ผมเพิ่งรู้มีธรรมเนียม 'การเบี้ยว' ไม่ผิดในการค้าข้าว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
121
Verified User
โพสต์: 843
ผู้ติดตาม: 0

ผมเพิ่งรู้มีธรรมเนียม 'การเบี้ยว' ไม่ผิดในการค้าข้าว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3996 (3196)

เรื่องข้าวอีกที - คอลัมน์ คนเดินตรอก

คอลัมน์ คนเดินตรอก

โดย วีรพงษ์ รามางกูร

ปีนี้เป็นปีที่เกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิกรไทยคงจะมี ความสุขถ้ารัฐบาลจะอยู่เฉยๆ อย่าเข้ามายุ่งโดยไม่หาเสียงกับผู้บริโภค จนเกินไป เพราะนานๆ กสิกรไทยจึงจะขาย พืชผลการเกษตรได้ราคาอย่างนี้

สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ก็คือ สื่อมวลชน ไม่เข้าใจพยายามขายข่าวเรื่องข้าวขึ้นราคา ไม่เข้าใจว่าอยู่ข้างใคร ผู้บริโภคซึ่งคงแยก ไม่ออกระหว่างคนรวยในเมืองหรือคนจน ในเมืองที่บริโภคข้าวชนิดเดียวกัน หรือจะ เข้าข้างกสิกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนา ถ้าอยู่ข้างชาวนาซึ่งราคาข้าวเปลือกหอมมะลิขึ้นไปแล้วถึงเกวียนละ 15,000-17,000 บาท ข้าวเปลือกคุณภาพรองลงมาถึงราคาลดหลั่นลงมาก็ถึง 12,000 บาทต่อเกวียน

พ่อค้าส่งออกปีนี้แย่หน่อย ขาดทุนกันเยอะไม่ค่อยมีใครกำไร เพราะต้องแย่งกันขาย ล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน เมื่อถึงเวลาต้อง ส่งมอบข้าวเปลือกขึ้นราคาไปแล้วก็เลยต้องเบี้ยวผู้ซื้อ ที่แปลกก็คือในระบบการค้าข้าวไม่มีการปรับ ถ้าผิดสัญญา มีแต่ทำถูกสัญญาคือส่งมอบ ผิดสัญญาไปเลย ไม่ส่งมอบ

จะไปต่อว่าต่อขานผู้ส่งออกก็ไม่ได้ เพราะเวลาข้าวราคาลดลงมาก หลังจากทำสัญญา ซื้อขายไม่ว่าจะเป็นสัญญากับผู้นำเข้าในต่างประเทศหรือซื้อขายผ่านนายหน้า ซึ่งส่วนมากเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่า ผู้ซื้อก็เบี้ยวเหมือนกัน แล้วก็เป็นธรรมเนียมไม่มีการฟ้องร้องกัน คราวหน้าก็เจรจาซื้อขายกันใหม่ รัฐบาลอย่าไปยุ่งกับเขาก็แล้วกัน เขามีธรรมเนียมของตลาด หรือ "market culture" เป็นอย่างนี้ ไม่มี ใครดีใครเลวกว่ากัน เป็นเหมือนๆ กัน

ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกขึ้นเป็นรายวัน ข้าวหอมมะลิถังละ 620 บาท ข้าวเสาไห้ถังละ 360 บาท

วัฒนธรรมของชาวนาแต่ละภาคไม่เหมือนกัน ชาวนาภาคกลางซึ่งเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ ผลิตข้าวได้มากกว่าที่ใช้บริโภค ชาวนา ภาคกลางจะไม่เก็บข้าวไว้หรือไม่กักตุนไว้ เมื่อเก็บเกี่ยวก็ขายเลย เพราะเก็บไว้ไม่คุ้มกับค่า ดอกเบี้ย เพราะข้าวนาปรังภาคกลางมีออกมาตลอดปี บางแห่งทำนาปีละ 2 ครั้ง บางแห่งทำนาปีละ 3 ครั้ง ข้าวที่ปลูกก็เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อแสง ปลูกเมื่อไรก็ได้ นับไป 120-130 วัน ก็ออกเก็บเกี่ยวได้ ชาวนาภาคกลางจึงทยอยปลูกไปทั้งปีไม่ต้องมีฤดูกาล เพราะอยู่ในเขตชลประทานเสียเป็นส่วนใหญ่ ราคาข้าวนาปรังต้นฤดูกับปลายฤดู จึงแตกต่างกันน้อยกว่า ดอกเบี้ย ยิ่งเป็นดอกเบี้ยในตลาดมืดหรือตลาดที่ไม่เป็นทางการยิ่งเทียบกันไม่ได้ ชาวนาภาคกลางจึงฉลาดพอที่จะไม่เก็บข้าวไว้ เกี่ยวมา ก็ขายเลย ได้เงินมาก็คืนหนี้ หรือถ้ารวยไม่เป็นหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้นก็สามารถปล่อยเป็นเงินกู้ได้ดอกดีกว่าเก็บข้าวไว้รอราคาขึ้น

ชาวนาภาคอื่น เช่น ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็น ที่อุดมสมบูรณ์สามารถผลิตข้าวได้เกินความต้องการบริโภคกับภาคอีสาน เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็จะเก็บใส่ "เล้าเข่า" หรือ "ยุ้งข้าว" ไว้ก่อน รอจนกว่าข้าวฤดูใหม่จะออกรวงต่อไป ดูว่าตนจะได้ข้าวมากน้อยเพียงใด ถ้านาล่มเพราะภัยแล้งหรือน้ำท่วมก็จะเก็บเอาไว้บริโภคก่อน ถ้า ปีไหนข้าวดีมีเกินความต้องการบริโภคก็จะขายข้าวในยุ้งซึ่งเก็บเกี่ยวเมื่อปีกลายออกไป ข้าวเปลือกเหนียวที่นิยมปลูกในภาคอีสานและภาคเหนือตอนบนราคาจะตกตอนปลายฤดู ไม่เหมือนข้าวเจ้าภาคกลางราคาจะตกตอนต้นฤดู

ขณะนี้ชาวนาทั้งภาคอีสานและภาคเหนือปลูกทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า เดี๋ยวนี้เด็กรุ่นใหม่ในทั้งสองภาคบริโภคทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้าสลับกันไป พฤติกรรมการบริโภคข้าวเหนียวและข้าวเจ้าสลับกันไปนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือเท่านั้น พี่น้องชาวลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ผู้ผลิตหรือชาวนาก็ต้องโอนอ่อน ผ่อนตามพฤติกรรมผู้บริโภคคือ ต้องปลูกทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า สุดแท้แต่ว่าข้าวเจ้ากับข้าวเหนียวอันไหนราคาจะดีกว่ากัน

สำหรับข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวนาปีที่ไวต่อแสง ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่อำเภอบางคล้า แปดริ้ว หรือจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยความสามารถของกรมการข้าวเดิม กระทรวงเกษตรฯของเรา ได้ปรับปรุงพันธุ์ให้ทนต่อความเค็ม ไปเจริญงอกงามดีที่จังหวัดสุรินทร์เขตติดต่อกับจังหวัด หรือเขตพระตะบอง กัมพูชา ซึ่งก็ปลูกข้าวหอมมะลิได้ดีกับบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์

ข้าวหอมมะลิเป็นที่ชื่นชอบของคนกรุงในเมือง ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน เพราะข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่นุ่มหอมเหมาะสำหรับอาหารจีนเป็นอย่างมาก แต่ไม่เหมาะกับอาหารแขกซึ่งมีเครื่องเทศมาก เพราะไม่ดูดซับเครื่องเทศและน้ำมันพืชเหมือนข้าวบัสมาตี ปลูกมากในปากีสถานและอินเดียแถบตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นข้าวเมล็ดยาวมาก มีแป้งไว้ดูดรับเครื่องเทศและน้ำมันได้มากกว่า แต่ถ้ารับประทานกับอาหารจีนหรืออาหารไทยซึ่งไม่มีเครื่องเทศมากก็ไม่อร่อยเท่าข้าวหอมมะลิ เมื่อก่อนตอนแรกๆ ประเทศเราก็ผลิตข้าวหอมมะลิได้ไม่มาก แต่ก็ได้มีการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์โดยกรมการข้าว กระทรวงเกษตรฯ ให้สามารถทนความเค็มจัดของทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งกินเนื้อที่ถึง 5 จังหวัดได้ ข้าวพันธุ์ที่ได้ปรับปรุงแล้วกรมการข้าวให้เรียกว่า "ข้าวหอมดอกมะลิ" ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้วจึงไม่ใช่ข้าวหอมมะลิของบางคล้า แต่พวกเรารวมทั้งผมด้วยก็ยังนิยมเรียกว่า ข้าวหอมมะลิอยู่นั่นเองเพราะติดปาก ไม่ยอมเรียกข้าวหอมดอกมะลิ

เป็นความโชคดีของเราที่มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้ชาวนาแบ่งพื้นที่บางส่วนไว้ขุดบ่อ บ่อต้องลึกพอที่จะดึงน้ำซับ ปกติฝนจะทิ้งช่วงราวๆ ต้นเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพราะเป็นรอยต่อระหว่างฝนมรสุมกับฝนจากพายุไต้ฝุ่น เป็นช่วงฝนแล้งซ้ำซากทุกปี เป็นช่วงวิกฤตของชาวนานอกเขตชลประทาน

พระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นปัญหาอันนี้ จึงทรงมีพระราชดำริให้ชาวนาทุกครอบครัวแบ่งพื้นที่บางส่วนขุดบ่อเก็บน้ำช่วงต้นฤดูคือปลายเดือนเมษายนกับพฤษภาคมไว้ พอฝนทิ้งช่วงก็ดูดน้ำในบ่อไว้เลี้ยงต้นข้าวซึ่งเพิ่งปักดำใหม่ๆ ไม่ให้ตาย รอเวลาฝนจากไต้ฝุ่นมาข้าวก็ตั้งตัวได้ทันที รัฐบาลรับสนองพระราชดำริจัดการใช้เครื่องจักรกลขุดบ่อให้ชาวนาอีสานทั่วไปหมด เป็นผลให้ปริมาณการผลิตข้าวหอม ดอกมะลิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับความต้องการของตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน

ชาวจีนเรียกข้าวหอมดอกมะลิว่า "เซียงหมี่" แปลว่า "ข้าวหอม" นิยมมากกว่าข้าวพันธุ์ "เขี้ยวแมว" หรือ "ซีเหมียว" ที่นิยมอยู่แต่เดิมแต่ไม่นุ่ม ข้าวหอมดอกมะลิจึงมีราคาและนิยมให้เป็นของขวัญกันในตอนฉลองปีใหม่หรือตรุษจีน คนจีนนอกประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และที่อื่นๆ นิยมรับประทานข้าวหอมมะลิมานานแล้ว พอจีนรวยขึ้นและยกเลิกโควตาการนำเข้า ความต้องการข้าวหอมมะลิในจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

การผลิตข้าวหอมมะลิก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน สาเหตุสำคัญอันหนึ่งคือการปล่อยให้ตลาดข้าวเป็นตลาดเสรี สมัยก่อนอัตราค่า "พรีเมี่ยม" การส่งออกข้าวหอมมะลิสูงกว่าข้าวขาวอย่างอื่น ถ้าข้าวชนิดใดตลาดต่างประเทศต้องการมาก มีราคาดีก็ยิ่งเก็บ "พรีเมี่ยม" การส่งออกในอัตราที่สูง ผลก็คือราคาข้าวเปลือกหอมมะลิกับข้าวเปลือกขาวอย่างอื่นมีราคาไม่แตกต่างกันมาก ชาวนาจึงไม่ปลูกข้าวหอมมะลิเพราะผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าข้าวพันธุ์ "กข" ต่างๆ "กข" ย่อมาจากกรมการข้าว เมื่อยกเลิกภาษีขาออก พรีเมี่ยมการส่งออก โควตาการส่งออก และการบังคับให้ ผู้ส่งออกส่งมอบข้าวราคาถูกให้กับรัฐบาลเพื่อนำมาขายราคาถูกให้กับผู้มี "รายได้น้อย" ในเมือง ความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิกับข้าวนาปีชนิดอื่นๆ และข้าวนาปรังจึงมีมากขึ้นพอที่จะจูงใจให้ชาวนาภาคอีสานหันมาปลูกข้าวหอมดอกมะลิมากขึ้น หลังจากเหลือ บริโภคภายในประเทศแล้วยังมีเหลือให้ส่งออกได้ 2-3 ล้านตันทุกปี ข้าวหอมมะลิปลูกที่ไหนก็ไม่มีคุณภาพดีเท่ากับปลูกในภาคอีสาน ตอนใต้ ซึ่งเป็นเขตที่แห้งแล้ง

ส่วนภาคกลางที่อยู่ในเขตชลประทานก็นิยมปลูกข้าวนาปรัง เพราะทำได้ 2-3 รอบในปีหนึ่ง ข้าวนาปรังมีผลผลิตต่อไร่สูงคือประมาณ 100-120 เกวียนต่อไร่ กล่าวคือ สีไม่เป็นตัว เปอร์เซ็นต์หักสูง หุงแล้วร่วน ไม่ค่อยถูกปากคนไทยและคนจีน จึงนิยมเอาไปทำข้าวนึ่ง คือเอาข้าวเปลือกไปแช่น้ำก่อนแล้วนึ่งด้วยไอน้ำความดันสูง ค่อยนำไปตากให้แห้งแล้วจึงสีเอาเปลือกออก รำไม่ค่อยมีเพราะติดอยู่กับเนื้อข้าว ข้าวไม่ค่อยหักเพราะสุกแล้ว เนื้อเหนียวกว่าเดิม เวลาจะบริโภคให้แช่น้ำอุ่นเหมือนบะหมี่สำเร็จรูป

นิยมบริโภคกันในแถบอินเดียตอนเหนือ ปากีสถาน อาหรับ อิสราเอล รวมไปถึงยุโรป เพราะพวกนี้หุงข้าวไม่เป็น ปกติรับประทานแป้งจากข้าวสาลี ข้าวนึ่งแช่น้ำเติมเกลือและเนยถือว่าเป็นของดี ใช้เป็นเครื่องเคียงแบบเดียวกับมันฝรั่ง แคร์รอตหรือพืชผักต้มอื่นๆ ข้าวนาปรังกับข้าวนาปีจึงไปกันคนละตลาด แต่ราคามีความสัมพันธ์กัน ขึ้นลงด้วยกัน แต่ข้าวนาปรังถูกกว่าข้าวนาปี เวลาข้าวนาปีแพงก็เอาข้าวนาปรังมาผสมขายราคาก็ถูกลง เหมือนตอนข้าวหอมดอกมะลิแพงเกินก็เอา ข้าวหอมปทุมธานี อ่างทองผสมเข้าไป ราคาจะได้ถูกลงแม้คุณภาพจะลดลงแต่ก็ยังได้รสชาติข้าวหอมอยู่ไม่ใช่เรื่องการปลอมปน ผู้ซื้อและผู้บริโภคเขารู้ เขาไม่ได้โง่ แต่ก็พอใจซื้อเพราะราคาถูกกว่า ตลาดสินค้าก็เป็น อย่างนั้น ผู้ขายต้องตามใจผู้ซื้อ ตามหลัก "อำนาจอธิปไตยเป็นของผู้บริโภค" หรือ "consumer"s sovereignty" ในระยะยาว ผู้ขายไม่มี "อำนาจอธิปไตย" เหมือนผู้บริโภค อดัม สมิท ว่าอย่างนั้น

ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2525 หลังจากรัฐมนตรีพาณิชย์โดนล้อมกรอบยอมแพ้ไป ตลาดข้าวก็ทำงานได้ดี ยิ่งมีการลดค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2527 และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ก็ยิ่งเป็นผลดีกับชาวนา เพราะราคาข้าวในตลาดโลกที่ซื้อขายกันเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อตีค่าเป็นเงินบาทได้มากขึ้น ราคาข้าวเปลือกในประเทศก็ยิ่งดีขึ้น ทำให้ชาวนาผลิตมากขึ้น การส่งออกซึ่งเคยส่งออกเพียง 1.5-2 ล้านตัน ก่อนปี 2525 ก็เพิ่มขึ้นจนถึง 9-10 ล้านตันในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงข้าวหอมมะลิในเขตจังหวัดพระตะบองของเขมร ก็ลักลอบมาขายให้โรงสีที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในไทยด้วย

แม้ว่าตลาดข้าวยังทำงานได้ดี รัฐบาลก็ยังไม่ยอมเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และการแทรกแซงตลาดข้าวสารโดยกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเอาข้าวไปขายเองที่เรียกกันว่า จีทูจี G to G หรือ "government to government" ความจริงเมื่อรัฐบาลได้รับ คำสั่งซื้อมาส่วนใหญ่ก็นำมา "ประมูล" กับผู้ส่งออก ใครมีข้อมูลดีกว่าก็กล้าประมูลราคาสูง ก็ได้รับโอนคำสั่งซื้อสบายไป พ่อค้าที่อยากส่งข้าวออกแทนรัฐบาลจึงต้องสนิทสนมกับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ ตอนหลังกับนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้ข้อมูลที่ดีกว่าคู่แข่ง

ต่อมารัฐบาลเห็นประโยชน์ของใครไม่ทราบ เร่งซื้อข้าวเพื่อส่งออกแบบจีทูจีมากขึ้นจนถึง 3 ล้านตัน ประมาณ 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมด ทำให้ตลาดข้าวซึ่งมีการแข่งขันสูงพังทลายเสียหายหมด ผู้ส่งออกที่ไม่ใกล้ชิดกับรัฐมนตรีพาณิชย์ก็ต้องทยอยปิดกันไป ปกติข้าวจะไหลจากต่างจังหวัดมาลงเรือที่ท่าข้าว "กำนันทรง" ซึ่งอยู่ที่อำเภอพยุหะคีรี และล่องลงมาที่โรงสีตามริมน้ำเจ้าพระยาบ้าง แม่น้ำบางปะกงบ้าง แม่น้ำท่าจีนบ้าง ก็หยุดหมดเพราะรัฐบาลไปดักซื้อข้าวเหนือน้ำขึ้นไปอีกแล้วมาทางรถยนต์ ซึ่งไม่ใช่วิธีขนส่งที่มีประสิทธิภาพ พอเปลี่ยนรัฐบาล บริษัทที่เคยได้ส่งออกข้าว รัฐบาลจีทูจีก็เลยต้องเลิกไปโดยปริยาย ข้าวจีทูจีมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงพรรครัฐบาลทุกพรรคที่เข้ามาเป็นแกนนำและคุมกระทรวงพาณิชย์ เป็นอย่างนี้มานานเต็มทีแล้ว ทุกรัฐบาลจึงไม่ยอมเลิกโครงการยกราคาข้าว และการขายข้าวแบบจีทูจี ไม่ว่าข้าวจะราคาแพงทะลุเป้าหมายไปมากเพียงใด

สินค้าเกษตรทุกอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งธัญพืชที่เป็นอาหารหลัก เป็น "สินค้าการเมือง" ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศส่งออกหรือนำเข้า ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาแล้วรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงควบคุมชดเชยให้ธัญพืชที่เป็นอาหารแพงขึ้น เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคไปช่วยเกษตรกร ในประเทศกำลังพัฒนารัฐบาลเข้ามาควบคุมแทรกแซงเพื่อเอาเปรียบชาวไร่ชาวนาไปเพื่อช่วยผู้บริโภคในเมือง

สื่อมวลชนไม่ต้องกลัวว่าข้าวจะไม่พอกิน ถ้าปล่อยให้ตลาดเป็นตลาดเสรี เพียงแต่อาจจะต้องซื้อบริโภคในราคาแพงขึ้น อย่างไรก็ตามราคาที่ผู้บริโภคภายในประเทศต้องจ่ายก็ยังต่ำกว่าผู้บริโภคในต่างประเทศที่นำเข้าข้าวไทย อย่างน้อยก็เท่ากับค่าขนส่งทางทะเลบวกค่าขนส่งในประเทศผู้นำเข้า ค่าการตลาด กำไรของผู้นำเข้า ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกในประเทศที่นำเข้า ซึ่งบางทีแพงกว่าผู้บริโภคไทยต้องจ่ายกว่าเท่าตัว

แต่ถ้าอยากให้ข้าวขาดแคลนก็ให้รีบห้ามส่งออก หรือตั้งราคาขายภายในประเทศให้ต่ำกว่าต่างประเทศ หรือเปิดร้านข้าวราคาถูก เพราะข้าวจะลง ไปซื้อขายใต้ดินหรือหลังร้าน แล้วผู้เดือดร้อนก็คือผู้บริโภคเอง ราคาใต้ดินหรือราคาหลังร้านอาจจะแพงกว่าราคาบนดินหรือราคาหน้าร้าน ในกรณีที่ปล่อยให้เป็นตลาดเสรีโดยรัฐบาลอย่าเข้ามายุ่ง อย่าไปเต้นตามสื่อมวลชนส่วนใหญ่ที่เขียนไปอย่างนั้นเอง วันหลังเขาก็ลืม ขายข่าวอื่นต่อไป

ขอเขียนเรื่องข้าวอีกทีเพราะกำลังฮอต
teetotal
Verified User
โพสต์: 1667
ผู้ติดตาม: 0

ผมเพิ่งรู้มีธรรมเนียม 'การเบี้ยว' ไม่ผิดในการค้าข้าว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ข้าวแพง แต่
ชาวบ้านจะออกมาประท้วงที่ สุพรรณ
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

ผมเพิ่งรู้มีธรรมเนียม 'การเบี้ยว' ไม่ผิดในการค้าข้าว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถูกแล้วครับ เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่แค่ระหว่างผู้นำเข้า กับ ผู้ส่งออกนะครับ ยังเป็นทั้งระหว่างผู้ส่งออก กับ หยง และ หยง กับโรงสีด้วย พอผิดสัญญาหรือว่าเจ๊งก็เปิดโต๊ะนั่งเกียเซี้ยกัน
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
โพสต์โพสต์