กลุ่มสื่อ,สิ่งพิมม์และบันเทิง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

กลุ่มสื่อ,สิ่งพิมม์และบันเทิง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

กลุ่มสื่อเฮรับกระแสเลือกตั้ง EPCO- BEC-
หุ้นกลุ่มสื่อเริ่มส่งสัญญาณออกสตาร์ทหลังสสร.เห็นชอบผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉลุย โบรกชี้แนวโน้มครึ่งปีหลัง

กลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ยังสดใสหลังการเมืองเดินหน้ามองธุรกิจโรงพิมพ์รับทรัพย์เพียบหลังรัฐเตรียมจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 19 ล้านเล่มแจกประชาชน ด้าน EPCO เข้าข่ายได้เค้กก้อนโต ส่วนสื่อทีวี หนังสือพิมพ์ไม่น้อยหน้ารับเม็ดเงินโฆษณาอื้อซ่าเช่นกันหลังการเมืองชัด เศรษฐกิจฟื้นชู  BEC MCOT เข้าตาสุด    
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีมุมมองเป็นบวกจากภาพรวมธุรกิจที่ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่การเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นและทุกอย่างเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งได้ในช่วงปลายปีนี้จะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งธุรกิจสื่อทีวี สิ่งพิมพ์ รวมถึงโรงพิมพ์ได้รับประโยชน์
   
เรามองว่าหลังสสร.รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วและเดินหน้าไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการลงประชามตินั้นถือเป็นสัญญาณที่ดีในการนำไปสู่การเลือกตั้งปลายปีซึ่งเรามองว่ากลุ่มที่จะได้ประโยชน์คงหนีไม่พ้นกลุ่มสื่อทั้งทีวีหนังสือพิมพ์ที่จะมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์กันมากขึ้นนายสุกิจกล่าว
   
สำหรับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะเห็นประโยชน์มากที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจโรงพิมพ์ เช่น EPCOเพราะหลังจากที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์แล้วหลังจากนี้ก็จะเป็นขั้นตอนการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 19 ล้านเล่มให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน เพื่อเผยแพร่กับประชาชนทั่วประเทศซึ่งผู้ประกอบการในธุรกิจโรงพิมพ์เอกชนจะได้รับประโยชน์จากออเดอร์ส่วนนี้
   
ขณะที่สื่อโทรทัศน์เองก็จะได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินโฆษณา โดยเฉพาะสื่อของรัฐ อย่าง MCOT เป็นต้นที่คงจะมีงบโฆษณาจากการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ในการเลือกตั้ง ส่วน BEC ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเอกชนก็จะได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในการลงทุนด้านสื่อโฆษณามากขึ้นเช่นกัน
   
แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ถึงแม้ส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากประเด็นดังกล่าวเนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าผู้ประกอบการเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ อาทิ PORT , MATI และNMG ซึ่งถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้รับความนิยมจะได้รับประโยชน์แต่เนื่องจากหุ้นดังกล่าวถือว่าเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำจึงแนะนำ เก็งกำไร เป็นรายตัวตามกระแสข่าวที่มีออกมาเป็นระยะๆ และให้ลงทุนด้วยความระมัดระวัง
   
ด้านนางสาวสุทธาทิพย์ พีรทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่ากลุ่มธุรกิจสื่อ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์จะมีการเติบโตกว่าครึ่งปีแรก และยังคงมีมุมมองเป็นบวกจากประเด็นเรื่องการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายนี้จะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการอุปโภคบริโภคมากยิ่งขึ้น
   
ครึ่งปีหลังกลุ่มสื่อจะกลับมาโดดเด่นด้วยประเด็นการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทำให้คนกล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุนและโฆษณามากขึ้นธุรกิจสื่อก็จะได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินโฆษณาที่จะเข้ามา นางสาวสุทธาทิพย์กล่าว
   
ทั้งนี้ยังมีมุมมองเป็นบวกและยังน่าสนใจที่จะลงทุนทั้งธุรกิจโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการที่จะได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินโฆษณา โดย BEC ให้ราคาเหมาสะสมที่ 25 บาท ส่วน MCOT ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเต็มมูลค่าที่ 38.50 บาทจึงรอจังหวะซื้อเมื่ออ่อนตัว ส่วนผู้ผลิตรายการแนะนำ WORK ให้ราคาเหมาะสมที่ 24.50 บาท และGMMM ให้ราคาเหมาะสมที่ 10.40 บาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 605&ch=225
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

จวกธุรกิจบันเทิงเน้นกำไรเกิน  
 
โดย เดลินิวส์ วัน จันทร์ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 02:53 น.
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยถึงกรณีที่สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ผู้จัดรายการ คัดค้านนโยบายการจัดเรตติ้งรายการว่า อยากให้ผู้ที่คัดค้านคำนึงถึงความอยู่รอดของสังคมและวัฒนธรรมไทยบ้าง ไม่ใช่เน้นสร้างกำไรอย่างเดียว โดยไม่สนใจผลกระทบที่ตามมา เพราะผลสำรวจรายการโทรทัศน์พบว่ามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากสุดโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน แต่ปัจจุบันมีรายการหรือละครหลายเรื่องที่ไม่เหมาะสมนำมาออกอากาศเวลา 16.00-22.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเด็กสนใจดูมากสุด เช่น วาจาหยาบคาย ทำลายวัฒนธรรมไทย และการแสดงละครในฉากที่ตบตี เป็นต้น
ทั้งนี้แม้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ของ สคบ. ไม่อาจไปควบคุมได้ แต่ก็ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคในกลุ่มเด็ก จึงอยากให้ผู้จัดรายการ, การแสดงตลก หรือผู้กำกับละคร เห็นความสำคัญเรื่องนี้ให้มาก เพราะคนเหล่านี้จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาสังคมแม้อาจเสียรายได้หรือคนดูลดลงบ้างก็ตาม

แม้ธุรกิจบันเทิงจะอ้างว่าคนดูส่วนใหญ่ต้องการดูในลักษณะละครน้ำเน่า มีการตบตีกลาง ตลาด ใช้วาจาหยาบคาย หรือต้องแต่งตัวเชิงโป๊บ้าง โดยเฉพาะหากพระเอกหรือนางเอกได้รับบทเหล่านี้จะไม่ส่งผลดีต่อเด็ก เนื่องจากเด็กจะชื่นชอบและนำไปเลียนแบบในชีวิตประจำวันได้ ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่รู้ให้บทแสดงที่ไม่เหมาะสมในช่วงที่เด็กดูออกอากาศไปได้อย่างไร ดังนั้น สคบ. อยากให้รัฐที่ดูแลเรื่องนี้เร่งออกนโยบายกำหนดช่วงเวลาออกอากาศตามความเหมาะสมของรายการแต่ละประเภท เพื่อคุ้มครองเด็กให้ได้รับความบันเทิงที่มีสาระ หรือไม่มีพิษภัยต่อสังคม

นอกจากการจัดเรตติ้งรายการแล้ว สคบ.อยากให้กรมประชาสัมพันธ์จัดเรตติ้งโฆษณาสินค้าเพื่อคุ้มครองเด็กด้วย โดยที่เข้าข่ายส่อในเชิงลามก จนทำลายวัฒนธรรมไทยแต่ไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย, แนวสยองขวัญ หรือ ตัวละครมีกิริยาที่ไม่สุภาพ ไว้หลังช่วง 22.00-05.00 น. เหมือนกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.
http://news.sanook.com/economic/economic_153336.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ส.โฆษณาหวั่น"กฎเหล็ก"ห้ามโฆษณาขนม ในรายการเด็ก ฉุดเม็ดเงิน 2,000 ล้านวูบ

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 13:55:00

นายกสมาคมโฆษณาออกโรงฉะกฎเหล็ก "ห้ามโฆษณาขนมขบเคี้ยว" ในรายการเด็กฉุดเม็ดเงิน 2,000 ล้านวูบซ้ำรอยเศรษฐกิจซบ ทั้งลิดรอนเสรีภาพการค้าขู่ฟ้องศาลปกครอง ด้านผู้ผลิตรายการเด็ก' ซูเปอร์จิ๋ว' วอนให้ทบทวนก่อน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซ\จีวัน เปิดเผยว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างดำเนินการออกประกาศหรือข้อกำหนด เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การโฆษณาขนมเด็กอยู่ โดยมีข้อเสนอให้สถานีโทรทัศน์ดูแลการโฆษณาขนมขบเคี้ยวเด็ก โดยงดการโฆษณาขนมเด็กในรายการโทรทัศน์ที่มีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น รายการการ์ตูน รายการละครสำหรับเด็ก รายการเด็ก

รวมทั้งงดการใช้เด็ก ตัวการ์ตูน ดารา นักร้องศิลปิน หรือบุคคลผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเป็นผู้นำเสนอสินค้า งดการส่งเสริมการขายขนมเด็กและการโฆษณาโดยใช้ของแถม ของแจก ในการโฆษณาขนมเด็ก ทุกครั้งต้องมีคำเตือนที่ชัดเจน เช่น ไม่ควรบริโภคขนมเกิน 2 ครั้ง ต่อวัน นั้น "ไม่เห็นด้วย" กับแนวคิดที่มาจากมุมมองด้านเดียว ที่ไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลรอบด้านอย่างรอบคอบ เพราะไม่ยุติธรรมกับกลุ่มผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ผู้ผลิตรายการเด็ก อุตสาหกรรมโฆษณา ซึ่งในแต่ละปีขนมขบเคี้ยวเด็กมีเม็ดเงินโฆษณาไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ แนวคิดการห้ามโฆษณาขนมขบเคี้ยวของกรมประชาสัมพันธ์ น่าจะมีที่มาจากกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคอ้วนที่เกิดขึ้นในกลุ่มเด็ก ซึ่งได้เรียกบริษัทโฆษณาเข้าไปรับฟังเป็นครั้งแรก บางจุด มันต้องคำนึงถึงคนขายบ้าง ทั้งๆ ที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจะโทษผู้ประกอบการฝ่ายเดียวไม่ใช่เรื่องถูกต้อง เช่นโรคอ้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติที่ผิดๆ ของผู้ปกครองที่คิดว่าเด็กอ้วนดีกว่าผอม ควรจะใช้วิธีการรณรงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาน่าจะเหมาะสมกว่า

"เป็นเรื่องตลกมากที่หน่วยงานของรัฐบาลในแต่ละส่วนมีนโยบายที่ขัดแย้งกันเอง ยกตัวอย่างกระทรวงวัฒนธรรม ต้องการให้มีรายการสำหรับเด็กมากขึ้น แต่กรมประชาสัมพันธ์กลับมาห้ามไม่ให้มีโฆษณาในรายการเด็กแล้ว รายการเด็กจะมีเงินที่ไหนมาสนับสนุน ขณะเดียวกันกฎที่ออกมาถือเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการทำการค้ามากเกินไป หากห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของสินค้า ทั้งๆ ที่ไม่ใช่สินค้าผิดกฎหมาย เชื่อว่าจะมีการฟ้องร้องถึงศาลปกครอง" นายวิทวัส กล่าว

ด้านนายวิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ กรรมการบริหาร บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด ผู้ผลิตรายการเด็ก กล่าวว่า การจัดทำกฎระเบียบดังกล่าว เป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรจะมีการหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อกำหนดกรอบการทำงานร่วมกันในยุคที่สังคมต้องการความสมานฉันท์ เพราะตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาภาครัฐไม่เคยให้การสนับสนุนผู้ผลิตรายการเด็ก จนทำให้ผู้ผลิตรายการเด็กกว่า 50% ต้องเลิกกิจการเพราะไม่มีผู้สนับสนุน

สิ่งที่ภาครัฐควรจะดำเนินการ คือต้องคุยว่าทำอย่างไร จึงจะมีโฆษณาใน รายการเด็ก ไม่ใช่พูดเรื่องห้ามโฆษณาในรายการเด็ก และควรมาร่วมกันกำหนดกรอบการทำงาน แทนการออกคำสั่งประหารชีวิต นายวิวัฒน์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82567
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news10/07/07

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จ้องรีดภาษีป้ายโฆษณาเพิ่ม  
โดย เดลินิวส์
วัน อังคาร ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 12:41 น.
อ้างผุดเป็นดอกเห็ดบังทัศนียภาพเตรียมล้างบางป้ายเถื่อนเขตจตุจักร
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า วันที่ 27 ก.ค. 50 จะเชิญสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), กทม., กระทรวงมหาดไทย, คลัง หารือแนวทางจัดระเบียบและควบคุมป้ายโฆษณา ที่ปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางพื้นที่ไม่เป็นระเบียบ เบื้องต้นมอบหมายส่วนท้องถิ่น และกรมสรรพากรพิจารณา ปรับเพิ่มภาษีป้ายใหม่เพื่อความเหมาะสม และป้องกันป้ายที่ไม่พึงประสงค์แต่ไม่ผิดกฎหมายให้ดำเนินการติดตั้งลำบากขึ้น

สำหรับอัตราที่ปรับปรุงใหม่แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ เช่น ป้ายตัวอักษรไทยล้วนปัจจุบัน เก็บ 5 บาทต่อ 500 ตร.ม. และพื้นที่ป้ายไม่ เกิน 33,333 ตร.ซม. เก็บภาษีขั้นต่ำ 200 บาท เปลี่ยนเป็น 5 บาทต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ไม่เกิน 20,000 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท, ป้ายตัวอักษรไทยปนกับต่างประเทศ จาก 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม. และพื้นที่ป้ายไม่เกิน 5,000 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท เป็น 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ป้ายไม่เกิน 3,333 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท ส่วนป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศเก็บเหมือนเดิม 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. และพื้นที่ไม่เกิน 2,500 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท

ขณะที่ป้ายดิจิตอลเลื่อนไปมาซึ่งคำนวณภาษีจากข้อความ, ภาพ หรือระยะเวลาที่ข้อความและภาพปรากฏจากปัจจุบัน 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม. และพื้นที่ไม่เกิน 2,500 ตร.ซม.เก็บ 200 บาท เป็น 75 บาทต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ไม่เกิน 1,333 ตร.ซม. 200 บาท, ป้ายที่พลิกไปได้หลายภาพจาก 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ป้ายไม่เกิน 2,500 ตร.ซม. 200 บาท เป็น 100 บาทต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ป้ายไม่เกิน 1,000 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท, ป้ายแบบจอทีวีจาก 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ป้ายไม่เกิน 2,500 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท เป็น 150 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. และพื้นที่ป้าย ไม่เกิน 667 ตร.ซม. เก็บ 200 บาท

มาตรการภาษีเป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลต้องการควบคุมป้ายโฆษณา พร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาการกำหนดช่องความห่างของการ ตั้งป้ายเพราะบางพื้นที่หนาแน่นจนรกหูรกตาและบดบังความสวยงาม ของทัศนียภาพ รวมทั้งกำหนดขนาดของป้าย ขณะที่ สคบ. จะดูแลเรื่องความปลอดภัย และข้อความโฆษณาห้ามเกินจริงและเข้าข่ายเชิงลามก เป็นต้น

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า กทม. ได้รายงานปริมาณป้ายโฆษณาในพื้นที่ให้รับทราบว่ามี 1,323 ป้าย โดยเขตจตุจักร มีมากสุด 130 ป้าย รองลงมา เขตประเวศ 60 ป้าย, หลักสี่ 46 ป้าย, คลองเตย 45 ป้าย, ลาดกระบัง 45 ป้าย, ดินแดง 44 ป้าย, ราชเทวี 44 ป้าย, บางกะปิ 43 ป้าย, บางนา 43 ป้าย, ห้วยขวาง 42 ป้าย ขณะที่พระนครและดุสิต มีปริมาณน้อยสุดเขตละ 2 ป้าย เป็นต้น แต่ทั้งหมดเป็นป้ายโฆษณาที่ไม่มีใบอนุญาตถึง 546 ป้าย โดยในเขตพื้นที่จตุจักรมีมากถึง 50 ป้าย.
 http://news.sanook.com/economic/economic_154783.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/07/07

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ระวังโฆษณาครึ่งปีลบ3%
โพสต์ทูเดย์ โฆษณาครึ่งปีติดลบ 3% เหลือ 4.3 หมื่นล้าน นายกโฆษณาฯ ชี้สัญญาณร้าย ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจ พร้อมรัฐออกกฎคุม
รายงานข่าวจากบริษัท มีเดีย สเปนดิ้ง แจ้งว่า ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ช่วงครึ่งปี 2550 ติดลบ 3.05% หรือมีการใช้เงินผ่านสื่อ 43,322.4 ล้านบาท สื่อหลักของธุรกิจทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ติดลบทั่วหน้า  

ส่วนงบโฆษณาเฉพาะเดือน มิ.ย. ติดลบ 5.35% เหลือ 7,245.3 ล้านบาท สื่อหลักยังคงใช้ติดลบ โทรทัศน์ลบ 6.98% เหลือ 4,935.3 ล้านบาท วิทยุลบ 6.5% เหลือ 397 ล้านบาท และ หนังสือพิมพ์ลบ 7.75% เหลือ 1,002 ล้านบาท

นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นเรื่องดังกล่าวว่า ตัวเลขการใช้งบโฆษณาครึ่งปีแรกที่ติดลบ แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ จึงไม่กล้าใช้เงินโฆษณาสินค้าบริการ ขณะที่รัฐบาลแทนที่จะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่น กลับเร่งดำเนินการออกมาตรการทางสังคมต่างๆ เพื่อควบคุมโฆษณา เช่นมาตรการล่าสุดคือ ควบคุมการโฆษณาขนมสำหรับเด็ก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยลบ ทำให้มองว่าอุตสาหกรรมโฆษณาในปีนี้จะถดถอย

เดิมเรามองว่าอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้น่าจะทรงตัวได้ แต่ตัวเลขครึ่งปีที่แสดงออกมา สะท้อนให้เห็น ถึงสัญญาณอันตรายที่จะบอกว่าอุตสาหกรรมโฆษณาในปีนี้มีโอกาสติดลบหรือถดถอย เมื่อเทียบกับปีก่อน นายวิทวัส กล่าว

การควบคุมโฆษณาขนมเด็ก จะกระทบต่อการใช้เม็ดเงินโฆษณาของ สินค้ากลุ่มนี้ที่ใช้อยู่ปีละ 2 พันล้านบาทใกล้เคียงกับกลุ่มสินค้าแอลกอฮอล์ ซึ่งขณะนี้การควบคุมการโฆษณาของภาครัฐ ยังไม่ชัดเจนว่าจะครอบคลุมกลุ่มสินค้ามากน้อยขนาดไหน เพราะเป็นข้อกำหนดที่กว้างมาก ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลัง สินค้ากลุ่มนี้อาจมีการชะลอการใช้งบโฆษณา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณาโดยรวม ยังไม่นับรวมมาตรการควบคุมการโฆษณาผ่านป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หรือ บิลบอร์ด ที่จะมีระเบียบใหม่ออกมาบังคับใช้เร็วๆ นี้ และการที่กรมขนส่ง ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณารอบตัวรถ

มีความพยายามผลักดันจากกลุ่มเอ็นจีโอให้ออกมาตรการควบคุมการโฆษณาในช่องทางต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ เพราะไม่คิดว่ารัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้งจะทำเรื่องเหล่านี้ได้ ซึ่งสมาคมไม่ได้คัดค้านในหลักการที่จะส่งเสริมสังคม แต่บางเรื่องต้องมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน เพื่อให้มีความยุติธรรมแก่ ผู้ประกอบการทุกฝ่าย นายวิทวัส กล่าว

ได้มีการยื่นหนังสือแสดงความ ไม่เห็นด้วยในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาขนมเด็กให้กับอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์พิจารณา แล้ว โดยจุดยืนของสมาคม ถ้าเรื่องไหนพิจารณาแล้วว่าไม่เป็นธรรมต่อ ผู้ประกอบการจะคัดค้านถึงที่สุด
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177945
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/07/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ZMICO+AYS แนะเก็งกำไร GMMM+TRUE รับการปรับปรุงกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, July 11, 2007

หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะจัดระบบการออกใบอนุญาต และควบคุมดูแลผู้ประกอบการกิจการสื่อ มีสาระสำคัญที่น่าสนใจดังนี้

1. แบ่งกิจการสื่อออกเป็น 2 ประเภท คือ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ใช้คลื่นความถี่ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการอื่น ๆ เช่น เคเบิ้ลทีวี หรือทีวีผ่านดาวเทียม

2. แบ่งประเภทใบอนุญาตออกเป็น 3 ชนิด คือ บริการสาธารณะ บริการชุมชน และธุรกิจเอกชน แต่มีเงื่อนไขด้วยว่า บริการสาธารณะต้องนำเสนอสาระอย่างน้อย 70% และ 20% สำหรับธุรกิจเอกชน

3. การให้สัมปทานกิจการวิทยุมีอายุ 7 ปี และ โทรทัศน์ 15 ปี โดยผู้ประกอบการเดิมยังได้รับการคุ้มครองจนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน

4. อนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านจริยธรรม และอนุกรรมการส่งเสริมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อควบคุมดูแลเนื้อหาสาระ โดยให้ตั้งคณะกรรมการชั่วคราวกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนและการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กวช.) เป็นคณะกรรมการชั่วคราว ดูแลการออกใบอนุญาตให้วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี หรือทีวีผ่านดาวเทียม ในช่วงที่ยังไม่มี กสช.(ซึ่งคาดว่าจะรวมกับ กทช.ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่)

นอกจากนี้ ได้มีการเสนอให้พิจารณายกเว้นการบริหารจัดการคลื่นความถี่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐหางหน่วยงาน ซึ่งคณะผู้ยกร่างกฎหมายแบบนี้ ได้ให้ความเห็นชอบ และเตรียมเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนส่งให้สภานิติบัญญํติแห่งชาติ หรือ สนช.พิจารณา เพื่อจะได้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ล่าสุด ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีมิโก้ (ZMICO) และ บล.กรุงศรีอยุธยา (AYS) ได้ออกรายงานล่าสุด ระบุความน่าสนใจของหุ้นกลุ่มสื่อ เรียบร้อยแล้ว

โดย ZMICO แยกอธิบายตามประเภทของสื่อ สรุปสาระสำคัญได้ว่า BEC และ MCOT ซึ่งทำธุรกิจโทรทัศน์ ไม่น่าได้รับผลกระทบในระยะสั้น โดยในกรณ๊ของ BEC มีอายุสัมปทานเหลืออีกราว 13 ปี เพราะสัญญาสัมปทานจะหมดในปี 2563 แต่หลังจากนั้นก็จะต้องขอรับการจัดสรร หรือประมูลสัมปทานใหม่ ซึ่งจะมีอายุครั้งละ 15 ปี ลดลงจากเดิม ที่กำหนดอายุให้ครั้งละ 25 - 30 ปี

ขณะที่ MCOTถูกจัดเป็นหน่วยงานรัฐ ที่ได้รับการยกเว้นให้บริหารคลื่นได้โดยตรงจาก กทช. เหมือนกับกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานรัฐอื่น ๆ แม้ในกรณีที่ไม่ได้รับยกเว้น และต้องได้รับการจัดสรรคลื่นโดย กสช. (หรือองค์กรร่วม กสช และ กทช.) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้เงื่อนไขเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ก็คาดว่า MCOT จะได้รับการจัดสรรคลื่นโทรทัศน์เช่นเดิม เนื่องจากน่าจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มบริการสาธารณะ จากการนำเสนอรายการสาระเป็นส่วนใหญ่

สำหรับธุรกิจเคเบิ้ลทีวี และทีวีดาวเทียมจะจดทะเบียน ดำเนินธุรกิจได้โดยมีกฎหมายรองรับ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสื่อโทรทัศน์ และวิทยุ เนื่องจาก ปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้ดำเนินงานอยู่แล้ว และเติบโตช้า จนทำให้ MEDIAS ตัดสินใจหยุดธุรกิจทีวีดาวเทียมในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

สำหรับธุรกิจทางด้านวิทยุ เอกชนที่ได้รับจัดสรรคลื่นใหม่จะได้อายุสัมปทาน 7 ปี และมีโอกาสทำกำไรดีขึ้น ซึ่ง ZMICO คาดว่า การให้สัมปทานในระยะเวลาที่นานขึ้นเป็น 7 ปี จะทำให้สื่อวิทยุมีโอกาสทำกำไรได้ดีขึ้น เนื่องจากตามกฎหมายปัจจุบันผู้ประกอบการวิทยุจะได้สัมปทานระยะสั้นเพียง 1 - 2 ปี ทำให้มีต้นทุนเพิ่มในการโปรโมทคลื่นใหม่ เมื่อหมดสัมปทานและต้องเปลี่ยนคลื่น

อย่างไรก็ตาม หากการขอยกเว้นให้หน่วยงานรัฐ สามารถบริหารคลื่นความถี่ของตัวเองได้ต่อไป ได้รับการเห็นชอบ โดยประเมินว่ามีเพียง 40% ของคลื่นหลัก FM 40 คลื่น ในกรุงเทพ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ และ กทช. ที่จะนำมาจัดสรรใหม่ให้เอกชนตามเงื่อนไขอายุสัมปทาน 7 ปี ตามร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้

ขณะที่เอกชนที่รับสัมปทานจากกองทัพ หรือหน่วยงานรัฐที่ได้สิทธิบริหารคลื่นต่อ อาจได้สัมปทานระยะสั้นกว่า 7 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายของกองทัพ หรือหน่วยงานรัฐนั้น ๆ ต่อไป

ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้แล้ว ZMICO เห็นว่า GMMM มีโอกาสได้ประโยชน์จากการจัดสรรคลื่นใหม่มากที่สุด และสามารถ "ซื้อ" ได้แล้ว

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการลงทุนในหุ้นกลุ่มสื่อ จะพบว่า TOP PICKS เดิม ทั้ง BEC และ MCOT ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมากจนทำให้เหลือ UPSIDE น้อยมาก โดย BEC มีมูลค่าพื้นฐาน ที่ 26.50 บาท ส่วน MCOT มีมูลค่าพื้นฐาน 42.50 บาท ดังนั้น จึงแนะนำให้เปลี่ยนตัวเล่น เป็น GMMM แทน

ทั้งนี้ ZMICO อธิบายว่า เมื่อพิจารณาจากความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากสื่อโทรทัศน์ ได้เวลาทำรายการเพิ่ม และมีแนวโน้มกำไรได้ดีขึ้น ส่าวนสื่อวิทยุ ก็มีแนวโน้มทำกำไรดีขึ้นในปีนี้ และมีโอกาสได้ประโยชน์จากการจัดสรรคลื่นใหม่เพิ่มเติมด้วย เนื่องจากในคลื่นหลัก 4 สถานี มีคลื่นที่รับสัมปทานจากกรมประชาสัมพันธ์ และ กทช.เพียง 2 คลื่น ซึ่งต่างจาก RS ที่บริหารคลื่นวิทยุ 3 สถานี จากสัมปทานของกองทัพเรือ ทำให้อาจได้รับประโยชน์จากการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่น้อยกว่า จังทำให้ประเมินได้ว่า กำไรจะฟื้นตัว 21% และ 27% ในปีนี้ และปีหน้า ตามลำดับ ซึ่งในระดับนั้น จะคำนวณมูลค่าหุ้นพื้นฐานได้ 13.10 บาท เมื่ออิงกับ P/E ปีหน้า ที่ 12 เท่า

ขณะที่ AYS ชี้ว่า ข่าวดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกกับ TRUE และ MCOT ซึ่งจะมีโอกาสหารายได้เพิ่มจากโฆษณา โดยปัจจุบัน MCOT มีรายได้ค่าสัมปทานจาก True Vision ในอัตรา 6.5% ของรายได้ของ True Vision หรือคิดเป็น 12% ของรายได้ของ MCOT และมีโอกาสที่จะปรับปรุงเงื่อนไขสัมปทานใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้

อย่างไรก็ตามจำนวนรายได้โฆษณาที่จะเข้ามาจะต้องขึ้นอยู่กับผังรายการที่น่าสนใจ และจำนวนคนดูที่มากพอจะจูงใจให้เจ้าของสินค้ามาลงโฆษณาเพิ่มขึ้นด้วย โดยปัจจุบัน True Vision มีสมาชิกจำนวน 5.6 แสนครัวเรือน ในจำนวนดังกล่าวคาดว่าส่วนใหญ่เป็นการชมช่องรายการที่ซื้อลิขสิทธิมาจากต่างประเทศโดยตรง มากกว่าจะเป็นช่องที่ True Vision ผลิตรายการเอง จึงคาดว่าจะยังมีจำนวนคนดูไม่มาก เมื่อเทียบกับสถานีโทรทัศน์ประเภทฟรีทีวี ที่มีคนดูทั่วประเทศประมาณ 12 ล้านคน จึงคาดว่าตัวเลขรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นกับ True Vision และ MCOT จะไม่เป็นจำนวนที่มากจนทำให้เกิดการไหลของเม็ดเงินโฆษณา และคาดว่าสถานีโทรทัศน์ที่เป็นฟรีทีวีจะไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากมาตรการนี้มากนัก คงคำแนะนำ "ขาย" สำหรับ MCOT โดยให้ราคาเหมาะสมปีนี้ อิง P/E 18 เท่า ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของกลุ่มสื่อด้วย ที่หุ้นละ 31.50 บาท

สำหรับ TRUE คงต้องรอความชัดเจนจากบริษัทในเรื่องการปรับผังรายการอีกสักระยะหนึ่งก่อน แต่ในขณะนี้ แนะนำ "เก็งกำไร" ก่อน โดยให้ราคาเหมาะสมที่หุ้นละ 11.63 บาทเนื่องจากธุรกิจหลักการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และพื้นฐาน ยังคงได้รับแรงกดดันจากการแข่งขัน และความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น กรณี access charge กับ TOT และการปรับเพิ่มส่วนแบ่งรายได้เพื่อให้เท่าเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นตามแนวทางของกระทรวงไอซีที

มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]

http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/07/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เซ็นจูรี่ มูฟวี่ คอมเพล็กซ์ [ ฉบับที่ 809 ประจำวันที่ 11-7-2007 ถึง 13-7-2007]  
>> ฉีกแนวอีเวนต์ เสริมแม็กเน็ต ย้ำ Daily Life style

เซ็นจูรี่ มูฟวี่ พลาซ่า เขย่าธุรกิจโรงภาพยนตร์ หลังมัดใจกลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษา และคนทำงาน ใจกลางเมืองอยู่หมัด ชูกลยุทธ์เอ็กซ์พีเรียน มาร์เก็ตติ้ง จัดโปรโมชั่นและอีเวนต์แบบแตกต่าง ตอกย้ำคอนเซปต์ Daily Lifestyle คาดปลายปีดันยอดตั๋วหนังโต 15% ขณะเดียวกัน เตรียมควัก 1.2 พันล. ยึดทำเลรถไฟฟ้าบีทีเอส ขยายสาขาเพิ่ม

แม้บรรยากาศของประเทศยามนี้ อาจดูไม่สดใสมากนัก ความอึมครึมทางการเมืองฉุดรั้งเศรษฐกิจในภาพรวมให้ตกอยู่ในภาวะชะงักงัน แถมมีทีท่าว่าจะถดถอย ส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภคให้ลดน้อยถอยลง ผู้ประกอบการหลากประเภทจำเป็นต้องกัดฟัน งัดสารพัดยุทธวิธีมาปลุกเร้า กระตุ้นแรงซื้ออยู่เป็นระยะๆ สวนทางกับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโรงภาพยนตร์อย่างสิ้นเชิง ที่ส่วนใหญ่ล้วนไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ไม่ต่างจาก เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า หนึ่งในผู้เล่นหน้าใหม่แต่แบรนด์เก่า ซึ่งอยู่ระหว่างการต่อเติมเสริมแต่ง เพิ่มแม็กเน็ตบริการใหม่ๆ ให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมาย

>> ปีทองธุรกิจโรงภาพยนตร์

นายณัฐกิตติ์ เจริญศิริ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท เอกมหากิจ จำกัด เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า ความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจนับแต่ต้นปีเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ยังไม่ส่งผลกระทบมายังธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาพรวมมากนัก สะท้อนจากจำนวนผู้เข้าชมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นเป็นเพราะได้รับปัจจัยหนุนจากการที่มีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ไทยและเทศ ซึ่งเป็นแรงดึงดูดสำคัญ ให้ผู้บริโภคเข้ามาจับจ่ายใช้สอยภายในโรงภาพยนตร์แต่ละแห่ง

จะถือว่าเป็นปีทองของธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็ว่าได้ จากการมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ทั้งในและต่างประเทศมีให้ชมอยู่แทบทุกเดือน ไล่มาตั้งแต่ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร สไปเดอร์แมน หรือไพรเรท ออฟ เดอะ แคริบเบียน เป็นต้น

นอกจากภาพยนตร์เหล่านี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงผู้บริโภคเดินเข้าสู่โรงภาพยนตร์แล้ว ยังส่งผลดีต่อธุรกิจร้านอาหารและบริการ ภายในโรงหนังเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะที่ เซ็นจูรี่ฯ ซึ่งได้จัดแบ่งพื้นที่บริการ สนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างครบวงจร

>> มุ่งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่นักเรียนยันวัยทำงาน

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดฯ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ เธียเตอร์ กล่าวถึง พัฒนาการของธุรกิจโรงภาพยนตร์ในปัจจุบันว่า ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาของผู้เล่นระดับบิ๊กแบรนด์ ที่มีอยู่ราว 4-5 ค่ายนั้น ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การ นำเอาไอที เข้ามาประยุกต์ใช้ให้สอดรับกับธุรกิจ งานบริการภายในโรงภาพยนตร์ และความหลากหลายของประเภทสินค้าบริการโดยรอบ

หากจะพูดว่าแบรนด์โรงภาพยนตร์รายใหญ่ ที่มีอยู่ 4-5 ราย ซึ่งเซ็นจูรี่เราอยู่ในอันดับ 4 นั้น ต้องยอมรับว่าการจัดสภาพแวดล้อมของแต่ละแห่ง แทบไม่น้อยหน้าประเทศใดในโลก เพราะโรงภาพยนตร์ในไทยจะมีที่นั่งหรูหราทุกรูปแบบ มีสินค้าและบริการครบครันทุกประเภท

โดยทิศทางการขับเคลื่อนของเซ็นจูรี่ฯนั้น ณัฐกิตต์ ยอมรับว่า ขีดความสามารถทางการแข่งขันยังอยู่ในวงจำกัด เมื่อเทียบกับจำนวนที่นั่ง ที่มีอยู่ 2,192 ที่นั่ง 8 โรง เทียบกับอีกผู้นำตลาดที่มีอยู่มากกว่าหมื่นที่นั่ง แต่กระนั้น โพสิชันนิ่งของ เซ็นจูรี่ มูฟวี่ พลาซ่า ก็วางตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน ภายใต้คอนเซปต์ Daily Lifestyle หรือการเป็นสถานที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนเมืองได้ในทุกๆวัน

ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลัก จะมุ่งโฟกัสมาที่ 2 กลุ่มเป็นสำคัญ คือ กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา เพราะมีสถานศึกษาหลายแห่งตั้งอยู่ในย่านนี้ และกลุ่มคนทำงาน ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งจะมีผู้สัญจรในบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเฉลี่ย 4 แสนคน/วัน ในจำนวนนี้จะแวะเวียนเข้ามาใช้บริการที่เซ็นจูรี่ฯ ประมาณ 2-2.2 หมื่นคน/วัน
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4692
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/07/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

"พาร์ตเนอร์ชิป - อินเตอร์แอดทีฟ"2 กลยุทธสร้างทางรอด สู่ ทางรุ่ง ของสื่อวิทยุ  

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2550 17:34 น.

ผู้จัดการรายสัปดาห์ - การแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจวิทยุไม่เคยมีวันหยุดนิ่ง สื่อที่เคยมีความสำคัญเพียงแค่เศษงบประมาณที่หลงเหลือแบ่งมาใช้ซื้อสปอตวิทยุหลักร้อย กลับกลายเป็นสื่อเด่นที่มีการสร้างคาแรคเตอร์ของแต่ละคลื่น เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จนเป็นที่สนใจจากเจ้าของสินค้า ดึงราคาสปอตวิทยุคลื่นดัง ๆ ขึ้นมาอยู่ในระดับหลักพัน เกิดเป็นการแข่งขันชิงผู้ฟังด้วยกลยุทธแจกแหลกตั้งแต่บ้านหลังโตราคาแพง รถยุโรปคันหรู จนถึงทริปท่องโลก จนมาถึงวันนี้เมื่อความตกต่ำครอบคลุมสื่อวิทยุมานานกว่าปี คลื่นวิทยุก็กลับมาแข่งขันกันด้วยกลยุทธที่แตกต่างออกไป คือ "พาร์ทเนอร์ชิพ" ความร่วมมืออันแข็งแกร่งในการเดินหน้าฝ่าสถานการณ์ตกต่ำ และ "อินเตอร์แอคทีฟ" เทคโนโลยีที่สร้างศักยภาพในการเข้าถึงผู้ฟัง ที่จะทำให้วิทยุยังคงเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพตลอดไป
     
      คลิก วีอาร์ - วัน พา 4 คลื่น ก้าวไปพร้อมพาร์ทเนอร์
     
      คลิก วีอาร์ วัน ค่ายคนทำวิทยุตัวจริง ที่มี4 คลื่นหลักในมือ ประกอบไปด้วย 101 INN News คลื่นข่าว , Get 102.5 คลื่นเพลงสากล , 103.5 FM One คลื่นเพลงไทยอีซี่ลิสเทนนิ่ง และ 104.5 Fat Radio คลื่นเพลงไทยหัวใจอินดี้ แม้ 4 คลื่นจะมีความต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันน่าจะเป็นความเหนียวแน่นของกลุ่มผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลื่นที่เป็นเรือธง อย่าง 104.5 Fat Radio ที่มีกลุ่มผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม เหนียวแน่น ดังจะเห็นจากการจัดงานประจำปีของคลื่น "แฟต เฟส" ที่จัดมา 6 ครั้ง สร้างฐานสมาชิกของคลื่นเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี รวมถึงโปรเจ็คเล็ก ๆ ที่คลื่นนี้ได้จัดขึ้นเป็นประจำ อาทิ การประกวดวงดนตรี "เอาแต่เล่น", การจัดงานที-เชิ้ต เฟสติวัล ก็ได้รับความสนใจเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ที่ขยายการรับรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ สร้างความสำเร็จที่ชัดเจน ทั้งในส่วนของคลื่นวิทยุ และสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนแต่ละโปรเจ็ค จนสามารถต่อยอดไปถึงการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการร่วมสร้างความสำเร็จด้วยกัน
     
      คลื่นวิทยุ FM One เป็นตัวอย่างชัดเจนถึงแนวทางการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน สร้างความสำเร็จทางการตลาดร่วมกัน เมื่อยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับ 2 ของประเทศ ดีแทค เลือกสื่อสารแบรนด์โทรศัพท์พรีเพด "แฮปปี้" ถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการสนับสนุนคลื่นวิทยุสถานีนี้ ขยายภาพของคลื่นเป็น FM One Happy Station วิน-วิน ระหว่างกันทั้งคลิก วีอาร์ วัน ที่ได้ผู้สนับสนุนหลักมาช่วยประคับประคองคลื่นวิทยุในเวลาที่ภาพรวมของสื่อตกต่ำ ส่วนดีแทค ก็ได้ช่องทางการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์แฮปปี้ ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ซินเนอยี่จุดแข็งเข้าด้วยกันจนวันนี้ FM One ถือเป็นคลื่นเพลงฟังสบาย 1 ใน 3 ผู้นำบนหน้าปัทม์วิทยุ เบียดไหล่กรีนเวฟ จากฝั่งจีเอ็มเอ็ม และคูล เอฟเอ็ม ของอาร์เอส ส่วนแบรนด์แฮปปี้ก็ถือเป็นช่วงที่มีส่วนแบ่งการตลาดเข้าใกล้ผู้นำอย่างวัน-ทู-คอล ที่สุด
     
      ล่าสุด คลิก วีอาร์วัน ขยายแนวทางการจับมือพันธมิตรมาสู่ คลื่น 104.5 Fat Radio ประกาศจับมือกับพันธมิตรใหม่อย่างบัตรเครดิต เคทีซี ที่นิยมการทำตลาดโดยการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยหนึ่งในความร่วมมือที่สร้างความฮือฮา คือการจับมือกับเวิร์คพอยท์ เข้าสนับสนุนแจ๊คพอต สัปดาห์ละ 1 ล้านบาท ในรายการอัจฉริยะข้ามคืน ครั้งนี้ เคทีซี หันมาจับมือกับคลิก วีอาร์วัน จัดโครงการประกวดสปอตโทรทัศน์ และวิทยุระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อโปรเจค "มือดีมีคนเห็น " โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ส่งไอเดียของตนเองเข้าประกวด ชิงรางวัลล่อใจเป็นมูลค่ากว่า 6 แสนบาท แถมงานที่ชนะเลิศยังจะนำมาเผยแพร่และออกอากาศจริง
     
      นิวัตต์ จิตตาลาน ผู้บริหารเคทีซี มองว่า คลื่น104.5 Fat Radio เป็นคลื่นที่มีกลุ่มผู้ฟังที่ชัดเจน และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ฟัง ดังจะเห็นได้จากผลงานในครั้งที่ผ่านๆมา งานนี้เมื่อพิจารณาแล้วว่าวินวินทั้งคู่ จึงได้ตัดสินใจที่จะจับมือร่วมกัน และคลอดโปรเจกนี้ขึ้นมา
     
      ซึ่งไม่เพียงการจับมือกับสถาบันการเงินอย่างเคทีซี แต่104.5 Fat Radio ยังมีโปรเจกที่จะจับมือกับพันธมิตรกลุ่มต่างๆอีกมากมายเพื่อจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี ผลตอบรับที่ได้มาจากการกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับช่วงเวลา ทำให้สถานการณ์ของค่ายวิทยุที่ไม่มีธุรกิจใหญ่หนุนหลังอยู่ อย่าง คลิก วีอาร์วัน ลอยตัวอยู่เหนือกระแสคลื่นความตกต่ำทางเศรษฐกิจที่กดให้ธุรกิจสื่อซบเซามาตั้งแต่ต้นปีได้
     
      คลิก วีอาร์ วัน ยังมองไปถึงการต่อยอดคอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ในอนาคตรูปแบบของการบริหารงานบริษัทฯ จะก้าวสู่ Total Communication เป็นแบบการสื่อสารที่ครบวงจร ผสมผสานสื่อที่มีอยู่ให้เกิดการเชื่อมโยงและเกิดประโยชน์สูงสุด
     
      ปัจจุบัน คลิก วีอาร์ วัน มีสื่อวิทยุ สิ่งพิมพ์ ควบคู่ไปกับความสามารถในการจัดอีเวนต์ ต่อไป การทำดิจิตอล คอนเทนต์ รวมไปถึงการรุกเข้าไปในสื่อทีวี จะเข้ามาสนับสนุนให้การสื่อสารคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นครบวงจร ผู้บริหารของคลิก วีอาร์วัน วาสนะพงษ์ วิชัยยะ คาดว่า ภาพทั้งหมดจะสามารถเกิดขึ้นภายในปีนี้อย่างแน่นอน
     
      ยกเครื่องวิทยุ สู่อินเตอร์แอคทีฟมีเดีย
      สกาย-ไฮ, ทรู มิวสิค เดินเครื่อง

     
      อีกแนวคิดของการพาธุรกิจวิทยุหนีความตกต่ำ คือการเดินตามการเคลื่อนที่ของกลุ่มผู้ฟัง วันนี้แฟนรายการวิทยุุส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นทิ้งเครื่องเล่นวิทยุ หันไปหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่ายวิทยุจึงต้องขยายธุรกิจเข้าสูู่่สื่อใหม่ ๆ ตามไปด้วย
     
      สกาย-ไฮ ในเครืออาร์เอส ที่ถูกพิษเศรษฐกิจแตะเบรก หยุดการเติบโตที่พุ่งขึ้นอย่างสวยงามตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วขณะที่ค่ายวิทยุส่วนใหญ่โอดครวญสถานการณ์ถดถอยของตนเอง แต่สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) เคยเผยว่า สกาย-ไฮ กลับเติบโตอย่างสวยงาม มาถึงปีนี้ สุรชัย ยอมรับแล้วว่า ที่สุดแล้ว สกาย-ไฮ ก็หนีไม่พ้นจากพิษเศรษฐกิจรอบนี้ ในไตรมาสแรกของปี รายได้จากการขายสปอตวิทยุลดหายไปกว่า 40% ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับตัว
     
      สกาย-ไฮ เริ่มขยับด้วยการรีเฟรสคลื่น 88.5 FM MAX มาเป็น MAX 88.5 Digital Radio ดึงแนวคิดการนำดิจิตอบมีเดีย มาประสานกันเพื่อนำเสนอคอนเทนต์ของคลื่นผ่านช่องทางต่าง ๆ นอกเหนือจากวิทยุ ทั้งเว็บไซต์ WAPsite และ Visual Radio
     
      สุรชัยคาดหมายว่า แนวคิดการขยายคลื่นวิทยุสู่ช่องทางสื่อใหม่ ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถสื่อสารแบบอินเตอร์แอคทีฟได้ จะทำให้ผู้ฟังที่เคยมีอยู่ราว 4 แสนคน เพิ่มขึ้นได้ รวมถึงช่องทางในการหารายได้ ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย
     
      เช่นเดียวกับการเกิดของคลื่นวิทยุน้องใหม่ แต่เบื้องหลังคือบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย 93.5 ทรู มิวสิค
     
      ทรู คอร์ปอเรชั่น วางตำแหน่งของทรู มิวสิค ให้เป็นศูนย์รวมของคอนเทนต์ดนตรีจากทุกแหล่งทั่วโลก เพื่อกระจายสู่ช่องทางต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ธุรกิจของทรู ทั้งช่องทรู มิวสิค บนเคเบิลทีวีทรูวิชั่นส์ ช่อง 56 อินเตอร์เน็ตบนเว็บไซต์ www.truemusic.com และช่องทางผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ
     
      เมื่อคลื่นวิทยุมีช่องทางการเผยแพร่ที่กลายเป็นสื่ออินเตอร์แอคทีฟ ทรูมิวสิค จึงมีการจัดกิจกรรมโดยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ทั้ง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อาร์เอส และเลิฟอีส ของบอย โกสิยพงศ์ ที่ส่งศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างคอนเทนต์ให้กับทรู มิวสิค ทั้งการแสดงคอนเสิร์ต การออกอัลบัมพิเศษ ตลอดจนการคิดกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟพูดคุยกันระหว่างศิลปินกับแฟนรายการ สร้างให้สถานีวิทยุ 93.5 ทรู มิวสิค แห่งนี้ เติบโตเป็นที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่นเป้าหมายอย่างรวดเร็ว
     
      จากทางรอดที่คลื่นวิทยุต่างควานหากันเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา วันนี้การจับมือประสานความแข็งแกร่งร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการยกระดับศักยภาพของสื่อวิทยุให้กลายเป็นสื่ออินเตอร์แอคทีฟ กลับกลายเป็นทางรุ่ง ที่คนทำวิทยุต้องรีบพาตัวเองเข้าหา
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000079307
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/07/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

บิสสิเนสวีคดีเดย์3สิงหา รุกนิตยสารธุรกิจภาษาไทย - 12/7/2550

บิสิเนสวีค จากแดนมะกัน รุกทำฉบับภาษาไทยบุกตลาดนิตยสารธุรกิจในไทย ตั้งเป้าจำนวนพิมพ์จริงอย่างต่ำ 3 หมื่นฉบับ ใช้กลยุทธ์สร้างสมาชิก คาดช่วง 3 เดือนแรกจะได้สมาชิก 1.5 หมื่นราย นายแอนดรูว์ แบตต์ กรรมการบริหาร บิสสิเนสวีค ไทยแลนด์ เปิดเผยว่า เหตุที่บิสสิเนสวีค (Business Week) ทำฉบับภาษาไทย เพราะเราเห็นช่องว่างทางการตลาดของนิตยสารธุรกิจระดับโลกฉบับภาษาไทยในไทย ที่ยังไม่มี ขณะที่มีนิตยสารระดับโลกฉบับภาษาไทยแนวอื่นๆ อยู่มาก

แต่แนวธุรกิจนี้ยังไม่มี เราเชื่อว่าตลาดมีความต้องการนิตยสารธุรกิจระดับโลกฉบับภาษาไทย และบิสสิเนสวีค ก็เป็นแม็กกาซีนก็เป็นนิตยสารธุรกิจระดับโลก ที่มียอดขายอันดับหนึ่งในไทยอยู่แล้วในฉบับภาษาอังกฤษช่วงแรกของการวางตลาด บิสสิเนสวีคจะทำเป็นรายเดือนก่อน หลังจากนั้น จึงจะเพิ่มความถี่ขึ้นเป็นรายสัปดาห์ ดังเช่นที่วางจำหน่ายทั่วโลก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน พร้อมกับการวางจำหน่ายนิตยสาร บิสสิเนสวีค จะมีกระบวนการสร้างแบรนด์ครบเครื่อง ทั้งการทำเว็บไซต์ การจัดสัมมนา การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อต่างๆ คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ไดเร็คท์มาร์เก็ตติ้ง

สำหรับทีวี บิสสิเนสวีคเป็นพันธมิตรกับสำนักข่าวบลูมเบอร์ก เพื่อนร่วมชาติเมืองลุงแซม ที่ออกอากาศผ่านเคเบิลทีวีในไทยอยู่ ดังนั้น จะใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารบิสสิเนสวีคภาษาไทยถึงผู้บริโภคเป้าหมายกลุ่มเป้าหมายของของบิสสิเนสวีค คือ นักธุรกิจ ผู้บริหารธุรกิจทุกระดับ ตั้งแต่ซีอีโอลงมา รวมทั้งผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยเราเชื่อว่า แม้ผู้บริหารธุรกิจจะอ่านฉบับภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่ฉบับภาษาไทย เป็นผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้อ่าน เช่น ข้อมูลที่นำเสนอได้ในเชิงลึก และให้เข้าใจโลกธุรกิจได้กว้างกว่า ส่วนผสมเนื้อหา 70% เป็นเนื้อหาต่างประเทศ 30% เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประเทศ นายแบตต์กล่าว

กลยุทธ์เข้าถึงผู้อ่านเป้าหมายในไทย จะเน้นทำตลาดสมาชิกมากกว่ายอดขายบนแผง เพราะบิสสิเนสวีครายสัปดาห์ฉบับภาษาอังกฤษแต่ละสัปดาห์ ยอดขาย 90% มาจากสมาชิกประจำ แม้ช่วงแรกคงจะยังทำตัวเลขสมาชิกไม่ถึงระดับเดียวกับฉบับภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นกลยุทธ์หลัก อย่างไรก็ตาม มีการวางแผงด้วยตั้งเป้าช่วง 3 เดือนแรก จะเพิ่มจำนวนสมาชิกให้ได้ 1.5 หมื่นคน กลยุทธ์ในการให้ได้เป้าหมายนี้ คือการแจกฟรีส่วนหนี่ง พื่อแนะนำ โดยมีการให้หรีกับกลุ่มเป้าหมาย 1.3-1.4 พันฉบับต่อเดือนในช่วง 3 เดือน
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177276
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/07/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

''เรตติ้ง''...??มาตรการที่ยังคลุมเครือไร้ความชัดเจน

โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:48 น.

ขณะนี้ที่ธุรกิจทีวี ยังต้องแข่งขันขับเคี่ยวกันเต็มที่ ทั้งสมรภูมิ ข่าว และ ละคร ผู้ประกอบการธุรกิจทีวี ก็ยังต้องเจอศึกหนักครั้งใหญ่จากภาครัฐ ว่าด้วยเรื่อง ระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ หรือ เรตติ้งรายการ ที่เล่าเอาคนทีวีปั่นป่วน เกิดอาการร้อนๆ หนาวๆ กับการทำงานไปพร้อมๆ กัน เนื่องด้วย (ร่าง) คู่มือการจัดระดับควาเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมลงวันที่ 22 มิถุนายน 2550) ระบุ เวลาสำหรับเรตติ้ง น และ ฉ เพิ่มเติมว่า
เรตติ้ง น รายการที่เด็กต้องได้รับคำแนะนำในการรับชมจากผู้ใหญ่ แพร่ภาพออกอากาศได้เฉพาะช่วงเวลา 09.00-16.00 น. ในวันธรรมดา และช่วงเวลา 20.00-05.00 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์-วันหยุดราชการ และ เรตติ้ง ฉ รายการสำหรับผู้ชมที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป แพร่ภาพออกอากาศได้เฉพาะช่วงเวลา 22.00-04.00 น.

วิธีการและมาตรการที่คลุมเครือ

จากงานสัมมนา ผลกระทบของการจัดเรตติ้ง ของสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจทีวี ต่างแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดย นายวิทวัส ชัยปาณี นายากสมาคมธุรกิจโฆษณาแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอผลการวิจัยพฤติกรรมการดูทีวีของเด็กและเยาวชน ของบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ซ ว่า ช่วงเวลาการดูทีวีของเด็กอายุ 4-14 ปี ช่วงที่ดูทีวี จะมีตั้งแต่ 19.00 น. - 20.00 น. -21.00 น. และ ช่วงเวลาการดู 22.00 น. จะเท่ากับ 18.00 น. ขณะที่ช่วง 23.00 น. จะเท่ากับ 17.00 น. ซึ่งถือเป็นช่วงที่เยาวชนดูทีวีเยอะเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ การกำหนดกฎเกณฑ์ของรัฐ ยังไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการดูทีวีของเด็กและเยาวชน เพราะ เด็กและเยาวชน จะใช้เวลาประมาณ 1-1.30 ชั่วโมง สำหรับการดูทีวีต่อวัน ขณะที่ใช้วเลา 5-6 ชั่วโมงสำหรับการดูอินเตอร์เน็ต

ส่วนพฤติกรรมการดูทีวี จะเลือกโปรแกรมที่ตัวเองชอบ แล้วเปิดทิ้งไว้ โดยสามารถทำหลายๆ อย่างได้พร้อมกัน ทั้งการเล่นเน็ต การดูทีวี และบางครอบครัวจะมีการอัดรายการที่ตัวเองชอบไว้ดู หากเวลาที่ออกอากาศจริงไม่สามารถอยู่ดูได้ และปัจจุบันในอินเตอร์เน็ตตามเวปไซด์ต่างๆ มีการอัดคลิปรายการไว้สำหรับผู้ที่สนใจให้เข้ามาดูได้ด้วย เพราะฉะนั้นเด็กและเยาวชน จึงสามารถเลือกดูรายการทีวีที่ตัวเองชอบได้จากสื่ออื่นๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่ที่ทีวีเพียงอย่างเดียว

อีกทั้งการกำหนดเรตติ้ง น หรือ ท ยังเป็นอะไรที่คลุมเครือ โดยเฉพาะ น... คลุมเครือที่สุด โดยรายละเอียดที่ระบุคือ เป็นรายการที่ผู้ชมอายุระหว่าง 13-18 ปี ต้องได้รับคำแนะนำในการชมจากผู้ใหญ่ เพราะมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในเรื่อง (1) เพศ (2) ภาษา (3) พฤติกรรม และความรุนแรงในระดับไม่มาก ซึ่งถ้าดูแค่ประเด็นเรื่องภาษา โดยหลักเกณฑ์ของรัฐ ระบุไว้ว่า ภาษาที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสมในเรื่อง การใช้ภาษาไวยากรณ์ทางภาษา การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม ล่อแหลม หมิ่นเหม่ สื่อความหมายในเชิงลบ รวมถึงการใช้ภาษาที่ก้าวร้าว ดูหมิ่น นำมาซึ่งการลดทอนศักดิ์และศรีของผู้ฟัง เพียงแค่นี้ การ์ตูนที่ฉายทางทีวีมาก่อนหน้านี้ ทั้ง ทอมแอนด์เจอร์รี่ โรดรันเนอร์ หรือป๊อบอาย ก็ไม่รู้ว่าจะไปออกอากาศในช่วงไหนได้แล้ว

จากเหตุและผลดังกล่าว ทำให้ทีวีมีข้อจำกัด สำหรับการแข่งขัน โดยเฉพาะกับเคเบิลทีวี ที่ไม่ถูกควบคุมตามมาตรฐานเรตติ้งของรัฐ หรือ ถ้ารัฐจะให้ควบคุมเคเบิลทีวีด้วย ก็สรุปว่า เคเบิลทีวีจะไม่มีอีกต่อไป เพราะทำธุรกิจไม่ได้ เนื่องจากรายการส่วนใหญ่ของเคเบิลทีวี เป็นเรตติ้ง น และ ฉ

กำหนดเวลาเรตติ้งปัญหาคาใจ

ความคลุมเครือของการกำหนดเรตติ้งนั้นคือ ปัญหาใหญ่ที่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน และยังมีอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ฝ่ายผู้ประกอบการ อันประกอบด้วย สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ องค์กรตัวแทนของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สมาคมผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์ สมาคมผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทย นักวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง และสมาคมธุรกิจโฆษณาแห่งประเทศไทย คัดค้านอย่างหนักคือ การกำหนดเงื่อนไขเวลา โดยมีการทำหนังสือคัดค้านยื่นต่อนายกรัฐมนตรีไปว่า สมาพันธ์ ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับหลักการแนวคิดการนำระบบการกำหนดเวลาออกอากาศมาใช้ควบคู่กัน

สมรักษ์ ณรงค์วิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการที่รัฐต้องการจัดเวลาสำหรับรายการเด็กและเยาวชน ในช่วงเย็น แต่เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ยังดำเนินการไม่สำเร็จ เพราะรายการที่มียังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ซึ่งเรื่องนี้ ผู้บริหารสถานีขอเวลา เพราะการจะทำรายการให้ประสบความสำเร็จ หรือการพัฒนารายการให้เกิดได้จริงๆ ต้องใช้เวลา

นอกจากนี้ สมรักษ์ ยังยอมรับ สถานีมีความผิด ในแง่ของการโปรโมทละคร เพราะเลือกที่จะไปตัดต่อฉากที่มีความรุนแรง ซึ่งจริงๆ มีเพียงไม่กี่ฉากในละครแต่ละเรื่อง ขึ้นมาเป็นฉากโปรโมท ซึ่งเรื่องนี้สถานีพร้อมที่จะแก้ไข เพียงแต่ขอว่าการกำหนดมาตรการอะไรขึ้นมาควบคุมดูแล ควรจะเป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้สร้างกฎและผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นการออกคำสั่งมาควบคุม

เมื่อฝ่ายปฏิบัติออกมาโต้แย้งเช่นนี้ ฝ่ายควบคุมคือรัฐ ก็หยุดชงักไปเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดแล้ว จนป่านนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุป เพราะรัฐบาลยังต้องรอให้อนุกรรมการประสานงานเรตติ้งสื่อ ขึ้นมาทำหน้าที่ปรับปรุง (ร่าง) คู่มือเรตติ้งเจ้าปัญหากันอีกรอบ โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบ ยังคงยืนยันว่าจะดำเนินการทุกอย่างอย่างรวดเร็ว และบอกว่ามาตรการรูปแบบใหม่นี้ จะใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณในการควบคุมของสถานีโทรทัศน์เอง

พลากร สมสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายรายการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด บอกว่า การจัดเรตติ้งนั้นทางสถานีเป็นผู้กำหนดเองก็จริง แต่เมื่อกำหนดแล้ว ออกอากาศไปแล้ว รัฐจะมีอีกหน่วยงานหนึ่งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นตัวแทนจากกระทรวงวัฒนธรรมและกระททรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขึ้นมากำกับดูแลอีกครั้ง ซึ่งหากข้อกำหนดยังคลุมเครือไม่มีบัดทัดฐานที่ชัดเจน เชื่อได้แน่ว่า การกำหนดเรตติ้งรายการ จะเป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน
 http://news.sanook.com/economic/economic_156684.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/07/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ปฎิรูปสื่อ...กลุ่มทุนไหนได้และเสียประโยชน์
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, July 16, 2007
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์ คณะกรรมการจัดทำกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า กฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดทำขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ที่จะตั้งขึ้นในอนาคต มีกรอบในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมตั้งแต่การออกใบอนุญาต การดูแลรายการ การลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดกับธุรกิจสื่อ

กฎหมายฉบับนี้จะแบ่งใบอนุญาตเป็น 2 ประเภทคือ

1. ใบอนุญาตของกิจการวิทยุโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ของกิจการวิทยุโทรทัศน์ เช่น สถานีโทรทัศน์ระบบ UHF และ VHF ซึ่งจะมีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.1 ธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไร
1.2. ธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร และ
1.3 ภาคชุมชน


2. กิจการวิทยุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ใช้คลื่นความถี่ หรือใช้คลื่นความถี่อื่น เช่น เคเบิลทีวี การดูทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต (IPTV) และการดูโทรทัศน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีมากและมีข้อจำกัดน้อย ผู้ประกอบการจึงสามารถขอใบอนุญาตจาก กสช. และประกอบกิจการได้ทันที ถ้ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ถ้าใบอนุญาตครบกำหนด ก็สามารถต่ออายุใบอนุญาตได้ทันที ถ้าผู้ประกอบการไม่เคยทำผิดตามที่กฎหมายระบุไว้

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ยังไม่มี กสช. ก็จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราวขึ้นมาดูแลและแก้ไขปัญหาเดิมที่ยังค้างอยู่ เช่น การออกใบอนุญาตระยะสั้นให้กับเคเบิลทีวีเถื่อนและวิทยุชุมชน และเมื่อใดที่มี กสช. ก็ให้มาขอใบอนุญาตฉบับจริงทันที

ดร.สมเกียรติยืนยันว่า กฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเดิม โดยหน่วยงานของรัฐอย่างกรมประชาสัมพันธ์และ อ.ส.ม.ท. สามารถประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะมี กสช. แล้วจึงค่อยขอใบอนุญาตใหม่ ส่วนภาคเอกชนก็สามารถประกอบธุรกิจจนสิ้นสุดอายุสัญญา แต่จะต้องเปลี่ยนจากสัมปทานเป็นใบอนุญาตทันทีหลังจากที่กฎหมายบังคับใช้ ทั้งนี้ในส่วนของค่าสัมปทานที่เอกชนจะต้องจ่ายให้กับรัฐนั้น จะเปลี่ยนเป็นจ่ายให้กองทุนพัฒนากิจการสาธารณะของ กสช. โดยเงินของกองทุนนี้จะนำไปช่วยเหลือทีวีและวิทยุสาธารณะ

นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวยังจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะเป็นการเปิดเสรีธุรกิจที่ไม่ได้ใช้คลื่นความถี่ของวิทยุและโทรทัศน์ และมีการรับประกันอายุของใบอนุญาต ซึ่งสามารถต่ออายุได้ถ้าไม่ได้มีการทำผิดกฎหมาย ขณะที่ประชาชนก็มีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น ส่วนผู้ผลิตรายการก็มีช่องทางการเผยแพร่มากขึ้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีมีสิทธิเก็บเงินค่าสมาชิก และ/หรือค่าโฆษณา แต่ถ้ามีรายได้เพิ่ม ก็จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี อดีตคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) เชื่อว่า เป็นไปได้ยากที่กฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะมีการประกาศใช้ เนื่องจากจะต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็น แต่ประชาชนไม่ค่อยให้ความสนใจ เพราะไม่ได้มีผลต่อการดำรงชีวิต ประกอบกับผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสื่อไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย ทำให้ไม่ได้ร่างกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง

รศ.อรุณีประภามองว่า ร่างกฎหมายฉบับใหม่ยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของเงินกองทุนนั้น ยังไม่มีการระบุว่า จะจัดสรรเงินให้กิจการที่ไม่แสวงหากำไรและภาคชุมชนเป็นเงินเท่าใด นอกจากนี้ยังเห็นว่า ควรจะให้เจ้าของเงินมีสิทธิร่วมบริหารกองทุนด้วย จากเดิมที่มีแต่ผู้แทนจากภาครัฐและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการสื่อ

นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้ยังมีรายละเอียดมากเกินไป เช่น ได้รับอนุมัติผังรายการก่อนออกอากาศ รวมถึงการขออนุญาตก่อนออกอากาศ ทั้งที่กฎหมายควรระบุกรอบแบบกว้าง ๆ เช่น รายการต้องไม่ขัดกับสิ่งที่กฎหมายกำหนด ส่วนรายละเอียดที่เหลือก็ให้แต่ละสถานีเป็นผู้บริหารจัดการเอง มิฉะนั้นสถานีโทรทัศน์จะไม่มีจุดขายและประชาชนก็จะไม่สนใจ

รศ.อรุณีประภาแนะผู้ประกอบการว่า ควรแข่งขันทางด้านเนื้อหามากกว่าจะมองว่า การเปิดเสรีทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะถ้าประชาชนมีความสนใจเนื้อหาที่นำเสนอ ก็จะมีโฆษณาสนับสนุน และผู้ประกอบการก็สามารถอยู่รอดได้

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/07/07

โพสต์ที่ 12

โพสต์

วอนรัฐลดภาษีกองถ่ายนอก

โพสต์ทูเดย์ เอกชนประสานงานกองถ่ายหนังต่างชาติ ร้องรัฐจัด อินเซนทีฟจูงใจต่างชาติใช้สถานที่ในไทย พร้อมลดภาษี 0% ยาว 5 ปี
นายสันติ์ เปสตันยี ประธาน บริษัท ซันต้า อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิล์ม โปรดักส์ ผู้ให้บริการประสานงานกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้พิจารณาลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติในไทยเหลือ 0%
นอกจากนี้ ต้องการให้รัฐบาลเร่งจัดแพ็กเกจ มอบสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจให้ชาวต่างชาติ เข้ามาใช้สถานที่ในประเทศไทยถ่ายภาพยนตร์
ทั้งนี้ การให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว เพื่อแข่งขันกับเพื่อนบ้าน รวมถึงสร้างกระแสความนิยมกลับมา เนื่องจาก ช่วง 1-2 ปีนี้ อุตสาหกรรมดังกล่าว อยู่ในภาวะถดถอยจนถึงขั้นวิกฤต จากปริมาณกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติเดินทางมาถ่ายทำในประเทศไทยน้อยลง เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
นายสันติ์ กล่าวว่า เป็นผลจากภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว รวมถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศ และประเทศไทยไม่มีสิทธิประโยชน์ ทำให้หลายกองถ่ายเปลี่ยนสถานที่การถ่ายทำไปหลายกอง
ขณะนี้คนทำหนังทั่วโลกชะลอการสร้างหนังลดลง เพราะปัจจัยลบเยอะมาก แต่ประเทศไทยกลับไม่ให้สิทธิอะไรเพิ่มเติม ซึ่งมองว่าบางครั้งเมื่อถึงคราวต้องช่วยกันสร้างแรงจูงใจ กฎเกณฑ์บางเรื่องน่าจะยืดหยุ่น หรือผ่อนปรนกันได้บ้าง นายสันติ์ กล่าว
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลไทยไม่ยอม ลดภาษีอาจส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่เฉพาะแต่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เท่านั้น โดยจะเดือดร้อนถึงระดับรากหญ้า การถ่ายทำภาพยนตร์ กองถ่ายจะจ้างแรงงานคนไทย เช่น นักแสดงตัวประกอบ หรือคนงานระดับเจ้าหน้าที่ เช่น พนักงานยกของ พนักงานทำความสะอาด ทำให้รายได้เกิดการกระจายตัวอย่างแท้จริง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=179862
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Educational Marketingขยายฐานคนอ่าน ตอน...นานมีบุ๊คส์  
 
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:49 น.
ธุรกิจหนังสือ เป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากอัตราการอ่านของคนไทยตอนนี้ ยังถือว่าน้อยมากและมีโอกาสการเติบโตได้อีกเยอะ หากเทียบกับจำนวนประชากรที่อยู่กว่า 60 ล้านคน ดังนั้น สิ่งที่เจ้าของธุรกิจหนังสือต้องทำ ก็คือ การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการอ่านให้มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายต่างงัดกลยุทธ์กระตุ้นการอ่านมาเรียกความสนใจแตกต่างกัน
นานมีบุ๊คส์ ในฐานะสำนักพิมพ์ที่อยู่ในแวดวงหนังสือเมืองไทยมาครบปีที่ 15 เป็นหนึ่งในสำนักพิมพ์ที่สามารถสร้างยอดขายเพิ่มได้อย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งปีแรกของปีนี้ สามารถขยับยอดขายเพิ่มขึ้นไปแล้วถึง 20% ขณะที่มูลค่าตลาดหนังสือโดยรวมอยู่ที่กว่า 10,000 ล้านบาท รวมหนังสือแบบเรียน และคู่มือการสอบทั้งหลายด้วย ซ฿งตลาดรวมนั้นมีอัตราการเติบโตประมาณ 10%

สุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด บอกว่า ธุรกิจหนังสือ ถือเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากถือเป็นแหล่งความรู้และความบันเทิงที่ราคาไม่สูง ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี คนก็ยิ่งอยากอ่านหนังสือ เพียงแต่ว่า ต้องมีหนังสือดีๆ ที่มีคุณภาพ และต้องมีการกระตุ้นการอ่านให้เกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันอัตราการอ่านมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นจริง แต่ส่วนใหญ่จะเพิ่มจากคนในเมือง เช่น กรุงเทพฯ หรือตามต่างจังหวัดหัวเมืองใหญ่ๆ

สาเหตุที่ต่างจังหวัดปริมาณการอ่านเพิ่มได้น้อย ส่วนหนึ่งอาจมีปัญหามาจากระบบห้องสมุด ที่มียังมีอัตราการซื้อที่ต่ำ เนื่องจากมีงบประมาณน้อย เลยทำให้ประชาชนในต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยมีเงิน ไม่สามารถเจียดเงินซื้อหนังสือได้เอง ไม่ได้อ่านหนังสือ ทำให้การเติบโตในต่างจังหวัดเป็นไปอย่างช้าๆ

ปัญหาเหล่านี้ จึงกลายมาเป็นหน้าที่ของเจ้าของธุรกิจ ที่จะหากลยุทธ์ในการกระตุ้นการอ่าน โดย นานมีบุ๊คส์ ให้ความสำคัญกับการตลาดแบบ Educational Marketing ส่ง

เสริมให้เกิดการอ่านให้มากขึ้น ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เช่น กิจกรรมอ่านสนุก ที่ตระเวนไปทั้ง 4 ภูมิภาค มีการจัดอบรมสัมมนา ทำกิจกรรมให้ความรู้ การทำ Educational Marketing ของ นานมีบุ๊คส์ เป็นการทำกิจกรรมที่เป็นระบบ มีทั้งทำ บุ๊คส์คลับ บุ๊คส์แฟร์ แนะนำหนังสือใหม่ๆ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมการอ่าน กระตุ้นการอ่านอย่างเต็มที่ โดยบริษัทจะติดต่อประสานงานไปยังท้องที่ เช่น ตามโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งสถาบัน หรือแหล่งข้อมูล อย่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการทำกิจกรรมแบบนี้ทุกๆ เดือนมากกว่า 10 จุดในแต่ละเดือน

ส่วนในแง่ของการสร้าง แบรนด์ Awareness หรือการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ เป็นสิ่งที่บริษัททำต่อเนื่องและให้ความสำคัญค่อนข้างมาก โดยบริษัทมีการพัฒนาเว็บไซด์ เพื่อเปิดช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การทำ Brand Awareness เช่นนี้ ถือเป็นการสร้างและขยายฐานผู้อ่านใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

สร้างแบรนด์แล้ว ส่งเสริมการอ่านแล้ว ซึ่งรวม ๆ งบที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่ นานมีบุ๊คส์ ครบรอบ 15 ปี ก็จะยิ่งมีอะไรที่เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะการผลิตหนังสือดีๆ ออกมาเยอะๆ จากเดิม นานมีบุ๊คส์ สร้างชื่อเสียงมาจากกลุ่มหนังสือฐานความรู้ ซึ่งเวลานี้มีหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน 5 หมวด คือ นิทานแสนสนุก วรรณกรรมเยาวชน การ์ตูนความรู้สำหรับเด็ก ความรู้สำหรับเยาวชนภาษา และหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ มาปีที่ 15 นานมีบุ๊คส์ เลยเพิ่มสำนักพิมพ์ในเครืออีก 7 สำนักพิมพ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุม ได้แก่ สำนักพิมพ์อินสไปร์ เป็นหนังสือสร้างแรงบันดาลใจ สำนักพิมพ์คิมเบอร์ลี่ เน้นผู้หญิงยุคใหม่ สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์ คิตตี้ เป็นหนังสือเสริมทักษะเด็กก่อนวัยเรียน

สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ยังรีดดิ้ง เป็นหนังสือพัฒนากรรอ่านเด็ก 9-12 ปี สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ไครม์ แอนด์ มีสทรี เป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ทีน เป็นวรรณกรรมเยาวชน และนานมีบุ๊คส์ อะโนเวล เน้นนวนิยายและวรรณกรรมระดับโลก

เท่านั้นยังไม่พอ การตลาดที่ดี นอกจากครบถ้วนแล้วยังต้องมีความถี่ด้วย นานมีบุ๊คส์ เลยรุกหนักเรื่องการเปิดตัวหนังสือใหม่ๆ แม้จะไม่ได้เปิดกันทุกเล่ม แต่ปีนี้ มีงานแนะนำถี่ขึ้น จากไตรมาสละเล่ม เป็นเดือนละ 1 เล่มเป็นอย่างน้อย และยังขยายตลาดสำหรับนักเขียนไทยในทุกแนวการเขียน จากเดิมที่เน้นเรื่องแปลจากต่างประเทศประมาณ 80% ตอนนี้จะลดลงมาเหลือซัก 70% แล้วไปเพิ่มเป็นหนังสือจากนักเขียนไทยเป็น 30%

ทั้งหมดที่ว่ามา คือ กลยุทธ์การตลาดของ นานมีบุ๊คส์ ที่ยังไม่หมดเท่านั้น ฉบับหน้า เราจะมาว่ากันต่อสำหรับกลยุทธ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยขยายตลาดการอ่านได้เป็นอย่างดี และเราจะพูดถึงการตลาดของร้านหนังสือ ทั้งแบรนด์ไทยแบรนด์อินเตอร์ ว่าเขาทำยังไง ถึงจะเพ่มการอ่านของคนไทย ให้ทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้วได้
http://news.sanook.com/economic/economic_159619.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ปฏิบัติการ "ดาวน์โหลด" ต่อลมหายใจค่ายเพลง

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:00:00
ความแพร่หลายของมือถือที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับขีดความสามารถที่รองรับการฟังเพลงเอ็มพี 3 ทำให้โมบาย มิวสิคดาวน์โหลด เป็นความหวังใหม่ของค่ายเพลงทั้งไทยและเทศ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : การเติบโตของการดาวน์โหลดเพลงผ่านมือถือ ส่วนหนึ่งอยู่ที่ความสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ โดยมือถือช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ฟังเพลง สามารถซื้อเพลงที่ต้องการในระหว่างการเดินทางที่เร่งรีบได้ เป็น impulses buy  

"นัดดา บุรณศิริ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงมุมมองจากค่ายเพลงต่างประเทศ  

เขาบอกต่อว่า ตลาดไทยรวมถึงเอเชีย เป็นกลุ่มที่มีประชากรผู้ใช้มือถือมาก ทำให้มือถือเป็นช่องทางที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจเพลงท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีได้

ปัจจุบันในตลาดเพลงของไทย การขายเพลงผ่านซีดีหรือช่องทางดั้งเดิมอื่นๆ มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับการขายเพลงผ่านดิจิทัล โดยค่ายเพลงต่างชาติจะมีส่วนแบ่งตลาด 15% ที่เหลือ 85% เป็นเพลงไทย

เขามองว่า ในอนาคตอันใกล้ ค่ายเพลงจะพัฒนาระบบการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ Digital Right Management: DRM ให้เข้าสู่เจเนอเรชั่นที่สอง ที่ซอฟต์แวร์ดีอาร์เอ็มจะสามารถเป็นเครื่องมือการตลาด ประชาสัมพันธ์ บอกต่อ หรือเป็น Viral Marketing ได้  
ดีอาร์เอ็มบนโทรศัพท์มือถือ จะไม่ใช่การล็อก หรือสร้างอุปสรรคการฟังเพลงให้ผู้ใช้ แต่จะจำกัดการใช้งานของผู้ใช้ตามเงื่อนไขที่กำหนด และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ส่งต่อเพลงโปรดไปยังเพื่อนๆ เพื่อทดลองฟัง ทำให้มือถือเป็นเครื่องมือการตลาด ซึ่งหากเพื่อนดาวน์โหลดเพลงนั้นไปฟังต่อ ระบบอาจให้ Incentive ตอบแทนคืนไปยังผู้ใช้มือถือที่ส่งต่อเพลงนั้น ในรูปแบบการเพิ่มอัตราส่งเอสเอ็มเอสฟรี หรือส่วนลดค่าซื้อเพลงอื่นๆ ขึ้นกับข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการมือถือกับบริษัทเพลง

เราคงปฏิเสธแนวโน้มของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่เราทำไม่ได้ต้านกระแสที่เกิดขึ้น และความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจเรียนรู้พฤติกรรมการเปลี่ยนผู้บริโภคทั้งมีซอฟต์แวร์เสิร์ชเอ็นจิน ที่ช่วยค้นหาเพลงที่ต้องการผ่านมือถือได้ นัดดาย้ำ  

ด้าน "วรพจน์ นิ่มวิจิตร" ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานอาร์เอสดิจิตอล บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองเสริมว่า ตลาดมิวสิค ดาวน์โหลด บนมือถือนั้น เป็นช่องทางที่เติบโตสูงสุดของการสร้างรายได้ให้กับเพลงดิจิทัล เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ  

ดูง่ายๆ ผู้ใช้มือถือในไทยมีถึง 40 ล้านคน มีคนฟังเพลงผ่านมือถือ 7-10 ล้านคน ขณะที่มีครัวเรือนใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 ล้านครัวเรือน จากทั้งหมด 17 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพียง 9 ล้านคน และมีเพียง 9 แสนรายที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง  
และหากปีหน้า ในตลาดรวมมีอัตราการดาวน์โหลดเพลงผ่านมือถือถึง 4-5 ล้านดาวน์โหลดต่อเดือน จากปัจจุบัน 2.5 ล้านโหลดต่อเดือน จะเห็นตลาดที่เติบโตในระดับมากพอ ที่จะกำหนดโครงสร้างราคาที่หลากหลายในการขายเพลงมากขึ้น เหมือนโครงสร้างค่าแอร์ไทม์มือถือที่แตกต่างตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน  

"สมชัย เลิศสุทธิวงศ์" รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส บอกว่า บริษัทเริ่มเห็นแนวโน้มการเติบโตของดิจิทัล คอนเทนท์ด้านเพลง มาตั้งแต่ปลายปี 48 และเริ่มสร้างตลาดมาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งการพัฒนาเครือข่ายให้รองรับการดาวน์โหลดเพลงให้เร็วขึ้น การจับมือกับผู้ผลิตมือถือ เพื่อสร้างพฤติกรรมการฟังเพลงผ่านมือถือ ตลอดจนการพัฒนาเมนูให้ใช้งานได้ง่าย เป็น "Icon Base" ที่ถือว่าไทยล้ำหน้าไม่แพ้ใครในโลก  

ล่าสุด เอไอเอสจับมือค่ายเพลงกว่า 30 ราย และพันธมิตรด้านคอนเทนท์กว่า 200 ราย เพื่อรับเป็นหน้าร้านขายเพลงผ่านมือถือ เปิดให้ลูกค้าดาวน์โหลดผ่าน "โมบายไลฟ์ มิวสิค" โดยกด *900 เพียงเลขหมายเดียว จากเดิมที่แต่ละค่ายเพลงจะใช้เลขหมายดาวน์โหลดแตกต่างกัน

ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถเข้ามาดาวน์โหลดเพลงได้ทุกประเภทผ่านเลขหมายนี้ ทั้งเพลงไทย สากล และลูกทุ่ง เป็นคลังเพลงมีมากกว่า 1 แสนเพลง และจะมีการอัพเดทต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถเลือกรูปแบบของคอนเทนท์เพลงที่ต้องการ เช่น ฟูลซอง คอลลิ่งเมโลดี้ ริงโทน เอ็มวี คาราโอเกะ ค้นหาเพลง หรือเกม รวมไปถึงเพลงใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยขายที่ใดมาก่อน

อีกทั้งยังได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถฟังเพลงที่ชื่นชอบได้ก่อนการตัดสินใจดาวน์โหลดอีกด้วย (Pre-Listening) โดยค่าบริการนั้นมีตั้งแต่ฟรี-25 บาทต่อเพลง ขึ้นอยู่กับประเภทของคอนเทนท์

   การเปิดบริการ "โมบายไลฟ์ มิวสิค" ของเอไอเอส ถือเป็นการต่อยอดกลยุทธ์ด้านมิวสิค มาร์เก็ตติ้ง เพื่อตอบสนองพฤติกรรมกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายหลักของวันทูคอล ที่มีไลฟ์สไตล์ชื่นชอบความบันเทิงด้านเสียงเพลง

ปีนี้ เราทุ่มงบกว่า 30 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับตลาดถึงการใช้งานโมบายไลฟ์ มิวสิค โดยจะช่วยสร้างตลาดที่เติบโตในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้มิวสิคดาวน์โหลดของวันทูคอล 5.5 ล้านคน จากฐานลูกค้า 19 ล้านราย และเมื่อรวมคู่แข่งในไทยจะมีมิวสิคโมบายดาวน์โหลด รวม 7 ล้านคน สมชัยเล่า

พร้อมบอกถึงเป้าหมายรายได้จากธุรกิจโมบาย มิวสิค ในปีนี้ว่า น่าจะทำรายได้ราว 732 ล้านบาทจากตลาดเพลง ดิจิทัลผ่านทางมือถือรวม 1,500 ล้านบาท
โดยคาดว่าตลาดเพลงดิจิทัลผ่านมือถือในไทย จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 20-30% ตามจำนวนเครื่องลูกข่ายที่รองรับเอ็มพี 3 เครือข่ายเอดจ์/จีพีอาร์เอส ที่ปัจจุบันมีมือถือที่รองรับการใช้เพลงมิวสิค ดิจิทัล รวมกว่า 124 รุ่น สอดคล้องกับตัวเลขในตลาดโลก จากข้อมูลของบริษัทวิจัยอินสแตท ที่ระบุว่า "ตลาดเพลงดิจิทัลจะแซงหน้าตลาดซีดีเพลงใน 3 ปี"

สุจิตร ลีสงวนสุข
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=85418
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news23/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

แกรมมี่-อาร์เอสยุควิกฤติเพลง ขาลง-เศรษฐกิจซบ - 23/7/2550

ตามรอยเส้นทางธุรกิจ 2 ค่ายบันเทิงยักษ์ใหญ่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่-อาร์เอส โปรโมชั่น หลังเข้าสู่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มานาน 14 ปีของแกรมมี่ ผู้นำธุรกิจ เดินทางมาสู่ธุรกิจยุค ขาลง ขณะที่ค่ายเบอร์ 2 อาร์เอส 4 ปีกับความพยายามเร่งเกียร์ เพื่อสร้างรายได้ และความแข็งแกร่งธุรกิจในอนาคต แนวโน้มธุรกิจ 2 ค่าย ถึงจุดเปลี่ยน แกรมมี่จำเป็นต้องปรับตัว ลดพึ่งพารายได้จากเพลง ขณะที่อาร์เอส ปีหน้าถึงคราวเก็บเกี่ยวรายได้และดอกผลที่หว่านจากปีที่ผ่านมา

ต้นปีที่ผ่านมา แกรมมี่ ที่อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เผชิญวิกฤติครั้งใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อ เครือแกรมมี่ หรือจีเอ็มเอ็ม มีเดีย GMMM จำต้องคืนคลื่นวิทยุ เอฟเอ็ม 88 ซึ่งเป็นคลื่นหลักที่เคยทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ ตามด้วย เอฟเอ็ม 93.5 รวมถึง การปิดตัวลงของสำนักข่าวไทยไทม์ โอเพ่นเรดิโอ ทางคลื่นเอฟเอ็ม 94.0 หลังจากที่เพิ่งเปิดดำเนินการมาได้เพียง 5 เดือน

หุ้นแกรมมี่วูบต่ำสุดในรอบ 8 ปี

ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิไตรมาส 1/2549 ของแกรมมี่ (GRAMMY) ออกมาเพียง 5 แสนนบาท และยิ่งตอกย้ำภาพเด่นชัดไปอีก เมื่อราคาหุ้น GRAMMY ลดระดับลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี ที่หุ้นละ 7.50 บาท ณ วันที่ 22 พ.ค. ส่งสัญญาณชัดเจนที่สุด สู่ยุค ขาลง ของธุรกิจสื่อในเครือ ที่เคยต้องพึ่งพารายได้หลักจากลุ่มนี้มานาน

อย่างไรก็ตาม รายได้รวมไตรมาสแรกปีนี้ของแกรมมี่ 1,662 ล้านบาท กำไรสุทธิเพียง 41 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2549 ที่มีกำไรเพียง 5 แสนนบาท

ทางด้านค่ายยักษ์ใหญ่เบอร์ 2 อาร์เอส ของ เฮียฮ้อ สุรชัย เชฐโชติศักดิ์ กลับตรงกันข้าม นับตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปัจจุบัน บริษัทประกาศรุกหนัก หันมาโฟกัสธุรกิจที่ไม่ใช่เพลงอีกต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจบันเทิงและกีฬา โดยทยอยจัดตั้งบริษัทใหม่เพิ่มอีก 3 บริษัท (ดูตารางเปรียบเทียบธุรกิจแกรมมี่ฯ และอาร์เอสฯประกอบ) สะท้อนให้เห็นความพยายามที่จะสร้างรายได้ใหม่เพิ่ม ในธุรกิจที่มีอนาคต และโอกาสเติบโตทางรายได้ ผลกำไรสูงกว่าธุรกิจเพลง

อาร์เอส ปิดจุดอ่อนรุกโตธุรกิจนอนมิวสิค

นักวิเคราะห์จาก บล. นครหลวงไทย (SCIBS) ให้ทัศนะว่าการขยายธุรกิจใหม่ เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากธุรกิจเพลง เป็นกลยุทธ์ลดความเสี่ยงที่อาร์เอสใช้ เพื่อปิดจุดอ่อนของธุรกิจเพลงในปัจจุบัน

ไม่ว่าจะเป็นการขยายธุรกิจไปโฟกัสกลุ่มคอนเท้นต์กีฬา และสร้างรายได้ด้วยการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโร 2008 ได้สูงกว่าผู้ได้สิทธิ์เดิม เพราะจะได้ลิขสิทธิ์เด็ดขาดในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008

นั่นหมายความว่า อาร์เอสจะมีรายได้ทั้งจากการขายโฆษณาในช่วงถ่ายทอดสด และรายได้จากโฆษณาจากการผลิตรายการโทรทัศน์ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เบื้องต้น บริษัทคาดว่าจะสร้างรายได้ราว 300 ล้านบาทสำหรับฟุตบอลยูโร 2008 ส่งผลให้ปีหน้า รายได้ส่วนนี้ จึงเป็นโอกาสของการเก็บเกี่ยวอย่างเห็นได้ชัด

เขากล่าวว่าปี 2551 ลิขสิทธิ์เด็ดขาด และการมีช่องทางครบวงจร จะทำให้อาร์เอสได้ประโยชน์สูงสุดจากกิจกรรมนี้ อีกทั้งธุรกิจปรับโครงสร้างสู่ดิจิตอลเต็มรูปแบบ เพราะได้ทยอยลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ประกอบกับแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้ปีหน้า อาร์เอสจะมี ความโดดเด่น ในด้านการทำกำไรอย่างชัดเจน

ขณะที่ผลประกอบการไตรมาสแรก อาร์เอสมีรายได้รวม 580 ล้านบาท กำไรสุทธิมีเพียง 9 ล้าน โดยรายได้ลดลงราว 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 20% โดยธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตดีไตรมาสแรกปีนี้ มีเพียงธุรกิจภาพยนตร์และสิ่งพิมพ์ แต่เนื่องจากทั้ง 2 ธุรกิจ เป็นเพียงส่วนประกอบ สัดส่วนเพียง 12-15% ของรายได้รวม ดังนั้น เมื่อผลรวมออกมา รายได้รวมยังลดลง

แกรมมี่ อนาคตยังเติบโต แนะลดพึ่งพารายได้หลักเพลง

ทางด้านนักวิเคราะห์ บล. กิมเอ็ง วิเคราะห์ว่า แกรมมี่มีแนวโน้มสร้างผลประกอบการดีขึ้น จากการออกอัลบั้มเพลงอย่างต่อเนื่อง และมีรายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจดิจิตอล คอนเสิร์ต และการบริหารศิลปิน รวมทั้งจะมีภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายครึ่งปีหลังอีก 6 เรื่อง ขณะที่ธุรกิจสื่อ คาดว่าจะเติบโตจากรายได้ทางโทรทัศน์และต้นทุนที่ลดลงของธุรกิจวิทยุ

ล่าสุด แกรมมี่ยังมีแผนขยายธุรกิจเพลงไปยังภูมิภาคเอเชีย ด้วยการร่วมมือกับบริษัทในเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อออกอัลบั้มเพลงศิลปินไทย ร่วมกับศิลปินต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ระยะสั้น คาดว่ายังไม่สร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่นับว่าเป็นการสร้างโอกาสขยายฐานรายได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ บล. เกียรตินาคิน ให้ความเห็นว่าการทำธุรกิจของแกรมมี่ ยังคงโฟกัสเพลงค่อนข้างมาก ทำให้รายได้รวมของบริษัท และการเติบโตที่ผ่านมาและในอนาคต ผูกกับความเสี่ยงค่อนข้างสูง

ยิ่งปัจจุบัน ภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง และรายได้ต่ำลง ซึ่งถือเป็นจุดแตกต่างจากอาร์เอสอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น หากแกรมมี่ต้องการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคตของกลุ่ม จำเป็นต้องปรับตัวลดสัดส่วนการพึ่งพารายได้หลักจากธุรกิจเพลงมากขึ้น หันมาทำธุรกิจไม่ใช่เพลง และเพิ่มสัดส่วนรายได้ให้มากขึ้นกว่าเดิม

ความเหมือนที่แตกต่าง

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์เส้นทางธุรกิจของ 2 ค่ายยักษ์นี้ พบว่ามีทั้งจุดเหมือนและจุดแตกต่าง ที่เห็นได้ชัด คือระยะเวลาการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นเส้นทางลัดธุรกิจเพื่อเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับแกรมมี่ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์นานถึง 13 ปี

ขณะที่อาร์เอส เข้าสู่ฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ได้เพียง 4 ปีเท่านั้น แม้ระยะเวลาแตกต่างกัน แต่ความเก๋าในธุรกิจ กลับเหมือนกัน โดยเฉพาะการบ่มเพาะในแวดวงเพลงนั้น นานกว่า 20 ปี ขณะที่แกรมมี่ ตั้งมาได้ 26 ปี ก่อตั้งปี 2524 อาร์เอส มีอายุกว่า 31 ปี ก่อตั้งปี 2519

การเดินหน้าต่อยอดธุรกิจเพลง (มิวสิค) เดิมเป็นรายได้หลัก เกือบ 90% มาสู่ธุรกิจไม่ใช่เพลง (นอน มิวสิค) อาทิ ธุรกิจสื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง อย่าง โชว์บิซ จัดคอนเสิร์ต อีเว้นต์ และบริหารศิลปิน สะท้อนภาพชัดเจน เมื่อสัดส่วนรายได้หลักธุรกิจเพลงทั้ง 2 ค่าย ลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบหลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่กลุ่มธุรกิจนอนมิวสิค กลับเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดปี 2549 แกรมมี่มีรายได้รวม 6,427 ล้านบาท สัดส่วนรายได้จากธุรกิจเพลง 42% รองลงมา เป็นธุรกิจสื่อ โดยสื่อโทรทัศน์คิดเป็น 14% สื่อวิทยุ 10% สื่อสิ่งพิมพ์ 4.2% ที่เหลืออีก 10% เป็นรายได้จากการรับจัดและบริหารกิจกรรมการตลาด ด้านค่ายอาร์เอส ปี 2549 มีรายได้รวม 3,140 ล้านบาท สัดส่วนรายได้จากธุรกิจเพลง 31% ธุรกิจสื่อ 35% ธุรกิจโชว์บิซ 18% ธุรกิจดิจิตอล 8% และธุรกิจภาพยนตร์ 8%

ปัจจุบัน แกรมมี่ และอาร์เอส มีบริษัทในเครือรวมทั้งสิ้น ค่ายละ 24 แห่ง โดยจัดกลุ่มธุรกิจหลักๆ ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะธุรกิจ เพลง ธุรกิจดิจิตอล ธุรกิจสื่อ (โทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์) ธุรกิจภาพยนตร์

http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178133
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news24/07/07

โพสต์ที่ 16

โพสต์

นิตยสารวูบ ปิดตัวเพียบ เปิดใหม่ลด
โพสต์ทูเดย์ สมาคมนิตยสารเผย หัวไทยปิดตัว 10 ราย เหตุงบโฆษณาลด 8% หัวใหม่เปิดตัวลดลง 40%


นายวิลักษณ์ โหลทอง ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินสไพร์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ในฐานะเลขาธิการสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา มีนิตยสารไทยปิดตัวไปแล้วกว่า 10 หัว เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อนิตยสารลดลง 8% จากปัญหาเศรษฐกิจการเมืองของประเทศ ขณะที่นิตยสารยังคงพึ่งพารายได้จากโฆษณาเป็นหลักในสัดส่วน 30-50%

นอกจากนี้ ยังคาดว่าการเปิดตัวนิตยสารฉบับใหม่ทั้งหัวในประเทศและต่างประเทศจะลดลง 40% ในปีนี้ จากที่เคยมีการเปิดนิตยสารฉบับใหม่ปีละ 80 หัว เหลือเพียง 50 หัว

อย่างไรก็ตาม ตลาดนิตยสารในประเทศไทยยังมีแนวโน้มการขยายตัวได้อีก เนื่องจากปัจจุบันมีหัวนิตยสารอยู่เพียง 1 พันหัว ยอดขายต่อเดือนอยู่ที่ 1 หมื่น-1 แสนเล่ม ซึ่งยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ที่มีหัวหนังสือรวมกว่า 3-4 พันหัว มียอดขายแต่ละเดือนนับล้านเล่ม

สำหรับอินสไพร์ในช่วงครึ่งปีแรกพบว่า รายได้จากโฆษณาไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโฆษณากลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รับผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐเรื่องการห้ามโฆษณา ทำให้ทั้งปีมองว่ารายได้จะไม่เติบโต จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะเติบโต 10%

ด้าน น.ส.ระริน อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการสายธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัท อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง กล่าวว่า ธุรกิจนิตยสารของบริษัทในครึ่งปีแรกไม่มีการเติบโตในแง่ยอดขาย ขณะที่รายได้จากโฆษณา ลดลงในบางกลุ่ม ส่วนช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยกลุ่มอมรินทร์ตั้งเป้าเติบโต 10% ปีนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=180592
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news26/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

โฆษณาในโรงหนัง  

โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:21 น.
คอลัมน์ มุมมองโฆษณา

ในภาวะที่ธุรกิจซื้อสื่อโฆษณาเริ่มฝืดเคือง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่า ค่าใช้จ่ายแรกที่องค์กรจะหั่นก่อน คือ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์

แต่ไม่น่าเชื่อว่า ช่องทางโฆษณาที่ยังขายดิบขายดี มีอัตราเติบโตเกิน 100% ต่อเนื่องมาหลายเดือนแล้ว นั่นคือ สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์

นั่นเพราะนักโฆษณาเริ่มเห็นความได้เปรียบ ตรงที่กลุ่มลูกค้าต้องตั้งอกตั้งใจดูสิ่งที่นำเสนอตรงหน้า (หรืออีกนัยคือ ถูกบังคับให้นั่งอยู่กับที่เพื่อรอเวลาดูหนัง) จึงทำให้สินค้าเริ่มวิ่งเข้าหาโรงหนัง แย่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโฆษณา
นั่นน่าจะเป็นเหตุสำคัญ ทำให้บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ด้วยการนำเสนอหนังโฆษณาแบบซาวด์ เช็ค (Sound Check) หรือเป็นโฆษณาที่เสนอจุดเด่นในเรื่องของการใช้เสียง เพื่อทดสอบคุณภาพของเสียงในโรงหนัง ซึ่งยังคงนำเสนอในคอนเซ็ปท์เดิม ชุด Sound of Life
http://news.sanook.com/economic/economic_161590.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อุตฯหนังไทยรายได้ซบเซา
โพสต์ทูเดย์ อุตสาหกรรมหนังไทยครึ่งหลังสาหัส มีแต่หนังเล็ก-ตลก หวังขายแค่ในประเทศ


นายสุรศักดิ์ สรรพิทักษ์เสรี เลขา ธิการ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์ แห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของ ปีนี้ คาดว่ารายได้จากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะลดลง เพราะไม่มีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เข้าฉาย
ปัจจัยสำคัญมาจากผู้ผลิตและสร้างภาพยนตร์ไทยรายใหญ่ อาทิ บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล ของนายสมศักดิ์ เตชะ รัตนประเสริฐ มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทำให้แผนการผลิตภาพยนตร์ของบริษัทชะลอตัว จากที่มีแผนผลิตภาพยนตร์ 12 เรื่องต่อปี ตอนนี้ออกฉายไปเพียง 3 เรื่อง

บริษัท ไฟว์สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างภายใน ส่วนค่ายอื่น เช่น อาร์เอส หรือ จีทีเอช เน้นสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ใช้เงินลงทุน สูง และส่วนใหญ่เป็นแนวตลก, ผี, กะเทย เน้นขายตลาดในประเทศ เป็นหลัก และคาดว่าจะทำรายได้ไม่ สูงนัก
จริงๆ แล้วปีนี้ หากไม่มีภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรทั้ง 2 ภาค คาดว่ารายได้จากภาพยนตร์ไทยจะลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่นเรศวร 2 ภาค ทำรายได้ไปกว่า 500 ล้านบาท เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดโตผิดปกติ นายสุรศักดิ์ กล่าว
ในด้านตลาดส่งออกภาพยนตร์ไทยได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ครึ่ง ปีแรกที่ผ่านมา มีหนังไทยไปขาย ต่างประเทศได้แค่ 3 เรื่อง คือ องค์บาก 2, ปืนใหญ่โจรสลัด และยามาดะ ของบริษัท สหมงคลฟิล์มฯ ทั้ง 3 เรื่องคาดว่าจะใช้งบไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท และคาดว่าจะสร้างไม่ทันในปีนี้ เนื่องจากปัญหาอาการป่วยของนายสมศักดิ์ดังกล่าวข้างต้น
ค่ายอื่นๆ ยังไม่เห็นการลงทุน สร้างหนังฟอร์มใหญ่ คาดว่าจะเป็นผลกระทบมาจากปัญหาการเมือง ทำให้ ไม่กล้าลงทุน

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยเคยทำรายได้จากการขายภาพยนตร์ในต่างประเทศถึง 2 พันล้านบาท ในปี 2548 เป็นปีที่สหมงคลฟิล์มสร้างภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
ปีนี้คาดว่าภาพยนตร์ไทยจะมีรายได้รวมประมาณ 1 พันล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่มีรายได้รวม 1.043 ล้านบาท จากภาพยนตร์ที่เข้าฉายรวม 47 เรื่อง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=181836
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

งบโฆษณาเหล้า-เบียร์หด +ครึ่งปีแรกติดลบทุกสื่อ54.56%กลุ่มดิอาจิโอ หวังครึ่งหลังโตสวนเข้าพรรษา  
เหล้า-เบียร์อัดแคมเปญกระตุ้นกำลังซื้อช่วงโลว์ซีซั่น จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ เดินเครื่องโฆษณาต่อยอดแคมเปญ Keep Walking สร้างการจดจำแบรนด์ ขณะที่เบียร์ ไทเกอร์ทุ่ม 50 ล้านอัดกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็จติ้ง ด้านสิงห์ชะลอการทำตลาด รอดูความชัดเจนพ.ร.บ.เหล้า ส่วนเหล้าขาว พญาลอคาดยอดขายยังไม่แผ่วลง แม้อยู่ในช่วงเข้าพรรษา ชี้แชมป์ใช้งบโฆษณาสูงสุดของเหล้า แบรนด์วิลเลียม ลอสันส์ ใช้งบ 38.74 ล้านบาท ส่วนสิงห์ครองแชมป์ใช้งบโฆษณากลุ่มเบียร์สูงสุดในรอบ 6 เดือน ด้วยงบ 102.71 ล้าน

หลังคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ... เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา และไฟเขียวให้มีโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ได้"ภายใต้"เงื่อนไขต้องติดคำเตือนไม่น้อยกว่า1ใน4 ขณะที่สื่อวิทยุและโทรทัศน์รอพิจารณาต่อในอาทิตย์หน้านั้น การเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงไตรมาส 3 แต่ละค่ายเริ่มอัดกิจกรรมโฆษณากระตุ้นกำลังซื้อจากตลาดกันแล้ว แม้จะอยู่ในช่วงเทศกาลงดเหล้าเข้าพรรษาก็ตาม โดยค่ายเบียร์ที่ครองแชมป์ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดยังเป็นของค่ายสิงห์

สำหรับข้อมูลของเอซี นีลเส็น รีเสริช (ประเทศไทย) รายงานถึงงบโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ว่า มีมูลค่าประมาณ 593 ล้านบาท เติบโตลดลงถึง 54.56% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่างบโฆษณาประมาณ 1,305 ล้านบาท โดยการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ มีอัตราการเติบโตที่ลดลงในทุกสื่อโฆษณา ซึ่งสื่อภายในห้างในปีนี้ไม่มีการใช้งบโฆษณาเลย แต่ในปีที่ผ่านมามีการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อในห้างคิดเป็นมูลค่ารวม 11 ล้านบาท ส่วนสื่อโฆษณาที่ใช้งบโฆษณามากที่สุดยังคงเป็นสื่อโทรทัศน์ ด้วยมูลค่า 365 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้งบโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ สูงสุดในช่วง 6 เดือน จำนวน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.วิลเลี่ยม ลอสันส์ สก็อตวิสกี้ ด้วยงบ 38.74 ล้านบาท 2.จอนห์นนี่ วอล์กเกอร์ แบล็ค เลเบิล ด้วยงบ 38.59 ล้านบาท 3. แสงโสม วิสกี้ ด้วยงบ 24.47 ล้านบาท ด้านเครื่องดื่มเบียร์ แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ 1. เบียร์สิงห์ ด้วยงบ 102.71 ล้านบาท 2. เบียร์ช้าง ด้วยงบ 70.42 ล้านบาท และ 3. เบียร์ไฮนาเก้น ด้วยงบ 25.02 ล้านบาท

นางศนิตา คาจิจิ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสุราต่างประเทศตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ,เบนมอร์ ,สเปย์ รอยัล เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในไตรมาส 3 ของปีนี้บริษัทเริ่มรุกตลาดด้วยการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาให้กับ 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ แบล็คเลเบิ้ล ในชื่อชุด Android ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากแคมเปญ Keep Walking ภายใต้แนวคิดแรงบันดาลใจ โดยภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ออกมาเพื่อตอกย้ำจุดยืนของจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ แบล็คเลเบิ้ล และเป็นการตอกย้ำแบรนด์ที่มีโพสิชั่นนิ่งที่ชัดเจน ส่วนอีกชุดเป็นภาพยนตร์โฆษณา สเมอร์นอฟ วอดก้า ภายใต้ชื่อ Signature โดยภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ออกเผยแพร่เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งสร้างการจดจำในแบรนด์คาร์แรคเตอร์ ที่มีความสนุกสนาน

"ช่วงโลว์ ซีซั่นการแข่งขันของธุรกิจค่อนข้างรุนแรงและคาดว่าจะแรงยิ่งขึ้นในช่วงไตรมาส4 บริษัทจึงปรับกลยุทธ์การทำตลาด ด้วยการหันมาสร้างแบรนด์และการจดจำในไตรมาส 3 โดยเริ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาด้วยการล้อนซ์วิสกี้ใหม่ "เบนมอร์" ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีมาก ทำให้ในไตรมาส 3 ของปีนี้บริษัทจึงรุกหนักอีกครั้งด้วยภาพยนตร์โฆษณาใหม่ข้างต้น ที่คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีเช่นกัน"นางศนิตากล่าว
ด้านนายฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการสายการตลาด บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ กล่าวว่า ช่วงไตรมาส3บริษัทชะลอการจัดกิจกรรมลง เนื่องจากต้องการรอผลการสรุปของพ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าจะออกมาในรูปแบบใด ทำให้ไตรมาส 3 ปีนี้จะยังไม่มีบิ๊ก แคมเปญออกมาเพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยแคมเปญที่ออกมานั้นจะเป็นแคมเปญระยะสั้น แบบเดือนต่อเดือน และเน้นจัดในออนพรีมิส เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา แม้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ก็เป็นที่น่าพอใจ เพราะดีกว่าในปี 2549 ทั้งนี้ปัจจัยส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้คนชะลอกำลังซื้อลงไม่ใช่เกิดจากปัญหาด้านการตลาด

นางสาวยชญ์วัลย์ ติรกนกสถิต ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เบียร์ไทยเกอร์ บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่าถึงแผนการตลาดในช่วงโลว์ซีซั่นว่า บริษัททุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท อัดกลยุทธ์ Art & Music Marketting จัดแคมเปญภายใต้ชื่อ Tiger Translate Thailand ซึ่งเป็นแคมเปญระดับโลก และทำครั้งแรกในไทย เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่พวก "ติสท์" หรือ "อินดี้"

โดยปี 2550 บริษัทคาดหมายว่า จะมีการยอดขายเติบโต 8-12% สามารถรักษามาร์เก็ตแชร์ในตลาดเบียร์สแตนดาร์ทมูลค่า 10,490 ล้านบาทไว้ได้ โดยช่วงครึ่งปีแรก บริษัทฯมียอดการเฉลี่ย 8-10% โดยปัจจัยเรื่อง กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง คงไม่กระทบต่อยอดขาย เพราะปัจจุบัน กลุ่มคนที่ทานเบียร์ไทเกอร์กว่า 50% เป็นชาวต่างชาติ การที่กำลังซื้อคนไทยลดลงจึงไม่มีผลกระทบ และการที่เบียร์อาชาทำตลาด 5 ขวด 100 บาท ก็ไม่กระทบเช่นกันเพราะคนละตลาดกัน

ขณะที่นายอรรควิช คุโรปการนันท์ ผู้จัดการโรงงาน ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟ้าบันดาล ผู้ผลิตและจำหน่ายสุราขาว ภายใต้ชื่อ พญาลอ กล่าวว่า ไตรมาส 3 ของปีนี้คาดว่ายอดขายเหล้าขาวจะไม่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แม้จะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา หรือโลว์ ซีซั่น เพราะปัจจุบันเรื่องของฤดูกาลไม่มีผลกระทบกับเหล้าขาวเหมือนในอดีต แม้จะมีการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา หรือหมู่บ้านปลอดเหล้า แต่ก็ยังมีลูกค้าซื้อดื่มตามปกติ

"แม้ช่วงนี้จะมีกระแสการดั้มราคาของอาชา เหลือ 5 ขวด 100 บาท แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกค้าประจำของพญาลอแต่อย่างใด เพราะลูกค้าที่ดื่มเหล้าขาวกับเบียร์เป็นคนละกลุ่มกัน และจากกระแสเศรษฐกิจที่ไม่ดี ขณะนี้จะยังไม่รุกหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด แต่จะพยายามรักษายอดขายให้คงที่มากกว่า ปัจจุบันพญาลอมีวางจำหน่ายผ่านทางร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นเกือบทุกสาขาในต่างจังหวัด และเทสโก้ โลตัส ทั่วประเทศ ในขนาด 625 ซีซี ราคา 53 บาท" นายอรรควิชกล่าว  
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news01/08/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

AYS แนะเก็บหุ้น BEC+WORK+GRAMMY โดดเด่นสุดในกลุ่มสื่อและบันเทิง

Posted on Wednesday, August 01, 2007
ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา (AYS) ได้ออกงานวิจัยล่าสุด ระบุความน่าสนใจของหุ้นกลุ่มสื่อและบันเทิง จากการประเมินผลประกอบการไตรมาส 2 ของ 7 บริษัทที่ AYS มีการทำวิจัย ได้แก่ BEC MCOT GRAMMY GMMM RS WORK และ MAJOR สรุปได้ว่า ทั้ง 7 บริษัทน่าจะทำกำไรปกติได้รวมกัน 1,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาส 2 ปีที่แล้ว และ 23% จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่า เป็นไปตามภาวะปกติของอุตสาหกรรมโฆษณาที่มักจะเป็น High Season ในไตรมาสนี้ ส่งผลให้รายได้ในกลุ่มส่วนใหญ่จะมีการเติบโต
ทั้งนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมการใช้จ่ายโฆษณาในไตรมาส 2 มีมูลค่ารวม 22,045 ล้านบาท แม้ว่าจะลดลง 3.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ก็เพิ่มขึ้น 3.1% จากไตรมาสแรก โดยสื่อเกือบทุกประเภทมีการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณา ยกเว้นเพียงสื่อโทรทัศน์ที่มีเม็ดเงินโฆษณาลดลง 1%

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน MAJOR, BEC และ GRAMMY เป็น 3 บริษัทที่มีการเติบโตของกำไรดีขึ้นจากไตรมาส 2 ปีก่อน (YoY) 39% 33% และ 20% ตามลำดับ ส่วนที่เหลือมีกำไรลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากรวมรายการพิเศษ คือกำไรจากการจำหน่ายกองทุน MJLF ของ MAJOR จะทำให้มีกำไรสุทธิ 2,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% จากไตรมาส 2 ปีก่อน และ 92% จากไตรมาสแรก (QoQ)

โดยในกรณีของ BEC คาดว่า จะมีกำไรสุทธิ 618 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% YoY และ 14% QoQ จากรายได้ 1,882 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% YoY และ 6% QoQ เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาผ่าน BEC ในงวดนี้เพิ่มขึ้น 6% YoY และ 5% QoQ โดดเด่นกว่าภาวะอุตสาหกรรม (ซึ่งมีเม็ดเงินโฆษณาลดลง) เนื่องจากประเมินว่า ได้
ประโยชน์จากการไหลออกของเม็ดเงินโฆษณาจากช่อง ITV รวมทั้งการขยายเวลาออกอากาศรายการละครหลังข่าว ทางด้านต้นทุนคาดว่าจะยังควบคุมได้อย่างต่อเนื่องจากไตรมาสแรก (มีการนำละครเก่ามาออกอากาศใหม่ในช่วงกลางวัน) ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 62% เทียบกับ 59% ในไตรมาสก่อน และ 55% ในงวดเดียวกันของปีก่อน ทำให้กำไรเติบโตในอัตราที่สูง ซึ่งหากเป็นไปตามคาด มีแนวโน้มว่า AYS จะต้องปรับประมาณการกำไรปีนี้และปีหน้า เพิ่มขึ้น

ด้านผลประกอบการของ MCOT จะมีทิศทางตรงข้ามกับ BEC เมื่อเทียบ YoY แต่กำไรเริ่มดีขึ้นเมื่อเทียบ QoQ โดยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 250 ล้านบาท ลดลง 37% YoY แต่เพิ่มขึ้น 8% QoQ หากเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เม็ดเงินโฆษณาผ่าน MCOT ยังคงลดลงในอัตรา 19% YoY เนื่องจากการปรับผังรายการใหม่ยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับช่วงเดียวกัน ประกอบกับภาครัฐ ยังคงชะลอการใช้จ่ายโฆษณา อย่างไรก็ตามเม็ดเงินโฆษณาผ่าน MCOT เริ่มฟื้นตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก 8% QoQ จึงคาดว่าจะส่งผลดีต่อรายได้จากโทรทัศน์ รวมทั้งรายได้จากวิทยุก็คาดว่า จะฟื้นตัวตามภาวะอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน คาดว่าในงวดนี้ MCOT จะมีรายได้รวม 910 ล้านบาท ลดลง 18% YoY แต่เพิ่มขึ้น 12% QoQ โดยอัตรากำไรขั้นต้นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก แต่ยังคงต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน

ส่วน GRAMMY คาดว่าจะมีผลประกอบการที่เติบโตโดดเด่นในงวดนี้ โดยมีกำไรสุทธิ 117 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% YoY และ 184% QoQ จากรายได้ 1,608 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% YoY และ 6% QoQ เป็นผลจากการฟื้นตัวของรายได้ธุรกิจเพลงโดยรวมซึ่งหันไปเน้นการจัดคอนเสิร์ต รายได้จากธุรกิจภาพยนตร์ และรายได้จากสื่อวิทยุ อัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 41% เทียบกับ 36% ในไตรมาสก่อนและ 39% ในงวดเดียวกันของปีก่อน จากการลดลงของต้นทุนวิทยุ และการเพลงเก่านำมาทำใหม่ ซึ่งในงวดนี้คาดว่าจะสร้างยอดขายได้มาก (อัตรากำไรสูงกว่าเพลงใหม่)

ทั้งนี้ AYS ได้ปรับประมาณการกำไรปีนี้ และปีหน้า ของ GRAMMY เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการฟื้นตัวของกำไร และเวลาออกอากาศทาง MCOT ที่จะเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง อีก 8% ตลอดจนปรับ Fair Price เพิ่มเป็น 11 บาท (อิง P/E 19 เท่า) และเพิ่มเป็นหุ้น Top Pick ในกลุ่มนี้

ขณะที่ GMMM ในงวดนี้คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านบาทในไตรมาสก่อน เนื่องจากรายได้คาดว่าจะฟื้นตัว 18% QoQ เป็น 716 ล้านบาท จากสื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุที่เติบโตตามภาวะอุตสาหกรรม ตลอดจนมีละครออกอากาศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สื่อ Event Marketing ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะเพิ่มเป็น 44% เทียบกับ 36% ในไตรมาสก่อน จาก
การเติบโตของรายได้ และการลดลงของต้นทุนวิทยุ ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน กำไรยังคงลดลง 6% YoY เนื่องจากรายได้ยังลดลง 3% YoY อันเป็นผลจากในไตรมาส 2 ปีที่แล้ว GRAMMY มีรายได้จากการบริหารงานเฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี แต่ปีนั้ไม่มี ทำให้รายได้งวดนี้ลดลง

สำหรับ RS ยังไม่มีการฟื้นตัว โดยคาดว่าในงวดนี้ ผลประกอบการจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสแรก คือมีกำไรสุทธิประมาณ 9 ล้านบาท สาเหตุเกิดจากการจัดคอนเสิร์ตต่างประเทศ ซึ่งแม้จะมีรายได้มากจากบัตรและสปอนเซอร์ แต่ต้นทุนดำเนินงานก็สูงเช่นเดียวกัน ส่วนรายได้จาก Digital ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้อัตรากำไรสูงขึ้น ก็คาดว่ายังไม่เติบโตมากในไตรมาสนี้ ขณะที่ภาพยนตร์ที่ออกฉายจำนวน 2 เรื่อง ทำรายได้ Box Office ในระดับที่สูงเพียงเรื่องเดียวคือ " เมล์นรก หมวยยกล้อ " แต่ในกรณีของ " รักนะ 24 ชั่วโมง " ทำรายได้ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก

ทั้งนี้ AYS คาดว่า RS จะมีรายได้รวม 586 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% QoQ จากการฟื้นตัวของธุรกิจสื่อ อัตรากำไรขั้นต้นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ขณะที่มีค่าใช้จ่ายขายและบริหารเพิ่มขึ้น ตลอดจนรายได้อื่นลดลง

ส่วน MAJOR คาดว่าจะมีกำไรปกติ 189 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% YoY แต่ลดลงประมาณ 4% QoQ โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ YoY มาจากการเติบโตของรายได้ 8% YoY จากการเติบโตของรายได้จากโฆษณา และรายได้จากอาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่รายได้จากตั๋วเพิ่มขึ้น 2% YoY โดยมีภาพยนตร์ที่ทำรายได้หลักๆ คือ Spider Man III, Pirates III และภาพยนตร์ไทย อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 37% เทียบกับ 34% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้จากโฆษณาซึ่งมีอัตรากำไรสูงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น หากเทียบกับไตรมาสก่อนกำไรคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย โดยคาดว่า รายได้จะลดลงประมาณ 5% QoQ เนื่องจากภาพยนตร์เรื่อง " ตำนานสมเด็จพระนเรศวร " ทำรายได้สูงมากในไตรมาสแรก ส่งผลให้รายได้จากตั๋วในไตรมาสนี้ลดลงประมาณ 1% QoQ อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเมื่อเทียบกับ 39% ในไตรมาสก่อน เป็นปกติของไตรมาสนี้ซึ่งจะมีภาพยนตร์ Hollywood เข้าฉายจำนวนมาก และ MAJOR จะมีต้นทุน Film Hire ในอัตราที่สูง เป็นเหตุให้กำไรลดลงเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม คาดว่าไตรมาสนี้ บริษัทจะมีกำไรพิเศษจากการจำหน่ายกองทุน MJLF ประมาณ 740 ล้านบาท ทำให้มีกำไรสุทธิ 929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 282% YoY และ 372% QoQ

ขณะที่ WORK จะมีกำไรประมาณ 68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% QoQ จากคาดการณ์รายได้ 372 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% QoQ โดยรายได้หลักคือรายได้จากโทรทัศน์คาดว่าจะเติบโต 7% QoQ เป็น 304 ล้านบาท เนื่องอัตราใช้เวลาโฆษณาเพิ่มเป็น 72% เทียบกับ 64% ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ การเติบโตของรายได้จะสูงกว่าอุตสาหกรรม เพราะรายการส่วนใหญ่ยังคงได้รับความนิยม นอกจากนั้นในงวดนี้จะมีการบันทึกรายได้จากภาพยนตร์ประมาณ 50 ล้านบาท ขณะที่ในงวดก่อนไม่มี จึงเป็นผลให้กำไรเติบโตเมื่อเทียบ QoQ

ดังนั้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มผลดำเนินงานไตรมาส 2 เข้าด้วยกันกับประมาณการทั้งปี AYS จึงยังคงให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อและบันเทิงแบบปกติ (Neutral) เหมือนเดิม เนื่องจากอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในปี 2549 ยังไม่สูงนัก ประกอบกับยังมีการแข่งขันรุนแรงในกลุ่ม และแนวโน้มการแข่งขันอาจจะสูงขึ้น หากพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฉบับใหม่ ผ่านการพิจารณาออกมาเป็นกฎหมายจริง เพราะจะทำให้เกิดสถานีโทรทัศน์ประเภทใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเคเบิลทีวี หรือทีวีดาวเทียม

สำหรับหุ้น Top Pick ของ AYS มี 3 ตัว ได้แก่ BEC (Fair Price 28.50 บาท) WORK (Fair Price 22.50 บาท) และ GRAMMY (Fair Price 11 บาท)

สรุปคำแนะนำ: กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์
Company Rating Fair price Net profit
(Bt) 06 07E 08E

BEC Buy 28.50 1,643 2,107 2,286
GMMM Buy 10.00 143 135 143
GRAMMY Buy 11.00 209 261 283
MAJOR Hold 19.80 695 1,484 868
MATCH Trading 1.90 (211) 34 39
MCOT Sell 31.50 1,505 1,128 1,202
RS Trading 5.00 155 146 193
WORK Buy 22.50 305 297 323

ที่มา / AYS
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/08/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

โฆษณาเฮ้าส์แอด...ท่วม สัญญาณอันตราย...สื่อหลัก

รายงาน

แม้ว่าภาพของสื่อหลักอย่างวิทยุ, หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร จะอยู่ในภาวะที่ปรับตัวลดลงมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน และผู้ประกอบการสื่อต่างเร่งปรับตัว เพื่อหาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งร่วมทำโปรโมชั่นกับเจ้าของสินค้า จัดอีเวนต์เพื่อดึงให้เจ้าของสินค้ามาใช้เงินผ่านสื่อ ฯลฯ

สำหรับปีนี้ภาพที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เพียงเท่านั้น แต่ปรากฏว่าสื่อต่างๆ หันมาใช้พื้นที่โฆษณา หรือเวลาโฆษณาที่เหลือมาใช้โฆษณาตัวเอง หรือที่เรียกกันว่า house ads เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

จากรายงานของ นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) พบว่า สื่อหนังสือพิมพ์มีตัวเลขการใช้จ่ายงบฯโฆษณาในช่วงครึ่งปีที่แรกที่ผ่านมา ขยายตัวติดลบ 5% มีมูลค่ารวม 7,354 ล้านบาท และแนวโน้มมีการปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ปี 2548
โดยหมวดสินค้าที่ใช้งบฯผ่านสื่อดังกล่าวนี้มากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย โฆษณา house ads 937 ล้านบาท ตามด้วยกลุ่มรถยนต์ 742 ล้านบาท, กลุ่มบันเทิง สันทนาการ 660 ล้านบาท, กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 547 ล้านบาท, กลุ่มสื่อสาร-โทรคมนาคม 525 ล้านบาท

บริษัทที่ใช้งบฯโฆษณาสูงสุด 10 อันดับแรก คือ วัตถุมงคล 338 ล้านบาท, ตามด้วย โตโยต้า มอเตอร์ 244 ล้านบาท, หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น 218 ล้านบาท, สยามสปอร์ต ซินดิเคท 208 ล้านบาท, โซนี่ 153 ล้านบาท, หนังสือพิมพ์มติชน 131 ล้านบาท, เอไอเอส 109 ล้านบาท, ตรีเพชร อีซูซุฯ 92 ล้านบาท, วัฏฏะ คลาสซิฟาย 84 ล้านบาท และโพสต์ พับลิชชิ่ง 75 ล้านบาท


ในจำนวนนี้มีเฮ้าส์แอดถึง 5 บริษัท คิดเป็นมูลค่ารวม 716 ล้านบาท จากมูลค่ารวมของท็อปเทน 1,652 ล้านบาท หรือมีสัดส่วน 43%
หรือประมาณ 12% ของมูลค่าตลาดรวม

ส่วนสื่อนิตยสารนั้น อุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในแนวโน้มเดียวกับสื่อหนังสือพิมพ์ คือ มีอัตราการขยายตัวของสื่อโฆษณาปรับตัวลดลง 4% มีมูลค่ารวม 2,855 ล้านบาท และมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ปี 2548 เช่นกัน
เพียงแต่โดยภาพรวมแล้วยังมีความคึกคักกว่าสื่อหนังสือพิมพ์ เนื่องจากมีนิตยสารหัวใหม่ๆ เกิดขึ้นในตลาดในช่วงแค่ 6 เดือนแรกมากถึง 18 ฉบับ แต่ละเล่มล้วนเจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น เป็นการตอบโจทย์ของผู้ลงโฆษณาที่ต้องการสื่อที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนเท่านั้น
โดยหมวดสินค้าที่ใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อนิตยสารมากที่สุด 5 อันแรก ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าสกินแคร์ 272 ล้านบาท ตามด้วยกลุ่ม เฮ้าส์แอด 268 ล้านบาท, กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 125 ล้านบาท, กลุ่มท่องเที่ยวและบริษัททัวร์ 125 ล้านบาท, กลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม 120 ล้านบาท
และบริษัทที่ใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อนิตยสารมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ ลอรีอัล 59 ล้านบาท, ชิเซโด้ 44 ล้านบาท, เอลก้า 41 ล้านบาท, อมรินทร์พริ้นติ้ง 39 ล้านบาท, เซ็นทรัล 33 ล้านบาท, ยูนิลีเวอร์ 33 ล้านบาท, ไอ.ซี.ซี.ฯ 32 ล้านบาท, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน 30 ล้านบาท และเอไอเอส 252 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องสำอาง luxury brand จะยังเป็นบริษัทที่ใช้งบฯทางสื่อนิตยสารสูงอยู่ แต่เครื่องสำอางที่เป็น mass brand อย่างค่ายยูนิลีเวอร์, ไอ.ซี.ซี.ฯ, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, สมูทอี และไบเออร์สดร็อฟ กลับมีสัดส่วนการใช้สื่อนิตยสารที่เพิ่มขึ้น
แต่ละค่ายที่ติดท็อปเทนมีมูลค่าการใช้ที่ใกล้เคียงกัน โดยมีมูลค่ารวมกัน 395 ล้านบาท คิดเป็นเพียงแค่ 13.8% ของมูลค่ารวมเท่านั้น
ขณะที่เฮ้าส์แอดรวมกันคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 9.38% ของตลาดรวม
เช่นเดียวกับสื่อวิทยุที่มีมูลค่าโฆษณาในตลาดปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 และลดลงอีก 5% ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ารวม 3,046 ล้านบาท จากมูลค่า 3,217 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และหมวดสินค้าที่ใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อวิทยุมากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วยกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ มูลค่า 487 ล้านบาท ตามด้วยกลุ่ม house ads มูลค่า 479 ล้านบาท, กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม มูลค่า 285 ล้านบาท, กลุ่ม leisure มูลค่า 251 ล้านบาท และกลุ่มมีเดียและมาร์เก็ตติ้ง มูลค่า 178 ล้านบาท

บริษัทที่ใช้งบฯโฆษณาสูงสุด 10 อันดับแรก คือ อสมท 144 ล้านบาท สำนักนายกรัฐมนตรี 108 ล้านบาท, เอไทม์ มีเดีย 96 ล้านบาท, เอไอเอส 85 ล้านบาท, ดีแทค 69 ล้านบาท, คลิกเรดิโอ 67 ล้านบาท, เวอร์จิ้น 65 ล้านบาท, สกาย-ไฮ เน็ตเวิร์ค 63 ล้านบาท, ไลอ้อน 55 ล้านบาท และ ปตท. 54 ล้านบาท

ยิ่งเป็นที่ชัดเจนว่า โฆษณาใน 10 บริษัทแรกที่ใช้งบฯสูงสุดมีมูลค่ารวม 806 ล้านบาท เป็นโฆษณาเฮ้าส์แอดถึง 435 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า โฆษณาเฮ้าส์แอดทางสื่อวิทยุมีสัดส่วนสูงถึงประมาณ 54% ของกลุ่มที่ติดท็อปเทนเลยทีเดียว
หรือคิดเป็น 15% ของมูลค่าตลาดรวม

"วิลักษณ์ โหลทอง" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "อินสไพร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" บริษัทผลิตนิตยสารในเครือสยามสปอร์ต บอกว่า จากแนวโน้มข้างต้นนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมองช่องทางทำการตลาดแบบ 360 องศามากขึ้น เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้อื่นๆ เข้ามาเสริมให้ได้ ดังนั้นรายได้จะไม่ใช่เพียงแค่ค่าโฆษณาอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามสำหรับนิตยสารหัวนอกจะมีกฎระเบียบในการโฆษณาเฮ้าส์แอดอยู่แล้ว จึงไม่สามารถใส่โฆษณาเฮ้าส์แอดในปริมาณที่มากได้ เต็มที่ได้เพียงแค่ 4 หน้าเท่านั้น
สอดคล้องกับผู้บริหารในธุรกิจสื่อวิทยุที่ วิเคราะห์ว่า จริงๆ แล้วรายได้ของกลุ่มผู้ประกอบการวิทยุแต่ละรายอาจไม่ได้ตกมากนัก เพราะรูปแบบการขายสื่อวิทยุในปัจจุบันก็มีรูปแบบที่หลากหลายไม่ได้มาจากการขายสปอตโฆษณาทางเดียวเช่นกัน
จากแนวโน้มดังกล่าวนี้ นักวางแผนกลยุทธ์รายหนึ่งบอกว่า ถึงเวลาที่สื่อหนังสือพิมพ์, นิตยสาร และวิทยุ ต้องเร่งปรับตัวเองให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดให้มีความชัดเจนให้ได้ เพราะเจ้าของสินค้าจะเลือกลงโฆษณาเฉพาะสื่อที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ เท่านั้น
เช่นเดียวกับ "วิชัย สุภาสมบูรณ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "คาราท (ประเทศไทย)" บริษัทวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา ได้วิเคราะห์ว่า ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เจ้าของสินค้าเลือกสรรการใช้สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้สื่อทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อวิทยุมีพื้นที่โฆษณาและมีเวลาโฆษณาว่างมากขึ้น ส่งผลให้โฆษณา เฮ้าส์แอดมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หากภาวะเศรษฐกิจในปีนี้และปีต่อๆไปยังไม่ดีขึ้น จะยิ่งส่งผลให้สื่อดังกล่าวกลายเป็นสื่อที่เต็มไปด้วยเฮ้าส์แอดอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง !!
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news05/08/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ธุรกิจอีเวนต์กำเงินพันล. +อินเด็กซ์/ซีเอ็มโอมั่นใจครึ่งปีหลังการเมืองชัดเจนงานใหญ่จ่อแน่น  
อินเด็กซ์ฯ ซีเอ็มโอ เห็นพ้อง ธุรกิจอีเวนต์ครึ่งปีหลังทิศทางสดใส ผลพวงการเมืองเริ่มชัดเจน ภาครัฐขยับตัวเตรียมเลือกตั้ง การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ การจัดงานเฉลิมฉลองในหลวงทรงครบ 80 พรรษา อีกทั้งงานกีฬาใหญ่ มหาวิทยาลัยโลกและซีเกมส์ ส่งผลครึ่งปีหลังเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้าน แม้ภาพรวมทั้งปีจะไม่โตจากปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเอกชนเริ่มมั่นใจเทงบทำตลาดช่วงปลายปี
จากความชัดเจนทางด้านการเมือง ที่ภาครัฐโดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาประกาศอย่างชัดเจนถึงการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ อีกทั้งการลงประชามติรัฐธรรม
นูญฉบับใหม่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม และยังจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา รวมถึงการจัดแข่งขันกีฬาระดับประเทศ 2 งานในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ล้วนแต่ส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมการจัดงานอีเวนต์แทบทั้งสิ้น ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าจะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดจากงานต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งจากภาพรัฐและเอกชน ที่เริ่มขยับตัวใช้งบมาทำตลาดมากขึ้น
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มธุรกิจอีเวนต์ครึ่งปีหลังนี้ว่า มีแนวโน้มที่สดใสขึ้น เนื่องจากความชัดเจนทางด้านการเมือง ที่จะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าในต้นปีหน้า ส่งผลการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจดีขึ้น มีการคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) จะมีการเติบโตประมาณ 4.5% ขณะเดียวกันอัตราการบริโภคของประชาชนเริ่มเพิ่มมากขึ้นด้วย แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกสภาพเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ก็เริ่มทรงตัว ทำให้ภาพรวมครึ่งปีหลังจะมีการปรับตัวดีขึ้น

สำหรับปัจจัยบวกที่จะส่งผลต่อภาพรวมธุรกิจอีเวนต์นั้น นอกจากความชัดเจนทางด้านการเมืองแล้ว นักการตลาดยังเห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีสินค้าบางกลุ่มที่ยังมียอดขาย และได้ผลตอบรับจากผู้บริโภค เช่น ธุรกิจเรียลเอสเตท ในประเภทคอนโดมิเนียมในระดับราคา 1-2 ล้านบาท ซึ่งมีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องในก็สามารถมียอดขายเติบโตได้

นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า แม้ว่าในปัจจุบันจะมีบางธุรกิจที่ต้องปิดกิจการลง เช่น โรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า สาเหตุเป็นเพราะการไม่ปรับตัวของผู้ประกอบการ ที่เห็นแนวโน้มอยู่แล้วว่า จะมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า หรือโรงงานผลิตจอโทรทัศน์ ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่จากจอสีปกติ เป็นจอแอลอีดี หรือพลาสม่า ซึ่งเจ้าของโรงงานต้องมีการปรับตัวรองรับ แต่เมื่อไม่มีการปรับตัวก็จะไม่สามารถอยู่ได้
ส่วนงานอีเวนต์ใหญ่ๆ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ตลาดเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง จะเป็นการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ การใช้งบประมาณของรัฐบาลทั้งการเลือกตั้ง การออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ เริ่มมีการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมทางการเมือง อย่างล่าสุด พรรคประชาธิปัตย์เริ่มออกมาโฆษณาประชาสัมพันธ์นโยบายของพรรคบ้างแล้ว
"เม็ดเงินสำหรับกิจกรรมต่างๆ ในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีสะพัดประมาณ 1,000 ล้านบาท เพราะรัฐบาลเริ่มมีการประกาศการจัดกิจกรรมในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุครบ 80 พรรษา ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาใช้อีเวนต์มาร์เก็ตติ้ง เป็นเครื่องมือการทำตลาด ในส่วนของบริษัทก็มีอีเวนต์อีกหลายโปรเจ็คต์ที่จะต้องทำกิจกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มเรียลเอสเตท กลุ่มรถยนต์ รถจักรยานยนต์ แม้ว่าครึ่งปีแรกยอดขายรถจักรยานยนต์จะลดลงไปถึง 15% แต่ครึ่งปีหลังน่าจะกระตุ้นยอดขายให้กลับคืนมาได้" นายเกรียงไกร กล่าวและว่า
ผลประกอบการของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรก หากไม่นับรวมกิจกรรมงานในหลวงทรงครองราชย์ครบ 60 ปี บริษัทจะมีการเติบโตสูงถึง 61% เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันผลประกอบการของบริษัทถึงปัจจุบัน มีอัตราที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาแล้ว คาดว่าในปีนี้บริษัทจะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ 15% ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรมนั้น เชื่อว่าไม่น่าจะมีการเติบโตเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

ด้านนายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) หรือซีเอ็มโอ และในฐานะนายกสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน หรือ Event Management Club กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า ภาพรวมของธุรกิจอีเวนต์ในปีนี้ไม่น่าจะมีการเติบโต โดยมูลค่ารวมของธุรกิจอีเวนต์น่าจะมีประมาณ 13,000 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาหลักทางด้านปัญหาเศรษฐกิจ และความไม่ชัดเจนทางการเมือง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปัจจุบันก็เริ่มส่งผลดีต่อธุรกิจอีเวนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ ความคลี่คลายของปัญหาทางการเมือง นโยบายของรัฐบาลที่เริ่มใช้งบประมาณ ทั้งการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร์

"การเลือกตั้งทุกครั้ง จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากภาครัฐเริ่มใช้งบประมาณแล้ว ภาคเอกชนเองก็มีการเคลื่อนไหวในธุรกิจอีเวนต์ด้วยเช่นกัน สำหรับบริษัทก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว อย่างล่าสุดก็มีการลงทุนทางด้านฮาร์ดแวร์ในธุรกิจให้เช่าจอแอลอีดี สำหรับการจัดงานอีเวนต์ ซึ่งถือว่ามีนัยสำคัญทางด้านการตลาดอย่างหนึ่งว่าจะมีงานอีเวนต์อย่างต่อเนื่อง และยังจะมีงานของในหลวงที่ภาครัฐและเอกชนจะจัดออกมาอีกในช่วงครึ่งปีหลังนี้ด้วย นอกจากนี้บริษัทยังมีโปรเจ็คต์อีก 3-4 โปรเจ็คต์ มูลค่านับร้อยล้านบาทที่รอสรุปความชัดเจนใน 1-2 เดือนนี้ด้วย" นายเสริมคุณ กล่าว

ขณะเดียวกัน บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีเอ็มโอ ได้ลงทุน 30 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นของบริษัท แม็กซ์ เอฟโวลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและให้เช่าจอ LED ในสัดส่วน 30% เพื่อขยายธุรกิจการให้บริการ เช่าอุปกรณ์ ด้าน แสง สี เสียง ทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเดิมงานแรกสำหรับการใช้จอแอลอีดีที่ลงทุนร่วมกัน ในงานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ซึ่งเป็นจอขนาดความสูง 9 เมตร

นางสุรีย์ คุณาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเอ็มฯ กล่าวว่า ความต้องการใช้จอภาพแอลอีดีในธุรกิจอีเวนต์ และการจัดคอนเสิร์ตต่างๆ มีสูง แต่ที่ผ่านมาราคาการนำเข้าอุปกรณ์ดังกล่าวจากต่างประเทศยังมีราคาสูง ทำให้ค่าเช่าสูงตามไปด้วย แต่จากเทคโนโลยีการผลิตของบริษัท แม็กฯ ซึ่งเป็นของคนไทย ทำให้อัตราค่าเช่าถูกลงกว่า 50% ซึ่งการร่วมทุนกันในครั้งนี้บริษัทคาดว่าจะทำรายได้ให้ในเบื้องต้น 5% โดยบริษัท แม็กฯ ตั้งเป้ารายได้ถึงสิ้นปีนี้ 12 ล้านบาท และ 50 ล้านบาทภายในปีหน้า ขณะเดียวกันบริษัทยังลงทุนอีก 15 ล้านบาท ในการซื้ออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้กับธุรกิจอีเวนต์เพิ่มด้วย
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2240
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news08/08/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ปรับโฉมครั้งใหญ่หนังสือพิมพ์ธุรกิจอันดับ1 [ ฉบับที่ 817 ประจำวันที่ 8-8-2007 ถึง 10-8-2007]  
เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวไปสู่หนังสือพิมพ์ราย 3 วัน ที่มียอดผู้อ่านมากที่สุด ตามยุทธศาสตร์ที่วางเอาไว้ กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ จึงเร่งทำงานร่วมกันครั้งใหญ่ เพื่อปรับโฉมและเนื้อหาหนังสือ พิมพ์ให้มีคุณภาพดีที่สุด สามารถสนองตอบต่อ ความต้องการของผู้อ่านที่มียอดสูงสุดของประเทศไทยให้ได้ดีที่สุด

การปรับเปลี่ยนโฉมดังกล่าว จะเริ่มนับตั้งแต่ฉบับที่ 819 ประจำวันที่ 15-17 สิงหาคม 2550 เป็นฉบับปฐมฤกษ์ โดยเนื้อหาใน SECTION 1 จะมีการเพิ่มเติมข่าวและข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน นั่นก็คือ โลกธุรกิจอิสลาม

เนื่องจากการมองเห็นประชากรมุสลิมในประเทศไทยจำนวนหลายล้านคน และในจำนวนนี้ บรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลาม ต่างเป็นทั้งนักลงทุน นักธุรกิจ และมีธุรกิจที่สำคัญของประเทศมากมาย รวมทั้งมีธุรกิจของประเทศไทยจำนวนมากมาย ที่หวังเจาะเข้าไปในตลาดกลุ่มนี้ สยามธุรกิจ จะพยายามเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ในการเข้าถึงตลาดกลุ่มนี้ ซึ่งไม่เพียงแค่มุสลิมในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่เนื้อหาหนังสือในส่วนนี้ ยังฉายภาพธุรกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในต่างประเทศ ซึ่งเรามักไม่ค่อยได้รู้จักเนื่องจากการกีดกันทางด้านข่าวสารข้อมูลของมหาอำนาจของโลก จึงทำให้เราเห็นภาพของโลกมุสลิม กลายเป็นสีเทามาโดยตลอด ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้มีอำนาจการซื้อและการผลิต ไม่แพ้ประชากรผู้นับถือศาสนาอื่นๆ

ประเด็นเนื้อหาที่จำเป็นต้องปรับปรุงครั้งใหญ่อีกส่วนหนึ่งนั่น ก็คือ SECTION เศรษฐกิจ ซึ่งแต่เดิมจะกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโดยภาพรวม ด้านการคลังการธนาคารและข่าวสารทางการเงิน แต่ในฉบับปรับโฉมใหม่ หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ จะเพิ่มหน้าข้อมูลเพื่อผู้ลงทุนอย่างเอาจริงเอาจังและเข้มข้นมากขึ้น โดยเนื้อหาที่จะเพิ่มใหม่จะเป็นเนื้อหาข่าวสารทางด้านการเจาะข่าวความเคลื่อนไหวของตลาดทุน โดยเฉพาะตลาดหุ้น เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น

อีกทั้งเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ยังบรรจุข้อมูล และบทวิเคราะห์หุ้นจากเซียนหุ้นชื่อดังของเมืองไทย ไม่ว่า จะเป็น เผดิมภพ สงเคราะห์, ไชยพร น้อมพิทักษ์เจริญ, ปองรัตน์ รัตนตวานนท์ แห่งบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง อาภาภรณ์ แสวงภักดิ์ แห่งบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอสวิเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด, สุกิจ อุดมศิริกุล แห่งบริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย, สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์ เป็นต้น

โดยตั้งเป้าให้เป็นแหล่งข้อมูลและที่พึ่งของนักลงทุนไทยให้ดีที่สุด

นอกเหนือจากนั้น ยังเป็นการเพิ่มหน้าคอลัมน์ที่หลากหลาย แม้กระทั่งการเพิ่มเนื้อหา ข่าวทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้มากยิ่งขึ้น

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงและเปิดตัวในฉบับปฐมฤกษ์ เท่านั้น กองบรรณาธิการ สยามธุรกิจ ยังวางกฎกติกาให้กับตัวเอง ในการ ให้ความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงต่อไปเรื่อยๆ ให้เป็นหน้าหนังสือพิมพ์ที่ดีที่สุด โดยวางแผนกันว่า จะให้มีคอลัมน์วิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนผู้อ่านหนังสือ ด้วยให้ผู้อ่านแนะนำมาว่า ไม่ชอบคอลัมน์ไหน ส่วนไหนมากที่สุด เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุผลและเป้าหมายดังกล่าว http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5392
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/08/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์เพิ่มภาระผู้ประกอบการ - 9/8/2550
ร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์เพิ่มภาระผู้ประกอบการ
คาดรายได้รวมอุตฯหนังปี 50 เพียง 1 พันล้าน


สัปดาห์นี้ขอโฟกัสธุรกิจบริการด้านบันเทิง ซึ่งที่ผ่านมาดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาของผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นนักแสดงตลก ปรากฎข่าวต่อเนื่องว่าสามารถทำรายได้ให้หนังแต่ละเรื่องอยู่ในระดับ 100 ล้านทั้งนั้น แต่จากการให้ข้อมูลของนายสุรศักดิ์ สรรพิทักษ์เสรี เลขาฯ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ว่าช่วงครึ่งหลังปี 2550 ต่อเนื่องถึงปีหน้า คาดรายได้จากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะลดลง เผยเหตุเพราะไม่มีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เข้าฉาย รวมถึงผู้ผลิตรายใหญ่ ชะลอการลงทุนสร้างภาพยนต์เรื่องใหม่ แต่ยังเน้นสร้างหนังฟอร์มเล็ก แนวตลก หนังผี แนวเด็กๆ หรือแนวย้อนยุค ไม่มีศักยภาพพอที่จะสู้กับหนังระดับฮอลีวูด ทำให้ปีนี้จะมีหนังฉายแค่ 47 เรื่อง คิดเป็นรายได้รวมประมาณ 1,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีหน้าคงไม่มีหนังไปขายแน่นอน

ส่วนเรื่องร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ.... ที่กำลังพิจารณาอยู่ ทางสมาคมฯ เห็นว่าเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสถานที่ฉายภาพยนตร์ หรือการจัดเรตติ้ง กำหนดอายุผู้ชมและการเซ็นเซอร์ที่มีความซับซ้อนเกินไป จะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างหนังในอนาคต ในขณะที่ วันสุดท้ายเดือนก.ค.มีข่าว เอฟไอซีซีไอ ระบุว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดียโดยรวมจะขยายตัวถึง 4,300 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2554 จากปัจจุบันที่มีมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ เพราะได้รับแรงหนุนจากแรงจูงใจในเรื่องภาษี น่าแปลกตรงที่อินเดียเพิ่งเริ่มมีโรงหนังระบบมัลติเพล็กซ์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก่อให้เกิดบริการจองตั๋วทางออนไลน์ บริการอาหาร-ขนมให้ถึงที่นั่ง มีเกมชิงรางวัลตั๋วฯลฯ ทำให้มีการประมาณรายได้ในปี 51 ถึง 220 ล้านดอลลาร์


เว็บไชโย สื่อกลางการท่องเที่ยวไทย
รหัสข่าว 07130009 :30/07/50: กรุงเทพธุรกิจ


นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ ปธ.อุปถัมภ์ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวไทย เผย จัดตั้งเว็บไซต์ www.chaiyothailand.com เป็นสื่อกลางในการนำเสนอสาระข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้านการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมาย เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศแบบยั่งยืน และมีส่วนให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาต่างๆ ของสมาชิกทั่วประเทศ ขณะนี้มีสมาชิกแล้วกว่า 3 แสนคน ตั้งเป้าสมาชิกทั่วไทย 10 ล้านคน ทั้งนี้ ชมรมนี้ เป็นลักษณะชมรมกึ่งองค์กรการกุศล โดยมุ่งจัดทำเว็บไซต์แบบวันสต็อปเซอร์วิส ที่มีข้อมูลให้บริการอย่างครบถ้วน ทั้งการจองห้องพัก ตั๋วเครื่องบิน และอื่นๆ ในลักษณะห้องสมุดท่องเที่ยวออนไลน์

h* ปรับผังเพิ่มเพิ่มอีก 2 ช่อง รับพ.ร.บ.ใหม่
รหัสข่าว 09610041 :30/07/50: ประชาชาติธุรกิจ (ราย 3 วัน)


นายโฆสิต สุวินิจจิต ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม h* Channel เผย อยู่ระหว่างการปรับผังรายการประมาณ 5% ของผังทั้งหมด เพื่อเตรียมคอนเทนต์รองรับการขยายตัวของกลุ่มสินค้าด้านสุขภาพและความงาม พร้อมมีแผนทำเอชพลัส แชนนอล เป็นศูนย์ช่วยเหลือสังคม ภายใต้ชื่อ ศูนย์ช่วยเหลือ h* 24 ชม. นอกจากนี้ ยังเตรียมทำโทรทัศน์สำหรับคนพิการด้วย ทั้งนี้ หลังเปิดสถานีมา 6 เดือนได้รับการตอบรับอย่างดี และเป็นที่ยอมรับ จนได้รับการบรรจุผังออกอากาศช่อง 22 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้ ขณะเดียวกัน หาก พ.ร.บ.สื่อวิทยุและโทรทัศน์ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ และให้เคเบิลฯ มีโฆษณาได้ มีแผนจะผลิตคอนเทนต์อีกอย่างต่ำ 2 สถานี

ชู Amazing Thailand ดึงต่างชาติเที่ยวไทย
รหัสข่าว 09630038 :30/07/50: ดอกเบี้ยธุรกิจ


นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าฯ ททท. เผย กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก จดจำ โดยสร้างความชัดเจนในการสื่อสารการตลาด ให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการต่างๆ มองภาพลักษณ์ประเทศไทยไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องการสื่อไปยังตลาดคือ ภาพ Amazing Thailand ขณะนี้นับว่าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในตลาดแล้ว ในปีนี้จึงนำเสนอในลักษณะรวมกลุ่มของสินค้าที่หลากหลาย และสร้าง Theme ให้กับแต่ละกลุ่ม เพื่อสื่อถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ และเกิดความ Amazing ต่อประเทศไทย  

แกรมมี่ดึง ที-อาร์ดี ทำไดเรกต์ มาร์เก็ตติ้ง
รหัสข่าว 09610042 :31/07/50: โพสต์ทูเดย์/ผู้จัดการรายวัน

น.ส.กนกพร นิตย์ธีรานนท์ ปธบ.บจก.ทรีอาร์ดี (3-RD) ผู้ให้บริการการตลาดแบบตรง (ไดเรกต์ มาร์เก็ตติ้ง) เผย อยู่ระหว่างการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อสร้างโปรแกรมสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับ บ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สำหรับใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ของแกรมมี่ ทั้งนี้ เริ่มจากเข้าไปเก็บข้อมูลการจัดงานคอนเสิร์ตต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ว่า แฟนเพลงกลุ่มไหน ชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าต่อไป ขณะเดียวกันฐานข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการบริการกับธุรกิจอื่นๆ ในเครือ

ตลาดหนังครึ่งปีหลังส่อแววซบ
รหัสข่าว 09610043 :31/07/50: พิมพ์ไทย30/07/50: กรุงเทพธุรกิจ/โพสต์ทูเดย์/เดลินิวส์/ ผู้จัดการรายวัน


นายสุรศักดิ์ สรรพิทักษ์เสรี เลขาฯ ส.สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ เผย ช่วงครึ่งปีหลังคาดรายได้จากอุตฯ ภาพยนตร์ไทยจะลดลง เพราะไม่มีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เข้าฉาย โดยปัจจัยสำคัญมาจากผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เจ้าของสหมงคลฯ มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทำให้แผนการผลิตของบริษัทชะลอตัว ขณะที่ไฟว์สตาร์ อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างภายใน ส่วนค่ายอื่น เช่น อาร์เอส หรือจีทีเอช เน้นสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ใช้เงินลงทุนสูง เน้นขายตลาดในประเทศเป็นหลัก ดังนั้น คาดปีนี้จะมีรายได้รวมประมาณ 1,000 ล้านบาท

สกาย-ไฮ โหมอีเวนท์ ดันยอด 450 ล.
รหัสข่าว 09610044 :31/07/50: โลกวันนี้


นายคมสันต์ เชษฐโชติศักดิ์ กก.ผจก.บจก.สกาย-ไฮ ผู้บริหารคลื่นวิทยุในเครืออาร์เอส เผย แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง อาจต้องลดงบการทำตลาดจากเดิม 175 ล้านบาท แต่จะเป็นเท่าใดนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจมีอัตราเติบโตชะลอตัว ทั้งนี้ ได้เพิ่มการจัดอีเวนท์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของลูกค้า โดยอัตราส่วนการขายสปอตโฆษณาจะเพิ่มอยู่ที่ 100% สำหรับรายได้สิ้นปีนั้น ตั้งเป้าไว้ตามแผนเดิม คือ 450 ล้านบาท

ธุรกิจอีเวนต์กำเงินพันล้าน
รหัสข่าว 09900030: 02/08/50: ฐานเศรษฐกิจ ราย 3 วัน


นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ปธบ.ร่วม บมจ.อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ เผย แนวโน้มธุรกิจอีเวนต์ครึ่งปีหลังสดใส เห็นแววการเมืองเริ่มชัดเจน เลือกตั้งปลายปี เป็นปัจจัยบวกหลายงานใหญ่จ่อคิวกระตุ้นตลาดอีเวนต์ อาทิ กีฬา ม.โลก การแข่งขันซีเกมส์ งบภาครัฐกับการจัดการเลือกตั้ง การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ หรืองบจากพรรคการเมืองในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เตรียมเลือกตั้ง และกิจกรรมเฉลิมฉลองในหลวงทรงครบ 80 พรรษา ฯลฯ คาดเงินสะพัดประมาณพันล. ตั้งเป้ารายได้โต 15% หลายกลุ่มในธุรกิจต่างให้ความเห็นทิศทางเดียวกัน

เปิดเสรีเพย์ ทีวี จุดเปลี่ยนวงการทีวี
รหัสข่าว 09610040: 02/08/50: โพสต์ทูเดย์


วิชัย สุภาสมบูรณ์ ปธบ. บจก.คาราท (ประเทศไทย) เผยแนวโน้มจากร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียงและวิทยุโทรทัศน์กำหนดให้สามารถมีรายได้จากโฆษณา กำลังเป็นที่จับตามองของผู้ประกอบการ ขณะที่เพย์ ทีวี เติบโตตามแนวโน้มพฤติกรรมผู้ชมเปลี่ยน ลูกค้าภูธรเพิ่มสูงขึ้น ผู้ชมเลือกเฉพาะรายการที่ชอบ กอปรกับการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายความคมชัด พร้อมใช้กลยุทธ์โปรโมชั่น ทำตลาด ด้านนายอรรถพล ณ บางช้าง รอง ปธ.จนท.สายรายการ บจก.ทรูวิชั่นส์ กล่าว ไม่หวั่นพ.ร.บ.ใหม่กระทบ มั่นใจประสบการณ์เหนือชั้น

ทรูวิชั่นส์ อัดช่องกีฬาเพิ่ม
รหัสข่าว 09610045 :05/08/50: ฐานเศรษฐกิจ (ราย 3 วัน)02/08/50: โพสต์ทูเดย์/ผู้จัดการรายวัน


นายองอาจ ประภากมล รองปธบ.สายคอมเมอร์เชียล เผย ทรูวิชั่นส์ ได้เปลี่ยนชื่อช่องกีฬาใหม่ จากซูเปอร์สปอร์ต เป็น ทรู สปอร์ต และเพิ่มจาก 6 เป็น 9 ช่อง โดยเพิ่มช่องพรีเมียร์ลีกโดยเฉพาะ 1 ช่อง ซึ่งจะบริการฟรีสำหรับแพลตินัมและโกลด์แพ็กเกจ ส่วนซิลเวอร์, ทรูโนว์เลดจ์ และทรูไลฟ์ พรีวิว หากต้องการรับชม ต้องเสียเงินเพิ่ม 399 บ./เดือน ซึ่งจะทำให้ขยายฐานสมาชิกได้มากขึ้น สำหรับช่อง ทรู สปอร์ต 5 ยังมีการขายผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทรูมูฟ แบบรายวัน โดยคิด 89 บ./วัน คาดมีสมาชิกเพิ่มกว่า 2 แสนราย ตั้งเป้าสิ้นปีที่ 1 ล้านราย

อินสไพร์ เปิดแผนกใหม่-เลื่อนเปิดนิตยสาร
รหัสข่าว 09900027: 03/08/50: Bizweek


วิลักษณ์ โหลทอง ปธ.กก.บห.บจก.อินสไพร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ เผย ผลการดำเนินการครึ่งปีแรกต่ำกว่าเป้าพอสมควร โดยสาเหตุหลักเนื่องมาจากลูกค้าตัดงบโฆษณา เพราะไม่มั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจ ส่งผลให้ปีนี้อินสไพร์ทำการปรับแผนการดำเนินงาน จากที่จะเปิดตัวนิตยสารเล่มใหม่ 2 เล่มในปีนี้ เหลือเพียง 1 เล่ม วางงบการตลาดไว้ที่ 20 ล้านบาท โดยจะเปิดในช่วงปลายปี ขณะที่อีกเล่มเลื่อนไปเปิดปีหน้าแทน นอกจากนี้ ยังได้เปิดแผนก Strategic Solution เพื่อช่วยลูกค้าวางแผนการซื้อสื่อ ในลักษณะเทเลอร์เมดสำหรับลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้ลูกค้าใช้เงินอย่างคุ้มค่ามากกว่าซื้อโฆษณาโดยทั่วไป ซึ่งจะเชื่อมโยงทุกสินค้าและบริการ

96 แอดเวอร์ไทซิ่ง ลงทุนเวียดนาม
รหัสข่าว 09300027: 05/08/50: ฐานเศรษฐกิจ (ราย 3 วัน)


นายชัชชาย เดชบัณฑิตย์ ปธ.บจก.96 แอดเวอร์ไทซิ่ง เผย เตรียมรุกสื่อโฆษณานอกบ้าน ด้วยการเข้าไปร่วมกับนักลงทุนในเวียดนาม จัดตั้งบริษัทบริหารสื่อโฆษณานอกบ้าน ด้วยงบประมาณ 150 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องภาษี และข้อกฎหมายสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ตั้งเป้ารายได้ภายในระยะเวลา 3 ปี ประมาณ 150 ล้าน โดยลูกค้าหลักจะเป็นเอเยนซีโฆษณาท้องถิ่น และเอเยนซีไทยที่เข้าไปทำธุรกิจในเวียดนาม
นสพ.สยามรัฐhttp://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179219
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/08/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

บิสซิเนสวีคภาษาไทยรุกยึดหัวหาดนิตยสารธุรกิจ  - 9/8/2550

บิสซิเนสวีค จากแดนมะกัน ลงทุนขั้นต้น 20 ล้านบาท วางตลาดฉบับภาษาไทยในไทย เน้นเจาะกลุ่มผู้บริหารธุรกิจ และเจ้าของธุรกิจทุกระดับ พร้อมสร้างความต่างจากฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อนักธุรกิจไทยโดยเฉพาะ
3 ส.ค. นิตยสารธุรกิจอันดับหนึ่งของโลก บิสซิเนสวีค (BusinessWeek) จากสหรัฐ ได้เริ่มวางแผงฉบับภาษาไทย โดยเริ่มตั้งแต่ฉบับเดือน ส.ค. เป็นฉบับแรก


ในการวางตลาดในไทยสำหรับ บิสซิเนสวีค ฉบับภาษาไทยช่วงแรก วางตลาดเป็นนิตยสารรายเดือนไปก่อน ประมาณ 18 เดือน จากนั้น จึงจะปรับเป็นรายสัปดาห์เช่นเดียวกับฉบับภาษาอังกฤษ

นายชาคริต ทับสูงเนิน บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร บิสซิเนสวีค ไทยแลนด์ กล่าวถึงคอนเซปท์ของนิตยสารบิสซิเนสวีคฉบับปฐมฤกษ์ภาษาไทย ว่า เรื่องปกฉบับเปิดตัว เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของบรรดาผู้ใช้เว็บไซต์จากทั่วโลก ที่ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นชุมชนขนาดยักษ์ อีกทั้งยังกลายเป็นชุมชนของผู้บริโภครุ่นใหม่ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนของธุรกิจหลากหลายประเภท

สำหรับคอลัมน์ภายในฉบับแรกและฉบับต่อๆ ไป จะเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้อ่าน โดยเรื่องที่เลือกมาลง จะครอบคลุมหลายเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการ การตลาด การเงิน การลงทุน นวัตกรรม เทคโนโลยี การเมือง วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งเรื่องเบาๆ เช่น เรื่องเกี่ยวกับไวน์ ที่มีนักวิจารณ์ไวน์ชั้นนำของโลก อย่างโรเบิร์ต พาร์คเกอร์ มาแนะนำไวน์ชั้นยอดให้ได้ชิมกัน

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องของยักษ์น้ำดำ เป๊บซี่ ที่กำลังพยายามล้างภาพผู้สร้างมลพิษในอินเดีย ไอโฟน ดาวรุ่งดวงใหม่จากค่ายแอปเปิล ยักษ์คอนซูเมอร์โลก พีแอนด์จี บุกตลาดชนบทจีน เจมส์ เมอร์ดอค ว่าที่ราชาคนใหม่แห่งยักษ์ใหญ่มีเดียของโลก จัดอันดับสุดยอดบริษัทไอที 100 บริษัท

ขั้นตอนของการดำเนินงาน จนถึงการวางตลาดฉบับแรก ได้ลงทุนไปแล้ว 20 ล้านบาท โดยตัวนิตยสารฉบับภาษาไทย มีความหนา 116 หน้า สี่สีทั้งเล่ม พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตด้าน ขนาด 85 แกรม ปกหนา 120 แกรม
siamrath newspaper
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179244
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/08/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

โพสต์ยังกำไร เฉียด9ล้านบ. เนชั่นขาดทุน
โพสต์ทูเดย์ โพสต์ พับลิชชิง โชว์กำไร 8.73 ล้านบาท ส่วนเนชั่น ขาดทุน 15 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปีนี้


บริษัท โพสต์ พับลิชชิง (POST) ประกาศผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ปีนี้ว่า มีกำไรสุทธิ 8.73 ล้านบาท คิดเป็นกำไรหุ้นละ 0.02 บาท ขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อนกำไรสุทธิ 30.58 ล้านบาท หรือ 0.06 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ รวมครึ่งแรกปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิ 20.92 ล้านบาท หรือ 0.04 บาทต่อหุ้น เทียบกับ 50.78 ล้านบาท หรือ 0.10 บาทต่อหุ้น ในช่วงเดียวกันปีก่อน

หากคิดเฉพาะกิจการในไตรมาส 2 ปีนี้ กำไรสุทธิ 6 ล้านบาท ลดลง 21.49 ล้านบาท หรือ 78% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้กำไรที่ลดลงเนื่องจากรายได้รวมลดลง 62.70 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขายหนังสือประมวลภาพการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือน มิ.ย. 2549 และดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น 3.83 ล้านบาท ในปีนี้

ด้านบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 ปีนี้ ขาดทุนสุทธิ 15.57 ล้านบาท หรือ 0.09 บาทต่อหุ้น กระเตื้องขึ้นจากขาดทุนสุทธิ 36.56 ล้านบาท หรือ 0.22 บาท ในช่วงเดียวกันปีก่อน และรวม 6 เดือนแรกปีนี้ ขาดทุนสุทธิ 4.89 ล้านบาท เทียบกับขาดทุนสุทธิ 41.04 ล้านบาท

ปัจจัยที่ทำให้ไตรมาส 2 ยังขาดทุน แม้มีรายได้รวมจำนวน 757.46 ล้านบาท สูงกว่าค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 706.62 ล้านบาท แต่มีดอกเบี้ยจ่ายทั้งสิ้น 48.24 ล้านบาท และกลับรายการภาษีเงินได้ อีก 12.84 ล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=184389
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/08/07

โพสต์ที่ 27

โพสต์

จีเอ็มเอ็ม - อาร์เอส ยูเทิร์นเปิดศึกธุรกิจเพลง  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
11 สิงหาคม 2550 14:28 น.
 
      ผู้จัดการรายสัปดาห์ - 2 ยักษ์ใหญ่วงการเพลงไทยยังไม่หนีหน้ากันไปไหน แม้อาร์เอส จะประกาศลบภาพค่ายเพลง เป็นเครือข่ายบันเทิงครบวงจร แต่ศักยภาพของเครือข่ายด้านอื่น โชว์ หรือ ภาพยนตร์ ก็ไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับอาร์เอสได้เหมือนที่ธุรกิจเพลงเคยทำได้ "เฮียฮ้อ" จึงประกาศศึกในตลาดเพลงอีกครั้ง ปฏิวัติวงการ ยกลิขสิทธิ์เพลงให้ผู้แต่ง หวังต้อนหัวกะทิในวงการเข้าคอก ตั้งเป้าพันล้าน พร้อมเป็นแกนสร้างธุรกิจในเครือข่ายให้คึกคัก ด้านจีเอ็มเอ็ม เดินหน้าขยายตลาดสู่ระดับอินเตอร์ รื้อโครงสร้าง Cross-Culture สร้างตลาดหารายได้จากต่างแดนอย่างเป็นระบบ ด้านตลาดเมืองไทยเปิดช่องทางขายตรงซีดี ชิงลูกค้าถึงบ้านตัดหน้าตลาดซีดีเถื่อน
     
      อาร์เอส วัดดวงธุรกิจเพลง
      ปฏิวัติระบบลิขสิทธิ์ กวาดยอดฝีมือเข้าค่าย

     
      เป็นเวลากว่าปีที่ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) พยายามบอกกับทุกคนว่า วันนี้อาร์เอส ไม่ใช่เป็นแค่ค่ายเพลงเหมือนดังที่รู้จักกันมาตลอดเวลา 25 ปี แต่อาร์เอสคือ เครือข่ายบันเทิงครบวงจร(The Entertainment Network) ที่มีความบันเทิงหลากหลายรูปแบบมานำเสนอ ทั้งเพลง ละคร ภาพยนตร์ รายการทีวี โชว์ จนถึงกีฬา อันเป็นโครงสร้างธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดของประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
     
      แต่เมื่อเครือข่ายบันเทิงของอาร์เอสเริ่มเคลื่อนขบวนออกไป กลับพบว่าธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ได้ทำกำไรให้คล่องมือได้เหมือนที่ธุรกิจเพลงเคยสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับอาร์เอสมาจนถึงวันนี้ได้
     
      คอนเทนต์การแสดงรายการใหญ่อย่าง การแข่งขันพลุชิงแชมป์โลก มหกรรมแจ๊สกลางสนามโรงเรียนวชิราวุธ ถูกยกเลิกหลังจากเปิดตัวไม่นาน งานแฟร์รวมเหล่าฮีโร่ในวงการการ์ตูน ถูกเลื่อนจากกำหนดเดิม และจบลงด้วยความล้มเหลวทั้งในแง่ผู้ชม และรายได้ คอนเสิร์ตศิลปินโลกอย่าง คริสติน่า อากิเลร่า แม้เรียกผู้ชมได้แน่นฮอลล์ แต่ต้นทุนที่สูงลิ่วก็ไม่ใช่แนวทางการทำธุรกิจที่ถูกทางของเฮียฮ้อ ที่เน้นตัวเลขกำไรสวย ๆ มากกว่ารายได้ เท่าไรนัก จนถึงล่าสุด แนวทางการสร้างภาพยนตร์จากการทำวิจัย ซึ่งจะทำให้ได้เรื่องราวที่ตรงความต้องการของผู้ชม มีนักแสดงที่กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ พร้อมหาสปอนเซอร์สนับสนุนงบประมาณการสร้างแน่นจอ จากที่เคยสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำที่แปลงเป็นได้กำไรเกือบทั้ง 100% ในหนัง 3-4 เรื่องแรก ๆ มาถึงงานล่าสุด "รักนะ 24 ชั่วโมง" เป้าหมายรายได้ 40-50 ล้านบาท แต่รายได้จริงกลับสลับตัวเลขเป็น 14 -15 ล้านบาท ก็น่าจะทำให้ เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ได้คิดว่า ถึงอย่างไรเครือข่ายบันเทิง ก็ยังต้องเกาะธุรกิจเพลงไว้อย่างมั่นคง เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนองค์กร
     
      "ธุรกิจเพลงในวันนี้ยังมีความสำคัญมากสำหรับอาร์เอส เพราะธุรกิจเพลงเปรียบเสมือนแหล่งต้นน้ำใหญ่ที่หล่อเลี้ยงธุรกิจอื่น ๆ และตัวสร้างซินเนอยีให้กับธุรกิจของเรา การที่อาร์เอสเติบโตขึ้นดังเช่นทุกวันนี้ได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะมีธุรกิจเพลงที่แข็งแรง"
     
      ประเด็นสำคัญของการปฏิวัติธุรกิจเพลงของอาร์เอส คือการยอมสูญเสียรายได้จากการถือลิขสิทธิ์เพลงไว้กับตัวบริษัท ขณะที่บนแผงเทปวันนี้ พบว่าเพลงในช่วงก่อนปี 2000 หลายอัลบัมถูกนำกลับมาวางขาย โดยเฉพาะค่ายเพลงอันดับ 1 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีการรวบรวมผลงานเก่า ๆ ทั้งอย่าง เรวัติ พุทธินันท์ ธงไชย แมคอินไตย์ หรือไมโคร นูโว ฯลฯ มาจัดทำแพ็คเกจใหม่ออกขายสร้างรายได้กลับคืนมาค่อนข้างดี แต่อาร์เอสกลับเลือกที่จะเดินตรงกันข้าม
     
      สุทธิพงษ์ วัฒนจัง รองกรรมการผู้อำนวยการ ซึ่งดูแลธุรกิจเพลงไทยสากล กล่าวว่า อาร์เอสได้ก้าวเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเพลงไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะในเรื่องการถือครองลิขสิทธิ์ ซึ่งจากอดีตค่ายเพลงจะเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียว เป็นการปิดกั้น ไม่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์งานที่ดีสู่ศิลปินนักร้อง จากนี้อาร์เอสจะเป็นบริษัทแรกที่เปลี่ยนกติกา และวิธีการทำธุรกิจใหม่ให้เข้ากับมาตรฐานสากล โดยผู้สร้างสรรค์งานเพลงทั้งครูเพลง นักแต่งเพลง ผู้ประพันธ์ทำนอง และเนื้อร้อง จะเป็นเจ้าของงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นนับตั้งแต่วันแรกที่สร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา
     
      "เชื่อว่าผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง คือ ผู้สร้างสรรค์เพลงนั้น ที่จะเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานดี ๆ ที่มีคุณภาพสู่สาธารณชนมากขึ้น โดยที่ตัวผุ้สร้างสรรค์เพลงก็จะได้ครอบครองสิทธินั้นอย่างสมบูรณ์แบบ และได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนอาร์เอสเองก็ได้ประโยชน์จากนโยบายที่เปิดกว้างขึ้นในการทำงานอย่างไม่มีข้อจำกัด ส่งผลให้อาร์เอสมีโอกาสได้ร่วมงานกับผู้สร้างสรรค์งานทั้งใหม่และเก่าได้อย่างเต็มที่" สุทธิพงษ์กล่าว
     
      การเปลี่ยนกติกาการทำงานของอาร์เอสในครั้งนี้ จึงถือเป็นหมากวัดดวงของอาร์เอสในการนำพาธุรกิจเพลงให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง หลังจากผู้บริหารหันไปใส่ใจอยู่กับธุรกิจใหม่ ๆ เกือบทั้งปี อาร์เอสเลือกที่จะยื่นลิขสิทธิ์เพลงอันมีค่าตลอดกาลให้กับศิลปิน นักแต่งเพลง แลกกับการที่ศิลปินดัง ๆ นักแต่งเพลงคุณภาพทั่วทั้งประเทศจะเดินหน้าเข้ามาอยู่ภายใต้บ้านอาร์เอส
     
      รายได้จากธุรกิจเพลง 1,000 ล้านบาทในปีนี้ คงไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญเท่า ยอดฝีมือในวงการเพลงจะเดินเข้าบ้านอาร์เอส ช่วยปลุกธุรกิจเพลงให้เป็นแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ที่หล่อเลี้ยงธุรกิจอื่นให้เติบโต สักกี่คน
     
      จีเอ็มเอ็ม รื้อระบบ Cross-Culture
      เดินหน้าลบพรมแดน พาศิลปินหารายได้ในตลาดอินเตอร์

     
      ในมุมมองของ อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เป้าหมายของศิลปินจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คือการขยายออกไปสร้างตลาดในต่างประเทศ เพราะเขาเชื่อว่า ดนตรี คือศิลปะที่ไร้ซึ่งพรมแดน Cross Culture จึงเป็นแนวทางการบริหารศิลปินที่ค่ายเพลงอันดับ 1 ของประเทศพยายามทำมาตลอด
     
      เกือบ 20 ปีก่อน แกรมมี่มีการขายลิขสิทธิ์เพลงของศิลปินดังอย่าง ธงไชย แมคอินไตย์ หรืออัสนี - วสันต์ โชติกุล ให้กับค่ายเพลงต่างประเทศ มีการออกไปค่ายเพลงที่ไต้หวัน เพื่อหาคนในท้องถิ่นมาปั้นเป็นนักร้องซูเปอร์สตาร์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนรูปแบบในเวลาต่อมาเป็นการส่งนักร้องจากประเทศไทยเข้าไปทำตลาดในไต้หวันแทน โดยนักร้องที่ถือเป็นศิลปิน Cross Culture รุ่นแรก ๆ อย่าง เต๊ะ ศตวรรษ ไชน่าดอลล์ ต่างก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในด้านงานเพลง และงานแสดง
     
      บุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า ถึงวันนี้บริษัทฯ ก็ยังคงมีการพัฒนาธุรกิจเพลงไปตามแนวโน้มทิศทางของวัฒนธรรมไร้พรมแดน เปิดกว้างและขยายตลาดในระดับสากล ทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยมีการให้ความสำคัญในการสร้างศิลปินให้มีความสามารถเพื่อเข้าสู่ทิศทาง เช่น การให้ศิลปินเรียนภาษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะในภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่สามารถขยายเข้าไปได้
     
      ในด้านการผูกความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจจากต่างประเทศที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นช่องทางในการขยายโอกาสการทำตลาดของศิลปินจากประเทศไทย ก็เป็นอีกแนวทางที่บริษัทให้ความสำคัญ บริษัทชื่อดัง อาทิ JYP Entertainment ต้นสังกัดของศิลปินเกาหลีชื่อดัง เรน หรือ Avex Group Holding ค่ายเพลงใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ล้วนแต่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
     
      บุษบากล่าวต่อว่า จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จะมีการเปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจ จากเดิมที่โฟกัสทำตลาดเฉพาะในประเทศ ต่อไปจะเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางตลาดในระดับโลกควบคู่ไปด้วย รวมทั้งมีการเน้นรุกสร้างกระแสนิยมในเทรนด์เอเชีย เนื่องจากมีความพร้อมในการพัฒนาศิลปินตามกระแสนี้ คาดว่าภายในเวลา 3 ปี บริษัทจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการทำ Cross Culture อย่างเต็มที่ได้ โดยเบื้องต้น ศิลปินที่มีความพร้อมในการทำ Cross Culture ที่บริษัทได้เริ่มดำเนินการแล้ว คือ กอล์ฟ-ไมค์ ไอซ์ ศรันยู และเจมส์ เรืองศักดิ์
     
      "เชื่อว่าศิลปินไทย และความพร้อมในการบริหารศิลปินไทยให้ก้าวสู่ตลาดเอเชียได้ เนื่องจากศักยภาพที่ผ่านมา บริษัทมีศิลปินที่มีศักยภาพดี เป็นบริษัทที่มีเอนเตอร์เทนเม้นท์ครบวงจร ทั้งวิทยุ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ นิตยสาร อีเวนต์ ประกอบกับประสบการณ์ที่พัฒนาศิลปินมากว่า 25 ปี มีแพลตฟอร์มธุรกิจเพลงครบถ้วน เมื่อได้พันธมิตรระดับแนวหน้าในเอเชียมาร่วมงาน ก็เชื่อว่า อีกไม่เกิน 3-5 ปี ศิลปินไทยจะประสบความสำเร็จ พร้อมปลุกกระแส T-Trend ในตลาดโลกได้แน่นอน"
     
      เปิดช่องขายตรง ตัดหน้าแผ่นผี
     
      นอกเหนือการมองหาแนวโน้มของตลาดในต่างประเทศ สร้างโอกาสให้กับธุรกิจในระยะยาวแล้ว ในวันนี้ที่ธุรกิจเพลงของจีเอ็มเอ็มยังโฟกัสอยู่ที่ตลาดในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ต้องต่อสู้กับคู่ต่อกรหน้าเก่าที่ทำเอาค่ายเพลงในเมืองไทยแทบพังพาบ เหล่ากองทัพเทปผี ซีดีเถื่อน "อากู๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม จึงมองหาแนวทางในการช่วงชิงตลาด ซึ่งนอกจากการวิ่งเข้าหาช่องทางร่วมสมัยอย่าง การดาวน์โหลด เพลงออนไลน์ แล้ว ในช่องทางหลักที่จีเอ็มเอ็มยังเดินอยู่อย่างแผ่นซีดี ก็มีการขยับเพื่อชิงส่วนแบ่งกลับมาจากธุรกิจนอกกฎหมายเช่นกัน
     
      ยงศักดิ์ เอกปรัชญาสกุล กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจการขายและการตลาด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทมีการทดสอบช่องทางขายตรงสินค้าซีดีมานานกว่า 1 ปี พบว่าเป็นช่องทางที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่ดีช่องทางหนึ่ง ทำรายได้ถึง 35 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา จึงได้แต่งตั้งให้บริษัท เฮอร์มิท แอส เซอร์ทิฟ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายซีดีเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในลักษณะขายตรง หรือการจัดจำหน่ายอิสระ อย่างเป็นทางการ
     
      "ช่องทางการจัดจำหน่ายอิสระ ถือเป็นช่องทางที่มีศักยภาพ เพราะพนักงานขายสามารถอธิบายคอนเซปต์ของเพลงในแต่ละอัลบัมให้ลูกค้าได้อย่างชัดเจน เป็นการให้บริการถึงบ้านที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษา และผู้ว่างงานหารายได้พิเศษจากการขายซีดีเพลง โดยบริษัทฯ จะขยายพื้นที่ออกสู่จังหวัดใหญ่หัวเมือง ขณะนี้เริ่มทดลองตลาดที่สระบุรี และนครราชสีมา พร้อมทั้งจะขยายไปที่เชียงใหม่ และขอนแก่นในเร็ว ๆ นี้ "
     
      จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คาดว่า รายได้จากการขายผ่านช่องทางจัดจำหน่ายอิสระนี้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดในปีนี้ โดยประมาณไว้ที่ 60 ล้านบาท แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสร้างช่องทางตัดหน้าธุรกิจผิดกฎหมาย ที่จีเอ็มเอ็มจะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ก่อนที่ผู้บริโภคจะเดินออกไปซื้อหาซีดีเถื่อนที่วางอยู่บนแผงในตลาดได้
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000094283
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/08/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

กสิกรไทยชี้ธุรกิจโฆษณาครึ่งปีหลังยังไม่ค่อยสดใส

โดย ผู้จัดการออนไลน์
11 สิงหาคม 2550 14:17 น.
 
      ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุธุรกิจโฆษณาครึ่งปีแรก เผชิญปัจจัยลบหลายประการ ทำให้เม็ดเงินโฆษณาในสื่อหลักลดลงร้อยละ 0.48 ด้วยเม็ดเงิน 43,603 ล้านบาทในครึ่งปีแรก พร้อมมองว่าครึ่งปีหลังธุรกิจโฆษณา ยังไม่ค่อยสดใส เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังทรงตัวและสถานการณ์การเมือง แต่ก็มีโอกาสเติบโตได้ร้อยละ 2.-4
     
      บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานถึงภาพรวมธุรกิจโฆษณา ว่าในช่วงครึ่งปีแรก เศรษฐกิจไทยเผชิญกับปัจจัยลบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมือง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ตลอดจนการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้เจ้าของสินค้าและบริการหลายรายต่างบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงการปรับลดค่าใช้จ่ายบางรายการลง โดยเฉพาะการโฆษณาในสื่อหลักที่มีต้นทุนสูง หรือหันมาใช้สื่อที่มีต้นทุนต่ำลงแทน ซึ่งจากรายงานของบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) พบว่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ มีประมาณ 43,603 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งยอดใช้จ่ายที่ลดลงจากครึ่งปีแรกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสื่อหลัก เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อนิตยสารที่มีเม็ดเงินรวมกัน 38,707 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.8 แต่ยอดใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์ และสื่อภายในห้างร้านค้ายังขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปีสวนกระแสภาพรวม โดยช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์มีอัตราการเติบโตร้อยละ 191.3 ขณะที่สื่อภายในห้างร้านค้าเติบโตร้อยละ 125.4 สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มักจะเลือกพักผ่อนด้วยการชมภาพยนตร์ และจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้า หรือดิสเคานท์สโตร์มากขึ้น
     
      สำหรับภาพรวมของธุรกิจโฆษณาในครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าน่าจะเติบโตในระดับเลขหลักเดียวเช่นเดียวกับครึ่งหลังของปี 2548 - 2549 ที่มีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.6 ต่อปี และร้อยละ 4.8 ต่อปี ตามลำดับ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวในครึ่งปีหลัง น่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 2 - 4 เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ยังทรงตัว และสถานการณ์การเมืองที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงนโยบายภาครัฐบางนโยบายที่คาดว่า จะมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าของสินค้าในการจัดสรรงบโฆษณาผ่านสื่อ ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบในด้านบวกต่อกำลังซื้อและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอยู่บ้าง ทั้งในส่วนของเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ หรือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ช่องทางเลือกหรือสื่อที่ใช้ในการโฆษณาก็มีความหลากหลายมากขึ้น และสามารถกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้างยิ่งขึ้นด้วย รวมถึงแรงสนับสนุนจากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงครึ่งหลังปี 2550 เช่น มหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยโลก การรณรงค์การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2550
     
      อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากทิศทางการปรับตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโฆษณาต้องคำนึงในปัจจุบัน การที่ผู้บริโภคคนไทยในแต่ละกลุ่มอายุต่างมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมากขึ้น และมีแนวโน้มจะบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น หรือมีความคุ้มค่าต่อการจับจ่ายเพิ่มขึ้น บรรดาเอเยนซี่ยังจำเป็นต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับการแข่งขันที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งการพัฒนาบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของสื่อยุคดิจิตอล การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยคำนึงถึงพฤติกรรม หรือวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะต้องอาศัยการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการสรรหาช่องทางเลือกใหม่เพื่อเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับสินค้า ขณะที่การหาลูกค้ารายใหม่ ๆ เป็นเป้าหมายรองตามมา และจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารเม็ดเงินโฆษณาของลูกค้าให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์มากที่สุดด้วย ขณะเดียวกันบรรดาสื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อหลักต้องเร่งปรับตัวให้แตกต่างจากคู่แข่งให้ชัดเจนมากขึ้น หรือต้องสร้างเอกลักษณ์ให้กับตนเองให้ได้ ดังนั้นการเข้าถึงผู้บริโภคและการสร้างความแตกต่างหรือการเพิ่มคุณค่าด้านประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง เป็นสิ่งที่เอเยนซี่ และเจ้าของสื่อแต่ละรายต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000094277
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/08/07

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ธุรกิจโฆษณาปี 2550 - 13/8/2550
ธุรกิจโฆษณาปี 2550 : ครึ่งแรกซบหนักแต่ยังพอมีหวังในครึ่งหลัง


ภาพรวมธุรกิจโฆษณาครึ่งแรกปี 2550 : ชะลอตัว
ช่วงครึ่งแรกปีนี้ เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญปัจจัยลบหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การเมือง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตลอดจนการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้เจ้าของสินค้าและบริการหลายราย ต่างพยายามบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยหลากหลายแนวทาง
รวมถึงการปรับลดค่าใช้จ่ายบางรายการลง โดยเฉพาะการปรับลดงบประมาณเพื่อการโฆษณาสื่อหลักที่มีต้นทุนสูง หรือหันมาใช้สื่อที่ต้นทุนต่ำลงแทน ส่งผลต่อเนื่องให้ภาพรวมธุรกิจโฆษณาไทยช่วงครึ่งแรกปีนี้ ชะลอตัว ดังนี้

อัตราขยายตัวของยอดการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อครึ่งแรกปีนี้ ชะลอตัวชัดเจน จากรายงานของบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) พบว่าเม็ดเงินโฆษณาช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ มีค่าประมาณ 43,603 ล้านบาท ลดลง 0.48% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นระดับการเติบโตต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา

หรือแม้กระทั่งเทียบกับอัตราเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาครึ่งแรกปี 2548-2549 ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของยุคซบเซาในธุรกิจโฆษณาเมืองไทย ก็พบว่าอัตราเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาช่วงดังกล่าว ยังขยายตัว 1.9% และ 5.5% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การลดลงของการใช้สื่อโฆษณา 6 เดือนแรกปีนี้เป็นมา ตั้งแต่เดือน เม.ย. ที่ติดลบ 1.9% เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2549 ส่วนเดือน พ.ค. ลดลง 2.2% และเดือน มิ.ย. ลดลง 6.2% ซึ่งก็สอดคล้องกับทิศทางการบริโภคภาคเอกชนโดยรวมของไทย ที่หดตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเติบโตติดลบ 0.25% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนปี 2549 เติบโต 1.7%

สื่อที่มียอดการใช้จ่ายลดลงจากครึ่งแรกปี 2549 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสื่อหลัก เช่น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่มีเม็ดเงินรวมกันครึ่งแรกปีนี้ 38,707 ล้านบาท ลดลง 3.8% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

นอกจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จนเจ้าของสินค้าหลายรายต้องปรับตัวด้วยการลดต้นทุนแล้ว น่าจะมาจากการที่ผู้บริโภคมีทางเลือก หรือมีช่องทางใหม่ๆ ในการรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบกับนโยบายภาครัฐ ที่เข้มงวดมากขึ้นในส่วนการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทำให้ผู้ประกอบการหลายราย หันไปใช้สื่อที่ไม่ใช่สื่อหลัก (Below the line) เพิ่มขึ้นแทน หรือการที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้ปรับเปลี่ยนเวลาการออกอากาศบางรายการทางสื่อโทรทัศน์ ทำให้บรรดาเอเยนซี ผู้จัดรายการ และเจ้าของสินค้า ต่างต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นก่อนตัดสินใจ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในส่วนสื่อนอกบ้านบางสื่อที่น่าจะเติบโตได้ดี เพราะเป็นสื่อที่ราคาไม่แพงมาก อย่างสื่อกลางแจ้ง และสื่อเคลื่อนที่ กลับมีการใช้จ่ายลดลงด้วย 3.5% และ 10.9% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2549 ซึ่งส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นการปรับตัวตามทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่นิยมใช้สื่อกลางแจ้งที่ชะลอตัวช่วงเวลาดังกล่าว

ยอดใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์และสื่อภายในห้างร้านค้า ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สวนกระแสภาพรวม โดยช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์ เติบโต 191.3%

ขณะที่สื่อภายในห้างร้านค้า เติบโต 125.4% ซึ่งก็สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคคนไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ที่มักจะเลือกพักผ่อนด้วยการชมภาพยนตร์ และจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้า หรือดิสเคานท์สโตร์ มากขึ้น

อีกทั้งโรงภาพยนตร์ก็มีการปรับปรุงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพและปริมณฑลด้วย นอกจากนี้ ภาพยนตร์ที่นำเสนอช่วงครึ่งแรกปีนี้ ก็มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ทั้งไทยและเทศ หรือภาพยนตร์ภาคต่อจากฮอลีวู้ด ที่ล้วนได้รับความนิยมจากผู้บริโภคคนไทย

ขณะเดียวกัน สื่อภายในห้างร้านค้าก็ยังสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยได้อย่างใกล้ชิด ส่งผลให้เจ้าของสินค้าหลายรายหันมาโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์และสื่อภายในร้านค้าเพิ่มขึ้นตามลำดับช่วงครึ่งแรกปีนี้

แต่ด้วยมูลค่าเม็ดเงินหมุนเวียนที่รวมกันแล้วมีเพียง 2,244 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5% ของเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมช่วง 6 เดือนแรกปีนี้เท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถผลักดันยอดใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อโดยรวมของครึ่งแรกปีนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้มาก

เมื่อพิจารณายอดการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อแยกรายประเภทสินค้าพบว่า สินค้าดาวรุ่งที่มาแรงช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ คือกลุ่มวัตถุมงคล ที่มีองค์จตุคามรามเทพเป็นดาวเด่น โดยพบว่า หน่วยงานที่จัดสร้างองค์จตุคามรามเทพหลายร้อยพันราย ได้ใช้สื่อโฆษณารวมกันคิดเป็นเม็ดเงินหมุนเวียนมากที่สุดอันดับ 1 ต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือน หรือตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย.

ทำให้ครึ่งแรกปีแรก การโฆษณาผ่านสื่อของกลุ่มวัตถุมงคล ติด 1 ใน 5 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์ที่ใช้สื่อสูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยช่วง 6 เดือนแรก กลุ่มวัตถุมงคลมีการใช้จ่ายงบโฆษณาเป็นอันดับ 2 ด้วยเม็ดเงินรวม 354,178 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 474.9% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

สถานการณ์ธุรกิจโฆษณาครึ่งหลังปี 2550 : คาดกระเตื้องเล็กน้อยท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง
สำหรับภาพรวมของธุรกิจโฆษณาครึ่งหลังปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าน่าจะเติบโตในระดับเลขหลักเดียว เช่นเดียวกับครึ่งหลังของปี 2548-2549 ที่เติบโต 1.6% ต่อปี และ 4.8% ต่อปี ตามลำดับ คาดว่า อัตราขยายตัวครึ่งหลังปีนี้ น่าจะเติบโตประมาณ 2-4%
ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ที่มีผลต่อสถานการณ์ธุรกิจโฆษณาในช่วงดังกล่าว ได้แก่ สถานการณ์การเมือง โดยเฉพาะการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเดือน ส.ค. และการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ ต่อเนื่องจนถึงเสถียรภาพของรัฐบาลหลังเลือกตั้ง
เพราะหากยืดเยื้อ หรือไม่ราบรื่น ก็เป็นไปได้ว่า ความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน ก็อาจจะถดถอยลงได้อีก ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมัน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคพอสมควร
สำหรับด้านค่าเงินบาท ที่คาดว่าจะยังคงแข็งค่าต่อเนื่องครึ่งหลังปีนี้ อาจส่งผลกระทบผู้ประกอบการบางแห่ง ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนต้องเลิกกิจการไป และมีผลต่อกำลังซื้อของแรงงานที่ตกงาน หรือผู้บริโภคภายในประเทศ ได้ระดับหนึ่ง และส่งผลให้เจ้าของสินค้าหลายราย จำเป็นต้องระมัดระวังการใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งนโยบายภาครัฐบางนโยบาย ก็อาจมีผลให้บรรดาเจ้าของสินค้า จำเป็นต้องชะลอการใช้จ่ายผ่านการโฆษณา หรือระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจัดเรตรายการทางโทรทัศน์ หรือความเข้มงวดต่อการโฆษณาขนมเด็กในรายการต่างๆ
นอกจากนี้ ต้องจับตามองด้วยว่า กระแสจตุคามรามเทพ จะครองใจมหาชนได้ต่อเนื่องต่อไปหรือไม่ หลังจากเริ่มมีกระแสข่าวคืนใบจององค์จตุคามรามเทพบางรุ่นกันบ้างแล้ว และกระแสของปลอมระบาด เป็นต้น
ทั้งนี้และทั้งนั้น ยอดใช้จ่ายงบโฆษณาครึ่งหลังปีนี้ น่าจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้บ้างระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการใช้จ่ายงบโฆษณาผ่านสื่อห้างร้านค้า ที่เพิ่มขึ้นตามการขยายสาขาของร้านค้าปลีกสมัยใหม่

การปรับผังรายการของสถานีโทรทัศน์และวิทยุหลายแห่ง รวมถึงการปรับขึ้นค่าโฆษณาของรายการบางรายในสื่อโทรทัศน์

ตลอดจนการมีกิจกรรมพิเศษหลายรายการ เช่น มหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยโลก การรณรงค์การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งทั่วไป ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงครึ่งหลังปีนี้ ที่น่าจะมีการจัดกิจกรรมการตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ พอสมควร
ขณะเดียวกัน ด้วยปัจจัยพื้นฐานระยะยาวของประเทศ ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่อง รวมถึงตลาดหุ้น ก็ยังมีทิศทางค่อนข้างดีขึ้นตามลำดับ น่าจะมีผลให้ความมั่งคั่งในกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ดีขึ้นบ้าง

ขณะเดียวกัน การเลือกตั้ง ที่หากดำเนินการได้ตามกำหนดภายในปีนี้ นอกจากจะนำมาซึ่งอุปสงค์ต่อสื่อโฆษณาที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแล้ว การเลือกตั้ง น่าจะทำให้สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ผ่อนคลายลงระดับหนึ่ง และเป็นผลบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อันจะมีผลให้ผู้บริโภคมีอารมณ์จับจ่ายมากขึ้น และเจ้าของสินค้า ก็น่าจะมีการใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จูงใจผู้บริโภคให้หันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ กันเพิ่มขึ้นตามมา

สรุป
ภาพรวมธุรกิจโฆษณาครึ่งหลังปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า น่าจะเติบโตประมาณ 2-4% หรือยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2548-2549 เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงทรงตัว สถานการณ์การเมืองที่ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงนโยบายภาครัฐบางนโยบาย ที่คาดว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของบรรดาเจ้าของสินค้า ในการจัดสรรงบโฆษณาผ่านสื่อ

ทำให้การเติบโตของค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาครึ่งหลังปีนี้ น่าจะอยู่ในระดับตัวเลขหลักเดียว เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

แต่ขณะเดียวกัน ยังคงมีปัจจัยส่งผลกระทบด้านบวกต่อกำลังซื้อ และพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอยู่บ้าง ทั้งเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่อง รวมถึงตลาดหุ้น ก็ยังปรับตัวค่อนข้างดีขึ้นตามลำดับ
นอกจากนี้ ช่องทางเลือก หรือสื่อที่ใช้โฆษณา ก็มีความหลากหลายมากขึ้น และกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้างยิ่งขึ้นด้วย รวมถึงแรงสนับสนุนจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ช่วงครึ่งหลังปีนี้ เช่น มหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยโลก การรณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งทั่วไป ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงปลายปีนี้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการปรับตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโฆษณา ต้องคำนึงแล้วในปัจจุบัน การที่ผู้บริโภคคนไทยแต่ละกลุ่มอายุ ต่างมีวิถีดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างชัดเจนมากขึ้น และมีแนวโน้มจะบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น หรือมีความคุ้มค่าต่อการจับจ่ายเพิ่มขึ้น

บรรดาเอเยนซียุคปัจจุบัน ยังจำเป็นต้องเร่งปรับกลยุทธ์ เพื่อรองรับการแข่งขันที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนนับจากนี้ ทั้งการพัฒนาบุคคลากร และเครื่องมืออุปกรณ์ ให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของสื่อยุคดิจิตอล
การสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยคำนึงถึงพฤติกรรม หรือวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต้องอาศัยการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการสรรหาช่องทางเลือกใหม่ๆ เพื่อเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับสินค้า เป็นต้น

โดยเป็นไปได้ว่า เป้าหมายหลักของเอเยนซียุคปัจจุบัน น่าจะเป็นการรักษาลูกค้ารายเดิมไว้ให้ได้ ขณะที่การหาลูกค้ารายใหม่ๆ เป็นเป้าหมายรอง และจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารเม็ดเงินโฆษณาของลูกค้า ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์มากที่สุดด้วย
ขณะเดียวกัน บรรดาสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อหลัก ก็ต้องเร่งปรับตัวให้แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ให้ชัดเจนมากขึ้น หรือต้องสร้างเอกลักษณ์ให้ตนเองให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบรายการทางโทรทัศน์/วิทยุ รูปเล่มภายนอกของหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร เนื้อหาสาระของรายการที่นำเสนอ หรือตีพิมพ์ รวมถึงดารา-พิธีกร หรือนางแบบ-นายแบบ

อีกทั้งบุคคลที่นำเสนอในรายการโทรทัศน์ / วิทยุ/หนังสือพิมพ์ /นิตยสาร ก็ต้องเป็นที่ดึงดูด และน่าสนใจต่อผู้บริโภค ทั้งที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดิม และกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ด้วย ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐาน และขยายกลุ่มผู้บริโภคให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อสื่อหันมาใช้บริการเพิ่มขึ้นตามมา

เพราะผู้ซื้อสื่อ หรือเจ้าของสินค้าในยุคเศรษฐกิจทรงตัวเช่นปัจจุบัน ย่อมต้องเลือกสรรสื่ออย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น เพื่อให้สินค้าหรือบริการของกิจการตนเอง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ซึ่งหากสื่อประเภทใด หรือองค์กรใด ครองใจผู้บริโภคได้มากกว่า ย่อมมีโอกาสได้รับความสนใจจากผู้ซื้อสื่อ หรือเจ้าของสินค้า เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การเข้าถึงผู้บริโภค และการสร้างความแตกต่าง หรือการเพิ่มคุณค่าด้านประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง ย่อมเป็นสิ่งที่เอเยนซีและเจ้าของสื่อแต่ละราย ไม่ควรมองข้าม จำเป็นต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขัน ที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในอนาคตอันใกล้ และระยะยาว
siamrath
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179609
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/08/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

หน้าใหม่หาญกล้าลุยนิวมีเดีย เอจ๊อบ-แอสไพเรอร์ส-RSทุ่มทุนสร้าง

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 สิงหาคม 2550 11:03 น.
 
      ธุรกิจนิวมีเดียยังหอมหวน กลุ่มทุนหน้าใหม่หาญกล้าลงกรำศึกด้วย หวังสร้างตลาดใหม่ๆ เฮียฮ้อมั่นใจ ยุคนี้ทุกสื่อล้วนเป็นสื่อหลักหมดขึ้นอยู่กับเหตุผลของการใช้ เอจ๊อบขยายฐานรุกยึดพื้นที่ค้าปลีกใหญ่ผุดสื่อใหม่ ส่วนดิแอสไพเรอร์สเพิ่มฐานใหม่รับสิทธ์ช่วงต่อ คุมบิลบอร์ดของสถานีรถไฟทั่วประเทศ ด้านอาร์เอส เทคโอเวอร์ 4 บริษัทย่อย กุมสิทธิ์บริหารสื่อใหม่ในโมเดิร์นเทรด
     
      ภาพของธุรกิจโฆษณาในทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก ทั้งผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในวงการนี้อยู่แล้วแต่พยายามที่จะกระจายแขนขาทางธุรกิจเพื่อให้ครอบคลุมสื่อโฆษณามากที่สุด ตลอดจน การพัฒนาสื่อในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
     
      เอจ๊อบยึดพื้นที่เซ็นทรัล-สยามฯ
      นายเอธัส มนต์เสรีนุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ จ๊อบ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณาและอีเวนต์ กล่าวกับ ผู้จัดการรายวันว่า ในปีนี้บริษัทฯวางแผนที่จะรุกสู่ธุรกิจสื่อโฆษณามากขึ้น เพื่อเป็นการขยายธุรกิจจากเดิมที่เน้นการรับจัดงานอีเวนต์หรือกิจกรรมเป็นหลัก
     
      เนื่องจากมองว่าธุรกิจสื่อโฆษณามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้โอกาสในการทำธุรกิจมีมากขึ้น ขณะเดียวกันตลาดก็ยังเปิดกว้างอยู่ที่ใครจะสามารถแสวงหาสื่อใหม่และโอกาสในการทำตลาดได้มากกว่ากัน
     
      ทั้งนี้สื่อโฆษณาที่บริษัทฯให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ สื่อเอาท์ออฟโฮม (OHM) หรือสื่อโฆษณานอกบ้าน ซึ่งจะเป็นสื่อแบบใดก็แล้วแต่ที่อยู่นอกบ้าน บริษัทฯจะทำทั้งหมดในสถานการณ์ที่ทำได้ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้านพอๆหรือมากกว่าในบ้านด้วยซ้ำไป
     
      สื่อโอเอชเอ็มเริ่มเติบโตเต็มที่มาเมื่อช่วง 2-3 ปีนี้ และจะยังคงมีการเติบโตต่อเนื่องต่อไปในอนาคต อย่างน่าจับตามอง นายเอธัส กล่าวอย่างมั่นใจ และว่าบริษัทฯเดินมาถูกทางแล้ว
     
      โดยรูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทฯจะพยายามเข้าไปเจรจากับทางเจ้าของพื้นที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน สถานที่ต่างๆ เป็นต้น เพื่อขอสิทธิ์ในการบริหารพื้นที่ทำโฆษณาต่างๆ ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร เช่น ทำเลที่บริษัทฯสามารถเข้าบริหารได้แล้ว เช่น พื้นที่ในส่วนของข้างหน้าทั้งหมดของสยามดิสคัฟเวอรี่ เซ็นเตอร์ และอีกทำเล คือ ลานด้านหน้าของเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งลูกค้าที่ลงโฆษณาที่ผ่านมา เช่น พานาโซนิค ภาพยนตร์ เรื่อง สไปเดอร์แมน เป็นต้น
     
      เอจ๊อบเองพยายามที่จะแสวงหาทำเลใหม่ๆเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการเจรจากับทางเจ้าของพื้นที่หลายแห่ง รวมทั้งกลุ่มเซ็นทรัลที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมว่าจะเข้าไปรับผิดชอบพื้นที่ในสาขาใดบ้าง
     
      ดิแอสไพเรอร์สรุกสื่อป้ายโฆษณา
      ขณะที่ค่ายบริษัท ดิแอสไพเรอร์สกรุ๊ป จำกัด ก็ได้ก้าวข้ามจากผู้ประกอบการสื่อนิตยสารทางด้านไอทีเข้าสู่ธุรกิจการบริหารสื่อโฆษณาแบบใหม่หรือนิวมีเดียอย่างเต็มตัว เนื่องจากมองว่า ธุรกิจนิตยสารทางด้านไอทีที่ทำอยู่นั้นทั้ง 5 หัว รวมกันแล้ว แม้ว่าจะกลายเป็นผู้นำในตลาดเซ็กเมนต์นี้ หากจะทำต่อไปก็คงเติบโตได้ไม่มากนัก เพราะตลาดนิตยสารไอทีเริ่มอิ่มตัว
     
      อีกทั้งผู้บริหารของค่ายนี้ยังประเมินด้วยว่า เม็ดเงินในตลาดสื่อนิตยสารโดยรวมนั้น มีแนวโน้มที่ค่อนข้างจะลดลงในอนาคต เนื่องจากหากมองดูย้อนหลังในช่วงปี 2547 เป็นต้นมา พบว่า เส้นกราฟการใช้เงินโฆษณาในนิตยสารนั้นลดระดับลงมาตลอด
     
      นายวิโรจน์ อัศวรังสี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดิแอสไพเรอร์สกรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ตลาดนิตยสารไอทีถดถอยมาตั้งแต่ปี 2545 ยอดโฆษณาโดยรวมในตลาดหายไป 10-30% อีกทั้งสภาพแวดล้อมเวลานี้เปลี่ยนไปแล้วสื่อประเภทข้อมูลข่าวสารผ่านนิตยสารต้องมองหาที่ยืนใหม่ โดยเฉพาะการเข้าสู่สื่อประเภทอีโมชันนัล หรือนิวมีเดีย
     
      แนวทางการรุกสื่อใหม่ของดิแอสไพเรอร์สนั้น วางไว้ที่ 5 สื่อหลัก คือ 1.สื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ โดยที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ ดิจิแมก (Digimag) ซึ่งไม่ได้เป็นอีบุ๊กแบบเดิมๆที่รู้จักกัน แต่เป็นViral marketing+ebook ที่เน้นไฟล์ขนาดเล็ก ลูกเล่นมากมาย รวมทั้งกลไกพร้อมส่งต่อ หรือแม้แต่การเปิดตัวเว็บไซต์ www.magmareport.com ซึ่งเป็นเว็บที่แนะนำสินค้าและข่าว
     
      2.สื่อออฟไลน์ คือ สื่อที่ทำอยู่ คือ นิตยสาร 5 หัว ซึ่งจะมีการต่อยอดธุรกิจออกไปอีก 3.สื่อออนแอร์ คือ ทีวี วิทยุ ซึ่งปัจจุบันมีเริ่มทำบ้างแล้ว คือ รายการทีวี ไอทีอีเลฟเว่น ทางช่อง 11 ส่วนสื่อวิทยุมีทางคลื่น 101.5 เอฟเอ็ม ทุกวันเวลา 09.00-10.00 น. 4.สื่อออนโมบาย โดยใช้มือถือเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร 5.สื่อโฆษณานอกบ้านหรือเอาท์ออฟโฮมมีเดีย /โอเอชเอ็ม
     
      นายนภพล ใจดี ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจใหม่ ดิแอสไพเรอร์สกรุ๊ป กล่าวว่า จากนี้ไปเทรนด์ของธุรกิจโฆษณาจะต้องก้าวข้ามเทรดดิชันแนล มีเดีย หรือสื่อแบบเก่าๆ ไปสู่นิวมีเดียกันมากขึ้น เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความเจริญทางเทคโนโลยี ผนวกกับการผสมผสานคอนเท้นต์ของสิ่งที่จะนำเสนอให้เกิดความกลมกลืนลงตัว แต่ทว่า สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอสื่อใหม่ๆที่น่าดึงดูดให้มากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย
     
      สำหรับสื่อใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวคือ สื่อโอเอชเอ็ม โดยล่าสุดนี้ทางบริษัทฯเป็นผู้รับสิทธิ์ในการบริหารสื่อโฆษณาในสถานีรถไฟทั่วประเทศ จำนวน 104 สถานี จากบริษัท แอคทีฟ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานในการติดตั้งป้ายโฆษณาบริเวณสถานีรถไฟต่างๆทั่วประเทศ เป็นระยะเวลานาน 3 ปีตั้งแต่ปี 2550
     
      ทั้งนี้ บริษัทฯจะใช้กลยุทธ์การนำเสนอเป็นแพกเก็จไม่ใช่แค่ขายสื่อโฆษณาเหมือนที่ผ่านมา โดยจะมีการจัดเป็นรูปแบบกิจกรรม การนำเสนอคอนเท้นต์ และการเชื่อมโยงกับทางพื้นที่แต่ละแห่งที่ป้ายโฆษณาไปติดตั้ง เช่นการทำอีเวนต์ร่วมกับทางสินค้าหรือลูกค้าในการโปรโมตต่างๆ เช่น การโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆที่มีป้ายติดตั้งไปถึงแต่ละพื้นที่ โดยใช้ตัวสินค้าเป็นตัวนำเรื่อง
     
      ดิแอสไพเรอร์สกรุ๊ป ได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสามารถสะท้อนถึงแนวโน้มการเติบโตของสื่อนิวมีเดียที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างดีว่า ปัจจุบันนี้ ประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 6 ปี มีประมาณ 59.5 ล้านคน มีการใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 15.4 ล้านคน และใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 8.5 ล้านคน แต่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 36 ล้านเครื่อง ขณะที่มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยเมื่อช่วงปี 2548 มีประมาณ 220,000 ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าในปี 25520 นี้จะต้องมีมูลค่าสูงกว่านี้แน่นอน
     
      สำหรับครัวเรือนของไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นก็น่าสนใจไม่แพ้กัน กล่าวคือ คนกรุงเทพฯใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 63% รองลงมาคือภาคกลางที่ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 41.2% ต่อมาคือภาคใต้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 39.9% ตามมาด้วยคนในภาคเหนือใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 35.7% และสุดท้ายคือคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 24.5%
     
      โดยเมื่อเทียบกับคนในประเทศอื่นในเอเชียด้วยกันแล้ว ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ที่มีการใช้เน็ตบรอดแบนด์มากที่สุด เฉลี่ย 63.6% ส่วนอันดับที่หนึ่งคือ ประเทศญี่ปุ่น 93.2% 2.เกาหลี 90.5% 3.ไต้หวัน 90.5% 4.ฮ่องกง 89.6% 5.สิงคโปร์ 78.2% ส่วนจีนอยู่รั้งท้ายสุดที่ 52.6%
     
      อาร์เอสชิมลางสื่ออินสโตร์
      ไม่เว้นแม่แต่กลุ่มบันเทิงรายใหญ่ของไทยอย่างบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ก็ยังไม่อยู่เฉย ทนกลิ่นสื่อนิวมีเดียไม่ได้ ต้องกระโดดเข้าร่วมสมรภูมิด้วย
     
      นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) มองว่า ทุกวันนี้ตลาดสื่อไม่เหมือนเมื่อก่อน มองว่าทุกสื่อคือสื่อหลัก ไม่ใช่เหมือนอดีตที่คนมักมองว่ามีสื่อหลัก สื่อรอง เช่น ทีวี วิทยุ เป็นสื่อหลัก แต่มองพวกสื่อโอเอชเอ็มหรือสื่ออื่นเป็นสื่อรอง ตรงนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีสื่อหลักสื่อรองแล้ว
     
      ผมมองว่า ทุกสื่อเป็นสื่อหลักหมด แต่อยู่ที่ว่า การใช้สื่อนั้นเราจะใช้สื่อไหนมากกว่า เพราะที่สำคัญต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จุดประสงค์และตัวสินค้า เพราะบางครั้งแม้เราทุ่มเทเงินให้กับสื่อทีวีมหาศาล แต่สินค้าไม่ได้วางกระจายทั่วประเทศ ก็เท่ากับศูนย์ไม่มีประโยชน์
     
      ทั้งนี้อาร์เอสได้ผนึกกำลังกับทางกลุ่มผู้ประกอบการสื่อเดิมจำนวน 4 ราย เพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ ชื่อว่า อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จำกัด หรืออาร์เอสไอเอ็ม โดยทางอาร์เอสถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วนอีก 40% เป็นพันธมิตรทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท เอ็กซ์ตรีม เดิมบริหารสื่อในท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต 2.บริษัทโลตัสมีเดียไทยแลนด์ เดิมบริหารสื่อในเทสโก้โลตัส 3.บริษัท บิ๊กโปรโมชั่น
     
      การรุกเข้าธุรกิจสื่อยังทำให้อาร์เอสสามารถที่จะผนึกกำลังกันกับสื่อทีมีอยู่ในมือได้อย่างมีพลัง ทั้งสื่อทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ รวมไปถึงบรรดาศิลปินค่ายเพลงของอาร์เอสเองและค่ายต่างๆ เนื่องจากคอนเท้นต์ที่จะมาผลิตเพื่อป้อนทำให้กับสื่ออินสโตร์นี้ก็จะมาจากการผลิตเองสดๆด้วยส่วนหนึ่งและบางแห่งก็ใช้วิธีอัดเทปเผยแพร่แทน
     
      อาร์เอสวางเป้าหมายว่าปีแรกของการดำเนินงานของ อาร์เอสไอเอ็ม จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท และภายในปีหน้าจะมีรายได้สูงถึง 200 ล้านบาท ทั้งนี้ปีนี้จะมีการใช้งบตลาดประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อสร้างแบรนด์ และงบลงทุนอีก 10 ล้าน เพื่อปรับปรุงระบบงานต่างๆ
     
      นายวิญญลักษณ์ โสรัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอสไอเอ็ม กล่าวว่า หลังจากการร่วมทุนกับทางอาร์เอสแล้ว ส่งผลให้ อาร์เอสไอเอ็ม สามารถถือครองสิทธิ์สัมปทานบริหารสื่อโฆษณาวิทยุใน 4 โมเดิร์นเทรดยักษ์ของไทย รวมกันมากกว่า 540 สาขา คือ เทสโก้โลตัส รวมเอ็กซ์เพรสด้วย บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ท็อปส์
     
      ส่วนการขายโฆษณานั้นก็มีแล้วหลากหลาย แล้วแต่กรณี เพราะขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งที่ลูกค้าซื้อ รูปแบบของสื่อที่จะซินเนอร์ยี่กันกับสื่ออื่นของอาร์เอส เป็นต้น โดยเฉลี่ยเริ่มตั้งแต่ ราคาหลักแสนบาทถึง 2 ล้านบาทต่อเดือน โดยปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการแล้วหลายรายเช่น มาม่า แป้งเย็นตรางู สบู่ดอกบัวคู่ เป็นต้น
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000094684
โพสต์โพสต์