เพิ่งตื่น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

เพิ่งตื่น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

--ผู้จัดการรายวัน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยอมรับพบบริษัทจดทะเบียนใช้เล่ห์กลตกแต่งบัญชี ระบุไตรมาส 2-3 ปีนี้ ตรวจสอบเจอแล้ว 8-10 บริษัท ขณะเดียวกันยังตรวจสอบพบมีการใช้อินไซด์เดอร์เทรดดิ้ง-ฟร้อนท์รัน รวมทั้งอุบายแบบใหม่ขายพีพีต่ำกว่าราคาในกระดาน กระทบนักลงทุนรายย่อย อ้างต้องการเงินเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ ขณะที่ตลาดได้แต่มองตาปริบๆ หากผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ดำเนินการได้

นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงไตรมาส 2-3 ที่ผ่านมา ได้มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนประมาณ 8-10 บริษัทที่มีการตกแต่งบัญชีในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งยังพบผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมีพฤติกรรมการใช้ข้อมูลภายในการซื้อขายหลักทรัพย์ และบางกรณีมีการทำการซื้อขายก่อนนักลงทุนทั่วไป (Fornt runners)

ขณะเดียวกัน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังพบความผิดปกติในเรื่องการเสนอออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือ PP ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในกระดาน รวมถึงการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) ด้วย ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนทั่วไป เนื่องจากเมื่อมีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนหรือการแปลงสภาพวอร์แรนต์เป็นหุ้นสามัญแล้วจะส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง (ไดลูชัน เอฟเฟ็กซ์)

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่ามีการขายเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบพีพีในราคาที่ต่ำกว่าราคาในกระดาน โดยหลายครั้งมักจะให้เหตุผลว่าต้องการระดมเงินจากผู้ลงทุนที่ได้รับการจัดสรรเพื่อนำมาช่วยเหลือฐานะการเงินให้กับบริษัท แต่ความจริงแล้ว แม้ว่าบริษัทจะต้องการให้ได้เงินที่เข้ามาสนับสนุนในจำนวนที่ต้องการ แต่เรื่องดังกล่าวผู้ถือหุ้นรายย่อยถือว่าไม่ได้รับประโยชน์กลับต้องเสียประโยชน์เพราะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากจำนวนหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น"นายสุภกิจกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่านักลงทุนเป็นผู้เสียประโยชน์อย่างชัดเจน แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกลับตกไปอยู่กับกลุ่มทุนที่เข้ามาสนับสนุนทางการเงินให้กับบริษัท แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือมีการเทขายหุ้นที่ได้รับจากการจัดสรรในราคาที่ต่ำกว่าราคาในกระดานออกมา ในขณะเดียวกันการดำเนินการดังกล่าวยังสามารถทำได้โดยไม่ต้องแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ให้ทราบด้วย

ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากมติการออกเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงแล้ว ยังมีรูปแบบที่นักลงทุนต้องติดตาม เช่น การจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญให้กับกรรมการและพนักงานของบริษัท (ESOP Warrant) ซึ่งนักลงทุนรายย่อยจะเป็นผู้เสียประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาภายหลังเกิดธุรกรรมดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ดำเนินการตามหน้าที่คือการสอบถามข้อมูลเท่านั้น เนื่องจากเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นถือว่าจะต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งหากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตลท.ก็ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการอะไรได้

"ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ พยายามให้มีการชี้แจงในเรื่องการออกวอร์แรนต์อีสปให้กับกรรมการและพนักงานของบริษัทเนื่องจากส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม แม้ว่าจะเป็นการให้รางวัลกับพนักงานของบริษัทนั้นๆ แต่ต้องดูว่าสูงกว่าอัตราปกติหรือไม่อย่างไร"นายสุภกิจกล่าว

แหล่งข่าวจากผู้สอบบัญชี กล่าวว่า รูปแบบในการตกแต่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในปัจจุบันมีความซับซ้อนจากอดีตที่ผ่านมาค่อนข้างมาก เพราะการตรวจสอบในอดีตที่ผ่านมาทำให้บริษัทที่ต้องการจะปกปิดตัวเลขบางอย่างรู้ช่องทางว่าทางการเข้ามาตรวจสอบในเรื่องใดบางและเรื่องใดบางที่ทางการมักจะไม่เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด ทำให้กระบวนการตรวจสอบของไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชีเองในกรณีที่ผู้บริหารบริษัทต้องการปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่าง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวในกรณีที่ผู้สอบบัญชีซึ่งมีความเข้าใจในงบการเงินเป็นอย่างดีต้องการปกปิดตัวเลขบางอย่างทำได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ เลห์เหลี่ยมของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับการออกอีสปให้กับกรรมการและพนักงานของบริษัทโดยเฉพาะวอร์แรนต์อีสป ถือว่าเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างต่อเนื่องในหลายครั้งที่มีการเสนอออกอีสปวอร์แรนต์ในจำนวนที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์นอกเหนือจากพนักงานของบริษัทและผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องได้รับอีสปในจำนวนที่มากกว่าก็ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ค่อนข้างมาก

อนึ่งก่อนหน้านี้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้เปิดเผยถึงพฤติกรรมในการทำทุจริตของบริษัทในประเทศไทยที่มากที่สุดประกอบด้วย 1.ตกแต่งบัญชี 2.ถ่ายเทกำไร 3.ทุจริตภาษี 4.ใช้ข้อมูลภายในของบริษัท 5.การให้กู้ยืมเงินของบริษัทแก่ผู้อื่น 6.แสดงทรัพย์สินที่เป็นเท็จ 7.ผู้บริหารถ่ายเทเงินของบริษัท

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่าการทุจริตจะเพิ่มขึ้นปีละ 2 เท่า โดย 3 ปีที่มีการก่อตั้ง DSI มีคดีที่กระทำความผิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจำนวนกว่า 300 คดี ขณะที่มีการส่งสำนวนให้กับอัยการกว่า 200 คดี มีคดีคงค้างในระหว่างการสอบสวนอีกประมาณ 100 คดี

นายราชัย วัฒนเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รูปแบบในการทำทุจริตมีการปรับเปลี่ยนที่ซับซ้อนมากขึ้น ถึงแม้จะมีระบบในการตรวจสอบป้องกันก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบพบได้ง่ายเพราะมีการจ้างทีมมืออาชีพ มีความรู้ทางด้านทางภาษี บัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน มาวางแผนในการทำทุจริต

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลท.กล่าวว่า จากผลสำรวจการทุจริตพบว่ามีการกระทำผิดในเรื่องการรายงานงบการเงินมากที่สุด ซึ่งจากผลสำรวจนี้ตลาดหลักทรัพย์จะนำไปศึกษาเพิ่มเติม โดยที่ผ่านมาบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการสอบถามในเรื่องงบการเงินนั้นมีจำนวนน้อยมีเพียง 5-10 บริษัทหรือคิดเป็น 1% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดเท่านั้น




ปัดโถ่  นึกว่าจะทำอะไรได้
โพสต์โพสต์