คุยคุ้ยเรื่อง Lehman Brother AIG และ สถาบันการเงินสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanosec
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 148
ผู้ติดตาม: 0

คุยคุ้ยเรื่อง Lehman Brother AIG และ สถาบันการเงินสหรัฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมได้ยินว่าสหรัฐได้เข้าอุ้ม รับซื้อหนี้จากสถาบันการเงิน เลยทำให้นักลงทุนคลายความกังวลกัน แต่ส่วนตัวผมอดนึกไม่ได้ว่า แล้วตัวรัฐบาลสหรัฐนี้พอเข้าไปอุ้มแล้วจะเอาเงินมาจากไหนหรอคับ หรือจะออกพันธบัตรขายเพิ่ม แล้วจะมีผลกระทบต่อสหรัฐกับโลกอย่างไรคับ

คำถามคือ ข้อดีและข้อเสียผลกระทบของการเข้าไปอุ้มของสหรัฐ พี่ๆๆ น้องๆๆ มีมุมมองว่าอย่างไรกันบ้างคับ ส่วนตัวยังมองภาพรวมยังไม่กว้างพอ ลองมาแชร์ไอเดียกันดูคับ
anakinnet
Verified User
โพสต์: 520
ผู้ติดตาม: 0

คุยคุ้ยเรื่อง Lehman Brother AIG และ สถาบันการเงินสหรัฐ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

(เดาว่า..) พิมพ์แบ้งค์เพิ่ม ไม่ต้องเอาทองไปค้ำ ประเทศเดียวในโลก ดอลฯ คงอ่อนต่อ คนที่ถือดอลฯ คือ ผู้สนับสนุนการอุ้มหลักอย่างเป็นทางการครับ
In the long run, We are all dead.
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

คุยคุ้ยเรื่อง Lehman Brother AIG และ สถาบันการเงินสหรัฐ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คุณเบนพูดโดนใจจังครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
Asylum
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

คุยคุ้ยเรื่อง Lehman Brother AIG และ สถาบันการเงินสหรัฐ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Article จาก Prachachart Turakij, ลองอ่านหน่อย

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4038

วิกฤตการณ์สถาบันการเงินในอเมริกากับ ข้อพึงระวังในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยวิธี Basel II
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

ผม ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กล่าวถึง วิกฤตการณ์สถาบันการเงินของอเมริกาในขณะนี้ว่าปัญหาของ American Insurance Group (AIG) ที่อเมริกาจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงิน AIG ในเมืองไทย โดยท่านให้เหตุผลในลักษณะที่ว่าสถาบันการเงิน AIG ในเมืองไทยมีตัวเลขอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ BIS ratio สูงถึงร้อยละ 24 ดังนั้น แม้มีการถอนเงินจากประชาชนบ้างก็ไม่กระทบต่อฐานะของ AIG ในเมืองไทย

หลาย คนคงสบายใจขึ้น (โดยเฉพาะผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินดังกล่าว) เมื่อได้ยินคำให้สัมภาษณ์ดังกล่าว โดยผู้ฝากเงินน่าจะมีความมั่นใจ (ในระดับหนึ่ง) ว่า มูลค่าเงินกองทุนที่สูงถึงหนึ่งในสี่ของสินทรัพย์เสี่ยงจะสามารถเป็นกันชน รองรับความเสียหายจาก AIG ที่อเมริกาได้ แม้จะมีปริมาณความเสียหายมากน้อยเพียงใดก็ตาม ในทางกลับกันโดยส่วนตัวผมเชื่อว่าคงยังมีอีกหลายคน (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในแวดวงบริหารความเสี่ยง) จะตั้งข้อสังเกตกับตรรกะของเหตุผลดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งประการที่จะกล่าว ถึงในช่วงท้ายของบทความ แต่ก่อนไปถึงจุดนั้น ผมขอเล่าถึงขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งตัวเลขอัตราส่วน BIS ดังกล่าวอย่างคร่าวๆ

ใน ขณะนี้สถาบันการเงินของเมืองไทยกำลังจะมีระบบบริหารความเสี่ยงที่เทียบเท่า มาตรฐานสากลที่เรียกว่า Basel II (วิธีมาตรฐาน) ในสิ้นปีนี้อย่างเป็นทางการ ด้วยมาตรฐานดังกล่าวในทางทฤษฎีเราน่าจะเห็นสถาบันการเงินของไทยมีภูมิคุ้ม กันต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทางเศรษฐกิจทั้งจากภายในและภายนอกประเทศได้ดี มากกว่าเดิม รวมถึงกรณี Lehman Brothers หรือ AIG ที่กำลังมีปัญหาในอเมริกา อย่างที่ทุกคนทราบกัน

โดยขั้นตอนที่จะได้ มาซึ่งตัวเลขอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยทำการคำนวณและวิเคราะห์ด้วยวิธี Basel I หรือ Basel II ที่รับมาจาก Bank for International Settlements (BIS) แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละธนาคาร โดยวิธี Basel I นั้นมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยง สามารถคำนวณโดยใช้ตัวเลขที่เรียกว่าน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ (risk-weight) คูณกับมูลค่าสินทรัพย์นั้นของธนาคาร โดยตัวเลขน้ำหนักความเสี่ยง จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่นำมาพิจารณายก ตัวอย่างเช่น เงินสด มีน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับศูนย์ ในขณะที่สินเชื่อที่เป็น NPL จะมีน้ำหนักความเสี่ยงอย่างน้อยร้อยละ 50

สำหรับ Basel II นั้นแบ่งออกเป็น 2 วิธี โดยวิธีแรกที่เรียกกันว่าวิธีมาตรฐาน สามารถทำการคำนวณด้วยวิธีที่คล้ายๆ กับ วิธี Basel I แต่จะมีจุดต่างกันตรงที่การแบ่งระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ของ Basel II วิธีมาตรฐานมีความละเอียดและสามารถสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สินทรัพย์ที่มีหลักประกันทางธนาคารสามารถนำหลักประกันดังกล่าวไปหักออกจาก สินทรัพย์นั้นๆ ก่อนนำมาคำนวณเป็นสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตามขั้นตอนดังกล่าวย่อมนำมาซึ่งการลงทุนของระบบ IT ในการแยกสินเชื่อต่างๆ เพื่อให้สามารถคำนวณตามหลักการดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง (ซึ่งหมายความว่าค่าใช้จ่ายของธนาคารจะสูงขึ้น)

สำหรับ Basel II วิธีที่สองเรียกกันว่าวิธี Basel II แบบขั้นสูง หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าวิธี IRB วิธีนี้กล่าวโดยย่อคือจะใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณเงินกองทุนจากตัวแปร 3 ตัวคือ 1. โอกาสที่จะเกิดหนี้เสีย 2.อัตราส่วนของมูลค่าความเสียหายของสินเชื่อต่อมูลค่าสินเชื่อที่ปล่อยให้ ลูกค้ากู้ และ 3. มูลค่าความเสียหายของสินเชื่อ ณ วันที่ลูกค้าเบี้ยวหนี้ โดยสูตรการคำนวณเงินกองทุนดังกล่าวจะนำตัวแปรทั้งสามมาทำการคำนวณเพื่อให้ ได้มูลค่าร้อยละของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของเงินกองทุนที่คำนวณได้จะมีความถูกต้องเพียงใดขึ้นอยู่กับสมมติฐาน สองข้อคือ หนึ่ง สมมติฐานที่ว่าสินเชื่อในพอร์ตของสถาบันการเงินแต่ละรายมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป นัก และสอง สมมติฐานที่ว่ามีปัจจัยเสี่ยงเพียง 1 ปัจจัยในการวิเคราะห์ สมมติฐานทั้งสองข้อนี้จะทำให้สามารถแบ่งพอร์ตสินเชื่อออกมาวิเคราะห์เป็น ส่วนๆ แยกจากกันได้ โดยไม่ทำให้ผลของการวิเคราะห์มีความคลาดเคลื่อน แม้ว่าพอร์ตสินเชื่อในแต่ละส่วนจะมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ก็ตาม

ผลลัพธ์ ของมูลค่าของเงินกองทุนที่คำนวณได้ (ซึ่งธนาคารต้องดำรงเงินกองทุนดังกล่าวตามกฎหมาย) สามารถตีความได้ในลักษณะที่ว่าปริมาณเงินดังกล่าวคือมูลค่าของเงินกองทุนที่ สามารถรองรับค่าความเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดลำดับที่ 2 จากความเสียหายทั้งหมด 1,000 ครั้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินหนึ่งๆ

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่คำนวณจากวิธี Basel I และ Basel II ทั้งวิธีมาตรฐานและวิธีขั้นสูง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังให้สถาบันการเงินไทยนำมาใช้นั้นมิใช่ว่าจะ สมบูรณ์แบบ หากแต่ยังมีประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามถึง นั่นคือการที่ตัวเลขดังกล่าวจะสะท้อนความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่มีอยู่ของ สถาบันการเงินต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของประเด็นดังกล่าว ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จำลอง 2 เหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (โดยทั่วไปเงินกองทุนที่คำนวณจาก Basel II วิธีขั้นสูงจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเงินกองทุนที่คำนวณจาก Basel I และ Basel II วิธีมาตรฐาน ดังนั้นการวิเคราะห์ในส่วนที่เหลือของบทความจะสมมติให้สถาบันการเงินคำนวณ เงินกองทุนด้วย Basel II วิธีขั้นสูง)

หากเราให้คนต่อแถวกันหนึ่งพัน คนแล้วทำการวัดส่วนสูงของทุกคนแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย สมมติว่าได้เท่ากับ 170 ซ.ม. เราพบว่าหนึ่งในคนกลุ่มนั้นมีนักบาสเกตบอลชื่อดัง Yao Ming อยู่ในกลุ่มนั้น ถ้าหากเราเชิญ Yao Ming ออกจากกลุ่มดังกล่าว แล้วทำการหาค่าเฉลี่ยของส่วนสูงของคนในกลุ่มนั้นใหม่จะพบว่าได้ประมาณ 169.5 ซ.ม. นั่นหมายถึงคนที่สูงที่สุดในกลุ่มมิได้มีผลกับความสูงเฉลี่ยของกลุ่มคนดัง กล่าวเท่าไรนัก

ในทางกลับกันหากเราให้คนต่อแถวกันหนึ่งพันคนต่อแถว กันแล้วทำการวัดสินทรัพย์ (เงินเก็บ) ของทุกคนแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยของเงินเก็บของทุกคน พบว่าได้ประมาณ 100 ล้านบาท เราพบว่าหนึ่งในคนกลุ่มนั้นคือ คุณเจริญ สิริวัฒนภักดีอยู่ในกลุ่มคนดังกล่าว ถ้าหากเราเชิญคุณเจริญออกจากกลุ่ม แล้วทำการหาค่าเฉลี่ยของเงินเก็บในกลุ่มนั้นใหม่จะพบว่าได้ไม่ถึง 5 แสนบาท นั่นหมายถึงเงินเก็บของคุณเจริญมีผลกับค่าเฉลี่ยของเงินเก็บของกลุ่มคนดัง กล่าวอย่างมหาศาล

โดยใช้เหตุการณ์จำลองดังกล่าวในการเปรียบเทียบ มูลค่าของเงินกองทุนที่ธนาคารต้องดำรงตามกฎหมาย (หรือมูลค่าของเงินกองทุนที่สามารถป้องกันความเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดลำดับ ที่ 2 จากความเสียหายทั้งหมด 1,000 ครั้งที่กล่าวไว้ข้างต้น) ซึ่งสถาบันการเงินใช้ วิธี Basel II ในการคำนวณนั้น จะมีมูลค่าความเสียหายในระดับเดียวกับความสูงของคุณ Yao Ming หรือเรียกตามภาษาของการบริหารความเสี่ยงว่ามูลค่าความเสียหายของสินทรัพย์ (ตามวิธี Basel II ที่ ธปท.ใช้อยู่ในปัจจุบัน) มีการกระจายตัวแบบปกติ หรือ normal distribution

ในทางกลับกัน ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น มูลค่าความเสียหายจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (แบบที่เกิดขึ้นในอเมริกาในขณะนี้) จะมีมูลค่าความเสียหายสูงสุดในระดับเดียวกับมูลค่าสินทรัพย์ของคุณเจริญ (ระดับความเสียหายในระดับที่ Lehman Brothers รวมถึง Merrill Lynch และ AIG ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐใช้เงินประมาณหนึ่งในสามของมูลค่ามวลรวมประชาชาติ หรือ GDP ของประเทศไทยในการเข้ามาซื้อหุ้นของ AIG ในขณะนี้) หรือเรียกตามภาษาทางสถิติว่ามูลค่าความเสียหายของสินทรัพย์ดังกล่าวมีการ กระจายตัวแบบหางอ้วน หรือ Fat-tailed distribution

ด้วยเหตุผลดัง กล่าวตัวเลข BIS ratio ที่สูงๆ ของสถาบันการเงิน (ด้วยมาตรฐานที่เมืองไทยกำลังใช้ Basel II ในขณะนี้) ที่ ธปท. อ้างถึง จึงยังมิใช่คำตอบสุดท้าย (ภายใต้ Basel II ซึ่ง ธปท.ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ในการที่จะบอกว่าเราจะมีความปลอดภัยจริงๆ จากความเสี่ยงทางการเงินในลักษณะที่ร้ายแรงด้วยรูปแบบที่เราคาดไม่ถึงอย่าง ที่เราเชื่อกัน

อย่างไรก็ตามผู้เขียนมิได้มีความประสงค์ให้ผู้ฝาก เงินทั้งหลายที่มีบัญชีกับสถาบันการเงินดังกล่าวตื่นตระหนกแล้วรีบแห่กันไป ถอนเงิน เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่าการพิจารณาตัวเลขที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการ บริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินนั้นในบางครั้งก็จำเป็นต้องมีความถี่ถ้วน เป็นพิเศษในการประเมินความเสี่ยงเท่านั้น

หน้า 41
A bit less, A bit more
โพสต์โพสต์