ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4247
ผู้ติดตาม: 4

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วันพุธที่ 19 มีนาคม 2551 (วันนี้เอง)

GRAMMY + GMMM ออกรายการ Morning talk ช่องอะไรผมไม่แน่ใจแต่ไม่ใช่ Money Channel นะครับ

แล้วตอน 4-5 ทุ่ม Stock in focus ช่อง Money Channel ครับ

แล้วก็วันที่ 24 มีนาคมนี้ ไป Oppday ด้วยครับ แต่เวลาจำไม่ได้แล้วครับ

ขยันให้ข้อมูลบริษัทดีจริงๆช่วงนี้ ดูซิ๊อากู๋จะเข็นกลับไปซื้อขายกัน PE 16up ได้อีกหรือเปล่า
_________
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ   :wink:
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1288
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตัว GMMM มี คลื่นวิทยุ รายการทีวี จัดงาน ผมมองแววธุรกิจจะรุ่งกว่าตัวแม่ที่ เน้นค่ายเพลง

คิดยังไงกันบ้างครับ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำครึ่งแก้ว
Verified User
โพสต์: 1098
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ธุรกิจน่าสนใจขึ้นมากนะครับ ปรับตัวได้ดีพอสมควร

ผมชอบ index มากกว่า รับงาน event เยอะมากเลยน่าสนใจมากครับ

ขอบคุณครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 20

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

แล้วโอ๊ตออกเมื่อไหร่อ่ะ :)
It's earnings that count
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1288
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

น้ำครึ่งแก้ว เขียน:ธุรกิจน่าสนใจขึ้นมากนะครับ ปรับตัวได้ดีพอสมควร

ผมชอบ index มากกว่า รับงาน event เยอะมากเลยน่าสนใจมากครับ

ขอบคุณครับ
อินเด๊ก เป็นลูกของ GMMM หรือ GRAMMY อะครับ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำครึ่งแก้ว
Verified User
โพสต์: 1098
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ตอบคุณน้องจั๊กจั่น ครับผม
Company : บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)

 Company Business type Paidup Capital Investment(%)
1  บริษัท เรดิโอ คอนเซ็ป จำกัด ผลิตและดำเนินรายการวิทยุ 20,000,000 100.00
2  บริษัท มาสเตอร์แพลน จำกัด ประมูลเวลาจัดรายการและให้เช่าช่วงสถานีวิทยุ 1,000,000 100.00
3  บริษัท แกรมมี่ เทเลวิชั่น จำกัด บริหารการตลาดและผลิตรายการทางสื่อโทรทัศน์ 20,000,000 100.00
4  บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ผลิตละคร, เกมส์โชว์และรับจ้างผลิตละคร 60,000,000 100.00
5  บริษัท ทีนทอล์ก จำกัด ผลิตรายการวาไรตี้วัยรุ่นและรับจ้างผลิตรายการ 5,000,000 100.00
6  บริษัท แมส มอนิเตอร์ จำกัด ผลิตและรับจ้างผลิตรายการวาไรตี้เกมโชว์ 0 100.00
7  บริษัท เลมอนกราส โปรดัคชั่นส์ จำกัด ผลิตและรับจ้างผลิตรายการทีวี 20,000,000 100.00
8  บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด ให้เช่าช่วงสถานีวิทยุ 0 100.00
9  บริษัท บลิส พับลิชชิ่ง จำกัด ผลิตและจำหน่ายหนังสือ 42,500,000 100.00
10  บริษัท กรีน บีนส์ จำกัด N/A 4,000,000 100.00
11  บริษัท ไซแอม คอมูนิเกชั่นส์ จำกัด N/A 0 100.00
12  บริษัท ข่าวสด จำกัด ประกอบกิจการออกหนังสือพิมพ์รายวัน 'ข่าวสด' และออกหนังสือเฉพาะกิจ 0 99.99
13  บริษัท งานดี จำกัด ประกอบกิจการจัดจำหน่ายหนังสือในเครือของมติชนและของสำนักพิมพ์อื่น ๆ 0 99.50
14  บริษัท โอเพ่น เรดิโอ จำกัด กิจการวิทยุประเภทสถานีข่าว 50,000,000 81.00
15  บริษัท อิมเมจ พับลิชชิ่ง จำกัด ผลิตและจำหน่ายนิตยสาร IMAGE 0 70.00
16  บริษัท จีเอ็มเอ็ม อินเตอร์ พับลิชชิ่ง จำกัด ผลิตและจำหน่ายนิตยสารและหนังสือเล่ม 10,000,000 70.00
17  บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไทม์ จำกัด ผลิตและจำหน่ายนิตยสารและหนังสือเล่ม 31,000,000 70.00
18  บริษัท อิน พับลิชชิ่ง จำกัด ผลิตและจำหน่ายนิตยสาร In Magazine โดย อิน พับลิชชิ่ง ซื้อหัวนิตยสาร "In Magazine" จากบริษัท บลิส พับลิชชิ่ง จำกัด 50,000,000 70.00
19  บริษัท อินสปาย อิมเมจ จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ การพิมพ์ และให้บริการออกแบบ ผลิตจำหน่ายป้าย และสื่อส่งเสริมการขาย 6,000,000 60.00
20  บริษัท ฮาเซท ฟิลิปปาคิ โพสต์ จำกัด N/A 0 51.00
21  บริษัท ดีทอล์ค จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้ 1,000,000 51.00
22  บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) อีเว้นท์และออร์กาไนเซอร์ 0 50.00
23  บริษัท ไอธิ้งแอ็ด จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการ รับเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการสร้างสรรค์ งานโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ถ่ายภาพและงานครีเอทีฟต่างๆ และให้บริการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณา 0 50.00
24  บริษัท ดีทอล์ค จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้ 1,000,000 49.00
25  บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ จำกัด ให้บริการจัดนำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 0 49.00
26  บริษัท ซิเนริโอ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์ 70,000,000 25.00
27  บริษัท มิวสิค บัส จํากัด เป็นผู้ผลิต ส่งเสริมการขาย และจัดจำหน่าย สินค้าและบริการเกี่ยวกับความบันเทิงด้านดนตรี 0 25.00
28  บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ "Bangkok Post", หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย "โพสต์ ทูเดย์",หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ภาษาอังกฤษ "Bangkok Post Student Weekly", ผลิตหนังสือแทรก 500,000,000 23.60
29  บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ธุรกิจหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักคือ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน,หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจราย 3 วัน, นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ (รายสัปดาห์), นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้า 205,000,000 20.00
Company : บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

 Company Business type Paidup Capital Investment(%)
1  บริษัท เอ็กซ์ทรอกาไนเซอร์ จำกัด ที่ปรึกษากิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดและรับจ้างจัดคอนเสิร์ต 1,000,000 100.00
2  บริษัท แกรมมี่ สปอร์ตส์ จำกัด จำหน่ายผลิตภัณฑ์และเครื่องกีฬา "Wilson" ในประเทศไทย 2,000,000 100.00
3  บริษัท เอ็มจีเอ จำกัด ผลิตและจำหน่ายเทปเพลง, คอมแพคดิสก์, เลเซอร์ดิสค์, วีดีโอเทป 120,000,000 100.00
4  บริษัท เอ็มจีเอ เร็คคอร์ดส จำกัด เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์เพลงจากต่างประเทศแล้วนำมาจำหน่ายในประเทศ 2,000,000 100.00
5  บริษัท อัพเพอร์คัท จำกัด โปรดักชั่นเฮ้าส์ผลิตภาพยนตร์โฆษณา 5,000,000 100.00
6  บริษัท โกลบอล มิวสิค แอนด์ มีเดีย จำกัด ลงทุนในต่างประเทศ 2 100.00
7  บริษัท มอร์ มิวสิค จำกัด สร้างสรรค์และผลิตผลงานเพลงประเภท Independent Music 12,500,000 100.00
8  GLOBAL MUSIC AND MEDIA LIMITED เพื่อลงทุนในบริษัทสำหรับกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ 2,000,000 100.00
9  GLOBAL MUSIC AND MEDIA (ASIA) LIMITED ผลิตภัณฑ์และการบริการเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงและสันทนาการ 400,000 100.00
10  บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทโฮลดิ้ง 100,000,000 100.00
11  บริษัท เมกเกอร์เฮด จำกัด ผลิตผลงานเพลง 50,000,000 100.00
12  บริษัท แกรมมี่ พับลิชชิ่ง เฮ้าส์ จำกัด ขายหนังสือและสื่อการเรียนการสอน 165,000,000 100.00
13  บริษัท นินจา ริเทินส์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด บันเทิงแบบครบวงจร 0 100.00
14  บริษัท ที่ฟ้า จำกัด ผลิตภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ, จัด Package ของภาพยนตร์เพื่อเสนอหาผู้ร่วมทุน 0 100.00
15  บริษัท บลิส พับลิชชิ่ง จำกัด หนังสือเล่ม 20,000,000 100.00
16  บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอ จำกัด ให้เช่าอุปกรณ์การถ่ายทำ การตัดต่อ และบันทึกเสียงที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ 25,000,000 100.00
17  บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด รับจ้างและผลิตรายการโทรทัศน์ 60,000,000 100.00
18  บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) จัดรายการวิทยุ 200,255,500 79.40
19  บริษัท คลีน คาราโอเกะ จำกัด ให้บริการและบริหารจัดการเรื่องลิขสิทธิ์เพลง การแบ่งจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลง จัดการเก็บเงินจากตู้คาราโอเกะ 0 71.00
20  บริษัท ทรี - อาร์ดี จำกัด One Stop Interactive Marketing Communications Agency, รับออกแบบกลยุทธ์ในการทำการตลาด และประชาสัมพันธ์แบบ interactive 10,000,000 70.00
21  บริษัท สยาม อินฟินิท จำกัด ซื้อ หรือ ขายเกมและอุปกรณ์การเล่นเกม โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Online Game) 70,000,000 60.00
22  บริษัท หับโห้หิ้น ฟิล์ม จำกัด ผลิตภาพยนตร์ 5,000,000 51.00
23  บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด ผลิตภาพยนตร์ 0 51.00
24  บริษัท จีเอ็มเอ็ม ฟิตเนสคลับ จำกัด Fitness Center 0 51.00
25  บริษัท ลักษ์มิวสิค 999 จำกัด ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเพลง 0 50.00
26  บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) N/A 0 50.00
27  บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ 500,000,000 23.60
28  บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ 205,000,000 20.00
ประมาณเป็นลูกครึ่งนะครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณ ท่านน้ำ 1/2 แก้ว สำหรับข้อมูลครับ  :wink:

  เออ....ผมหาข้อมูล ซื้อ/ขาย หลักทรัพย์ Grammy ของ ผู้ถือหุ้นไม่เจอ

   รบกวนด้วยครับ  :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำครึ่งแก้ว
Verified User
โพสต์: 1098
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Grammy:
ทิพย์  มนตรีกุล ณ อยุธยา ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 21/03/2548 17/03/2548 50,000 17.40 ขาย  
สายทิพย์  มนตรีกุล ณ อยุธยา ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 21/03/2548 18/03/2548 60,000 17.40 ขาย  
สายทิพย์  มนตรีกุล ณ อยุธยา ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 25/03/2548 24/03/2548 90,000 17.10 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 16/09/2548 14/09/2548 150,000 15.50 ขาย  
ไพบูลย์  ดำรงชัยธรรม ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 26/05/2549 24/05/2549 87,000 6.25 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 02/06/2549 01/06/2549 57,900 6.51 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 07/06/2549 02/06/2549 392,100 6.70 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 08/06/2549 05/06/2549 70,000 6.50 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 08/06/2549 07/06/2549 30,000 6.40 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 15/06/2549 14/06/2549 40,000 6.30 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 15/06/2549 14/06/2549 55,000 6.35 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 15/06/2549 14/06/2549 5,000 6.40 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/06/2549 15/06/2549 20,000 6.15 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/06/2549 15/06/2549 80,000 6.20 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/06/2549 15/06/2549 50,000 6.25 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/06/2549 15/06/2549 50,000 6.30 ซื้อ  
ไพบูลย์  ดำรงชัยธรรม ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 19/06/2549 15/06/2549 425,000 6.17 ซื้อ  
ไพบูลย์  ดำรงชัยธรรม ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 20/06/2549 16/06/2549 59,200 6.39 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 23/06/2549 20/06/2549 10,900 6.20 ซื้อ  
วิเชียร  ฤกษ์ไพศาล ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 22/06/2549 20/06/2549 10,000 6.25 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 03/07/2549 29/06/2549 5,000 6.45 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 03/07/2549 29/06/2549 5,000 6.50 ซื้อ  
วิเชียร  ฤกษ์ไพศาล ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 03/07/2549 30/06/2549 70,000 6.50 ซื้อ  
กริช  ทอมมัส ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 14/07/2549 06/07/2549 8,000 7.00 ขาย  
วิเชียร  ฤกษ์ไพศาล ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 07/07/2549 06/07/2549 30,000 6.90 ซื้อ  
วิเชียร  ฤกษ์ไพศาล ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 20/11/2549 17/11/2549 40,000 8.25 ซื้อ  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 13/07/2550 11/07/2550 50,000 8.40 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 13/07/2550 12/07/2550 60,000 8.60 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 13/07/2550 12/07/2550 40,000 8.65 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 17/07/2550 13/07/2550 40,000 8.95 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 17/07/2550 13/07/2550 100,000 9.00 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 17/07/2550 16/07/2550 30,000 8.90 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 19/07/2550 17/07/2550 10,000 8.65 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 19/07/2550 18/07/2550 10,000 8.80 ขาย  
นิติพงษ์  ห่อนาค คู่สมรส หุ้นสามัญ 19/07/2550 18/07/2550 10,000 8.85 ขาย  

G3M:
ชื่อผู้บริหาร ความสัมพันธ์ * ประเภทหลักทรัพย์ วันที่รับเอกสาร วันที่ได้มา/จำหน่าย จำนวน ราคา วิธีการได้มา/จำหน่าย หมายเหตุ

 เรียงข้อมูลตาม : | ชื่อผู้บริหาร | วันที่ได้มา/จำหน่าย |

เกรียงไกร  กาญจนะโภคิน ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 09/05/2550 04/05/2550 663,000 7.80 ขาย  
ไชย  ณ ศีลวันต์ ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 09/05/2550 04/05/2550 1,300,000 7.80 ซื้อ  
ความรู้มีน้อย อ่านงบไม่ค่อยเก่งครับ  แต่เรื่องตัดแปะนี่ถนัดมากครับ
ขอบคุณครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1288
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

น้ำครึ่งแก้ว เขียน:ตอบคุณน้องจั๊กจั่น ครับผม
ประมาณเป็นลูกครึ่งนะครับ
ยังงี้ จะเป็นว่า บ.ลูกถือแค่50แล้วเอาไปเขียนซ้ำใน บ.แม่ หรือเปล่าครับ

เพราะผมดูในลิสของ มติซน มีแต่จี3เอ็มถือ แค่20 ซึ่งเป็น 41ล้านหุ้น ด้วยซ้ำ ไม่ใช่ 205ล้าน

http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=MATI
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ ท่าน 1/2 แก้วน้ำ
 
 วิเคาระห์ไม่ได้เหมือนกัน ได้แต่สังเคราะห์ครับ  :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำครึ่งแก้ว
Verified User
โพสต์: 1098
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ตอบคุณ Mindtrick ครับ

เดี๋ยวจะถามผู้รู้ให้ครับผม  ผมเองก็ฟังมาว่า เรื่อง index นี่ GMMM นี่จะได้
รับประโยชน์มากกว่า Grammy นะครับ

ขอบคุณครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
entertain
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

Index

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Index เป็นลูกของ G3M (ถือ 50%โดยตรง) และเป็นหลาน (ลูกของลูก) ของ GRAMMY ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำครึ่งแก้ว
Verified User
โพสต์: 1098
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

GMMM ถือ index 50%   แบบตรงครับๆ อีก 50% เจ้าของถือครับ
Grammy ถือ index ผ่าน G3M อีกทีครับ

ขอบคุณครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1288
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ว่าแล้วคุณอา..

ขอบคุณครับ :D

ว่าแต่ ข้อมูลที่เอามา เอามาจากที่ไหนหรอครับ จะได้ระวังการดู..หลังไมค์ก็ได้ครับ :D
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
kvi
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ตกรถ Grammy อ่ะ ยังขึ้นไปฟังเพลงทันไหม
greenbull
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ทำไมไม่ซื้อตอนต่ำกว่า 10 บาท
เพราะมองว่าธุรกิจมันไปรอด number 1 ของธุรกิจนี้ และมันจะ Turn around หลังจากแย่มา 2-3 ปี
ตอน GRAMMY อยู่ 7-8 บาท คุณสามารถเอาเงิน 3000-4000 ล้าน เป็นเจ้าของบริษัททั้งบริษัท แถมยังได้ GMMM ที่มีมูลค่าประมาณ เกือบ 2000 ล้าน ทำไมผมจะไม่ซื้อ,  Brand Grammy ผมว่ามีมูลค่าทางธุรกิจที่มองไม่เห็นสูง
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 3

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ส่วนตัวผมชอบ gmmm มอกกว่าตรงที่จับต้องง่ายกว่าครับ gmmm เป็นจ่ายของ index โดยตรง ธุรกิจ mice น่าจะเติบโตได้อีกมากในเมืองไทย และประเทศเพื่อนบ้านใกล้ (ถ้าไปได้นะ)

grammy ผมดูไม่เป็นอ่ะ โดยเฉพาะธุรกิจบริหารศิลปิน

ปล. ความเห็นผมต้องกรองครับเพราะมีหุ้น gmmm อยู่
. . .
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 60

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

คนเรือ VI เขียน:ส่วนตัวผมชอบ gmmm มอกกว่าตรงที่จับต้องง่ายกว่าครับ gmmm เป็นจ่ายของ index โดยตรง ธุรกิจ mice น่าจะเติบโตได้อีกมากในเมืองไทย และประเทศเพื่อนบ้านใกล้ (ถ้าไปได้นะ)

grammy ผมดูไม่เป็นอ่ะ โดยเฉพาะธุรกิจบริหารศิลปิน

ปล. ความเห็นผมต้องกรองครับเพราะมีหุ้น gmmm อยู่
คิดเหมือนกันครับพี่น้องครับ และcatalystอีกอย่างที่กำลังรอคือการเปิดสถานีโทรทัศน์ของgmmm(grammyคงไม่ทำเองนะเพราะนั้นคือมีเดีย) และผลกำไรดีกว่า คำนวนง่ายกว่าตัวแม่ แต่.....ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งครับพี่น้องครับ มีคนลากตัวแม่ไปลิ่วๆเลยครับ gmmmไปช้ากว่าเยอะเลย :lol:

ปล.sameๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
Sittipan.tvi
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

จากBizWeek-et-EnterTrend-Innovation et  ฉบับ200 ศุกร์ 11 เมษายน 2551 หน้า 13 Cyberia...บุยเบอร์รีย์ [email protected]
"กรณีศึกษา จากแกรมมี่ถึง ผีกาก้า"
ข่าวร้อนล่าสุด! เป็นที่รู้กันในหมู่ Blogger ชาวไทยว่า ขณะนี้มีนโยบายขอความร่วมมือจาก GMM Grammy ที่ห้ามเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงแห่งนี้บนเวบ Blog ข้อห้ามหลักๆ คือ ไม่อนุญาตให้เจ้าของ Blog ใส่เพลงต้นฉบับให้ฟังทั้งแบบควบคุมเพลงได้(Streaming) หรือการเผยแพร่ไฟล์เพลงให้ดาวน์โหลดโดยการทำ Link ไปยัง Server ที่มีไฟล์เพลงนั้นฝากอยู่
           สิ่งที่ทำได้ คือ การเผยแพร่เนื้อเพลงแกรมมี่ โดยต้องระบุเครดิตชื่อเพลงและผู้ขับร้องให้ชัดเจน หรือถ้าเจ้าของ Blog นำเพลงนี้มาร้องใหม่ด้วยตัวเองก็ต้องระบุที่มาของเพลงนี้นอย่างชัดเจนว่าศิลปินคนไหนเป็นต้นฉบับ
         ประการขอความร่วมมือครั้งนี้เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาผู้ให้บริการ Blog หลายแห่งได้ประกาศแจ้งเตือนไปยัง Blogger ให้นำเพลงของ  แกรมมี่  ออกไปจากระบบทันที เพราะไม่เช่นนั้นแล้วฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ของทางแกรมมี่มีสิทธิที่จะเอาผิดกับเจ้าของ Blog ในแง่ของการละเมิดสิทธิ
         ระเบิดลูกนี้ทำให้เกิดประโยคฮิตในหมู่ Blogger ว่า "Blog นี้ไม่มีเพลงแกรมมี่" มีผู้อ่าน Cyberia หลายท่านเขียนเมลมาพูดคุยประเด็นนี้อย่างออกรส! ว่าเรื่องนี้เป้นเรื่องใหม่ในสังคมไซเบอร์บ้านเราที่มีมิติการปราบปรามปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์เพลงระอุขึ้นบนอินเตอร์เน็ด ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าทีมติดตามและตรวจสอบของค่ายเพลงยักษ์จะเชือดไก่ให้ลิงดูเมื่อไหร่
         แต่อย่าที่รู้กันว่าศิลปินหัวคิดก้าวหน้าหลายชื่อในต่างประเทศ ไม่ได้สนใจปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในไซเบอร์สเปซแล้ว หนำซ้ำการประกาศตัวว่าอยู่คนละฟากกับBlogger ยิ่งเป็นข้อที่ศิลปินหลีกเลี่ยง เพราะต้องไม่ลืมว่าในโลกของนิวมีเดีย Blogger เองก็คือ สื่อมวลชนคนสำคัญที่จะกระพือกระแสให้เพลงของพวกเขาเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
         วัดได้จากความนิยมในการทำเพลงไปแขวนไว้บน Myspace ที่ปัจจุบันมันได้กลายเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ของอุตสาหกรรมเพลง จนมีศิลปินบางกลุ่มตั้งใจทำเพลงเพื่อป้อน Myspace ให้ผู้ฟังเข้าไปฟังฟรีๆ เสียด้วยซ้ำ สิ่งนี้กลายเป้นเทรนด์ใหม่ของวงการแล้วนะขอบอก
         Cyberia มองว่าในอีกทางหนึง Blogger เอง คือ ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดเพลงฮิตตลอดจนความนิยมในตัวของศิลปิน แม้ว่าแกรมมี่เองจะมีสื่อฯ ในมืออยุ่หลายรูปแบบแล้ว แต่รูปแบบหนึ่งที่ขาดก็คือ Bolg
         ปฏิเสธไม่ได้ว่า เพลง คือ ส่วนหนึ่งในชีวิตวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย และเวลานี้ Blog หรือ ไดอารี่ออนไลน์ก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กวัยทีนเช่นกัน จึงไม่แปลกที่พวกเขาและเธอจะเขียนบล็อกโดยมีเพลงเป็นองค์ประกอบ เช่น วันนี้อกหักมาก็อยากใส่สตรีมมิ่งเพลงที่ฟังดูเศร้าให้คนที่เข้ามาอ่านมีอารมณ์ร่วมไม่จำเป็นว่าเพลงนี้นต้องเป็นเพลงของแกรมมี่แต่เป็นเพลงของศิลปินคนไหนก็ได้ที่เจ้าของ Blog "อิน" จนอยากใช้เพลงเป็นสื่อฯ เมื่อมีคนเข้ามาอ่านบล็อกนี้เข้า ก็เท่ากับว่าเพลงเพลงนั้นถูกเจอ ถูกฟัง ถูกรู้จัก ถูกแนะนำไปด้วย
         อีกอย่าง Blog เองก็มีลักษณะ Viral Marketing อยู่สูง เพลงฮิตบางเพลงสามารถติดต่อและรุกรานทะลุทะลวงไปได้อย่ารวดเร็ว จากการส่ง Link ต่อไปเรื่อยๆ ตัวอย่าง เมือปีกลายมีเพลงฮิตอย่าง "ผีกาก้า" ของมาเฟีย เรคคอร์ดที่โด่งดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง
         เพลงนี้เป็นเพลงที่แปลงเนื้อจากเพลง"หมีแพนด้า" ของวงไฮไร ผีกาก้าถูกเผยแพร่ครั้งแรกในเวบบอร์ดเล็กๆ  เจ้าของความคิดและเสียงร้อง คือ ซัง-วิวัธน์ จิโรจน์กุล ที่เขาตั้งใจทำเพลงนี้ขำขำไว้แซวแฟนผีแดง
         ไม่น่าเชื่อว่าด้วยเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่สัปดาห์เพลง "ผีกาก้า" ที่วิวัธน์ใช้นามแฝงว่า "ซังกะบ๊วย" จะกลายเป็น Talk of The Town ด้วยผลเสิร์ชหาจากกูเกิล แล้วพบว่ามีเวบไซต์เป็นหมื่นๆ เวบที่พูดถึงเพลงนี้และมีหลายเวบที่แขวนเพลงผีกาก้าให้ผู้เข้าชมฟังเพลินๆ ทีวีหลายชื่องโหลดเพลงนี้ไปใช้ประกอบรายงานข่าว
         กระทั่งลงหนังสือพิมพ์ว่าที่มาของเพลงผีกาก้า เกิดจากเจ้าของเพลงแต่งขึ้นหลังจากที่เขาดูฟุตบอลคู่แมนฯ ยู กับเอซี มิลานเมื่อผลออกมาว่ามิลานพลิกชนะแมนฯ ยู ถึง 3-0 เข้ารอบชิงยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกก็เลยคิดว่าอยากจะแต่งเพลงสักเพลงเพื่อโพสต์ไว้ในเวบบอร์ด เพลงนี้ใช้เวลาแต่งเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น! แต่มันก็ฮิตอย่างน่าแปลกใจ เพราะ 2 วันผ่านไปมีคนโหลดไปฟังมากกว่า 6 พันครั้ง!
         เห็นได้ชัดว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่ทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงฮิตแบบชั่วข้ามคืนหรือกรณีศึกษาล่าสุด อย่างเพลง "รักไม่รู้ดับ" เพลงประกอบโฆษณาของบัตรเครดิตเจ้าหนึ่งก็กลายเป็นเพลงฮิตที่ถูกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสตรีมมิ่งหรือว่าคลิปวีดีโอจนเพลงนี้กลายเป็นเครื่องมือการตลาดที่ประสบความสำเร็จของเจ้าของสินค้า
         ดังนั้นถ้าค่ายเพลงหันมาใช้ Blog เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์เพลงมันก็คือสื่อฯ ที่มีพลังและซึมซับไปสู่การรับรู้ของคนฟังได้ไม่น้อยที่เดียว แต่ Cyberia ก็เห็นด้วยกับประกาศข้อนี้ที่ห้ามปล่อยไฟล์เพลงแบบดาวน์โหลดไปทั้งไฟล์ เพราะมันก็ไม่ยุติธรรมกับคนสร้างงาน
         เรื่องนี้เพิ่งเริ่มต้นครับ ยังไม่รู้ตอนจบจะเป็นอย่างไร ว่าแต่ว่าตอนนี้ Vampire มีเพลงอะไรใหม่ๆ บ้าง
                                                     
                อากู๋รู้หรือเปล่า?e
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

มันมีทั้งข้อดีข้อเสียนะ ผมว่า

อีกอย่างถ้ามองในมุมว่าผลงานเราถูกเผยแพร่ออกไป แต่เราไม่ได้เงินหรือผลตอบแทนอะไรกลับมา คงไม่ค่อยรู้สึกดีเท่าไหร่ ยังงัยก็ยังต้องมีเงินไว้กินไว้ใช้ครับ ไม่ได้ทำงานการกุศล
Sittipan.tvi
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

ฝากบอกใครที่สนใจ GRAMMY + GMMM หน่อยครับ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

http://www.bangkokbiznews.com/index.php
source:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
date/time 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 09:30:00

มองทางออก ธุรกิจเพลง
ปรากฏการณ์ยอดขายเพลงซบเซาที่ยังดำเนินต่อเนื่อง ทำให้เกิดคำถามแก่ทั้งเหล่าผู้ฟังและคนทำงานในธุรกิจเพลงที่ว่า ธุรกิจเพลงได้ก้าวมาถึงทางตันแล้วใช่หรือไม่ และหากต้องการจะเดินหน้าต่อ เราควรก้าวไปในทิศทางใด

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ :

ทุกวันนี้ถ้าอยากจะหาเพลงฟัง คงมีคนเพียงไม่กี่คนที่ยอมลงทุนควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อซีดีเพลงราคาร้อยกว่าบาท ให้กับงานที่เรามักเรียกกันว่าเป็น 'เพลงตลาด' ร้องโดยศิลปินขายหน้าตา ที่ทั้งอัลบั้มมีเพลงเพราะพอฟังได้ไม่เกินสองเพลง โดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง ทั้งข้าวทั้งน้ำมันแข่งกันขึ้นราคา หลายคนคงจะหันไปเลือกซื้อแผ่นเอ็มพีสามเถื่อน หรือไม่ก็ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตแบบฟรีๆ และไม่รู้สึกว่าสินค้าประเภทนี้ควรค่าแก่การเสียเงินให้เท่าใดนัก

ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดคำถามแก่ทั้งเหล่าผู้ฟังและคนทำงานในธุรกิจเพลง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะสถาบันการศึกษาซึ่งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่ออนาคตวงการเพลงของประเทศไทย จึงได้จัดวงเสวนาในหัวข้อที่ว่า ธุรกิจเพลงตายจริงหรือ เชิญผู้ที่รู้จริงในอุตสาหกรรมดนตรีไทยมาพูดคุย เพื่อร่วมกันตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ

เพลงดี มีอยู่น้อย

พลวิทย์ โอภาพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ร่วมอภิปราย ได้อธิบายถึงสภาพปัญหาของธุรกิจเพลงในปัจจุบันให้ฟังว่า แม้ดนตรีจะไม่เคยตาย แต่เพลงที่ดีนั้นมีจำนวนน้อยเต็มที และเพลงดีๆ เท่าที่มีอยู่ก็มักจะไม่ได้รับการส่งเสริมให้เผยแพร่ในวงกว้าง ทำให้ศิลปินที่มีความสามารถไม่สามารถแจ้งเกิดได้

ลูกศิษย์ทุกคนก็ถามว่า อาจารย์ผมพยายามทำเพลงกัน แบบที่ผมพูดได้ตรงๆ ว่าโคตรดีเลย แต่พอถึงเวลาไปเสนอที่ไหนเขาก็ไม่เอา ปัญหานี้ ผมอยู่ในวงการเพลงมาตลอด 20 ปี ได้ยินมาตลอด แล้วเราก็พูดกันอยู่แบบนี้ ไม่เคยเปลี่ยน อ.พลวิทย์ เล่า

ส่วนศิลปินที่มีความสามารถ พอได้เข้ามาสู่วงการธุรกิจเพลง ก็ไม่มีโอกาสสร้างงานตามความต้องการของตัวเอง เพราะงานเพลงเป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า หรือ Marketing Art ทำให้ปัจจัยเรื่องการตลาดและความต้องการของผู้ฟังกลายเป็นกำแพงขวางกั้นการสร้างงานที่ศิลปินไม่สามารถก้าวข้ามไปได้ เมื่อศิลปะต้องมาเจอกับการตลาด ศิลปะนั้นก็จะไม่สามารถดำรงจิตวิญญาณได้อีกต่อไป เพราะโดนชี้นำจากทั้งนายทุนและนักการตลาด เพลงที่ดีและสร้างออกมาจากความตั้งใจของนักทำเพลงจริงๆ ในปัจจุบันจึงหาได้ยาก เพราะถูกสั่งให้สร้างออกมาตาม โจทย์ ความชอบของตลาดผู้ฟัง ไม่ใช่ศิลปะที่ทำออกมาเพื่อความอิ่มเอมใจ ความสุขของผู้สร้างอีกต่อไป

เพลงดี กับ เพลงโดน

ปีเตอร์ กัน อดีตผู้บริหารค่ายเพลงยักษ์ใหญ่โซนี่ มิวสิค ได้ให้มุมมองของนักการตลาดที่ทำงานในวงการเพลงมาร่วมยี่สิบปีว่า สาเหตุที่ตลาดเพลงในประเทศไทยซบเซาลงนั้น ไม่ใช่เพราะไม่มีคนผลิตเพลงดีๆ ออกมา แต่เป็นเพราะนักการตลาดในวงการอุตสาหกรรมดนตรีไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวคิดของคำว่า เพลงดี กับ เพลงโดน ต่างหาก

"เพลงดี คือผลงานที่มาจากนักดนตรี หรือหัวใจศิลปินที่ถูกต้อง แล้วทำงานเต็มที่ ทำงานออกมาจากใจ ไม่ได้ทำงานเพราะมีใครมาสั่งให้ทำว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้

ส่วนเพลงโดนนั้น เป็นหน้าที่ของพวกนักการตลาดหรือนักการจัดการ ว่าจะพาเพลงที่ดีนั้นไปอยู่ที่ไหน แล้วสามารถสร้างคุณค่าสูงสุดให้เกิดขึ้นมาได้ยังไง สาเหตุที่เราบอกว่าเพลงดีมักจะไม่ค่อยโดน เพราะว่าเรากำลังตั้ง Segment (กลุ่มผู้บริโภค) ผิด เพลงที่ดีมันต้องโดน แต่โดนให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ปีเตอร์ อธิบาย

ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่องการทำเพลงให้ดีกับการทำเพลงให้โดนใจผู้ฟังนี้เอง ทำให้เกิดการบริหารจัดการที่ผิดพลาด ศิลปินผู้ทำเพลงหรือโปรดิวเซอร์จึงมักจะได้รับคำสั่งมาจากฝ่ายการตลาด ว่าต้องทำเพลงแนวไหน เนื้อหาแบบใด แทนที่ศิลปินจะเป็นฝ่ายกำหนดรูปแบบเพลงและสร้างงานออกมาตามต้องการอย่างเต็มความสามารถ

ดังนั้นวิธีการแก้ไขคือจะต้องมีการแยกหน้าที่ให้ชัดเจน ระหว่างคนทำดนตรีและนักการตลาด ไม่ควรให้ฝ่ายการตลาดมามีอำนาจเหนือแนวทางการผลิตผลงานของศิลปิน แต่ควรทำหน้าที่เป็นผู้นำเอางานของศิลปินที่สร้างมาเสร็จแล้วไปจัดการทางการตลาดต่อไป

ปรากฏการณ์ ไม่เอาเพลงเชิงพาณิชย์

ตามทฤษฎีทางการตลาดพื้นฐานนั้น เดิมทีจะเน้นเรื่องการมองคุณค่าจากภายในหรือการสร้างจิตสำนึกแบบ inside out ที่เริ่มจากการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ดี มีคุณภาพเหนือคู่แข่ง เพื่อให้สามารถยืนหยัดอยู่ในวงการได้ แต่ต่อมาการตลาดก็หันกลับมาเริ่มต้นด้วยการสร้างคุณค่าจากภายนอก หรือการมองแบบ outside in ด้วยการตั้งโจทย์การผลิตโดยมองพื้นฐานความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ในธุรกิจดนตรีจึงเกิดการสร้างเพลงแบบที่เรียกว่า Commercial music หรือดนตรีเชิงพาณิชย์ ที่สร้างเพลงเฉพาะตามที่ผู้ฟังต้องการ

และเนื่องจากการทำเพลงแบบดนตรีเชิงพาณิชย์นี้ สามารถสร้างรายได้ให้กับนักลงทุนได้มากกว่า ปัจจุบันเพลงที่ทำเพียงแค่พอให้สามารถตอบโจทย์ทางการตลาดได้ จึงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเข้ามากินพื้นที่ในธุรกิจเพลงมากกว่าส่วนที่เป็นเพลงคุณภาพแบบงานศิลปะ เกิดเพลงแนวซ้ำๆ ทำนองคล้ายๆ กันจนผู้บริโภคเริ่มเบื่อ

ก่อนช่วงประมาณ ค.ศ.1995 สมัยนั้นมีแต่คำว่า อาร์เอส-แกรมมี่ แล้วเพลงก็ถึงจุดอิ่มตัว คนก็เบื่อเพราะเน้นตลาดเหลือเกิน มันเลยปะทุคำว่า อินดี้ ที่มาจาก independent Music แหกออกมา เพราะคนต้องการงานที่สร้างด้วยจิตวิญญาณจริงๆ กันมากขึ้น ปีเตอร์เล่า

แน่นอนว่าศิลปะที่ดีต้องมาจากใจของผู้ทำ แต่เมื่อการสร้างอัลบั้มเพลงดีๆ ออกมาต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศิลปะดนตรีจะตัดขาดตัวเองออกจากเรื่องการตลาด ทางออกจึงอยู่ที่การมองหาจุดร่วมตรงกึ่งกลางระหว่างฝ่ายการตลาดและศิลปิน ที่จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันและทำงานของตัวเองได้เต็มที่ อ.ปีเตอร์ เปรียบเทียบให้ฟังว่า งานเพลงที่เป็นศิลปะบริสุทธิ์เหมือนกับสีขาว ที่เราอาจนำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นสีเทาจางๆ ได้ แต่การจะเปลี่ยนสีขาวจนกลายเป็นสีดำ จะทำให้งานเพลงเสียคุณค่าทางศิลปะไปในที่สุด

ปีเตอร์ชี้ทางว่า ถ้าเราพยายามจะทำสุดขั้วให้จากขาวเป็นดำ มันจะพัง แต่ถ้าทำให้เป็นเทาๆ พอไหว ใครจะรู้ว่าสักวันหนึ่งคนที่ฟังเทาอ่อนๆ อาจจะกลายมาฟังแบบขาวเลยสักวันหนึ่งก็ได้ นั่นก็คือเราได้บรรลุเป้าหมายของเรา

ในความเห็นเดียวกันนี้ ยังระบุว่า ความพยายามจะทำเพลง อินดี้ ให้เป็นเพลงตลาด หรือแปลงขาวให้เป็นดำของค่ายใหญ่นั้น อาจจะถือเป็นความผิดพลาด จนในที่สุดเพลงอินดี้ก็สูญเสียจิตวิญญาณของความเป็นศิลปินอิสระ คนฟังไม่สามารถแยกแยะได้อีกต่อไปว่าใครเป็น 'ศิลปินอิสระ' หรือใครเป็น 'ศิลปินเชิงพาณิชย์'

กุญแจหลักสำคัญในสายตาของผู้บริหารและนักการตลาด จึงเป็นการรู้จักปรับเปลี่ยนในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งจะทำให้นักการตลาดสามารถทำงานได้ดี และศิลปินก็สามารถสร้างงานได้ตามต้องการ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ : ทางออกของธุรกิจเพลง

นรเศรษฐ หมัดคง นักวิจารณ์ดนตรีและดีเจคลับชื่อดัง ได้ชี้แนะถึงเทคโนโลยีที่อาจจะเป็นทางออกใหม่ของธุรกิจเพลงว่า ในอดีตเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ทันสมัย การจัดทำเพลงและบันทึกเสียงให้มีคุณภาพดีพอ ที่จะนำออกวางขาย ต้องใช้เงินนับแสนบาท ทำให้การทำงานเพลงต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก ศิลปินจึงต้องมุ่งไปยังนายทุน และเข้าไปสู่วงการธุรกิจเพลงที่ต้องพึ่งพิงสองค่ายยักษ์ใหญ่อย่างแกรมมี่และอาร์เอส ทำให้ธุรกิจเกิดการผูกขาดและขาดความหลากหลาย

แต่ปัจจุบันศิลปินยุคใหม่มีทางออกที่ทำให้สามารถสร้างงานของตัวเองได้ เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาไปไกล นรเศรษฐเล่าว่า ตอนนี้หากนักศึกษาคนไหนพอจะมีเงินซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ McIntosh ก็สามารถทำงานเพลงคุณภาพอยู่ที่บ้านได้ ไม่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมากหรือต้องเข้าไปอาศัยค่ายเพลงอีกต่อไป

ส่วนเรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย แต่เดิมต้องอาศัยวิทยุหรือโทรทัศน์ให้ช่วยเปิดเพลงออกอากาศ ให้คนรู้จักเพลง ทว่าในปัจจุบันใครๆ ก็สามารถเผยแพร่งานของตนเองได้ง่ายๆ ผ่านทางเวบไซต์เช่น MySpace หรือ You tube ที่เปิดโอกาสให้ได้เผยแพร่งานออกสู่กลุ่มผู้ฟังทั่วโลกอย่างไร้ขีดจำกัด

ตอนนี้เทคโนโลยีกำลังจะเอาคืนค่ายใหญ่ๆ เอาคืนภาคอุตสาหกรรมใหญ่ จุดที่เรายืนอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นจุดที่ถ้าเราสามารถสร้างจุดสมดุลได้ก็จะเกิดการพัฒนา นรเศรษฐ กล่าว

อย่างไรก็ตาม มีคำถามตามมาว่า เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แต่คุณภาพดนตรีกลับลดลง? ขณะที่ช่องทางการเพลงที่ไม่ต้องอาศัยต้นทุนสูง จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และมีช่องเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทว่าความทันสมัยและความ ง่าย สวนทางกับภาพของงานดนตรี อย่างที่ อ.พลวิทย์ ให้ข้อสังเกตว่า ดนตรีที่นำมาเผยแพร่ในเวบไซต์นั้น ส่วนมากมักจะไม่ค่อยมีคุณภาพมากเท่าไหร่ เพลงจากโซนเอเชียหรือประเทศไทย จึงไม่ค่อยได้รับการยอมรับในแง่การเติบโต เกิดมาจากสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น เวบไซต์ MySpace หรือการดาวน์โหลดอย่างในต่างประเทศ ในที่สุดแล้วเพลงในโลกออนไลน์ก็กลายเป็นงานที่ขาดคุณภาพ เพราะคนสร้างไปหลงกับความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีจนไม่ใส่ใจกับศิลปะที่จะต้องใส่ลงไปในเพลงด้วย

อ.พลวิทย์ ยังเน้นย้ำเรื่อง 'เพลงดี' ต้องมาก่อน โดยการสร้างเพลงที่ดีจึงต้องหันกลับมาเริ่มจากการพัฒนาตัวศิลปินผู้สร้างงาน ซึ่ง 'ศิลปินที่ดี' ต้องเป็นผู้ที่มี competency ที่ปีเตอร์ กัน ให้แปลเป็นไทยว่า "คือตัวตน หรือความสามารถเฉพาะตัว" อันประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆ คือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (skill) และทัศนคติ (Attitude) ที่คนทุกวันนี้มักเข้าใจผิดว่าควรจะต้องเริ่มจากการไปหาความรู้ แล้วมาพัฒนาทักษะ จากนั้นจึงค่อยอบรมสร้างทัศนคติหรือจิตวิญญาณขึ้นมา

แต่วิธีการที่ถูกต้องเราต้องเริ่มจากการมีทัศนคติที่ถูกดีก่อน แล้วค่อยไปศึกษาหาความรู้ และเพิ่มพูนทักษะ เราถึงจะได้ศิลปินและงานที่ดี เพราะความรักในงานศิลปะดนตรีเป็นหัวใจสำคัญสูงสุดในการสร้างงานนั่นเอง

สังคมร่วมมือ

นอกจากจะต้องมีศิลปินดีๆ ที่สร้างเพลงมีคุณภาพออกมาได้แล้ว ธุรกิจเพลงจะเจริญเติบโตได้ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง 3 ภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

ปีเตอร์อธิบายว่า เช่นเดียวกับวิธีการสร้างความเจริญเติบโตของทุกวงการธุรกิจ อุตสาหกรรมเพลงเองก็ต้องการการส่งเสริมที่ถูกต้องจากภาครัฐ แนวทางการทำงานที่ถูกต้องจากภาคส่วนเอกชนที่เป็นเจ้าของอุตสาหกรรม และการสนับสนุนอย่างดีจากภาคประชาชน ในบ้านเรานอกจากทั้ง 3 ฝ่าย จะไม่ค่อยร่วมมือกันอย่างดีแล้ว ที่สำคัญคือศิลปะไทยมักจะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งหากมีการวางนโยบายที่ดีเป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาได้ ดังเช่นในประเทศเกาหลีที่อุตสาหกรรมบันเทิงในรอบห้าปีที่ผ่านมา สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ก็เพราะภาครัฐสนับสนุนและให้ความสำคัญ

นวัตกรรม 3 ด้าน : หัวใจของการพัฒนา

นอกจากต้องอาศัยความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วนของสังคมที่เปรียบได้กับเก้าอี้ 3 ขาที่ขาดข้างใดข้างหนึ่งไปก็จะไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้ว ปัจจัยที่สำคัญมากอีกประการคือการพัฒนานวัตกรรม 3 ด้าน ให้ก้าวเดินไปอย่างสมดุล

ได้แก่ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต (infrastructure) เช่น การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh หรือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต อย่างที่สองคือนวัตกรรมที่เป็นวิธีการในการผลิต และสุดท้ายคือนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ ประเทศที่สามารถพัฒนานวัตกรรมทั้ง 3 ด้านให้ก้าวเดินไปอย่างสอดคล้องกันได้ ก็จะประสบความสำเร็จในการพัฒนา ดังเช่นในวงการเพลงของประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และอังกฤษ ที่ปีเตอร์กล่าวว่ามีการพัฒนาของนวัตกรรม 3 ด้านนี้อย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงานที่เป็นศิลปะ กับการใช้เทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการจัดการที่ถูกต้อง

ตัวอย่างของการพัฒนานวัตกรรม 3 ด้านอย่างไม่สมดุลที่เห็นได้ชัดเจนคือ วงการเพลงของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นายทุนต้องการจะปิดกั้นการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่ผลงานเพลงเอาไว้

ความล่มสลายของอุตสาหกรรมดนตรีในช่วงประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา เกิดมาจากนวัตกรรมการจัดการที่ผิดพลาดของฝั่งอเมริกา นักกฎหมายอเมริกันเลยแหละที่พยายามงก สงวน กันไว้ไม่ให้เพลงเข้าสู่ในกระแสดิจิทัลหรือการดาวน์โหลด ล็อกไว้อยู่ตั้งนาน เพราะถ้าเพลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล ปริมาณมันจะเพิ่มขึ้นมหาศาล ต้องเกิดการปรับ infrastructure และข้อตกลงใหม่หมด เรื่องการให้เพลงดาวน์โหลดได้ฟรี มันจึงควรจะเกิดตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ไม่งั้นป่านนี้เราคงไม่เละเทะกันขนาดนี้หรอก เพราะคุณไปขวางคนเอาไว้ ผมถึงบอกว่านวัตกรรม 3 ตัวนี้ ต้องวิ่งไปด้วยกันตลอด ต้องเกิดการจัดการบริหารให้สมดุล ปีเตอร์กล่าว

อดีตผู้บริหารค่ายเพลง ยังมองอีกว่า แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องเทปผีซีดีเถื่อน ที่เป็นประเด็นหนักอกคนทำเพลงทุกวันนี้ ทางออกอยู่ที่การพัฒนานวัตกรรมด้านที่สอง ซึ่งเป็นเรื่องของวิธีการในการผลิต จะต้องทำเพลงให้มีคุณภาพดีอย่างที่เรียกได้ว่า เจ๋งจริง ดีจนกระทั่งมีความแตกต่างเกิดช่องว่างระหว่างคู่แข่งคนอื่นๆ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลงานเพลง และทำให้คนเกิดความรักในผลงานนั้นๆ

"ถ้าเพลงมันดีพอ เข้าไปในจิตใจคนได้เร็ว พอเขาจะรักเพลงนั้นมากพอ เห็นคุณค่ามันสูงพอที่จะจ่าย ถ้าไม่ชอบเอามาแจกฟรีก็ไม่เอา แต่ถ้าชอบมากราคาเท่าไรเราก็ซื้อ นั่นแหละผมถึงจะเรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราต้องสมดุลให้ดีระหว่างนวัตกรรม 3 อย่าง ดูว่าเพลงดีมันดีจริงหรือเปล่าเสียก่อน แล้วค่อยมาหาตัวที่สองคือนวัตกรรมการตลาดหรือการจัดการ ถึงจะแก้ปัญหาได้

เมื่อให้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดฟันธงว่า ธุรกิจเพลงไทยตายแล้วหรือยัง ปีเตอร์ก็ได้ลงความเห็นว่ายังไม่ตายแน่นอน แต่อยู่ในสภาพที่เรียกว่า ดูงงๆ หยุดพักตัว และดู ถดถอย ลงไปจากเดิม ซึ่งก็เกิดจากสาเหตุทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

แต่น่ายินดีว่าปัจจุบันสัญญาณด้านบวกได้เริ่มแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 'ความต้องการของตลาด' ที่ดูจะเรียกร้องหาเพลงที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม หรือแนวทางของค่ายใหญ่ๆ ที่เริ่มจะหันมาหาทางนำเพลงเข้าสู่กระแสดิจิทัล วงการเพลงไทยจึงน่าจะพัฒนาต่อไปและรอดพ้นจากภัยคุกคามครั้งนี้ได้ หากได้รับการจัดการด้วยวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่วิทยากรทั้ง 3 ท่าน เน้นย้ำว่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจเพลงไทยคือ เราต้องหันมาเริ่มจากการพัฒนาคนที่มีคุณภาพ สร้างศิลปินที่มีจิตวิญญาณรักในงานดนตรีอย่างแท้จริง เหนือสิ่งอื่นใดภาคธุรกิจก็ต้องมองเห็นความสำคัญของงานศิลปะและมีระบบการจัดการที่เหมาะสม

ไม่อย่างนั้นแล้ว วงการเพลงไทยถึงแม้จะยังไม่ตายแต่สภาวะ ดูงงๆ หยุดพักตัว และดู ถดถอย' นี้อาจอยู่คู่เราไปอีกนานจนกลายเป็นสภาพอย่างที่เรียกกันว่า ไม่ตายแต่เลี้ยงไม่โต ก็เป็นได้
โพสต์โพสต์