กลุ่มธุรกิจการเกษตรและอาหาร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

กลุ่มธุรกิจการเกษตรและอาหาร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เปิดแผนเจ้าพ่อน้ำเมารุกธุรกิจเกษตร

โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 12:21 น.

ยึดหนองคาย-กัมพูชาปลูกอ้อย-มัน-ปาล์ม-ยาง
นายอนันต์ ดาโลดม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีซีซี อะโกร จำกัด ธุรกิจเกษตรในเครือบริษัททีซีซี ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดเผยว่า แผนการรุกธุรกิจเกษตรตามนโยบายของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกลุ่มบริษัททีซีซีนั้น จะทำในลักษณะอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างครบวงจรทั้งวางแผนการเพาะปลูกและนำผลผลิตมาแปรรูป โดยพื้นที่ใช้เพาะปลูกพืชเกษตรส่วนหนึ่งเป็นที่ดินของนายเจริญ ซึ่งสะสมไว้จำนวนมาก พร้อมทั้งยังได้มีการทำสัญญากับกลุ่มเกษตรกรในลักษณะคอนแทร็ค ฟาร์มมิ่งเพื่อรับซื้อผลผลิตมาแปรรูป โดยพืชเกษตรเป้าหมายที่นายเจริญจะให้ความสำคัญนั้นจะเป็นพืชเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน คือ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

คุณเจริญมีนโยบายที่จะทำเกษตรเป็นอุตสาหกรรมแบบครบวงจรโดยเน้นปลูกเองเป็นหลัก และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรด้วย เพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องผลผลิตการเกษตรขาดแคลน ส่วนตัวผมซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านการเกษตรมาก่อนจะทำหน้าที่ติดต่อกับกลุ่มเกษตรกร เพื่อรับซื้อผลผลิต จากกลุ่มเกษตรกรในลักษณะคอนแทร็ค ฟาร์มมิ่ง ด้วย ซึ่งนโยบายของคุณเจริญต้องการจะมีการกระจายรายได้ สร้างงานสู่ชนบท มีเงินลงทุนในชนบทเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เมืองหลวงเป็นหลัก
http://news.sanook.com/economic/economic_146523.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/06/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ยูเออีพอใจมาตรฐานโรงเชือด-โรงงานแปรรูปไก่ของไทย  
12:00 น.   นายภิรมย์ ศรีจันทร์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี เข้ามาตรวจสอบโรงเชือดและโรงงานแปรรูปไก่ เมื่อวันที่ 4-13 มิถุนายนที่ผ่านมา เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ของยูเออีได้แสดงความพอใจกับมาตรฐานของโรงเชือดและโรงงานแปรรูปไก่ของไทย โดยหลังจากนี้จะนำผลการตรวจสอบไปพิจารณาภายใน 1เดือนและจะแจ้งให้ไทยทราบว่าจะสามารถส่งออกไก่แปรรูปในประเทศยูเออีได้หรือไม่  
http://breakingnews.nationchannel.com/r ... sid=264550
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news18/06/07

โพสต์ที่ 3

โพสต์

พาณิชย์มั่นใจแก้ปัญหาสถานการณ์ราคากุ้งได้  

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2550 16:48 น.



รัฐมนตรีช่วยว่าการพาณิชย์มั่นใจสามารถแก้ปัญหาสถานการณ์ราคากุ้งได้ หลังจากผนึกห้างฯ 7 แห่งจัดงานกุ้งธงฟ้าราคาประหยัด พร้อมโบ้ยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) จากสหรัฐต้นตอดันกุ้งไทยล้นตลาด
     
      นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานเทศกาลกุ้งธงฟ้า ราคาประหยัด ที่ห้างฯ คาร์ฟูร์ สาขาพระราม 4 ว่า กระทรวงฯ มั่นใจว่า การที่ห้างฯ ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ แม็คโคร จัสโก้ คาร์ฟูร์ โลตัส ท็อป บิ๊กซี และฟู๊ดแลนด์ ที่ร่วมจัดงานกุ้งธงฟ้าราคาประหยัดตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา น่าจะทำให้ปัญหากุ้งล้นตลาดลดลง โดยในปีนี้มีปริมาณกุ้งสูงถึง 530,000-550,000 ตัน โดยราคากุ้งที่นำมาจำหน่ายในห้างฯ ถูกกว่าราคาในท้องตลาดทั่วไป เช่น กุ้งขนาด 60-70 ตัว/กิโลกรัม ราคาท้องตลาดปกติที่ 165 บาท/ กก. แต่เมื่อนำมาขายในห้างฯ ราคา จะอยู่ที่ 100-125 บาท /กก. อย่างไรก็ตาม และเมื่อผู้บริโภคช่วยบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยทำให้เกษตรกรขายกุ้งได้เพิ่มขึ้น จากที่ปัจจุบันขายในราคาได้ไม่ถึง 100 บาท/กก.
     
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000069961
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news23/06/07

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อียูนำเข้าไก่ไทยหมักเกลือ-ปรุงสุกรับสิทธิโควตาภาษีแต่ต้องมีใบรับรอง - 23/6/2550

อียูนำเข้าไก่ไทยหมักเกลือ-ปรุงสุกรับสิทธิโควตาภาษีแต่ต้องมีใบรับรอง

สหภาพยุโรปออกระเบียบนำเข้าสินค้าเนื้อไก่ภายใต้ระบบโควตาภาษี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงไทย-อียูในการชดเชยความเสียหาย คาดทำให้ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สหภาพยุโรปได้ออกประกาศระเบียบ EC 616/2007 ลงวันที่ 4 มิ.ย. 2550 กำหนดระยะเวลาปีโควตาการนำเข้าสินค้าเนื้อไก่หมักเกลือและไก่แปรรูปปรุงสุกที่ส่งออกจากประเทศที่3 ไปยังสหภาพยุโรป โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. และสิ้นสุดปีโควตาในวันที่ 30 มิ.ย.ของปีถัดไป โดยประเทศผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว มีผลทำให้สินค้าไก่หมักเกลือและไก่แปรรูปปรุงสุกของไทยที่ส่งเข้าไปยังสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่1 ก.ค. 2550 เป็นต้นไป ภายใต้สิทธิภาษีในโควตาดังกล่าวจะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า(CERTIFICATE OF ORIGIN : C/O) ที่ออกให้โดยกรมการค้าต่างประเทศกำกับการนำเข้าด้วยทุกครั้ง

ซึ่งการประกาศดังกล่าวเป็นไปตามข้อตกลงท่สหภาพยุโรปได้ชดเชยความเสียหายให้ฝ่ายไทยเป็นโควตานำเข้าสินค้าไก่หมักเกลือ(พิกัด 0210 99 39) ปริมาณ 92,610 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 15.4 อัตราภาษีนอกโควตา 1,300 EUR/ตัน และโควตานำเข้าสินค้าไก่แปรรูปปรุงสุก(พิกัด 1602 32 19) ปริมาณ 160,033 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 8 อัตราภาษีนอกโควตา 1,024 EUR/ตัน ซึ่งไทยและสหภาพยุโรปได้มีการลงนามใน Agreed Minutes เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 ที่ผ่านมา หลังจากสหภาพยุโรปได้ดำเนินการภายใต้ข้อ 28 ของความตกลงแกตต์ 1994 ปรับเปลี่ยนระบบการนำเข้าสินค้าเนื้อไก่จากเดิมนำเข้าโดยเสรีเป็นการนำเข้าภายใต้ระบบโควตาภาษีสำหรับการนำเข้าจากประเทศที่ 3
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176425
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news26/06/07

โพสต์ที่ 5

โพสต์

พาณิชย์เลิกคุมส่งออกปลาทูน่า

โพสต์ทูเดย์ เตรียมปลดล็อกส่งออกปลาทูน่า แก้ระเบียบให้ผู้ประกอบการส่งออกได้อิสระ

นางอรนุช โอสถานนท์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) อยู่ระหว่างแก้ไขระเบียบการส่งออกสินค้าปลาทูน่า โดยกำหนดให้ใช้มาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมแทน จากเดิมการส่งออกจะ ต้องมีใบรับรองจากสมาคมที่เกี่ยวข้อง หรือ ผู้ส่งออกต้องเป็นสมาชิกสมาคมปลาทูน่า เท่านั้น ซึ่งการแก้ไขระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้การส่งออกมากขึ้น
การแก้ไขระเบียบดังกล่าว คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแล้ว ก่อนหน้านี้ก็มีสินค้าสับปะรดกระป๋องที่ได้แก้ไขระเบียบลักษณะเช่นนี้ไปแล้วเช่นกัน โดยจะเป็นผลดีกับ ผู้ส่งออกไทย เพราะสถานการณ์การค้าได้เปลี่ยนแปลงไปมาก
ดังนั้น การแข่งขันควรเป็นไปอย่างอิสระ ต้องพยายามลดข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค ทางการค้าของภาคเอกชนในประเทศให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในการหารือร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปนั้น สมาคมแสดงความเป็นห่วงเรื่องที่จะแก้ไขระเบียบการส่งออกสับปะรดนอกราชอาณาจักร ที่จะเริ่มใช้ก่อนระเบียบการส่งออกสินค้าปลาทูน่า โดยกำหนดให้สำนักงานมาตรฐานการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (สมอ.) เข้ามาทำหน้าที่ดูแลมาตรฐานสินค้าส่งออกสับปะรดกระป๋องแทนสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง

http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=174839
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news28/06/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

โลกร้อนดันส่งออกพุ่ง

โพสต์ทูเดย์ โลกร้อน อุ้มส่งออกกลุ่มอาหารไทยปี 50 โต 7.5% มูลค่า 6 แสนล้านบาท แม้เจอผลกระทบค่าบาทแข็งมาตรการทางการไม่ใช่ภาษี

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เผยถึงการคาดการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหารว่า แนวโน้มการส่งออกกลุ่มอาหารภาพรวมของไทยปี 2550 จะขยายตัว 7.5% มูลค่าส่งออก 6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่มีมูลค่า 5.6 แสนล้านบาท โดยเฉพาะสินค้าอาหารในกลุ่มเกษตร 6 รายการ เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง ผลไม้สด/แห้ง ผักสด/แห้ง น้ำมันปาล์ม คาดว่าจะมีการขยายตัวดี
ทั้งนี้ เป็นผลจากผลการผลิตเกษตรทั่วโลกขาดแคลน จากปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดภัยธรรมชาติ ทำให้ช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) 2550 การส่งออกสินค้า 6 รายการ ในด้านปริมาณขยายตัว 49% ขณะด้านมูลค่าขยายตัว 38.3% หรือส่งออกมูลค่า 8.8 หมื่นล้านบาท
ขณะที่สินค้ากลุ่มอาหารแปรรูปสำคัญ 5 รายการ ได้แก่ กุ้ง ทูน่ากระป๋อง ไก่ ผลไม้กระป๋อง ปลาหมึก ผักกระป๋อง ช่วง 5 เดือนแรกขยายตัวรวม 1.2% มูลค่าส่งออก 8.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพียงเล็กน้อย เพราะผลกระทบค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ปัญหาขาดแคลน วัตถุดิบ และแรงงาน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง กล่าวว่า หากแยกเป็นรายการสินค้า พบว่าการส่งออกกุ้งมีอุปสรรคมากสุด เพราะ ต้องเจอมาตรการทางการค้าไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี) จากประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลียออกร่างวิเคราะห์ความเสี่ยงของการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง ที่จะไม่อนุญาตนำเข้ากุ้งสดจากทุกประเทศ โดยจะอนุญาตให้นำเข้ากุ้งต้มสุกที่ผ่านการต้มอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียสเท่านั้น คาดจะมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้ ทำให้การส่งออกกุ้งไปตลาดออสเตรเลียลดลง และเมื่อมาตรการนี้มีผลบังคับใช้ ไทยคงไม่ส่งออกกุ้งไปออสเตรเลีย เพราะเงื่อนไขทำได้ยาก
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175266
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news02/07/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ไม่เปลี่ยนท่าที ยื่นฟ้องสหรัฐ ตีกันนำเข้ากุ้ง

โพสต์ทูเดย์ พาณิชย์ ปัดข้อเสนอเอกชน แยกฟ้องสหรัฐ ประเด็น ซีโร่อิ้งและซี-บอนด์

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า การยื่นฟ้องสหรัฐต่อองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ในประเด็นเรียกวางเงินค้ำประกันสินค้ากุ้ง (ซี-บอนด์) กับประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) จะดำเนินการร่วมกับประเด็นการคิดคำนวณอัตราภาษีเอดีแบบซีโร่อิ้ง
การทำงานจะไม่มีการแยกฟ้องตามที่สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเสนอมา เนื่องจากเห็นว่าการฟ้องร่วม ไทยจะได้ประโยชน์มากกว่า อีกทั้งกระบวนการฟ้องร้องก็ได้อยู่ในขั้นตอนการไต่สวนของดับบลิวทีโอแล้ว
สำหรับประเด็นซีโร่อิ้ง คงไม่ต้องเป็นห่วง เพราะดับบลิวทีโอก็ตัดสินแล้วว่าสหรัฐทำผิดกฎระเบียบ เหลือแต่ซี-บอร์ดที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ด้านความคืบหน้าการไต่สวนของคณะลูกขุนดับบลิวทีโอ ขณะนี้ได้เรียกไทยไปให้ข้อมูลแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งไทยก็ได้เสียงสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ทั้งสหภาพยุโรป (อียู) และอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียก็ยื่นฟ้องสหรัฐต่อดับบลิวทีโอในประเด็นเดียวกับไทย คาดว่าผลการตัดสินจะสรุปผลได้ภายในกลางปี 2551
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หากมีการแยกฟ้องระหว่างประเด็นซีโร่อิ้งและ ซี-บอนด์ กลุ่มที่จะได้รับประโยชน์มีเพียงผู้ประกอบการรายใหญ่ เท่านั้น ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องการให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176051
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/07/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คาดJTEPAเริ่มใช้จริงต.ค.นี้ยันเกษตรไทยได้ประโยชน์

3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 14:02:00

รองโฆษกกระทรวงเกษตรฯ เผย JTEPA จะเริ่มมีผลใช้ในทางปฏิบัติประมาณเดือนตุลาคมนี้ โดยขณะนี้ ทั้งไทย-ญี่ปุ่น อยู่ระหว่างกลับมาแก้กฎหมายต่าง ๆ ให้สอดคล้อง แล้วจะเริ่มใช้พร้อมกันต่อไป ด้าน สศก.ห่วงสินค้าเกษตรไม่ได้คุณภาพ แนะสหกรณ์เร่งผลักดัน supply chain

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :      นายพินิจ กอศรีพร ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองโฆษกกระทรวงเกษตรฯ กล่าวในการสัมมนาเรื่อง JTEPA ให้อะไรกับเกษตรกร ว่า JTEPA รัฐบาลไทยลงนามกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มใช้ในทางปฏิบัติ โดยอยู่ในขั้นตอนที่ทั้ง 2 ประเทศจะกลับไปแก้ไขกฎหมาย กฎกระทรวง หรือระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องเอื้อต่อความตกลง JTEPA ซึ่งเข้าใจว่าทางญี่ปุ่นจะดำเนินการเสร็จก่อนไทย โดยเมื่อดำเนินการเสร็จพร้อมแล้ว 2 ประเทศก็จะเริ่มให้มีผลใช้พร้อมกัน ทั้งด้านเกษตรและด้านอื่น ๆ คาดว่าภายในเดือนต.ค.นี้

    ด้านนายกนก คติการ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวยืนยันว่า JTEPA ด้านการเกษตร จะทำให้เกษตรกรไทยได้ประโยชน์แน่นอน ทั้งด้านการแข่งขันและการส่งออก แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขที่ชัดเจนได้ อย่างไรก็ตาม ที่ห่วงคือเกษตรกรไม่มีสินค้าที่ได้คุณภาพส่งไปจำหน่าย จึงเห็นว่าควรเร่งส่งเสริมเรื่องห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ของเกษตรกรให้มีศักยภาพความเข้มแข็ง ตั้งแต่ขั้นการผลิต จนถึงพ่อค้าที่รับซื้อเพื่อส่งออก

    ผลไม้ภาคตะวันออกที่มีปัญหาราคาตกต่ำ ไม่มีตลาด เป็นเพราะไม่มีการพิถีพิถันเรื่องคุณภาพ ถ้าใครตั้งใจทำให้มีคุณภาพ ก็จะได้ราคาดี และขายได้หมด เพราะความต้องการยังมีอีก แต่ที่ญี่ปุ่นจะเน้นเรื่องคุณภาพมาก เขายินดีจ่ายเงินซื้อคุณภาพ ทั้งนี้ ให้สหกรณ์ไทยรวมตัวกันให้เข้มแข็ง จะเป็นกลไกสำคัญให้เกิดห่วงโซ่อุปทานที่มีศักยภาพ ซึ่งภายใต้ JTEPA นี้ก็จะมีความร่วมมือในส่วนนี้มากขึ้นด้วย นายกนก กล่าว

    สำหรับ JTEPA หรือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในภาคเกษตรนั้น มีทั้งการเปิดตลาดสินค้ายกเลิกหรือลดภาษี หรือให้โควตาลดภาษีแก่กันในสินค้าเกษตรหลายชนิด ร่วมกับความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร กับด้านสหกรณ์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82151
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news05/07/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

บี้อียูเปิดเสรีทูน่ากระป๋อง

โพสต์ทูเดย์ ไทย ดันอียูเปิดเสรีนำเข้าทูน่ากระป๋องภายใต้กรอบเอฟทีเออาเซียน หวั่นชวดโควตานำเข้า

นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์พยายามจะผลักดันให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋องเข้าสู่บัญชีลดภาษี ภายใต้กรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (อียู)

ทั้งนี้ คาดว่าอียูจะไม่ต่ออายุการชดเชยโควตานำเข้าสินค้าดังกล่าวตามที่ไทยร้องขอ ซึ่งจะหมดระยะเวลาการได้ชดเชยโควตาในวันที่ 31 ธ.ค. 2550

หลังจากที่อียูตกลงเอฟทีเอกับประเทศในกลุ่มเอซีพี (แอฟริกัน แคริบเบียน และแปซิฟิก) สำเร็จในปลายปีนี้เช่นกัน ทำให้อียูไม่จำเป็น ต้องให้การชดเชยโควตากับไทยอีก เพราะไม่ผิดต่อระเบียบองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ)

กรณีหากไทยไม่ได้รับการชดเชยโควตาปลาทูน่ากระป๋อง จะทำให้ไทยกลับไปเสียภาษีนำเข้า 24% จากเดิมที่ไทยได้โควตาสินค้าดังกล่าว 2.75 หมื่นตัน ภาษีในโควตา 12% และนอกโควตา 24%

อย่างไรก็ดี ปัญหาในเรื่องโควตาคงไม่ทำให้ไทยเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดอียูมากนัก เพราะ ปกติทุกปีไทยจะมีการส่งออกโควตาปลาทูน่ากระป๋องไปอียูเกินโควตาอยู่แล้ว หรือเฉลี่ยส่งออกปีละ 4-5 หมื่นตัน แต่ก็ต้องผลักดันให้ไทยได้ภาษี โควตากลับคืนมาจากเอฟทีเอที่อาเซียนจะทำกับอียู

ขณะที่ความเคลื่อนไหวผู้ส่งออกกลุ่มปลาทูน่าไทยนั้น ได้เข้ามาร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเจรจากับอียู เพื่อขอขยายโควตาส่งออกเนื้อทูน่าแทน จากปี 2549 ที่ไทยได้โควตาส่งออกไปอียู 5 พันตัน ภาษีในโควตา 6% เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่ได้โควตาเพียง 4 พันตัน ภาษีในโควตา 6% เช่นกัน

ทั้งนี้ เอกชนต้องการให้อียูเพิ่มโควตาเนื้อปลาทูน่าให้มากขึ้น คาดว่า อียูจะยอมเพิ่มโควตาให้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่อียูขาดแคลนอยู่เหมือนกัน และหากทางอียูยอมเพิ่มโควตาให้ไทยในส่วนนี้แทน ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันสินค้าในกลุ่มปลาทูน่าไทยไปยังตลาดอียูได้เปรียบประเทศอื่นมากยิ่งขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176750
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news06/07/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

บริการโฉมใหม่ ตรวจอุตฯอาหาร 1ครั้ง3ใบรับรอง

โพสต์ทูเดย์ เอสจีเอส จัดแพ็กเกจตรวจครั้งเดียว รับรองมาตรฐานอาหารได้ 3 มาตรฐาน ลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 40%

นางบุญฉวี เชื้อศิริวัฒน์ ผู้จัดการแผนกฟู้ดแอนด์โซเชียล เซทิฟิเคชัน บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้เปิดให้บริการตรวจรับรองระบบมาตรฐานแบบครั้งเดียว หรือ Single Food Audit Pack สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตอาหาร ที่ขอรับรองตั้งแต่ 2 ระบบมาตรฐานขึ้นไป เนื่องจากบริษัท เล็งเห็นว่ามาตรฐานส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่เหมือนหรือ ซ้ำซ้อนกันอยู่
ระบบดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก เนื่องจากที่ผ่านมาการขอรับรองระบบต้องแยกทำทีละระบบ แต่เมื่อนำระบบนี้มาใช้ ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารสามารถขอรับรองระบบได้หลายมาตรฐานในครั้งเดียว ทั้ง ISO GMP และ HACCP เป็นต้น
ระบบแพ็กเกจช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 30-40% จากเดิมค่าใช้จ่ายการแยกรับรองเฉลี่ยแต่ละมาตรฐานราคาอยู่ที่ 7-8 หมื่นบาท สำหรับโรงงานขนาดกลาง และช่วยประหยัดเวลาเตรียมข้อมูลด้วย
ในอนาคต เอสจีเอส จะคิดค้นการรับรองระบบมาตรฐานใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น มาตรฐานสำหรับผู้ผลิตสินค้าป้อนห้างค้าปลีกในต่างประเทศขณะนี้ เอสจีเอส ให้การรับรองระบบ Single Food Audit Pack แก่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารไปแล้ว 20 แห่ง คาดว่าภายในสิ้นปี จะให้การรับรองทั้งสิ้น 80 แห่ง ปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว

สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ส่งผลต่อผู้ประกอบการที่เข้ามาขอรับรองระบบ เนื่องจากการรับรองเป็นระบบที่ต้องทำต่อเนื่องและไม่สามารถหยุดได้ แต่อาจมีผู้ประกอบการขนาดเล็กบางรายที่ต้องชะลอไว้ก่อน ซึ่งแต่ละปีบริษัทให้การรับรองมาตรฐานต่างๆ กว่า 1 พันแห่ง และเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 แห่งต่อปี นางบุญฉวี กล่าว m        
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176960
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/07/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ไทยส่อแววหลุดท็อปเท็นผลิตไก่ +อาร์เจนติน่า รัสเซีย ญี่ปุ่นแซงหน้า/ผวามะกัน บราซิลดัมพ์ตลาดแข่ง  
3ตลาดใหญ่นำเข้าไก่เพิ่มกำลังผลิต อาร์เจนติน่า รัสเซีย ญี่ปุ่น แซงขึ้นหน้าประเทศไทย เผยปริมาณที่เพิ่มส่วนใหญ่บริโภคในประเทศ จับตาสหรัฐ-บราซิล ผู้ผลิตรายใหญ่ดัมพ์ราคาแข่งไทยในตลาดญี่ปุ่น อียู สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกฯรับมือ เตรียมโปรโมตสินค้าไก่แปรรูปไทยผ่านงานอนูก้าเจาะตลาดอียูเพิ่ม ลุ้นยูเออีรับรองมาตรฐานฮาลาล หวังเจาะตลาดใหม่ 6 ประเทศอ่าวอาหรับ
นางพรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ปี 2550 อาร์เจนติน่า รัสเซีย และญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้าไก่รายใหญ่ได้แซงหน้าประเทศไทยขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับ 7,8 และ9 ของโลกตามลำดับ (จากปี 2549 ไทยอยู่อันดับ 7 ปีนี้ตกมาอยู่อันดับ 10 โดยมีสหรัฐอเมริกา จีน และบราซิล เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ 3 อันดับแรกของโลกตามลำดับ) โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นของทั้ง 3 ประเทศ ส่วนใหญ่ยังเพื่อบริโภคในประเทศ แต่คาดว่าไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากหากสหรัฐอเมริกา และบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตไก่สดรายใหญ่ไม่สามารถส่งออกสินค้าเข้าไปยัง 3 ตลาดที่มีผลผลิตไก่เพิ่มขึ้นมากได้ สหรัฐและบราซิลอาจจะส่งสินค้าไปดัมพ์ราคาในตลาดหลักของไทย(ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่แปรรูป(ไก่ปรุงสุก)ของไทยได้ซึ่งคงต้องจับตามองกันต่อไป
อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นรองรับผลกระทบการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทางสมาคมมีแผนที่จะไปโปรโมตสินค้าไก่แปรรูปของไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดสหภาพยุโรป(อียู)ให้มากขึ้น โดยระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคมศกนี้จะนำสมาชิกเข้าร่วมงาน Anuga 2007 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ประเทศเยอรมนี เป้าหมายเพื่อแนะนำสินค้าไก่แปรรูปของไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ทั้งในแง่ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการผลิต และความปลอดภัยเพื่อสร้างฐานลูกค้าในอียูให้มากขึ้น
นอกจากนี้จากการที่ผู้แทนจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี)ได้เข้ามาตรวจระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลโรงงานไก่ของไทยระหว่าง 4-13 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดทางยูเออีอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้การรับรองมาตรฐานฮาลาลของไทยหรือไม่ หากได้รับการรับรองไทยจะสามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในยูเออี รวมถึงในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับอีก 5 ประเทศที่ยูเออีเป็นสมาชิกได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย โอมาน กาตาร์ บาห์เรน และคูเวต ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2232
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news08/07/07

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ธุรกิจน้ำผลไม้แข่งเดือด+มาลี /แบร์รี่/ทรอปิคานา เร่งสร้างแบรนด์ ชิงส่วนแบ่งตลาด  
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:50 น.

ตลาดน้ำผลไม้ 25% เครื่องร้อน เร่งสร้างแบรนด์ ชิงส่วนแบ่งตลาด 5,400 ล้าน มาลี ผู้นำตลาด ลุยออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มความหลากหลายให้ผู้บริโภค ขณะที่เบอร์รี่ เร่งสร้างตลาด เพิ่มรสชาติน้ำผลไม้ใหม่ ตั้งเป้าถึงสิ้นปีเพิ่มอีก 3 รสชาติ ด้านเป๊ปซี่ เจ้าของน้ำผลไม้ทรอปิคาน่า ทวิส ขอเวลาศึกษาปรับกลยุทธ์ หลังศึกษาจุดอ่อนจุดแข็ง
นางสาวสุวรรณา โชคดีอนันต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตราผลิตภัณฑ์ กลุ่มบริษัทมาลีสามพราน เปิดเผย ฐานเศรษฐกิจ ว่า บริษัทมีนโยบายทำกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งในส่วนสินค้าที่มีอยู่เดิม และผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งล่าสุดได้มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ Self+ น้ำผลไม้แนวคิดใหม่ที่ยังคงต้องตอกย้ำให้เกิด Awareness ในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย รวมไปถึงการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของ มาลี ที่เป็นผู้รู้ดีเรื่องผลไม้

ปีนี้เราให้ความสำคัญค่อนข้างมากกับการสร้างแบรนด์ เนื่องจากการที่มาลีได้ห่างหายไปในการทำกิจกรรมทางการตลาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การสื่อสารทางการตลาด และ กิจกรรมต่างๆ มีผลในการตอกย้ำแบรนด์มาลี ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค และยังเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครู้จักดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะในตลาดน้ำผลไม้ที่มีแบรนด์หลักๆ ไม่กี่แบรนด์ นางสาวสุวรรณากล่าวและว่า สำหรับการทำกิจกรรมนั้น บริษัทให้ความสำคัญกับการจับมือกับพันธมิตร ซึ่งแนวทางดังกล่าวบริษัทเริ่มทำมาตั้งแต่ต้นปี และคงมีมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นดีแทค นิตยสาร Honeymoon travel และล่าสุด ยังได้ร่วมกิจกรรมกับบัตรเครดิต KTC และยังจะมีพันธมิตรอื่นๆ เพิ่มอีกในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ปัจจุบันมาลีมีผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้กลุ่ม Medium ซึ่งมีการแนะนำ Juice Mix น้ำผลไม้ที่เป็น Dual mix น้ำผลไม้ 2 รสชาติผสมกันเป็นการ Relaunch แทน Malee Teen UHT เพื่อให้มีความชัดเจนในแง่ของ Positioning ของสินค้าและ Self+ น้ำผลไม้แนวคิดใหม่ ที่ให้ประโยชน์เฉพาะด้านโดยเป็นคุณประโยชน์ที่ได้จากผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบหลัก เราไม่ได้มีการดึงรสชาติใดออกจากตลาด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับภาพ และ Relaunch ในขณะที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นดังได้กล่าวไปแล้ว

สำหรับผลกระทบ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก ส่งผลให้การจับจ่ายของผู้บริโภคลดลง แต่ไม่ถือว่ามีผลกระทบที่รุนแรงสำหรับตลาดน้ำผลไม้ เนื่องจากตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และทางบริษัทมีแผนงานรองรับการรักษาการเติบโตให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ โดยบริษัทมีนโยบายการขยายช่องทางใหม่ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะในต่างประเทศ น้ำผลไม้มาลีได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคดีมาก ซึ่งคงจะมีการทำการตลาด Local marketing กิจกรรมในประเทศหลักๆ ในแต่ละโซนมากขึ้น

ในแง่ของการแข่งขัน ตลาดน้ำผลไม้ที่มีการแข่งขันสูง ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มน้ำผลไม้เปอร์เซ็นต์ต่ำกว่า 25% ในขณะที่กลุ่ม Premium 100% มีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในร้านค้ามากขึ้นในทุกแบรนด์ สำหรับน้ำผลไม้มาลี มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มน้ำผลไม้ Pasteurized 100% ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคในทุกรสชาติด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 3 รสชาติ ได้แก่ น้ำส้มฟลอริดา แครนเบอรี่ และ มะเขือเทศผสมน้ำผักผลไม้รวม สำหรับคนที่อยากได้ประโยชน์จากมะเขือเทศแต่ไม่ชอบรสชาติ

ด้านบริษัท ซาน มิเกล มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายน้ำผลไม้ตราสินค้า แบร์รี่ ซันเบลสท์ ซึ่งเป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่มกลุ่ม 40% ได้เปิดตัวน้ำผลไม้ มิกซ์เบอร์รี่ ซึ่งเป็นน้ำผลไม้รวม ทั้งน้ำองุ่นแดง น้ำสตอเบอร์รี่ และน้ำราสเบอร์รี่ มีรสชาติเหมือนน้ำผลไม้ 100% เพื่อสนองตอบผู้บริโภคที่เอาใจใส่สุขภาพ ทั้งกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา และกลุ่มคนทำงาน โดยเริ่มวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ทเท่านั้น

นางจิราวรรณ อัศวาณิชย์ ผู้จัดการเครื่องดื่มนอลแอลกอฮอล์ บริษัท ซาน มิเกล มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เบอร์รี่เตรียมออกน้ำผลไม้รสชาติใหม่อีก 3 รสชาติในปีนี้ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่ชอบความแปลกใหม่ แบร์รี่เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้สามารถเติบโตขึ้นและครองตลาดได้ไม่ต่ำกว่า 10% เพราะตลาดน้ำผลไม้ 100% มีราคาค่อนข้างแพงและตลาดน้ำผลไม้ 40% มีคู่แข่งน้อย จึงนับเป็นโอกาสที่ดี นอกจากนี้อีก 2-3 ปี ข้างหน้าเบอร์รี่มีแผนที่จะทำผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เข้าสู่ตลาดประเทศไทย เช่น ไอศครีม แป้งพิซซ่า ฮอทดอก และอื่นๆ ทั้งนี้ เพราะเบอร์รี่ประสบความสำเร็จในประเทศออสเตรเลียมาแล้ว ด้วยยอดขายน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพอันดับ 1 รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ด้วย

ขณะเดียวนายชาลี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เป๊ปซี่ -โคลา (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า น้ำผลไม้ทรอปิคาน่า ทวิส ซึ่งบริษัทนำออกมาทำตลาดตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ขณะนี้อยู่ในช่วงการศึกษาตลาด และปรับนโยบายการตลาดใหม่ โดยมีการศึกษาถึงจุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่อีกครั้ง

น้ำผลไม้มีมูลค่า 5,400 ล้านบาท แบ่งเป็นตลาดพรีเมียมหรือตลาดน้ำผลไม้ 100% มูลค่า 2,900 ล้านบาท มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 15% โดยที่มาลีมีส่วนแบ่งตลาด 16% ส่วนแบรนด์อันดับหนึ่งคือ ทิปโก้มีส่วนแบ่ง 27% ตลาดมีเดียมมีมูลค่าตลาด 500 ล้านบาท เติบโต 15% และตลาดอีโคโนมี มีมูลค่าตลาดประมาณ 2,000 ล้านบาท เติบโต 18%
 http://news.sanook.com/economic/economic_153205.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

ผลกระทบจากค่าเงินบาท09/07/07

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผลกระทบจากค่าเงินบาท
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์เคทีบี จำกัด กล่าวว่าแม้ว่าในไตรมาส 3/2550 จะเป็นช่วงที่มีการส่งออกสูงสุดในรอบปี แต่ในปีนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าอีกครั้ง แม้จะไม่ผันผวนเท่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ถือว่ามีผลกระทบต่อกำไรขั้นต้นของบริษัทอุตสาหกรรมอาหาร และเกษตร โดยเฉพาะบริษัทที่มีต้นทุนภายในประเทศเป็นหลักและมีรายรับเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้บริษัทที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการแข็งค่าของเงินบาทในกลุ่มดังกล่าวคือบริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) TUF เพราะมีการนำเข้าสินค้าทุนในสัดส่วนใกล้เคียงกับสัดส่วนในประเทศ ส่วนบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) CPF และบริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) CFRESH จะได้รับผลกระทบมากกว่าเพราะมีต้นทุนภายในประเทศสูง

http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 601&ch=225
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

บาทแข็ง ส่งออกข้าวเริ่มถดถอย คาดปีนี้ต่ำกว่าเป้าสูญ2หมื่นล้าน  

โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:18 น.
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวภายหลังประชุมแผนการตลาดข้าวระหว่างสมาคมกับนางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่า ได้ชี้แจงให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับทราบว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกข้าวได้รับผลกระทบอย่างหนักและขาดทุนจากการส่งออกข้าวแล้ว จากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมนี้ เป็นครั้งแรกในรอบปีที่อัตราส่งออกข้าวถดถอย และเชื่อว่าเป้าหมายส่งออกข้าวทั้งปี 2550 ตั้งไว้ 8.5 ล้านตัน หรือมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท น่าจะลดลงเหลือ 8 ล้านตัน เท่ากับไทยต้องสูญเสียรายได้จากส่งออกข้าว 20,000 ล้านบาท
ราคาข้าวในประเทศนั้นไม่ได้ขยับ ข้าวเปลือกยังเกวียนละ 6,600-7,000 บาท แต่เมื่อส่งออกและแปลงเป็นเงินบาทเราขาดทุน ปัญหาขนส่งทางเรือและอัตราค่าระวางสูงทำให้ต้นทุนส่งออกข้าวไทยสูงกว่าเวียดนามมาก จากต้นปีราคาส่งออก (เอฟโอบี) ข้าวขาว 100% ปรับขึ้นจากตันละ 315 เหรียญสหรัฐ เป็น 350 เหรียญสหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวหอมมะลิขึ้นจากตันละ 510-520 เหรียญสหรัฐ เป็น 610-620 เหรียญสหรัฐ ซึ่งปัญหาค่าบาททำให้ราคาข้าวไทยแข็งค่ากว่าเงินดองของเวียดนามกว่า 20% บางรายมีการโค้ดราคาขายตั้งแต่บาท 35-36 บาทก็มี ตอนนี้เหลือ 33-34 บาทจะเหลือกำไรอะไร นายชูเกียรติกล่าว

นายชูเกียรติกล่าวว่า ได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือเรื่องการลดต้นทุนผู้ส่งออก เช่น ปรับลดค่าตู้คอนเทนเนอร์ ที่การท่าเรือไทยเก็บตันละ 2,000 บาท ขณะที่เวียดนามเก็บตันละ 100 บาทเท่านั้น
http://news.sanook.com/economic/economic_156176.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ระดมสมองอุตฯอาหารรับมือบาทแข็ง
โพสต์ทูเดย์ เรียกเอกชนถก แผนรับมือค่าเงินบาท ป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ปิดโรงงานเหมือนสิ่งทอ


นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า เตรียมหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หอการค้าไทย และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ถึงผลกระทบที่ได้รับจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เพื่อหาทางออกและรับมือ เพราะ 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) อุตสาหกรรมอาหาร ของไทยสูญเสียรายได้จาการส่งออกในรูปของเงินบาทไปแล้ว 4 พันล้านบาท
ที่ต้องเรียกเอกชนมาหารือ เพราะต้องการเตรียมพร้อมรับ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของ ค่าเงินได้ทัน เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารมีการจ้างแรงงานถึง 55% ของแรงงานทั้งประเทศ และเกี่ยวข้องกับประชาชนตั้งแต่การปลูกจนถึง การส่งออก ไม่อยากเห็นโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในประเทศต้องปิดตัว หรือเลิกจ้างงานเหมือนโรงงานสิ่งทอที่เพิ่งเกิดขึ้น นายยุทธศักดิ์ กล่าว
มาตรการที่จะนำมาใช้ จะมี ทั้งมาตรการระยะสั้น คือส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนการผลิต และผลิตสินค้าที่สร้างความแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง
ระยะยาวต้องมีการหาตลาดใหม่ๆ ในการส่งออกอาหาร ซึ่งตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ รัฐบาลต้องมีการเจรจาขายสินค้าในรูปแบบรัฐบาล ต่อรัฐบาล (จีทูจี) ในประเภทสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงมุ่งเน้นการผลิตสินค้าในกลุ่มที่ไทยมีศักยภาพ เช่น อาหารฮาลาล
ในปีงบประมาณ 2551 สถาบันอาหารจะจัดทำมาตรฐาน GMP และ HACCP ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ส่งออกนำร่อง 250 โรงงาน เนื่องจากขณะนี้มีโรงงานอาหาร ทั่วประเทศ 9,416 โรงงาน แต่มีโรงงานที่ผ่านการรับรอง GMP เพียง 1 พันโรงงานเท่านั้น
ด้านนายรณชัย ชัยบัตร์ รองประธานบริษัท เอเชีย เอทเซททรา (Asia etc) กล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยควรส่งอาหารเข้าไปเจาะตลาดชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นตลาดอาหาร ที่มีมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดกลุ่มนี้มีกฎระเบียบนำเข้าชัดเจน สินค้ามีกำไรต่อหน่วยสูง และนิยมสั่งสินค้าผ่านผู้นำเข้า
สินค้าหลักๆ ที่มีศักยภาพ คือสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือออแกนิกส์ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และกลุ่ม ซอสสำเร็จรูป พริกแกง เครื่องปรุง ชุดผัดไทย หาซื้อได้ยากในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทั่วไปที่ส่งมาจากจีน อินเดีย มูลค่าตลาดแต่ละปีสูงถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือตลาดโตปีละกว่า 10% ต่อปี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178444
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/07/07

โพสต์ที่ 16

โพสต์

โรงงานสับปะรดกระป๋องโอดบาทแข็งขาดทุนหนัก

นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังตรวจเยี่ยมและติดดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดของ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ว่าผู้ประกอบการโรงงานสับปะรดกระป๋อง ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักจากเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง เพราะสินค้าไทยราคาแพงกว่าสินค้าจากอินโดนีเซียและฟิลิปินส์ ซึ่งเงินแข็งค่าน้อยกว่าไทย ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้อาจทำให้โรงงานต้องปิดตัว และกระทบต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตามตนจะนำเสนอเรื่องนี้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถานบัน (กกร.) และกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 16 ก.ค.นี้ เพื่อให้ ที่ประชุมพิจารณาและหาแนวทางแก้ปัญหา
http://www.bangkokbiznews.com/nws/scrip ... &type=ktbu
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

โควตาอียูดันส่งออกไก่ไทยกระฉูด +52 โรงออเดอร์พุ่งแต่ข่าวร้ายผลผลิตไก่ในประเทศขาดแคลนหนัก  
เงื่อนไขโควตาไก่อียู 1.6 แสนตันมีผลบังคับใช้ ดันส่งออกไก่ไทยพุ่งกระฉูด ออเดอร์ทะลักยาวถึงสิ้นปีต่อเนื่องถึงกลางปีหน้า ชี้ผลพวงจากช่วงไฮซีซั่น ขณะที่คู่ค้าหวั่นถูกริบเงินมัดจำการนำเข้า 500 ยูโร/ตัน "เจ๊หวี"ระบุอุตสาหกรรมไก่ไทยโชคร้ายในความโชคดี วัตถุดิบไก่เพื่อใช้ในการผลิตขาดแคลนหนัก ผนวกบาทแข็งค่ารอบ 10 ปีทำทุนหายกำไรหด
จากกรณีที่สหภาพยุโรป(อียู)ได้จัดสรรโควตานำเข้าไก่แปรรูป(ไก่ปรุงสุก) ให้กับผู้ส่งออกของไทยจำนวนทั้งสิ้น 160,033 ตัน ภาษีในโควตา 8.0% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา โดยกำหนดเงื่อนไขการส่งออกภายใต้โควตาปีละ 4 ครั้ง แต่ละครั้งกำหนดระยะเวลา 3 เดือนในอัตรา 30, 30, 20 และ 20% ของปริมาณโควตา หรือ 48,009.9, 48,009.9, 32,006.6 และ 32,006.6 ตันตามลำดับ ช่วงเวลาส่งออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไปโดยกำหนดให้แต่ละรายสามารถนำเข้าได้ไม่เกิน 10% ของปริมาณโควตารวมในไตรมาสนั้น
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากข้อกำหนดดังกล่าวได้ส่งผลดีต่อการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปอียูอย่างมากโดยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นมาทางอียูได้เร่งนำเข้าไก่จากประเทศไทยอย่างคึกคักทุกรายได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น มีสาเหตุสำคัญจากความชัดเจนของเงื่อนไขและโควตาการนำเข้าแต่ละงวด รวมทั้งในช่วงครึ่งหลังของปีปกติจะมีคำสั่งซื้อเข้ามามากเพราะเป็นฤดูการซื้อขาย นอกจากนี้ยังเป็นผลจากอียูได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้นำเข้าต้องวางเงินมัดจำการนำเข้าในอัตรา 500 ยูโร/ตัน หรือประมาณ 23,000 บาท(คำนวณที่ 46 บาท/ยูโร) ซึ่งหากรายได้ไม่นำเข้าจริงตามปริมาณที่ขอโควตาจะถูกริบเงินมัดจำดังกล่าวทันที
"การที่ผู้นำเข้าของอียูต้องวางเงินมัดจำการนำเข้า ทำให้ผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกของไทยได้รับออเดอร์และส่งออกในปริมาณที่แน่นอน เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีโควตาผู้ส่งออกของไทยมักถูกเบี้ยวการนำเข้าอยู่บ่อยๆ จากหลายเหตุผล ขณะที่เวลานี้การเลี้ยงไก่ในอียูเจอสภาพอากาศที่ค่อนข้างผันผวนทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายต้องเร่งนำเข้าทั้งจากไทยและบราซิลเพื่อให้ทันกับฤดูการซื้อขายตามโควตาที่แต่ละรายได้รับ ในช่วงแรกคาดผู้นำเข้าของอียูจะมีการซื้อขายโควตากันบ้างเพราะมีข้อจำกัดการนำเข้า เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ทางอียูจะไปบริหารจัดการต่อไปไม่เกี่ยวกับเรา"แหล่งข่าวกล่าวและว่า
ในปี 2550 ทางสมาคมได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกไก่ปรุงสุกปริมาณ 300,000 ตัน มูลค่า 34,500 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกไปตลาดอียูปริมาณ 140,000 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% ที่เหลือส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและตลาดอื่นๆ ซึ่งล่าสุดอียูได้มาตรวจโรงงานแปรรูปไก่มาตรฐานส่งออกของไทยจำนวน 52 โรงงานโดยผ่านการรับรองอนุญาตให้ส่งออกได้ทั้งหมด
นางฉวีวรรณ คำพา ประธานกรรมการบริษัทในกลุ่มฉวีวรรณ ผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ไปอียู สัดส่วนกว่า 70% ของกำลังการผลิต กล่าวว่า ผลพวงจากการกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าภายใต้โควตาของอียูได้ส่งผลดีต่อการวางแผนการผลิตของผู้ประกอบการที่มีความแน่นอนมากขึ้น เพราะหากคู่ค้าไม่นำเข้าจริงก็จะถูกริบเงินมัดจำ ประกอบกับเป็นฤดูการซื้อขายทำให้เวลานี้ผู้ผลิตและส่งออกไก่ต่างได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาทิ ฉวีวรรณกรุ๊ปได้รับคำสั่งซื้อจนเต็มกำลังการผลิตไปถึงสิ้นปีแล้ว
อย่างไรก็ดีขณะนี้ผู้ผลิตและส่งออกไก่ทุกรายของไทยต่างประสบปัญหาคล้ายกันคือการขาดแคลนเนื้อไก่ในการแปรรูปเพื่อส่งออกอย่างรุนแรง เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนอาหารสัตว์ซึ่งเป็นต้นทุนหลักได้สูงขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 7-9 บาท/กก. ทำให้ผู้ผลิตทุกรายในเวลานี้ต้องปรับลดการเลี้ยงไก่ลงเหลือรวมกันประมาณ 15 ล้านตัว/สัปดาห์ จากก่อนเกิดไข้หวัดนกในปี 2547 เลี้ยงอยู่ที่ระดับ 25 ล้านตัว/สัปดาห์ และหลังเกิดไข้หวัดนกเลี้ยงที่ระดับ 16-18 ล้านตัว/สัปดาห์ ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่ามากทำให้ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังในการรับคำสั่งซื้อมากขึ้น เพราะ แม้จะส่งออกปริมาณมากแต่อาจได้กำไรน้อยหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน


"การขาดแคลนเนื้อไก่อย่างรุนแรงทำให้เวลานี้ราคาไก่ในประเทศขยับสูงขึ้นมาก โดยไก่ใหญ่มีชีวิตหน้าฟาร์มขึ้นไปถึง 36 บาทต่อกิโลกรัม จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเฉลี่ยไม่เกิน 30 บาทต่อกิโลฯ"


ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท แกรมเปี้ยนฟู้ดส์ สยาม จำกัด ผู้ส่งออกไก่แปรรูปไปอียูสัดส่วน80% ของกำลังการผลิต กล่าวว่า การกำหนดโควตาและเงื่อนไขการนำเข้าไก่ที่ชัดเจนของอียู มีผลให้บริษัทได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนี้คำสั่งซื้อได้เต็มกำลังการผลิตยาวไปถึงกลางปีหน้าแล้ว ทำให้น่าเป็นห่วงว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าโควตาที่ได้รับ 160,033 ตันอาจไม่เพียงพอ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ควรเจรจาขอโควตาเพิ่ม อย่างไรก็ดีบริษัทยังต้องระวังปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทเช่นกัน
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2234
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เครือเบทาโกรครึ่งแรกกำไรหด ลุยหนักครึ่งหลังดันเป้า3.3หมื่นล.  
เบทาโกรผ่านครึ่งปีกำไรยังไม่กระเตื้อง เหตุราคาไก่ หมูในประเทศวูบช่วงต้นปี แต่ล่าสุด สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ส่งออกไก่-หมูแปรรูปช่วยหนุน มั่นใจเป้ายอดขายทั้งปี 3.3 หมื่นล้านทำได้บาทแข็ง ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งยังเป็นปัจจัยเสี่ยง สั่งปรับสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอาหารสัตว์ และธุรกิจสุกรเพิ่ม อุบไต๋ลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปไก่เพื่อส่งออกอีกหนึ่งโรงรับ JTEPA

นายนพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาธุรกิจ เครือเบทาโกร เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ถึง ภาพรวมธุรกิจของเครือช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ว่า เริ่มมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น แม้ช่วงต้นปีเครือจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาสินค้าทั้งสุกร และไก่ในประเทศตกต่ำ และโอเวอร์ซัพพลาย ขณะที่กำลังซื้อในประเทศในภาพรวมช่วงต้นปีค่อนข้างแผ่ว อย่างไรก็ดีสถานการณ์ในเวลานี้เริ่มคลี่คลายลงหลังจากที่ผู้ผลิตทุกรายได้ลดกำลังการผลิตไก่และสุกรลง ทำให้ราคาสินค้าทั้งสองรายการเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนสถานการณ์การส่งออกสินค้าของบริษัท(ไก่และสุกรแปรรูป)ยังอยู่ในภาวะที่ดี แม้จะได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่ามาก รวมถึงราคาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์โดยเฉพาะกากถั่วเหลือและข้าวโพดได้ปรับตัวสูงขึ้นมากก็ตาม

สำหรับช่วงครึ่งแรกของปีนี้ผลการดำเนินงานถือเป็นไปตามเป้าหมายคือทำได้แล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 33,000 ล้านบาท แยกเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้าในประเทศในธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจสุขภาพสัตว์ และธุรกิจอื่นๆ มูลค่า 27,000 ล้านบาท และจากธุรกิจไก่ และธุรกิจสุกรแปรรูปเพื่อส่งออกมูลค่า 6,600 ล้านบาท จากปี 2549 เครือมียอดขายประมาณ 30,000 ล้านบาท

อนึ่ง ในปี 2549 ที่ผ่านมา จากยอดขาย 30,000 ล้านบาทของเครือเบทาโกรมาจากธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจไก่ ธุรกิจสุกร ธุรกิจสุขภาพสัตว์ และธุรกิจอื่นๆ (อุปกรณ์ฟาร์ม สัตว์เลี้ยง การพัฒนาที่ดิน การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ บริการห้องปฏิบัติการ และการลงทุนต่างประเทศ)สัดส่วน 35, 40,14, 5 และ 6% ตามลำดับ ในปี 2550 ล่าสุดเครือได้ปรับสัดส่วนยอดขายเป็น 40, 40, 10, 5 และ 5% ตามลำดับ สาเหตุที่ปรับสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเป็นผลจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เครือต้องปรับราคาขายเพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจสุกรปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้ขยายกำลังการผลิตเนื้อสุกรแปรรูปเพิ่มขึ้นจาก 200-300 ตัน/เดือน เป็น 400-500 ตัน/เดือน

"ช่วงครึ่งปีแรกในแง่กำไรถือว่าขาดทุนเล็กน้อย แต่ช่วงครึ่งหลังโดยปกติยอดขายจะมากกว่าครึ่งปีแรกเพราะเป็นช่วงฤดูการซื้อขาย และตลาดการบริโภคทั้งในและต่างประเทศจะขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ดีช่วงครึ่งปีหลังการแข็งค่าของเงินบาท และวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่เราต้องบริหารจัดการให้ดี แต่มุมกลับกันเงินบาทที่แข็งค่าทางเครือได้รับผลดีในการนำเข้าวัตถุดิบ ทั้งหากถั่วเหลือง เคมีภัณฑ์ และไวตามิน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตในราคาที่ถูกลง"นายนพพร กล่าวและว่า

ล่าสุดบริษัทได้ร่วมทุนกับทางอายิโนะโมะโต๊ะพันธมิตรทางธุรกิจจากญี่ปุ่นเพื่อตั้งโรงงานผลิตไก่แปรรูปเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นอีกหนึ่งโรง เพื่อรองรับกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ โดยยังไม่ขอเปิดเผยในรายละเอียดเพราะผู้ถือหุ้นฝ่ายญี่ปุ่นค่อนข้างซีเรียส เนื่องจากหากเปิดเผยรายละเอียดไปในตอนนี้อาจถูกบล็อกตลาดจากคู่แข่งขันในญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตามเพื่อลดการเป็นบริษัทรับจ้างผลิตสินค้า(โออีเอ็ม)ให้กับต่างประเทศ ทางเครืออยู่ระหว่างการพัฒนาสินค้าพร้อมรับประทานในกลุ่มไก่และสุกรภายใต้แบรนด์ของตัวเอง โดยมีรสชาติแบบไทยๆ หรือรสชาติแบบอาเซียนเพื่อนำเสนอต่อลูกค้าในอนาคต มุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อลดผลกระทบการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกที่ผลิตในปริมาณมากจากคู่แข่งในต่างประเทศ และพยายามเจาะตลาดใหม่ๆ นอกจากตลาดหลักคือญี่ปุ่นให้มากขึ้น
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2234
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ส.อาหารแช่แข็งค้านจำนำกุ้ง ชี้ทำลายอุตสาหกรรมทั้งระบบ
 
โดย มติชน วัน จันทร์ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:50 น.
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้ทำหนังสือถึงนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) รวมถึงคัดค้านการเปิดรับจำนำกุ้งขาวเพื่อแก้ไขปัญหากุ้งล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยกระทรวงพาณิชย์จะเสนอ คชก.รับจำนำกุ้งขาวปริมาณ 10,000 ตัน ในเดือนกรกฎาคมนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า เหตุผลที่สมาคมระบุในหนังสือคัดค้านว่า การจำนำกุ้งเป็นการบิดเบือนสภาพความเป็นจริงของตลาด เพราะกุ้งจัดเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ จึงจะเป็นการทำลายคลัสเตอร์กุ้งทั้งระบบ การเปิดรับจำนำสร้างความสับสนและลดแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบคลัสเตอร์ ส่งผลเสียในระยะยาว รวมทั้งภาครัฐจะสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เพราะกุ้งเป็นสินค้าที่เสียหายง่าย และยังมีกุ้งค้างสต๊อคที่ต้องระบายถึง 1.8 พันตัน

สมาคมเสนอให้รัฐช่วยลดต้นทุนการเลี้ยง ให้กิจการเลี้ยงกุ้งเป็นกิจการที่สามารถใช้ไฟฟ้าประเภทอุตสาหกรรมแทนอัตราไฟฟ้าครัวเรือน และจัดหาน้ำมันราคาถูก กำหนดให้รับเงินและชำระค่าสินค้าเป็นดอลลาร์สกุลเดียวกันได้
http://news.sanook.com/economic/economic_157119.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/07/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

เกริกไกรนำทัพเอกชนลุยจีนรับออเดอร์มันสำปะหลัง5พันล้าน

16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 13:51:00
"เกริกไกร"นำทัพเอกชนลุยเจาะตลาดจีน ได้ออเดอร์มันสำปะหลัง1.1ล้านตัน มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท พร้อมร่วมมือพัฒนาพลอยสีจีนในมณฑลชางเลอ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2550 ตนได้นำคณะผู้แทนไทย 32 คน ไปเยือนเมืองเหวยฝั่ง มณฑลซานตง ปรากฎว่าได้รับการตอบรับด้วยดี

การนำคณะผู้แทนเยือนเมืองเหวยฝั่งครั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMES ไทยสู่สากล โดยเน้นตามโครงการส่งเสริม SMES สู่จีน เพื่อให้ SMES ของไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมประกอบธุรกิจการค้า กับผู้ประกอบการจีนมากที่สุด เนื่องจากขณะนี้จีนถือเป็นประเทศ ที่เปิดโอกาสการประกอบธุรกิจ ร่วมกับต่างประเทศที่สูงสุดในโลก

สำหรับการเยือนเมืองเหวยฝั่งครั้งนี้ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากที่สุดเมืองหนึ่งของมณฑลซานตง ซึ่งเป็นมณฑลที่มี GDP ประมาณ 2.27 ล้านล้านหยวน ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน รองจากมณฑลกวางตง และเหวยฝั่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในซานตง รองจากชิงเต่า จี่หนาน และเยียนไถ ตามลำดับ

ในการเยือนครั้งนี้ ทางสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ได้มีการลงนามกับบริษัท WEIFANG ENSING INDUSTRY ในความตกลงซื้อขายมันสำปะหลังกันในปริมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี คิดตามราคาในขณะนี้เป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท โดยบริษัท WEIFANG ENSING INDUSTRY ซึ่งเป็นผู้ผลิตกรดมะนาวใหญ่ที่สุดในโลก สามารถผลิตเป็นกรดมะนาวได้ 200,000 ตันต่อปี และผลิตเป็นแอลกอฮอล์ได้ 200,000 ตัน จึงมีความต้องการใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบปีละ 1 ล้านตัน โดยที่นโยบายรัฐบาลจีนพยายามลดการใช้ข้าวโพดในการผลิตแอลกอฮอล์และกรดมะนาว บริษัทจึงต้องหาวัตถุดิบชนิดอื่น คือ มันสำปะหลังมาใช้แทน

ขณะที่บริษัท SHANDONG JINGZKI WINE INDUSTRY GROUP CORP. เป็นผู้ผลิตเหล้าขาวในเหวยฝั่งมีความต้องการใช้มันสำปะหลัง 1 แสนตันต่อปี จึงได้ตกลงลงนามซื้อมันสำปะหลังกับสมาคมมันสำปะหลังของไทย

นอกจากนี้ความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร ผู้แทนบริษัทซีพีกรุ๊ป จำกัด ได้ประชุมเจรจากับเขตโซ่วกวง และเขตอันชิวของเมืองเหวยฝั่ง ที่เป็นแหล่งผลิตผักและผลไม้ที่ทันสมัยมาก มีระบบการจัดการผลิตสมัยใหม่ที่ให้ผลสูงมาก ตลอดจนได้พบปะเจรจากับบริษัท SHANDONG ANQIU FOREIGN TRADE FOODS CO., LTD. ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปจากผลิตภัณฑ์เกษตรรายใหญ่ในเขตอันชิว และได้แสดงความต้องการนำเข้ากุ้ง และผลไม้จากไทย

ซีพีและกรมส่งเสริมการส่งออก จะได้ประสานงานต่อเนื่องให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจของทั้งสองฝ่ายได้อย่างเป็นรูปธรรม โอกาสการเกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทซีพี กับเขตโซ่วกวงและเขตอันชิว จึงนับว่ามีสูงมากความร่วมมือด้านอัญมณีและพลอยสี

นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันในด้านพัฒนาอัญมณี โดยผู้สนใจฝ่ายไทย บริษัท สุพรีมจิวเวอรี่ จำกัด ได้ลงนามกับรัฐบาลชางเลอในข้อตกลงจัดตั้งโรงเรียนและเปิดการสอนวิชาอัญมณีศาสตร์ ตั้งแต่การผลิตในแหล่งพลอยสี การออกแบบ การตลาดซื้อขายพลอย และการตลาดต่างประเทศ โดยฝ่ายรัฐบาลชางเลอ ได้ออกแบบก่อสร้างโรงเรียนดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะเสร็จเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงการสร้างศูนย์การค้าพลอยสีที่จะสร้างเสร็จในปีหน้า
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=84349
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/07/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ธุรกิจอาหารสัตว์รุ่งสวนกระแส เจอร์ไฮเพิ่มรสชาติ-ช่องทางขาย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2550 10:12 น.
      อาหารสัตว์เลี้ยง ครึ่งปีหลังยังรุ่ง เจอร์ไฮ รุกขยายช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มในโมเดิร์นเทรด และร้านค้าต่างจังหวัด พร้อมเพิ่มรสชาติใหม่อีก 7-8 รส มั่นใจ รายได้แตะ 200 ล้านบาทแน่สิ้นปี
     
      นางสาวอรจิรา บุญทอง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เพ็ท ฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตอาหารสัตว์ประเภทสแนก ภายใต้แบรนด์ เจอร์ไฮ เปิดเผยว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจแต่อย่างไร เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากการคลายความเครียดที่ลูกค้าได้จากการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง จึงทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงยังเติบโตดีอยู่ หรือทั้งปียังคงมีการเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15% อีกทั้งครึ่งปีที่ผ่านมา บริษัทฯยังคงมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการที่บริษัทฯรุกขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นนั้นเอง      
      เดิม เจอร์ไฮ จะมีวางจำหน่ายเฉพาะร้านค้าโมเดิร์นเทรดในกรุงเทพฯเท่านั้น ซึ่งในปีนี้เป็นปีแรกที่เจอร์ไฮจะรุกขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสู่ต่างจังหวัด ตามหัวเมืองใหญ่ ในกลุ่ม ร้านทอยด๊อก หรือ ดูแลสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้แบรนด์เจอร์ไฮเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมกับผลักดันรายได้ปีนี้สู่ 200 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่วางไว้      
      นอกจากนี้ในส่วนของช่องทางโมเดิร์นเทรด ทางบริษัทฯได้มีการเจรจาที่จะเข้าไปวางจำหน่ายเพิ่มอีกหลายแห่งในช่วงปลายปีนี้ ได้แก่ แม็คโคร และบิ๊กซี จากเดิมที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วในเทสโก้โลตัส, คาร์ฟูร์ และ ท็อปส์    
      อีกทั้งปีนี้บริษัทฯยังได้เสริมด้วยการเพิ่มรสชาติใหม่อีกประมาณ 7-8 รสชาติ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 15 รสชาติ ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อได้มากขึ้นด้วย      
      อย่างไรก็ตามในปีนี้ ทางบริษัทฯได้จัดเตรียมงบประมาณทางการตลาดไว้ประมาณ 10% ของรายได้ที่วางไว้ สำหรับทำกิจกรรมส่งเสริมการขายตลอดทั้งปี เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ภายใต้แนวคิด สุนัข คือส่วนหนึ่งของครอบครัว เน้นในเรื่องความรักเป็นสำคัญ      
      ล่าสุดทางบริษัทฯได้ร่วมกับทางบริษัท เอ็น.ซี.ซี เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด เข้าร่วมงาน Pet Expo Thailand 2007 ในวันที่ 2-5 สิงหาคม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นี้ด้วย คาดว่าจะได้รับการตอบรับจากลูกค้าและคนที่เข้าชมงานเป็นอย่างดี      
      ปัจจุบันผู้นำตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง คือ เพ็ดดิกรี ครอบคุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ส่วนเจอร์ไฮ ถือได้ว่าเป็นผู้นำในกลุ่มสแนกเพื่อสัตว์เลี้ยง ซึ่งตามแผนการดำเนินธุรกิจ ยังไม่มีแนวคิดที่จะผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงประเภทอื่นแต่อย่างใด
     
      เศรษฐกิจซบคนรักสัตว์ประหยัดแต่ยังซื้อ
      ด้านนายเกรียง แต้มชัชวาล นายกสมาคมอุตสาหรรมผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของตลาด ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงมูลค่า 3,500 ล้านบาทปีนี้ ยังโตได้อยู่ ประมาณ 10-15% ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวมาจาก อาหารสัตว์เลี้ยงในกลุ่มสแตนดาร์ด หรือระดับล่างมากกว่า 30% เพราะในปัจจุบันผู้ประกอบการคนไทยเอง สามารถผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับแบรนด์ใหญ่ๆได้แล้ว บวกกับในภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีแบบนี้และราคาที่ถูกกว่า จึงทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงในกลุ่มนี้มากขึ้น ส่วนอาหารสัตว์เลี้ยงในกลุ่มพรีเมียมนั้นปีนี้มีอัตราการเติบโตลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา 20%
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000082704
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/07/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ตลาดส่งออกอาหารไทยไปสหรัฐ ฯ สะเทือน!เหตุถูกกักกัน ซ้ำเวียดนาม จีน แย่งตลาด [ ฉบับที่ 811 ประจำวันที่ 18-7-2007 ถึง 20-7-2007]  
รร.สยามซิตี - ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสินค้าอาหารของไทยที่ติดอันดับ 1-3 มาโดยตลอด ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวด้านมูลค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 8 และด้านปริมาณขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7 กลุ่มสินค้าที่ไทยส่งเข้าตลาดสหรัฐฯ ที่สำคัญคือ สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ กลุ่มข้าวและธัญพืช เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าการส่งเข้าตลาดสหรัฐฯ สูงสุด 3 อันดับแรกมาตลอด 5 ปี ในปี 2549 สหรัฐ อเมริกาเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทย อันดับ 1 โดยมีมูลค่าการส่งออกราว 104,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 14.4 ในขณะที่ญี่ปุ่น ซึ่งเดิมเคยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ในปี 2549 ลดลงมาอยู่อันดับ 2 คือ มีมูลค่าราว 92,058 ล้านบาท ลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 4.3 โดยสินค้าอาหารส่งออกไปสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ กุ้ง ทูน่ากระป๋อง ข้าว ปูกระป๋อง ผักผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
ทั้งนี้ สินค้าอาหารไทยที่ถูกปฏิเสธการนำเข้า โดยสาเหตุอันดับหนึ่งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คือ การตรวจพบ FILTHY หรือสิ่งน่ารังเกียจ สิ่งเน่าเสีย มีมากถึงร้อยละ 33.47 ของจำนวนรายการที่ไทยถูกปฏิเสธการนำเข้าทั้งหมด สินค้าอาหารไทยอีกร้อยละ 15.63 ของผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่ถูกปฏิเสธนำเข้าสหรัฐฯ เพราะตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค หรือ SALMONELLA

ปี พ.ศ. 2545-2549 มีผู้ประกอบการส่งออกสินค้าอาหารไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ เป็นจำนวนรวม 1,293 ราย เฉพาะผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้า 4 กลุ่มหลัก คือ สัตว์น้ำ ธัญพืช ผักผลไม้ เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสถูกปฏิเสธการนำเข้าในสหรัฐฯ เป็นจำนวนรวม 346 ราย ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ร้อยละ 11 ขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ถึงร้อยละ 89

นายรณชัย ชัยบัตร์ กรรมการ บริษัท ASIA etc. จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบันตลาดสินค้าอาหารในสหรัฐอเมริกา แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1. Ethnic Market ซึ่งเป็นตลาดที่สินค้าอาหารไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ส่งเข้าสู่ตลาดนี้ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ Oriental market คือ ผู้บริโภคชาวไทย ลาว เวียดนาม Hispanic market คือ ผู้บริโภคชาวละตินอเมริกา และอเมริกาใต้ Indian market คือ ผู้บริโภคชาวอินเดีย และ Mexican market คือ ผู้บริโภคเม็กซิกัน 2. Mainstream Market เป็นตลาดที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกัน มีกำลังซื้อสูงและมีขนาด ใหญ่กว่าตลาด Ethnic Market ซึ่งในปัจจุบันอาหารไทยเข้าถึงตลาดประเภทนี้น้อยมาก ทว่า ในอนาคตตลาดของคนอเมริกันจะเป็นตลาดเป้าหมายใหม่ที่ประเทศไทยต้องหันมารุกทำตลาดอย่างจริงจัง สืบเนื่องจากประเทศไทยถูกเวียดนาม และจีน แย่งตลาดคนเอเชียที่อาศัยในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากราคาสินค้าถูกกว่าไทย จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้อง หันมาจับตลาด Mainstream Market ที่เป็นตลาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูงแทน

ดร.ยุทธศักดิ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงแนวนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าประเภทอาหารสู่ต่างประเทศ โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ ทั้งในส่วนของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตรงตามกฎระเบียบการนำเข้าของประเทศคู่ค้า รวมถึงการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันกับตลาดคู่แข่งที่สำคัญ คือ ประเทศจีน และเวียดนาม ที่ได้เปรียบในเรื่องของค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ต้องเร่งปรับตัวให้ทันตลาดคู่ค้า ก่อนที่จะถูกประเทศเพื่อนบ้านแย่งตลาดไป

ด้านนายอภิรัฐ เหวียนระวี รองอธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ทางสถาบัน อาหาร และกระทรวงการต่างประเทศได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการกักกันสินค้าอาหารไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาในระยะยาว ซึ่งได้ข้อสรุปที่น่าสนใจคือ 1.ควรนำระบบ GAP มาใช้ในการควบคุมสุขลักษณะการผลิต และเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนากระบวนการผลิต การปรับปรุงมาตรฐานสินค้าอาหารไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานการนำเข้าสินค้าอาหารของสหรัฐ

ทั้งนี้ รัฐบาลควรออกมาตรการลดภาษีการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการในการนำระบบ GMP/HACCP ไปใช้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเร่งเจรจากับสหรัฐเพื่อมอบอำนาจการตรวจสอบหรือตรวจวิเคราะห์สินค้าอาหารส่งออกให้แก่รัฐบาลไทยเป็นผู้ดำเนินการแทน 2.เนื่องจากเจ้าหน้าที่ US-FDA ไม่เข้าใจและไม่รู้จักสินค้าอาหารของไทยดีพอ จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าจึงต้องการให้รัฐบาลเชิญเจ้าหน้าที่ของ US-FDA และศุลกากรสหรัฐฯ มาตรวจโรงงาน ผลิตเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสของฝ่ายไทย

3.ขอให้ภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่แจ้งเตือนกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่ประเทศคู่ค้าจะนำมาใช้ในอนาคต เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 4.ผู้ส่งออกสินค้าผัก/ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ อ้างถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหลักเรื่องการติดฉลากอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนว่า เกิดจากสหรัฐมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและกฎระเบียบบ่อยครั้ง รวมทั้งยังกำหนดให้ต้องแสดงรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไป และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ ผู้ส่งออกได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งองค์กรของไทยในสหรัฐฯ เพื่อการติดต่อได้สะดวกดำเนินการรับจดทะเบียนให้แก่ผู้ประกอบการ
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

จีน-ญวนก๊อบปี้เครื่องจักรแป้งมัน 'บางนากรุ๊ป' หันหัวรบบุกเขมร  
"เวียดนามมีความฉลาดลอกเลียนแบบสินค้ามาก นำสินค้าไทยไปผสมกับสินค้าจีน"


"บางนากรุ๊ป" ครวญทำธุรกิจปีหมูไม่หมู สารพัดปัญหารุมถล่ม ค่าเงินบาทแข็ง จีน เวียดนาม หัวใสก๊อบปี้เครื่องจักรผลิตแป้งมันสำปะหลัง กระทั่งเลิกสั่งซื้อหันผลิตเอง ทำให้บริษัทต้องปรับทิศตลาดใหม่หันบุกกัมพูชาแทน ขณะที่อุตสาหกรรมแป้งมันวัตถุดิบไม่พอป้อนโรงงาน ต้องชะลอรับออเดอร์

นายปรีชา เต็มพร้อม กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทบางนา กรุ๊ป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่ากลุ่มบริษัท บางนาฯ ซึ่งมีบริษัทในเครือประกอบด้วยห้างหุ้นส่วนจำกัด บางนาสตีลเวิรคส์ บริษัท บางนาแมชชินเนอรี่ จำกัด บริษัท บางนาแป้งมัน จำกัด บริษัท บางนาสีข้าว จำกัด บริษัท บางนากระสอบ จำกัด บริษัท บางนาสเตนเลส จำกัด บริษัท ปราจีนบุรี สตาร์ช จำกัด บริษัท จันทบุรีสตาร์ช จำกัด ธุรกิจหลักสำคัญคือผลิตเครื่องจักรผลิตแป้งมันสำปะหลัง จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก มียอดรายได้รวมปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ธุรกิจของบางนากรุ๊ป แต่ละธุรกิจดังกล่าวปีนี้ค่อนข้างเหนื่อยเหมือนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทั้งนี้ปัญหาใหญ่คือค่าเงินบาทแข็ง

นอกจากนี้ธุรกิจผลิตเครื่องจักรผลิตแป้งมันสำปะหลัง ที่ผ่านมาได้ส่งออกไปจำหน่ายที่จีน และเวียดนาม แต่ปรากฏว่าเจอปัญหาลูกค้าผลิตสินค้าลอกเลียนแบบ โดยเฉพาะเวียดนามมีความฉลาดในการลอกเลียนมากโดยนำสินค้าไทยไปผสมกับสินค้าจีน ซึ่งทำกันอย่างแพร่หลาย ทำให้เวลานี้เขาสามารถผลิตสินค้าได้เอง โดยไม่ต้องสั่งซื้อจากกลุ่มบางนาแล้ว ดังนั้นตลาดเครื่องจักรแป้งมันทั้งในเวียดนามและจีน เวลานี้จึงทรงตัวไม่มีการสั่งนำเข้าเพิ่มเติม
สำหรับกลุ่มบริษัท บางนาฯ ซึ่งยังทำธุรกิจนี้อยู่ จึงได้ปรับทิศตลาดโดยมีตลาดใหม่รองรับคือกัมพูชาและพม่า ปีนี้กัมพูชาได้ติดต่อสั่งซื้อเข้ามา 2-3 โรง พม่าอีก 1 โรง คิดว่าตลาดเครื่องจักรแป้งมันตลาดใหม่จะอยู่ที่สองประเทศดังกล่าว ซึ่งมีทั้งการลงทุนของนักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนข้ามชาติ ได้แก่เกาหลี ไต้หวันที่สนใจไปลงทุนที่กัมพูชา เนื่องจากเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุดิบ
"ปัญหาใหญ่ของการประกอบธุรกิจปีนี้คือค่าเงินบาทแข็ง โดยการส่งออกเครื่องจักร เราคิดกับลูกค้าที่อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท ตอนส่งมอบลงมาอยู่ที่ 30 บาท ก็ต้องขาดทุนแต่ที่อยู่ได้ทุกวันนี้เนื่องจากมีการทยอยส่งเป็นระยะๆ ของใหม่ที่ขายราคาแพงก็จะมาชดเชยของเก่า แต่การทำธุรกิจนี้เป็นการทำธุรกิจที่เหนื่อยมีความเสี่ยงขาดทุนตลอดเวลา" เขากล่าวและว่า
สำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานผลิตอยู่ 2 โรง กำลังผลิตรวมกัน 500 ตัน/วัน ปัญหาของอุตสาหกรรมนี้อยู่ที่ค่าเงินบาทแข็งเช่นเดียวกัน รวมไปถึงวัตถุดิบไม่เพียงพอป้อนโรงงาน เนื่องจากปีนี้ตลาดโลกมีความต้องการใช้ธัญพืชจำนวนมาก โดยเฉพาะธัญพืชใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน จึงส่งอานิสงส์มาถึงเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของไทยด้วย เพราะขายได้ราคาดี แต่โรงงานได้รับกระทบเพราะมีคำสั่งซื้อเข้ามาแต่วัตถุดิบไม่เพียงพอป้อนโรงงาน
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2236

"โรงงานหลายแห่งรับออเดอร์ล่วงหน้า แต่ถึงเวลาส่งมอบไม่มีสินค้า ต้องเลื่อนเวลาส่งมอบลูกค้า ที่ผ่านมาเจอปัญหานี้เหมือนกันทุกโรง นับจากนี้กลุ่มบางนาฯได้หยุดรับออเดอร์จากลูกค้ารายใหม่ทั้งหมด จะรับเฉพาะลูกค้าประจำเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาไม่มีสินค้าส่งมอบ และการถูกต่อว่าจากลูกค้า ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำธุรกิจ"
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2236
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news23/07/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

หนี้อ้อยบานหมื่นล้าน
 
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:19 น.  
ชาวไร่กุมขมับราคาหด100บ./ตัน

รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่าเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไม่น้อย โดยคาดว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูกาลผลิต 49/50 ที่จะประกาศในช่วงเดือนพ.ย.นี้ มีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่กำหนดไว้ 800 บาท/ตัน เกือบ 100 บาท/ตัน ดังนั้นคณะกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) ที่มี นายวิม รุ่งกรุต ผู้ตรวจราชการเป็นประธานจะต้องเตรียมเงินไว้เพื่อชดเชยราคาอ้อยดังกล่าวให้กับโรงงานน้ำตาลประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะหารือในที่ประชุมกท.ในวันที่ 23 ก.ค.นี้

ทั้งนี้ นอกจากอุตสาหกรรมอ้อยกำลังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแล้ว ราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังลดลง จากที่คำนวณราคาอ้อยขั้นต้นราคาน้ำตาลตลาดโลกสูงถึง 13 เซ็นต์ต่อปอนด์ แต่ตอนนี้เหลือเพียง 9-10 เซ็นต์ต่อปอนด์ เมื่อผสมโรงกับค่าเงินบาทที่ลดลงจาก 37.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เหลือเพียง 33-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาขั้นสุดท้ายต่ำ และมีแนวโน้มว่าอ้อยขั้นต้นปี 50/51 จะเหลือเพียง 620-650 เหรียญสหรัฐ/ตัน ถือเป็นราคาที่ต่ำมากและเป็นวิกฤตของอุตสาหกรรมนี้

อย่างไรก็ตาม ระเบียบกท.ต้องจ่ายเงินคืนให้กับโรงงานหากราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าขั้นต้น แต่ขณะนี้กท.มีภาระหนี้ถึง 1.5 หมื่นล้านบาท หากต้องกู้เงินเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านบาท เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก เพราะรายได้ของกท.มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เฉลี่ยปีละ 1,300 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นคงจะต้องขอให้รัฐสนับสนุนด้วยการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรหรือสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยกู้เพิ่มเติม

ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงถึง 800 บาทต่อตัน แม้จะมีบางฝ่ายทักท้วงว่าสูงเกินความจริง แต่รัฐบาลก็ไม่ฟัง เพราะต้องการเอาใจชาวไร่อ้อยไม่ให้ประท้วง และต่อมาก็อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายอีก 3 บาทต่อก.ก. และให้รายได้เข้าระบบแทนที่จะนำรายได้เหล่านั้นมาใช้หนี้ ดังนั้นปัญหานี้จึงสะสมและกลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่ในอดีตชาวไร่อ้อยมาประท้วงทุกๆ ปี รายงานข่าวระบุ
http://news.sanook.com/economic/economic_160093.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news24/07/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

เบทาโกรสบช่องสุนัขอ้วน30%
โพสต์ทูเดย์ เบทาโกร เล็งเซ็กเมนต์หมาเป็นโรคอ้วนกว่า 30% ส่งด็อก เอ็นจอยชูจุดขายเพื่อสุขภาพสุนัข เจาะตลาด 4.5 พันล้าน


นายนพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาธุรกิจ เครือเบทาโกร ผู้ผลิตและทำตลาดสินค้าปศุสัตว์แปรรูป กล่าวว่า จากแนวโน้มคนไทยเริ่มให้ความสำคัญดูแลสัตว์เลี้ยงให้อยู่ดีกินดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสุนัขมีเจ้าของ จากสถิติการเข้ารับรักษาพยาบาล พบว่า 3 อันดับแรกที่สุนัขป่วยสูงสุด คือ 1.โรคอ้วนกว่า 30% รองมาเป็นโรคไต และโรคหัวใจ ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารคล้ายคลึงกับคน
บริษัทจึงใช้งบวิจัยพัฒนาอาหารสุนัข 4-5 ล้านบาท ออกสินค้ายี่ห้อ ด็อก เอ็นจอย หลังทดลองทำตลาด 2 ปีและมีอัตราการเติบโตปีละ 20% ปีหน้าบริษัทเตรียมพัฒนาอาหารสุนัขเพื่อสุขภาพสูตรควบคุมไขมัน จากปัจจุบันเป็นสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมกับทำกิจกรรมตลาดสร้างแบรนด์ด็อก เอ็นจอย ของคนไทย แข่งกับยี่ห้อจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นรายใหญ่ในตลาดปัจจุบัน ที่ชูจุดเด่นความอร่อยเท่านั้น

อาหารสุนัขแบบเม็ดยี่ห้อด็อก เอ็นจอย วางตำแหน่งตลาดระดับกลาง หรือสแตนดาร์ด มี 3 สูตรตามประเภทสุนัข คือ ลูกสุนัข สุนัขโตพันธุ์เล็ก และสุนัขโตพันธุ์ใหญ่ สิ้นปีบริษัทจะออกภาพยนตร์โฆษณาครั้งแรก เพื่อย้ำตำแหน่งสินค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ โดยบริษัท เพ็ท โฟกัส ในเครือเบทาโกร จะเป็นผู้จัดจำหน่าย ปัจจุบันแบ่งสัดส่วนยอดขายกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 60% ต่างจังหวัด 40%

นายนพพร กล่าวว่า จะขยายตลาดส่งออกอาหารสุนัข ด็อก เอ็นจอย ไปต่างประเทศในอาเซียน อาทิ ฮ่องกง อินโดนีเซีย เพื่อสร้างรายได้เพิ่มจากตลาดใหม่โดยผ่านตัวแทนจำหน่าย หรือเอเยนต์ ในแต่ละประเทศ จากปัจจุบันทำตลาดเวียดนามอยู่แล้ว
แผนธุรกิจดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดอาหารสุนัขที่มีประชากรสุนัขอยู่ที่ 7.6 ล้านตัว แบ่งเป็น 5 ล้านตัวมีเจ้าของ และ 3 ล้านตัวมีการดูแลอย่างดี ขณะตลาดอาหารสุนัขปัจจุบันมีมูลค่า 4.5 พันล้านบาท มีอัตราเติบโตกว่า 10% แบ่งเป็น 3.6 พันล้านบาท สำหรับตลาดอาหารสุนัขแบบเม็ด และ 800 ล้านบาท เป็นตลาดอาหารสุนัขแบบเปียก หากแบ่งเชิงปริมาณเป็นระดับบน 10% ที่เหลือเป็นระดับกลาง และล่างอย่างละ 45%

ปัจจุบัน ด็อก เอ็นจอย มีส่วนแบ่งตลาด 5% ตั้งเป้าปี 2554 จะมีส่วนแบ่งตลาดอันดับสอง 20% จากปัจจุบัน เพ็ด ดิกรี ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งกว่า 25% และอัลโป ราว 8-9%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=180609
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news25/07/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

สหรัฐพอใจตรวจรง. เปิดทางนำเข้าผลไม้
โพสต์ทูเดย์ สหรัฐไฟเขียว นำเข้าผลไม้ 6 ชนิดจากไทย เริ่มล็อตแรก ต.ค. คาดทำรายได้เข้าประเทศปีแรก 700 ล้าน


นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตร และสหกรณ์ กล่าวว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ไทยส่งผลไม้เข้าไปจำหน่ายได้แล้ว 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ และสับปะรด มีผลตั้งแต่เดือน ต.ค. 2550 เป็นต้นไป คาดว่าจะสร้างรายได้เข้าประเทศ เบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท ในปีแรก
หลังจากที่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายรังสีของสหรัฐ (ยูเอสเอ็นดี) เข้ามาตรวจสอบ มาตรฐานศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตร ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ตั้งแต่ระดับฟาร์ม โรงงานแปรรูป โรงงานแบ่งบรรจุ และหารือกับผู้ประกอบการในไทยจนเป็นที่พอใจแล้ว

ขั้นตอนต่อไป ฝ่ายสหรัฐได้ขอให้ไทยส่งตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ และเร่งดำเนินการรวบรวมเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมดของศูนย์ฉายรังสีอาหาร ส่งให้ยูเอสเอ็นเอพิจารณารับรองมาตรฐานโรงงานฉายรังสี ภายในต้นเดือน ส.ค.
จากนั้นคาดว่าสหรัฐจะใช้เวลาพิจารณาเรื่องดังกล่าวประมาณ 1 เดือน และจะส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาตรวจรับรองมาตรฐานศูนย์ฉายรังสีอาหารอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
มั่นใจว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐ และได้ผ่านการประเมินมาแล้ว นายธีระ กล่าว
โรงงานฉายรังสีที่ผ่านการรับรองสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในไทยมีเพียงแห่งเดียว คือ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีกำลังการผลิต 40 ตันต่อวัน เพียงพอต่อการส่งออกผลไม้ 6 ชนิดในช่วงแรก ปัจจุบันมีเอกชนอีกหนึ่งรายคือ บริษัท ไอโซตรอน จ.ชลบุรี กำลังยื่นขอรับรองมาตรฐานกับสำนักงานปรมาณู และจากยูเอสดีเอมีกำลังผลิต 300-400 ตันต่อวัน คาดว่าจะเปิดบริการได้กลางปี 2551
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=180820
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news25/07/07

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ออสเตรเลีย ผ่อนกฎกีดกันนำเข้ากุ้ง กำหนดกุ้งดิบตัดหัวแกะเปลือก ส่วนกุ้งสุกต้องต้มในอุณหภูมิ 75 องศา
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, July 25, 2007
หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ติดตามผลการเจรจา พร้อมให้ข้อคิดเห็นเรื่องมาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้ากุ้ง หรือมาตรฐาน ไออาร์เอ (IRA) ของออสเตรเลีย เพื่อแก้ไขปัญหาทางการค้ามาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด นายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ออสเตรเลียได้ออกประกาศมาตรการนำเข้ากุ้งชั่วคราวฉบับปรับปรุงใหม่ (Revised Interim Measures) เพื่อใช้เป็นการชั่วคราวระหว่างที่รอมาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยงฉบับสุดท้าย
โดยมาตรการนำเข้ากุ้งชั่วคราวฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ออสเตรเลียมีการกำหนดเงื่อนไขในการนำเข้าว่า หากเป็นกุ้งดิบ ต้องมาจากประเทศหรือเขตที่ปลอดโรค 4 โรค ได้แก่ โรคตัวแดงดวงขาว (WSSV), โรคไอเอชเอชเอ็นวีหรือโรคแคระแกร็น (IHHNV), โรคหัวเหลือง (YHV) และโรคทีเอส (TSV) หรือต้องผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นสูง โดยตัดหัวและแกะเปลือกออก
แต่หากเป็นกุ้งดิบที่ไม่ได้มาจากประเทศ หรือเขตที่ปลอดโรค จะต้องแกะหัวและเปลือกออก และทำการตรวจสอบ 3 โรค ได้แก่ WSSV, IHHNV และ YHV เมื่อสินค้าเดินทางถึงออสเตรเลีย

ส่วนกรณีกุ้งสุก ต้องผ่านการปรุงสุกจากโรงงานที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออก ซึ่งในส่วนของไทยก็มีกรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ทางออสเตรเลียได้กำหนดให้ใช้อุณหภูมิมาตรฐานที่ 75 องศาเซลเซียส ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับขนาดของกุ้ง

โดยหากเป็นกุ้งขนาดเล็ก ประมาณ 66 - 88 ตัว ต่อกิโลกรัม กำหนดให้ใช้เวลาต้ม 2 นาที หากเป็นกุ้งขนาดกลาง 44 - 66 ตัว ต่อกิโลกรัม ให้ใช้เวลาต้ม 2.15 นาที และกุ้งขนาดใหญ่ 35 - 44 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ใช้เวลา 3 นาที

ทั้งนี้ หน่วยงาน Biosecurity Australia ของออสเตรเลีย จะออกหนังสือแจ้งการออกมาตรการที่ปรับปรุงใหม่ ไปยังประเทศผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการ พร้อมกับแจ้งให้ผู้นำเข้าทราบด้วย โดยคาดหมายกันว่า มาตรการล่าสุดอันนี้ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่จะถึงนี้เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ มกอช.และกรมประมง เร่งดำเนินการเจรจากับหน่วยงาน Biosecurity Australia ภายในต้นเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปยังออสเตรเลียทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected] http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

เลือก48บริษัท ประกวดผลไม้ ชิงโอลิมปิกจีน
โพสต์ทูเดย์ เลือก 48 บริษัทไทย ตัวแทนร่วมประกวด ส่งผลไม้ป้อนตลาดจีนรับกีฬาโอลิมปิก


นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ผลการตัดสินประกวดผลไม้สดและแปรรูปไทย สู่โอลิมปิก 2008 มี 48 บริษัท ที่สามารถผ่านหลักเกณฑ์คัดเลือก เพื่อส่งไปประกวดในงาน Fruit Recommended by Olympic Game ณ กรุงปักกิ่ง วันที่ 5 ส.ค. 2550 เพื่อหาผู้ชนะที่จะมีโอกาสนำผลไม้ไทยไปร่วมในงานโอลิมปิก
การเข้าร่วมงานจะทำให้ผลไม้ไทยเป็นที่รู้จักของนานาชาติมากขึ้น ซึ่งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จะนำผลไม้สดและแปรรูปที่ผ่านการคัดเลือกไปจัดแสดงให้สื่อมวลชน และผู้ประกอบการจีนได้ชมและชิม
จีนต้องการนำผลไม้ไปเลี้ยงนักกีฬาโอลิมปิก ทั้งในรูปแบบผลไม้สดและแปรรูป หากบริษัทของไทยรายใดชนะก็จะเป็นการแนะนำผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และแนวโน้มที่จะชนะการคัดเลือกมีค่อนข้างสูง เนื่องจากผลไม้ไทยมีเอกลักษณ์ เพราะเป็นผลไม้เขตร้อนมีความหลากหลายและแตกต่างจากผลไม้เมืองหนาว นายธีระ กล่าว
สำหรับ 48 บริษัท ที่ผ่านการคัดเลือกจาก อ.ต.ก. อาทิ หจก. กุ้ยหยู่ ส่ง มะขามหวานสีทอง สับปะรดตราด มะพร้าวน้ำหอม บริษัท สยามเอ็กซปอร์ตมาร์ท ส่ง เงาะโรงเรียน มะม่วงน้ำดอกไม้สุก และมังคุด
บริษัท โอพีฟรุ้ต ส่ง ลำไย มังคุด ส้มโอ ผลไม้แปรรูป บริษัท ดอยคำ ผลิตภัณฑ์อาหาร ส่ง น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง น้ำเสาวรส และน้ำ สตรอเบอร์รี
บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ส่ง สับปะรดกรอบ มะม่วงอบกรอบ แก้วมังกรกรอบ บริษัท มาลีบางกอก ส่ง น้ำผลไม้ทรอปิคาน่า น้ำฝรั่งทรอปิคาน่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี ส่ง น้ำมังคุด และน้ำลูกหว้า เป็นต้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=181308
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เปิดตัวน้ำมันปลาทูน่า ประเดิมในงาน รักลูกฯ

ที.ซี.ยูเนี่ยน รุกตลาดสุขภาพสู่กลุ่มเด็กเปิดตัวน้ำมันปลาทูน่า โอเม็กซ์-ทรี อีมัลชั่น ที.ซี.ยูเนี่ยน รุกตลาดเด็กเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ โอเม็กซ์-ทรี อีมัลชั่น ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาทูน่าชนิดน้ำเชื่อมรสส้ม ประเดิมงาน "รักลูก Kids Learning Expo 2007"

นายปิติ กิตติธีรพรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ยูเนี่ยน โกลบอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าหลังจากบริษัทฯประสบความสำเร็จจากการทำตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงาน
จนถึงกลุ่มผู้สูงอายุมาแล้ว ล่าสุด บริษัทฯกำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่มุ่งเป้าเจาะลูกค้ากลุ่มเด็กโดยเฉพาะ ด้วยผลิตภัณฑ์ โอเม็กซ์-ทรี อีมัลชั่น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มน้ำมันปลาทูน่าชนิดน้ำเชื่อมรสส้ม ที่มีส่วนประกอบหลักมาจากน้ำมันปลาทูน่า ช่วยบำรุงสมองและสายตา เนื่องจากน้ำมันปลาทูน่าให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ ดีเอชเอ (DHA)และอีพีเอ (EPA)

การที่เรานำมาผสมน้ำเชื่อมปรุงแต่งรสส้ม เพื่อให้เด็กรับประทานง่ายขึ้นและในอนาคตอาจจะเพิ่มรสชาติต่างๆให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค นายปิติ กล่าว

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ยูเนี่ยน โกลบอล กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า การเปิดตัว โอเม็กซ์-ทรี อีมัลชั่น จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในภาวะเร่งรีบในปัจจุบันที่ทำให้เด็กๆส่วนใหญ่รับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ส่งผลให้ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโตของร่างกายและการพัฒนาการของสมองและสายตาโดยกลุ่มเป้าหมายหลักของสินค้าดังกล่าวจะเน้นกลุ่มครอบครัวที่มีลูกอายุระหว่าง 3 - 10 ปี มีความห่วงใยในพัฒนาการการเรียนรู้ของลูก

นายปิติ กล่าวถึงการทำตลาดสินค้าดังกล่าว ว่า จะเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาทูน่า โดยบริษัทจะตระเวนจัดกิจกรรมพร้อมแจกสินค้าตัวอย่างให้ทดลองชิมตามงาน แสดงสินค้า และห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศก่อนที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนี้ สำหรับกิจกรรมแรก จะเริ่มที่งาน รักลูก Kids' LearningExpo 2007 หรือ 'งานมหกรรมครบเครื่องเรื่องอนุบาลศึกษา' ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 29 กรกฎาคม ณ เพลนนารีฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่บู้ธหมายเลข C15 โดยบริษัทจะนำผลิตภัณฑ์โอเม็กซ์-ทรี อีมัลชั่น ไปเปิดตัวครั้งแรกในงานนี้และจำหน่าย ในราคาพิเศษเพียง 130 บาท จากปกติ160 บาท พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะงานนี้เท่านั้น

และเพื่อให้สมกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ บริษัทฯจึงจัดทำของสมนาคุณพิเศษในรูปแบบ ชุดสีไม้ และ ชุดสีเมจิ (มีจำนวนจำกัด) สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ อาทิ ซื้อ โอเม็กซ์-ทรี อีมัลชั่น 3 ขวด รับฟรี ชุดสีเมจิ 1ชุด ในราคา 380 บาท หรือซื้อ โอเม็กซ์-ทรีอีมัลชั่น 6 ขวด รับฟรี ชุดสีไม้ 1 ชุด ในราคา 750 บาทเท่านั้น นายปิติ กล่าว
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

เงินบาทแข็งค่า : ผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม

27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 12:29:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :     นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550 เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาที่ระดับ 33.70 บาท/ดอลลาร์ฯ เป็นระดับที่แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 นอกจากนี้ยังเป็นอัตราที่สูงกว่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น หยวนจีนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.2 รูเปียอินโดนีเซียที่อ่อนค่าลงประมาณร้อยละ 1.6 ริงกิตมาเลเซียแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 2.7 เป็นต้น

    ผลกระทบของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อภาคเกษตรกรรมนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสินค้า โดยปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ สัดส่วนการพึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศ สัดส่วนการพึ่งพิงตลาดส่งออก และอัตราการทำกำไรของผู้ส่งออก ดังนั้นผลกระทบนั้นมีตั้งแต่น้อย ปานกลางไปจนถึงมาก อย่างไรก็ตามนับว่ายังเป็นโชคดีที่ในปี 2550 นั้นความต้องการสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวอย่างมาก เนื่องจากประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของโลกประสบปัญหาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยและปัญหาภัยธรรมชาติ ตลอดจนโรคและแมลงศัตรู ดังนั้นการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2550 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2551 เงื่อนไขที่เอื้อต่อการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจะหมดไป โดยการแข่งขันในตลาดโลกจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากประเทศคู่แข่งสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยจะหันมาขยายการผลิต ดังนั้นถ้าผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินบาทอยู่เช่นเดียวกับในปีนี้ ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยก็จะตกอยู่ในฐานะที่ลำบากกว่าในปีนี้ โดยในที่สุดผู้ที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องคือ โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรและเกษตรกร

ค่าเงินบาทแข็ง...กระทบผู้ส่งออก

    ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร พ่อค้าคนกลาง ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือ สัดส่วนการพึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศ สัดส่วนของการพึ่งพิงการส่งออก และอัตรากำไรของผู้ส่งออก โดยแยกพิจารณาได้ดังนี้

    1.กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบน้อย คือกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่พึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ และตลาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ เช่น พืชน้ำมัน โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน  พืชตระกูลถั่วต่างๆ สุกรและผลิตภัณฑ์ ไข่ไก่ เป็นต้น ผู้ผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนน้อยที่สุด ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ยังได้รับอานิสงส์ในการนำเข้าปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้า โดยเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลให้ราคานำเข้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรมีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ ในระยะที่ผ่านมาราคาปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่นำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน แต่การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลช่วยให้ราคานำเข้าปุ๋ยเคมีสำคัญบางสูตรมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ปุ๋ยเคมีสำคัญบางชนิดที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมัน ราคาจะยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงตามราคาน้ำมัน แต่ราคาก็ไม่พุ่งสูงขึ้นมากนัก

   อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ แม้ว่าราคานำเข้าปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์จะมีแนวโน้มลดลง แต่ราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง และบางประเภทกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรไม่ได้รับอานิสงส์จากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอย่างเต็มที่ กล่าวคือ ราคานำเข้าปุ๋ยเคมีสูตรสำคัญในช่วงครึ่งแรกปี 2550 มีแนวโน้มลดลง แต่ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯและราคาขายปลีกในตลาดท้องถิ่นยังคงอยู่ในระดับสูง และปุ๋ยเคมีบางสูตรยังมีการปรับราคาขึ้นในช่วงไตรมาสสอง

    2.กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบปานกลาง คือกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่พึ่งพิงวัตถุดิบต่างประเทศ ตลาดส่วนใหญ่ส่งออก สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรกลุ่มนี้แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทจากการที่ผู้ส่งออกต้องขาดทุนกำไรจากส่งออก แต่ยังได้รับอานิสงส์จากการแข็งค่าของเงินบาทผ่านทางการนำเข้าวัตถุดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าสัตว์น้ำทะเลแช่เย็นแช่แข็งโดยเฉพาะปลาทูน่า ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง อันเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ผู้ประกอบการปลาทูน่ากระป๋องได้รับอานิสงส์ที่ราคานำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งมีแนวโน้มลดลง นับว่ามีส่วนช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้บางส่วน

    3.กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบมาก คือกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่พึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ตลาดส่วนใหญ่ส่งออก เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป กุ้งแปรรูป เป็นต้น สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทมาก เนื่องจากไม่ได้รับอานิสงส์จากการแข็งค่าของเงินบาทเนื่องจากใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่

   อย่างไรก็ตามบางสินค้าอาจจะได้อานิสงส์บ้างจากการนำเข้าปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรเท่านั้น แต่ยังต้องรับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่า ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มนี้ขาดทุนกำไรจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนคือ ข้าว ยาง ผลิตภัณฑ์ไก่ กล่าวคือ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มูลค่าการส่งออกข้าวในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีจำนวน 1,429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินบาทเท่ากับ 50,054 ล้านบาท โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.4 เท่านั้น ส่วนมูลค่าการส่งออกยางในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีจำนวน 2,532 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9

   ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินบาทเท่ากับ 88,909 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 6.2 ส่วนผลิตภัณฑ์ไก่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีจำนวน 401 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินบาทเท่ากับ 14,063 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงครึ่งแรกปี 2550 เท่ากับ 4,692 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินบาทเท่ากับ 164,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6  

    ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบแล้วจะรับภาระนั้นไว้เพียงบางส่วนและผลักภาระที่เหลือให้กับโรงงานแปรรูปและเกษตรกร ดังนั้นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับว่าสามารถผลักภาระให้กับโรงงานแปรรูปและเกษตรกรได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับอัตราการทำกำไรหรือมาร์จิ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มนี้มีอัตราการทำกำไรประมาณร้อยละ 15-20 ทำให้ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทไม่มากนัก ยกเว้นอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์และอุตสาหกรรมกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งมีอัตราการทำกำไรค่อนข้างต่ำมาก รวมทั้งการแข่งขันในต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์รุนแรง ดังนั้นสินค้ากลุ่มนี้จึงได้รับผลกระทบมาก

    สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งได้แก่ กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่พึ่งพิงวัตถุดิบต่างประเทศ ตลาดส่วนใหญ่บริโภคในประเทศ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มนี้ไทยยังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้า ดังนั้นการแข็งค่าของเงินบาทนั้นทำให้ราคาของสินค้าที่นำเข้ามีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์ ข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์ ซึ่งการแข็งค่าขึ้นของเงินบาททำให้ต้นทุนราคาผลิตภัณฑ์นมและข้าวสาลีนำเข้าถูกลง แม้ว่าตั้งแต่ปี 2549 ราคาผลิตภัณฑ์นมและข้าวสาลีในต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลจากปริมาณการผลิตนมและข้าวสาลีในประเทศผู้ผลิตสำคัญลดลง แต่การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทก็ช่วยลดผลกระทบจากการปรับขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์นมและข้าวสาลีได้บางส่วน ไม่เช่นนั้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมในประเทศต้องเผชิญปัญหาราคานำเข้าที่แพงกว่าในปัจจุบัน

   ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรปี50...โชคดีที่ยังมีปัจจัยบวก พึงระวังปี51

ถึงแม้ว่าผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่า แต่ในปี 2550 นี้ยังโชคดีอยู่บ้างที่มีปัจจัยบวกที่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในช่วงครึ่งแรกปี 2550 ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2549 กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในช่วงครึ่งแรกปี 2550 เท่ากับ 11,541 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายสำคัญของโลก โดยเฉพาะสินค้ากสิกรรม เผชิญกับปัญหาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ในปี 2550 นี้ความรุนแรงในการแข่งขันในตลาดโลกโดยเฉพาะสินค้ากสิกรรมของไทยลดลง ซึ่งนับเป็นโอกาสทองของการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทย ดังนั้นแม้ว่าจะต้องเผชิญปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แต่มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ก็ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญในประเทศก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ในปีการผลิต 2550/51 ปัจจัยบวกที่เคยบรรเทาผลกระทบจากค่าเงินบาทนั้นมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรรวมทั้งประเทศไทยด้วยจะขยายการผลิต ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยและปัญหาโรคและแมลงศัตรูรบกวน การแข่งขันในตลาดโลกจะกลับมารุนแรงอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นถ้าค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และผู้ที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องคือ โรงงานแปรรูปและเกษตรกร เนื่องจากมีแนวโน้มว่าราคาสินค้าเกษตรในปี 2551 จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าในปีนี้

 อย่างไรก็ตาม ทางเลือกในการลดผลกระทบของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในการเผชิญกับปัญหาการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท คือ

1.กระจายสกุลเงินในการส่งออก ปัจจุบันตลาดส่งออกอื่นๆก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรน่าจะดำเนินการเจรจากับคู่ค้าในการกำหนดราคาซื้อขายกันเป็นเงินสกุลอื่นๆนอกจากดอลลาร์สหรัฐฯ  

2.กระจายฐานการลงทุนไปในต่างประเทศ ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรรายใหญ่ของไทยพยายามกระจายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ทั้งในประเทศที่เป็นคู่ค้าและในประเทศคู่แข่ง เนื่องจากเป็นทางเลือกในการที่จะลดความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพึ่งพิงเฉพาะการลงทุนในประเทศ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของค่าเงิน การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆของประเทศคู่ค้า นอกจากนี้การไปลงทุนในประเทศคู่ค้ายังเป็นการประหยัดค่าขนส่งอีกทางหนึ่งด้วย

3.การหันมาขยายตลาดในประเทศ เมื่อตลาดส่งออกเผชิญปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง และปัญหาค่าเงินบาททำให้อัตราการทำกำไรของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรลดลง การหันมาขยายตลาดในประเทศนับว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจของบรรดาผู้ส่งออก โดยผู้ส่งออกที่ประสบความสำเร็จในการหันมาขยายตลาดในประเทศ คือ น้ำผักและผลไม้ อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง

4.กระจายธุรกรรมเพื่อลดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรบางรายมีการกระจายธุรกรรมทางการค้าจากการส่งออกจากไทย โดยหันมาซื้อจากต่างประเทศและส่งออกไปยังประเทศที่สาม ทำให้ไม่ต้องมีปัญหาในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เช่น ซื้อขายเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น    

บทสรุป

 การแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาทส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ สัดส่วนการพึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศ สัดส่วนของการพึ่งพิงการส่งออก และอัตรากำไรของผู้ส่งออก โดยสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบน้อยคือ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่พึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศและตลาดในประเทศ เช่น พืชน้ำมัน โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน  พืชตระกูลถั่วต่างๆ สุกรและผลิตภัณฑ์ ไข่ไก่ เป็นต้น  สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบปานกลางคือ กลุ่มสินค้าที่พึ่งพิงวัตถุดิบต่างประเทศและพึ่งพิงตลาดส่งออก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ส่วนสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับผลกระทบมากคือ กลุ่มสินค้าที่พึ่งพิงวัตถุดิบในประเทศและพึ่งพาตลาดส่งออก เนื่องจากไม่ได้รับอานิสงส์จากการนำเข้าวัตถุดิบ และยังต้องเผชิญกับปัญหาขาดทุนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกลุ่มสินค้านี้เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะข้าว ยางและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อย่างไรก็ตามมีกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทคือ กลุ่มสินค้าที่พึ่งพิงวัตถุดิบต่างประเทศ และพึ่งพิงตลาดอยู่ในประเทศ โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์นม และข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์

 ถึงแม้ว่าการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม แต่ยังโชคดีที่ในปี 2550 นี้มีปัจจัยเกื้อหนุน คือ ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลกประสบปัญหาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตและปัญหาภัยธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาโรคและแมลงศัตรูที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิต ดังนั้นประเทศคู่ค้าจึงหันมานำเข้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจากไทย ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาของปี 2550 ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องพึงระวังในปี 2551 คือปัจจัยเกื้อหนุนทางการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจะหมดไป ในกรณีที่ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของโลกต่างขยายปริมาณการผลิต โดยไม่ประสบปัญหาในเรื่องสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ประเทศคู่ค้าเริ่มมีทางเลือกมากขึ้น ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดโลก ดังนั้นปัญหาในเรื่องผลกระทบของเงินบาทแข็งค่าก็จะเป็นปัญหาใหญ่ต่อผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทย

 แนวทางที่ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยเร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบคือ การกระจายสกุลเงินในการส่งออกเพื่อลดการพึ่งพิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ กระจายฐานการลงทุนไปยังต่างประเทศ หันมาขยายตลาดในประเทศ และการกระจายธุรกรรมโดยการหันมาเพิ่มการซื้อมาและขายไปให้กับประเทศที่สาม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=86505