หนังเรื่อง "ซับไพร์ม" ฉายมาได้ครึ่งเรื่องแล้ว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1521
ผู้ติดตาม: 45

หนังเรื่อง "ซับไพร์ม" ฉายมาได้ครึ่งเรื่องแล้ว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3950 (3150)

เอกซเรย์ระบบการเงินโลก เปิดกรุแบงก์ใต้อุ้งซับไพรม



ขนาดของผลกระทบจากวิกฤตซับไพรม กลายเป็นเรื่องที่เหนือความหมาย บทวิจัยของธนาคารยูบีเอส ยักษ์การเงินสวิตเซอร์แลนด์ ประเมินความเป็นไปได้ล่าสุดว่า ตัวเลขความเสียหายอยู่ระหว่าง 3.80-4.80 แสนล้านดอลลาร์ โดยยืนยันว่า เป็นตัวเลขที่ สมเหตุสมผล หากพิจารณาจากสมมติฐานที่ว่า มูลค่าที่อยู่อาศัยลดลง 44% โดยในจำนวนนี้ เป็นความเสียหายที่เกิดจากตราสารหนี้ ที่มี หลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ collateralized debt obligations : CDOs

ตัวเลขประเมินของ ยูบีเอส ถือเป็นตัวเลขล่าสุด ที่แพร่สะพัดออกมาจากตลาดการเงินโลก แต่หนึ่งคำถามที่กำลังรอคำตอบอยู่ และ ไม่มีใครแน่ใจคือ 4.80 แสนล้านดอลลาร์ เป็นตัวเลขสุดท้ายของความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือไม่

ความไม่แน่ใจดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่ธนาคาร และวาณิชธนกิจ ชั้นนำของสหรัฐ ของสหภาพยุโรป ของญี่ปุ่น ของสิงคโปร์ และล่าสุด รวมถึงแคนาดา ยังคงทยอยเปิดยอดขาดทุน หรือผลกำไรลด และการแทงหนี้สูญ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่นับการปรับตัวเลขใหม่ หลังจากความเสียหายทวีขึ้นอย่างเหนือ ความคาดหมาย

ในอเมริกา แบร์ สเติร์น ถือเป็นยักษ์การเงินรายล่าสุด (นับถึง 14 พฤศจิากายน) ที่เปิดเผยว่า จะต้องแทงหนี้สูญ 1.2 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 ในส่วนของการลงทุนที่ผูกพันความเสี่ยงอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย และตราสารซีดีโอ หลังจากที่แบงก์ออฟอเมริกา บิ๊กเนมอีกรายของสหรัฐ คาดการณ์นำหน้าเพียง 1 วันว่า ธนาคารจะต้องแทงหนี้สูญ 3.9 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดียวกัน โดยเป็นการแทงหนี้สูญในส่วนของตราสารซีดีโอ และลงขันเข้ากองทุนตลาดเงิน ที่ผลักดันโดย เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ

เมื่อสำรวจย้อนหลังกลับไปพบว่า อเมริกาถือเป็นพื้นที่ที่ไฟซับไพรมเผาผลาญรุนแรงสุด โดยลำดับวันถอยหลัง ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายนลงไป วาโชเวีย ธนาคาร 1 ใน 5 อันดับใหญ่สุดของประเทศ ยอมรับว่า ต้องแทงหนี้สูญ 1.1 พันล้านดอลลาร์ มีทั้งความเสี่ยงในตราสารที่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน (asset backed securities : ABS) และตราสารซีดีโอ

นอกเหนือจากสถาบันการเงินเหล่านี้ พบว่า ในช่วงต้นเดือนพฤศิจายน มีค่ายใหญ่ที่ต้องประกาศปัญหาทำนองเดียวกันออกมา ได้แก่ มอร์แกน สแตนเลย์ ที่ต้องแทงหนี้สูญ 3.7 พันล้านดอลลาร์ ในส่วนของสินเชื่อซับไพรม แคปิตอล วัน ที่ขาดทุนจากการปล่อยสินเชื่อ 4.9-5 พันล้านดอลลาร์ใน ปี 2551 และ ซิตี้กรุ๊ป ที่แทงหนี้สูญในส่วนการลงทุนในสินเชื่อซับไพรม 8-11 พันล้านดอลลาร์

ในระบบเศรษฐกิจสหรัฐ ธนาคารถือว่า มีส่วนในการสร้างผลกำไรประมาณ 30% ของบริษัทอเมริกันทั้งหมดเมื่อปีที่แล้ว หมายความว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธนาคารสหรัฐ ย่อมสั่นสะเทือนทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ และตลาดหุ้น

ตามโครงสร้างตลาดพันธบัตรที่มีสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการออกตราสาร พบว่า สัดส่วนใหญ่ที่สุด เป็นตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ คิดเป็นมูลค่ารวม 4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่เหลือแยกเป็นตราสารหนี้ที่อยู่ในกลุ่ม distress debt ได้แก่ ตราสารหนี้ที่มีซับไพรม Alt-A และจัมโบ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน มูลค่ารวมกันประมาณ 2.8 ล้านล้านดอลลาร์

ในช่วงที่ผ่านมา เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตลาด การเงินปั่นป่วนรุนแรง ก็เนื่องจากวิกฤตของ สินเชื่อซับไพรมได้ทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ ในกลุ่ม distress debt มีมูลค่าทรุดลง 60-80% ของมูลค่าเดิม

ความวิตกกังวลที่มีต่อวิกฤตครั้งนี้ คือ ตลาดตราสารหนี้ทั้งระบบที่มีมูลค่ารวม 27 ล้านล้านดอลลาร์ จะได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่ เนื่องจากตลาดดังกล่าว เป็นแหล่งทุนของตราสารหนี้หลากหลายประเภท ตั้งแต่พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ของภาคธุรกิจเอกชน จนถึงสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์

เมื่อแบงก์สหรัฐยังน่วม นักวิเคราะห์หลายรายพยายามจับตามองไปที่สถาบันการเงินในแคนาดา ซึ่งในที่สุด สโกเทีย และ โรยัล แบงก์ ออฟแคนาดา ก็ยอมรับสภาพ โดยระบุว่า มีพันธะผูกพันต้องแทงหนี้สูญ ในส่วนของตราสารหนี้ประเภท ABCP และซับไพรม คิดเป็นเงิน 135 ล้านดอลลาร์แคนาดา และ 160 ล้านดอลลาร์แคนาดา ตามลำดับ

ข้ามฝากไปที่สหภาพยุโรป บาร์เคลย์ส ธนาคารรายใหญ่อันดับ 3 ของอังกฤษยอมรับ เมื่อ 15 พฤศจิกายนว่า ต้องแทงหนี้สูญประมาณ 1.3 พันล้านปอนด์ หรือ 2.7 พันล้านดอลลาร์ ให้กับตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับซับไพรม อีกรายคือ ธนาคารเอชเอสบีซี ของอังกฤษ ซึ่งถูก จับตามองเป็นพิเศษมาโดยตลอด ยอมรับว่า ต้องแทงหนี้สูญในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค 3.4 พันล้านดอลลาร์

ก่อนหน้า 2 รายนี้ ก็มี คอมเมิร์ซแบงก์ ของเยอรมนี และ ยูบีเอส ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ต้องแทงหนี้สูญเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยเฉพาะ ยูบีเอส ที่ยอมรับเมื่อ 30 ตุลาคมว่า ต้องแทง หนี้สูญในส่วนของการลงทุนในสินเชื่อซับไพรม 5-7 พันล้านดอลลาร์ หรือ 4.2 พันล้านสวิสฟรังก์

ความเป็นไปได้ที่ผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อ จะไม่จบลงง่ายๆ กระตุ้นให้ธนาคารกลางแห่งยุโรป หรือ European Central Bank : ECB ออกมาเตือนว่า ธนาคารในยุโรป ยังต้องเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 จากวิกฤตซับไพรมของอเมริกา โดยยอมรับว่า ภาวะปั่นป่วนของตลาดการเงิน ซึ่งเริ่มปะทุตั้งแต่กรกฎาคม และสิงหาคม ของปีนี้ มีแนวโน้มจะ ส่งผลกระทบต่อผลกำไร ของธนาคารในยุโรปหลายราย เพราะที่ผ่านมา ธนาคารเหล่านี้ ล้วนได้อานิสงส์จากค่าธรรมเนียม ค่าคอมมิสชั่น และรายได้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งผลให้ มีผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ดังนั้นในระยะกลาง ต้นทุนการระดมเงินทุนที่สูงขึ้น บวกกับเกณฑ์ การปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เข้มงวดมากขึ้น จะกระทบต่ออัตราการเติบโตของผลกำไรอย่างเลี่ยงไม่ได้

แม้แต่ในโซนเอเชีย ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นหลายราย ไม่เว้นแม้แต่บิ๊กเนม อย่าง มิสุโอะ ไฟแนนเชียล ที่เปิดผลประกอบการออกมา พบว่ามีผลกำไรลดลง 16.6% เนื่องจากขาดทุนจาก การลงทุนในซับไพรมในครึ่งปีแรก เกือบ 7 หมื่นล้านเยน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ประเมินว่าพันธะผูกพันของธนาคารญี่ปุ่นใน ซับไพรมและตราสารหนี้ที่มีปัญหา จะน้อยกว่า คู่แข่งในสหรัฐและภูมิภาคอื่นๆ

แบงก์ญี่ปุ่นรายอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก ซับไพรม ยังรวมถึง ซินเซอิ แบงก์ ที่มีกำไรสุทธิทรุดฮวบ 40.3% ในครึ่งปีแรก เหลือ 2.319 หมื่นล้านเยน ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว ธนาคาร มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป เตือนว่า ธนาคารอาจมีผลกำไรลดลง 31.9% เหลือ 6 แสนล้านเยน ในปีนี้ เนื่องจากรายได้ลดลง การขาดทุนจากซับไพรม และปัญหาในธุรกิจ บัตรเครดิต

ผลกระทบต่อธนาคารต่างๆ ทั่วโลกให้ภาพ ที่น่าวิตกกังวล เห็นได้จากยังมีนักเศรษฐศาสตร์หลายราย แสดงความกังขาว่า สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขขาดทุนทั้งหมดที่ผูกพันอยู่ ดังความเห็นของ ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กที่มองว่า สถาบันการเงินเริ่มทำแค่การประเมินผลกระทบในระดับ ที่สมเหตุสมผลต่ำสุดก่อน แต่สถานการณ์ของวิกฤตสินเชื่อกลับเลวร้ายลงเรื่อยๆ ผลกระทบที่แท้จริงทางการเงิน อาจรุนแรงมาก

ความเห็นดังกล่าวมาจากความเป็นไปได้ที่ว่า สถาบันการเงินบางรายยังไม่ได้เปิดเผยความเสี่ยงในมือออกมา โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ผูกพันอยู่กับกลไกการลงทุนพิเศษที่เรียกว่า structured investment vehicles : SIVs) กองทุนเหล่านี้ เป็นที่มาของรายได้ในรูปค่าธรรมเนียม 2 ทาง จากการทำธุรกรรมทั้ง 2 ฝาก กล่าวคือ ทั้งซื้อและขาย ซึ่งตรงนี้ ธนาคารไม่มีความเสี่ยง เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของสินเชื่อที่อยู่อาศัย

แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อกองทุนเหล่านี้อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ธนาคารยังคงต้องรับผิดชอบด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนกองทุน และ ซื้อคืนสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่พวกเขาเป็นผู้ค้ำประกัน การจำหน่าย ซึ่งปัจจุบัน ประเมินว่า ธนาคาร มีพันธะผูกพันอยู่กับกองทุน SIVs คิดเป็นมูลค่ารวมกันประมาณ 3.40 แสนล้านดอลลาร์ และปัจจุบัน ตลาดตราสารพาณิชย์ระยะสั้น ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน (ABCP) กำลังอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างรุนแรง ซึ่งบีบให้ธนาคารต้องพยายามอัดฉีดเม็ดเงินเสริมสภาพคล่องให้กับตราสาร เหล่านี้โดยปริยาย
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1521
ผู้ติดตาม: 45

หนังเรื่อง "ซับไพร์ม" ฉายมาได้ครึ่งเรื่องแล้ว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ว่าแต่ยังไม่ค่อยได้เห็น รายงานความเสียหาย ในภาคเศรษฐกิจจริงที่เกิดจากซับไพรม์ สักเท่าไหร่เลย

อาจจะรอผสมกับราคาน้ำมันอยู่   แล้วถ้าหนังเรื่องขาดดุลกลับมาสร้างภาค2 (ตามตรรกะไม่น่าจะเกิด)  คงจะเลือดท่วมจอละครับคราวนี้
ztep
Verified User
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 0

หนังเรื่อง "ซับไพร์ม" ฉายมาได้ครึ่งเรื่องแล้ว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

:D  ไม่ทราบว่าหนังที่ฉายเรื่องอะไรครับ จะได้ไปโหลดใน torrant น่าสนใจดีครับ  หนังสารคดีที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ผมเคยดูก็มี Oil factor,Walmart-low price of high cost แล้วก็ sicko ครับ  :D
โพสต์โพสต์