สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 226

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาด โดยเทียบเคียงของสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (World Federation of Exchanges : WFE) มาใช้คำนวณค่าสถิติภาพรวม ทั้งของตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (mai) ได้แก่ อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (Price/Earning หรือ P/E) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (Price /Book Value หรือ P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ซึ่งจะนำค่าสถิติที่ใช้วิธีคำนวณใหม่มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.set.or.th ควบคู่ไปกับค่าสถิติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป

ปัจจุบัน วิธีการคำนวณค่าสถิติหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้แก่ อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ หรือ พีอี (Price/Earning หรือ P/E) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี หรือ พีบีวี (Price /Book Value หรือ P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) มีความแตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น การคำนวณค่าพีอี ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯคำนวณเฉพาะหุ้นสามัญที่จดทะเบียนที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานงวด 12 เดือนล่าสุด ทำให้ค่าพีอี ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่ำกว่าตลาดหลักทรัพย์อื่น โดยปัจจุบันค่าพีอี ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ที่ประมาณ 11 - 12 (ณ ก.พ. 2551)

"ค่าสถิติภาพรวมตลาดที่นำวิธีการใหม่มาคำนวณ จะสามารถสะท้อนมูลค่าภาพรวมตลาดได้ตามแนวทางเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยค่าพีอี ตามวิธีการคำนวณใหม่ที่นำผลการดำเนินงานของทุกหลักทรัพย์เข้าไปรวมคำนวณด้วย จะทำให้มีค่าพีอี อยู่ที่ประมาณ 15 - 17 ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดหลักทรัพย์ใน เอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลี เป็นต้น นับเป็นการยกระดับความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทยให้เทียบเคียงกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ" นางภัทรียากล่าว

ดร. สันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ดูแลงานฝ่ายธุรกิจข้อมูล สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า คณะทำงานด้านดัชนีราคาหลักทรัพย์และค่าสถิติภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาที่จะนำวิธีการคำนวณที่สามารถเทียบเคียงได้กับ WFE มาใช้ โดยจะเผยแพร่ค่าสถิติที่ใช้วิธีการคำนวณใหม่คู่ขนานไปกับค่าสถิติที่ใช้วิธีการในปัจจุบัน เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ในการอ้างอิง พร้อมทั้ง จะมีการทำข้อมูลสำหรับการอ้างอิงย้อนหลังไปอีก 5 ปีด้วย โดยจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.set.or.th

สำหรับอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (Price / Book Value หรือ P/BV) ที่ใช้วิธีการคำนวณแบบใหม่ จะคำนวณจากหลักทรัพย์สามัญที่อยู่ในการคำนวณดัชนี และจะนำส่วนของผู้ถือหุ้น รวมทั้งหุ้นที่ถือโดยบริษัทย่อยของทุกหลักทรัพย์เข้าไปรวมคำนวณด้วย ส่วนการคำนวณอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) วิธีการใหม่ จะคำนวณจากหลักทรัพย์สามัญที่อยู่ในการคำนวณดัชนี จากปัจจุบันที่คำนวณจากหลักทรัพย์สามัญทั้งหมด

สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ SET Call Center โทร. 02 229 2222
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 226

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดูภาพรวมของ SET แล้วบอกได้มั๊ยครับว่าธุรกิจบ้านเราตอนนี้ มี competitiveness น้อยกว่าเพื่อนบ้าน ? หรือว่าเรามีธุรกิจดี ๆ อีกมากที่ยังไม่เข้าตลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
HI.ผมเอง
Verified User
โพสต์: 811
ผู้ติดตาม: 0

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อย่างงี้ ก็หมดมุข ที่ว่า
+++ตลาดบ้านเรายังถูกกว่าเพื่อนบ้านสิครับ :lol: +++ :welcome:  :drink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2913
ผู้ติดตาม: 10

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 4

โพสต์

HI.ผมเอง เขียน:อย่างงี้ ก็หมดมุข ที่ว่า
+++ตลาดบ้านเรายังถูกกว่าเพื่อนบ้านสิครับ :lol: +++ :welcome:  :drink:
เห็นปีที่แล้วพูดกันจังว่า PE บ้านเราต่ำกว่าเพื่อนบ้าน

ดูรายการ Money Channel ช่วง 2 ทุ่มครึ่งอาทิตย์ที่แล้ว พิธิกรบอกว่า PE บ้านเราแค่ 1 เท่า ฟังแล้วกลุ้ม
investment biker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1284
ผู้ติดตาม: 139

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 5

โพสต์

PE ยิ่งสูงเท่าเพื่อนบ้าน = ตลาดหุ้นเริ่มน่าสนใจ  

จบจากที่ไหนมาครับเนี่ย

:shock:  :lol:  :lol:  :lol:
In search of super stocks
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 3

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 6

โพสต์

[quote="investment biker"]PE ยิ่งสูงเท่าเพื่อนบ้าน = ตลาดหุ้นเริ่มน่าสนใจ
Impossible is Nothing
investment biker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1284
ผู้ติดตาม: 139

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 7

โพสต์

จริงด้วย ลืมไป
ปล่อยไก่ตัวเบอเริ่มเลยเรา  :oops:
In search of super stocks
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 8

โพสต์

[quote="investment biker"]PE ยิ่งสูงเท่าเพื่อนบ้าน = ตลาดหุ้นเริ่มน่าสนใจ
terati20
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

Re: สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Linzhi เขียน:(
ตัวอย่างเช่น การคำนวณค่าพีอี ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯคำนวณเฉพาะหุ้นสามัญที่จดทะเบียนที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานงวด 12 เดือนล่าสุด ทำให้ค่าพีอี ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่ำกว่าตลาดหลักทรัพย์อื่น โดยปัจจุบันค่าพีอี ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ที่ประมาณ 11 - 12 (ณ ก.พ. 2551)

"ค่าสถิติภาพรวมตลาดที่นำวิธีการใหม่มาคำน ... างภัทรียากล่าว
เเสดงว่าที่ผ่านๆ มา เราเข้าใจผิดกันมาตลอดว่า ตลาด P/E  ยังต่ำ นักวิเคราะห์ที่เชียร์ด้วยเหตุผลนี้ จะอธิบายยังไงเนี่ย????
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4638
ผู้ติดตาม: 53

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ถ้าจะดู PE ของทั้งตลาด ก็ดูใน EPS15YEAR ได้
โดยดูใน ชีต PRICE&PE
โดยตั้งค่าตัวกรอง ที่Column B <หมวด>
เลือก Dose Not Contain <MAI>,Dose Not Contain <VAYU1>

มันก็จะแสดงแต่หุ้นที่อยู่ใน SET ทุกตัว
ที่แชล E1 ก็จะได้ค่าประมาณ PE
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แบบนี้ภาพรวมตลาดหุ้นบ้านเราก้อไม่ถูกแล้วน่ะสิครับ หรือป่าวเอ่ย  :8)  ...
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 357
ผู้ติดตาม: 70

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมคิดว่าหุ้นกลุ่มที่ดึง p/e ตลาดให้ต่ำ  ก็เป็นหุ้นที่ p/e ควรจะต่ำอยู่แล้วเช่น  หุ้นเรือ  ปิโตรเคมี  โรงกลั่นหรือ commodity ต่างๆ    ซึ่งบังเอิญหุ้นกลุ่มนี้มีน้ำหนักสูงในตลาดหุ้นไทย    

แต่หุ้นที่ p/e ควรจะสูง ที่อยู่ใน set50  ได้แก่หุ้นที่มีรายได้แน่นอน หรือธุรกิจแข็งแกร่ง  เช่น  mint  cpn  bec  bh  bgh  mcot  bigc  cpall    LH   ก็ p/e เกิน 20 เท่าเกือบทุกตัว   ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหุ้นแบบเดียวกันในภูมิภาค   หุ้นของเราในกลุ่มนี้ก็ไม่ถูกกว่าภูมิภาคเท่าไหร่

ดังนั้นตลาดหุ้นบ้านเราหากใช้ eps ปี 07 ก็จะเห็นว่าหุ้น p/e ต่ำก็เป็นหุ้นที่ไม่อาจจะเรียกว่าถูกเพราะมีเหตุผลที่ p/e ต้องต่ำ   ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพดีก็มี p/e สูงกันเกือบหมดทุกตัวแล้ว   ดังนั้นหุ้นตัวไหนที่จะ perform ในปี 08-09  น่าจะขึ้นกับ growth ว่าจะทำได้ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้กันแค่ไหนครับ
kongkang
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1085
ผู้ติดตาม: 6

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ดีใจที่เห็นคุณ IH กลับมาโพสในไทยวีไอ :D
Future_Investors
Verified User
โพสต์: 37
ผู้ติดตาม: 0

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 14

โพสต์

โอ่ ต่อไปก็ต้องมาดูว่า PEG ประเทศเราจะเหลือเท่าไรเมื่อเทียบกับต่างประเทศ  :evil:



หุ้นผมขอ PE สูงขึ้นตาม PE ตลาดก็ O แล้วครับ    :lol:
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมว่าถ้าเอาหุ้นปั่นออกไปจากตลาดให้หมด PE บ้านเราคงลดไปอย่างน้อย 1 เท่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 60

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 16

โพสต์

[quote="beammy"]แบบนี้ภาพรวมตลาดหุ้นบ้านเราก้อไม่ถูกแล้วน่ะสิครับ หรือป่าวเอ่ย
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ตามวิธีการคำนวณใหม่ที่นำผลการดำเนินงานของทุกหลักทรัพย์เข้าไปรวมคำนวณด้วย จะทำให้มีค่าพีอี อยู่ที่ประมาณ 15 - 17 ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดหลักทรัพย์ใน เอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลี เป็นต้น นับเป็นการยกระดับความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทยให้เทียบเคียงกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ" นางภัทรียากล่าว



อ่านแล้วเศร้าจัง
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 3

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 18

โพสต์

Jeng เขียน:ตามวิธีการคำนวณใหม่ที่นำผลการดำเนินงานของทุกหลักทรัพย์เข้าไปรวมคำนวณด้วย จะทำให้มีค่าพีอี อยู่ที่ประมาณ 15 - 17 ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดหลักทรัพย์ใน เอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลี เป็นต้น นับเป็นการยกระดับความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทยให้เทียบเคียงกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ" นางภัทรียากล่าว



อ่านแล้วเศร้าจัง
เนื่องจากอะไรเป็นหลักหรือครับพี่ Jeng รบกวนขยายความให้นิดนึงนะครับ
Impossible is Nothing
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 19

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

เนื่องจากอะไรเป็นหลักหรือครับพี่ Jeng รบกวนขยายความให้นิดนึงนะครับ
ก็แต่ก่อน พูดแต่ว่า pe ไทย ต่ำ เทียบกับเพื่อนบ้าน

แล้วก็มีผู้รู้บอกว่า pe ไทยต่ำ เพราะไม่เอาบริษัทขาดทุนมาคิด

และแล้วความจริงก็เปิดเผย

ก็เลยมาสัมภาษณ์ให้ดูดี ตามสไตล์ไทยๆ

ก็เลยเศร้า กับข่าวต่างๆ ที่อ่านแล้ว เชื่อยากขึ้นทุกวัน

ดีนะพี่ไม่ได้รับหนังสือพิมพ์ อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 2

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 20

โพสต์

อันนี้ตัด P/E ตลาดทุนรวมบ้านเรา(รวมหลักทรัพย์ทั้ง SET และ MAI) ย้อนหลัง 6 เดือนมาให้ดูครับ  ช่วงนี้ P/E ร่วงลงเยอะเพราะบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ส่วนมากประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น  :8)

รูปภาพ

มีพีคที่ 18.77 เท่า เมื่อ 29 ตุลาคม ปีที่แล้ว  :8)
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 21

โพสต์

naris เขียน:ภาพรวมไม่ถูก แต่หุ้นที่พี่ถืออยู่ ถูกลงมากเลย....เย้ :cheers:
:lol:  :lol:  :lol:

รู้นะ ตัวไหนอะ

อิอิ  :8)  ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Juninho
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1054
ผู้ติดตาม: 17

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 22

โพสต์

สงสัยครับว่า ช่วงที่ SET อยู่ประมาณ 1700 จุด
ที่เคยอ่านมาจำได้ว่า PE ตอนนั้น  ประมาณ 31 เท่า

อยากทราบว่า ไอ้ 31 เท่าเนี่ยคิดบริษัทที่ขาดทุนด้วย
หรือไม่

ถ้าไม่ได้คิดบริษัทที่ขาดทุน
PE จริง ๆ ตอนนั้นเท่าไรกัน
:o  :o
You Can Get It If You Really Want
But you must try, try and try
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 3

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 23

โพสต์

[quote="frog2"]สงสัยครับว่า ช่วงที่ SET อยู่ประมาณ 1700 จุด
ที่เคยอ่านมาจำได้ว่า PE ตอนนั้น
Impossible is Nothing
ภาพประจำตัวสมาชิก
Juninho
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1054
ผู้ติดตาม: 17

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 24

โพสต์

พิมพ์ผิดครับ

ถ้าตอนนั้นได้คิดบริษัทที่ขาดทุนด้วย
พีอี ตอนนั้นจะเป็นเท่าไร
You Can Get It If You Really Want
But you must try, try and try
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 3

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 25

โพสต์

frog2 เขียน:พิมพ์ผิดครับ

ถ้าตอนนั้นได้คิดบริษัทที่ขาดทุนด้วย
พีอี ตอนนั้นจะเป็นเท่าไร
ตอนก่อน 1,700 P/E ที่ใช้ก็นับรวมบริษัทที่ขาดทุนด้วยแล้วนี่ครับ เอ หรือผมเข้าใจคำถามไม่ถูกต้อง
Impossible is Nothing
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 357
ผู้ติดตาม: 70

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ลองนึกๆ เท่าที่จำได้นะครับ   ใช้ตัวเลขดัชนีประมาณ 800-1300 จุดช่วงก่อน crisis นะครับเพราะช่วง 1500-1700  จำได้ว่าหุ้นวิ่งแบบไม่มีใครสนใจ p/e กันอยู่แล้ว

หุ้นสื่อสาร   เป็นหุ้นที่ทุกคนยอมรับว่า p/e ต้องสูงมากเพราะ growth สูง   ถ้าเป็น shin  advanc  ก็ p/e 30-40 เท่า   แต่คนที่ลงทุนใน shin advanc   ตอนนั้นถึงปัจจุบันก็ยังพอกำไรเพราะธุรกิจมือถือเติบโตได้จริง

ส่วนสื่อสารตัวอื่นๆ   TT&T  ตอนเข้าตลาดก็ประมาณ 150 บาท ( ปัจจุบันยังพาร์เดิมอยู่คือ 10 บาท )   ส่วน TA  ก็ 100 กว่าบาทเหมือนกัน    เมื่อไม่นานนี้ช่วง dot com boom คือปี 2543   TA หรือ TRUE  ปัจจุบันก็เคยขึ้นจาก 10 กว่าบาทเป็น 70 กว่าบาท    ปัจจุบันเหลือ 5 บาทกว่า   ลงเหมือนแตกพาร์  

ส่วน Samart  ราคา IPO  80 บาท    ราคานอกตลาด 200 กว่า   เทรดวันแรกประมาณ 450  ( พาร์ 10 )    ตอนนี้แตกพาร์เหลือ 1   ราคาหุ้นตอนนี้ก็ 8 บาท    คนถือตอนนั้นก็ไม่เสียหายเท่าไหร่   ราคาหุ้นกลับมาที่ IPO พอดี

ส่วน JAS  หรือ Jasmin Inter   ราคา trade วันแรก 450 บาท    ตอนเข้าตลาดมีโฆษณา TV    เป็นฉากการประชุม   มีผู้บริหาร ( ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักแสดง )   ประชุมแบบถกกันหน้าตาเคร่งเครียดแล้วประธานก็ทุบโต๊ะแล้วพูดว่า  " Project นี้พลาดไม่ได้   เพราะผมหมายถึงชื่อเสียงของประเทศ "     แล้วจบท้ายว่า   Jasmin  สยายปีกเทคโนโลยีสื่อสารไทย       ฟังแล้วรู้สึกว่าอีกไปกี่ปีจากนี้ประเทศไทยต้องยิ่งใหญ่ในระดับโลกแน่ๆ เลยครับ     สมัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเค้าว่ากันว่าในปี 2020   แม้บอลไทยจะชนะฝรั่งเศสไม่ได้ก็ตาม    แต่   GDP ของเราจะโตแซงฝรั่งเศส                   ตอนนี้ราคาหุ้น  Jas   ก็อยู่ 1 บาทกว่า     ผมเลยไม่แน่ใจว่า project ที่หมายถึงตอนนั้นประมูลได้หรือเปล่านะครับ    หรือเพราะประมูลได้ตอนนี้จึงเป็นเช่น ณ  ปัจจุบันนี้

ส่วนหุ้นอสังหาฯ  ตอนนั้นจำได้ว่า  ในสายตานักลงทุนบ้านเรานั้น   b-land  หรือ tyong หรือที่เรียกกันว่า ตี๋ย้ง  นั้นดูจะดังกว่า LH เสียอีกครับ   p/e กลุ่มก็ประมาณ 20-50 เท่าเหมือนกัน    story ของ tyong  ก็คือรถไฟฟ้า BTS ครับ         ถ้าช่วง 2-3 ปีนี้หุ้น EVER ดัง    เมื่อก่อนหุ้น RR ก็ดังประมาณนี้เหมือนกันครับ    โดย RR เค้าจะขึ้นลงตามหุ้นอีกตัวหนึ่งคือ FCI  เพราะผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน     จึงเรียกหุ้นคู่นี้กันว่า    คู่แฝดอภินิหาร   แต่ปัจจุบัน   คู่แฝดที่ว่านี้ไม่อยู่แล้ว  เข้าใจว่าตัวหนึ่งหายไปก่อน   อีกตัวเลยตรอมใจตามไปครับ

หุ้นหลายๆ ตัวตอน IPO  นั้นเฟื่องขนาดมีงบโฆษณาเข้าตลาด   แม้กระทั่งหุ้นอสังหาฯ อย่าง CNTRY  หรือ บริษัทคันทรีประเทศไทยก็โฆษณาเป็นเพลงเพราะเชียวคือ  ใช้เพลง  Sailing   เป็นภาพเรือใบล่องโต้คลื่นในทะเล    ผมจำได้ว่าหุ้นหลุดจองตั้งแต่วันแรก      เลยเพิ่งตีความภายหลังว่าในเพลงที่ร้องว่า  I m sailing  นั้นมันคือ  Im selling.   เสียมากกว่า      หุ้น CNTRY นั้นหายไปปรับโครงสร้างหนี้อยู่นานก่อนกลับมาในชื่อใหม่ว่า EVER    หมายถึง   เคย  อยู่ในตลาดหุ้นมาก่อนนั่นเอง

อสังหาฯ ตอนนั้นนโยบายบัญชีคือ  รับรู้รายได้เมื่อจอง   คือลูกค้าเอาเงินมาจอง 5 หมื่นบาท  ยังไม่ทันสร้างอะไรก็เริ่มรับรู้รายได้กันแล้ว     ตอนนั้นหลายๆ บริษัทเปิดจองโครงการใหม่ๆ  พอเศรษฐกิจไม่ดีลูกค้าทิ้งเงินจองเงินดาวน์    แต่รับรู้รายได้ไปแล้วเสียเยอะเลย   เราจึงเห็นหุ้นอสังหาฯ บางตัวตอนปี 39-40  มีรายได้เป็นเครื่องหมายลบ     ดังนั้นที่มาตรฐานทางบัญชีใหม่บอกว่าวิธีรับรู้ตาม % ของงานนั้นไม่ conservative   ให้เปลี่ยนเป็นรับรู้เมื่อโอนทั้งหมด   ถ้าย้อนไปดูสมัยก่อนแล้วจะตกใจยิ่งกว่าครับ


สมัยนั้นอสังหาฯ บูมขนาดที่เจ้าของโครงการเอาเงินไปมัดจำที่ดินจะสร้างตึกแถว    สถาปนิกเพิ่งเขียนแบบร่างเสร็จ   ก็ขายหมดแล้วครับ     พอขายหมดก็อาจจะโดนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงต่อว่าว่ามีของดีแบบนี้ทำไมไม่บอก

LPN หรือ PS  ที่ว่าขายดีเทน้ำเทท่า    เปิดวันแรกจอง 100%  ผมว่าจำนวน unit ตอนนั้นต้องสู้โครงการแฟล็ตปลาทองกระรัตไม่ได้ครับ   ตอนนั้นเป็นโฆษณาเพลง  โดยใช้นักแสดงตลกชื่อดังๆ   มาร้องเพลงโฆษณา     ดาวน์ก็น้อยผ่อนนิดโอนสิทธิ์โฉนดเอาไปเลยง่ายดาย    ย้า ยา ยา หย่า ยา      จะไปจะไปใกล้หมด  สะดวกมีรถเมล์ผ่าน    มีสระว่ายน้ำและมีสวนหย่อมปลาทองมีพร้อมทุกสิ่ง      เพลงนี้เด็กอนุบาลยังจำไปร้องกันได้เลยครับ       ตอนนี้ผมไม่แน่ใจว่าแฟล็ตปลาทองที่ว่านั้นอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยเลยครับ    แต่ได้ยินว่าสร้างเสร็จจนได้ครับ  

ถ้าจะไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือ  หุ้นไฟแนนซ์   เป็นสุดยอดหุ้น blue chip สมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น    FIN1   DS   CMIC   NFS    p/e ก็ 30-50 เท่าตลอด      และคงไม่มีใครที่เล่นหุ้นช่วงนั้นจะไม่เคยมีหุ้น finance เหล่านี้อยู่ในพอร์ต   อย่างน้อยต้องมีไม่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง        ดังนั้นใครที่ท่องหลักการว่า   ไม่ขาย  ไม่ขาดทุน  ขอให้ดูประวัติศาสตร์ดีๆ  ด้วยครับ

สมัยนั้นหุ้น Fin1  นั้นกลุ่มเค้ามีหลายตัว   ถ้าเป็นหลักทรัพย์ก็มี Fin1    S-one   FAS    ซึ่งถือหุ้นโดย  ONE ซึ่งอยู่กลุ่มสิ่งทอ  ทำเหมือนเป็น holding company     หุ้นกลุ่มนี้ติด top active อยู่เป็นประจำต่อเนื่อง     ถ้าไม่ล้มไปก่อนไม่ทราบจะเหมือน Berkshire รึเปล่านะครับ      ช่วงซักปี 37-38 ก็เล่นข่าวกันว่า Fin1 จะ   takeover  ธ. ไทยทนุ   แล้วยกระดับเป็นธนาคาร    แต่ตอนปี  39  เริ่มมีปัญหา   ก็มีข่าวว่า  ธ. ไทยทนุ   จะไปช่วยเหลือ Fin1    กลับตาลปัตรภายในเวลาอันรวดเร็ว

หุ้นธนาคาร    ช่วงนั้นเหมือนโดนรัศมีหุ้น finance กลบไปเยอะครับ    หุ้นธนาคารที่เหมือนจะ hot สุดคงจะหนีไม่พ้น  BBC หรือ  ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการครับ    ถ้าตอนนี้หุ้นแขกเป็นที่นิยม   ตอนนั้นเค้าก็เล่นหุ้นแขกกันเหมือนกันครับ   แต่แขกที่ว่านั้นคือ  ราเกซ  สักเสนา  ครับ      แต่ใครถือหุ้นแขกก็อย่าตกใจครับมันคงจะต่างกันครับ         หุ้นธนาคารเล็กๆ หลายแห่งเช่น BMB   LTB   นครธน   สหธนาคาร  ไทยทนุ   IFCT      ปัจจุบันถูกลดทุนเหลือ 1 สต.   ไปรวมกับอะไรต่ออะไรไปเสียหมดแล้วครับ    จริงๆ  แล้วสัญลักษณ์ของ ธ. กรุงเทพพาณิชยการนั้นคือ  สตางค์แดง   เค้าเลยเรียกว่าแบงค์สตางค์แดง     เหมือนคนคิดสัญญลักษณ์นั้นมี six sense ว่าท้ายสุดแล้วมันจะเหลือ 1 สตางค์จริงๆ ครับ

เรื่องเพิ่มทุนของหุ้นในตลาดทำกันเป็นว่าเล่น     ตอนนั้นไม่ต้องเพิ่มทุนบวกวอร์แรนท์ให้เมื่อย    แค่ประกาศเพิ่มทุนหุ้นก็วิ่งทั้งก่อนและหลังประกาศแล้ว    XR เสร็จหุ้นก็วิ่งต่อ    ยิ่งอัตราเพิ่มทุน สวย  เท่าไหร่หุ้นยิ่งวิ่งแรง       คำว่า สวย    สมัยนั้นกับสมัยนี้ไม่เหมือนกันแน่นอนครับ    สวยสมัยนั้นต้องประมาณ  1: 2  หรือ 1: 3     ผมไม่ได้เขียนสลับนะครับ   1 หุ้นเดิมต่อ 3 หุ้นใหม่        ถ้าขืนเพิ่มแบบเขียมๆ  แบบปัจจุบันประเภท 2: 1  หรือ 3: 1  หุ้นไม่วิ่งหรอกครับ    ยุคสมัยเปลี่ยนไป   คำว่าสวยก็เปลี่ยนไปครับ    ผมดูภาพวาด  Impressionist  ของยุโรปสมัยศตวรรษที่ 18    ผู้หญิงสวยๆ ของเค้าต้องอ้วนๆ หน่อยมีพุง    สมัยนี้ต้องผอมบางถ้าไปอยู่ยุคอดีตเค้าคงคิดว่าเป็นโรค     ดังนั้นเวลาเปลี่ยน   อะไรๆ ก็เปลี่ยน      ผู้หญิงคนไหนที่ตัวใหญ่หน่อยก็มองโลกในแง่ดีครับว่าเราเกิดช้าไปแค่ 200 ปีเอง

ดังนั้นสมัยนี้   หุ้น p/e เกิน 10 บางตัวว่าค่อนข้างแพง    p/e  เกิน 20 คือ  แพงมาก   เกิน  30  แพงอย่างไร้เหตุผล     ถ้าเป็นเมื่อปี 253x    ผมเห็นหุ้น p/e  เกิน 30  อยู่น่าจะเกินครึ่งหนึ่งของตลาดครับ

ผมเริ่มแก่แล้วล่ะครับ






ส่วน Samart  ราคา IPO  80 บาท    ราคานอกตลาด 200 กว่า   เทรดวันแรกประมาณ 450  ( พาร์ 10 )    ตอนนี้แตกพาร์เหลือ 1   ราคาหุ้นตอนนี้ก็ 8 บาท    คนถือตอนนั้นก็ไม่เสียหายเท่าไหร่   ราคาหุ้นกลับมาที่ IPO พอดี

ส่วน JAS  ราคา trade วันแรก 450 บาท    ตอนเข้าตลาดมีโฆษณา TV    เป็นฉากการประชุม   มีผู้บริหาร ( ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักแสดง )   ประชุมแบบถกกันหน้าตาเคร่งเครียดแล้วประธานก็ทุบโต๊ะแล้วพูดว่า  " Project นี้พลาดไม่ได้   เพราะผมหมายถึงชื่อเสียงของประเทศ "    ตอนนี้ราคาหุ้นก็อยู่ 1 บาทกว่า    ผมเลยไม่แน่ใจว่า project ที่หมายถึงตอนนั้นนี้ประมูลได้หรือเปล่านะครับ

ส่วนหุ้นอสังหาฯ  ตอนนั้นจำได้ว่า  ในสายตานักลงทุนบ้านเรานั้น   b-land  หรือ tyong หรือที่เรียกกันว่า ตี๋ย้ง  นั้นดูจะดังกว่า LH เสียอีกครับ   p/e ก็ประมาณ 20-30 เท่าเหมือนกัน     ถ้าช่วง 2-3 ปีนี้หุ้น EVER ดัง    เมื่อก่อนหุ้น RR ก็ดังประมาณนี้เหมือนกันครับ    โดย RR เค้าจะขึ้นลงตามหุ้นอีกตัวหนึ่งคือ FCI  เพราะผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน     จึงเรียกหุ้นคู่นี้กันว่า   คู่แฝดอภินิหาร    แต่ปัจจุบัน   คู่แฝดที่ว่านี้ไม่อยู่แล้ว  เข้าใจว่าตัวหนึ่งหายไปก่อน   อีกตัวเลยตรอมใจตามไปครับ

หุ้นหลายๆ ตัวตอน IPO  นั้นเฟื่องขนาดมีงบโฆษณาเข้าตลาด   แม้กระทั่งหุ้นอสังหาฯ อย่าง CNTRY  หรือ คันทรีประเทศไทยก็โฆษณาเป็นเพลงเพราะเชียวคือ  ใช้เพลง Sailing   เป็นภาพเรือใบล่องโต้คลื่นในทะเล    ผมจำได้ว่าหุ้นหลุดจองตั้งแต่วันแรก
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 357
ผู้ติดตาม: 70

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 27

โพสต์

มันมีข้อความบางส่วนข้างบนซ้ำกันอยู่เลยขอ post ใหม่ครับ


ลองนึกๆ เท่าที่จำได้นะครับ   ใช้ตัวเลขดัชนีประมาณ 800-1300 จุดช่วงก่อน crisis นะครับเพราะช่วง 1500-1700  จำได้ว่าหุ้นวิ่งแบบไม่มีใครสนใจ p/e กันอยู่แล้ว

หุ้นสื่อสาร   เป็นหุ้นที่ทุกคนยอมรับว่า p/e ต้องสูงมากเพราะ growth สูง   ถ้าเป็น shin  advanc  ก็ p/e 30-40 เท่า   แต่คนที่ลงทุนใน shin advanc   ตอนนั้นถึงปัจจุบันก็ยังพอกำไรเพราะธุรกิจมือถือเติบโตได้จริง

ส่วนสื่อสารตัวอื่นๆ   TT&T  ตอนเข้าตลาดก็ประมาณ 150 บาท ( ปัจจุบันยังพาร์เดิมอยู่คือ 10 บาท )   ส่วน TA  ก็ 100 กว่าบาทเหมือนกัน    เมื่อไม่นานนี้ช่วง dot com boom คือปี 2543   TA หรือ TRUE  ปัจจุบันก็เคยขึ้นจาก 10 กว่าบาทเป็น 70 กว่าบาท    ปัจจุบันเหลือ 5 บาทกว่า   ลงเหมือนแตกพาร์  

ส่วน Samart  ราคา IPO  80 บาท    ราคานอกตลาด 200 กว่า   เทรดวันแรกประมาณ 450  ( พาร์ 10 )    ตอนนี้แตกพาร์เหลือ 1   ราคาหุ้นตอนนี้ก็ 8 บาท    คนถือตอนนั้นก็ไม่เสียหายเท่าไหร่   ราคาหุ้นกลับมาที่ IPO พอดี

ส่วน JAS  หรือ Jasmin Inter   ราคา trade วันแรก 450 บาท    ตอนเข้าตลาดมีโฆษณา TV    เป็นฉากการประชุม   มีผู้บริหาร ( ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักแสดง )   ประชุมแบบถกกันหน้าตาเคร่งเครียดแล้วประธานก็ทุบโต๊ะแล้วพูดว่า  " Project นี้พลาดไม่ได้   เพราะผมหมายถึงชื่อเสียงของประเทศ "     แล้วจบท้ายว่า   Jasmin  สยายปีกเทคโนโลยีสื่อสารไทย       ฟังแล้วรู้สึกว่าอีกไปกี่ปีจากนี้ประเทศไทยต้องยิ่งใหญ่ในระดับโลกแน่ๆ เลยครับ     สมัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเค้าว่ากันว่าในปี 2020   แม้บอลไทยจะชนะฝรั่งเศสไม่ได้ก็ตาม    แต่   GDP ของเราจะโตแซงฝรั่งเศส                   ตอนนี้ราคาหุ้น  Jas   ก็อยู่ 1 บาทกว่า     ผมเลยไม่แน่ใจว่า project ที่หมายถึงตอนนั้นประมูลได้หรือเปล่านะครับ    หรือเพราะประมูลได้ตอนนี้จึงเป็นเช่น ณ  ปัจจุบันนี้

ส่วนหุ้นอสังหาฯ  ตอนนั้นจำได้ว่า  ในสายตานักลงทุนบ้านเรานั้น   b-land  หรือ tyong หรือที่เรียกกันว่า ตี๋ย้ง  นั้นดูจะดังกว่า LH เสียอีกครับ   p/e กลุ่มก็ประมาณ 20-50 เท่าเหมือนกัน    story ของ tyong  ก็คือรถไฟฟ้า BTS ครับ         ถ้าช่วง 2-3 ปีนี้หุ้น EVER ดัง    เมื่อก่อนหุ้น RR ก็ดังประมาณนี้เหมือนกันครับ    โดย RR เค้าจะขึ้นลงตามหุ้นอีกตัวหนึ่งคือ FCI  เพราะผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน     จึงเรียกหุ้นคู่นี้กันว่า    คู่แฝดอภินิหาร   แต่ปัจจุบัน   คู่แฝดที่ว่านี้ไม่อยู่แล้ว  เข้าใจว่าตัวหนึ่งหายไปก่อน   อีกตัวเลยตรอมใจตามไปครับ

หุ้นหลายๆ ตัวตอน IPO  นั้นเฟื่องขนาดมีงบโฆษณาเข้าตลาด   แม้กระทั่งหุ้นอสังหาฯ อย่าง CNTRY  หรือ บริษัทคันทรีประเทศไทยก็โฆษณาเป็นเพลงเพราะเชียวคือ  ใช้เพลง  Sailing   เป็นภาพเรือใบล่องโต้คลื่นในทะเล    ผมจำได้ว่าหุ้นหลุดจองตั้งแต่วันแรก      เลยเพิ่งตีความภายหลังว่าในเพลงที่ร้องว่า  I m sailing  นั้นมันคือ  Im selling.   เสียมากกว่า      หุ้น CNTRY นั้นหายไปปรับโครงสร้างหนี้อยู่นานก่อนกลับมาในชื่อใหม่ว่า EVER    หมายถึง   เคย  อยู่ในตลาดหุ้นมาก่อนนั่นเอง

อสังหาฯ ตอนนั้นนโยบายบัญชีคือ  รับรู้รายได้เมื่อจอง   คือลูกค้าเอาเงินมาจอง 5 หมื่นบาท  ยังไม่ทันสร้างอะไรก็เริ่มรับรู้รายได้กันแล้ว     ตอนนั้นหลายๆ บริษัทเปิดจองโครงการใหม่ๆ  พอเศรษฐกิจไม่ดีลูกค้าทิ้งเงินจองเงินดาวน์    แต่รับรู้รายได้ไปแล้วเสียเยอะเลย   เราจึงเห็นหุ้นอสังหาฯ บางตัวตอนปี 39-40  มีรายได้เป็นเครื่องหมายลบ     ดังนั้นที่มาตรฐานทางบัญชีใหม่บอกว่าวิธีรับรู้ตาม % ของงานนั้นไม่ conservative   ให้เปลี่ยนเป็นรับรู้เมื่อโอนทั้งหมด   ถ้าย้อนไปดูสมัยก่อนแล้วจะตกใจยิ่งกว่าครับ


สมัยนั้นอสังหาฯ บูมขนาดที่เจ้าของโครงการเอาเงินไปมัดจำที่ดินจะสร้างตึกแถว    สถาปนิกเพิ่งเขียนแบบร่างเสร็จ   ก็ขายหมดแล้วครับ     พอขายหมดก็อาจจะโดนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงต่อว่าว่ามีของดีแบบนี้ทำไมไม่บอก

LPN หรือ PS  ที่ว่าขายดีเทน้ำเทท่า    เปิดวันแรกจอง 100%  ผมว่าจำนวน unit ตอนนั้นต้องสู้โครงการแฟล็ตปลาทองกระรัตไม่ได้ครับ   ตอนนั้นเป็นโฆษณาเพลง  โดยใช้นักแสดงตลกชื่อดังๆ   มาร้องเพลงโฆษณา     ดาวน์ก็น้อยผ่อนนิดโอนสิทธิ์โฉนดเอาไปเลยง่ายดาย    ย้า ยา ยา หย่า ยา      จะไปจะไปใกล้หมด  สะดวกมีรถเมล์ผ่าน    มีสระว่ายน้ำและมีสวนหย่อมปลาทองมีพร้อมทุกสิ่ง      เพลงนี้เด็กอนุบาลยังจำไปร้องกันได้เลยครับ       ตอนนี้ผมไม่แน่ใจว่าแฟล็ตปลาทองที่ว่านั้นอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยเลยครับ    แต่ได้ยินว่าสร้างเสร็จจนได้ครับ  

ถ้าจะไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือ  หุ้นไฟแนนซ์   เป็นสุดยอดหุ้น blue chip สมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น    FIN1   DS   CMIC   NFS    p/e ก็ 30-50 เท่าตลอด      และคงไม่มีใครที่เล่นหุ้นช่วงนั้นจะไม่เคยมีหุ้น finance เหล่านี้อยู่ในพอร์ต   อย่างน้อยต้องมีไม่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง        ดังนั้นใครที่ท่องหลักการว่า   ไม่ขาย  ไม่ขาดทุน  ขอให้ดูประวัติศาสตร์ดีๆ  ด้วยครับ

สมัยนั้นหุ้น Fin1  นั้นกลุ่มเค้ามีหลายตัว   ถ้าเป็นหลักทรัพย์ก็มี Fin1    S-one   FAS    ซึ่งถือหุ้นโดย  ONE ซึ่งอยู่กลุ่มสิ่งทอ  ทำเหมือนเป็น holding company     หุ้นกลุ่มนี้ติด top active อยู่เป็นประจำต่อเนื่อง     ถ้าไม่ล้มไปก่อนไม่ทราบจะเหมือน Berkshire รึเปล่านะครับ      ช่วงซักปี 37-38 ก็เล่นข่าวกันว่า Fin1 จะ   takeover  ธ. ไทยทนุ   แล้วยกระดับเป็นธนาคาร    แต่ตอนปี  39  เริ่มมีปัญหา   ก็มีข่าวว่า  ธ. ไทยทนุ   จะไปช่วยเหลือ Fin1    กลับตาลปัตรภายในเวลาอันรวดเร็ว

หุ้นธนาคาร    ช่วงนั้นเหมือนโดนรัศมีหุ้น finance กลบไปเยอะครับ    หุ้นธนาคารที่เหมือนจะ hot สุดคงจะหนีไม่พ้น  BBC หรือ  ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการครับ    ถ้าตอนนี้หุ้นแขกเป็นที่นิยม   ตอนนั้นเค้าก็เล่นหุ้นแขกกันเหมือนกันครับ   แต่แขกที่ว่านั้นคือ  ราเกซ  สักเสนา  ครับ      แต่ใครถือหุ้นแขกก็อย่าตกใจครับมันคงจะต่างกันครับ         หุ้นธนาคารเล็กๆ หลายแห่งเช่น BMB   LTB   นครธน   สหธนาคาร  ไทยทนุ   IFCT      ปัจจุบันถูกลดทุนเหลือ 1 สต.   ไปรวมกับอะไรต่ออะไรไปเสียหมดแล้วครับ    จริงๆ  แล้วสัญลักษณ์ของ ธ. กรุงเทพพาณิชยการนั้นคือ  สตางค์แดง   เค้าเลยเรียกว่าแบงค์สตางค์แดง     เหมือนคนคิดสัญญลักษณ์นั้นมี six sense ว่าท้ายสุดแล้วมันจะเหลือ 1 สตางค์จริงๆ ครับ

เรื่องเพิ่มทุนของหุ้นในตลาดทำกันเป็นว่าเล่น     ตอนนั้นไม่ต้องเพิ่มทุนบวกวอร์แรนท์ให้เมื่อย    แค่ประกาศเพิ่มทุนหุ้นก็วิ่งทั้งก่อนและหลังประกาศแล้ว    XR เสร็จหุ้นก็วิ่งต่อ    ยิ่งอัตราเพิ่มทุน สวย  เท่าไหร่หุ้นยิ่งวิ่งแรง       คำว่า สวย    สมัยนั้นกับสมัยนี้ไม่เหมือนกันแน่นอนครับ    สวยสมัยนั้นต้องประมาณ  1: 2  หรือ 1: 3     ผมไม่ได้เขียนสลับนะครับ   1 หุ้นเดิมต่อ 3 หุ้นใหม่        ถ้าขืนเพิ่มแบบเขียมๆ  แบบปัจจุบันประเภท 2: 1  หรือ 3: 1  หุ้นไม่วิ่งหรอกครับ    ยุคสมัยเปลี่ยนไป   คำว่าสวยก็เปลี่ยนไปครับ    ผมดูภาพวาด  Impressionist  ของยุโรปสมัยศตวรรษที่ 18    ผู้หญิงสวยๆ ของเค้าต้องอ้วนๆ หน่อยมีพุง    สมัยนี้ต้องผอมบางถ้าไปอยู่ยุคอดีตเค้าคงคิดว่าเป็นโรค     ดังนั้นเวลาเปลี่ยน   อะไรๆ ก็เปลี่ยน      ผู้หญิงคนไหนที่ตัวใหญ่หน่อยก็มองโลกในแง่ดีครับว่าเราเกิดช้าไปแค่ 200 ปีเอง

ดังนั้นสมัยนี้   หุ้น p/e เกิน 10 บางตัวว่าค่อนข้างแพง    p/e  เกิน 20 คือ  แพงมาก   เกิน  30  แพงอย่างไร้เหตุผล     ถ้าเป็นเมื่อปี 253x    ผมเห็นหุ้น p/e  เกิน 30  อยู่น่าจะเกินครึ่งหนึ่งของตลาดครับ

ผมเริ่มแก่แล้วล่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4638
ผู้ติดตาม: 53

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขอให้คุณ Invisible hand มาให้ความรู้ที่เวบนี้ตลอดไปนะครับ

ผมก็เป็นแฟนที่ชอบอ่าน ขัอเขียน ของคุณ Invisible hand ครับ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 40

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ขอบคุณครับ พี่ IH

ผมตามหาอ่าน ข้อมูลพวกนี้มานานแล้วคับ

ไม่เคยได้อ่าน

วันนี้  เป็นบุญตายิ่งนักครับ....

:D
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 226

สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่

โพสต์ที่ 30

โพสต์

:bow: ขอคารวะปรมาจารย์พี่ IH
ประวัติศาสตร์พวกนี้ ควรจดบันทึกแก่การเรียนรู้จริง ๆ
โพสต์โพสต์