ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตาม theory บอกว่า Current Ratio >= 1 นี่ถือว่าดี แต่ในความเป็นจริง บริษัทพวก Retail หรือ Cash Rich Business ค่านี้ต่ำๆก็ได้
นี่ยังไม่รวมบริษัทอีกหลายๆแห่งที่ Cash Cycle เป็นหลัก ร้อยวัน แต่ Quick Ratio ก็น้อยกว่า 1 ได้ ผมเลยชักจะไม่เชื่อทฤษฎีเฮะ

ผมสงสัยว่า Current/Quick Ratio ต่ำสุดที่บริษัทยังอยู่ได้ ควรจะอยู่ที่เท่าไหร่
ให้คิดคนเดียวผมว่า Quick Ratio น่าจะมากกว่า Cash Cycle หาร 365 วัน เพราะว่า ต่อให้มีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อย แต่ยังได้มาทันที่จะชำระหนี้สินหมุนเวียน (มั้ง :P)

อีกอย่างหนึ่งคือผมดู trend ว่า Current/Quick Ratio เปลี่ยนไปทางไหนบ้าง ถ้าลดลงเรื่อยๆ และต่ำกว่า 1 น่าจะน่าห่วง

สุดท้ายคือ D/E ถ้าค่านี้ต่ำอยู่บริษัทก็ยังสามารถ กู้ระยะยาว มาใช้หนี้ระยะสั้นได้ เป็น Long-Finance-Short ลดความเสี่ยงทางสภาพคล่องทางการเงิน

นี่เป็นทั้งหมดที่ผมรู้ พยายามหาหนังสือมาอ่านแล้ว แต่ส่วนใหญ่บอกแค่ว่า "แล้วแต่ธุรกิจ" ฟ่ะเขียนแบบนี้ผมก็บอกได้ -_-'

จะมีวิธีที่ใช้ประเมินปริมาณ Current Asset คร่าวๆที่บริษัทจำเป็นต้องมีหรือไม่ครับ ขอถามท่านอื่นๆ ขอบคุณล่วงหน้าครับผม
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Current Ratio /  Quick Ratio  คำนวณไว้เพื่อพิจารณาอะไรครับ

สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทใช่หรือเปล่า

แล้วสภาพคล่องของบริษัทคืออะไร  สินทรัพย์หมุนเวียน  บอกสภาพคล่องของบริษัทได้หรือ  (อาจจะได้ตอนยุบบริษัทมั๊ง)
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

[quote="chatchai"]Current Ratio /
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมยังรอคำตอบอยู่นะครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ไม่มีตัวเลขไหนที่สามารถใช้ในการเปรียบเทียบกันข้ามอุตสาหกรรมได้ และตัวเลขที่สำคัญในแต่ละธุรกิจก็ไม่เหมือนกันด้วยครับ

ถ้าเป็น retail ก็ต้องเทียบกับ retail ด้วยกัน ถ้าเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมก็ต้องอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน

แม้แต่ในอุตสาหกรรมเดียวกันตัวเลขบางตัวเลขยังเทียบกันยากเลยครับ เช่น CP7-11 เป็นโชวห่วยยุคใหม่ กับ MAKRO ที่เป็นยี่ปั๊วอินเตอร์ ผมว่า cash cycle มันยังเทียบกันยากเพราะกลุ่มลูกค้าและการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน

ดังนั้นหลักการสำคัญของการวิเคราะห์ financial ratio (ของผมเอง) คือ
1.  ดูตัวเลขหลายๆ ตัวประกอบกัน
2.  ถ้าจะเปรียบเทียบ เปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยตรงทางการตลาด หรือเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตของบริษัทเดียวกัน
3.  เข้าใจของ driver ของตัวเลขต่างๆ ว่ามาจากลักษณะการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องเข้าใจลักษณะการดำเนินธุรกิจของกิจการที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

โทษทีนะครับ  ตอบช้าไปหน่อย

สูตร Current Ratio  ก็คือ  สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน

แล้วสินทรัพย์หมุนเวียนนี่เราจะแปลงเงินสดตอนไหนครับ

ผมว่าถ้าต้องขายลูกหนี้การค้า  และสินค้าคงคลังทั้งหมด  เพื่อไปชำระหนี้  ก็ต้องเป็นตอนเลิกกิจการแล้วละมั๊งครับ  

ถ้ากิจการดำเนินงานอยู่  กระแสเงินสดที่กิจการได้รับไปชำระหนี้มาจากแหล่งไหนครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 2

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ตามความเห็นส่วนตัวนะคะ

จุดอ่อนของ financial ratio อยู่ที่ตัวเปรียบเทียบ ซึ่งก็ควรเปรียบกับค่ากลางของอุตสาหกรรม แต่ว่าส่วนใหญ่เรามักจะหาค่ากลางกันไม่ได้

อีกอย่างก็คือ ใช้โดดๆไม่ได้ ตามตำราถึงบอกว่า แล้วแต่ธุรกิจ ต้องประมวลทุก ratio ด้วยกันเพื่อตัดสินว่าสุขภาพยังดีไหม ดังนั้นถ้าจะเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ต้องดูขนาดว่า เป็นมวยรุ่นเดียวกัน

ปกติเราใช้ financial ratio ดูว่ามีตรงไหนน่าเป็นห่วงไหม ซึ่งนั่นคือข้อมูลปัจจุบัน ถ้าอนาคตพื้นฐานดีก็ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ ตัวอย่าง ถ้า CA/CL = 1 และค่า DE =1 แสดงว่าสภาพคล่องน่าเป็นห่วง ถ้าเพิ่งเกิดแค่ไตรมาสเดียว เราว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าเป็น nature ธุรกิจ ลองดูว่ารายได้และกำไรน่าจะโตมาโปะหนี้ไหม เนื่องจากลูกหนี้ที่ให้เครดิตเทอมยาวๆแล้ว ขอให้จ่ายเร็วมันยาก ถ้ารายได้โตขึ้น ก็จะมีเงินมาจ่ายหนี้ได้ในอนาคต แต่คงต้องติดตามตลอด แต่นี่เป็นตัวที่เราซื้อแล้วเท่านั้นนะคะ

ถ้ายังไม่ซื้อลงทุน เราว่าตัวที่เสี่ยงน้อยกว่านี้ยังพอมี ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงเรื่องบริหารเงินเลย แต่ถ้าชอบธุรกิจจริงๆ ต้องมีอัตราเผื่อมากกว่านี้นะคะ เช่น CA/CL มากกว่า 1.5 เป็นต้น
.....Give Everything but not Give Up.....
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมอยากตอบ Cash Flow เหมือนกัน  
เคยเห็นสินเชื่อธนาคารปล่อยให้เพื่อนไปซื้อตึก
แต่บริษัทไม่มีกำไรสะสมเลย ผู้กู้ก็หมุนเงินเป็นพลันวัน มีบัตรเป็นสิบเลย
บางทีอิงกับตัวเลขมากไป
สินเชื่อมองยังไงก็ไม่เห็น
คือ คุณธรรม และ ความซื้อสัตย์ ของ เจ้าของกิจการ
สำคัญนะครับ  :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยตอบครับ จะว่าไปผมก็ใจร้อนไปนิดไม่ควรจะมาทวงเลย ขอประทานโทษด้วยครับ :bow:

สรุปคือต้องเอา OCF มาจ่ายหนี้หรือเปล่าครับ? งานเยอะจัง ขอกลับไปคิดก่อนครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 10

โพสต์

Alastor เขียน:ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยตอบครับ จะว่าไปผมก็ใจร้อนไปนิดไม่ควรจะมาทวงเลย ขอประทานโทษด้วยครับ :bow:
ไม่เป็นไรครับ  ถ้าไม่ทวงผมก็ลืมไปแล้วครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

ระดับ Current/Quick Ratio ต่ำที่สุดที่บริษัทรับได้

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote=".^O-O^"]ผมอยากตอบ Cash Flow เหมือนกัน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
โพสต์โพสต์