FTA news

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/02/08

โพสต์ที่ 31

โพสต์

แหล่งกำเนิดสินค้า ทูน่า และ JTEPA  
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง วันนี้ผมขอพูดถึงเรื่องที่มีความสำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกค้าสินค้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการลดอากรศุลกากร คือเรื่อง "กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า" (Rules of Origin) ซึ่งเป็นเหมือนหลักเกณฑ์การกำหนด "สัญชาติสินค้า" โดยหลักง่ายๆ ก็คือ สินค้าจะต้อง "ทำ" หรือมีการเพิ่มมูลค่า ในประเทศนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ข้าวสารก็ต้องมาจากข้าวที่ปลูกในไทย รถยนต์ก็ต้องมีส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ทำในประเทศไทย จึงจะถือว่ามีแหล่งกำเนิดในไทย มีสิทธิได้รับการลดภาษีจากประเทศต่างๆ ที่ไทยทำความตกลงด้วยหรือตามที่เขาผูกพันไว้ที่ WTO ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า นอกจากอัตราอากรศุลกากรแล้ว ผู้ส่งออกจำเป็นต้องทราบหลักเกณฑ์การกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้าที่ท่านจะส่งออกไปที่ใดที่หนึ่ง ว่าอย่างไรจึงจะเป็น "สินค้าไทย" และได้ประโยชน์ตามนั้น

หลักเกณฑ์เหล่านี้จะระบุไว้ในความตกลงที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผมขอยกตัวอย่างกรณีการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าไปประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งอัตราอากรศุลกากรสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าจากไทยจะ ลดลงทุกปีจาก 9.6 % จนเหลือ 0% ในปี 2555 อย่างไรก็ดี เรียกว่าเป็นโอกาสทองของทูน่าไทยแหละครับ ทีนี้ประเด็นอยู่ที่ว่า อย่างไรจึงจะเรียกได้ว่า "ปลาทูน่าจากไทย" จะต้องเป็นปลาทูน่าที่จับโดยคนไทย เรือไทยเท่านั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้น ฝ่ายไทยก็จะไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะผู้ส่งออกสินค้าปลาทูน่าของเราจะซื้อปลาทูน่าที่จับโดยเรือของประเทศอื่น แล้วมาแปรรูปเพื่อส่งออกอีกที อาทิ แปรรูปเป็นปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก แม้ว่าแทบจะไม่มีเรือประมงน้ำลึกสัญชาติไทย ซึ่งมีศักยภาพพอที่จะออกไปจับปลาทูน่าในทะเลหลวงได้

สำหรับปลาทูน่ากระป๋องที่ใช้ปลาทูน่าที่จับโดยเรือประเทศที่สามนั้น ท่าทีเดิมของฝ่ายญี่ปุ่นในการเจรจา JTEPA คือจะไม่ลดภาษีเลย แต่ผู้เจรจาฝ่ายไทยได้พยายามต่อรองให้ญี่ปุ่นยอมรับการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศที่สามได้ เจรจากันอยู่นานหลายปี ซึ่งในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นก็ยอมประนีประนอมโดยตั้งเงื่อนไขว่าสินค้าปลาทูน่านำเข้าจากไทย หากจับโดยเรือประเทศที่สาม จะต้องเป็นเรือที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) 27 ประเทศ (คือชักธงของประเทศนั้นๆ) เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น และเรือนั้นต้องจดทะเบียนกับคณะกรรมาธิการฯ ด้วย

ภาครัฐได้นำเงื่อนไขดังกล่าวให้ภาคเอกชนพิจารณา ซึ่งผู้ประกอบการก็เห็นว่าสามารถระบุชื่อเรือที่จับปลาทูน่าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ตามที่ฝ่ายญี่ปุ่นร้องขอได้ ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบทางเว็บไซต์ของ IOTC ได้ว่าเรือดังกล่าวจดทะเบียนกับ IOTC หรือไม่ ในที่สุดจึงตกลงรับตามนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่ากว่าจะได้มาก็ต้องบี้กันจนคางเหลือง

โดยที่เงื่อนไขค่อนข้างซับซ้อน ภาครัฐจึงได้พยายามอย่างเต็มที่ในการประชาสัมพันธ์เพื่ออธิบายให้ผู้ส่งออกทราบถึงข้อจำกัดนี้ ทั้งการให้ข้อมูลทางเว็บไซด์ของกระทรวงการต่างประเทศ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน การจัดทำเอกสารเผยแพร่ รวมถึงการเข้าร่วมเวทีสัมมนาต่างๆ แต่หลังจากที่ JTEPA มีผลใช้บังคับได้ไม่นาน ก็ยังปรากฏอยู่ว่าผู้ส่งออกบางส่วนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ "เรือที่จดทะเบียนกับ IOTC" ว่าแค่เป็นเรือสัญชาติประเทศสมาชิก IOTC เท่านั้น ทำให้มีการส่งสินค้าปลาทูน่าที่ใช้วัตถุดิบจากเรือที่ชักธงประเทศสมาชิก IOTC แต่ไม่ได้จดทะเบียนกับ IOTC ส่งไปญี่ปุ่น และศุลกากรญี่ปุ่นยังคงเก็บภาษีในอัตราสูงเช่นเดิม ผิดไปจากความคาดหวังที่จะได้รับการลดภาษีตาม JTEPA ซึ่งกระผม ในฐานะ (อดีต) หัวหน้าสำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (ซึ่งยุบไปแล้ว) ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วย และขอยืนยันว่า ภาครัฐทราบดีว่าเรื่องนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่เพิ่มความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบการ เราได้เจรจาเพื่อให้ผู้ส่งออกไทยได้รับอัตราภาษีที่ดีขึ้น และได้พยายามต่อรองเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดให้ฝ่ายญี่ปุ่นคำนึงถึงความเป็นจริงในการทำประมงทูน่าให้มากที่สุด ด้วยทุกวิถีทางที่ทำได้ ในชั้นนี้ ได้มาเท่านี้ ก็แน่นอนว่าจะต้องมีการผลักดันต่อไปครับ เรื่องนี้ไม่ใช่หมู ความคืบหน้ามีอย่างไรจะเล่าให้ฟังครับ
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2293
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/02/08

โพสต์ที่ 32

โพสต์

FTA ไทย อินเดียสะดุดไม่จบตามเป้า ข่าว 17.00 น.

Posted on Thursday, February 07, 2008
นายชนะ คณารัตนดิลก รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ บอกว่า ผลการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย อินเดีย รอบล่าสุดที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1 กุมภาพันธ์ 2551 ในส่วนของการลดภาษีศุลกากรสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการเจรจายังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากอินเดียขอรื้อบัญชีรายการสินค้าลดภาษีที่ได้เคยตกลงร่วมกันไปแล้ว ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว

โดยอ้างผลการวิเคราะห์ว่า มูลค่าการเปิดตลาดของอินเดีย และไทยยังไม่สมดุลกัน เพราะภาษีนำเข้าสินค้าของไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่า 5% ทำให้อินเดียไม่ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร จึงขอให้ไทยเพิ่มมูลค่าการเปิดตลาดให้อินเดีย ส่วนอินเดียก็จะย้ายสินค้าบางส่วนไปเป็นสินค้าอ่อนไหว เพราะผู้ประกอบการยังไม่พร้อมที่จะลดภาษีให้เหลือ 0% ทำให้การเจรจาระหว่างไทยกับอินเดียยังไม่สามารถสรุปได้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news08/02/08

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ทูน่าสะดุดแหล่งกำเนิดสินค้าJTEPA จี้รัฐเจรจาญี่ปุ่นผ่อนปรนกฎเหล็กด่วน  
ทูน่าโวยแหล่งกำเนิดสินค้า JTEPA ขวางทางโตส่งออกไปญี่ปุ่น จี้รัฐบาลจับเข่าคุยรัฐบาลญี่ปุ่นแก้ไขกฎเปิดทางสะดวก ประธานกลุ่มทูน่าตั้งเป้าส่งออกปีนี้โต 10% สามปัญหาใหญ่ บาทแข็ง วัตถุดิบขาดแคลน และมีราคาแพงยังตามหลอน

นายณัฐ อ่อนศรี อุปนายก และประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่ไทยได้จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา โดยในส่วนของสินค้าทูน่าจากอัตราภาษีนำเข้า 9.6% ทางญี่ปุ่นจะทำการลดภาษีลงเป็น 0% ภายใน 5 ปี(2555) อย่างไรก็ดี ในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าของไทยไปญี่ปุ่นในขณะนี้ในข้อเท็จจริงยังมีอุปสรรคอยู่มาก เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้า(Rule of Origin) ที่ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกไปญี่ปุ่นได้อย่างเต็มที่นัก

ทั้งนี้จากผลการเจรจาเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายที่จบลงไปแล้วก่อนหน้านี้ กำหนดให้สินค้าทูน่าที่จะได้รับการลดภาษี ต้องเป็นปลาที่จับจากเรือประมงของไทยเท่านั้น แต่หากจับโดยเรือประเทศที่สาม จะต้องเป็นเรือที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) 27 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เป็นต้น และเรือนั้นต้องจดทะเบียนกับคณะกรรมาธิการฯ ด้วย

"โดยข้อเท็จจริงเรือปลาทูน่าที่ประเทศไทยรับซื้อส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกของไอโอทีซี และหลายลำก็ไม่ได้จดทะเบียนกับคณะกรรมาธิการฯ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเจเทป้าได้อย่างเต็มที่ ในเรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเจรจากับญี่ปุ่นใหม่เพื่อให้เขาแก้ไขผ่อนปรน"

แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า เปิดเผยว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่า(ทูน่ากระป๋อง ทูน่าลอยด์ และทูน่าอาหารแมว)มูลค่าทั้งสิ้น 53,937 ล้านบาท ขยายตัวลดลงจากปีก่อน 4% ด้านปริมาณมีการส่งออกทั้งสิ้น 553,624 ตัน ลดลงจากปีก่อนที่มีการส่งออก 601,185 ตัน หรือลดลง 8%

นายณัฐ กล่าวว่า แม้การส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าในปีที่แล้วจะมีปริมาณที่ลดลง แต่แง่มูลค่าไม่ลดลงมากเป็นผลจากราคาวัตถุดิบที่ขาดแคลนทั่วโลก และราคาปรับตัวสูงมาก ดังนั้นผู้ส่งออกจึงต้องปรับราคาตามต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นสองแรงบวกที่ทำให้ผู้ส่งออกต้องปรับราคาให้สูงขึ้น สำหรับในปี 2551 คาดหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าของไทยจะขยายตัวประมาณ 10% โดยแง่มูลค่าจะใกล้เคียงกับปี 2549 (ส่งออก 55,908 ล้านบาท) ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีคือ สหภาพยุโรป(อียู) และญี่ปุ่น ส่วนสหรัฐอเมริกายังน่าเป็นห่วงเพราะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

"ในปีนี้อุตสาหกรรมทูน่าของไทยทั้งระบบยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยง 3 เรื่องใหญ่คือ หนึ่ง ราคาวัตถุดิบที่ยังขาดแคลนซึ่งเป็นผลพวงจากปรากฎการณ์เอลนิโญทำให้เรือจับปลาได้น้อยลง สอง ราคาปลาที่ยังสูงจากซัพพลายที่มีน้อย ซึ่งเวลานี้ราคาปลาทูน่าสคิปแจ็กขึ้นไปอยู่ที่ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน จากเดือนธันวาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน นอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่สูงขึ้น อาทิ ค่ากระป๋อง ค่าจ้างแรงาน และราคาน้ำมันที่ใช้ในการขนส่ง"นายณัฐ กล่าว  
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2294
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/02/08

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ไทยเตรียมเลือกสินค้า ที่จะใช้เจรจาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป -

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุ การทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 3 ยังหาข้อสรุปและขอบเขตเรื่องที่จะทำการเจรจาระหว่างกันไม่ได้ โดยไทยเตรียมเลือกสินค้า ที่จะใช้เจรจาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะสินค้าประเภทเกษตรกรรม

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาของไทยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพ
ยุโรป ว่า ขณะนี้ขั้นตอนการทำงานยังอยู่ในระหว่างการหาข้อสรุปและขอบเขตที่ครอบคลุม ในเรื่องที่จะทำการเจรจาระหว่างกัน โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมจัดทำความตกลง
ทางการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 3 ที่ผ่านมานั้น ยังไม่สามารถสรุปถึงเรื่องดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไทยในฐานะสมาชิกกลุ่มอาเซียน ก็ควรที่จะเตรียมเลือกสินค้า ที่จะใช้ในการทำการเจรจาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะสินค้าประเภทเกษตรกรรม

ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ โดยภาคเอกชนที่จำหน่ายสินค้าและบริการ เราได้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพร้อมในการผลิต การส่งออก และการนำเข้า หากมีการจัดทำความตกลงดังกล่าวขึ้น ส่วนการสร้างความเข้าใจกับประชาชนนั้น ได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ รวมถึงการเปิดกว้างให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น และส่งข้อเสนอแนะมาที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news18/02/08

โพสต์ที่ 35

โพสต์

อียูบีบอาเซียน ให้เพิ่มเงื่อนไข รอบถกในไทย

โพสต์ทูเดย์ อียู บีบ อาเซียน เพิ่มเงื่อนไขเจรจาการค้าเสรีรอบใหม่ เดือน เม.ย.ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ


น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ผลการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) ครั้งที่ 3 ทางอียูได้แสดงจุดยืนในประเด็นที่ต้องการให้นำมารวมอยู่ นอกจากเรื่องการเปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน โดยขอให้มีเรื่องการเตือนภัยล่วงหน้าด้านสุขอนามัยและอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า

การมีกฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศ การเปิดตลาดการจัดซื้อโดยรัฐ และขอให้อาเซียนเป็นสมาชิกสนธิสัญญาต่างๆ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ขณะเดียวกันอียูยังขอให้รวมเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ใน ความตกลงการค้าเสรีอีกด้วย เนื่องจากเห็นว่าการทำการค้าควรให้ความสำคัญกับสวัสดิการสังคม ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการ พัฒนาประเทศในหัวข้อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อียูเสนอให้อาเซียนและอียูส่งเสริมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักการของความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม และให้ความคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานหลักขององค์การแรงงานสากล

อย่างไรก็ตาม ได้มีการยืนยันว่าจะไม่มีการนำเรื่องแรงงานและ สิ่งแวดล้อมมาเป็นเหตุฟ้องร้องหรือแซงชันทางการค้าระหว่างกัน

ทั้งนี้ อาเซียนและอียูมีกำหนดการประชุมเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรี ครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ ในเดือน เม.ย. 2551
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=221534
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/03/08

โพสต์ที่ 36

โพสต์

สั่งแจงเอฟทีเอ กระตุ้นใช้สิทธิ

โพสต์ทูเดย์ วิรุฬ สั่ง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งแจงผลประโยชน์เอฟทีเอให้คนไทยรับรู้ หวังกระตุ้นการใช้สิทธิ์จากการลดภาษีเพิ่ม มากขึ้น


น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ ได้ มอบนโยบายให้กรมฯ เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ไทยได้รับจากการทำข้อตกลงการค้าต่างๆ ทั้งการเปิดตลาดสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม การเปิดตลาดการค้าบริการ และความร่วมมือต่างๆ มาชี้แจงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ กรมได้เตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้แล้ว โดยเฉพาะข้อมูลที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งประโยชน์ใหม่ๆ ที่ไทยกำลัง จะเจรจามาบอกกับผู้ที่เกี่ยวข้องของไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าไปใช้ประโยชน์

โดยเฉพาะข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ปลายปีที่ผ่านมานั้น กรมกำลังอยู่ระหว่างการชี้แจงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ ว่า เจเทปามีการลดภาษีสินค้าเกษตรอะไรบ้าง ภาษีจากเดิมเท่าไร ลดเหลือเท่าไร น.ส.ชุติมา กล่าว

ส่วนเอฟทีเอที่ทำกับประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะรวบรวมสิ่งที่ไทยได้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกับญี่ปุ่นมาบอกให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะบอกสิ่งใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับไทย

สำหรับเอฟทีเอที่อยู่ระหว่างการเจรจา เช่น เอฟทีเออาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) เอฟทีเออาเซียน-เกาหลี นายวิรุฬได้ให้นโยบาย โดยขอให้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาให้มากที่สุด และต้องรีบนำสิ่งที่ไทยได้ประโยชน์มาบอกกล่าวให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว

ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรี ขอให้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับไทย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=226077
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/05/08

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ลุ้นถกเอฟทีเอ อาเซียน-ออสซี รอบนี้ได้ข้อยุติ

โพสต์ทูเดย์ ลุ้นเจรจาเอฟทีเอ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ นัดสุดท้ายที่ฮานอย ถกสินค้าลดภาษีสำเร็จ หลังสามฝ่ายตั้งเป้าลงนามให้ทันเดือน ส.ค.นี้


นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการเจรจาเพื่อ จัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้มีการประชุมครั้งที่ 14 ที่นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เพื่อผลักดันให้การเจรจาการค้าเสรีมีความคืบหน้า โดยทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าประเด็นที่เหลือจะสามารถหาข้อยุติกันได้ทุกเรื่องในการเจรจาครั้งที่ 15 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2-7 มิ.ย. ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามกันได้ในเดือน ส.ค.นี้

ทั้งนี้ การเจรจาจัดทำเอฟทีเอสามารถหาข้อสรุปได้แล้วหลายเรื่อง ได้แก่ ข้อบทมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐานกฎระเบียบทางเทคนิค และขั้นตอนการประเมินความสอดคล้อง พิธีการศุลกากร ทรัพย์สินทางปัญญา และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

สำหรับเรื่องการค้าสินค้า ทางฝ่ายออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ต้องการ ให้มีการลดภาษีเหลือ 0% คิดเป็น 96% ของรายการสินค้าทั้งหมด แต่มีอาเซียนบางประเทศทำไม่ได้ โดยสามารถทำได้ แค่ 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนไทยยืนยันว่าไม่มีปัญหา โดยได้ยึดกรอบเอฟทีเอ ที่ไทยได้ทำสองฝ่ายกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ ไทยไม่ได้ให้ไปมากกว่ากรอบเอฟทีเอที่เคยทำไว้แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากเอฟทีเออาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผลบังคับใช้ ไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากกรอบเอฟทีเอเดิมที่ไทยทำไว้กับ 2 ประเทศ จากการที่ 2 ประเทศมีการลดภาษีเร็วกว่าเดิมในสินค้าบางรายการของกลุ่มสิ่งทอ รองเท้า และสินค้ารถยนต์ รวมทั้ง จะได้ประโยชน์จากการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าที่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอ

ในด้านการค้าบริการ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อยากให้นำระบบการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติโดยอัตโนมัติ (Automatic MFN) มาใช้ คืออาเซียนไปเจรจาเอฟทีเอกับประเทศอื่นๆ และให้สิทธิพิเศษต่างๆ มากกว่าข้อตกลงที่ทำกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ต้องให้สิทธินั้นกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาเซียนไม่ยอม เพราะเห็นว่าข้อตกลงการค้าเสรีแต่ละฉบับมีความสมดุลโดยตัวของมันเองอยู่แล้วระหว่างคู่เจรจาทั้ง 2 ฝ่าย

ส่วนประเด็นที่ยังเป็นปัญหา เช่น เรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อม ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้หยุดที่จะผลักดันให้มีการเจรจาในเรื่องนี้แล้ว แต่ในเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐ ยังมีความพยายามให้มีการจัดทำเป็นเอกสารที่ไม่อยู่ในข้อตกลง ซึ่งทางฝ่ายอาเซียนยังไม่ยินยอม
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=237546