โลกจ่อลงดอกเบี้ยกระตุ้นศก.

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 1

โลกจ่อลงดอกเบี้ยกระตุ้นศก.

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2360 25 ก.ย.  - 27 ก.ย. 2551

โลกจ่อลงดอกเบี้ยกระตุ้นศก.

   เฮดจ์ฟันด์ฉวยวิกฤติสถาบันการเงินสหรัฐฯ เขย่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งทองคำ -น้ำมันขึ้น ลงผันผวนรายวัน วงการเงินจับตาผลกระทบต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกเข้าสู่ ขาลง ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เห็นพ้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเชิงรุกมากขึ้น ธปท.ยันยังไม่จำเป็นต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ แจงเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นยังเป็นไปตามทิศทางของค่าเงินในภูมิภาค คาดจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในปีหน้า


       วิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐฯที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน-ทุนทั่วโลก

       คาดกันว่าจะมีผลต่อเนื่องถึงปี 2552 โดยขณะนี้ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ 1. สภาพคล่องตึงตัว 2. ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำและราคาน้ำมันจากการที่นักลงทุนโยกเงินเก็งกำไรแทนดอลลาร์ที่ กำลังอ่อนค่า เพราะไม่เชื่อมั่นว่าเม็ดเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯจะแก้สถานการณ์ได้ 3. แนวโน้มนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่จะปรับลดลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางหลายประเทศใช้วิธีอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเพื่อแก้ปัญหา สภาพคล่องตึงตัว

       ต่อกรณีดังกล่าว ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวยืนยันว่า สภาพคล่องในระบบยังเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม และยังไม่ได้มีปัญหาเงินทุนไหลออก โดยขณะนี้ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีสถาบันการเงินในสหรัฐฯบางแห่งมีปัญหา ได้ส่งผลให้มีสัญญาระหว่างกันของคู่ค้าบางสัญญาที่ต้องทำการส่งมอบเงินตาม สัญญา จึงมีเงินที่ไหลเข้าและออกตามสัญญาดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดในขณะนี้

       ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทในระยะต่อไปมีความผันผวน ธปท.ก็จำเป็นต้องเข้าดูแล

       อนึ่ง เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเปิดตลาดที่ระดับ 33.80-33.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปิดตลาดที่ระดับ 33.75-33.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในวันเดียวกันนี้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน ขณะที่วันก่อนหน้า (22 ก.ย.) ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.03-34.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปิดตลาดที่ระดับ 33.90-33.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

       นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 19-21 กันยายนที่ผ่านมา ธปท. เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาและประชุม SEANZA (Southeast Asia ,New Zealand and Australia ประกอบด้วย ธนาคารกลางสมาชิกจากออสเตรเลีย บังกลาเทศ จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเก๊า มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา และไทย) โดยมี ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท.เป็นประธานการสัมมนา

       โดยมีผู้ว่าการผู้แทนธนาคารกลางสมาชิก SEANZA จาก 20 สถาบัน รวมทั้งนาย Jaime Caruana ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการฝ่ายตลาดเงินและตลาดทุน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งในปีนี้สัมมนาในหัวข้อ"การเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมทางการเงินและนัย ต่อการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง "

       ดร.วชิรา อารมณ์ดี ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท. (ธปท.) กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจจะต้องให้ความสำคัญในการประเมิน และการวัดความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจการเงินที่มีความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ยังควรมีการดำเนินนโยบายเชิงรุกและเลือกใช้นโยบายที่มีความผสมผสาน มากขึ้นด้วย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในระบบทั้งในช่วงเศรษฐกิจ ขาขึ้นและขาลง โดยการดำเนินนโยบายนั้น ควรดำเนินนโยบายการเงิน การคลัง ควบคู่ไปกับนโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงิน

       นอกจากนี้ที่ประชุมยังเน้นเรื่องความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงาน เศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศ และในสถานการณ์ที่ตลาดการเงินโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธนาคารกลางควรทำการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีความพร้อมในการดำเนินนโยบายอย่างทันกาล ภายใต้การคำนึงถึงหน้าที่หลักของธนาคารกลางที่เน้นรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจใน ระยะยาว

       อย่างไรก็ตาม พบว่าวิกฤติในครั้งนี้ส่งผลต่อในภูมิภาคไม่มากนัก เนื่องจากแต่ละประเทศในภูมิภาคได้มีการทำธุรกรรมทางการเงิน กู้ยืมเงิน / ลงทุน โดยตรงกับสถาบันการเงินที่มีปัญหาน้อยมาก ผลกระทบระยะสั้นจึงจำกัด แต่แนวโน้มผลกระทบในระยะยาวอาจเพิ่มมากขึ้น หากเศรษฐกิจโลกชะลอลง

       ต่อกรณีผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินสหรัฐฯ ในประเด็นผลต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่กำลังเข้าสู่ขาลงนั้น ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกกำลังเข้าสู่ขาลง เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.75% ไปจนถึงสิ้นปีนี้ แต่หลังจากนั้นจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้า (ปี 2552) แต่เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆได้ปรับลด ลงไปแล้ว ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ นั้น คาดว่าหลังจากที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 3-4 เดือน ดอกเบี้ยแบงก์จึงจะปรับลดตาม

       นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายประเทศ จะปรับลดลงได้ในอนาคต เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกที่เผชิญความเสี่ยงถดถอย ซึ่งผลจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักๆที่ปรับลดลง จะทำให้ธนาคารในภูมิภาคเอเชียต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม

       ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น จีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะ 1 ปีลง 0.27% จาก 7.47% เป็น 7.20% ธนาคารกลางสหรัฐ ฯ(เฟด) เพิ่งคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.0%
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
โพสต์โพสต์