อัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำอย่างไรครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Accidental Hero
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 1

อัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำอย่างไรครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ธนาคารชาติญี่ปุ่น (BOJ) เตรียมอัดฉีดเงินอีก 800,000 ล้านเยน หรือประมาณ 238,000 ล้านบาท เข้าระบบการเงินเพื่อสร้างความมั่นใจด้านสภาพคล่อง จากการที่ตลาดโลกกังวลเรื่องการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออย่างเข้มงวด

การอัดฉีดเงินในครั้งนี้นับเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน ภายใต้มาตรการร่วมกันของธนาคารชาติสำคัญทั่วโลกที่พยายามบรรเทากระแสตื่นตระหนกเรื่องปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพในตลาดสหรัฐ จะส่งผลกระทบในวงกว้าง การเคลื่อนไหวของธนาคารชาติญี่ปุ่นมีจุดประสงค์เพื่อสกัดไม่ให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขยับเพิ่มขึ้น จากการที่ตลาดต้องการทุนใหม่ ๆ มากขึ้น

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าญี่ปุ่นจะเกิดปัญหาสินเชื่อสะดุดในเร็ว ๆ นี้ และไม่มีแนวโน้มว่าธนาคารในญี่ปุ่น จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากหลักทรัพย์ในสหรัฐที่โยงกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพในตลาดสหรัฐ
ขออนุญาตตั้งคำถามที่อยากรู้ในห้องนี้ครับ ถ้าไม่ถูกห้องรบกวนช่วยย้ายได้ครับ
อยากทราบว่า วิธีการอัดฉีดเงินเข้าระบบทำอย่างไรครับ
แล้วผู้อัดฉีด ต้องเสียเงินนั้นไป หรือสามารถเรียกกลับคืนภายหลัง
และหลังจากอัดฉีดเงินแล้ว จะเกิดผลอย่างไรครับ
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 2

อัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำอย่างไรครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เท่าที่อ่านจากหนังสือแล้วเข้าใจคือ

ปกติแล้วเวลากู้เงินกันเมื่อแบงค์ขาดเงินสดในมือจะใช้การ

กู้เงินกันเองระหว่างแบงค์ด้วยกันแล้วจะคิดอัตราดอกเบี้ย

interbank loan rate แต่ในช่วงที่ผ่านมาที่มีปัญหา subprime

ทำให้ธนาคารไม่ค่อยไว้ใจก้นเองว่าใครไปลงทุนใน CDO ที่

ไม่ดีบ้างเลยเริ่มเกิด สภาพตึงตัวขึ้นคือไม่ยอมปล่อยกู้กันเอง

เหมือนก่อนธนาคารของประเทศต่างๆจึงต้องปล่อยกู้ให้แบงค์

ต่างๆแทนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบครับ โดยการกู้เงินจาก

ธนาคารกลางเท่าที่อ่านจากหนังสือ macro คือ ธนาคารต่างๆ

ที่ต้องการกู้ต้องนำ พันธบัตรไปวางค้ำประกัน แล้วจะโดนคิด

ดอกเบี้ยแบบ discount rate ครับ

ผิดถูกแนะนำด้วยนะครับ :D

เสริม ก็อบมาจากหนังสือครับ :D

Discount rate = the interest rate the Fed charges on

loans of reserves to banks  . Changes in the discount

rate often signal the Fed's monetary policy directon and

therefore can affect the public's expectations about the

economy . A lower discount rate encourages banks to

borrow reserves and make loans.

Fed fund rate is interest rate banks charge for overnight

lonas of reserves to other banks :D
Accidental Hero
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 1

อัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำอย่างไรครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ :)
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
ภาพประจำตัวสมาชิก
energizer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 505
ผู้ติดตาม: 0

อัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำอย่างไรครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คิดง่ายๆแบบชาวบ้านเลยนะครับ
มีการอัดฉีด ก็ต้องมีการดูดคืน
ดังนั้นก็มาคิดต่อว่าอะไรจะดูดเงินออกไปจากระบบได้ ซึ่งก็คือเงินในรูปแบบของภาษีอากรนั้นเอง
แล้วการอัดเงินเข้าระบบก็คือสิ่งตรงกันข้ามคือ การที่รัฐเอาเงินที่ดูดออกไปกลับมาเข้าระบบซึ่ง โดยมากมักจะอยู่ในรูปของโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนน สะพาน ต่างๆ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดการจ้างงาน การซื้อวัสดุก่อสราง เป็นต้น ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้นครับ
pakdhorc
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

อัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำอย่างไรครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เท่าที่เคยอ่านในหนังสือก็เข้าใจเหมือนกับคุณ Accidental Hero ครับเมื่อสถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง ธนาคารกลางฯจะเข้าไปช่วยโดยการเพิ่มเงินเข้าไปในระบบผ่านกลไกลตลาดการกู้ยืมระหว่างธนาคารกลางและสถาบันการเงินที่มีปัญหาสภาพคล่องนั้นๆๆ
แต่ในทางปฎิบัติไม่รู้ว่าเขาทำกันอย่างนั้นหรือปล่าว ถ้าทำตามอย่างที่ว่าจริงๆก็เท่ากับธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารกลางฯในแต่ละประเทศใช้ดำเนินนโยบายการเงินด้วยเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้านะครับ เลยไม่รู้จริงๆๆแล้วธนาคารกลางให้สถาบันการเงินกู้ด้วยวิธีไหนที่จะไม่กระทบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย :o
รบกวนท่านผู้รู้ช่วยไขปัญหาด้วยนะครับ  :?:
โพสต์โพสต์