เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
bankniti
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 627
ผู้ติดตาม: 0

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ถึงทุกท่านที่ไปร่วมงาน TVI Meeting

ในวันงานท่าน ดร. นิเวศน์ ได้บรรยายถึงสูตรของ Gordon's Model หลังจากวันงานได้ไปอ่านเจอสูตรนี้ จึงขออนุญาตบอกกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gordon's Model และหากท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติมก็ช่วยกันนะครับ จะได้เป็นการเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก

สูตร Gordon's Model นั้นเป็นแบบหนึ่งของการคิดราคาหุ้นตามกระแสเงินสดที่ได้รับจากเงินปันผลในอนาคต โดยสมมุติว่าเราซื้อหุ้นและถือไว้โดยไม่ขาย ซึ่งสิ่งที่เราหวังจะได้รับทุกปีก็คือเงินปันผล สูตรก็คือ

K = (D/P)+g หรือ P = D/(k-g)

ซึ่ง K อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง(%),  D คือเงินปันผลที่คาดว่าจะจ่ายในปีต่อไป, P คือราคาของหุ้น, g อัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผลต่อปี(%)

สูตรนี้จะใช้ได้ต่อเมื่ออัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (k) มากกว่าอัตราการเจริญเติบโต (g) เท่านั้น ดังนั้น สูตรนี้จะไม่เหมาะที่จะใช้กับหุ้นของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง (g>k) ทั้งนี้เพราะคงไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้ที่จะโตในอัตราสูงมากได้ตลอดกาล ในกรณีที่บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเติบโตเร็วนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงข้อสมมุติเกี่ยวกับการเจริญเติบโตในอัตราคงที่เสียใหม่ แต่สูตรการคำนวณก็จะยุ่งยากขึ้น

ถ้าสมมุติว่าบริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับกำไรที่ได้เสมอ เช่น 50% ของกำไร ตัวนี้คือ Payout Ration (b) หรือเขียนค่า D ใหม่ได้ว่า D=bE เมื่อ E คือกำไรต่อหุ้น

เขียนใหม่ได้ว่า P = bE/(k-g) หรือก็คือ P/E = b/(k-g)

เพราะฉะนั้นปัจจัยที่กำหนดค่า P/E มี 3 ส่วนคือ
1) อัตราจ่ายเงินปันผล หรือ Payout Ratio (b)
2) อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน (k)
3) อัตราการเติบโตของบริษัท
ภาพประจำตัวสมาชิก
bankniti
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 627
ผู้ติดตาม: 0

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ต่อครับ...

ถ้าบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นจำนวน b% ของกำไร บริษัทจะมีเงินเหลือเก็บไว้ลงทุนต่อเท่ากับ (1-b)คูณด้วยกำไร ทีนี้ถ้าบริษัทนำเงินไปลงทุนต่อโดยให้ผมตอบแทนเท่ากับ ROE ดังนั้นกำไรของบริษัทก็จะเติบโตขึ้นด้วยอัตราเท่ากับ (1-b)ROE หรือก็คือ g=(1-b)ROE นั้นเอง

P/E = b / [ k (1-b)ROE] หรือ = b / [ k ROE + bROE]

จะเห็นได้ว่ามี b อยู่ทั้งตัวตั้งและตัวหาร เพราะฉะนั้นตัวที่จะมีผลก็คือ ค่า k กับ ROE

- ถ้า ROE < k หมายความว่าการเก็บเงินไว้ในบริษัทเพื่อขยายกิจการ (ROE) ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (k) บริษัทก็ควรจะจ่ายเงินปันผลออกมาดีกว่า ในกรณีนี้ ค่า b ยิ่งสูง ยิ่งทำให้มูลค่าโดยรวมของหุ้นลดลง (เพราะบริษัทควรจ่ายเงินปันผลออกมาให้หมดเลยด้วยซ้ำ)

- ถ้า ROE > k หมายความว่าการเก็บเงินไว้ในบริษัทเพื่อขยายกิจการ (ROE) ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (k) ในกรณีนี้บริษัทก็ควรจะเก็บเงินไปขยายกิจการจะดีกว่าตราบใดที่ ROE ยังมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ ในกรณีนี้ ค่า b ยิ่งสูง ยิ่งทำให้มูลค่าโดยรวมของหุ้นเพิ่มขึ้น

อาจจะยาวสักหน่อยแต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง โชคดีในการลงทุนทุกคนครับ  :cheers:
ภาพประจำตัวสมาชิก
dino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1295
ผู้ติดตาม: 6

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 3

โพสต์

:bow: แหะ แหะ ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 60

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:drink:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สูตรนี้กำหนดให้ DIV.คือกระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับ เอาไปคำนวณราคาหุ้นก็จะได้ราคาหุ้นที่นักลงทุนคาดหวังครับ

Gordon's Model จะแม่นยำได้นั้นมักจะเป็นกับบริษัทที่จ่ายปันผลในอัตราที่แน่นอน(บริษัทจะเติบโตไปตามปกติ ไม่ขึ้นลงตามรอบ) และมีGrowthที่ค่อนข้างแน่นอน นอกจากนั้นไม่ค่อยแม่นยำครับ

บริษัทที่กำลังเติบโตนั้น จะจ่าย Div.น้อยและไม่แน่นอน
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 6

โพสต์

bankniti เขียน:
P/E = b / [ k (1-b)ROE] หรือ = b / [ k ROE + bROE]

:
ใช้สูตรนี้ต้องระวัง ROE สักหน่อย เพราะในส่วน Equityนั้น แบ่งเป็นส่วนหลักๆสองส่วน
1 ส่วนของทุน ส่วนนี้จะเป็นมูลค่าหุ้น(Par value)ที่มีอยู่ และจะมีการบวกส่วนเกินราคาหุ้นที่ขายสูงกว่าราคาPar ส่วนนี้อาจจะกลายไปเป็นสินทรัพย์ บ้างแล้ว หรืออาจเอาไปใช้แล้ว

2 ส่วนกำไรสะสม ส่วนนี้บอกความสามารถในอดีตว่าบริษัทที่ผ่านมาหาเงินหาทองได้เป็นอย่างไร ไปเป็นสินทรัพย์บางส่วน

ถ้าส่วนกำไรสะสมมากๆจะใช้สูตรนี้ได้ดีขึ้น ถ้าส่วนมูลค่าหุ้นมากๆให้ระวังไว้ ทั้งนี้ให้ดูส่วนหนี้สินประกอบด้วย ถ้าหนี้สินมากๆ ROEมักจะสูงอยู่เองครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
aiko
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์