อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อุตฯเปิด3โครงการพัฒนาแฟชั่น-สิ่งทอ [ ฉบับที่ 793 ประจำวันที่ 16-5-2007 ถึง 18-5-2007]  
>ปี 50 สร้างคนสร้างแบรนด์เพิ่มรายได้

ก.อุตสาหกรรม - นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ (THTI) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุต สาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ด้วยมูลค่ารวมจากการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศกว่า 5 แสนล้านบาท

แต่เนื่องด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นไทยปัจจุบันส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการรับจ้างผลิต (OEM) ให้กับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ของโลก มีเพียงส่วนน้อยที่มีการออกแบบและพัฒนาสินค้าเป็นของตัวเอง ส่งผลให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแบรนด์ไทย ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าแฟชั่นในตลาด โลกได้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นต้องปรับตัวจากผู้รับจ้างผลิตมาเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีรูปแบบและคุณภาพระดับสากล (ODM)

ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมโดยรวม แต่การจะผลักดันผู้ประกอบการให้ก้าวไปสู่ขั้นนั้นได้ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านแฟชั่นดีไซน์ให้มีฐานความรู้ ทั้งด้านการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาด และความสามารถในการสร้างแบรนด์ที่ถูกทิศทางและแข็งแรงในอนาคต นายวิรัตน์ กล่าว  
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/06/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อานิสงส์JTEPAดันสิ่งทอพุ่ง [ ฉบับที่ 796 ประจำวันที่ 26-5-2007 ถึง 29-5-2007]  
>ตลาดยุ่นโต ตลาดโลกทะลุ 3 แสนล้านบาท
ศูนย์ฯสิริกิติ์ - สถาบันสิ่งทอการันตีอุตฯเครื่องนุ่งห่มในตลาดโลกยังไปได้สวย จับตาไตรมาส 4 ส่งออกญี่ปุ่นบานสะพรั่ง มั่นใจยอดขายทะลุเกิน 3 แสนล้านบาท เตือนผู้ประกอบการอย่ากังวลเกินเหตุ แนะกลยุทธ์กอดคอจีน-อินเดีย เป็นคู่ค้าแทนคู่แข่ง

นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวกับ สยามธุรกิจ ว่าอนาคตอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ในตลาดโลกยังมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะด้านการ ส่งออก โดยในปีที่ผ่านมามียอดส่งออกมากถึง 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 3 แสนล้านบาท ซึ่งปีนี้ยอดการส่งออกน่าจะสูงกว่าปีที่ผ่านมาเนื่องจากผลจากการลงนาม JTEPA ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น จะเริ่มบังคับใช้ได้ในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ทำให้ออเดอร์การส่งออกสิ่งทอไปญี่ปุ่นจะเติบโตจากปกติได้อีกไม่ต่ำกว่า 5% ในขณะที่ตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็ยังไปได้ดี รวมถึงการที่กระทรวงพาณิชย์ ไประดมเปิดตลาดใหม่ๆ อย่างแอฟริกา กลุ่มประเทศ CIS และบางประเทศในแถบตะวันออก กลางก็น่าจะช่วยเพิ่มยอดการส่งออกได้อีกมาก

กลุ่มสินค้าประเภทรับจ้างผลิต หรือ OEM ยังไปได้ดี ผู้ผลิตใหญ่ๆ เช่น อาดิดาสและไนกี้ยังมีออเดอร์สั่งผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่มียอดส่งออกลดลงไปบ้างคือผู้ผลิตโลคัลแบรนด์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ารูปแบบการผลิตยังไม่ตรงกับรสนิยมของต่างประเทศ อย่าง ไรก็ตาม ช่องว่างด้านการส่งออกสิ่งทอประเภท เครื่องนุ่งห่มยังมีอีกมาก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำ ได้หรือไม่ นายวิรัตน์ กล่าว  
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news08/06/07

โพสต์ที่ 3

โพสต์

JTEPAลดภาษีนำเข้าอัญมณีเหลือ0% ไทย-ญี่ปุ่นจับมือโปรโมตตลาดพลอยสี

โครงการ Janpan Color Stone Promotion หรือ JCP ช่วยหนุนตลาดส่งออกพลอยสีไทย หลังผู้ผลิตนาฬิกาซิติเซน กับสมาคมผู้ผลิตแพลทินัมญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าพลอยสีไทย คาดยอดส่งออกพลอยสีของไทยปีนี้มีสิทธิ์เติบโตกว่า 12% ผู้ประกอบการวอนรัฐช่วยสนับสนุนงบประมาณเตรียมโปรโมตพลอยสีในออสเตรเลีย-ไต้หวัน-อิตาลี

ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement หรือ JTEPA) ได้กำหนดให้สินค้าเครื่องประดับอัญมณีแท้ (HS 7113), เครื่องประดับอัญมณีเทียม (HS 7117), อัญมณีสังเคราะห์ (HS 7104), ทองคำไม่ขึ้นรูป โลหะมีค่า และของหุ้มด้วยโลหะมีค่า จะได้รับการลดภาษีลงเหลือ 0% ทันทีที่ข้อตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคมนี้ ส่งผลให้ผู้นำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับญี่ปุ่นให้ความสนใจสินค้าเครื่องประดับอัญมณีจากไทยมากขึ้น

นายชวลิต ซาลวาลา ประธาน คณะทำงานพัฒนาสินค้าพลอยสีของไทยในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อโครงการ JAPAN COLOR STONE PROMOTION : JCP เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันกิจกรรมพัฒนาตลาดพลอยสีไทยในโครงการ JCP ได้รับความสนใจจาก ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นจำนวนมาก
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/06/07

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อัญมณีวิกฤติ!ส่อถูกตัดGSPเดือนหน้ารู้ผล [ ฉบับที่ 801 ประจำวันที่ 13-6-2007 ถึง 15-6-2007]  
อัญมณีทำใจยอมรับสภาพอาจถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิ จีเอสพี แต่ยังดิ้นสุดฤทธิ์ส่งทีมล็อบบี้หวังต่ออายุอีกเฮือก หวั่น 5 สินค้าไทย วืดสิทธิพิเศษทำเม็ดเงินสูญนับหมื่นล้าน ด้านตัวเลขส่งออกทรุดฮวบต่ำกว่า 10% ล่าสุด ผู้นำเข้า เมืองลุงแซม เริ่มลังเล หันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่นแทน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น SMEs ร่วงกราว

นายพรชัย ชื่นชมลดา นายกสมา-คมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ เปิดเผย สยามธุรกิจ ถึงสถานการณ์ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับว่า ไม่ค่อยจะดีนัก โดยเฉพาะจากปัญหาใน หลายประการ ขณะนี้กำลังรอว่ากลุ่มอัญมณีประเภททองจะได้รับการต่อสิทธิ พิเศษจีเอสพีจากสหรัฐอเมริกาหรือไม่! หลังจากประเภทซิลเวอร์นั้นได้รับการ ต่อสิทธิไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่า ผลสรุปน่าจะออกช่วงต้นเดือนหน้า แต่ ต้องยอมรับว่าผลจากการที่ประเทศไทย ประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรต่อสหรัฐฯ (CL) จนนำไปสู่การถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ถูกจับตาอาจเป็น ส่วนสำคัญในการที่เขาจะหยิบยกขึ้นมา เป็นข้ออ้างในการไม่ต่อสิทธิ GSP

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวยังเชื่อว่า การเจรจาระหว่างภาครัฐของไทยกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ น่าจะหาทางออกร่วมกันต่อเรื่องนี้ได้ เหมือนกรณีที่บราซิลเคยเจอปัญหาเดียวกับไทยแต่ภาครัฐก็สามารถ ไปเจรจาจนบรรลุผลสำเร็จ
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4116
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/06/07

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Jewellers cash in on Kuwaiti oil boom
ARANEE JAIIMSIN

High oil prices are leading to booming demand for Thai jewellery among Middle Eastern consumers. Thailand's jewellers _ respected globally for quality craftsmanship _ will be participating in a major international jewellers' fair in Kuwait in a hope to increase their already large market share.

Akawut Tangsilikusolwong is the managing director for Vega International Co Ltd, which arranges for Thai business operators to join Kuwaiti trade fairs. He said that Kuwait's multi-billion baht jewellery market had a shortage of skilled craftsmen, which Thai operators see as an opportunity.

Thai jewellers are in demand in Kuwait due to their internationally recognised reputation.
http://www.bangkokpost.com/Business/16Jun2007_biz39.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/06/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เตรียมทำใจสหรัฐตัดสิทธิGSP อัญมณี-ทีวีสี-ยางไทยโดนแน่

สหรัฐเตรียมประกาศตัดสิทธิ GSP ภายใน มิ.ย.นี้ คต.เตือน โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต-ยางเรเดียล-เครื่องรับโทรทัศน์สี-อัญมณีทำจากโลหะมีค่า เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ แนะผู้ส่งออกไทยต้องเร่งวิจัยพัฒนาสินค้ารักษาฐานตลาด อย่าหวังพึ่ง GSP ฟันธงในอนาคตจีเอสพีที่ให้ฝ่ายเดียวจะถูกลดบทบาทลง ถูกนำมาใช้เป็นข้อต่อรองทางการค้า

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) จะประกาศผลการพิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับไทย ว่า ทาง USTR จะประกาศผลภายในเดือนมิถุนายน และจากการพิจารณาข้อมูลของปี 2549 ที่ผ่านมา ในเบื้องต้นพบว่ามีสินค้า 4 รายการ คือ โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต, ยางเรเดียล, เครื่องรับโทรทัศน์สี และอัญมณีทำจากโลหะมีค่า อยู่ในข่ายอาจจะถูกตัดสิทธิ GSP โดย 3 รายการแรกอาจถูกตัดสิทธิเพราะมีมูลค่านำเข้าสูงเกินกว่าเพดานที่สหรัฐกำหนดไว้ 125 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอัญมณีทำจากโลหะมีค่า เป็นสินค้าที่เคยได้รับการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกเกิน 5 ปีแล้ว ซึ่งอาจจะถูกสหรัฐทบทวนตัดสิทธิจีเอสพีในปีนี้
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news25/06/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เปิดโลกส่งออก / JTEPA ดึงยุ่นปลุกวิญญาณสิ่งทอไทย - 25/6/2550

เปิดโลกส่งออก / JTEPA ดึงยุ่นปลุกวิญญาณสิ่งทอไทย
หลังจากที่มีลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ Japan Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA หลายฝ่ายเชื่อมั่นว่าจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่มไทย
เพราะญี่ปุ่นเป็นตลาดใหญ่ที่นำเข้าเสื้อผ้าจากทั่วโลกกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 260 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลงนาม JTEPA จะทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่มลดลงเหลือ 0% นักธุรกิจแดนปลาดิบสนใจสร้างซัพพลายเชน ร่วมซื้อและลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย คาดการณ์อุตสาหกรรมฯจะขยายตัวในตลาดญี่ปุ่นปีแรกไม่ต่ำกว่า 20-30%
ราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ มองว่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มคือการลดภาษีจาก 12% เป็น 0% ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต.ค. 2550 นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือพิเศษ 7 เรื่อง โดย 1 ใน 7 เรื่องนั้นจะเป็นความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ทำให้เกิดการร่วมทุน รวมทั้งองค์ความรู้ที่จะเข้ามาอย่างรวดเร็ว คาดว่าผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มจะได้รับประโยชน์ทันทีในด้านยอดขายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
แต่ผู้ประกอบการไทยที่จะได้รับประโยชน์ในเรื่องภาษีจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า โดยทางญี่ปุ่นกำหนดให้สินค้าเครื่องนุ่งห่มที่จะส่งไปขายในประเทศญี่ปุ่นต้องผ่านกระบวนการผลิต 2 ขั้นตอน คือสามารถนำผ้าผืนจากประเทศไทย ญี่ปุ่น หรือจากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน แล้วนำมาตัดเย็บในเมืองไทย จึงจะถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดสินค้า ที่ไม่ต้องเสียภาษี
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176498
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news29/06/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เล็งปรับโครงสร้างอุตฯสิ่งทอ

โพสต์ทูเดย์ ส่งออกสิ่งทอ 5 เดือนแรก ขยับจิ๊บจ๊อยแค่ 2.06% รัฐเตรียมเข็นมาตรการปรับโครงสร้างการผลิตเข้าช่วย

นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกและอัตราการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สิ่งทอขยายตัวเพียง 2.06%
ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ มี การขยายตัวในระดับ 2 หลัก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ 13.52% เครื่องใช้ไฟฟ้า 16.19% ยานพาหนะและอุปกรณ์ 25.33%
สาเหตุที่อัตราการเติบโตของภาคสิ่งทอไทยและเครื่องนุ่งห่มชะลอตัว เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ เสื้อผ้าสำเร็จรูปไทยมีราคาสูงขึ้นในสายตาผู้นำเข้า ส่งผลให้คำสั่งซื้อ ชะลอตัว
อีกทั้งสินค้าจากไทยยังถูกสินค้าจากประเทศจีน เวียดนาม บังกลาเทศ อินเดีย และอินโดนีเซีย ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดไปค่อนข้างมาก เนื่องจากได้เปรียบ ทั้งในเรื่องของต้นทุนแรงงาน และ ค่าเงินของแต่ละประเทศไม่ได้ผันผวนมากนัก ทำให้การแข่งขันด้านราคาทำได้อย่างเต็มที่
ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศญี่ปุ่นก็ถูกสินค้าจากจีนเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 80% เพราะญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตไปตั้งที่จีนแล้ว เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำ
การย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น ก็เพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนในประเทศที่หันมานิยมใส่เสื้อผ้า สำเร็จรูปในราคาระดับล่างและปาน กลางมากขึ้น สิ่งทอไทย ที่ไม่สามารถแข่งขันลดราคาได้ จึงได้รับผลกระทบค่อนข้างมากอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอมียอดส่งออก 5 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 2.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.06% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่หากแยกเป็นรายสาขา พบว่า เครื่องนุ่งห่มมีการส่งออกลดลง 3.76% เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง 4.73%
เมื่อคำนวณการส่งออกเครื่อง นุ่งห่มในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา เป็น เงินบาท จะพบว่า มูลค่าการส่งออก ลดลง 13% และหากคิดเป็นเหรียญสหรัฐการส่งออกลดลง 3.75%
ดังนั้น สศอ.กำลังเตรียมที่จะหารือกับเอกชนเพื่อวางยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันยิ่งขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175512
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news1/07/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เอกชนโอดมะกันตัดจีเอสพีฉุดส่งออกอัญมณีร้อยละ 30  

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2550 18:41 น.

เอกชนยอมรับหากสหรัฐตัดจีเอสพีจะกระทบการส่งออกอัญมณีที่ทำด้วยทองคำ โดยจะกระทบต่อยอดส่งออกประมาณร้อยละ 30 ขณะเดียวกัน ได้ปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่มารองรับแล้ว
     
      นายพรชัย ชื่นชมลดา นายกสมาคมอัญมณีและเครื่องประดับ แสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สหรัฐอเมริกาได้ตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้าอัญมณีที่ทำด้วยทองคำของไทยว่า คงจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอัญมณีประเภทที่ทำด้วยทองคำประมาณร้อยละ 30 จากมูลค่าของสินค้าดังกล่าวที่ส่งไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี เพราะจะต้องถูกจัดเก็บภาษีร้อยละ 5.5 ทำให้ประเทศไทยแข่งขันยากมากขึ้นกับประเทศจีน
     
      อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนได้เตรียมรับมือไว้บ้างแล้ว ทางออกก็คงต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะการหาตลาดใหม่อย่างตลาดยุโรปที่มีขนาดใหญ่ไม่แพ้อเมริกา เพียงแต่ตลาดยุโรปจะต้องการความหลากหลายของดีไซน์มากกว่าตลาดอเมริกา ดังนั้น ในการเปิดตลาดยุโรปภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และขอให้ภาครัฐดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม เพราะค่าเงินบาทขณะนี้ค่อนข้างแข็งทำให้ประเทศไทยแข่งขันลำบากในตลาดต่างประเทศ
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news02/07/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อัญมณีกระอักส่งออกวูบ4พันล.
หลังถูกตัดจีเอสพี หมดทางสู้คู่แข่ง ระดมแผนกู้ธุรกิจ

โพสต์ทูเดย์ กลุ่มอัญมณีกระอัก หลังถูกสหรัฐตัดสิทธิ์จีเอสพี ฉุดยอดส่งออกวูบ 20% เสียหาย 3-4 พันล้าน

นายวีระศักดิ์ เลอวิศิษฐ์ อุปนายกสมาคมอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า ได้ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐประกาศตัดสิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) กลุ่มสินค้าเครื่องประดับอัญมณีที่ทำจากทองของไทย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค. คาดว่าจะทำให้การส่งออกไปตลาดสหรัฐในปีนี้ ลดลง 20% มูลค่าความเสียหายประมาณ 140 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3-4 พันล้านบาท

หลังจากนี้ไปคงต้องหารือในสมาคมจะปรับแผนอย่างไร เนื่องจากศักยภาพการแข่งขันคงจะถูกคู่แข่งจากจีน และอินเดีย แย่งตลาดไปแน่ เพราะแม้จะถูกเก็บภาษีนำเข้าเท่ากันที่ 5.5% เแต่เงินบาทไทยแข็งค่ากว่า เมื่อเทียบเงินเหรียญสหรัฐ

ดังนั้น แผนรองรับในเบื้องต้น คือ หาตลาดอื่นส่งออกทดแทน โดยเฉพาะตลาดใหม่ เช่น อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และตลาดหลักรองจากสหรัฐ คือ ญี่ปุ่น ยุโรป

รวมทั้งการเร่งพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพราะในอนาคตไม่ต้องการเน้นเรื่องแข่งขันราคา แต่จะเน้นรูปแบบและคุณภาพของสินค้ามากกว่า เพื่อฉีกหนีจากคู่แข่งอย่างจีน

ขณะที่แผนการเจรจา คงจะใช้ช่องทางจากล็อบบี้ยิสต์ที่สมาคมว่าจ้าง และร่วมมือกับภาครัฐ เจรจาให้สหรัฐกำหนดเพดานนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเกณฑ์ 187.5 ล้านเหรียญสหรัฐที่กำหนดไว้ เนื่องจากการส่งออกสินค้าอัญมณีของไทยปี 2549 ไปสหรัฐมีมูลค่าถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 21% ของการส่งออกสินค้าอัญมณีทั้งหมดไปตลาดสหรัฐ

แม้สหรัฐจะเปิดโอกาสให้ทบทวนขอใช้สิทธิ์จีเอสพีในปีหน้า หากมูลค่าการส่งออกในกลุ่มอัญมณีที่ทำจากเครื่องประดับทองลดลง จนถึงเกณฑ์ที่กำหนดคือต้องส่งออกไม่เกินเพดาน 187.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ทางกลุ่มก็คงหมดสิทธิ์ขอทบทวนใช้สิทธิ์จีเอสพีอยู่ดี เพราะหากดูจากสถิติการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวไปตลาดสหรัฐ พบว่า ไทยสามารถส่งออกเฉลี่ยในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ นายวีระศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176048
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news05/07/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ฝันเนรมิตถนนอัญมณี

โดย เดลินิวส์ วัน พฤหัสบดี ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:54 น.

หวังชูเป็นแหล่งท่องเที่ยวเอาใจขาช้อปไทย-ต่างชาติ
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) สังกัดกระทรวงพาณิชย์ จะจัดทำโครงการเปลี่ยนถนนมเหสักข์ ย่านสีลม ซึ่งเป็นย่านที่มีร้านค้าจิวเวลรี่เป็นจำนวนมาก ให้เป็นถนนสายอัญมณี และเครื่องประดับ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดึงดูดให้คนที่ต้องการจะซื้อสินค้าในกลุ่มดังกล่าว เดินทางมาเลือกซื้อสินค้าที่นี่ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะคนไทย แต่ยังจะใช้เป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้เข้ามาซื้อสินค้าในบริเวณนี้ด้วย เช่นเดียวกับถนนทองคำ ย่านเยาวราช

เป็นความพยายามในการเปลี่ยนตลาดท้องถิ่นให้เป็นตลาดโลก ซึ่งหลายประเทศได้ดำเนินการในลักษณะนี้มาแล้ว โดยคัดเลือกจุดหรือย่านที่เป็นแหล่งรวมสินค้าชนิดเดียวกัน แล้วมาโปรโมตให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งไม่เพียงจะส่งผลทำให้สินค้าขายได้มากขึ้น แต่ยังได้ประโยชน์ในแง่ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกด้วย ซึ่งผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัวเรื่องการออกแบบสินค้าให้มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาด ซึ่งมีรสนิยมแตกต่างกัน เพราะที่ผ่านมาสินค้าไทยยังเป็นรูปแบบเดิม ๆ ทำให้แข่งขันได้ยาก

อย่างไรก็ตาม เร็ว ๆ นี้ จะหารือร่วมกับสมาคมและผู้ประกอบการร้านค้าในย่านดังกล่าว เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางในการโปรโมต ซึ่งหากสำเร็จจะเป็นแนวทางหนึ่งของการบรรเทาผลกระทบจากการที่ไทยถูกสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทำจากทอง ซึ่งต้องหาทางเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการ โดยการเพิ่มยอดขายภายในประเทศถือเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไป ตั้งสาขาในต่างประเทศ เช่น เซี่ยงไฮ้ มุมไบ แอฟริกาใต้ ปารีส ลอนดอน และนิวยอร์ก เพื่อทำตลาด ไม่ใช่ว่าจะหวังแค่ส่งออกเพียงอย่างเดียวต้องไปทำตลาดเชิงรุกด้วย

ทั้งนี้ สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) ได้ประกาศผลการพิจารณาทบทวนการให้สิทธิจีเอสพี ประจำปี 49 แล้ว โดยสินค้าไทยถูกตัดสิทธิจีเอสพี ในปีนี้ 3 รายการ มีผล 1 ก.ค. 50 คือ เครื่องประดับอัญมณีทำจากทอง ถูกตัดเพราะเป็นสินค้าที่เคยได้รับการผ่อนผันยกเว้นเพดานส่งออกมา 5 ปีแล้ว เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต และเครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ถูกตัดเพราะมีมูลค่านำเข้าสูงเกินกว่า เพดานที่สหรัฐกำหนดไว้ที่ 125 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าอัญมณีผลจากการถูกตัดจีเอสพี ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5.5% และมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐ ในปี 49 เท่ากับ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ.
http://news.sanook.com/economic/economic_152663.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ฟลายนาวศก.ซบลุยบุกตลาดตปท.ดันส่งออกเพิ่ม  


โดย คม ชัด ลึก วัน จันทร์ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 02:53 น.

ฟลายนาว เบนเป้าบุกตลาดส่งออกต่างประเทศ หลังกำลังซื้อในประเทศทรุด ลุยเจาะตลาดญี่ปุ่น-ตะวันออกกลาง-ยุโรป คาดสิ้นปีมีสัดส่วนส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 40%
นายสมชัย ส่งวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท ฟลายนาว กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องหนังยี่ห้อฟลายนาว เปิดเผยว่า ขณะนี้สินค้ากลุ่มที่มีราคาแพงในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากคนหันมาประหยัดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ยอดขายฟลายนาวในช่วงครึ่งปีแรกเติบโตลดลง 20% ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ที่ 30% ทำให้บริษัทต้องหันมาเน้นตลาดส่งออกมากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าในตลาดใหม่ๆ ที่มีกำลังซื้อสูง ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ยุโรป อย่างเช่น อิตาลี ฝรั่งเศส โดยผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพในการทำตลาด

เราจะเข้าไปรุกทำตลาดในญี่ปุ่นก่อนช่วงปลายปีนี้ โดยเริ่มจากเปิดร้านเครื่องหนังกระเป๋า เพราะเป็นสินค้าที่ไม่มีฤดูกาล ไม่มีไซส์ที่ต้องปรับแก้เหมือนกับเสื้อผ้าซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก โดยวางระดับราคาตั้งแต่ 1.2 หมื่นบาทไปจนถึง 6 หมื่นบาท ซึ่งกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นรับได้ เพราะนิยมสินค้าดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เกี่ยงราคา นายสมชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ฟลายนาว เคยขยายตลาดไปที่ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อน้อย จึงเปลี่ยนไปทำตลาดในประเทศญี่ปุ่น ที่มีกำลังซื้อสูงแทน คาดว่าแผนรุกดังกล่าวจะทำให้สิ้นปีนี้ สัดส่วนการส่งออกเพิ่มเป็น 40% จากปีก่อนที่มีสัดส่วน 30%

http://news.sanook.com/economic/economic_153325.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ก.พาณิชย์ยอมรับการส่งออกเสื้อผ้าปีนี้ชะลอตัว  

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2550 14:59 น.
 
      รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกยอมรับการส่งออกเสื้อผ้าปีนี้ชะลอตัว เนื่องจากปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ และไม่สามารถผลิตสนองความต้องการตลาดได้ เตรียมเดินหน้าอบรมนักออกแบบไทย หวังสร้างแบรนด์แข่งขันในตลาดโลก แต่ยังเชื่อเจเทปปาจะช่วยหนุนยอดส่งออกเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นได้
     
      นางเบญจวรรณ รัตนประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวระหว่างการสัมมนา แนวโน้มแฟชั่นเสื้อผ้า รองเท้า/เครื่องหนัง ปี 2550 ว่า แม้การส่งออกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2550 และน่าจะเป็นไปตามเป้าหมายร้อยละ 12.5 แต่สินค้ากลุ่มเสื้อผ้าสิ่งทอมีสัดส่วนมูลค่าถึงร้อยละ 4.9 ของการส่งออกทั้งหมด และทำรายได้เป็นอันดับ 4 จากมูลค่าส่งออกทั้งปี แต่ยอมรับการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ สินค้ากลุ่มดังกล่าวชะลอตัวลงร้อยละ 3.76 และคาดว่าน่าจะติดลบต่อไปอีก จึงไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้าหมาย เพราะสินค้ากลุ่มดังกล่าวยังขาดศักยภาพการผลิต การไม่สนองความต้องการของลูกค้าที่สั่งซื้อจำนวนมาก รวมถึงปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง การขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีศักยภาพในอุตสาหกรรมแฟชั่น จึงต้องเร่งฝึกอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเพิ่มมูลค่าสินค้าสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดโลก เพราะราคาจะไม่ใช่ตัวกำหนดสินค้าอีกต่อไป แต่จะพยายามใช้คุณภาพของสินค้าเป็นตัวนำ
     
      สำหรับครึ่งปีหลัง นางเบญจวรรณ กล่าวว่า กรมฯ จะเน้นนำผู้ส่งออกไทยที่มีศักยภาพไปแสดงสินค้า โดยเฉพาะงานเมจิกโชว์ ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่นที่สำคัญของสหรัฐ ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ และในช่วงวันที่ 22 สิงหาคมนี้ จะมีการจัดงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนลแฟร์ ที่ไบเทค บางนา โดยขณะนี้ มีผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตอบรับเข้าร่วมงานจำนวนมาก นอกจากนี้ กรมฯ ยังพยายามส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีศักยภาพประมาณ 40 ราย บุกตลาดแฟชั่นไปยังประเทศชั้นนำ จากเดิมที่ประสบความสำเร็จ สินค้ามีชื่อเสียงจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำของสหรัฐแล้ว 3 ราย และยังได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยในย่านตึกใบหยก และสยาม คัดเลือกนักออกแบบ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพถึง 60 แบรนด์ โดยกลุ่มดังกล่าวเป็นนักออกแบบหน้าใหม่ ซึ่งช่วงแรกจะนำสินค้าออกไปจำหน่ายประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กัมพูชา เป็นการนำร่อง จากนั้น ค่อยขยายไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว
     
      รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวอีกว่า หากการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ เจเทปปา มีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมนี้ น่าจะเป็นช่องทางทำตลาดเพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการเสื้อผ้าและสิ่งทอได้มากขึ้น เพราะมีการลดภาษีนำเข้า ขณะที่ญี่ปุ่นก็นิยมซื้อสินค้าจากร้านค้ารายเล็กที่มีการออกแบบทันสมัย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000079870
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ธวัฒน์ จิว ผู้ปั้น"อัลเบโด้" แบรนด์เครื่องหนังสายเลือดไทย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2550 11:31 น.
      เมื่อกล่าวถึงแบรนด์เครื่องหนังเลือดไทยแท้ "อัลเบโด้"(Albedo) ก่อนจะเริ่มเป็นแบรนด์คุณภาพเทียบชั้นสินค้าแบรนด์เนมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ว่ากันว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยในการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดขึ้นมาได้
     
      บริษัท โมเดิร์น บิสซิเนส โปรดักต์ จำกัด ซึ่งมีนายธวัฒน์ จิว ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของบริษัท ได้เริ่มทำธุรกิจผลิตอุปกรณ์บนโต๊ะทำงาน อาทิ แผ่นรองเขียน ถาดเอกสาร แฟ้มเอกสารสำหรับผู้บริหาร ภายใต้แบรนด์ "ออสฟี่" (Ausfie) ซึ่งบริษัทมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยลำดับ เมื่อปี 2525 เริ่มต้นจากการขายสินค้าเพียงไม่กี่ชิ้น ด้วยจำนวนพนักงาน 2 คนในสำนักงานเล็กๆ และอีก 4 ปีก็ได้ขยายโรงงานผลิต และเริ่มต้นการรับผลิตสินค้า (OEM)โออีเอ็ม อุปกรณ์บนโต๊ะโดยมีตลาดหลักคือประเทศสหรัฐอเมริกา
     
      ต่อมาปี 2536 ได้จดทะเบียนเพิ่มอีกหนึ่งบริษัท คือ บริษัท เอ็มบีพี เลเธอร์อินดัสทรีส์ จำกัด ที่มีอยู่ในปัจจุบันและได้ย้ายไปที่ถนนศรีนครินทร์ และเริ่มต้นขยายแบรนด์เพิ่มอีกเป็น 2 แบรนด์ เป็นกระเป๋าสุภาพสตรี ภายใต้แบรนด์แอลเอเอ็มและเครื่องหนังชายภายใต้แบรนด์ คอลเลกชัน ทเวลฟ์
     
      ภายหลังจากที่ได้ทดสอบตลาด กระเป๋า และเครื่องหนัง ได้ 1 ปี ธวัฒน์ก็เริ่มเห็นแนวโน้มของทิศทางการเติบโตในตลาดเครื่องหนังที่โตดีวันดีคืนมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อปี 2537 ก็ได้เปิดตัวแบรนด์ "อัลเบโด้" อย่างเป็นทางการ และเริ่มทำตลาดที่ไทยทั้งนี้สินค้าทั้งหมดได้ดีไซน์เนอร์มือดีจากประเทศฝรั่งเศส มาออกแบบดีไซน์กระเป๋าเครื่องหนังต่างๆ ทั้งหมดส่วนใหญ่โทนสีจะออกแนวน้ำตาลและสีดำ โดดเด่นด้วยการชูคอนเซปต์ความคลาสสิก จึงทำให้แตกต่างจากแบรนด์อื่น
     
      สำหรับการทำตลาด ในช่วงแรกเป็นการขายพ่วงกับแบรนด์ ออสฟี่ เพื่อให้เป็นที่รู้จักเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี และควบคู่กับการทำตลาดและการสร้างแบรนด์มาโดยตลอด ถือว่าทุกวันนี้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างดี ทั้งนี้มีสินค้ามากกว่า 400รายการ ทั้งกระเป๋าเอกสาร กระเป๋าสะพาย กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าใส่กุญแจ ออร์แกไนเซอร์ เข็มขัด และสินค้าเครื่องหนังต่างๆ โดยมีเป้าหมายเป็นลูกค้าผู้ชายระดับอายุอยู่ระหว่าง 35 -45 ปี จนกระทั่งปี 2540 ก็ได้ขยายแบรนด์"อัลเบโด้"เข้าจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น 25-35 ปี

http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000079740
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สิ่งทอไทยส่อแววโยกฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน  

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2550 20:13 น.

      ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมระบุอุตสาหกรรมสิ่งทออาจจำเป็นต้องย้ายโรงงานไปประเทศเพื่อนบ้าน หลังเผชิญเงินบาทแข็งค่า และผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี
     
      นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ว่า เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และผลจากการเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่จะมีขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มีการแข่งขันอย่างไม่มีการจำกัดโควตาและภาษีคุ้มครอง ส่งผลให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย มีทางออกที่น่าพิจารณา คือ การย้ายฐานเข้าไปตั้งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มในประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนต้นน้ำและปลายน้ำยังอยู่ในประเทศไทย
     
      นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า โรงงานเสื้อผ้าขนาดเล็กและขนาดกลาง ปิดกิจการไปแล้ว 109 แห่ง เพราะผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2548 ถึงปัจจุบัน อีกทั้งไม่มีคนงานและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ และการไม่ได้รับช่วงการผลิตจากผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะฉะนั้น ในอนาคตเชื่อว่า ผู้ประกอบการบางส่วนจะออกไปตั้งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เพื่ออาศัยแรงงานและใช้สิทธิพิเศษทางภาษี (จีเอสพี) ในการส่งออกไปยังอียู สหรัฐ
     
      ส่วนแนวทางพัฒนาเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอของไทย ในเดือน ก.ย.นี้ สถาบันฯ จะจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ปี 2550-2554 เสร็จ โดยจะมีงบประมาณดำเนินการ 3.8 ล้านบาท มุ่งเน้น 3 ด้าน คือ 1. พัฒนาอุตสาหกรรมเส้นด้ายและผ้าผืนของไทย 2. นำเส้นใยที่มีการผลิตปีละ 1 ล้านตัน มาพัฒนาสิ่งทอชนิดพิเศษ และ 3. ให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มให้มากขึ้น ทั้งนี้ สถาบันสิ่งทอฯ เชื่อว่า เมื่อเริ่มนำยุทธศาสตร์มาใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีหน้า จะทำให้การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เติบโตได้ระดับ 2 หลัก จากที่ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 2 มูลค่า 2,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกัน มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวถึงร้อยละ 25.92 เนื่องจากมีเสื้อผ้าจากประเทศสเปน ยี่ห้อ Mango และ Sara เข้ามาขยายตลาดในประเทศไทย นอกจากผลจากเอฟทีเอ
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000080125
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/07/07

โพสต์ที่ 16

โพสต์

อัญมณีไทยยิ้มรับกฎจีเอสพี [ ฉบับที่ 808 ประจำวันที่ 7-7-2007 ถึง 10-7-2007]  
>ปรับคุณภาพจับตลาดบน-หันหน้าซบภูมิภาคใหม่


แม้จะมีสินค้าไทย 8 ชนิดได้รับการคืนสิทธิจีเอสพีจากการประกาศผลการพิจารณาทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ประจำปี 2549 ของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) โดยมีผลในเดือนกรกฎาคม 2550 คือ เครื่องรับโทรทัศน์สีแบบ High Definition มะละกอแปรรูป มะละกอตาก แห้ง ผลไม้และลูกนัทแช่อิ่ม ทุเรียนสด มะขามตากแห้ง กากน้ำมันมะพร้าว หนังดิบของกระบือ สินค้าเหล่านี้ แม้ว่าจะมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ เกินกว่า 50% แต่มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ จากทุกประเทศทั่วโลกต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่สหรัฐฯ กำหนดไว้คือ 17.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ไทยไม่ถูกตัดจีเอสพี โดยมูลค่าการนำ เข้ารวมของสินค้า 8 รายการในปี 2549 เท่ากับ 17.587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระนั้นก็ตาม สินค้าอีก 3 รายการที่ถูกตัดสิทธิ ก็ทำให้ประเทศไทยสั่นสะเทือนพอสมควร แม้จะเตรียมทำใจมาก่อนหน้านี้ คือ 1.เครื่องประดับอัญมณีทำจากทอง ซึ่งได้รับการผ่อนผันยกเว้นมาแล้ว 5 ปี 2.เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน เนื่องจากมูลค่านำเข้าสูงเกินกว่าเพดานที่สหรัฐกำหนดไว้ และ 3.เม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต

ว่ากันว่าการถูกตัดสิทธิครั้งนี้จะทำให้ยอดส่งออกสินค้าเครื่องประดับไทยไปยังตลาดสหรัฐปีนี้ปรับตัวลดลงไม่ต่ำกว่า 20% เนื่องจากต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5.5% รวมทั้งการส่งออกสินค้าอัญมณีโดยรวมของไทยในปีนี้อาจต่ำกว่าตัวเลขเป้าหมาย 15% ขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์จะเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 3.9% อาจเป็นตัวเลขไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับภาษีจีเอสพีที่ 0% แต่ถ้าต้องแข่งขันกับผู้นำเข้าอย่างจีนแล้วก็คงลำบากเอาการ เชื่อว่าทางออกของผู้ประกอบการกลุ่มนี้คือการขยายฐานการผลิตไปสู่เวียดนามและประเทศอื่นในอาเซียนมากขึ้น เพื่อใช้สิทธิ GSP ในประเทศนั้น ๆ ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ส่วนเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต เสียภาษีนำเข้าในอัตรา 6.5%

สินค้าที่ถูกจับตามองมากที่สุดคืออัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของไทย ซึ่งก่อนหน้านี้เครื่องประดับอัญมณีทำจากเงินเพิ่งถูกตัดสิทธิจีเอสพีจากสหรัฐฯ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก แต่เมื่อเครื่องประดับทำจากทองมาเจอซ้ำสองก็เหนื่อยหนัก เพราะมูลค่าของอัญมณีส่วนใหญ่มาจากเครื่องประดับทำจากทอง และส่งเข้าไปขายในสหรัฐฯมากเกือบ 50%

นายพรชัย ชื่นชมลดา นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เปิดเผย ็สยามธุรกิจิ ว่า การถูกตัดสิทธิครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอัญมณีประเภทที่ทำด้วยทองคำประมาณร้อยละ 30 จากมูลค่าของสินค้าดังกล่าวที่ส่งไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี เพราะเมื่อถูกจัดเก็บภาษีร้อยละ 5.5 ทำให้สินค้าของไทยแข่งขันยากมากขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศจีน อย่างไรก็ตาม สมาคมฯไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามส่งทีมเจรจาล็อบบี้ขอให้รัฐบาลสหรัฐฯต่อสิทธิพิเศษออกไปอีก แต่ก็ไม่ได้คาดหวังมากนักว่าจะได้รับไฟเขียว ด้วยเหตุนี้สมาคมฯจึงเน้นให้ผู้ประกอบการไทยปรับตัว หันมาผลิตสินค้าเชิงคุณภาพ รวมถึงการเจาะตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น เช่นแอฟริกา ตะวันออกกลาง หนีจากการพึ่งพาตลาดหลักเช่นสหรัฐฯ

ภาคเอกชนได้เตรียมรับมือไว้บ้างแล้ว ทางออกคงต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะการหาตลาดใหม่อย่างตลาดยุโรปที่มีขนาดใหญ่ไม่แพ้อเมริกา เพียงแต่ตลาดยุโรปต้องการความหลากหลายของดีไซน์มากกว่าตลาดอเมริกา ซึ่งการเปิดตลาดยุโรปภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยขอให้ภาครัฐดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมเพราะค่าเงินบาทขณะนี้ค่อนข้างแข็ง ทำให้ไทยแข่งขันลำบากในตลาดต่างประเทศิ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯ กล่าว

ประเด็นดังกล่าวมิไช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมาย เพราะหากวัดกันตามเกณฑ์ สินค้าอัญมณีฯหมดอายุการได้สิทธิจีเอสสพีตั้งแต่ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะตามเงื่อนไขของสหรัฐฯกำหนดไว้ว่าหากสินค้ารายการใดที่ได้รับสิทธิจีเอสพีมีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าในสหรัฐฯตั้งแต่ 50% ขึ้นไป หรือสินค้านั้นมีมูลค่าการนำเข้าสูงเกินระดับเพดานที่สหรัฐฯกำหนด จะถูกระงับสิทธิในปีปฏิทินถัดไป เนื่องจากจะถูกจัดว่าเป็นสินค้ามีความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งกลุ่มอัญมณีของไทยถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว แต่ก็ได้รับการอนุโลมจากสหรัฐฯให้ต่อสัญญาปีต่อปี ซึ่งตามกฎการอนุโลมจะทำได้ไม่เกิน 5 ปี ซึ่งอัญมณีก็ได้รับการอนุโลมมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี

ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มปรับตัวหันมาทำสินค้าเชิงคุณภาพ ซึ่งไม่ต้องแข่งขันด้านราคา ฉีกหนีคู่แข่งอย่างจีนขึ้นไปจับตลาดกลางและตลาดบนแทน เช่น กลุ่ม แพรนด้า กรุ๊ปั บริษัทส่งออกอัญมณีรายใหญ่ของไทย

ปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ ็สยามธุรกิจิ ว่าไม้ได้หนักใจมากนักกับการที่ถูกสหรัฐฯตัดสิทธิจีเอสพี ในความ เป็นจริงกลุ่มแพรนด้าคิดว่าจะสูญเสียสิทธิไปตั้งแต่ 2 ปีก่อน จึงมุ่งผลิตสินค้ามูลค่าสูงเข้าไปเจาะตลาดแทนที่สินค้าราคาถูก เพราะฉะนั้นเมื่อต้องเสียภาษีเพิ่มอีก 5.5% ยอดขายก็ลดลงไม่มาก ยังส่งสินค้าไปขายในสหรัฐฯปีละ 35% เช่นเดิม

็ความจริงผลกระทบที่เกิดมำขึ้นกับเราคงเป็นผลกระทบจากตลาดโลกมากกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ ทั้งปัญหาน้ำมัน ปัญหาค่าเงิน จากเป้าหมายที่เคยขายได้ 12% ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 6-7%ิ บอสแพรนด้า กรุ๊ป กล่าว

เคยมีการตั้งข้อสังเกตว่ากรณีที่กระทรวงสาธารณสุขไทย ประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา(CL) ของสหรัฐฯ ถึง 3 รายการ จนทำให้สหรัฐไม่พอใจไทย และเลื่อนให้ไทยเข้าสู่บัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษและตามมาด้วยการถูกตัดสิทธิ(GSP)ในที่สุด ซึ่ง ็สยามธุรกิจิ เคยสอบถามไปยัง นิศา ศรีสุวรนันท์ ผู้อำนวยการสำนักอเมริกาและแปซิฟิก กรมการค้าต่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า การพิจารณาต่อสิทธิจีเอสพีกับกับปัญหาด้านสิทธิบัตรยานั้นไม่น่าจะกี่ยวกัน ซึ่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะพิจารณาตามเหตุผลว่ามีมูลค่าการส่งออกและจำนวนการส่งออกเกินเพดานกำหนดหรือเปล่า ที่ผ่านมาสินค้าหลายรายการเข้าข่ายต้องถูกตัดสิทธิซึ่งเราก็เจรจาขอต่อมาได้ทุกปี โดยมีเงื่อนไขข้อหนึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าให้ต่อจนเกินระยะ 5 ปีแล้วจะขอต่ออีกไม่ได้ ซึ่งสินค้าที่ถูกตัดสิทธิก็ขอต่ออายุมาเกิน 5 ปีแล้วทั้งนั้น ถ้าเขายอมต่อให้อีกไม่เกิน 1 ปีก็ต้องถูกตัดสิทธิอยู่ดี

ขณะที่นางสาวปณิตาภา สวนแก้ว นักวิชาการพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า จีเอสพีเป็นเรื่องของสิทธิพิเศษที่ให้เปล่าโดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน เพราะฉะนั้นประเทศไทยในฐานะผู้ได้สิทธิจึงไม่สามารถต่อรองอะไรได้ นอกจากจะให้ข้อมูลทั้งหมดที่มีกับประเทศผู้ให้สิทธิ ซึ่งการพิจารณาของเขาก็มีหลักเกณฑ์อยู่แล้วว่า สินค้าชนิดไหนเข้าข่ายต้องถูกตัดสิทธิ รัฐบาลไทยไม่สามารถไปล็อบบี้รัฐบาลสหรัฐฯได้ แล้วที่มองว่าการที่ประเทศไทยถูกสหรัฐฯขึ้นบัญชีเป็นประเทศต้องถูกจับตามองแล้วจะนำไปสู่การพิจารณาตัดสิทธิจีเอสพีนั้นในทางปฏิบัติไม่เกี่ยวกันแน่นอน
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ปลอบสิ่งทอ ไม่เกิดวิกฤต รัฐพร้อมช่วย
โพสต์ทูเดย์ ปิยะบุตร ย้ำ อุตสาหกรรมสิ่งทอยังไม่ถึงขั้นเกิดวิกฤต ถ้าใครมีปัญหารีบแจ้ง พร้อมเข้าไปช่วยเหลือ


นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กรณีที่ บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต ต้องปิด กิจการลง ไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณว่ากิจการสิ่งทออื่นๆ จะต้องปิดตัวลงตาม เพราะบริษัทดังกล่าวมีปัญหาด้านการปรับตัวมานานแล้ว แต่ในภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอยังขาดแคลนแรงงานถึง 6 หมื่นคน
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สถาบันสิ่งทอหารือร่วมกับนายกสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อติดตามว่ามีโรงงานใดที่ยังอยู่ในภาวะลำบากและสุ่มเสี่ยงที่จะต้องปิดโรงงานลงอีก เพื่อจะเข้าไปช่วยเหลือทันเวลา
ด้านนายวิรัตน์ ตันเดชา นุรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการแก้ไขไว้แล้ว คาดว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาได้เสร็จภายใน 2 วัน และเชื่อว่าจะไม่เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นอีกแน่
พร้อมกันนี้ได้ประสานกับกระทรวงแรงงานนำแรงงานที่ไม่มีงานทำมาฝึกอบรมทักษะฝีมือด้านไอทีป้อนสู่อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังขาดแคลน
นายเจน นำศิริชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสิ่งทอยังไม่มีปัญหาวิกฤต
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178449
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

แนะรัฐพัฒนา Supply Chain อุตสาหกรรมสิ่งทอให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้
Posted on Friday, July 13, 2007
นายเจน นำชัยศิริ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานคณะกรรมการเขตการค้าเสรีอาเซียน ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า สาเหตุที่บริษัท ไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ประกาศปิดกิจการ เนื่องจากถูกอาดิดาส ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่คิดเป็น 60% ของยอดขายรวมทั้งหมด บอกเลิกสัญญา ทำให้ไทยศิลป์หาลูกค้ารายใหม่ไม่ทัน ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากได้เจรจาร่วมกับตัวแทนของภาครัฐและลูกจ้าง ก็ได้ประกาศเปิดกิจการอีกครั้งแล้ว

ผู้ประกอบการไทยควรนำกรณีของไทยศิลป์ฯมาเป็นบทเรียน และนำมาปรับตัว โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีลูกค้ารายใหญ่เพียงรายเดียวในสัดส่วนมากกว่า 50% ของยอดขายทั้งหมด ควรกระจายฐานลูกค้า เพื่อลดความเสี่ยง ถ้าหากถูกเลิกจ้าง ส่วนปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นมานั้น ผู้ประกอบการก็ควรจะทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 5 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีปัญหาเรื่องการประกันความเสี่ยง เพราะธนาคารพาณิชย์จะให้ผู้ประกอบการตั้งวงเงินที่คุ้มกับความเสี่ยง ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถทำได้ เพราะมีเงินทุนไม่มากพอ

นายเจนบอกว่า สิ่งทอไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ครบวงจร ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์มากถ้ามีการบริหารจัดการ Supply Chain หรือการบริหารวัตถุดิบ ข้อมูล และการเงิน ทั้งกระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ตัวแทนจำหน่าย จนถึงผู้บริโภค ให้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยถือว่ามีขนาดเล็กในตลาดโลก และบางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งทอยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ดังนั้นไทยจึงควรร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ทำการพัฒนา Supply Chain ของภูมิภาค เพื่อจะได้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาถูก และแข่งขันในตลาดโลกได้
นายเจนยังฝากถึงภาครัฐด้วยว่า ควรสนับสนุนการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งทอ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็อยากให้ดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพ เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันได้ ขณะที่ผู้ประกอบการก็ควรให้ความสำคัญกับการทำประโยชน์เพื่อสังคม (CSR) และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันต่างชาติให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น นอกเหนือจากการพิจารณาคุณภาพของสินค้า ราคา และกำหนดการส่งมอบ

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงศ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณ 2,500 แห่ง ลดลงจากเมื่อปี 2540 ที่มีประมาณ 2,800 แห่ง แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอยู่ในช่วงภาวะถดถอย โดยเฉพาะบริษัทที่ไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ ก็จะไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัว โดยจะต้องมีการบริการจัดการบริษัทให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การทำการตลาด การสร้างแบรนด์ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะการวิจัยและการสร้างแบรนด์ จะเป็นปัจจัยที่สร้างกำไรให้ผู้ประกอบการได้

ดร.ยงยุทธยังเห็นด้วยกับแนวคิดของนายเจนเรื่องการร่วมมือของประเทศอาเซียน เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ของไทยประสบปัญหาขาดดุลการค้า จากการขาดการวิจัยและพัฒนา รวมถึงขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเส้นใย ฉะนั้นถ้ามีความร่วมมือระหว่างกัน ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและเป็นการพัฒนาความรู้ด้วย
นอกจากนี้ยังอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแต่ละอุตสาหกรรม นำนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และแนวโน้มของแต่ละธุรกิจ รวมถึงช่วยบริหารความเสี่ยงด้วย เพราะคนกลุ่มนี้จะมีวิสัยทัศน์มากกว่าเจ้าของกิจการ

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news17/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

"เกริกไกร"ถกผู้ส่งออกอัญมณี เร่งพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน  

"เกริกไกร"รมว.พาณิชย์ออกหน้ายืนยันการแข็งค่าของเงินบาท และการตัดจีเอสพีของสหรัฐอเมริกา ไม่กระทบต่อผู้ส่งออกอัญมณีไทย ชี้สินค้าเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกในด้านฝีมือ และคุณภาพ อีกทั้งผู้ซื้อคำนึงถึงความพอใจเป็นหลักไม่ใช่ราคา

นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่ผู้ผลิตและส่งออกอัญมณีของไทยถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (จีเอสพี) โดยยืนยันว่า ประเด็นดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย เนื่องจากการตัดจีเอสพี เป็นกลุ่มสินค้าเครื่องประดับที่มีทองคำเท่านั้น ขณะที่สินค้าอัญมณี เช่น เพชร พลอย และเครื่องประดับอื่น ๆ ยังส่งออกได้ตามปกติ ขณะที่สินค้าไทยก็เป็นที่ยอมรับจากผู้นำเข้าทั่วโลก ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ อยู่ในอันดับต้นๆของโลก

สำหรับประเด็นการแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้ไม่กระทบต่อผู้ส่งออกอัญมณีเช่นกัน เนื่องจากหลักทั่วไปผู้ซื้อสินค้าอัญมณีไม่ได้ซื้อเพราะราคาถูก แต่ซื้อเพราะความพึงพอใจ การแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้ ผู้ส่งออกสามารถบริหารต้นทุนและราคาได้ไม่ยาก

อนึ่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม รมว.พาณิชย์ ได้ตรวจเยี่ยมอุตสาหกรรมอัญธานี โดยหารือกับผู้ประกอบการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อหาแนวทางพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันนี้ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ติด 1 ใน 10 ที่ทำรายได้การส่งออกสูง โดยมีมูลค่าส่งออกถึง 139,000 ล้านบาท โดยศักยภาพอัญมณีไทยมาจากความเป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีในภูมิภาคอินโดจีน ทำเลเหมาะสม มีวัตถุดิบ กระบวนการผลิตและการตลาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และมีแรงงานกว่า 1.2 ล้านคน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=67915
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

เครื่องหนัง-รองเท้าจ่อวิกฤติ ตามรอยสิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่ม - 22/7/2550

ในปีที่ผ่านมาดูเหมือนปัจจัยลบที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะภาวะราคาน้ำมันที่แพงไม่หยุด อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และปัญหาการเมืองในประเทศ ล้วนส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจไทยแทบทั้งสิ้น แถมกระทบต่อเนื่องมาถึงปี 2550 หนำซ้ำยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบที่สำคัญอีกตัวคือปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่ารุนแรงทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เกิดความไม่มั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจของประเทศพอสมควร ไม่มั่นใจต่อการลงทุนและการกำหนดนโยบายธุรกิจในปัจจุบัน

จากสภาวะเศรษฐกิจที่อึมครึมเช่นนี้ทำให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ต้องเร่งออกมาเตือนภัยเอสเอ็มอีให้รู้ตัวล่วงหน้าว่าธุรกิจสาขาใดจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้มคลืนโดยไม่รู้ตัว โดยในวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่จังหวัดเชียงใหม่ ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษวิเคราะห์และเตือนภัย SME รายสาขา ได้สรุปถึงแนวโน้มธุรกิจเอสเอ็มอีไทยที่ต้องระวังต่อภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันดังนี้

ในการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และสำนักงานสถิติและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น พบว่าประเภทธุรกิจของเอสเอ็มอีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ต้องระมัดระวังคือ ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น กระเบื้องปูพื้น เซรามิก เป็นต้น รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวสันทนาการ ได้แก่ กีฬา ดนตรี ของเล่น ตุ๊กตา

ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคกลางที่ต้องระวังคือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เหล็ก ไม้ แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง สินค้าเกี่ยวกับสันทนาการ เฟอร์นิเจอร์ และข้าว สำหรับธุรกิจที่ต้องระวังในภาคเหนือคือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าสันทนาการ แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ อาหารเครื่องดื่ม และผักผลไม้

ธุรกิจภาคตะวันออกที่ต้องระวัง คือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าสันทนาการ อาหารธัญพืช เฟอร์นิเจอร์ และแร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง ส่วนธุรกิจภาคใต้ที่ต้องระวังคือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ธัญพืช ข้าว สัตว์น้ำ แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ สินค้าสันทนาการและอาหารอบกรอบต่างๆ และธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต้องระวังคือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ข้าวหอมมะลิ อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภทแป้ง สินค้าสันทนาการ และเฟอร์นิเจอร์

ณัฐพล ชี้ให้เห็นว่าการเตือนภัยเอสเอ็มอีรายสาขาจะไม่พิจารณาเพียงว่าธุรกิจสาขาใดมีมูลค่าการส่งออกสูงแล้วต้องระวัง แต่จะพิจารณาจากปริมาณลูกจ้างและผู้ประกอบการในธุรกิจนั้นๆ เพราะเมื่อธุรกิจที่มีปริมาณลูกจ้างมากเกิดปัญหาขึ้นจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ประกอบการและลูกจ้างในประเทศจำนวนมาก นอกจากนี้จะพิจารณาจากผลประกอบการว่าผลกำไรตอบแทนยังดีอยู่หรือไม่ เช่น หากส่งออกได้มาก แต่ต้นทุนสินค้ากลับสูงขึ้น จะส่งผลให้กำไรลดลงเรื่อยๆ ซึ่งธุรกิจที่เข้าข่ายดังกล่าวจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าแทบทุกภาคของเมืองไทย ประเภทธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นธุรกิจที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอันดับหนึ่งเนื่องจากมีจำนวนลูกจ้างมากกว่าธุรกิจประเภทอื่นและผลกำไรตอบแทนเริ่มลดลง ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าขณะนี้เกิดปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่ามาก แต่การส่งออกสิ่งทอไทยยังส่งออกได้ดีอยู่ ซึ่งหมายความว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้ไทยต้องใช้เงินซื้อวัตถุดิบสำหรับผลิตสิ่งทอเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้กำไรที่เคยได้ลดลง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ไหวและอาจปิดกิจการในที่สุด

ดังนั้นการแก้ปัญหาระยะเร่งด่วนของธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรหันไปเกาะกลุ่มกับธุรกิจที่ยังไปได้ดี เช่น หันไปผลิตและกระจายสินค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น เครื่องประดับตกแต่งในรถ หรือหันไปเกาะกับธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และธุรกิจสปา เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้ยังเป็นช่องว่างทางธุรกิจที่เปิดโอกาสทำผลกำไรได้อีกมาก และหลีกเลี่ยงการทำธุรกิจสิ่งทอแบบเดิมๆ คือการนำผ้าผืนมาผลิตเสื้อผ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งแข่งขันด้านราคากับตลาดจีนไม่ได้

ส่วนระยะยาวผู้ประกอบการไทยต้องเปลี่ยนจากเป็นผู้รับจ้างผลิต ไปเป็นผู้ผลิตและสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง รวมทั้งต้องหันมาพิจารณาและวิเคราะห์ธุรกิจตัวเองเพื่อยุบหรือลดธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และขายเครื่องจักรในธุรกิจนั้นทิ้งแล้วหันมาซื้อเครื่องจักรในธุรกิจที่มีความถนัดและก่อให้เกิดประโยชน์จริงๆ เท่านั้น นอกจากนี้การหันมาจับมือกับผู้ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันก็เป็นสิ่งจำเป็นโดยแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละหมู่บ้านหรือแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะทำให้แต่ละกลุ่มเกิดความชำนาญและพัฒนาต่อยอดสินค้าไปได้มาก รวมทั้งสร้างให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะภาคขึ้นมา เช่นทำผ้าไหมก็ต้องดูแล้วทราบทันทีว่ามาจากภาคเหนือซึ่งต้องไม่ซ้ำกับภาคอื่นๆ จะเป็นกาสร้างมูลค่าเพิ่มในความมีเอกลักษณ์ของสินค้าได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ควรระวังเป็นพิเศษซึ่งอาจได้รับผลกระทบต่อปัจจัยลบทางเศรษฐกิจและอาจเกิดลักษณะเดียวกับธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้คือ ธุรกิจเครื่องหนังและรองเท้า เนื่องจากตลาดจีนผลิตได้มากและต้นทุนถูกกว่า ดังนั้นธุรกิจดังกล่าวก็ควรเร่งปรับตัวในช่วงนี้เช่นกัน

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยหลายรายต้องทยอยปิดกิจการลงไปเพราะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือไม่ทราบรู้ข้อมูลล่วงหน้าว่าอนาคตธุรกิจตัวเองอาจประสบปัญหาในเวลาอันใกล้หรือไม่ ดังนั้นเมื่อท่านเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ สสว. เตือนภัยมาก็ควรระมัดระวังและศึกษาข้อมูลธุรกิจตัวเองให้ดีว่ามีแนวโน้มจะประสบปัญหาหรือไม่ และเร่งแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้

สาขาธุรกิจที่ต้องระวัง
++ กรุงเทพ

1. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
2. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
3. แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง
4. เครื่องสันทนาการ
5. เครื่องใช้ไฟฟ้า

++ ภาคกลาง
1. เหล็ก ไม้
2. แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง
3. เครื่องสันทนาการ
4. ธัญพืช ข้าว แป้ง
5. เฟอร์นิเจอร์

++ ภาคตะวันออก
1. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
2. เครื่องสันทนาการ
3. อาหารธัญพืช
4. เฟอร์นิเจอร์
5. แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง

++ ภาคเหนือ
1. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
2. เครื่องสันทนาการ
3. แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง
4. เฟอร์นิเจอร์
5. อาหารเครื่องดื่ม
6. ผักและผลไม้

++ ภาคใต้
1. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
2. ธัญพืช ข้าว
3. สัตว์น้ำ
4. แร่อโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง
5. เฟอร์นิเจอร์
6. เครื่องสันทนาการ
7. อาหารอบกรอบ

++ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
2. ข้าวหอมมะลิ
3. อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภทแป้ง
4. เฟอร์นิเจอร์
5. เครื่องสันทนาการ

http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178028
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news24/07/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

สั่งประกบโรงฟอกย้อม
โพสต์ทูเดย์ สถาบันสิ่งทอ ส่งผู้เชี่ยวชาญลุยตรวจโรงงานฟอกย้อม พร้อมให้คำแนะนำ สร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการ


นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สถาบันฯ จะส่งเจ้าหน้าที่และ ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบสถานภาพโรงงานฟอกย้อม 401 ทั่วประเทศ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว การดำเนินธุรกิจ ผลิตสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาดหรือไม่
ตลอดจนตรวจสอบการจ้างงาน การจัดสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ ในโรงงานแต่ละแห่งให้ถูกสุขอนามัย เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เพราะ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้มีผลเกี่ยวเนื่องกับ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีของบริษัท ไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต อีก

จุดประสงค์หลักของการเข้าไปตรวจสอบในครั้งนี้ เพื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมฟอกย้อม ซึ่งเป็นพื้นฐานของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญต่อโรงงานตัดเย็บ หากพบว่าโรงงานใดมีปัญหา ทางสถาบันฯ ก็จะมีทีมเข้าไปให้คำแนะนำและแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องต่อไป เบื้องต้นต้องใช้งบดำเนินการ 5-10 ล้านบาท นายวิรัตน์ กล่าว
ปัจจุบันโรงงานฟอกย้อมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโรงงานที่ได้มาตรฐานประมาณ 15-20%
ดังนั้น โรงงานที่เหลือจึงต้องเร่งสำรวจมาตรฐานและปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการ ที่ดี มีการประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนการผลิตให้แข่งขันกับอุตสาห กรรมอื่นๆ ได้
ขณะเดียวกัน โรงงานต้องมีแผนบริหารความเสี่ยงในการกระจายคำสั่งซื้อไปยังลูกค้าที่หลากหลาย เนื่องจากไทยศิลป์ฯ มีลูกค้าหลักเพียง 2-3 ราย เมื่อถูกลดคำสั่งซื้อ ทำให้โรงงานมีปัญหา
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า กรณีของบริษัทไทยศิลป์ฯ นั้น ขณะนี้ได้รับรายงานจากโรงงานสิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่ม 54 โรง ต้องการแรงงานทั้งสิ้น 6,230 คน
ทั้งนี้ มองว่าธนาคารพาณิชย์อาจเข้ามาช่วยเหลือบริษัทช้าไป ทั้งๆ ที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มยังไปได้ดี
สังเกตได้จากความต้องการแรงงานหลังจากที่ไทยศิลป์ฯ ปิดตัว ทราบมาว่าบริษัทต้องการเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 100 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าวัตถุดิบ 60 ล้านบาท และค่าแรงงาน 40 ล้านบาท
นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า ในวันที่ 26 ก.ค. สถาบันฯ จะเปิดตัวเสื้อกันยุง ซึ่งเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ด้าน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภค จากก่อนหน้านี้ที่มีเสื้อกันแสงยูวี เสื้อกันไฟ เสื้อป้องกันแบคทีเรีย ออกสู่ตลาดบ้างแล้ว สินค้าเหล่านี้มีมูลค่าสูงกว่าสินค้าทั่วไป และมีตลาดเฉพาะรองรับโดยตรง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=180611
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

++ เร่งพัฒนาย่านสีลม-มเหสักข์เป็นแหล่งธุรกิจอัญมณีเต็มรูปแบบ

นางเบญจวรรณ รัตนประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าววานนี้ว่า กรมฯ จับมือภาครัฐและเอกชน พัฒนาแหล่งพื้นที่ธุรกิจให้เป็นธุรกิจครบวงจร จากการสำรวจพื้นที่การค้า เห็นว่าย่านการค้าบริเวณถนนสีลม-มเหสักข์-สุรวงศ์ เป็นย่านการค้าอัญมณีที่มีการรวมตัวของผู้ค้าปลีกค้าส่งและผู้ส่งออกมากกว่า 2,000 ราย

ดังนั้น ขณะนี้ ภาครัฐและเอกชนจึงเห็นว่า จะพัฒนาบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อการส่งออกของกรุงเทพมหานคร โดยจะเร่งปรับภูมิทัศน์ให้เป็นย่านการค้าอัญมณีมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและผู้นำเข้าจากต่างประเทศ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178348
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

สถาบันสิ่งทอแนะทางรอด เอกชนสร้างนวัตกรรมใหม่

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอร่วมกับภาคเอกชนสิ่งทอเปิดตัวเสื้อกันยุงสมุนไพรไทยรายแรก พร้อมแนะทางรอดผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยุคใหม่ต้องออกแบบสร้างแบรนด์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง ตั้งเป้าปี 2551 จะร่วมวิจัยพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอเพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 10 นวัตกรรม

นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยยังไม่วิกฤต แต่ต้องเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น เสื้อระบายความร้อน สวมใส่สบายหรือผ้าที่สวมใส่เพื่อกันกระแทก โดยในปี 2551 สถาบันฯจะร่วมวิจัยพัฒนาสิ่งทอไม่ต่ำกว่า 10 นวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยยังมีปัญหาไม่สามารถแปลงนวัตกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อขอเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ ทำให้สิ่งทอเกิดปัญหาขณะนี้

ขณะที่นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด เปิดตัวเสื้อกันยุงสมุนไพรไทยซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดสามารถป้องกันและขับไล่ยุงไม่ให้กัดผู้สวมใส่ โดยลงทุนทำวิจัยร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้สำเร็จและกำลังจะผลิตออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเสื้อดังกล่าวจะมีกลิ่นสมุนไพรไทยคือตะไคร้ และสามารถทนการซักได้ถึง 20 ครั้ง หลังจากนั้นสามารถเติมน้ำยาอาบเสื้อให้คงคุณสมบัติกันยุงได้ โดยบริษัทมีแนวคิดที่จะผลิตน้ำยาที่สามารถเติมในน้ำสุดท้ายของการซักผ้าออกจำหน่าย

นายวิศัลย์ มองว่าการที่จะชนะคู่แข่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอต้องมีนวัตกรรมที่แตกต่างเพื่อขายในตลาดใหม่ เนื่องจากสิ่งทอส่วนใหญ่แข่งขันในตลาดเดิมและเน้นใช้กลยุทธ์ราคาต่ำเป็นจุดแข่งขัน แต่ทำให้ไทยแข่งขันลำบาก จึงเป็นที่มาของงานวิจัยดังกล่าว ซึ่งขณะนี้งานวิจัยเสื้อกันยุงสมุนไพรได้ผ่านการทดสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขว่า ปลอดภัยกับผู้สวมใส่ เพราะไม่มีสารเคมีและในอนาคตจะต่อยอดไปสู่ผ้าผืน เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าม่าน
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผู้ผลิตเร่งปรับตัวรับเงินบาทแข็งค่า

27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:34:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :    การปิดตัวเอง ของบริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ที่มีจำนวนคนงานถึงกว่า 5 พันคนโดยมีผลในวันที่ 7 สิงหาคม 2550 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยประกาศปิดโรงงานไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 และกลับมาเปิดดำเนินงานอีกครั้งในวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งกรณีดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนและบ่งชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจนี้กำลังมีปัญหาและอุปสรรคทางด้านความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศที่ลดต่ำลง ภายหลังจากต้องประสบกับการแข่งขันกับสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเช่นจีน เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซีย และยิ่งมาเผชิญกับปัจจัยซ้ำเติมทางด้านเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยปรับลดลงอย่างรวดเร็ว

  เนื่องจากสินค้าไทยมีราคาเพิ่มสูงขึ้นในสายตาผู้นำเข้า กระทั่งมีการลดคำสั่งซื้อหรือเจรจาให้ผู้ผลิตของไทยปรับลดราคาลง ดังนั้น การเร่งปรับตัวของผู้ประกอบการโดยการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพการแข่งขัน เพื่อก้าวให้ทันกับคู่แข่งในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็น การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาคุณภาพรวมทั้งตราสินค้าของตนเองเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทย รวมทั้งการหาตลาดส่งออกใหม่ๆที่มีศักยภาพ จึงนับเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหาการปิดกิจการของผู้ประกอบการรายอื่นๆที่จะมีเพิ่มขึ้น

   ทิศทางการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในปี 2550 เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากภายหลังจากที่เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 10 ปี  ดังจะพิจารณาได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 ซึ่งมีมูลค่าเพียง 1,176.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลง 4.7% โดยเป็นการชะลอตัวลงในตลาดส่งออกหลักของไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐฯซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 50.1% ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด มูลค่าส่งออกลดลง 6.0% ตลาดสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป 25.8% มูลค่าส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง 4.1% และตลาดญี่ปุ่นซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 5.8% มูลค่าส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง 19.6% ในขณะที่ตลาดกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 4.1% แต่สัดส่วนส่งออกที่มีเพียง 2.4% ทำให้ช่วยหนุนภาพรวมการส่งออกได้ไม่มากนัก

  ทั้งนี้ หากเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องก็คาดว่ามูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งปี 2550 จะมีประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลดลงประมาณ 6.4% และปัจจัยจากการแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องเผชิญกับภาวการณ์ขาดทุนหรือมีกำไรในรูปเงินบาทลดลง และทำให้บางรายโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กอาจไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้และต้องปิดตัวลงและนำมาซึ่งปัญหาทางด้านแรงงานและสังคมตามมา

   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยปรับลดลง จนนำมาซึ่งการปิดกิจการและการเลิกจ้างแรงงานนั้น มิใช่เป็นผลจากปัญหาเงินบาทของไทยที่แข็งค่าเพียงประการเดียว เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลทำให้ศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยปรับลดลงมาก่อนหน้านี้ เพียงแต่การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้เป็นปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นและซ้ำเติมให้ศักยภาพการแข็งขันเสื่อมถอยลงเร็วยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากสถิติจำนวนโรงงานเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากสถาบันสิ่งทอที่ปรับลดลงจากจำนวน 2,672 แห่ง ในปี 2543 ลดลงมาเหลือ 2,648 แห่งในปี 2545 และ 2,588 แห่งในปี 2547 ส่วนในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมาจำนวนโรงงานปรับลดลงมาเหลือประมาณ 2,528 แห่ง

  ขณะที่จำนวนแรงงานก็มีการปรับลดลงจาก 843,200 คนในปี 2543 มาเป็น 840,850 คนในปี 2545 และ 837,680 คนในปี 2547 ส่วนในปี 2549 ที่ผ่านมาจำนวนคนงานปรับลดลงมาเหลือประมาณ 824,500 คน และเมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกก็พบว่า ปรับลดลงเป็นลำดับจากส่วนแบ่งตลาด 1.9% ของประเทศผู้ส่งออกเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของโลกปี 2543 ลดลงมาเหลือ 1.8% ในปี 2545 และประมาณ 1.5% ในปี 2548 ในขณะที่คู่แข่งของไทยคือจีนส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 18.3% ในปี 2543 มาเป็น 20.4% ในปี 2545 และประมาณ 26.9% ในปี 2548 ส่วนคู่แข่งที่สำคัญอีกรายคือเวียดนามนั้น ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 0.2% ในปี 2543 มาเป็น 1.3% ในปี 2545 และประมาณ 1.7% ในปี 2548

  สำหรับปัจจัยที่ส่งผลทำให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยปรับตัวลดลงนอกเหนือจากปัจจัยด้านค่าเงินบาทมีรายละเอียดดังนี้

   1.ปัจจัยด้านต้นทุนการผลิต เนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างผลิตตามรูปแบบ ประเภทวัตถุดิบ และตราสินค้าของผู้สั่งซื้อ(Original Equipment Manufacturing: OEM) ฉะนั้นต้นทุนการผลิตจึงมีผลต่อคำสั่งซื้อเป็นอย่างมาก และเนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิต(labor Intensive) ส่งผลให้ที่ผ่านมา ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยอันได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน และเวียดนามเข้ามาแย่งตลาดสินค้าไทยด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อมของไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายเล็กจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันมาก

  ทั้งนี้อัตราค่าจ้างแรงงานของไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ที่ประมาณ 1.29 ดอลลาร์สหรัฐ/ชั่วโมง ในขณะที่คู่แข่งของไทยคือจีนอยู่ที่ 0.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ชั่วโมง อินเดียอยู่ที่ 0.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ชั่วโมง และเวียดนามอยู่ที่ 0.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ชั่วโมง ส่งผลให้ไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูประดับล่างที่มุ่งเน้นแข่งขันในด้านราคาได้  

   2.ปัจจัยจากการยกเลิกโควตาของประเทศผู้นำเข้า แต่เดิมการค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของโลกสามารถแบ่งออกได้ เป็นตลาดที่ไม่จำกัดโควตาการนำเข้า และตลาดที่มีการกำหนดโควตาและอัตราการขยายตัวในแต่ละปีให้กับประเทศผู้ส่งออก ซึ่งตลาดในกลุ่มนี้จะเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูง อันได้แก่ประเทศ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป(15ประเทศ) นอร์เวย์และแคนาดา ทั้งนี้ แม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้การขยายตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยไปยังประเทศเหล่านี้มีข้อจำกัด กล่าวคือเติบโตได้ในสัดส่วนที่ไม่เกินจากโควต้าของประเทศผู้นำเข้ากำหนด แต่ในอีกด้านหนึ่ง ข้อตกลงดังกล่าวก็ได้ช่วยควบคุมสินค้าจากประเทศคู่แข่งของไทยที่มีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต ไม่ให้ขยายตัวในอัตราสูงจนส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดของไทย ซึ่งก็ถือได้ว่าการควบคุมโควต้าดังกล่าวเป็นการคุ้มครองผู้ประกอบการไทยทางอ้อม

  อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา ประเทศต่างๆได้ยกเลิกการกำหนดโควต้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก(WTO)เพื่อให้การค้าเป็นไปอย่างเสรี ส่งผลให้ประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม และประเทศผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจากค่าแรงงานในประเทศ สามารถส่งออกได้เสรีโดยไม่ถูกจำกัดทางด้านโควตาส่งออกอีกต่อไป ทำให้ประเทศเหล่านี้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในตลาดต่างประเทศมากขึ้น

   3.ปัจจัยจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO)ของจีนและเวียดนาม การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนซึ่งมีผลในปี 2544 และเวียดนามที่มีผลในช่วงต้นปี 2550 นับเป็นการเปิดประตูการค้าให้กับประเทศทั้งสองเพราะทำให้ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าเหมือนเช่นประเทศสมาชิกรายอื่นๆ รวมทั้งสามารถส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขโควตาทางการค้าอีกต่อไป และทำให้ผู้นำเข้าจากประเทศต่างๆสนใจสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีนและเวียดนามมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันการเข้าเป็นสมาชิก WTO จะดึงดูดให้ต่างประเทศสนใจเข้าไปลงทุนทางด้านเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเพราะจีนและเวียดนามมีแรงงานราคาถูกเป็นจำนวนมากทำให้มีโอกาสพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะยิ่งหนุนให้มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของจีนและเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้น และทำให้เสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น

   ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ปัจจุบัน มีหลายปัจจัยที่บั่นทอนศักยภาพการแข่งขันทำให้สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในตลาดโลกปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะหมดโอกาสที่จะมีบทบาทในตลาดโลก เนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยยังมีจุดแข็งทางด้านประสิทธิภาพการผลิตของภาคแรงงาน รวมทั้งคุณภาพฝีมือการตัดเย็บที่โดดเด่นและสามารถแข่งขันได้กับคู่แข่ง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าระดับคุณภาพปานกลางขึ้นไป

  ในขณะเดียวกัน คู่แข่งขันของไทยรายสำคัญ ทั้งจีนและเวียดนามเองต่างก็มีจุดอ่อนที่สำคัญคืออัตราการขยายตัวทางด้านการส่งออกอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงส่งผลให้ถูกเพ่งเล็งและนำมาตรการกีดกันทางการค้ามาใช้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะจีนนั้นที่ผ่านมาถูกสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปนำมาตรการป้องกันตัวเอง(SAFEGUARD) มาใช้กีดกันการค้าในส่วนของสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 ที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้าที่ผลิตจากจีนได้มีการส่งออกไปยังประเทศทั้งสองเพิ่มขึ้นสูงมาก ภายหลังจากมีการยกเลิกโควตานำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก(WTO)โดยสหภาพยุโรปจะจำกัดปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของจีนไปจนถึงปี 2550 และสหรัฐฯจะจำกัดปริมาณการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีนไปจนถึงปี 2551

  ดังนั้น จีนและเวียดนามเองก็จำเป็นต้องระมัดระวังการส่งออกเพื่อไม่ให้ประเทศผู้นำเข้าเห็นว่าเป็นการทุ่มตลาดจนส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประเทศผู้นำเข้า ในขณะที่การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไทยไปยังประเทศสำคัญ ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังมีมูลค่าไม่สูงมากนัก อีกทั้งบางช่วงมูลค่าส่งออกยังขยายตัวลดลง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยลดปัญหาการกีดกันเสื้อผ้าสำเร็จรูปไทยลงได้ระดับหนึ่ง  

   ฉะนั้น ผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จรูปจำเป็นต้องเร่งปรับตัวรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงทางด้านต้นทุนการผลิตซึ่งมีปัจจัยทางด้านเงินบาทแข็งค่าเข้ามาเป็นแรงผลักดันให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสรุปได้ดังนี้

   1.การประกันความเสี่ยงทางด้านค่าเงิน ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยควรหาวิธีลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทโดยการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า รวมทั้งการกระจายตลาดไปยังแหล่งที่ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าเช่นตลาดยุโรปให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องพึ่งพาตลาดซึ่งต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯในการแลกเปลี่ยนซื้อสินค้า ผู้ประกอบการก็ควรทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ส่งออกของไทยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

   2.การลดต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการควรใช้ช่วงโอกาสที่เงินบาทแข็งค่าอยู่ในขณะนี้ พัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตโดยการนำเข้าเครื่องจักรสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยต้นทุนที่ลดลง ซึ่งการนำเครื่องจักรเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้จะช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องบริหารสต็อกสินค้าและวัตถุดิบเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณการผลิตและปริมาณความต้องการในแต่ละช่วงเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำสู่การลดต้นทุนทางด้านดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและพลังงานลงได้  

   3.การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า มาตรการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งการลดราคาสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปนั้นถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น ทั้งนี้เนื่องจากคู่แข่งของไทยก็มีศักยภาพที่จะลดต้นทุน และลดราคาสินค้ามากกว่าไทยเนื่องจากความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงาน ดังนั้น ทางออกสำหรับผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จรูปในระยะยาว สามารถทำได้ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการของไทยพัฒนาการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้มีสไตล์และรูปแบบที่ทันสมัยให้ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า(BRAND NAME) ของตนเอง อันจะเป็นการยกระดับสินค้าให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

  ในขณะเดียวกัน จะช่วยทำให้การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยสามารถเกื้อกูลและพึ่งพาวัตถุดิบจากในประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทอผ้าผืนและทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบมีความเข้มแข็ง ซึ่งต่างจากการรับจ้างตัดเย็บจากบริษัทต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่มักมีข้อกำหนดจากผู้สั่งซื้อที่กำหนดให้ใช้ผ้าผืนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นวัตถุดิบการผลิต ทั้งนี้ การสร้างตราสินค้าของตนเองให้เป็นที่รู้จัก ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทางด้านงบประมาณอาจเลือกที่จะเปิดร้านค้าหรือสำนักงานขายในประเทศที่มีศักยภาพเพื่อแนะนำทำความคุ้นเคยให้ผู้ซื้อรู้จักเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากไทยมากขึ้น

   4.มุ่งขยายการส่งออกสินค้าที่ไทยยังมีศักยภาพแข่งขัน จากข้อมูลการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกรมศุลกากรพบว่า ยังคงมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปบางประเภทที่ไทยยังคงมีศักยภาพการแข่งขัน อาทิ เสื้อผ้าเด็กอ่อนซึ่งยังสามารถขยายตัวได้ดีในตลาดสหภาพยุโรปถึงร้อยละ14.4 ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากผ้าไหมซึ่งแม้ว่าจะยังมีมูลค่าไม่สูงมากนักประมาณปีละ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแต่อัตราการขยายก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยจากมูลค่าส่งออก 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9 ส่วนปี 2549 ที่ผ่านมามูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 6.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.7 ทั้งนี้หากผู้ประกอบการมีการเร่งขยายตลาดมากขึ้นก็มีโอกาสเพิ่มมูลค่าส่งออกให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากไทยมีข้อได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบที่มีความสวยงามสามารถผลิตขึ้นเองในประเทศ

  5.รุกตลาดอื่นๆนอกเหนือจากตลาดส่งออกหลัก การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันยังคงพึ่งพาตลาดส่งออกหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นในสัดส่วนรวมกันสูงถึงประมาณร้อยละ 80 ส่งผลให้สินค้าไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้หันไปนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำเช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย เป็นต้น หรือไม่ก็นำเข้าจากประเทศที่มีการรวมกลุ่มทางการค้าหรือมีการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนระหว่างกันเช่น สหรัฐฯกับเม็กซิโก สหภาพยุโรปกับประเทศในยุโรปตะวันออก และญี่ปุ่นกับจีนและเวียดนาม

  ดังนั้น ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยควรให้ความสำคัญกับการขยายตลาดไปยังประเทศที่มีการจัดทำข้อตกลงเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน อาทิ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ซึ่งจะทยอยปรับลดภาษีในส่วนของเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าจากไทยให้เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2008 ปี 2010 และปี 2015 ตามแต่ละประเภทสินค้า ในขณะที่จีนจะทยอยปรับลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2010 ส่วนญี่ปุ่นได้ปรับลดภาษีลงมาเป็นร้อยละ 0 ทันที ทำให้ศักยภาพด้านการแข่งขันของสินค้าไทยกับประเทศคู่แข่งมีเพิ่มขึ้น  

   6.การเร่งจัดทำข้อตกลงเสรีทางการค้ากับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และญี่ปุ่น แล้ว ประเทศไทยยังเตรียมที่จะเจรจาทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆอีกหลายประเทศ แต่ที่สำคัญคือการทำข้อตกลงกับประเทศสหรัฐฯซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่อันดับ 1 ของโลกที่มีมูลค่านำเข้าปีละกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยซึ่งมีมูลคาส่งออกสูงถึงกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งหากไทยประสบผลสำเร็จทางด้านการเจรจาเขตการค้าเสรี จะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ไม่ได้สิทธิทางภาษีเป็นอย่างมาก

ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=86486
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news01/08/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

"ยูเนี่ยนฟุทแวร์" ปิดกิจการแล้ว! เตรียมถอนหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2550 12:31 น.

 "ยูเนี่ยนฟุทแวร์" โรงงานรองเท้าชื่อดัง เครือกลุ่มสหยูเนี่ยน ประกาศปิดกิจการปลายปีนี้ เตรียมขอเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้บริหารยอมรับ แบกรับภาระขาดทุนค่าเงินบาทไม่ไหวแล้ว ระบุ ผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องนานถึง 3 ปี เกิดจากภาวะการแข่งขันของธุรกิจโรงงานรองเท้าที่รุนแรงขึ้น พร้อมจ่ายชดเชยแรงงานตามกฎหมายแรงงานกำหนด
     
      วันนี้(1 ส.ค.) นายทรงศักดิ์ ธรรมภิมุขวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเนี่ยนฟุทแวร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UF แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท(บอร์ด) มีมติการเพิกถอนหลักทรัพย์ UF ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เนื่องจากบริษัทฯ จะหยุดดำเนินธุรกิจรองเท้า เพราะอุตสาหกรรมรองเท้ามีการแข่งขันสูงจากต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นตลาดของผู้ซื้อน้อยราย ทำให้มีโอกาสน้อยในการเจรจาต่อรองเงื่อนไขและราคาขาย ถึงแม้บริษัทฯ ได้พัฒนาทั้งระบบการบริหารจัดการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ความสามารถในการทำกำไรก็ลดลงทุกปี และบริษัทฯ ประสบผลขาดทุนติดต่อกันมาเกินกว่า 3 ปี
     
      ในขณะที่อุตสาหกรรมรองเท้าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นจํานวนมาก บริษัทฯ ประสบกับสภาวะการขาดแรงงานที่ประสงค์จะทํางานในอุตสาหกรรมรองเท้า ทั้งๆ ที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีการปรับเพิ่มอยู่ตลอดเวลา บริษัทฯ ได้พยายามแก้ไขปัญหาการขาดแรงงาน โดยให้บริษัทย่อยที่ทำชิ้นส่วนรองเท้าให้บริษัทไปประกอบกิจการใน ต่างจังหวัด แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแรงงานได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตอย่างรุนแรง ประกอบกับแรงงานไม่เสถียร คือมีการเข้าออกเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการฝึกอบรมสูงและส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต และการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ ไม่ตรงตามกําหนดเวลา ทําให้บริษัทฯ ต้องรับภาระค่าขนส่ งทางอากาศ (Airfreight) ที่เป็นค่าใช้จ่ายสูงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจรองเท้าในจีนและเวียดนามซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก และมีอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทยทำให้ไม่สามารถแข่งขันในธุรกิจนี้ได้
     
      นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน ประกอบด้วยค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน และค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งค่าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น และบริษัทฯ จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม ขบวนการผลิตและการจั ดการสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้ องการของคู่ค้าที่มีการปรับเปลี่ยนความต้องการมากขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้ จะก่อให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและไม่อาจผลักภาระให้กับคู่ค้าได้ทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้รายได้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการผลิต
     
      ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ได้ทำธุรกิจซื้อขายในรูปเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ (US$) เป็นส่วนใหญ่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน และค่าเงินบาทมีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าในระดับนี้ต่อไปในระยะยาว ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เมื่อบริษัทฯ คํานึงถึงผลตอบแทนทางธุรกิจการแข่ งขันทางการค้า ความเสี่ยงกับความจำเป็นที่บริษัทฯ จะต้องลงทุนในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของคู่ค้าแล้ว บริษัทฯ พิจารณาเห็นว่าธุรกิจนี้มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะขาดทุนต่อไป นับเป็นธุรกิจที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน บริษัทฯ จึงตัดสินใจเลิกการผลิต เพื่อมิให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้ โดยบริษัทฯ จะดำเนินการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าตามคำสั่งซื้อที่มีอยู่ภายในปี 2550 จนครบถ้วน หลังจากนั้นก็จะหยุดดําเนินกิจการรองเท้าของบริษัทฯ รวมทั้งบริษัทย่อย และยังไม่มีนโยบายที่จะดำเนินธุรกิจอื่นใดอีก บริษัทฯ จะทยอยหยุดดำเนินการผลิตและจะรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างแรงงาน และเงินชดเชยตามกฎหมาย
     
      ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ออกจาก การเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยสมัครใจ ราคาเสนอซื้อหุ้นสามัญ : ราคา 3.29 บาทต่อหุ้น http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000089652
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/08/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ส.อัญมณีขัดแย้งหนักขู่ทุบหม้อข้าวเลิกจัดงานบางกอกเจมส์

ศึกภายในสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับปะทุไม่เลิก หลังนายกสมาคมคนปัจจุบันถูกกลุ่ม 17 ท้าชิงอำนาจบริหารสมาคมชิงเร่งเปิดให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ สุดท้าย "พรชัย ชื่นชมลดา" เบรกแตก ออกมาแฉสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยฯกำลังถูก "แขกอินเดีย" กลืน เร่งทำหนังสือถึงอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ขอคืนการบริหารจัดการงาน Bangkok Gems ขุมทรัพย์ 600 ล้านบาท ให้กรมเข้ามาดูแลแทน หวังทุบหม้อข้าวกลุ่มต่อต้านที่จะเข้ามาช่วงชิงอำนาจในสมาคม

นายพรชัย ชื่นชมลดา นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ความวุ่นวายภายในสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยมีกรรมการบริหารสมาคมบางรายพยายามที่จะยึดอำนาจในการบริหารสมาคมเพื่อต้องการเข้าไปควบคุมดูแลแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดงานบางกอกเจมส์ที่จัดขึ้นเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีวงเงินประมูลจัดซื้อหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท

และเพื่อตัดปัญหาไม่ให้การจัดงานบางกอกเจมส์กลายเป็นขุมทรัพย์ให้บุคคลเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในอนาคต ดังนั้นในวันพุธที่ 1 สิงหาคมนี้ ทางสมาคมจะยื่นเรื่องถึงอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อขอคืนอำนาจในการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ หรือ Bangkok Gems & Jewelry Fair ให้กรมส่งเสริมการส่งออกเข้าไปบริหารดูแลแทน โดยมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่การจัดงานบางกอกเจมส์ในเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นไป

ส่วนกรณีที่มีกลุ่มคณะกรรมการบริหารสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯจำนวน 17 ราย พยายามออกมาเคลื่อนไหวแย่งชิงอำนาจบริหารสมาคมเพื่อเปิดทางให้ "นักธุรกิจอินเดีย" เข้าครอบงำอุตสาหกรรมอัญมณีของไทย โดยแอบอ้างว่ามีมติการประชุมคณะกรรมการสมาคมเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 เพื่อกำหนดวาระการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550 ให้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ วาระ 2550-2552 นั้น

นายพรชัยกล่าวว่า ภายหลังจากที่ตนได้แจ้งความไว้กับ สน.ยานนาวา เพื่อดำเนินคดีข้อกล่าวหาปลอมแปลงเอกสารและยื่นฟ้องกลุ่มบุคคลดังกล่าว ณ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำ 7049/2550 เนื่องจากการประชุมครั้งนั้นไม่ครบองค์ประชุมและเป็นการดำเนินกิจกรรมอย่างไม่ถูกต้อง

ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกกลุ่มบุคคลดังกล่าวมาสอบสวนเบื้องต้น พบว่าการประชุมครั้งนั้นมีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจริงไม่ถึง 17 ราย เพราะกรรมการบางรายอยู่ต่างประเทศไม่ได้เข้าประชุม แต่ถูกแอบอ้างชื่อในการประชุม โดยใช้หนังสือรับมอบอำนาจที่กรรมการบริหารเซ็นชื่อไว้ล่วงหน้าเมื่อ 4 เดือนก่อนมาแสดงว่ามีส่วนร่วมในการประชุมวันดังกล่าว ส่วนผู้ที่เข้าร่วมประชุมจริงกลับเป็นกรรมการที่เป็นชาวอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าบุคคลกลุ่มดังกล่าวต้องการรวบรวมรายชื่อสมาชิกที่เป็นชาวอินเดียเพื่อใช้เป็นฐานเสียงเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารสมาคมในอนาคต

นายพรชัยกล่าวว่า ตนในฐานะผู้ก่อตั้งสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯ ไม่สามารถทนนิ่งเฉยกับการกระทำดังกล่าวได้ เพราะปัจจุบันกรรมการบริหารสมาคมบางรายก็ไม่ได้ประกอบธุรกิจการค้าหรือส่งออกสินค้าอัญมณีแล้ว แต่ต้องการใช้อำนาจในตำแหน่งคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นช่องทางหาผลประโยชน์

เนื่องจากปัจจุบันสมาคมมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 400-500 ล้านบาท มีทรัพย์สินถาวรกว่า 100 ล้านบาท จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะชนะการเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารสมาคมชุดต่อไปให้ได้ ด้วยการใช้วิธีรวบรวม "หนังสือมอบอำนาจ" ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสมาชิกที่เป็นชาวอินเดีย เข้ามาลงคะแนนเสียงตั้งกรรมการ เพื่อใช้เป็นฐานในการเข้าไปคุมอำนาจบริหารสมาคมต่อไป โดยแลกเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนที่พ่อค้าชาวอินเดียจะได้รับ เช่น เป็นตัวแทนสมาคมไปร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยได้รับงบฯอุดหนุนในการเข้าร่วมงานแฟร์ต่างประเทศจากกรมส่งเสริมการส่งออก หรือสมาคมโดยตรง หรือได้สิทธิเข้าร่วมงานแฟร์ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

"ผมยอมรับว่าที่ผ่านมาสมาคมได้มีโอกาสนำสมาชิกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศค่อนข้างบ่อย ภายใต้ชื่อ ไทยพาวิเลียน แต่ในทางปฏิบัติกลุ่มสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกส่วนใหญ่มักจะมาจากคณะกรรมการสมาคม ซึ่งเป็นกลุ่มแขกอินเดีย ทำให้ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์หลายท่านถึงกับออกปากว่า จัดงานภายใต้ชื่อไทยพาวิเลียน แต่ทำไมกลายเป็นบริษัทแขกอินเดียเกือบทั้งหมด และที่น่าเจ็บใจมากที่สุดก็คือ แขกอินเดียกลุ่มดังกล่าวนำออร์เดอร์ที่ได้รับจากการขายในงานดังกล่าวไปให้อินเดียผลิตแทน เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าจ้างผลิตในไทย นี่คือข้อเท็จจริงที่อยากให้สังคมไทยรับรู้" นายพรชัยกล่าว

ด้านนายวิชัย อัศรัสกร อุปนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ หนึ่งใน 17 รายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคม ที่ถูกนายพรชัยนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯกล่าวหา ด้วยการแจ้งความดำเนินคดี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ยืนยันว่า การประชุมคณะกรรมการสมาคมเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 เพื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่วาระ 2550-2552 ในวันที่ 8 สิงหาคม 2550 เป็นไปตามระเบียบสมาคมและอยู่ในภายใต้อำนาจทางกฎหมาย

มีจำนวนสมาชิกเข้าร่วมประชุมครบ 17 ราย แม้บางรายจะไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยตัวเอง แต่ใช้หนังสือรับมอบอำนาจที่กรรมการบริหารเก็บไว้นั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ปฏิบัติในสมาคมมานานกว่า 30 ปีแล้ว

"พวกเรามีเอกสารที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่และศาลได้ตลอดเวลา ส่วนกรณีที่นายพรชัยจะทำหนังสือคืนอำนาจการบริหารงาน Bangkok Gems ให้กับกรมส่งเสริมการส่งออกนั้น ผมว่าจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายมากกว่า เพราะหากเป็นการกระทำในนามสมาคมจะต้องมีมติคณะกรรมการสมาคมรับรองก่อนทุกครั้ง" นายวิชัยตั้งข้อสังเกต

ล่าสุด นายคมสัน โอภาสสถาวร ประธานคณะอนุกรรมการการเลือกตั้ง สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการทำหนังสือเชิญสมาชิกเพื่อร่วมกันรับฟังปัญหาและหาข้อยุติเกี่ยวกับความขัดแย้งในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ โดยจะนัดประชุมกันในสัปดาห์หน้านี้
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/08/07

โพสต์ที่ 27

โพสต์

กสิกรไทยแนะธุรกิจรองเท้ากีฬาไทยเร่งหาตลาดส่งออกเพิ่ม  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
3 สิงหาคม 2550 11:57 น.

     ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดตลาดรองเท้ากีฬาทั้งในประเทศและส่งออกปีนี้ชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาและปัญหาเงินบาทแข็งค่า แนะผู้ประกอบการเร่งหาตลาดส่งออกเพิ่ม เช่น ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกเหนือจากตลาดใหญ่อย่างสหรัฐ ขณะเดียวกันสำรวจจุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อผลิตสินค้าตรงความต้องการของลูกค้า
     
      บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการบางรายต้องปิดตัวลง และบางรายเริ่มใช้มาตรการชะลอการจ้างงาน เมื่อต้องเผชิญกับผลกระทบของค่าเงินบาท หลังจากระยะที่ผ่านมา อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาต้องเผชิญกับปัญหานานัปการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งที่มีการปรับเพิ่มค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากการปรับค่าจ้างแรงงานและราคาวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งปัญหาจากการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะคำสั่งซื้อเริ่มย้ายไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย ทำให้ราคารองเท้ากีฬาต่ำกว่าไทย
     
      อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศในปี 2550 จะมีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท เติบโตประมาณร้อยละ 6 ซึ่งเป็นแนวโน้มชะลอตัวลงจากที่เคยมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10-15 เนื่องจากตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งในส่วนผู้ผลิตของไทยและรองเท้ากีฬาที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศลดลง ผู้ประกอบการเน้นประคองตัวให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปก่อน โดยไม่มีผู้ประกอบการรายใดลงทุนเพิ่ม เพียงแต่การปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษายอดจำหน่ายและรักษาฐานลูกค้าไว้ ปัจจุบันสัดส่วนของตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศมีประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด และตลาดเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ดูแลสุขภาพตนเอง
     
      สำหรับไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรองเท้ากีฬาที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชีย แต่มูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาในช่วงครึ่งปีแรกมีประมาณ 256.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 8.6 เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังจีนและเวียดนามที่มีข้อได้เปรียบในเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบต่ำกว่าไทย โดยทั้ง 2 ประเทศเป็นตลาดรองเท้ากีฬาที่มีขนาดใหญ่รวมทั้งยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมากโดยเฉพาะจีน ซึ่งปัจจุบันเป็นฐานการผลิตและตลาดรองเท้ากีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังตลาดสหรัฐเป็นอย่างมาก เพราะตลาดสหรัฐเป็นตลาดส่งออกรองเท้ากีฬาอันดับหนึ่งของไทย เคยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาทั้งหมด แต่ปัจจุบันการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐมีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น นอกจากนี้ การส่งออกรองเท้ากีฬาไปยังตลาดสหรัฐยังมีแนวโน้มลดความสำคัญลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ด้วยเหตุผลเงินบาทที่แข็งค่า ทำให้รองเท้ากีฬาของไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน
     
      ทั้งนี้ การแก้ปัญหาของผู้ส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยให้สามารถรักษาระดับมูลค่าการส่งออกไม่ให้ตกต่ำมากนัก คือ การกระจายตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ที่การส่งออกรองเท้ากีฬายังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้ส่งออกรองเท้ากีฬาควรเร่งหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งตลาดที่น่าสนใจ คือ ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาไปยังประเทศเหล่านี้ยังไม่สูงนัก แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มตลาดแล้ว รองเท้ากีฬาของไทยยังสามารถเจาะขยายตลาดในประเทศเหล่านี้ได้อีกมาก โดยการเริ่มเข้าไปเจรจากับบริษัทเทรดดิ้ง เพื่อหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ การเข้าไปแลกเปลี่ยนความเห็นกับสมาคมรองเท้าของแต่ละประเทศ เยี่ยมชมโรงงานผลิตรองเท้ากีฬา โรงเรียนสอนออกแบบ และสำรวจย่านแฟชั่น โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และผลักดันการส่งออกเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องสำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งของรองเท้ากีฬาของไทยในแต่ละตลาด เพื่อผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าด้วย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000090632
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/08/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

รองเท้าหนังไทยเจ๋งแบรนด์นอกสั่งตัด

โพสต์ทูเดย์ ผู้ประกอบการรองเท้าหนังเตรียมรับอานิสงส์กระแสความนิยมรองเท้าหนัง ล่าสุดมีบริษัทชั้นนำระดับโลกเตรียมสั่งผลิตอีก 3 แบรนด์
นายโมลี มณีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีไซน์ บาย มณีศิลป์ ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าภายใต้แบรนด์ Maneesilp และเลขาธิการ สมาคมรองเท้าไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่กระแสความนิยมรองเท้าผ้าใบและรองเท้ากีฬาได้รับความนิยมลดลง บริษัทมองว่ารองเท้าหนังจะเข้ามาแทนที่ และจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตลาดรองเท้าหนังระดับบน และรองเท้าที่มีกระบวนการผลิตที่ใช้แฮนด์เมด 100% ทำให้สินค้าจากประเทศไทยสามารถแข่งขันจาก ต่างประเทศได้

ในสถานการณ์แบบนี้รองเท้าหนังยังไปได้ดี เนื่องจากผู้ผลิตมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตอบสนองความต้องการของลูกค้า ล่าสุดมีแบรนด์ชั้นนำระดับโลกอีก 3 แบรนด์ กำลังอยู่ระหว่างเจรจาให้บริษัทผลิตสินค้าให้แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ และขณะนี้ยอดรับจ้างผลิตโดยรวมยังไม่ลดลง นายโมลี กล่าว

ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตรองเท้าทั้งสุภาพบุรุษและสตรีเดือนละ 3-5 พันคู่ โดยสินค้า 80% เป็นการรับจ้างผลิต (OEM) ให้กับแบรนด์ชั้นนำ เช่น จัสปาล แดปเปอร์ อแลน เดอลอง ส่วนอีก 20% เป็นการจำหน่ายในประเทศ ซึ่งบริษัทเปิดร้านของตนเอง ขณะนี้มี 2 สาขา คือ สาขา เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ชั้น 1 และ สาขาสุรวงศ์ และกำลังจะเปิดสาขาที่ 3 ที่สยามสแควร์ และสาขาที่ 4 ในเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ ยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา และหวังว่ายอดขาย ของบริษัทในปีนี้จะอยู่ที่ 30 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182958
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/08/07

โพสต์ที่ 29

โพสต์

อย่าตื่นตูมสิ่งทอเจ๊ง ไม่ใช่ถอนหุ้นทุกราย

โพสต์ทูเดย์ ตลาดหลักทรัพย์เตือนผู้ลงทุนอย่าตระหนกข่าว บจ.เจอมรสุมจนต้องขอเพิกถอนออกจากกระดาน

นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากเตือนผู้ลงทุนอย่าตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ธุรกิจขาดทุนแล้วจะต้องเพิกถอนบริษัทออกจากตลาดทรัพย์ทุกราย เพราะกรณีของบริษัท ยูเนี่ยนฟุทแวร์ (UF) ประกาศปิดกิจการลงเกิดจากธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีหลายบริษัทประสบปัญหาทางการเงินและสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้บริษัทสามารถดำรงสภาพเป็น บจ.ได้ต่อไปและปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้เพิกถอน เช่นบริษัท ไอทีวี (ITV) เป็นต้น

นายศักรินทร์ กล่าวถึงกรณีตลาดหลักทรัพย์จับตาดูกลุ่มธุรกิจแฟชั่นโดยเฉพาะสิ่งทอและรองเท้าเป็นการติดตามในภาพรวมมากกว่าจะจับผิดว่าบริษัทไหนจะออกจากเป็น บจ. และตอบไม่ได้ว่าบริษัทใดมีความเสี่ยงสูงจะเพิกถอนหุ้น เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นเอง

สำหรับกระบวนการเพิกถอนหุ้น UF ออกจากตลาดหลักทรัพย์ หลังจากนี้จะต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิกถอน ซึ่งตามกฎเกณฑ์จะต้องได้คะแนนเสียงเกิน 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด และต้องไม่มีผู้คัดค้านเกิน 10% เพื่อนำไปสู่การจัดทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นทุกราย (เทนเดอร์ออฟเฟอร์)

ปัจจุบันราคาหุ้น UF ลดลงเหลือ 3.18 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาซื้อคืนที่ 3.29 บาท ส่วน หุ้นบริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์(PAF) เริ่มยืนได้ ปิดที่ 2.30 บาท บวก 0.02 บาท หลังบริษัทปฏิเสธเรื่องการ ปิดกิจการ

ก่อนหน้านี้ นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาด กล่าวว่า UV ได้ดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อย 420 รายด้วยดี และมี 2 ทางเลือกว่าจะขาย หุ้นออกมาในกระดาน หรือขายหุ้นคืน ผู้ถือหุ้นใหญ่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182919
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/08/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

รองเท้ากีฬา พิษค่าเงินบาท ต้นทุนเพิ่ม สู้จีนและเวียดนามไม่ได้

3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:58:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬานับเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการบางรายต้องปิดตัวลง และบางรายเริ่มใช้มาตรการชะลอการจ้างงาน เมื่อต้องเผชิญกับผลกระทบของค่าเงินบาท หลังจากในระยะที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาต้องเผชิญกับปัญหานานัปการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งที่มีการปรับเพิ่มค่าแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากการปรับค่าจ้างแรงงานและราคาวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งปัญหาจากการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการที่คำสั่งซื้อเริ่มย้ายไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย ทำให้ราคาส่งออกรองเท้ากีฬานั้นต่ำกว่าไทย

 ปัญหาที่อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาที่ไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นับว่าเป็นกรณีตัวอย่างของปัญหาอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการพร้อมจะย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังแหล่งที่มีต้นทุนถูกกว่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมนั้น โดยปัญหาการลดคำสั่งซื้อรองเท้ากีฬาจากไทยนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในไทย แต่ผู้ผลิตรองเท้ากีฬาในอินโดนีเซียก็ประสบปัญหาเดียวกัน กล่าวคือ บริษัทแม่ลดคำสั่งซื้อรองเท้ากีฬาจากโรงงานบางแห่งในอินโดนีเซีย จากที่เคยมีคำสั่งซื้อเดือนละ 650,000 คู่ เหลือเพียง 200,000 คู่ เนื่องจากโรงงานเหล่านั้นไม่สามารถผลิตสินค้าตามมาตรฐานได้ แม้ว่าบริษัทแม่จะย้ายคำสั่งซื้อไปยังโรงงานอื่นๆที่อยู่ในอินโดนีเซีย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาในอินโดนีเซียเช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทย  

การผลิต...ต้นทุนพุ่ง มุ่งย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ

    อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาไทยมีผู้ผลิตรวมประมาณ 50 ราย เงินลงทุนรวม 5,000 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานรวม 30,000 คน ปริมาณการผลิตรองเท้ากีฬาประมาณปีละ 490,000 คู่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.1 ต่อปี โดยการผลิตรองเท้ากีฬาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ  

 1.การผลิตตามใบอนุญาตเป็นการผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทแม่ในต่างประเทศ โดยต้องทำสัญญา ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกและผู้ผลิตมีสิทธิ์เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย  

 2.การรับจ้างผลิตตามแบบ (Original Equipment Manufacturing : OEM) ของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ เป็นการรับจ้างผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างจะออกแบบ กำหนดขนาด และจัดหาวัตถุในการผลิตให้ สินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมดจะส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ผลิตไทยจึงไม่มีสิทธิจำหน่ายในประเทศ

 3.การผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง เป็นการผลิตโดยผู้ผลิตออกแบบเอง ซึ่งในระยะหลังผู้ผลิตรองเท้ากีฬาของไทยหันมาพัฒนาการผลิตและยี่ห้อของตนเอง(Private-label Market) โดยตลาดนี้ยังมีผู้ทำการผลิตจำนวนน้อยราย นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการผลิตรองเท้ากีฬาเฉพาะประเภทมากขึ้น เช่น กลุ่มรองเท้าวิ่ง รองเท้าแอโรบิค รองเท้าแบดมินตัน เป็นต้น มีการพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬา เช่น รองเท้าที่มีแผ่นรองเท้าแอนตี้แบคทีเรีย ทั้งนี้เพื่อลดความอับชื้นและลดกลิ่นเท้า เป็นต้น รวมทั้งการเน้นการผลิตรองเท้ากีฬาที่แบ่งตามอายุและเพศมากขึ้น เช่น กลุ่มรองเท้ากีฬาสำหรับเด็ก และสตรี เป็นต้น  

 ในระยะที่ผ่านมาการผลิตรองเท้ากีฬาของไทยส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตตามแบบ โดยผู้ผลิตไทยรับจ้างผลิตสินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับโลกหลากหลายยี่ห้อ ผู้ผลิตกลุ่มนี้จึงมีประสบการณ์สูงเพราะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีศักยภาพมากในการผลิตรองเท้ากีฬาที่มีมาตรฐาน  

 ตั้งแต่ปี 2546 บริษัทผู้ว่าจ้างผลิตรองเท้ากีฬาเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ทำให้ผู้ผลิตของไทยหันมาปรับทิศทางการผลิตและการตลาดโดยหันมาให้ความสนใจกับตลาดในประเทศมากขึ้น โดยปัจจัยหนุนคือ ตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 นอกจากปัญหาการย้ายฐานการผลิตแล้ว ผู้ผลิตรองเท้ากีฬาของไทยยังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้น ให้ไทยมีต้นทุนการผลิตจากชิ้นส่วนและวัตถุดิบต่อเนื่อง เช่น ยางพื้นรองเท้า หนังเทียม และโลหะประกอบต่างๆ

ตลาดในประเทศ...รองเท้านำเข้าตัดราคา กำลังซื้อลด  

    คาดว่าตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศในปี 2550 มูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 6.0% ต่อปี ซึ่งนับว่าตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากที่เคยมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.0-15.0 ต่อปี ตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งในส่วนผู้ผลิตของไทยและรองเท้ากีฬาที่นำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศลดลง ผู้ประกอบการเน้นประคองตัวให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปก่อน โดยไม่มีผู้ประกอบการรายใดลงทุนเพิ่ม เพียงแต่การปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษายอดจำหน่ายและรักษาฐานลูกค้าไว้  

 ปัจจุบันสัดส่วนของตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศมีประมาณ 20.0% ของมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด ตลาดเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ดูแลสุขภาพตนเอง โดยกลุ่มนี้จะเน้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องนับว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นการขยายตัวของตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศ

ผลกระทบของผู้ประกอบการรองเท้ากีฬาในประเทศแยกออกได้ ดังนี้  

    รองเท้ากีฬาระดับล่างหรือรองเท้ากีฬาในระดับราคา 200-300 บาท/คู่ ยังมียอดจำหน่ายทรงตัว เนื่องจากราคาไม่แพง ลูกค้ายังกล้าที่จะตัดสินใจซื้อ แต่ผู้ประกอบการของไทยก็ต้องเผชิญกับรองเท้ากีฬาราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาตัดราคาจำหน่าย กล่าวคือ ในช่วงครึ่งแรกปี 2550 ไทยนำเข้ารองเท้ากีฬา 9.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้น 9.1% และเมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าตลอดช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงเกือบ 25.0% ต่อปี แหล่งนำเข้ารองเท้ากีฬาที่สำคัญของไทยคือ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีแหล่งนำเข้าใหม่ที่เริ่มเข้ามาตีตลาดรองเท้ากีฬาในไทยคือ บราซิล อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี กัมพูชา และโรมาเนีย ซึ่งน่าจะเป็นการนำเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม แม้ว่ามูลค่าการนำเข้ายังไม่สูงนักเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออก แต่ก็มีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างน่าจับตามอง เนื่องจากต้องส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรองเท้ากีฬาในประเทศไทย  

 รองเท้ากีฬาระดับกลางขึ้นไป ต้องเผชิญปัญหายอดจำหน่ายลดลง เนื่องจากเป็นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากต้องแข่งขันกับรองเท้ากีฬานำเข้า ซึ่งมีการทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำตรายี่ห้อให้กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย แม้ว่ารองเท้ากีฬาที่ผลิตได้ในประเทศจะมีราคาต่ำกว่ารองเท้ากีฬานำเข้าร้อยละ 20-30 ก็ตาม แต่การแข่งขันของรองเท้ากีฬาในกลุ่มนี้ราคาไม่ใช่ประเด็นหลักในการพิจารณาเลือกซื้อของลูกค้า แต่ดีไซน์ คุณภาพและชื่อเสียงของตรายี่ห้อที่ได้รับการยอมรับจะเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจของลูกค้า

 การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งจากผู้ผลิตในประเทศด้วยกัน และจากสินค้านำเข้า ซึ่งนับวันจะมีบทบาทมากขึ้น นับว่าเป็นแรงกดดันและท้าทายความสามารถของผู้ผลิตรองเท้ากีฬาไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ผลิตที่สามารถจะอยู่รอดได้จะต้องมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งด้านประสิทธิภาพการผลิต ด้านคุณภาพของสินค้า กลยุทธ์การตลาด และต้องมีระบบการบริหารจัดการที่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญเพื่อความอยู่รอด คือ การพัฒนารูปแบบของรองเท้ากีฬาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความหลากหลายของสินค้าและสร้างความได้เปรียบกับคู่แข่ง การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพทำให้เกิดความเชื่อถือของลูกค้า และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับลูกค้า และทำให้ตรายี่ห้อเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ตลาดส่งออก...บริษัทแม่ย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อ

    ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรองเท้ากีฬาที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชีย อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง (ยกเว้นในปี 2548 ที่อินโดนีเซียเผชิญปัญหาการก่อการร้ายที่เกาะบาหลี ทำให้สหรัฐฯย้ายคำสั่งซื้อรองเท้ากีฬามาที่ไทยแทน) โดยมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาในช่วงครึ่งแรกปี 2550 เท่ากับ 256.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 8.6  ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังจีนและเวียดนาม เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบต่ำกว่าไทย นอกจากนี้ทั้งสองประเทศนี้ยังเป็นตลาดรองเท้ากีฬาที่มีขนาดใหญ่รวมทั้งยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นปัจจุบันเป็นฐานการผลิตและตลาดรองเท้ากีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก

 การย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อส่งผลกระทบต่อการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯเป็นอย่างมาก โดยตลาดสหรัฐฯนั้นนับเป็นตลาดส่งออกรองเท้ากีฬาอันดับหนึ่งของไทย ซึ่งเคยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40.0 ของมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาทั้งหมด แต่ปัจจุบันการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯมีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 30.0 เท่านั้น นอกจากนี้การส่งออกรองเท้ากีฬาไปยังตลาดสหรัฐฯยังมีแนวโน้มลดความสำคัญลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ อันเป็นผลจากเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้รองเท้ากีฬาของไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาของผู้ส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยโดยยังคงสามารถรักษาระดับมูลค่าการส่งออกไม่ให้ตกต่ำมากนัก คือการกระจายตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปที่การส่งออกรองเท้ากีฬายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปทวีความสำคัญ โดยมีสัดส่วนการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งแทนที่สหรัฐฯ กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาไปยังตลาดสหภาพยุโรปในช่วงครึ่งแรกปี 2550 เท่ากับ 113.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้น 8.5% สัดส่วนการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปในช่วงครึ่งแรกปี 2550 คิดเป็นร้อยละ 44.3 โดยมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาขยายตัวอย่างมากในประเทศสเปน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เบลเยี่ยม

นอกจากนี้ผู้ส่งออกรองเท้ากีฬายังเร่งหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งตลาดที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาไปยังประเทศเหล่านี้ยังไม่สูงนัก แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มตลาดแล้ว รองเท้ากีฬาของไทยยังสามารถเจาะขยายตลาดในประเทศเหล่านี้ได้อีกมาก โดยการเริ่มเข้าไปเจรจากับบริษัทเทรดดิ้งเพื่อหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศต่างๆ การเข้าไปแลกเปลี่ยนความเห็นกับสมาคมรองเท้าของแต่ละประเทศ เยี่ยมชมโรงงานผลิตรองเท้ากีฬา โรงเรียนสอนออกแบบ และสำรวจย่านแฟชั่น ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และผลักดันการส่งออกเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องสำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งของรองเท้ากีฬาของไทยในแต่ละตลาดด้วย

ปัญหาของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬา...เผชิญการแข่งขันสูง ขาดแคลนแรงงาน พิษค่าเงิน

    จากคำชี้แจงของผู้ประกอบการรองเท้ากีฬาที่ต้องปิดกิจการและผู้ประกอบการที่ประกาศชะลอการจ้างงานนั้น นับเป็นการยืนยันถึงปัญหาของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬา ดังนี้

1.อุตสาหกรรมรองเท้ามีการแข่งขันสูงจากต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นตลาดของผู้ซื้อน้อยราย ทำให้มีโอกาสน้อยในการเจรจาต่อรองเงื่อนไขและราคาขาย ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาทั้งระบบการบริหารจัดการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ความสามารถในการทำกำไรก็ลดลงทุกปีและต้องประสบผลขาดทุนติดต่อกัน

 2 อุตสาหกรรมรองเท้าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นจํานวนมาก แต่ต้องประสบกับสภาวะการขาดแคลนแรงงาน ทั้งๆที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีการปรับเพิ่มขึ้น ความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดแรงงาน โดยให้บริษัทย่อยที่ทำชิ้นส่วนรองเท้าให้บริษัทไปประกอบกิจการในต่างจังหวัด แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแรงงานได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตอย่างรุนแรง ประกอบกับแรงงานมีลักษณะการเข้าออกเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการฝึกอบรมสูงและส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต และการส่ง มอบสินค้าให้ลูกค้าได้ไม่ตรงตามกําหนดเวลา ทําให้ต้องรับภาระค่าขนส่งทางอากาศที่เป็นค่าใช้จ่ายสูงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจรองเท้าในจีนและเวียดนามซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก และมีอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทยทำให้ไม่สามารถแข่งขันในธุรกิจนี้ได้

 3.ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน อันประกอบด้วยค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน และค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งค่าวัตถุดิบสำคัญที่เพิ่มขึ้น

4.ผู้ประกอบการต้องลงทุนเพิ่มในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ขบวนการผลิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของคู่ค้าที่มีการปรับเปลี่ยนความต้องการมากขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้จะก่อให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและไม่อาจผลักภาระให้กับคู่ค้าได้ทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้รายได้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการผลิต

 5.ธุรกิจซื้อขายในรูปเงินตราต่างประเทศซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯเป็นส่วนใหญ่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน และค่าเงินบาทมีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าในระดับนี้ต่อไปในระยะยาว ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาประสบปัญหาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เมื่อผู้ประกอบการคำนึงถึงผลตอบแทนทางธุรกิจการแข่งขันทางการค้า ความเสี่ยง กับความจำเป็นที่จะต้อลงทุนในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของคู่ค้าแล้ว ผู้ประกอบการพิจารณาเห็นว่าธุรกิจนี้มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะขาดทุนต่อไป นับเป็นธุรกิจที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจเลิกการผลิต เพื่อมิให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้

ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87523
โพสต์โพสต์