creative accouting

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

creative accouting

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ต้นฉบับผมโพสไว้ 3 เดือนละที่นี้

http://www.templeboxing.com/index.php?topic=1021.0

อยากให้สมาชิกทุกท่าน
ช่วยเสริม หรือให้ความเห็นด้วย


1.ลูกเล่นกับค่าตัดจำหน่าย ธนาคาร t จ่ายค่า goodwill 20 ปีเนื่องจาก
take over  ifct กับ ไทยทนุ  แต่ strategic parter (น่าจะเรียกงี้นะ)
บอกว่าธนาคาร t ค่าความนิยมเนี้ย กรุณาตัดออกได้ไหมเพราะว่าพอแยก
กำไรของ 3 ธนาคารออกมา กับ ควบก็ไม่เห็นจะมีกำไรสูงขึ้นตรงไหน
(มันไม่เห็นจะมีอะไรดีขึ้นเลย) ก็เลยบอกให้ธนาคาร t ตัดค่าความนิยมให้เป็น
ค่าใช้จ่ายให้หมดเลย  ทำให้หุ้นของ ธนาคาร t ตกหนัก แต่อยากตั้งข้อสังเกตุว่า
อาจจะน่าซื้อก็ได้เพราะว่า การที่ธนาคาร t ตัดค่าความนิยมให้เป็น
ค่าใช้จ่ายไม่ได้ทำให้เงินสดออกจาก และหลังจากนั้น ค่าใช้จ่ายก็จะลดลงทุกปี
สมมุติ ตัดจำหน่าย 10000 ล้าน 20 ปี ปีละ 500 ล้าน แสดงว่าหลังจากนี้ทุกปี
กำไรต้องเพิ่ม 500 ล้าน ถ้าอยากเป็น contrarian เข้าซื้อธนาคาร t ตอนหุ้นลงหลัง
จากมีข่าวนี้ (อาจจะติดดอยก็ได้นะ) ก็น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เลวนัก

ถ้าถามว่าเป็น creative accountin ตรงไหน ก็ตรงที่ ธนาคาร t จ่ายค่าความนิยม
เกินจริงทำให้สินทรัพย์สูงเกินจริง และใช้วิธีตัดอายุค่าความนิยมที่ยาวที่สุดคือ
20 ปี (ถ้า gaap ) ให้ตัด 200 ปี ก็คงตัด 200 ปี จะเห็นว่า ธนาคาร t บันทึกบัญชี
ด้วยวิธี aggressive (รับรู้รายได้เร็ว รับรู้รายจ่ายช้า)


มุขที่ 2 เป็นเหรียญตรงกันข้ามกับด้านที่1

หลักทรัพย์แห่งนึงตัวขึ้นต้นไม่ใช่ b-z มีการ take over อีกแห่งนึง
และจ่ายค่าความนิยมไปสูงมาก อยู่ๆแกก็บอกว่า เฮ้ บริษัทที่ take มา
ไม่น่าจะมีค่ามากในอนาคตเลย รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายในงวดเดียวเลย
โอ้ (ก่อนจะ take ) ทำไมไม่คิดดีๆล่ะ ว่าไม่มีประโยชน์ หลังจากตัดเป็ฯค่าใช้จ่าย
ก็ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสะสมติดลบ หุ้นก็ ถูกเทกระจาด รายย่อยก็แห่ขาย
เพราะปันผล ผู้บริหารน่าจะทำการ.... ก่อน และอยู่ๆก็ประกาศว่า จะนำส่วนเกินมูลค่า
หุ้นมาล้างขาดทุนสะสม แล้วจ่ายปันผลได้อีกครั้ง ทำให้หุ้นกลับขึ้นไป
ช่วงที่ สวิง นี้ไม่แน่ใจว่ามีใครได้ผลประโยชน์จากราคาหุ้นบ้าง

มุขนี้จะใช้วิธีบันทึกค่าความนิยมแบบ conservative (รับรู้รายจ่ายเร็ว รับรู้รายได้ช้า)
ซึ้งตรงข้ามกับ ธนาคาร t ที่จะตัดความนิยมให้นานที่สุด

การตัดค่าความนิยมแบบ conser นี้เกิดกับธุรกิจโรงภาพยนต์อีกแห่งที่ ตัวขึ้นต้นอยู่หลัง l แต่อยู่หน้า n ด้วยนะครับ
หึหึ  มามุขที่ 3 กันเลยดีกว่า

3.ร้านอาหารแห่งนึง ตัวย่อ... ได้รับเงินสนับสนุนทางการค้า
กับน้ำอัดลมญี่ห่อนึงจำนวณ 30 ล้าน แล้วมีสัญญาว่าจะต้องไม่ขาย
น้ำอัดลมอีกญี่ห่อนึงในร้านเป็นเวลา 5 ปี

ตามหลักของ gaap บอกว่า เงินสนับสนุนการค้าจะต้องทยอยเกลี่ยรับรู้รายได้
ตามความเข้าใจก็คือ 30 ล้าน/5/12 เป็นรายได้รับต่อเดือน รับรายได้เป็นวิธีเส้นตรง

แต่บริษัททอดๆย่างๆ แห่งนี้ดันบันทึกโดย รับรู้รายได้เงินสนับสนุนเข้างบกำไร
ขาดทุนทันที 30 ล้าน

ก็เลยโดนสั่งแก้งบการเงินทันที งบประมาณปี 46 ขนาดบันทึกรายการนี้แล้วยังเหลือ
กำไรแค่ 1 ล้านบาท แสดงว่าต้องขาดทุนปกติ ประมาณคร่าวๆ 29 ล้าน

รูปแบบนี้เรียกว่าง่ายๆว่า record revenue to soonมุขที่4 เรียกว่า recording refunds from suppliers as revenue

หุ้นเกี่ยวกับเครื่องบินแห่งนึง ซื้อเครื่องบินราคา 100 บาท ได้ส่วนลด 5 บาท

ตามหลัก gaap ต้องบันทึกว่า ต้นทุน 95 แต่พี่แกดันไปบันทึกว่าต้นทุน 100

และรับรู้รายได้จากส่วนลด 5 บาท ทำให้ได้กำไรเกินจริง

แต่ก็ต้องตัดค่าเสื่อมสูงเกินจริงเหมือนกัน

ลองคิดดูดีๆ แบบนี้ก็กำไรสูงกว่าปกติมากนะ ไม่เชื่อ

ลองกดเครื่องคิดเลขดูซิว่า ปกติพี่แก margin สักเท่าไหร่มุขที่ 5 เรียกว่า burying losses under non-continuing opertion

คือการแอบซุกขาดทุนหรือค่าใช้จ่ายไปยังธุรกิจที่ถูก take over หรือ
เลิกกิจการ

บริษัทแห่งนึง ทำนมสด กับ ไอศครีม ถ้าขายส่วนที่เป็น ไอศรึมให้คนอื่นไป
ก็ต้องทำการล้าง asset ทั้งหมด ให้คนที่มา take over และโอนส่วนนั้นให้
ไปด้วย ซึ้งจะสามารถทำลูกเล่นได้ดังนี้ ถ้าแต่เดิมทั้งสองบริษัทใช้น้ำไฟ ร่วมกัน
ใช้อุปกรณ์การผลิตร่วมกันมาตลอด แต่เวลาแยก ผู้บริหารก็โยนค่าใช้จ่าย ไปทาง
ส่วนไอศรีมเยอะๆ (เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนนมสดที่ตัวเองเหลืออยู่จะได้น้อยผิดปกติ)
และก็โยนว่าค่าน้ำค่าไฟ ส่วนใหญ่เนี้ย เกิดจากส่วน ไอศครีมทั้งนั้นเลย ทำได้เพราะ
เป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร

ก็จะทำให้กำไรสูงเกินจริงเพราะว่า ค่าใช้จ่ายงวดนั้นจะหายไปเยอะ margin จะดูดี
แต่จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรในกอไผ่

ให้ระวังเวลาอ่านข่าวเจอว่า บริษัทไหน ขายบางส่วนให้กับบริษัทอื่นแล้วอยู่ๆ
ค่าใช้จ่ายลดผิดปกติ

ผมไม่แน่ใจว่าจะเกิดกับหุ้นบางตัวที่เพิ่งยกเลิกหรือว่าขายส่วนที่เป็นจอแบนไปหรือป่าว
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

creative accouting

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มีคำถามนะครับ
ถ้าบริษัทนึงมีส่วนผู้ถือหุ้นดังนี้
หุ้นที่ชำระมูลค่าแล้ว  1000 ล้าน
ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 600 ล้าน
กำไรสะสมติดลบ 100 ล้าน


บริษัทนี้ถ้าอยากจะจ่ายปันผล

คุณๆ คิดว่าจะสามารถลดทุนจ่ายได้เลยหรือไม่

(ผมไม่ให้งบกำไรขาดทุนแบบระเอียดแล้วกันนะครับ

เอาเป็นว่าเพิ่งพลิกจากขาดทุนเป็นกำไรนิดหน่อย)

ถ้าใช่เพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะอะไร

ตอบเองเลยนะครับ


มีคำถามนะครับ
ถ้าบริษัทนึงมีส่วนผู้ถือหุ้นดังนี้
หุ้นที่ชำระมูลค่าแล้ว  1000 ล้าน
ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 600 ล้าน
กำไรสะสมติดลบ 100 ล้าน


บริษัทนี้ถ้าอยากจะจ่ายปันผล

คุณๆ คิดว่าจะสามารถลดทุนจ่ายได้เลยหรือไม่

(ผมไม่ให้งบกำไรขาดทุนแบบระเอียดแล้วกันนะครับ

เอาเป็นว่าเพิ่งพลิกจากขาดทุนเป็นกำไรนิดหน่อย)

ถ้าใช่เพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะอะไร

มีคนตอบว่า

ทำแบบนี้ได้ป่าว

ลดทุนจาก 1000 ล้านเหลือ 100 ล้าน
เอา 900 ล้านหักส่วนต่ำฯ 600 ล้าน
หักขาดทุนสะสม 100 ล้าน
พลิกเป็นกำไรสะสมทันที 200 ล้าน
จ่ายปันผลออกมา 100 ล้าน

แล้วออกหุ้นเพิ่มทุน 10:1 แบบเฉพาะเจาะจง

ผมตอบกลับไปว่า

โหแสบมากเรื่อง
แล้วออกหุ้นเพิ่มทุน 10:1 แบบเฉพาะเจาะจง
ของผมไม่ได้คิดถึงขนาดนั้นนะครับ คือจริงๆแล้วเท่าที่รู้
บริษัทไม่สามารถลดทุนจนต่ำกว่า 25% ได้นะครับ
คือจริงๆแล้วจะสื่อว่า ถ้าลดทุนจาก 1000 ล้าน เหลือ250ล้าน
ส่วนที่เกินมา 750 ล้านนี้คนก็นึกว่าจะเอาไปล้างขาดทุนสะสมได้
ทันที แต่จริงๆแล้วจะต้อง เอาไปหักก้บส่วนต่ำมูลค่าหุ้นก่อนนะครับ
600 ล้าน แสดงว่าจะเหลือแค่ 150 ล้านเท่านั้นที่ไปลบขาดทุนสะสมได้


ก็คือสรุปว่าทุกบริษัทที่จะใช้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นไปล้างขาดทุนสะสมได้
จะต้องนำไปหักกับส่วนต่ำมูลค่าหุ้นก่อนนะครับ ตัวอย่างเช่น
a (commodity) หลายปีที่แล้ววัฏจักรยังไม่มี เจ้าหนี้ได้แปลงหนี้เป็นทุน
แต่ว่าเจ้าหนี้รู้สึกว่า บริษัทนี้ยังการเงินไม่ดีจึงแปลงเป็นทุนแล้วต่ำกว่า par
เช่น par 10 แปลงแค่ 4 บาท ส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเกิด 6 บาทต่อหุ้น
พอวัฏจักรมาเริ่มมีกำไร ก็จะลดทุนล้างขาดทุนสะสมเพื่อจ่ายปันผล
แต่หุ้น a ลืมไปว่ายังเหลือส่วนต่ำมูลค่า ก็เลยโดน กลต ประกาศฟ้าแลบ
ว่าลดทุนไปล้างขาดทุนสะสมไม่ถูกตอ้ง เลยร่วงเลยวันที่ประกาศ

นอกจากนี้ยังมีกรณี ลดทุนไปล้างขาดทุนสะสมไม่ถูกตอ้ง เช่น robins

ลองตาม story ดูนะครับ


ผมถาม มีคำถาม
1.write down กับ write off ต่างกันอย่างไร
2.คำว่า provision กับ contigent liability ต่างกันอย่างไร

คุณ woody สุดหล่อ มาตอบให้

อืม ข้อแรกนะครับ write down นี่ผมไม่แน่ใจ แต่ write off นี่คือการตัดส่วนนั้นทิ้งไปเลยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการตัดเป็นค่าใช้จ่ายไปเลย

ส่วนข้อที่สองนั้น provision คือการตั้งสำรองถือว่าเป็นส่วนที่จะไปตัดออกจากกำไรในช่วงเวลาที่ทำการตั้งสำรองทันที แต่ถ้าภายหลังแล้วมีการเรียกเก็บเงินคืนได้ก็จะสามารถบันทึกกลับมาเป็นกำไรได้ครับ ส่วน Contingent liability นั้นส่วนใหญ่จะมาในรูปของหมายเหตุประกอบงบ โดยอาจจะบอกว่าบริษัทมีภาระที่อาจจะต้องทำการอะไรซักอย่างที่ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายต่อคู่ทำสัญญา

ผมสรุปเพิ่มผมขอเพิ่มเติมข้อมูลดังนี้นะครับ

บริษัทที่ถูกฟ้อง 6900 ล้านปลายปีที่แล้ว (t) จะถือว่าเป็น
contigent liability เนี้ย จะทำให้ต้องเปิดเผยในงบการเงินว่า
อาจมีหนี้สินในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ถ้าแพ้คดี จะบันทึกเป็นหนี้สิน
เลยไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายไหม แต่ก็ต้องเปิดเผยในหมายเหตุงบ
แต่ถ้าคดีสิ้นสุดแล้วแพ้ก็จะกลายเป็น provision ประมารนี้อะคับ

ใครไม่อ่านหมายเหตุงบ ก็ระวังไว้นะครับ  

ส่วน เรื่อง write down นั้น สามารถเป็นช่องทางให้ผู้บริหารปั่นหุ้นได้ง่ายมาก
กรณีแรก คือ สำรองด้อยค่า พอหุ้นลง แล้วก็กลับรายการขายทำกำไร อันนี้
ยัง basic

ที่เลวร้ายคือ write down เทียม เช่น สินทรัพย์ 100 ล้านเป็นหนี้ ธนาคาร 40 ล้าน
ก็ write down สินทรัพย์ให้เหลือ 40 ล้าน แล้วให้ธนาคารยึดไป แล้วตัวเองก็ไปซื้อคืน
เป็นการไซฟ่อนอย่างนึง โดยเอาสินทรัพย์บริษัทออกไปเป็นของตัวเอง

แต่ข้อนี้ผมยังหาตัวอย่างไม่ได้ว่าหุ้นตัวไหนทำน่ะครับ

คุณ krisy สรุปเพิ่มอีกทีขอเพิ่มเติมของเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ
ทั้ง provision และ contingent lia นั้นเป็นการประมาณการมีค่าใช้จ่ายตัวนั้นเต้องเกิดในอนาคต แต่ provision จะแน่นอนกว่า คาดว่าต้องจ่ายเท่านั้นเท่านี้จริงๆ ภายในเวลาเท่าไหร่ เลยบันทึกบัญชีไปได้เลย แต่ contingent นั้นทราบว่าอาจจะต้องจ่าย แต่ไม่ทราบจำนวน เวลา และรายการส่วนมากจะมีนัยสำคัญเลยต้องเปิดในหน้าหมายเหตุ

สำหรับภาระที่กิจการมีแล้วต้องทำอะไรกับคู่สัญญา หลังๆจะเรียกว่า commitment ค่ะ บางทีก็เปิดเผยในหมายเหตุเดียวกัน
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

creative accouting

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ดูยุ่งๆหน่อยนะครับ อิอิ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

creative accouting

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
atsu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1223
ผู้ติดตาม: 3

creative accouting

โพสต์ที่ 5

โพสต์

:bow: ขอบคุณครับ
ผมก็ว่าอ่านเข้าใจง่ายดี
ทำให้เรื่องบัญชีดูน่าสนุกขึ้นเยอะแทนที่จะดูน่าเบื่อ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

creative accouting

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อ่านสนุกดี

เก็บบันทึกไว้ก่อน

:)
:)
Glaxo
Verified User
โพสต์: 311
ผู้ติดตาม: 0

creative accouting

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
:D
Capo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1067
ผู้ติดตาม: 1

creative accouting

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ  :D

ชัดเจนแจ่มเจ๋วเลย
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ

มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
V_accy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 361
ผู้ติดตาม: 1

creative accouting

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
อยากให้พี่ๆช่วยแนะนำเด็กใหม่ๆอีกครับ
jojosati
Verified User
โพสต์: 190
ผู้ติดตาม: 0

creative accouting

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณครับ
อ่านสนุกมาก
และช่วยให้คุ้ยงบได้สนุกมากขึ้น

ขอรบกวนคำถาม จากคำตอบของกรรมการในรายงานการประชุมนี้
ว่าเขามีวิธีการลงบัญชีลูกหนี้อย่างไร จึงไม่กระทบกับงบกำไร-ขาดทุน
วาระที่ 2  พิจารณารับรองรายงานประจำปี 2550 และรายงานของคณะกรรมการบริษัท
 ประเด็นที่มีการหารือ
 ตัวแทนสมาคมถามรายละเอียดเกี่ยวกับการสำรองหนี้สงสัยจะสูญมีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง
เลขาการประชุมตอบหากลูกค้าไม่สามารถชำระภายใน 3 เดือนก็จะต้องตั้งสำรองนี้สงสัยจะสูญส่วนรายละเอียดให้ดูรายละเอียดในหน้า 69,71,74 ในรายงานประจำปี
ตัวแทนสมาคมถามเกี่ยวกับหนี้ลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมากถึง113.6%
กรรมการตอบตอนนี้ธุระกิจนี้รับโปรเจ็คมาในไตรมาส 4 ไม่สามารถส่งมอบได้ต้องนำมาเป็นทุนที่บันทึกไว้ไม่มีรายได้จึงเป็นลูกหนี้เพิ่มขึ้นมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

creative accouting

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="jojosati"]
วาระที่ 2
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 3

creative accouting

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ได้ความรู้มากเลย ขอบคุณมากครับ :bow:
Noonino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 876
ผู้ติดตาม: 1

creative accouting

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ใครว่าเว็บ TVI คุณภาพลดลงล่ะเนี่ย
ขอบคุณคุณ hongvalue ที่ทำให้เข้มข้นขึ้นนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 1

creative accouting

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณครับ คิดว่าตัวเองถึงวัยต้องเข้าวัดฟังงบการเงินซะแล้ว จะได้มีความรู้่เพิ่ม  :D  :D
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

creative accouting

โพสต์ที่ 15

โพสต์

[quote="jojosati"]ขอบคุณครับ
อ่านสนุกมาก
และช่วยให้คุ้ยงบได้สนุกมากขึ้น

ขอรบกวนคำถาม จากคำตอบของกรรมการในรายงานการประชุมนี้
ว่าเขามีวิธีการลงบัญชีลูกหนี้อย่างไร จึงไม่กระทบกับงบกำไร-ขาดทุน

[quote]วาระที่ 2
:)
jojosati
Verified User
โพสต์: 190
ผู้ติดตาม: 0

creative accouting

โพสต์ที่ 16

โพสต์

[quote="miracle"][quote="jojosati"]ขอบคุณครับ
อ่านสนุกมาก
และช่วยให้คุ้ยงบได้สนุกมากขึ้น

ขอรบกวนคำถาม จากคำตอบของกรรมการในรายงานการประชุมนี้
ว่าเขามีวิธีการลงบัญชีลูกหนี้อย่างไร จึงไม่กระทบกับงบกำไร-ขาดทุน

[quote]วาระที่ 2
โพสต์โพสต์