กลุ่มธุรกิจประกันภัย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/04/08

โพสต์ที่ 121

โพสต์

ขอเว้นภาษีควบรวมประกัน

โดย โพสต์ทูเดย์ วันที่ 16 เมษายน 2551

คปภ.วอนกรมสรรพากรยกเว้นเก็บภาษี เงินสำรองประกันเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้กรณีควบรวมกิจการ

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า คปภ.อยู่ระหว่างการหารือกับกรมสรรพากรถึงความเป็นไปได้ในการขอยกเว้นโอนเงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ของบริษัทที่ทำการควบรวมกิจการไปเป็นรายได้ของบริษัท

ทั้งนี้ มีกรณีของบริษัท เมืองไทยประกันภัย กับบริษัท ภัทรประกันภัย ที่อยู่ระหว่างการควบรวม เนื่องจากเงินสำรองประกันภัย ยังไม่ตกเป็นรายได้จริงของบริษัท เป็นเงินที่บริษัทประกันภัยต้องดำรงไว้เป็นสภาพคล่องในการเตรียมจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ประชาชน

สำหรับความคืบหน้าการควบรวมกิจการของบริษัท เมืองไทยประกันภัย และบริษัท ภัทรประกันภัยนั้น ทางคณะกรรมการ คปภ. ได้อนุมัติแผนควบรวมกิจการของทั้ง 2 บริษัทแล้ว เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2551 ที่ผ่านมา โดยจะทำให้เงินกองทุนของบริษัทเพิ่มเป็น 2,600 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มเป็น 3.6 ล้านบาท และสินทรัพย์ 5,800 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้จะต้องโอนไปที่บริษัทที่จะเกิดขึ้นใหม่หลังจากการควบรวม

นางจันทรา กล่าวว่า คปภ.อยู่ระหว่างการขอให้กรมสรรพากร พิจารณายกเว้นภาษีอีก 3 ประเภท คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ ลูกจ้างสำหรับเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มเฉพาะส่วนของความคุ้มครองที่ นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง ให้ยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นรายได้ของลูกจ้าง
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=232754
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news21/04/08

โพสต์ที่ 122

โพสต์

"ประกัน"อู้ฟู่โกยกำไรQ1ถ้วนหน้า ไตรมาส2ลุยตลาดรากหญ้ารับมาตรการกระตุ้นศก.

บริษัทประกันชีวิตโชว์ผลงานไตรมาสแรกสวยหรู "เมืองไทย" เบี้ยโตขึ้น 30% รับอานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สั่งเร่งเครื่องลุยตลาดฐานรากต่อเนื่องไตรมาส 2 "ไทยประกัน" ชูเบี้ยรวมกว่า 7 พันล้านบาท ด้าน "เอเอซีพี" ไม่น้อยหน้าโชว์ยอดเบี้ยปีแรก 850 ล้านบาทใน 3 เดือน พร้อมเร่ง รีครูตตัวแทนใหม่ได้ 13,500 คนในครึ่งปี

นายปราโมทย์ ศักดิ์กำจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทมีเบี้ยรับรวมประมาณ 3,900 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วราว 30% โดยเบี้ยปีแรกเติบโต 38% และเบี้ยต่ออายุเติบโต 29% ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทดำเนินนโยบายการทำตลาดหลากหลายช่องทาง (multi-distribution channel) โดยช่องทางการทำตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะแบงก์แอสชัวรันซ์ยังเป็นช่องทางที่เติบโตดีที่สุด ขณะที่ช่องทางหลักอย่างตัวแทนถือว่าเติบโตแบบมีเสถียรภาพ

"ยอมรับเศรษฐกิจค่อนข้างฝืดเคือง แต่เป็นจังหวะเดียวกับที่ภาครัฐพยายามกระจายรายได้และงบประมาณสู่ตลาด รวมถึงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเบี้ยประกันจาก 50,000 เป็น 100,000 บาท และมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ทำให้ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยและแบบประกันคุ้มครองสินเชื่อเติบโตขึ้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า มาตรการจากภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บริษัทและธุรกิจประกันชีวิตเติบโตได้ในไตรมาสแรกรวมถึงปีนี้ตลอดทั้งปีอีกด้วย"

ทั้งนี้ นายปราโมทย์กล่าวอีกว่า ในไตรมาสที่ 2 บริษัทจะต้องรุกตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดฐานราก หรือกลุ่มผู้มี รายได้ต่ำ เนื่องจากมาตรการของภาครัฐจะอัดฉีดเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้แข็งแกร่งเป็นหลักและทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งยังเชื่อว่าบริษัทประกันชีวิตจะหันมาเน้นทำตลาดนี้มากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป พร้อมกับเร่งทำตลาดเพื่อสร้างผลงานการเติบโตช่วงกลางปีให้มากที่สุด

นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท

ไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยถึงผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ว่า บริษัท มีเบี้ยประกันรับที่เกิดจากธุรกิจใหม่ 1,666 ล้านบาท เติบโต 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เบี้ยประกันรับปีต่อไป 5,328 ล้านบาท เติบโต 8% และเบี้ยประกันรับรวม 7,114 ล้านบาท เติบโต 9.5% ซึ่งผลประกอบการยังเติบโตต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากบริษัทออกภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับการบริการที่มาก กว่าการประกันชีวิต ไทยประกันชีวิต ฮอตไลน์ โดยเป็นบริการฉุกเฉินทางการแพทย์และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วโลก ทุกกรมธรรม์ และเป็นบริการที่ แตกต่างจากบริษัทประกันชีวิตอื่น ประกอบกับบริษัทได้ออกกรมธรรม์ใหม่หลายกรมธรรม์ ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย ซึ่งเอื้อต่อการเปิดการขายของตัวแทน

ขณะที่ผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกปี 2551 ของ บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต มีเบี้ยปีแรก 850 ล้านบาท ผ่านช่องทางตัวแทนเป็นหลัก 70% จากการขยายช่องทางผ่านสื่อออนไลน์และสื่อสาธารณะ นอกจากนี้บริษัทยังมีตัวแทนจำหน่ายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 900 คน/เดือน คาดว่าสิ้นไตรมาส 2 จะมีตัวแทนเพิ่มขึ้นกว่า 13,500 คน ซึ่งนับว่ามากที่สุดในรอบ 57 ปี ที่ได้ดำเนินธุรกิจมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการรีครูตตัวแทนด้วยตัวแทนเอง ทำให้บริษัทสามารถพัฒนาและฝึกอบรมตัวแทนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news23/04/08

โพสต์ที่ 123

โพสต์

บริษัทกลางฯลุยขายประกันออนไลน์

โพสต์ทูเดย์ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยฯ จับมือกสิกรไทยจ่ายเบี้ยประกันออนไลน์


นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ กล่าวว่า บริษัท กลางฯ ได้ร่วมมือกับธนาคาร กสิกรไทย ในการพัฒนาเครื่องออกกรมธรรม์พีวีอาร์แมชชีน (PVR Machine) เพื่อให้สามารถบริการ รับชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ด้วยบัตรเครดิตได้โดยตรงและพร้อมให้บริการแก่ตัวแทนและจุดขายของบริษัท

การออกกรมธรรม์ประกันภัยแบบออนไลน์ได้ทันที เพื่อเอื้อให้ ตัวแทนและจุดขายของบริษัท สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารผ่านบัตรเครดิตเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าและตัวแทนขาย ในการรับชำระค่าสินค้าและบริการ นายสมพร กล่าว

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตผ่านเครื่องพีวีอาร์ จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของธนาคารในการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม และเงินฝากจากธุรกิจประกันภัยอีกด้วย

สำหรับขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการรับชำระเงินผ่าน บัตรเครดิตจากเครื่องพีวีอาร์ของ ตัวแทนจุดขายไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก เพียงแค่ตัวแทนจุดขายกรอกแบบฟอร์มการพิจารณาร้านค้ารับบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย และเปิดบัญชี หรือมีบัญชีประเภทใด ก็ได้กับทางธนาคาร แล้วส่งแบบฟอร์มให้ธนาคารอนุมัติ ก่อนลงโปรแกรมบนเครื่องให้แก่ตัวแทนและจุดขาย สามารถรับชำระค่าสินค้าและบริการจากลูกค้าผ่านระบบเครดิตได้ทันที
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=233911
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/05/08

โพสต์ที่ 124

โพสต์

ประกันโตสวนศก.

โพสต์ทูเดย์ เศรษฐกิจชะลอตัวไม่กระทบลูกค้าประกันไตรมาสแรกส่งเงินต่อเนื่องดันเบี้ยรับรวมโต 14% สูงกว่าจีดีพี 2 เท่า


สมาคมประกันชีวิตไทย รายงาน ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2551 ของธุรกิจประกันชีวิตทั้งระบบมีเบี้ยรับรวม 5.12 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีจำนวน 4.50 หมื่นล้านบาท เติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจหรือจีดีพี ซึ่งอยู่ที่ 6%

ทั้งนี้ ลูกค้าใหม่ยังคงมีการซื้อประกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเงิน 1.04 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% และมีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิต ซึ่งชำระเบี้ยครั้งเดียวเป็นเงิน 4,284 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% ลูกค้าเก่าต่ออายุกรมธรรม์ตั้งแต่ปีที่ 2 ขึ้นไปเป็นเงิน 3.64 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 87% ที่มีอัตรา ความยั่งยืนของกรมธรรม์ 85%

นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ผลประกอบการเดือน ม.ค. มี.ค. 2551 นั้น บริษัทมีเบี้ยประกันรับรวมสูงถึง 3,830 ล้านบาท นับเป็นการเติบโตสูงถึง 33% เป็นเบี้ยประกันปีแรก 1,495 ล้านบาท เติบโต 29% และเบี้ยประกันต่ออายุ 2,335 ล้านบาท เติบโต 36%

นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวถึงผลประกอบการของบริษัทในช่วงไตรมาสแรก ปี 2551 ว่า สามารถผลิตเบี้ยประกันรับที่เกิดจากธุรกิจใหม่ได้ 1,666 ล้านบาท โดยเป็นเบี้ยประกันรับปีแรก 1,350 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12% เบี้ยประกันรับปีต่อไป 5,330 ล้านบาท เติบโต 8% เบี้ยประกันรับรวม 7,115 ล้านบาท เติบโต 9%

นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่าไตรมาสแรกของปี 2551 ระหว่าง เดือน ม.ค.-มี.ค. มีผู้สมัครสอบตัวแทนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 56,055 คน เพิ่มจากปีก่อนในระยะเดียวกัน ซึ่งมี ผู้สมัครสอบ 44,785 คน หรือ เพิ่มขึ้น 25.16% ในจำนวนนี้ เข้าสอบ 41,275 คน สอบผ่าน 24,209 คน หรือ 58.65% ของผู้เข้าสอบ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=237504
Sittipan.tvi
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มธุรกิจประกันภัย

โพสต์ที่ 125

โพสต์

`สาระ'คาดปี51บริษัทประกันชีวิตลงทุนตลาดหุ้นเพิ่ม

นายสาระ  ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ในปีนี้เชื่อว่าธุรกิจประกันชีวิต จะลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเนื่องจากหลายบริษัท มีแนวโน้มที่จะออกสินค้าประเภทกรมธรรม์ควบคู่หน่วยลงทุน(Unit link)มากขึ้นจึงน่าจะมีการลงทุนเพื่อสนับสนุนการขายสินค้าดังกล่าว

ทั้งนี้ใน 2550 ธุรกิจประกันชีวิตมีการลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมเพียง 5% ของสินทรัพย์การลงทุนในระบบที่มีมูลค่ากว่า 8-9 แสนล้านบาท

"เชื่อว่าบริษัทประกันชีวิต  จะต้องลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นมากแน่ เพราะหลายบริษัทมีทิศทางจะออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นยูนิต ลิงค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนในหุ้น ให้เห็นมากขึ้น ดังนั้นถ้าบริษัทพวกนี้เข้ามาลงทุนในหุ้น ถึง 10% ก็จะถือว่าดีมาก" นายสาระ กล่าว

กรมธรรม์ยูนิต  ลิงค์  หรือ  Unit-linked  Life Insurance Policy เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและโอกาสในการลงทุนเพราะกรมธรรม์ประเภทนี้ จะแบ่งเบี้ยประกันที่เรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัย เป็น

2 ส่วนคือส่วนแรก เป็นค่าเบี้ยประกันสำหรับการให้ความคุ้มครอง และส่วนที่ 2 จะนำไปลงทุนในกองทุนรวม ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และข้อจำกัดการลงทุนของผู้เอาประกันภัย

นายสาระ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทประกันชีวิต ยังสามารถลงทุนในหุ้นได้อีก เพราะตามเกณฑ์กำหนดให้ลงทุนได้ถึง 20% แต่ขณะนี้ลงทุนเพียง 5% โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทนคงที่ถึง 80% และที่เหลือปล่อยกู้และอื่นๆ กว่า 10%

อย่างไรก็ตาม นายสาระ บอกว่า หุ้นขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีในตลาดหุ้น ที่ตรงตามความต้องการลงทุนของธุรกิจประกันชีวิตมีไม่มากนัก   ประกอบกับที่ผ่านมาได้รับข้อมูลของบริษัทต่างๆ ในตลาดไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ(mai) ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตลงทุนได้ในวงจำกัด

ดังนั้นจึงหวังว่า หากมีข้อมูลทางการลงทุนครบถ้วน ครอบคลุมหลายบริษัท จะช่วยให้การลงทุนในหุ้นดีขึ้น

นายสาระกล่าวอีกว่า กรณีที่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 โดยกำหนดให้บริษัทประกันภัยทุกแห่ง ต้องแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด(บมจ.) ภายใน 5 ปี นับแต่ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวนั้น เชื่อว่าจะทำให้บริษัทหลายแห่งต้องเตรียมตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งในส่วนของบริษัทคงเตรียมดำเนินการในปีหน้าแต่ยังไม่ถึงขั้นพิจารณาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
วันที่ 12 พ.ค. 2551 แสดงข่าวมาแล้ว 7ช.ม. 14นาที
 
http://www.kaohoon.com/pg.newspaper/gen ... ?cid=15286
Sittipan.tvi
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มธุรกิจประกันภัย

โพสต์ที่ 126

โพสต์

แหล่งข่าว SET  
 หัวข้อข่าว SET News : ตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนการออกยูนิต ลิงค์  
 วันที่/เวลา 16 เม.ย. 2551 09:13:00  

                                                 ข่าว SET ฉบับที่ 50 / 2551
                                               16 เมษายน 2551


ตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนการออกยูนิต ลิงค์ เพิ่มทางเลือกใหม่สำหรับผู้ลงทุน

นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการสายงานการตลาดศูนย์ระดมทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการดำเนินการ ด้านขยายฐานการลงทุนด้วยการทำงานร่วมกับธุรกิจ
ประกันภัยว่า หน่วยงานในตลาดทุน ซึ่งได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงาน
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานในภาคธุรกิจประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานคณะกรรมการ
กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัย
สมาคมตัวแทนประกันชีวิต สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และสถาบันประกันภัยไทย ได้จัดทำโครงการ
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจประกันภัยไทย เพื่อรองรับพัฒนาการทางการเงิน ที่
เชื่อมโยงระหว่างตลาดทุนและประกันภัย โดยยูนิต ลิงค์จะเป็นสินค้าสำคัญที่เชื่อมต่อการประกันภัยและ
การลงทุน

"จากความร่วมมือในครั้งนี้ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ อาทิ การส่งเสริมความรู้
ความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์
ความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้มีประสานงานหารือในรายละเอียด และถือว่าการ
ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก" นายวิเชฐ กล่าว

รองผู้จัดการ สายงานการตลาดศูนย์ระดมทุนกล่าวต่อว่า "ความร่วมมือดังกล่าว จะมีส่วนส่งเสริมการออก
สินค้าใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าจะช่วยเพิ่มช่องทางการลงทุนและการบริหารเงินออม
ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ ยูนิต ลิงค์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุน ขณะเดียวกันยังมีส่วนของ
ความคุ้มครองด้วย เรียกได้ว่าเป็นสินค้าใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องของการลงทุน ทำให้ลูกค้ามีโอกาส
บริหารผลตอบแทนได้ตามความต้องการจึงน่าจะได้รับความนิยมในอนาคต และในปี 2551 คาดว่าน่าจะมี
กรมธรรม์ประเภทยูนิต ลิงค์ ออกไม่ต่ำกว่า 2 กรมธรรม์"

ยูนิต ลิงค์ คือ กรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุน (Unit-linked Life Insurance Policy) ที่ผู้เอา
ประกันภัยจะได้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและโอกาสในการลงทุน เพราะกรมธรรม์ประเภทนี้ จะแบ่งเบี้ยประกัน
ที่เรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัย ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นค่าเบี้ยประกัน สำหรับการให้ความ
คุ้มครอง และส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนเงินลงทุน ที่จะนำไปลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
และข้อจำกัดการลงทุนของผู้เอาประกันภัย

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจประกันภัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะ
ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดทุนและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในตลาดทุน แก่ผู้ประกอบ
ธุรกิจประกันภัย และตัวแทนขายประกัน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจและเห็นโอกาสของการ
ลงทุนในตลาดทุนและสามารถตัดสินใจที่จะลงทุนเอง รวมทั้ง สามารถนำเสนอสินค้าของตลาดทุนแก่
ลูกค้าได้



http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่มธุรกิจประกันภัย

โพสต์ที่ 127

โพสต์

คปภ.มั่นใจอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นทำธุรกิจประกันปี 54 โตไม่ต่ำกว่า 10%
เนื่องจากมั่นใจในมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่อนุมัติวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า แม้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 2554 จะเป็นช่วงขาขึ้น แต่ไม่น่าจะทำให้ประชาชนลดการทำประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ ตรงกันข้ามจะทำให้ประชาชนสนใจหันมาทำประกันภัยรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมั่นใจในมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบ บำนาญ ที่อนุมัติวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าเบี้ยประกัน ชีวิตแบบบำนาญเพิ่มจากวงเงินเดิม สำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท และภาษีอื่น ๆ ที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนสนใจทำประกันภัย เพราะนอกจากเป็นการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังถือเป็นการออมเงินในระยะยาวอีกด้วย

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ประเมินภาพรวมธุรกิจประกันภัยและธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีอัตราการเติบโตตาม ภาวะเศรษฐกิจและผลจากการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักการทำประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจประกันในปีนี้มีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16 หรือคิดเป็นเบี้ยรับรวมกว่า 423,158 ล้านบาท และยังมองว่าปี 2554 จะขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 10-15 หรือคิดเป็นเบี้ยรับรวมเกือบ 500,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากดูภาพรวมธุรกิจประกันในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 10.43 โดยมีเบี้ยประกันภัยรวม 103,910 ล้านบาท เป็นของธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 73,837 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ10.02 ธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวน 30,073 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 11.46 รวม 9 เดือน (มกราคม-กันยายน 2553) ธุรกิจประกันภัยขยายตัวร้อยละ 12.85 โดยมีเบี้ยประกันภัยรวมทั้งสิ้น 300,886 ล้านบาท เป็นการขยายตัวของธุรกิจประกันชีวิตร้อยละ 13.46 โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 211,342 ล้านบาท และเป็นการขยายตัวของธุรกิจประกันวินาศภัยร้อยละ 11.43 โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 89,544 ล้านบาท

นางจันทรา กล่าวอีกว่า การที่ธุรกิจประกันภัยสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง เป็นผลมาจากมาตรการเชิงรุกของ คปภ.ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบประกันภัยไทย ด้วยการเสริมสร้างความรู้ด้านการประกันภัยให้ประชาชน ผ่านหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและกำลังซื้อ ของประชาชน การออกกรมธรรม์ประกันภัยระดับฐานรากที่เรียกว่า ไมโครอินชัวรันส์ คือประกันภัยราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถมีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต ประกอบกับในเดือนกันยายน 2553 มีการจัดงานสัปดาห์ประกันภัยส่งผลให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ และซื้อประกันภัยภายในงานเป็นจำนวนมากและ คาดว่าในปี 53 สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ จีดีพี จะยังคงอยู่ตามกรอบที่ได้ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 4.23 โดยเบี้ยประกันภัยรับจะขยายตัวร้อยละ 15-16 คิดเป็นเบี้ยประกันภัย 423,158 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คปภ.จะเร่งประสานกับภาคธุรกิจในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจหลักเกณฑ์ และรูปแบบของการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ได้ แต่ต้องเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด เช่น ระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป โดยบริษัทจะต้องระบุในเงื่อนไขของตัวกรมธรรม์ ว่า จะเริ่มจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุไม่ต่ำกว่า 85 ปี ทั้งนี้จะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบำนาญ ยกเว้นผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการในปี 2554 เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
http://www.thairath.co.th/content/eco/132149
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่มธุรกิจประกันภัย

โพสต์ที่ 128

โพสต์

แนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตปี 54
สมาคมประกันชีวิตไทยตั้งเป้าปี 54 เบี้ยรับรวมโต 15% ด้านปี 53 ไปไม่ถึงฝันขาด 2%

โดย วารุณี อินวันนา
สมาคมประกันชีวิตไทย คาดการณ์ธุรกิจประกันชีวิตในปี 2554 อย่างสวยหรู ด้วยตัวเลขการเติบโตสูงถึง 15% จากปี 2553 ที่ตัวเลขการเติบโตไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีว่าจะเพิ่มขึ้น 15%

อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยบวกหลายอย่างทำให้ นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ตั้งเป้าหมายว่าปี 2554 เบี้ยรับรวมจะเติบโต 15% เมื่อเทียบกับปี 2553

นายสุทธิ กล่าวว่า การตั้งเป้า 15% มาจากเหตุผลหลัก คือ ช่องทางการขายที่หลากหลาย โดยเฉพาะการขายผ่านธนาคารที่มีส่วนแบ่งเบี้ยปีแรกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มยังจะได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้น เพราะมีความเคยชินแล้วจากช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ช่วงนั้นสัดส่วนยอดขายผ่านช่องทางดังกล่าวแค่ 10% เท่านั้น แต่ปี 2553 เพิ่มขึ้นมาเป็น 38-39% ของเบี้ยปีแรก

ขณะเดียวกัน ช่องทางการขายผ่านตัวแทน ยังมีสามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะสัดส่วนผู้ถือกรมธรรม์มีเพียง 26% เท่านั้น ยังมีอีกกว่า 70% ที่ยังไม่มีความคุ้มครอง เพียงแต่รอตัวแทนเข้าไปเสนอแบบประกันที่ตรงกับความต้องการเท่านั้น

นอกจากนี้ มาตรการลดหย่อนภาษีกรมธรรม์บำนาญที่ออกมาช่วงปลายปี และหลายบริษัทออกกรมธรรม์มาขายในเดือนธ.ค.2553 จะมีผลกระตุ้นตลาดให้กันมาซื้อประกันมากขึ้นในปี 2554 ซึ่งปีนี้เวลาสั้นไป ผู้มีเงินออมหันไปซื้อกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และ กองทุนหุ้นระยะยาวไปแล้ว

รวมถึง กลางปี 2554 อัตราเบี้ยมรณะใหม่จะออกมาใช้ ทำให้ราคาเบี้ยประกันชีวิตลดลง โดยเฉพาะเพศหญิง จะกระตุ้นให้ประชาชนหันมาออม ผ่านประกันชีวิตมากขึ้น

ปี 53 เบี้ยหลุดเป้า เหตุม็อบแดง น้ำท่วมฉุด

นายสุทธิ ยอมรับว่าปี 2553 เบี้ยรับรวมจะเติบโตไม่ถึง 15-16% ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เมื่อช่วงต้นปี เพราะเบี้ยรับรวมช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราการเติบโตเพียง 13% ส่งสัญญาณว่าเบี้ยรวมจะไปไม่ถึงเป้าหมาย อาจจะเติบโตเพียง 13% เท่านั้น

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เบี้ยรับรวมชะลอตัวยมาจาก 2 เหตุการณ์ คือ ช่วงเดือนพ.ค.-เดือนมิ.ย. มีเหตุการณ์ไม่ปกติทางการเมือง เกิดการชุมนุมยืดเยื้อ ทำให้บริษัทประกันชีวิตหลายแห่งที่อยู่ในบริเวณชุมนุมหยุดร่วมสัปดาห์ ส่งผลต่อการทำตลาด และ การให้บริการ

อีกช่วงหนึ่งคือ เดือนต.ค. เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ บริษัทประกันชีวิตมีการผ่อนผันการชำระเบี้ยให้ลูกค้า 2-3 เดือน และเข้าไปเก็บเบี้ยไม่ได้ตามที่นัดหมาย จากมีการชุมนุมทำให้การทำตลาดและบริการหยุดชะงักร่วมเดือน และมีภาวะน้ำท่วมตามมาอีก ทำให้เบี้ยไหลเข้าไม่เป็นไปตามที่ประมาณการณ์ไว้

แม้ว่า ในช่วงปลายปีทางกรมสรรพากร จะประกาศให้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มอีก 2 แสนบาท รวมเป็น 3 แสนบาท แต่เมื่อรวมกับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กองทุนหุ้นระยะยาวแล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาท แต่หลายบริษัทประกันชีวิตเพิ่งจะออกกรมธรรม์มาทำตลาดได้ในช่วงกลางเดือนธ.ค. ซึ่งผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิลดหย่อนทางภาษีได้ทำการลงทุนไปแล้ว
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษ ... ชีวิตปี-54
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่มธุรกิจประกันภัย

โพสต์ที่ 129

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจ

ธุรกิจประกันชีวิตปีกระต่ายรุ่ง เบี้ยพุ่ง3.4แสนล้าน-ตจว.วิ่งฉิว

ประกันชีวิตปีกระต่ายยังวิ่งฉิว เบี้ยรับรวมบานสะพรั่ง 3.37 แสนล้านบาท โตต่อเนื่อง 15% ฟันธงลูกเล่น "โปรดักต์-ช่องทาง" กำลังหลักดันธุรกิจ แถมอานิสงส์หักภาษีเพิ่ม-ดบ.ขาขึ้น ลุ้นบำนาญแจ้งเกิด ดันธุรกิจโตระยะยาว ส่วนกฎเกณฑ์ใหม่ "RBC-มาตรฐานบัญชี" บีบธุรกิจปรับตัวรับมือปัจจัยลบ

นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในปี 2554 ว่า ทั้งธุรกิจจะมีเบี้ยรับรวมทั้งสิ้น 336,700 ล้านบาท ขยายตัว 15% โดยจะแบ่งเป็นเบี้ยปีแรก 72,100 ล้าบาท เติบโต 15.5%, เบี้ยต่ออายุ 230,600-232,600 ล้านบาท เติบโต 15.5-16.5% และเบี้ยชำระครั้งเดียว (ซิงเกิลพรีเมี่ยม) 34,000-34,400 ล้านบาท เติบโต 10.7-12%

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจประกันชีวิตในปีหน้า นายสุทธิกล่าวว่า ปัจจัยหลักยังมีอยู่เช่นเดิม ทั้งการพัฒนาแบบประกันใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น รวมถึงช่องทางขายอย่างหลากหลายที่แต่ละบริษัทพยายามบุกขยายตลาดให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะแบงก์แอสชัวรันซ์ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี ในปีหน้าบริษัทที่มีช่องทางการขายนี้น่าจะออกแบบประกันออมทรัพย์ต่าง ๆ มาเสริมในการขาย ซึ่งจะสนับสนุนให้แบงก์แอสชัวรันซ์ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-12-30