูงเอาไปซื้อพันธบัตรดีกว่า

และประเด็นนี้จะนำมาสู่ปัญหาภาค real sector
1. LIBOR จริง ๆ ควรจะเทียบกับ interbank rate ระหว่างธนาคารพาณิชย์มากกว่า เพราะ RP เป็นอัตราที่ประกาศโดย ธปท.

2. TED ตอนนี้มันกว้างก็เพราะว่า LIBOR มันพุ่งกระฉูด ในขณะที่ T-bill มันลดฮวบ
รูปภาพ
โดยทั่วไป spread กว้างอย่างนี้หมายถึงสภาพคล่องมันแย่มาก แถมคนมีเงินก็ไม่มั่นใจ กลัวปล่อยกู้ไม่ได้เงินคืน เพราะ
- คนหนีไปซื้อ T-bill กันหมดเนื่องจากทั่วไปถือว่าพันธบัตรสหรัฐปลอดภัยสุด พอแย่งกันซื้อก็ทำให้ yield มันต่ำลง
- LIBOR สูง อันนี้ว่ากันไปแล้ว
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ใครคิดว่าผิดถูกอย่างไรช่วยผมชี้แนะด้วยนะครับ

ผมขอแสดงความเห็นสรุปตั้งแต่ที่คุยกัน มาสองหน้า

พักยกก่อนนะครับ เดี่ยวต่อยก 2

ส่วนตัวผมมองว่าปัญหารอบนี้ดูแล้วแก้ยากและส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อนๆ

อย่างรอบ stagflation ดูเหมือนทางแกปัญหาไม่ยากจนเกินไป ตอนที่
reagan เข้ามาแล้วลดภาษีมโหฬาร
และปัญหาเกิดจากคนไม่มั่นใจค่าเงินสหรัฐเลยไปถือทองแทนนำไปสู่การที่สหรํฐมีปัญหาเรื่องค้าเงิน

ส่วนตัวมองว่าปัญหาครั้งนั้นไม่น่าจะกระทบเยอะเหมือนรอบนี้ เนื่องจากรอบนี้การทำ cdo cds ทำให้บริษัทประกันล้ม(เพราะไปรับประกันความเสี่ยง) บริษัทประกัน
มีผลต่อคนทั้งประเทศ รัฐก็ต้องเข้ามาอุ้ม
ซึ้งปัญหาครั้งก่อนๆไม่น่าทำให้บริษัทใหญ่ๆอย่างนี้ล้มได้
ในพริบตา และเท่าที่ดูคิดว่าปัญหาครั้งก่อนๆเศรษฐกิจ usa มีผลต่อ เศรษฐกิจโลกไม่เท่ากับ
ภาวะปัจจุบัน


เพราะฉะนั้นการล้มรอบนี้น่าจะรุนแรงกว่าเพราะว่าวิณิชธนกิจของ usa มีการทำธุรกิจกับประเทศต่างๆทั่วโลก

ไม่เหมือนสองครั้งก่อนที่ดูแล้วไม่น่าจะกระทบทั้งโลกหนักเท่ารอบนี้ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ตัว usa เองที่คนไม่เชื่อถือ (stagflation) เงินสกุลดอลจึงไปซื้อทอง
ส่วนรอบ great depression อ่านความเห็นอาจารย์หมอแล้วดูเหมือนจะมองว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจ usa ไม่ได้รับ
ผลกระทบจากสงครามและโตเยอะทำให้ลงมา
ก็ไม่น่ากระทบกับทั่วโลกเท่ารอบนี้

รอบนี้แบงค์ของประเทศใหญ่ๆ ล้มกันเป็นแถบๆ

ส่วนตัวมองว่าหุ้น dow jone รอบนี้คงจะ  :vm:


ใครมีความเห็นยังไงบ้างอะ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 52

โพสต์

naris เขียน: มะนาวต่างดุ๊ด :P

ผวนว่า มนุษย์ต่างดาว
aonanfield เขียน: พี่หมอแพรนดี้
ผวนว่า  พี่หมีแพนด้า

:lovl:


ตกลงเป็น แพนด้าต่างดาวแล้วกันนะ ก๊ากกกกกกก

:rofl:  :rofl:
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ช่างสังเกตจังนะครับ  :lol:  :lol:
ในยามลมแรง แม้แต่ไก่งวงยังบินได้
แต่เมื่อยามลมพัดหวน ผู้ที่อยู่รอดนั้่นคือพญาอินทรี
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 54

โพสต์

หมอครับ

ปัญหาส่วนนึงเกิดจาก

hybrid arm ที่ถึงช่วงลอยตัวดอกเบี้ยทำให้คนผ่อนไม่ไหวและทิ้งบ้านซะ

แบบนี้ถ้า fed เดินหน้าลดดอกเบี้ยลงไป

ก็ช่วยได้ระดับนึงปะครับ


อ.หมอคิดว่าการลดดอกเบี้ยช่วยได้แค่ไหนครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ถามอาจารย์เพิ่มอีกข้อ

สมมุติว่าอาจารย์มองว่าปัญหา subprime ยังไม่จบ

จะทำยังไงกับ port ครับ

ระหว่าง

1.ทยอยซื้อหุ้นที่เห็นว่ามี mos สูงแล้วเพราะไม่มีใครรู้จุด
bottom

2.รอจนกว่าจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวของ usa แล้วค่อยลงมือ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
Quantum of Solace
Verified User
โพสต์: 155
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 56

โพสต์

หมอครับ ความรู้สุดยอดมาก อยากให้พี่ริวกะ มาแจมกระทู้นี้อีกคน

หมอว่า หลังจาก 9/11 แล้ว อเมริกา ส่งทหารไปรบที่อัฟกัน กับที่อิรัก
นี่ส่งผลแค่ไหนครับ เพราะผงาญเงินไปไม่น้อยทีเดียว

ผมว่า ที่ถามๆกันว่า วิกฤตครั้งนี้ใครได้เงินไป ผมว่า รัฐบาลเมกัน ต้องมีเอี่ยวแน่นอน ด้านภาษี จากเงินที่มันหมุนฟูฟ่องในระบบ มา 6-7 ปี
รัฐก็ชักส่วนนึงเข้ากระเป๋า แล้วก็เอาไปเผากับ ยุทโธปกรณ์ เข่นฆ่าคน

หมอว่าเกี่ยวมั้ยครับ

อีกมุม คือ พวก terrorist อัล เคด้า นี่มีโอกาส manipulate ระบบเศรษฐกิจในช่วง 6-7 ปีหลังจาก 9/11 มั้ยครับ แบบว่าค่อยๆปั่นราคาน้ำมัน เอาเงินที่ได้ไปลงทุนในระบบการเงิน อย่างที่หมอเล่าให้ฟัง ค่อยๆปั่นฟองสบู่ไป
ตังค์ก็ได้มากขึ้น พอได้จังหวะ ก็ชักดาบ เบี้ยวหนี้ ทำให้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกระทบกันเป็นลุกโซ่ จนลุกลามอย่างปัจจุบัน

หมอคิดเห็นว่าไงครับ

คือผมคิดเอาเองทั้งสิ้น ยังกะนิยาย ไม่มีข้อมูล back-up ใดๆทั้งสิ้น
เมกาก็ไม่เคยไปนะครับ อยากให้หมอช่วยcomment ด้วย
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 57

โพสต์

chatchai เขียน: http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000121877

หรือว่าวิกฤตสถาบันการเงินจะจบลงแล้ว

อาจาร์ยหมอคิดว่าการที่รัฐบาลทั่วโลกรวมตัวกันแก้ปัญหาครั้งนี้ ถือว่าแก้ได้ตรงจุดดีไหมครับ dow บวกตั้ง 900 จุด
เลย

ถามความเห็นหน่อยสิครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 60

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ถ้าดูจากข้อมูลดอกเบี้ยที่ไม่สมดุลย์กัน คงจะอุปมาได้เหมือนค่าเงินบาทoff-onเราเมื่อปีที่แล้ว ที่ต่างคนต่างมองสวนทางกัน ทางผู้รู้คงมองเห็นว่าถ้าไม่แทรกแทรงดอกเบี้ยโดยเป็นผู้ปล่อยกู้เอง ดอกเบี้ยระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดวิกฤตถึงรากหญ้าโดยตรง ถ้าเมื่อถึงตอนนั้นปัญหาคงยากจะเยียวยา
แต่คราวนี้อยากถามอาจารย์หมอ หรือน้องฮง ด้วยครับว่าพอมีข้อมูลเปรียบเทียบคร่าวๆว่ายอดเงินการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคราวนี้จะเพียงพอหรือไม่ ถ้ารู้ว่าพอ ผมว่าวิกฤตครั้งนี้คงจะไม่บานปลาย และน่าจะเป็นจุดซื้อที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าไม่เพียงพอ ก็อาจจะเกิดการคิดแย้งเหมือนค่าเงินบาทเราครั้งนั้น ท้ายที่สุดความเชื่อมั่นยังไม่เกิด ตลาดก็น่าจะผันผวนต่อไป และหุ้นคงจะมีโอกาสซื้ออีกนานทีเดียว :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 59

โพสต์

hongvalue เขียน:ถามอาจารย์เพิ่มอีกข้อ

สมมุติว่าอาจารย์มองว่าปัญหา subprime ยังไม่จบ

จะทำยังไงกับ port ครับ

ระหว่าง

1.ทยอยซื้อหุ้นที่เห็นว่ามี mos สูงแล้วเพราะไม่มีใครรู้จุด
bottom

2.รอจนกว่าจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวของ usa แล้วค่อยลงมือ
ตอบข้อนี้ก่อนเพราะง่ายสุดในความเห็นของผม  :8) ความเห็นนี้ไม่มีถูกผิด ต่างคนต่างมีความคิดของตนเองครับ

ผมเลือกข้อ 1 และเลือกเดินทางนี้มาตลอด ตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมาจนถึงต้นเดือนนี้ผมก็ซื้อ จะมีเว้นก็ช่วงสามวันปลายสัปดาห์ที่แล้วที่หุ้นตกหนัก ๆ ดันไม่อยู่ซะนี่ :x

ส่วนข้ออื่นเดี๋ยวมาแจมใหม่ครับ

ป.ล. การลงทุนเป็น individual judgment นะครับ ผมใช้วิธีนี้เพราะเป็นวิธีที่ผมสบายใจมากที่สุด แม้พอร์ทจะติดลบแต่ผมก็เฉย ๆ ผมไม่ได้เร่งตัวเองโดยตั้งเป้า return rate มากมายอะไร แล้วเป้าหมายผมก็ยาวพอที่ผมจะบรรลุเป้าหมายได้ กิจการที่เราลงทุนไม่ได้เปลี่ยนแปลงรายวันตามราคาหุ้นในตลาดนิ (อันนี้ยกเว้นใครลงทุนใน บ. broker)
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 60

โพสต์

hongvalue เขียน:หมอครับ

ปัญหาส่วนนึงเกิดจาก

hybrid arm ที่ถึงช่วงลอยตัวดอกเบี้ยทำให้คนผ่อนไม่ไหวและทิ้งบ้านซะ

แบบนี้ถ้า fed เดินหน้าลดดอกเบี้ยลงไป

ก็ช่วยได้ระดับนึงปะครับ


อ.หมอคิดว่าการลดดอกเบี้ยช่วยได้แค่ไหนครับ
ช่วยได้ครับ แต่ควรช่วยหรือเปล่านั่นอีกเรื่องนึง เพราะมีคนกู้จำนวนไม่น้อยกู้มาเพื่อขายต่อ (ฟองสบู่) แต่ถ้ามองภาพกว้างเรื่องเศรษฐกิจ การลดดอกเบี้ยอาจจะดีขึ้น

อีกอย่างคือการลดดอกเบี้ยมีผลช้า กว่าจะเกิดผลก็หลายเดือน แล้วถ้าปรับมากไปจะเกิดฟองสบู่ใหม่ขึ้นมาอีก (แม้ว่าจะยากขึ้น) นอกจากนี้การปรับดอกเบี้ยของเฟดแต่ละทีมีคนจ้องอยู่เยอะ ทั้งตลาดเงินและตลาดทุน ถ้าจำได้ตั้งแต่สมัย Greenspan ขนาดแกไปรายงานในคองเกรสตามปกติทุก 3 เดือน ยังถ่ายทอดสดกันเลย เอาทุกคำพูดมาแปลว่าไอ้ที่ว่ามันหมายความว่ายังไง (แกพูดทีหุ้นขึ้น หรือหุ้นตกได้เลย) การขยับตัวของเฟดจึงมีผลทางจิตวิทยาผสมไปมากกว่าผลที่เขาตั้งใจจะให้เป็น (หรือเขาอาจจะตั้งใจให้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้วมั๊ง)
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------