สื่อสารและเทคโนโลยี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

สื่อสารและเทคโนโลยี

โพสต์ที่ 1

โพสต์

กสทฯเล็งขอใบอนุญาต บริการเน็ตไร้สายทั่วปท.

โพสต์ทูเดย์ กสทฯ ผนึกพันธมิตรแดนปลาดิบ ขอไลเซนส์ กทช.ลุยไวแมกซ์ หวังขยายบริการไร้สายรองรับบริการซีดีเอ็มเอทั่วประเทศ
นายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเจรจากับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นพันธมิตรในการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (ไวแมกซ์) ทั่วประเทศ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

ความร่วมมือดังกล่าวเพื่ออาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากพันธมิตร เนื่องจากเป็นบริการที่กำลังเป็นแนวโน้มของโลก เห็นได้จากการที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ในแต่ละประเทศต่างหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีไวแมกซ์มากขึ้น ซึ่งการให้บริการนี้จะช่วยให้ กสทฯ มีบริการครบวงจรมากขึ้น โดยเฉพาะบริการไร้สาย นอกเหนือจากธุรกิจโทรศัพท์ซีดีเอ็มเอภายใต้แบรนด์ แคท ซีดีเอ็มเอ ที่มีลูกค้าประมาณ 1.7 หมื่นราย

สำหรับแผนธุรกิจของแคท ซีดีเอ็มเอนั้น ปัจจุบันคณะกรรมการกำลังตรวจรับโครงการซีดีเอ็มเอ เฟส 2 จำนวน 800 สถานี หากพบว่าสถานีใดที่มีปัญหาไม่ได้ตามมาตรฐานก็จะดำเนินการปรับ แต่หากเป็นเพียงหลอดขาด นอตหลุดก็สามารถอนุโลมได้ ซึ่งระหว่างรอการตรวจรับลูกค้าสามารถใช้บริการได้อย่างไม่จำกัดทั้งระบบเสียงและข้อมูล (ดาต้า)

นายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช.เปิดเผยว่า การออกไลเซนส์ของ กทช. ไม่ได้คำนึงว่าเป็นไว-ไฟ หรือไวแมกซ์ เพราะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะคำนึงถึงคลื่นความถี่เป็นหลัก ซึ่งไวแมกซ์เป็นเทคโนโลยีบนคลื่นความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ถือเป็นคลื่นความถี่ใหม่ที่ต้องรอคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) มาอนุมัติร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม กทช.ได้อนุมัติคลื่นความถี่ที่ 2.4 และ 3.3 กิกะเฮิรตซ์ ให้กับบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ไปแล้ว ซึ่งจะช่วยให้อินเทลสามารถนำชิปเซตที่มีเทคโนโลยีไร้สายบนคลื่นความถี่นี้เข้ามาให้บริการในประเทศไทยได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=170617
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news06/06/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ฮิตาชิชูความเร็วฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ขี่กระแสโน้ตบุ๊ก

โพสต์ทูเดย์ ฮิตาชิเผยตลาดโน้ตบุ๊กมาแรงแซงหน้าพีซี รุกส่งฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ความเร็วที่สุดในโลก เจาะตลาดกลุ่มผู้ผลิตไอที

นายนคร ตั้งสุจริตพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) เปิดเผย ว่า ฮิตาชิเล็งเห็นแนวโน้มการเติบโตของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่เพิ่มสูงขึ้น จนเกือบ เข้ามาแทนที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (พีซี) บวกกับแรงผลักดันจากตลาดเกม เช่น เอกซ์บอกซ์ ส่งผลให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์) ขนาด 2.5 นิ้ว มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 25% ต่อปี ในช่วงปี 2548-2553

จากแนวโน้มดังกล่าว ฮิตาชิได้พัฒนาและผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีความเร็วที่สุดในโลก 7,200 รอบต่อนาที ความจุ 200 กิกะไบต์ เข้ามารองรับตลาด พร้อมกับนำเทคโนโลยีการเข้ารหัสบนฮาร์ดดิสก์มาใช้ สำหรับการป้องกันข้อมูลสูญหายจากการโจรกรรมเครื่องโน้ตบุ๊ก เนื่องจากปัจจุบันพบว่า มีสถิติการขโมยเครื่องเพื่อใช้ข้อมูลกว่า 1.2 เครื่องทั่วโลกในปีที่แล้ว ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมีความสำคัญต่อผู้ใช้งานโน้ตบุ๊กในอนาคต
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=170624
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

สื่อสารและเทคโนโลยี

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ใครทราบมั่งครับ hutch กับ cat cdma นี่ เวลาข้ามเขต มันโรมมิ่งกันมั้ย หรือว่าของใครของมัน ออกนอกพื้นที่ก็หลุดไปเลย

ใจก็อยากใช้ระบบนี้จัง แต่กลัวปัญหาเซ็งๆที่มีแต่คนบอก แล้วก็มีกระแสว่าจะควบรวมกันด้วย เผื่อว่าจะลดต้นทุน ทำกำไรได้ดีขึ้น
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/06/07

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สหภาพฯ ร้อง สิทธิชัย ค้านเทเลคอมพูล จี้คลังออกหน้ารักษาผลประโยชน์ของรัฐ [ ฉบับที่ 792 ประจำวันที่ 12-5-2007 ถึง 15-5-2007]  
กระทรวงไอซีที - ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยภายหลังที่กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เข้าพบเพื่อร้องขอคัดค้านการจัดตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ เทเลคอมพูล ว่า ตนเองได้รับรู้ปัญหาดังกล่าวจากทั้งสองสหภาพ ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงจะช่วยประสานงาน และเสนอปัญหาดังกล่าวให้กับทางประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ของทั้งทีโอที และ กสท เพื่อให้มีการพูดคุยเรื่องดังกล่าวกันภายในบอร์ด เพื่อให้รับรู้ว่า พนักงานมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการจัดตั้งเทเลคอมพูล

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการจัดตั้ง หรือไม่จัดตั้งเทเลคอมพูลนั้น ตนเองอยากให้บอร์ดรับฟังถึงความคิดเห็น และรับฟังมุมมองจากคนอื่นๆ เพื่อใช้แก้ปัญหาในอนาคต รวมทั้งทางสหภาพฯ ไม่เห็นด้วยที่บอร์ดจะใช้งบจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อจะใช้ในการศึกษาแนวทางจัดตั้งเทเลคอมพูลนั้น คงเป็นเรื่องที่บอร์ดต้องคุยกับพนักงาน ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่กระทรวงประสานงานไปยังประธานบอร์ดทั้ง 2 องค์กรแล้ว จะทำให้เกิดการเจรจาเพื่อสร้างความเข้าใจ และรับฟังความเห็นทั้งในส่วนของบอร์ด พนักงาน รวมทั้งควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย

http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/06/07

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ฮัทช์-กสทฯลงตัวชงครม.

โพสต์ทูเดย์ นายใหญ่ ฮัทชิสัน เทเลคอม บินถก กสทฯ ดีลลงตัว ตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ คาดเสนอ ครม. ขิงแก่อนุมัติ ต.ค.นี้

พล.อ.ต.พิริยะ ศิริบุญ โฆษก คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารของ ฮัทชิสัน เทเลคอม จากประเทศฮ่องกง จะเดินทางมาเจรจากับ กสทฯ เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการ จัดบริษัทร่วมทุนใหม่ ภายใต้เงื่อนไข ฮัทชิสันได้รับสิทธิ์ในการทำตลาดบริการ ซีดีเอ็มเอทั่วประเทศ ภายใต้แบรนด์ ฮัทช์ ขณะสิทธิ์ในการบริหารโครงข่ายจะตกเป็นของ กสทฯ แต่เพียงผู้เดียว คาดรายละเอียดในการร่วมทุนดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือน ก.ค.นี้
รายงานข่าวจาก กสทฯ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 12-13 มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจารูปแบบของบริษัทใหม่ ในการเจรจาทางฝ่ายฮัทช์ได้ส่งตัวแทน ประกอบด้วย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของฮัทชิสัน เทเลคอม ผู้บริหารระดับสูงของ ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์ลส มัลติมีเดีย บริษัท เบเกอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และบริษัท โกลด์แมน แซคส์ ที่ปรึกษาด้านการเงิน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=172712
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/06/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

26องค์กรร่วมต้าน ยุบรวมกทช.-กสช.

โพสต์ทูเดย์ 26 องค์กรค้านยุบรวม กทช.-กสช. เตรียมยื่นหนังสือ คมช.-รัฐบาล หวั่นกลุ่มอำนาจเก่าคุมสื่อวิทยุ-โทรทัศน์

วานนี้ (19 มิ.ย.) เครือข่าย สนับสนุนการปฏิรูปสื่อไทย ประกอบด้วยสมาคมวิชาชีพด้านวิทยุ โทรทัศน์ สถาบันการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์และองค์กรภาคเอกชน รวม 26 องค์กร มีมติคัดค้านด้านรวมองค์กรอิสระระหว่างคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มีมติให้รวมเป็นองค์กรเดียว เรียกว่า กสทช.

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะกรรมการร่างแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาล กล่าวว่า จะนำข้อเสนอของ 26 องค์กรที่คัดค้านการยุบรวม กทช.เข้ากับ กสช.ส่งให้รัฐบาลทบทวน ขณะที่การพิจารณาร่างแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จะผลักดันข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการคัดค้านการรวมองค์กร ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอข้อมูล ต่อไปยัง ส.ส.ร.รวมทั้งส่งข้อคิดเห็น ไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อทำให้การปฏิรูปสื่อออกมาดีที่สุด
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=173460
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news21/06/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

บอร์ดทีโอทีปลดดร.วุฒิพงษ์ พ้นรักษาการเอ็มดี

21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 16:42:00

(Update) บอร์ดทีโอทีปลด "ดร.วุฒิพงษ์"ออกจากกรรมการบอร์ดทุกตำแหน่ง หลังความเห็นขัดแย้งบอร์ดหลายเรื่อง โดยเฉพาะไอเดียตั้ง "เทเลคอมพูล"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัททีโอที กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในวันนี้ว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติปลด ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ออกจากกรรมการบอร์ด ทศท.ทุกตำแหน่งแล้ว หลังจากมีความเห็นไม่ตรงกับบอร์ดหลายเรื่อง รวมถึงความขัดแย้งกับ นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กรณีจัดตั้งบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเทเลคอมพูล

"ดร.วุฒิพงษ์"รับเหตุผลการทำงานต่างกัน

ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการและรักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัดมหาชน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการทีโอที มีมติปลดตนออกจากตำแหน่งทั้ง 2 ตำแหน่ง ออกจากทีโอที โดยให้เหตุผลว่า เป็นการทำงานและความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งเสียงส่วนน้อยก็ต้องเป็นฝ่ายไป

อย่างไรก็ตาม ได้ฝากความเห็นของตนที่ไม่เห็นด้วยในที่
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80199
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news25/06/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

บี้กสทฯ6พันล. จ่ายค่าเอซีแทน ดีแทค-ทรูมูฟ

โพสต์ทูเดย์ ทีโอทีเมินเจรจา ดีแทค-ทรูมูฟ ตามคำสั่ง กทช. หันจี้กสทฯ จ่ายค่าเอซีแทน 6 พันล้าน จากนั้นไปไล่บี้เอกชน

รายงานข่าวจากบริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ หรือบอร์ดทีโอที มีมติให้ทำหนังสือ ถึงบริษัท กสท โทรคมนาคม จ่ายค่าเชื่อมต่อเลขหมาย หรือเอซี (แอกเซสชาร์จ) แทนคู่สัญญาร่วมการงาน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ ในฐานะที่ กสทฯ เป็นเจ้าของสัญญา โดยการจ่ายเงินนับจากวันที่ 18 มิ.ย. 2549 ซึ่ง เป็นวันที่เอกชนหยุดจ่ายจนถึงปัจจุบัน มูลค่าประมาณ 6 พันล้านบาท
แนวทางดังกล่าว เป็นทางออกเดียวที่ทำได้ในขณะนี้ เพราะทีโอที ไม่ต้องการทำตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ตามประกาศของคณะกรรม การกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่บังคับให้ทีโอทียอมเจรจา ทำสัญญาค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ ไอซี (อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ) ภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ การให้กสทฯ จ่ายแทน จะช่วยให้กสทฯ มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่ม 2 เท่า เพราะตามสัญญาระบุว่า หาก กสทฯ ต้องจ่ายค่าเอซีให้กับทีโอทีแทนคู่สัญญาแล้ว กสทฯ สามารถเรียกเก็บเงินจากคู่สัญญาได้ภายใน 7 วัน หากคู่สัญญาไม่จ่าย จะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเงินที่กสทฯ ได้รับ ก็เท่ากับทีโอทีได้รับ เพราะมีผู้ถือหุ้นคือกระทรวงการคลังเหมือนกัน
นอกจากนี้ บอร์ดได้มอบหมายให้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที เป็น ผู้ชี้แจงรายละเอียดเรื่องดังกล่าวสู่ สาธารณะในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ เกี่ยวกับเรื่องค่าเอซีและแสดงจุดยืนว่าทีโอทีไม่คิดว่าค่าเอซีและค่าไอซี คือการจ่ายเงินประเภทเดียวกัน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=174428
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/06/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เอกชนโวยมือถือขาดแคลนขอเพิ่ม 3 ล.เลข [ ฉบับที่ 806 ประจำวันที่ 30-6-2007 ถึง 3-7-2007]  
> จวกไทยโมบายกั๊กเบอร์จี้ออกกฎลดอายุซิม

สำนักงานกทช. - เอกชนเซ็งปัญหาเลขหมายมือถือขาดแคลน จี้กทช.เร่งแก้ปัญหา หลังดีแทค-เอไอเอสจูงมือขอเลขหมายใหม่เพิ่มอีกรายละ 3 ล้าน วิเชียร จวกไทยโมบาย มีเลขหมายไม่ใช้อีก 10 ล้าน ไม่เห็นมีใครขอคืน ด้าน ธนา แนะกทช.เร่งออกระเบียบใหม่ลดอายุซิมการ์ด แก้ปัญหากักตุนเลขหมาย เชื่ออีก 3 เดือนธุรกิจมือถือวิกฤติ เหตุไม่สามารถขยายตลาดในพื้นที่ห่างไกล หรือจัดโปรโมชั่นได้

นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เอไอเอส เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นเสนอขออนุมัติเลขหมายกับกทช.ทั้งสิ้น 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้รับอนุมัติเลขหมายเมื่อใด ซึ่งกทช.ได้ชี้แจงว่ายังอยู่ระหว่างการร่างกฎระเบียบจัดสรรเลขหมาย เพื่อให้การจัดเลขหมายมีระเบียบและเกิดประสิทธิภาพ ให้แล้วเลร็จโดยเร็ว และจะเร่งอนุมัติเลขหมายใหม่ เพื่อบรรเทาปัญหาให้กับผู้ประกอบการเป็นการชั่วคราว ก่อนที่กฎระเบียบดังกล่าวจะออกมา ซึ่งทางเอไอเอสก็อยากให้เรื่องนี้ยุติโดยเร็ว เพราะต้องการเลขหมายใหม่ไปทำตลาด

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่กทช.กลัวว่า เอกชนจะมีการนำเลขหมายใหม่ไปกักตุนนั้น เชื่อว่าเรื่องนี้จะสามารถตรวจสอบได้ไม่ยาก ดังนั้นจึงไม่อยากกังวลกับเรื่องดังกล่าวมากนัก เพราะไม่มีบริษัทไหนอยากเอาเลขหมายไปเก็บไว้แล้วไม่ขาย อย่างกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ก็มีเลขหมายที่เอาไปเก็บเอาไว้ 10 ล้านเลขหมาย แต่ยังไม่มีลูกค้าใช้บริการ ก็ไม่ว่ากทช.จะไปเรียกคืน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเก็บเลขหมายดังกล่าวไว้แล้วเมื่อจะสามารถให้บริการ ซึ่งกทช.เป็นผู้ดูแลกฎเอง ก็ควรมองถึงจุดนี้ และไม่ควรปล่อยให้บางบริษัทมีการนำช่องโหว่ของกฎหมายไปหาประโยชน์ด้วยการฟ้องร้อง หรือเรียกร้องสิทธิ์จากบริษัทอื่นอย่างไม่เป็นธรรม  
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news02/07/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

หุ้นสื่อสารฉายแววฟื้นครึ่งหลัง

ทันหุ้น-กลุ่มสื่อสารเริ่มเด้งหลังจบครึ่งปีแรก  คาดครึ่งปีหลังมีแววไปได้สวย  หลังการเมืองเริ่มคลี่คลาย  หมดห่วงยึดสัญญาสัมปทาน  คาดแก้ไขไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้  ส่วนธุรกิจวางระบบไอทีฟื้นตัวดีขึ้นเพราะTOT และCATเร่งเครื่องประมูลงาน   โบรกชู 3 หุ้นเด่นในกลุ่มปัจจัยพื้นฐานดี  ปันผลน่าสนใจ ทั้งADVANC-SATTEL และFORTH
นางสาวมยุรี โชวิกรานติ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มกลุ่มสื่อสารครึ่งปีหลัง2550  คาดว่าผลประกอบการจะทรงตัวใกล้เคียงกับครึ่งปีแรก แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือหุ้นกลุ่มสื่อสารเริ่มกลับมาฟื้นตัวในเดือนมิ.ย.มากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลายลง และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนพ.ย.-ธ.ค.2550นี้
ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานอาจที่ยังไม่มีข้อสรุปภายในปีนี้ ส่งผลให้ความเสี่ยงการยึดสัมปทานของผู้ประกอบการยังไม่เกิดขึ้น เช่น ADVANC TRUE และ TAC  ส่งผลให้กลุ่มสื่อสารเริ่มกลับมาน่าสนใจมากขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจเกี่ยวกับการวางระบบไอทีจะสามารถฟื้นตัวดีขึ้น จากการเร่งประมูลงานของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) TOT และบริษัท กสท. จำกัด CAT เพิ่มขึ้น
    ตอนนี้ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานซึ่งควบคุมไม่ได้เริ่มหมดกังวลเพราะเชื่อว่าคงไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ และแม้ว่ายังมีประเด็นค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC และค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ AC ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องคาดว่าคงไม่จบในเร็วๆนี้ จึงยังไม่ใช่ประเด็นที่กังวล  และเมื่อทุกอย่างไม่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้ความสนใจจะกลับมาพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มสื่อสารเพิ่มขึ้น โดยบริษัทใดมีผลประกอบการที่ดีเชื่อว่าจะได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกันนางสาวมยุรี กล่าว
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อสารครึ่งปีหลังมากกว่าตลาด จากประเด็นความกังวลที่คาดว่าจะจบลงโดยเร็วและสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย  สำหรับหุ้นที่น่าสนใจและมีปัจจัยพื้นฐานดี คือ หุ้นบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC แนะนำซื้อ ให้ราคาเหมาะสม 98.29 บาท เนื่องจากปัจจุบันไม่มีความเสี่ยง  มีมาร์เก็ตแชร์ใหญ่ที่สุด กระแสเงินสดค่อนข้างดี  พีอีต่ำ ราคาซื้อขายปัจจุบันค่อนข้างถูก
    รวมทั้งจ่ายเงินปันผลค่อนข้างดี คาดปีนี้ ADVANC จ่ายเงินปันผลขั้นต่ำในอัตราหุ้นละ 6.30 บาท หรือ 7% โดยแบ่งจ่ายระหว่างกาลครึ่งปีแรก ในอัตราหุ้นละ 3.00 บาท และจ่ายปันผลช่วงครึ่งปีหลัง 3.30 บาท รวมทั้งคาดว่า TAC จะจ่ายเงินปันผลปีนี้ได้เช่นกัน
ส่วนบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) SATTEL ราคาเหมาะสม 11.90 บาท แนะนำเก็งกำไร แม้ประเด็นการขายเงินลงทุนในเชนนิงตัน 49%ให้กลุ่มเทมาเส็ก ถือว่าไม่ใช่การขายที่ดีเพราะการเติบโตการจำหน่ายมือถือในลาวและกัมพูชาค่อนข้างดี แต่ช่วยให้ SATTEL รับรู้จากการขาย 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้บริษัท นอกจากนี้รอให้ IPSTAR สามารถเปิดตลาดในจีนได้เต็มที่ รวมทั้งรออินเดียอนุมัติ ซึ่งกระบวนการทำงานในอินเดียได้รับการอนุมัติแล้ว 1 ข้อคือบริษัทมีพาร์ทเนอร์ที่มีใบอนุญาตให้บริการภาคพื้นดินซึ่งอยู่ระหว่างติดตั้ง คาดดำเนินการเสร็จเดือนก.ค.-ส.ค.นี้ แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เนื่องจากติดข้อสัญญาอีก 1 ข้อคือกำหนดให้พาร์ทเนอร์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการให้บริการทางอากาศ หรือ สเปซ ไลเซ่นส์ซึ่งยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งยังเป็นประเด็นที่รอความชัดเจนได้
    สำหรับ บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) FORTH แนะนำซื้อ ให้ราคาเหมาะสม 10.58 บาท คาดว่าไตรมาส 2/2550 จะเริ่มรับรู้รายได้จากการผลิตพีดีเอให้กับเวสเทิร์นและคาดรับรู้รายได้โครงการดังกล่าวในปีนี้ราว 1,800 ล้านบาท รวมทั้งแนวโน้มผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีหลังค่อนข้างเติบโตจากการประมูลงานของ TOT
    ด้านนางสาวภัทรวัลลิ์ หวังมิ่งมาศ นักวิเคราะห์เทคนิค บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มสื่อสารยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาดรวม แต่จะกลับมาฟื้นตัวอย่างจริงจังได้นั้นอาจต้องจับตาดูสัญญาณการเคลื่อนไหวของ TRUE หากราคาหุ้นปรับขึ้นสูงกว่า 8.20 บาท และ SATTEL ราคาปรับขึ้นสูงกว่า 11.40 บาทได้ถือว่าหุ้นกลุ่มสื่อสารกลับมาฟื้นตัวขึ้นแน่นอน
    สำหรับหุ้นที่มีสัญญาณปรับตัวเพิ่มขึ้นระยะสั้นคือ  SHIN โดยซื้อเก็งกำไรได้หากราคาหุ้นปรับขึ้นสูงกว่า 31.00 บาท มีลุ้นปรับขึ้นทดสอบ 34.50 บาทได้ โดยใช้ 27.50 บาทเป็นจุดตัดขาดทุน โดยให้แนวรับ 27.50 บาท ส่วนแนวต้านแรก 31.00 บาท แนวต้านถัดไป 34.50 บาท
ADVANC(29 มิ.ย.)ปิดที่ 85.00 บาทลดลง 1.50 บาท มูลค่าซื้อขาย 426.78 ล้านบาท  SATTELปิดที่ 11.20 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าซื้อขาย 94.62 ล้านบาท และFORTHปิดที่ 7.90 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าซื้อขาย 1.11 ล้านบาท  
http://www.thunhoon.com/home/default.asp
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news02/07/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ICT Expo รับนโยบายพอเพียงเน้นส่งเสริมอุตฯมุ่งเจรจาธุรกิจ [ ฉบับที่ 806 ประจำวันที่ 30-6-2007 ถึง 3-7-2007]  
ไอซีทีประหยัด งบไร้เงาเอกชนร่วมประมูลจัด งาน ICT Expo หลังลดงบเหลือ 20 ล้านบาท ยกให้อิมแพคบริหารพื้นที่หาบริษัทร่วม งานเองทั้งหมด พร้อมรวบงาน TAM 2007เข้าด้วยกันบนพื้นที่ 25,000 ตร.ม. เล็กลงกว่าเดิม 2 เท่าปรับกลยุทธ์เน้นเรื่องการ ส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจรจาด้านธุรกิจเป็นหลัก ด้าน ซิป้าฟุ้งธุรกิจแอนิเมชั่นมัลติมีเดียไทยอนาคตใส เอกชน เตรียมพันล้านพัฒนาการ์ตูน+ เกมใหม่เจาะตลาดต่างประเทศ

ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร หรือไอซีที เปิดเผยระหว่าง การแถลงข่าวการจัดงาน Bangkok International ICT Expo 2007 ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 15-20 พฤศจิกายน 2550 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ว่า ในงานดังกล่าวจะมีงาน Thailand Animation & Multimedia (TAM) 2007 โดยทางสำนักงานส่งเสริมอุตสหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เข้ามาร่วมจัดงานบนพื้นที่ 7,500 ตารางเมตร จากพื้นที่ทั้งหมด 25,000 ตารางเมตร ด้วยงยประมาณ 20 ล้านบาท

ส่วนการจัดงานที่เหลือนั้น ทางกระทรวงได้มอบหมายให้อิมแพค เป็นผู้รับไปจัดงานและหาหน่วยงานและบริษัทต่าง ๆ มาร่วมจัดบูธแสดงสินค้า เนื่องจากตามแผนงานเดิมกำหนดงบประมาณ 20 ล้านบาท บนพื้นที่ 60,000 ตารางเมตร แต่ไม่มีบริษัทใดเข้าร่วมประมูล และทางอิมแพคได้เสนอพื้นที่ และขอเข้าดำเนินการจัดงานเอง ทางกระทรวงจึงให้อิมแพคเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด โดยในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2550 จะเป็นวันเจรจาธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทางกระทรวงฯ จะใช้งบประมาณในการดำเนินการตั้งบูธร่วมงานประมาณ 1-2 ล้านบาท เพื่อตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งแนวทางการจัดงานในครั้งนี้ จะเน้นเรื่องการนำเสนอเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะที่ 3 หรือ ทรีจี รวมทั้งการยกระดับโทรศัพท์เคลื่อนที่ระยะที่ 2 หรือ 2จี ให้มีการนำไปใช้บนเทคโนลยีใหม่ ๆ มากขึ้น

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้พยายามผลักดันและส่งเสริมนโยบายในการใช้เทคโนโลยีด้านไอทีของไทยให้เกิดเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้สนับสนุนการสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการทางด้านไอซีที ให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ และการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันให้มีการแสดงนวัตกรรมในระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งความพิเศษของงานครั้งนี้ จะมีความแตกต่างจากงานครั้งที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งจะเน้นการยกระดับรูปแบบการจัดงานจากงานแสดงสินค้าเพื่อผู้บริโภค มาเป็นงานแสดงสินค้าเพื่อการเจรจาทางธุรกิจ โดยจะให้งานดังกล่าวเป็นเวทีกลางในการแสดงผลงาน และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการด้านไอซีทีทั้งในและต่างประเทศ ตามแนวความคิด Towards A Sustainable ICT Ecosystem หรือ ไอซีทีเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน

นายพีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ ประธานกรรมการบริหาร ซิป้า กล่าวว่า งาน TAM ถือเป็นงานหลักของซิป้าในการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ มัลติมีเดีย และแอนิเมชั่นของไทย ซึ่งการที่ซิป้าได้เลื่อนการจัดงาน TAM 2007 มาจัดร่วมกับงาน ICT Expo 2007นั้น เพื่อเป็นการประหยัดงาบประมาณ และให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐ ภายใต้แนวคิด Global Opportunities for Digital Entertainment และเป็นการสร้างเวทีสำหรับผู้ประกอบการในการเจรจาธุรกิจ ซึ่งการที่ปีนี้ใช้งบ 20 ล้านบาท ถือว่าลดลงจากเดิม และการใช้งบจำนวนดังกล่าว เนื่องจากทางซิป้าต้องให้การสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ และธุรกิจแอนิเมชั่นบริษัทขนาดเล็ก ๆ ให้เข้ามาร่วมงานในครั้งนี้
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4474
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/07/07

โพสต์ที่ 12

โพสต์

"เจริญ" ท้าชน "ธนินท์" ชิงเค้ก"ไอที พลาซ่า" 5 หมื่นล้าน - 4/7/2550

"เจริญ" ท้าชน "ธนินท์" ชิงเค้ก"ไอที พลาซ่า" 5 หมื่นล้าน

ศึก"ช้างชนช้าง"เดือดสะท้านยุทธจักรไอที เมื่อเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเบียร์ช้าง เนรมิตรอาคาร "โตคิว" เดิมให้เป็น Cyber World Tower ศูนย์ช็อปปิ้งไอทีขนาดใหญ่ใจกลางกรุง ท้าชนเจ้าถิ่น IT Mall ฟอร์จูนทาวเวอร์ ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ นับถอยหลังสงครามชิงส่วนแบ่งตลาดสินค้าไอที 5 หมื่นล้านร้อนระอุแน่ "ไอที สแควร์" ผวาอาฟเตอร์ช็อก ทุ่ม 150 ล้านผุดEdutorium สู้...

ยุคสื่อสารไร้พรมแดนส่งอานิสงส์ให้ศูนย์ช็อปปิ้งไอทีทั้งปลีกและส่งกลายเป็นตลาด Blue Ocean ทันที เพราะความต้องการคอมพิวเตอร์,โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทุกคนไม่อาจปิดกั้นให้สื่อสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้ศูนย์ช็อปปิ้งสินค้าไอทีเติบโตแบบก้าวกระโดด ถือเป็นชนวนให้กลุ่มธุรกิจ 2 เจ้าสัวโคจรมาเปิดศึกกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ยึดทำเลย่านศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยแจ้งเกิด "Cyber World" ท้าชิงเจ้าถิ่น IT Mall ฟอร์จูน ของกลุ่มเจ้าสัวธนินท์ ที่เปิดให้บริการมาก่อนแล้ว 8 ปี บนห้างฟอร์จูน ทาวน์เวอร์ สี่แยกรัชดาภ เษก หวังชิงส่วนแบ่งตลาดสินค้าไอทีที่มีมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท

++"เจริญ"สยายปีกกินรวบตลาด
ถ้าเปรียบเป็นมวยต้องเรียกว่า กลุ่มเจ้าสัวเจริญมีภาษี หรือเบอร์กระดูกที่เหนือกว่า เพราะมีประสบการณ์จากการเปิด "พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า"ตั้งแต่ปี 2524 ในนามบริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด จากนั้นเป็นต้นมาธุรกิจดีก็วันดีคืน หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ก็สามารถทำกำไรมาตลอด ยอดขายสูงสุดเคยทำทะลุถึง 102 ล้าน ส่วนผลประกอบการปี 2548 สามารถสร้างรายได้กว่า 522 ล้านบาท

นั่นหมายความว่า พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการแจ้งเกิดในฐานะผู้นำศูนย์การค้าไอที ไม่เพียงได้ขยายสาขาบุกตลาดต่างจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนพื้นที่ในกทม.ยังรุกคืบเจาะกลุ่มลูกค้าด้านทิศเหนือด้วยการพลิกโฉมห้างบางลำภู งามวงศ์วาน โดยยังคงแบรนด์ "พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า"เหมือนเดิม เนรมิตชั้น 1,2 เป็นพลาซ่า ชั้น 3,4 เป็นร้านค้าคอมพิวเตอร์ แต่ละชั้นมีร้านค้า 150 แห่ง ส่วนชั้น 6 เปิดเป็นตลาดนัดตะวันนา คล้ายๆ กับร้านเปิดท้ายขายของ สร้างสีสันและเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คึกคักได้ดีทีเดียว

++เปิดตัว Cyber World ท้ารบ
จากความสำเร็จในการทำตลาดศูนย์การค้าไอที บวกกับวิสัยทัศน์มองเห็นเค้กก้อนโตที่จะเกิดจากลูกค้าหันมาใช้สินค้าไอทีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ในนามบริษัท ที.ซี.ซี.แคปปิตอล แลนด์ หลังจากคว้าอาคารโตคิวมาอยู่ในมือสำเร็จ จึงเปิดเกมรุกตลาดไอทีอีกระลอกด้วยการปัดฝุ่นอาคารโตคิว ย่านศรีวรา บริเวณแยกศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนรมิตรให้เป็น Cyber World Tower หรือศูนย์ช็อปปิ้งไอทีทั้งค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดของเมืองไทย

โฉมหน้า Cyber World Tower แห่งนี้จะมี 2 อาคารด้วยกัน อาคารแรกมี 51 ชั้นจะถูกปรับโฉมให้เป็นแหล่งช็อปปิ้ง และค้าปลีกแบบครบวงจร เหลือไว้ 4 ชั้นเป็น "ไอที พลาซ่า" ตามคอนเซ็ปต์ Show One Show Case ต่อไป Cyber World Tower จะเป็นแห่งเดียว และแห่งแรกในเมืองไทยนในการเปิดตัวนวัตกรรมด้านไอทีใหม่ล่าสุดจากทั่วทุกมุมโลก เรียกว่า "เปิดตัวที่เมืองนอก ที่นี่ก็ต้องมี"

ส่วนอาคารที่สองจะเป็นสำนักงานให้เช่า มีทั้งหมด 46 ชั้น
การกำหนดเปิดให้บริการเดิมที Cyber World Tower จะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนส.ค.นี้ จากนั้นเตรียมการเปิดให้บริการทันที แต่เมื่อการก่อสร้างล่าช้าออกไป จึงได้มีการปรับแผนใหม่โดยกำหนดเปิดให้บริการช่วงไตรมาสที่ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับแคมเปญโหมโรงกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และเฉลิมฉลองปีใหม่ โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่วางไว้เป็นระดับไฮเอนด์ ตอนนี้ทางทิพย์พัฒนา อาร์เขต ได้เปิดให้ร้านค้าจับจองพื้นที่เรียบร้อย....พร้อมลุยเต็มสูบ.!!
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176678
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

สื่อสารและเทคโนโลยี

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยอดพุ่ง - 4/7/2550

-ตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยอดพุ่ง
จากการสำรวจศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ในแต่ละปีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2549 มีประมาณ 8.5 ล้านคน หรือร้อยละ 13 ของประชากรรวมทั้งประเทศ หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปี 2543 โดยเห็นได้จากการเติบ
โตของ แบนด์วิธ (Bandwidth) ที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาและในอัตราที่สูง โดยในเดือน มิ.ย.50 ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศอยู่ที่ 21,329 Mbps และในประเทศอยู่ที่ 93,711 Mbps ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 131.8 และ74.2 ตามลำดับ จาก
ช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในปี'50 คาดจะมีจำนวนผู้ใช้อินเทอ์เน็ตขึ้นเป็น 1.3 ล้านราย หรือ 62.5 จากปีที่ผ่านมา

-ชินบรอดแบนด์ลุยตลาด"ดีทีวี"
นายสถิต เจริญจันทร์ ผจก.ทั่วไป บจก. ชิน บรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต (ปทท.) เปิดเผยว่า เตรียมทำตลาดจาน 'ดีทีวี' จานรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมประเภทฟรีทีวีในย่านความถี่ยูเค-แบนด์ ในราคา 1,999 บาท โดยเตรียมงบการตลาดโฆษณาผ่าน
สื่อต่าง ๆ 2 ล้านบาท ตั้งเป้าจะสามารถทำยอดขายได้มากกว่า 1 ล้านชุดภายในกลางปีหน้า และมียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1.5-2 ล้านชุด โดยลูกค้าส่วนใหญ่ 70 อยู่ในต่างจังหวัด ทั้งนี้ บริษัทมีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ 400 ราย และกำลังดำเนินการให้ครบ1,000 รายภายในสิ้นปี

-ตลาดดอทคอมเว็บยอดฮิตธุรกิจเอสเอ็มอี
นายภาวุธ พงษ์วิทยาภานุ กก.ผจก.บจก.ตลาดดอทคอม เปิดเผยว่า ในช่วง 5เดือนที่ผ่านมา ตลาดดอทคอมได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จากกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศ โดยตัวเลขล่าสุดของผู้มาเช่าร้านค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 80,000
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news06/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

"ไมโครซอฟท์"บุก3ศูนย์ITใหญ่ งัดแผนเข้มดึงผู้ค้าขายของแท้

"ไมโครซอฟท์" เดินแผนงัดมาตรการเข้มดึงร้านค้ามาเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายอย่างจริงจังในช่วงครึ่งปีหลัง หลังบุกสำรวจร้านค้าในศูนย์ไอทีใหญ่ 3 แห่ง พันธุ์ทิพย์ พลาซา, เซียร์ รังสิต และไอทีมอลล์ ฟอร์จูนพบร้านค้า 97% เสนอให้ลูกค้าใช้ซอฟต์แวร์ผี

รายงานข่าวจากบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากที่ไมโครซอฟท์ได้ส่งทีมงานสำรวจผู้ค้าคอมพิวเตอร์รายย่อยในศูนย์ไอทีใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ไอทีพันธุ์ทิพย์ พลาซา, ศูนย์ไอทีเซียร์ รังสิต และไอทีมอลล์ ฟอร์จูน พบว่า ร้านค้ากว่า 97% เสนอให้ลูกค้าใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจากการสำรวจร้านค้าไอที 157 มีเพียง 5 แห่งเท่านั้นที่เสนอให้ลูกค้าซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ โดยการสำรวจดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ทางทีมงานที่ไมโครซอฟท์ส่งเข้าไปจะทำทีเป็นผู้บริโภคที่สนใจซื้อคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเพียง 3% เท่านั้นที่แนะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์ของแท้

โดยเป็นการสำรวจข้อมูลร้านค้าในพันธุ์ทิพย์ฯ 72 ราย มีร้านค้าที่เสนอขายซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเพียง 1 ราย สำรวจที่ศูนย์ไอทีเซียร์ 47 ราย ไม่มีร้านค้าใดเสนอให้ลูกค้าใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายเลย และไอทีมอลล์ ฟอร์จูน จากการสำรวจร้านค้า 36 แห่ง มีจำนวน 4 รายที่เสนอให้ลูกค้าใช้ซอฟต์แวร์ของแท้

นายฐิตกร อุษยาพร ผู้อำนวยการด้านโออีเอ็ม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลการสำรวจดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดว่า การส่งเสริมให้การขายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของบริษัทที่ผ่านมายังทำได้ไม่ดีพอ ทั้งนี้จากเมื่อช่วงไตรมาสแรกบริษัทได้นำร่องโดยการร่วมมือกับไอทีซิตี้ ซูเปอร์สโตร์ในการจำหน่ายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งยอดขายในร้านไอทีซิตี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ

ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลังนี้บริษัทจะต้องดึงร้านค้าตามศูนย์ไอทีต่างๆ มาสนับสนุนการทำตลาดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์อย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งจะเน้นร้านค้าขนาดใหญ่มาเป็นพันธมิตรก่อน ทั้งการอบรมให้ความรู้เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าได้ตรงกับการใช้งาน อย่างเช่น กลุ่มลูกค้าโฮมยูสไมโครซอฟท์ก็มี วิสต้า เวอร์ชั่น สตาร์ตเตอร์ในราคาเพียง 1,500 บาทเท่านั้น

นายฐิตกรกล่าวว่า ขณะนี้ในส่วนของผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มากขึ้น หลังจากที่เปิดตัววินโดวส์วิสต้า เพราะผู้ใช้ซอฟต์แวร์ผีจะประสบปัญหาในการใช้งานเมื่อไม่มีการลงทะเบียนการใช้งานภายใน 30 วัน ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์จอดำ ทำให้ลูกค้าตระหนักถึงผลเสียมากขึ้น แต่ในส่วนของผู้ค้าคอมพิวเตอร์ทั้งหลายยังไม่ได้ใส่ใจกับการนำเสนอซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ให้กับลูกค้า ดังนั้นจึงต้องบุกเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

"ถือเป็นการขยายตลาดไปในแอเรียที่ยังไม่เคยเข้าไป ซึ่งเป็นจุดที่เป็นปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการชักชวนให้ร้านค้าติดตั้งซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ไปกับการขายคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้า"

ส่วนกรณีที่จะมีมาตรการทางกฎหมายมาจัดการกับร้านค้าหรือไม่ นายฐิตกรกล่าวว่า เรื่องนี้ตอบไม่ได้เพราะเป็นเรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบ

ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจของผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ของแท้ ฝ่ายกฎหมายของไมโครซอฟท์จะประสานงานกับร้านค้าตัวแทนจำหน่ายที่ผ่านการคัดสรรเพื่อแจ้งให้ทราบถึงความเสี่ยงที่ร้ายแรง ตลอดจนผลเสียหายที่ตามมาจากการจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจไอทีกล่าวว่า จากการที่ไมโครซอฟท์ได้ส่งทีมทำทีเป็นผู้บริโภคลงไปสำรวจข้อมูล น่าจะเป็นความตั้งใจของไมโครซอฟท์ที่จะนำข้อมูลข้อเท็จจริงมายืนยันกับร้านค้าต่างๆ ตามศูนย์ไอที เพื่อที่จะยื่นข้อเสนอในการเจรจากับร้านค้าต่างๆ ให้มาสนับสนุนการขายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งถ้าไม่ให้ความร่วมมือแน่นอนว่าอาจจะมีปัญหาในทางกฎหมายได้ และอีกด้านหนึ่งก็เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับร้านค้าได้ด้วยเช่นกัน เพราะจากที่แต่เดิมจะต้องลงซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าฟรีก็เท่ากับว่าขายสินค้าได้อีกตัว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0209
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

'ไซรัส'แนะเก็บหุ้นสื่อสาร ดักหน้าต่างชาติเข้าลงทุน

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 15:38:00

บล.ไซรัสแนะเก็บหุ้นสื่อสาร รอต่างชาติกระจายเม็ดเงินลงทุนหุ้นสื่อสาร หลังดันหุ้นพลังงาน-แบงก์จนแพงเกินพื้นฐานแนะจับตาหุ้นทรูฯ ที่อาจมีแรงเก็งกำไรเข้ามาสูงเหตุราคาหุ้นถูกเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส เปิดเผยว่า หุ้นกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจเข้าลงทุน เพราะเชื่อว่าเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างประเทศจะเริ่มเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มสื่อสารหลังจากที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์จนราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาก และบางบริษัทมีราคาหุ้นสูงเกินปัจจัยพื้นฐานแล้ว ทั้งนี้ตั้งแต่นักลงทุนต่างประเทศเริ่มซื้อสุทธิจนกระทั่งปัจจุบัน ราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารปรับเพิ่มขึ้นเพียง 9% เท่านั้น

เธอกล่าวอีกว่า หุ้นกลุ่มสื่อสารทั่วโลกได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก แต่หุ้นกลุ่มสื่อสารของไทยเป็นกรณีเฉพาะ เนื่องจากมีกรณีเรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าสัมปทานที่เป็นประเด็นเสี่ยงในปีที่แล้ว ทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่เข้าลงทุนมากนัก อย่างไรก็ตามปีนี้ปัจจัยเสี่ยงเรื่องค่าสัมปทานเริ่มลดลง เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ยอมรับว่ารัฐบาลคณะนี้จะไม่สามารถแก้สัญญาสัมปทานได้ทัน และบล.ไซรัสคาดการณ์ว่ารัฐบาลหน้าจะเน้นการผลักดันเศรษฐกิจมากกว่าสานต่อการแก้ไขสัมปทาน เนื่องจากมีขั้นตอนยุ่งยากและเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายข้อ

"ความจริงเม็ดเงินต่างชาติเข้าลงทุนในหุ้นสื่อสารตั้งแต่เดือนมีนา แต่เป็นการลงทุนในหุ้น ADVANC เพราะเป็นตัวใหญ่ที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการโครงข่าย แต่เชื่อว่ารอบนี้หุ้นสื่อสารน่าจะเริ่มเป็นที่สนใจเพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ราคาหุ้นยังต่ำเมื่อเทียบกับราคาหุ้นพลังงานและแบงก์"

นางสาวจิตรากล่าวเพิ่มว่า หากมองในแง่ปัจจัยพื้นฐานหุ้นกลุ่มสื่อสารที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่าย 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE) พบว่าความเสี่ยงของแต่ละบริษัทเริ่มลงแล้ว โดยหุ้น แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ที่มีกรณีคู่กับบริษัท ทีโอที เกี่ยวกับส่วนแบ่งรายได้เริ่มลดลง หลังจากรัฐบาลยอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขสัญญาสัมปทานได้ทัน ทั้งนี้ให้ราคาเป้าหมายปีนี้ที่ 100 บาท
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น มีความเสี่ยงจากกรณีที่จะต้องเปลี่ยนการจ่ายค่าสัมปทานจาก ACCESS CHARGE เป็น INTER CONNECTION CHARGE ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของกสท. แต่กลับไม่ได้รับการยินยอมจากบริษัท ทีโอที และเป็นกรณีที่ยื่นฟ้องร้องกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ล่าสุดบริษัทค่อนข้างมีความเชื่อมั่นว่าจะชนะคดีและทางรัฐบาลก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยิบยกกรณีฟ้องร้องดังกล่าวมาสานต่อหรือนำไปแก้ไขข้อกฏหมายแต่อย่างใด ความเสี่ยงเรื่องแพ้คดีและทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเริ่มราว 4,000 ล้านบาทต่อปีเริ่มลดลง ให้ราคาเป้าหมายปีนี้ที่ 46 บาท

ขณะที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น มีความเสี่ยงมากกว่ารายอื่นคือมีสัดส่วนหนี้สินสูง อย่างไรก็ตาม บริษัทมีจุดเด่นอยู่ที่การมีธุรกิจหลากหลาย ทำให้สามารถขายพ่วง( BUNDLE) ทั้งนี้ให้ราคาเป้าหมายที่ 8 บาท

เธอกล่าวอีกว่า หากเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเริ่มเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มสื่อสารอย่างจริงจัง เชื่อว่าหุ้นทรู คอร์ปอเรชั่นน่าจะมีแรงลงทุนเข้ามามากเนื่องจากเป็นหุ้น HIGH BETA ที่ขึ้นแรงและลงแรง ประกอบกับการเป็นบริษัทที่มีธุรกิจหลากหลายทำให้ต่างชาติสนใจเพราะเชื่อว่ามั่นว่าอนาคตจะมีช่องทางรายได้หลายช่อง
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82844
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 16

โพสต์

โวยกทช.ตัวถ่วงไอซีทีไทยไม่โต
เลี่ยงตัดสินใจ

โพสต์ทูเดย์ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม-ไอที รุมสับ กทช.ไร้ความชัดเจนถ่วงการพัฒนาอุตสาหกรรม


นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ไม่เคยมีหนังสือหรือออกหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมายังผู้ประกอบการเอกชน ว่าการดำเนินการเพื่อขอให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (ไวแมกซ์) ที่คลื่นความถี่ 2.4 และ 3.5 กิกะเฮิรตซ์ ควรมีแนวทางหรือต้องดำเนินการอย่างไร แต่เป็นเพียงการพูดปากเปล่าว่าเปิดหรืออนุมัติให้แล้ว ไม่ได้มีลายลักษณ์อักษร ส่งผลให้เอกชนไม่สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ การที่ กทช.ไม่ดำเนินการ ในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยว กับเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศ ส่งผลให้อุตสาห กรรมไอทีต้องชะงัก เพราะกฎเกณฑ์ที่ไม่เอื้ออำนวย
พล.อ.ต.พิริยะ ศิริบุญ โฆษกคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า กทช.ยังคงไม่มี คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จหรือไอซี) ว่าสามารถทดแทน ค่าเชื่อมต่อเลขหมาย (แอ็กเซสชาร์จหรือเอซี) ได้เลยหรือไม่ ทั้งที่ กสทฯ ได้มีหนังสือสอบถามไปตั้งแต่เมื่อเดือน มี.ค. แล้ว
ทาง กทช.พยายามประวิงเวลา ด้วยการสอบถามไปกระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เจ้าของและ ผู้กำหนดนโยบายจึงค่อยตัดสิน ทั้งที่ กทช.เป็นผู้ออกประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้ไอซี พ.ศ.2549 แต่กลับ ไม่ยอมชี้ขาด อุตสาหกรรมโทรคมฯ จึงไม่พัฒนาต้องมาเถียงกันในเรื่องเหล่านี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177470
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

บริการเน็ตดุ เจไอเน็ตดิ้นสู้ ลุยบริการเสริม

โพสต์ทูเดย์ เจไอเน็ต ปรับตัว รับตลาดอินเทอร์เน็ตวาย ผุดบริการเสริมเพียบ ตั้งเป้า 3 ปี ทำรายได้ พันล้าน


นายสมศักดิ์ พัฒนเอนก กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เจ-ไอเน็ต กล่าวว่า ตลาดรวมของบริการอินเทอร์เน็ต ค่อนข้างซบเซาในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ไม่มีการ ลงทุน รวมทั้งตลาดถูกแย่งส่วนแบ่ง โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ เช่น ทรูฯ และทีโอที
ผลดังกล่าวทำให้ไอเอสพี ขนาด กลาง อย่างเจ-ไอเน็ตต้องปรับตัว ด้วยการหาธุรกิจและบริการเสริมใหม่มาเพิ่มรายได้ อาทิ บริการด้านเสียง (วอยซ์) โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศให้กับ กสท โทรคมนาคม ภายใต้ชื่อ ถูกดี บริการโทร.ทางไกลราคาประหยัดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (วอยซ์โอเวอร์ ไอพี) และบริการโทรศัพท์อินเทอร์เน็ตข้ามแดนผ่านเครือข่ายไร้สาย ไวไฟ และ 3 จี สำหรับนักธุรกิจที่นำไปใช้ในต่างประเทศ
รายได้จากการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ จะเห็นได้จากบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผ่านโทรศัพท์พื้นฐาน ความเร็ว 56 กิโลบิตต่อวินาที ลดลงจาก 6 หมื่นเหลือ 3 หมื่นรายในปีนี้ นายสมศักดิ์ กล่าว
จากการพัฒนาบริการใหม่ๆ เข้ามาเสริม คาดว่าอีก 3 ปี บริการด้านเสียงจะขึ้นทดแทนรายได้ด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและจะเป็นตัวทำรายได้หลักให้บริษัทไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาทในอนาคต
ทั้งนี้ ช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมี รายได้ 240 ล้านบาท ซึ่งกว่า 90% มาจากบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สำหรับองค์กร 5-10% เป็นบริการ เสริมด้านเสียงและดาต้า เซ็นเตอร์ ในอนาคต ซึ่งคาดว่าบริการดังกล่าว จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 50% ต่อ เดือน ส่วนปีนี้คาดจะมีรายได้รวม 440 ล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177465
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news10/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เปิดตัว "ขุนศึก"3 ค่ายยักษ์มือถือพลิกเกมการตลาด - 10/7/2550
ตลาดธุรกิจโทรคมนาคมถือเป็นเกมการแข่งขันร้อนแรงและยาวนานต่อเนื่อง ชนิดใครกะพริบตาเป็นต้องตกเป็น "มวยรองบ่อน"ทันทีเป้าหมายของการแข่งขันก็คือชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่มหาศาลถึง 2 แสนล้านบาทให้มากที่สุด ที่ผ่านมาจึงเห็นทุกค่ายต่างระดมสมองการตลาดชั้นครูมาเป็นพี่เลี้ยง หวังเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากที่สุด

โฟกัส 3 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจมือถือที่คับคั่งไปด้วยขุนพลการตลาดต้องยกให้ค่ายเอไอเอส ในยุคที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง "สมประสงค์ บุญยะชัย" นั่งประธานกรรมการบริหาร "ชิน คอร์ป" พร้อมถ่างขานั่งคุมบังเหียนเอไอเอสด้วย ก็ยังพรั่งพร้อมไปด้วยมือการตลาดแถวหน้า คนแรก "อาจารย์สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล" รับหน้าเสื่อเป็นคณะผู้บริหารด้านการตลาด เรียกว่าเป็นหัวกะทิแคมเปญโฆษณา หรือเจ้าของไอเดียเจาะทะลวงกลุ่มเป้าหมายก็ว่าได้ แม้ที่ผ่านมาอาจจะออกไปท่องยุทธภพปราสาทวิชาให้ค่ายต่างๆ ไม่ว่า "สามารถ คอร์ป" แต่สุดท้ายก็กลับสำนักเอไอเอสเมื่อปีที่ผ่านมา

อีกคน "สมชัย เลิศสุทธิวงศ์" รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด ค่ายเอไอเอส ฝีมือการตลาดชั้นเซียน พกดีกรีปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด (MBA) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานแห่งแรกที่ธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อปี 2527 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ก่อนจะร่วมงานเอไอเอสในปี 2533 ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ

ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลายทำให้ยอดลูกค้าของเอไอเอส เมื่อเดือนก.ค.พุ่งทะยานถึง 22 ล้านรายแล้ว...น่าจับตากลยุทธ์ทีเด็ดที่จะออนแอร์สัปดาห์หน้า ที่ขาดไม่ได้"วิเชียร เมฆตระการ" กรรมการผู้อำนวยการ จอมบู๊จากค่ายเอไอเอส ทุกคดีข้อพิพาทกับภาครัฐ ทุกประเด็นร้อนแรงทางสังคม เขาสวมบทแม้ทัพรับหน้าเสื่อแจกแจงทุกข้อสงสัย ผ่อนหนักให้เป็นเบา ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่น่าศึกษาอีกยุทธวิธี

"วิเชียร"เรียกว่าเป็นชาวพุทธขนานแท้ ศรัทธาในพระพุทธชินราชมากถึงขนาดต้องบูชาจากวัดใหญ่ จังหวัดพิษณุโลก ด้วยเงินหลักหมื่น ได้ปรางค์ "ใบเสนมาฐานสูง" เนื้อชินรุ่น "กรุเก่า"มาแขวนสมใจ

ค่าย"ดีแทค"ถือว่าเปิดมิติใหม่ในการทำตลาด ทำให้จุดด้อยกลายเป็นจุดเด่นขึ้นมาทันที โดยนำภาพซีอีโอ "ซิคเว่ เบรคเก้" เป็นพรีเซนเตอร์โปรโมทแคมเปญต่างๆ คู่กับ "วิชัย เบญจรงคกุล" จนเป็นที่คุ้นตา และเรียกเสียงฮือฮากระหึ่มเมืองด้วยดีกรีรัฐศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ว่ากันว่าถ้า"ซิคเว่" ไม่ทิ้งตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ประเทศนอร์เวย์ กระโดดเข้าสู่ธุรกิจมือถือค่าย "เทเลนอร์" ยักษ์ใหญ่สื่อสารของนอร์เวย์เสียก่อน เก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่แค่เอื้อม

มือการตลาดของค่ายดีแทคอีกคนที่ทำงานใกล้ชิด "ซิคเว่"เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีคือ "ธนา เธียรอัจฉริยะ" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานพาณิชย์ จบเศรษฐศาสตร์ จากรั้วจามจุรี และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก Washington State University สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมงานกับดีแทคเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เคยเป็นช่วยผู้อำนวยการกลุ่มวาณิชธนกิจ ของบล.เอกธำรง จำกัด (มหาชน) ก่อนมาร่วมกับดีแทคเมื่อ10 ปีที่ผ่านมาและเขานี่แหละเป็นหัวเรือใหญ่ปลุกปั้นแบรนด์แฮปปี้นับจากเดือนพ.ค. 2546 จนฮิตติดลมบนอยู่ในเวลานี้
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177109
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news10/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ตลาดมือถือ 2 แสนล.ระอุเดือด3 ยักษ์เปิดศึกชิงตลาดภูธรรับเลือกตั้ง - 10/7/2550

แนวโน้ม 80%ประชากรไทยแห่ใช้มือถือ ศึก 3 ก๊กธุรกิจโทรศัพท์มือถือชิงส่วนแบ่งตลาดมุลค่า 2 แสนล้านระอุรับศึกเลือกตั้ง โค้งสุดท้าย 6 เดือนหลังยังฟาดฟันกันดุเดือด เปิดยุทธภูมิใหม่ห้ำหั่นเดือดที่ตลาดภูธร"เอไอเอส"ฟันธงสิ้นปียอดลูกค้าโดยรวมจะพุ่งทะลุ 50 ล้านราย ดีเดย์ส่งแคมเปญ "สวัสดี" ปูพรมเจาะตลาดรากหญ้าสัปดาห์หน้า พร้อมชูจุดเด่นดาวน์โหลดเร็ว 5 เท่าหวังกวาดเค้ก 1.4 หมื่นล้าน "ดีแทค"ปรับทัพสู้ลุยตลาดภูธรเต็มสูบ เน้นภาคเหนือ และใต้ มั่นใจปีนี้ตลาดโต 10 ล้านเลขหมาย ด้าน "ทรูมูฟ"ใช้แผนจรยุทธ์สู้ยักษ์ใหญ่ เดินเกมคลื่นใต้น้ำไม่หวือหวาแต่เน้นคอนเวอร์เจนซ์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ ตั้งเป้าโต 75% ภายใน 2 ปีข้างหน้า

ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้หากจับชีพจรตลาดโทรศัพท์มือถือจะเห็นว่า ผู้ให้บริการ "3 ค่ายมือถือ"ยังเดินหน้าออกแคมเปญ และกลยุทธ์ทางการตลาดแย่งลูกค้ากันอย่างดุเดือด ขณะที่แนวโน้ม 6 เดือนสุดท้ายต่างเฮโลเจาะตลาดภูธร เนื่องจากทุกค่ายคาดว่าจะมีเงินสะพัดช่วงศึกเลือกตั้งปลายปี ส่งผลอัตราการเติบโตขอผู้ใช้บริการจะเติบโตทะลุ 50 ล้านรายได้ภายในปีนี้

เปิดทีเด็ดเอไอเอสชิงส่วนแบ่งตลาด 2 แสนล.ไปส่องกล้องตรวจความเคลื่อนไหวผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือของเมืองไทยค่ายเอไอเอส นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บอกว่า มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจโทรคมนาคมอยู่ในราว 2 แสนล้านบาทต่อปี เป็นส่วนแบ่งตลาดของเอไอเอส 49% หรือประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550ที่ผ่านมาลูกค้าของตลาดรวมเติบโตมาเป็น 45 ล้านราย จากปี 2549 ที่มีเพียง 40 ล้านราย ทำให้เห็นภาพแนวโน้ม 6 เดือนสุดท้ายลูกค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬาร ซึ่งคาดว่าสิ้นปี 2550 จำนวนลูกค้าโดยรวมจะทะลุถึง 50 ล้านราย ส่วนลูกค้าของเอไอเอส ณ เดือนพ.ค.ที่ผ่านมามีจำนวน 22 ล้านราย

แต่เมื่อลูกค้าเพิ่มขึ้นมากจากการแข่งขันอย่างรุนแรงของผู้ให้บริการ จะทำให้เกิดผลเสียที่ตามมาคือเกิดลูกค้าที่ซ้ำซ้อนกัน เช่น ลูกค้าบางรายอาจจะมี 2-3 ซิม ซึ่งเป็นการเพิ่มเพียงปริมาณหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น แต่รายได้จากการใช้บริการจะไม่มากเหมือนที่ผ่านมา

การปรับกลยุทธ์ในการทำตลาดช่วง 6 เดือนสุดท้ายปีนี้ เอไอเอสเตรียมใช้อาวุธครบทุกด้านคือ นอกจากชูโปรดักซ์และแบรนด์ที่มีคุณภาพ มีเน็ตเวิร์คครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว ด้านราคาก็แข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างเหมาะสม ประการสำคัญคือ จะต้องสร้างความแตกต่างด้านการบริการเข้ามาเสริมด้วย"เอไอเอสเน้นโปรดักซ์และคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า เป็นบริการของลูกค้าจริงๆ ซึ่งเป็นการทำตลาดแบบยั่งยืนเราจะ ไม่เสียเวลากับความต้องการปลอมๆ"

ส่ง "สวัสดี"เจาะลูกค้าสัปดาห์หน้ารองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด บอกด้วยว่า เม็ดเงินโดยรวมในการทำตลาดของเอไอเอสปี 2550 อยู่ในราว 2 พันล้านบาท 6 เดือนสุดท้ายยังมีเงินเหลืออยู่ 1 พันล้านบาท ซึ่งการใช้งบการตลาดจะแบ่งการใช้ออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.มอบให้กับผู้ใช้บริการ เช่น ส่วนลดตั๋วหนัง 2. ผ่านช่องทางการจำหน่าย เช่น เซลล์ 3.ใช้โฆษณาผ่านสื่อชนิดต่างๆ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177110
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/07/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

โอทีรุกบริการ e-Invoiceเพิ่มช่องทางจ่ายค่าโทรผ่านเน็ต [ ฉบับที่ 809 ประจำวันที่ 11-7-2007 ถึง 13-7-2007]  
นายสายัณห์ ถิ่นสำราญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดให้บริการใหม่ ได้แก่ บริการใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Invoice เป็นเจ้าแรก เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มช่องทางในการรับทราบข้อมูลค่าใช้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สำหรับลูกค้าที่ใช้เลขหมายของทีโอที ซึ่งได้เปิดให้บริการตั้งแต่มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งบริการดังกล่าว ผู้ใช้บริการสามารถตรวจยอดค่าใช้บริการ ได้ด้วยตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต บนเว็บไซด์ www.totweb.net ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ประ-หยัดเวลา

และที่สำคัญผู้ใช้บริการสามารถตรวจยอดค่าใช้บริการก่อนที่ใบแจ้งหนี้ตัวจริงจะส่งถึงบ้าน รวมทั้งลูกค้ายังสามารถพิมพ์ใบแจ้งค่าใช้บริการจากอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการชำระค่าบริการได้ ณ ศูนย์บริการลูกค้า และตัวแทนรับชำระเงินของ ทีโอที ทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นบริการที่สะดวกสบายอีกบริการหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ทีโอที มุ่งมั่นในการพัฒนา บริการอย่างไม่หยุดยั้งมีการพัฒนาระบบใบแจ้งหนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการชำระค่าใช้บริการและเพิ่มช่องทางในการรับทราบข้อมูลค่าใช้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการที่เป็นเจ้าของเลขหมายของทีโอที หรือผู้ที่ได้รับการมอบอำนาจจากเจ้าของเลขหมายนั้นๆ สามารถขอใช้บริการ e-Invoice ผ่าน เว็บไซต์ดังกล่าวฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม โดยมีขั้นตอนการสมัครดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สมาชิก ใหม่ เพื่อขอ User Name และ Password สำหรับเข้าใช้ระบบ ขั้นตอนที่ 2 ลงทะเบียนขอใช้บริการ e-Invoice

นอกจากนี้ บริการ e-Invoice จะช่วยให้ลูกค้าสามารถชำระค่าใช้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่ท่านต้องการทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายเป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นในการทราบยอดค่าใช้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องรอใบแจ้งค่าใช้บริการ ที่ ทีโอที จัดส่งให้ท่านทางไปรษณีย์ นอกจากนี้บริการ e-Invoice ของทีโอที ยังให้บริการสรุปหน้าใบแจ้งหนี้ค่าใช้บริการ, รายละเอียดการใช้บริการ, วิเคราะห์ ข้อมูลค่าใช้บริการที่ผ่านมา, รวมทั้งดาวน์โหลด ข้อมูลการใช้บริการและขอสำเนาใบแจ้งค่าใช้บริการได้

นายสายัณห์ กล่าวต่อไปว่า ทีโอที ยังมีบริการชำระค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐาน ผ่านอินเตอร์เน็ตแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www. totweb.net โดยผู้ใช้บริการสามารถตรวจยอดค่าใช้บริการยอดค้างชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ และสามารถเลือกชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยวิธีหักบัญชีบัตรประเภท VISA และ MASTER CARD ของธนาคารพาณิชย์ ทุกธนาคารได้อีกด้วย โดยผู้ใช้บริการจะได้รับใบรับเงินชั่วคราวจากระบบเป็นหลักฐานก่อน และทีโอทีจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินฉบับจริงให้ท่านทางไปรษณีย์อีกครั้ง
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/07/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ต่างชาติรุมจีบไทยโมบายทำมือถือ3จี  

โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:51 น.

นายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี ที่มี พ.อ.นาฬิกอติภัค แสงสนิท เป็นประธานว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมจากทั่วโลกหลายรายสนใจลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3 จี ให้กับกิจการร่วมค้าไทยโมบาย เช่น บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมอันดับหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส บริษัท โวดาโฟน จำกัด ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่งของประเทศอังกฤษ กองทุนเพื่อการลงทุน จากประเทศรัสเซีย และรัฐบาลจีน โดยบริษัท อัลคาเทล จะเป็นรายแรกที่จะมาเสนอรูปแบบการลงทุนให้คณะกรรมการนโยบายโครงข่ายฯรับทราบในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ส่วนรายอื่นๆ ยังไม่ได้แจ้งกลับมายังทีโอที
ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3 จี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุนของกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าเพียง 68,000 รายเท่านั้น นายชิตกล่าว และว่า เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.22 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายปัจจุบันของบริษัท เอซีโมบาย จำกัด ให้เป็นโครงข่าย 3 จี ประมาณ 1.4 พันล้านบาท ลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศประมาณ 1.59 หมื่นล้านบาท ที่เหลือ 5.1 พันล้านบาทจะนำไปชำระหนี้คงค้างของไทยโมบาย เช่น ชำระค่าซื้อหุ้นคืนจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 42% ประมาณ 2.4 พันล้านบาท และภาระหนี้อื่นๆ อีกประมาณ 2.7 พันล้านบาท

นายชิตกล่าวว่า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้ความสนใจจะนำโครงข่าย 3 จี ไปให้บริการด้วย ส่วนจะเป็นลักษณะเช่าใช้โครงข่าย หรือร่วมกันบริการหรือไม่นั้น ขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปเช่นกัน (กรอบบ่าย)
http://news.sanook.com/economic/economic_155708.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

กทช.สั่งทีโอทีเชื่อมต่อไอซี ปล่อยค่าเอซีให้ศาลชี้ขาด
โพสต์ทูเดย์ กทช.ประกาศกร้าว ทีโอทีต้องเชื่อมต่อไอซี ภายใต้กฎเกณฑ์ใบอนุญาตที่ได้รับ ส่วนเรื่องเอซีแนะส่งศาลชี้ขาดหย่าศึก
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขา ธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า บริษัท ทีโอที ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย โทรคมนาคม หรือ ไอซี (อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ) พ.ศ. 2549 ที่กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการ (ไลเซนส์) ต้องเจรจาค่าไอซีกับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่ง กทช.มีสิทธิ์บังคับ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เพราะเป็นผู้ให้ใบอนุญาตกับทีโอที

ที่ผ่านมา ทีโอทีพยายามออกมาเรียกร้องทวงคืนค่าเชื่อมต่อเลขหมาย หรือ เอซี (แอกเซสชาร์จ) จาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ และต่อว่า กทช. ว่า ออกกฎเกณฑ์ที่สร้างความเสียหายให้ทีโอที แต่ทีโอทีไม่เคยมองมุมกลับว่าทีโอทีควรจะทำหน้าที่การเป็นผู้ได้รับไลเซนส์จาก กทช.ด้วย เช่นกัน

นายสุรนันท์ กล่าวว่า กทช.ต้องการให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเกิดความสมานฉันท์ และคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นหลัก มากกว่าการยกกฎหมายมาเถียงกัน แล้วทำให้ผู้ใช้บริการเดือดร้อนอย่างในปัจจุบัน ดังนั้น เรื่องใดที่ควรเจรจาตามกฎเกณฑ์ก็ควรต้องทำ ส่วนเรื่องสัญญาเอซีที่เป็นข้อผูกพันทางกฎหมายก็ต้องให้ศาลตัดสินไปตาม ขั้นตอนทางกฎหมาย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178420
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

หวั่นกม.คอมพ์ คนไม่รู้อีกมาก ไอซีทีจัดสัมมนา
โพสต์ทูเดย์ ไอซีที เร่งจัดสัมมนาให้ความรู้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หวั่นหลังประกาศใช้วันที่ 18 ก.ค. คนไม่รู้ติดคุกระนาว

นางมณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในวันที่ 18 ก.ค. 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานกฤษฎีกาจะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้จัดสัมมนาให้ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวอย่างชัดเจนในวันที่ 16 ก.ค. เวลา 08.30-16.30 น. ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สำหรับสาเหตุที่ต้องจัดสัมมนาเพราะ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหา ที่บังคับครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งในเรื่องฐานความผิด องค์ประกอบความผิด และบทกำหนดโทษอย่างมากมาย ทางกระทรวง ไอซีทีถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ ผู้ประกอบธุรกิจรวมถึงประชาชนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในกิจกรรมต่างๆ ควรจะได้รับรู้ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับความผิดจากการใช้คอมพิวเตอร์อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งมีการกำหนดระวางโทษไว้สูงสุดถึงขั้นการจำคุก
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หนึ่งในวิทยากร กล่าวว่า สนช.เห็นชอบให้บอกกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบถึงเนื้อหาและบทลงโทษว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนในการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไร ก็ตาม หลังจากที่ พ.ร.บ.มีการบังคับใช้ หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี จะใช้การพิจารณาความผิดจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นหลัก
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178447
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news17/07/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

"ทีโอที"รายได้ร่วง60%ช่วง 4 เดือนแก้เกมรุกธุรกิจบรอดแบนด์ - 17/7/2550

ขณะที่ผลประกอบการทีโอทีรายได้วูบ 60% โดยนายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกและกก.บมจ.ทีโอที กล่าวถึงผลประกอบการ 4 เดือนแรกของปีนี้ มีกำไรประมาณ 1,200 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน ที่มีกำไร 3,400 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 60 % ทั้งนี้ ตัวเลขกำไรดังกล่าวยังไม่รวมรายได้จากค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (แอ็คเซสชาร์จ) ที่บริษัทเอกชนค้างจ่าย 8,400 ล้านบาท ส่วนแนวทางออก ทีโอทีมีแผนรุกธุรกิจบรอดแบนด์ เร่งให้บริการใหม่ รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

'ทีโอที' เนื้อหอมต่างชาติสนใจลงทุน 3 จี

นายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกและ กก.บมจ.ทีโอที กล่าว ขณะนี้ได้รับการติดต่อจาก 4 ประเทศ เพื่อขอเป็นผู้ลงทุนในโครงข่าย 3 จี ให้กับไทยโมบาย ได้แก่ อัลคาเทล-ลูเซ่น จากฝรั่งเศส, โวดาโฟน จากอังกฤษ, กองทุนเพื่อการลงทุนจากประเทศรัสเซีย และรัฐบาลจีน ทั้งนี้ คณะกรรมการจะเร่งพิจารณาข้อเสนอของนักลงทุนทุกรายให้เร็วที่สุด ภายใน 3-4 เดือน เบื้องต้นคาดใช้วงเงินลงทุน 2.2 หมื่นล้านบาท

http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177581
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news17/07/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ฟิทช์มอง2มือถือไม่ดีฟินันซ่าเชียร์เอไอเอส
โพสต์ทูเดย์ ฟิทช์มองแนวโน้มเครดิต ADVANC และ DTAC ไม่ดี รออีก 6 เดือนให้รัฐบาลใหม่มาชี้ขาดสัมปทาน


สถาบันจัดอันดับฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ แก่อันดับเครดิตของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส (ADVANC) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิ เคชั่น (DTAC)
ทั้งนี้ เป็นการยืนยันมุมมองที่เคยให้อันดับเครดิตของทั้งสองบริษัท เมื่อเดือน ก.พ. เนื่องจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในส่วนของธุรกิจโทรคมนาคม ยังคงมีอยู่ค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ คาดว่าอันดับเครดิตของ ADVANC และ DTAC น่าจะได้รับการพิจารณาออกจากเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ เมื่อประเด็นที่เกี่ยวข้องทางด้านนโยบายและกฎหมายมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากมีการ จัดตั้งรัฐบาลใหม่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
สำหรับการซื้อขายหุ้น DTAC ก็ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน และราคายังเดินหน้าต่อ และปิดที่จุดสูงสุดระดับ 46.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 3.89% หรือให้ผลตอบแทนแก่ ผู้จองซื้อหุ้นครั้งแรกที่ 40 บาท ถึง 16.87%
ด้าน ADVANC ติดลบ 0.52% ปิดที่ 95 บาท ซึ่งปรับตัวลงตามตลาดโดยรวม และที่ผ่านมาราคาหุ้นได้เพิ่มขึ้นมามากแล้ว
อย่างไรก็ตาม บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ขาย เป็น ซื้อ ให้เป้าหมายปีหน้าที่ 137 บาท และคาดว่าอัตราผลตอบแทนปันผลอีก 6.6% จากผลประกอบการปี2550

บล.ฟินันซ่า ระบุว่า ซื้อหุ้น ADVANC ต้องมองไปที่อนาคต โดยคาดว่าใบอนุญาต 3G จะเริ่มมีความชัดเจนในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยไม่จำเป็นต้อง รอการจัดตั้ง กทช. และใบอนุญาต 3G ถูกลง และเปรียบเสมือนการล้างไพ่สัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งเต็มไปด้วยคำถามและความไม่แน่นอน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=179139
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/07/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ไอซีทีเตรียมลงนามสมาร์ทการ์ด  

โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:53 น.

นายสือ ล้ออุทัย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการประมูลบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ (สมาร์ทการ์ด) จำนวน 26 ล้านใบว่า จากการเจรจากับกิจการร่วมค้า วีเอสเค ผู้ชนะการประมูล ได้ยินยอมลดราคาลงมาเหลือ 920 ล้านบาท เฉลี่ย 35.38 บาท/ใบ จากราคาเดิม 921.38 ล้านบาท หรือฉลี่ย 37.50 บาท/ใบ โดยสัปดาห์หน้าจะมีการลงนามในสัญญาร่วมกัน หลังจากนี้อีกประมาณ 5 เดือนทางบริษัทจะเริ่มส่งมอบบัตรล็อตแรกจำนวน 5 ล้านใบแรก ให้กับกระทรวงไอซีที เพื่อส่งมอบให้กับกระทรวงมหาดไทยออกให้กับประชาชน และจะส่งให้ครบทั้ง 26 ล้านใบภายใน 1 ปี 6 เดือน
http://news.sanook.com/economic/economic_158965.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/07/07

โพสต์ที่ 27

โพสต์

พีซีที"งัด"โทร.ไม่อั้น"ยื้อลูกค้า ขายพ่วง"ทรูมูฟ"ชูเน็ตเวิร์กเดียว

"PCT" โล่งค่าเชื่อมโยงโครงข่ายยังไม่เกิด งัดแพ็กเกจ "โทร.ไม่อั้น" ดึงลูกค้าอีกเฮือก ระบุมี "IC" เมื่อไรตายเมื่อนั้น เหตุต้นทุนพุ่งเท่ายักษ์มือถือ แต่เตรียมแผนปรับกลยุทธ์หาทางรอด ขายเครื่อง "ดูอัลโฟน PCT+มือถือทรูมูฟ" ชูจุดขายโทร.ในเครือข่ายเดียวกัน ทั้งเผย "ผู้ค้า" พร้อมสนับสนุนการทำตลาดเต็มสูบ เพราะขายเครื่องมีกำไรไม่แย่งตลาดมือถื

นายสหรัฐส์ คนองศิลป์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานแบบพกพาใช้นอกสถานที่ (พีซีที) กล่าวถึงสถานการณ์ธุรกิจของพีซีทีในปัจจุบันว่า มีลูกค้าเหลืออยู่ประมาณ 2.9 แสนราย ลดลงจากไตรมาสแรกปีนี้ที่มีลูกค้าอยู่ 3.5 แสนราย สาเหตุหลักมาจากในช่วงต้นปีบริษัทไม่มั่นใจเรื่องระยะเวลาการลงนามในสัญญาค่าเชื่อมโยงโครงข่ายของ บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานจึงชะลอการต่ออายุโปรโมชั่น unlimited (โทร.ได้ไม่จำกัด) ทำให้ลูกค้าลดลง แต่ขณะนี้ค่อนข้างมั่นใจว่าทีโอทีจะยังไม่เซ็นสัญญาการเชื่อมโยงโครงข่าย จึงมีโปรโมชั่นใหม่ "บุฟเฟ่ 400 บาท โทร.ไม่อั้น" ออกมาจนถึงสิ้นปีนี้ จึงน่าจะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้งานในระดับเดิมได้

ทั้งนี้ ทีโอทีเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดและเป็นเจ้าของสัมปทานของทรู ดังนั้น ถ้าทีโอทียังคงไม่ลงนามข้อตกลงการเชื่อมโยงโครงข่าย (IC : interconnection charge) ทรูก็จะยังไม่เซ็นสัญญาดังกล่าวเช่นกัน ทำให้บริษัทสามารถที่จะออกโปรโมชั่นราคาถูกแบบ unlimited ต่อไปได้ แต่หากเริ่มใช้ IC เมื่อใด ต้นทุนของพีซีทีจะขยับขึ้นไปเท่ากับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ทำให้ค่าบริการมีอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งผู้บริโภคก็จะหันไปเลือกใช้บริการมือถือมากกว่าพีซีที

"ลูกค้าของเราเพิ่มขึ้นเพราะผู้ให้บริการมือถือไม่มีโปรโมชั่น 0.25-0.50 บาทออกมาสู้กันเหมือนเดิม ทั้งระยะเวลาของโปรโมชั่นก็สั้นลง ทำให้มีช่องว่างของอัตราค่าบริการระหว่างพีซีทีกับมือถือ แต่ในระยะยาวหากมีการใช้ IC จะทำให้ต้นทุน

พีซีทีเพิ่มขึ้น จึงต้องปรับแผนการทำตลาด โดยจะนำเครื่องที่มี 2 ระบบ ระหว่างพีซีทีกับมือถือมาขาย เพื่อให้พีซีทีกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งบริการมือถือ เช่น ลูกค้าเลือกโทร.จาก

พีซีที กรณีต้องการคุยนานๆ เพราะคิดค่าบริการเป็นครั้ง แต่หากอยู่นอกโครงข่ายก็เลือกใช้ระบบมือถือได้ เป็นต้น"

โดยบริษัทจะนำเครื่อง dual phone เข้ามาขายในอีก 2 เดือนข้างหน้า มี 2 รุ่น ราคาประมาณ 2,000 บาท ที่ขายได้ถูก เนื่องจากเงินบาทแข็งขึ้น ทำให้ต้นทุนถูกลง นอกจากนี้ต้นทุนการวิจัยและพัฒนาเครื่องของผู้ผลิตยังค่อนข้างต่ำจนขายในราคานี้ได้ จากเดิม dual phone มีราคาเครื่องละ 5,000-6,000 บาท จึงน่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคและตัวแทนจำหน่าย

"การ build in มือถือเข้าไปในพีซีทีทำให้ โอกาสในการทำตลาดมากขึ้น เพราะลูกค้ามีทางเลือก ถ้าไม่พอใจพีซีทีก็เปลี่ยนมาใช้มือถือได้ แม้เครื่องจะใส่ซิมการ์ดได้ทุกระบบ แต่ถ้าใช้กับทรูมูฟจะมีสิทธิประโยชน์เพิ่มแบบ convergence โดย

พีซีทีจะทำตัวเนียนไปกับมือถือทั้งฐานลูกค้าของ ทรูมูฟและพีซีทีจะเป็นกลุ่มเดียวกัน กระจายสินค้าไปในช่องทางเดียวกันได้เลย ถ้าพีซีทีกลืนเข้าไปในมือถือ มีโอกาสที่ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นถึงแสนราย"

แม้กลยุทธ์ดังกล่าวจะไม่ได้ทำให้ต้นทุนพีซีทีลดลงกรณีโทร.ไปโครงข่ายอื่นแต่หากมองภาพรวมเป็นการรวมทราฟฟิกในกลุ่มทรูทำให้ต้นทุนค่า IC ถูกลง ซึ่งจุดยืนทางการตลาดของพีซีทีจะเน้นไปในเรื่องการโทร.หากันภายในเครือข่ายทรูเป็นหลัก

โดยแนวทางการตลาดช่วงครึ่งปีหลังจะใช้กลยุทธ์ me too แบบเดียวกับที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นทำ เน้นการกระจายงบฯการตลาดไปที่ดีลเลอร์เพื่อให้สื่อสารกับลูกค้าว่าพีซีทีมีบริการทุกอย่างแบบเดียวกับมือถือ เช่นโชว์เบอร์ ต่อ Wi-Fi ฯลฯ

"งบฯการตลาดเราไม่เยอะ ถ้าใช้เงินโฆษณาใน mass media แม้การรับรู้จะเพิ่มขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ตัดสินว่าใช้มือถือดีกว่าจึงสู้เอาเงินไปลงใน ดีลเลอร์ และทำกิจกรรมกับลูกค้าเป้าหมายไม่ได้ ซึ่งยังโชคดีที่โอเปอเรเตอร์มือถือในขณะนี้แข่งขันกันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องบริการ พีซีทีก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่า"

ส่วนในอนาคตพีซีทีอาจต้องยกเลิกบริการหรือไม่ นายสหรัฐส์มองว่าจะอยู่ได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้กำกับดูแลมากกว่า เพราะหากบังคับให้ต้องมีต้นทุนเท่ากับผู้ให้บริการมือถือก็เท่ากับบีบให้ปิดบริการ แม้พีซีทีจะเปิดบริการมา 8-9 ปี

ซึ่งถือว่ามาได้ไกลแล้ว และโดยส่วนตัวเชื่อว่ายังไปต่อได้อีก เช่น บันเดิลไปกับทรูมูฟใน dual phone หรือเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม เช่น SMEs ได้ และจากตัวเลขรายได้ของบริษัทในปี 2549 มีรายได้ถึง 1,300 ล้านบาท เป็นรายได้จากการให้บริการ 1,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นรายได้จากการขายเครื่อง ซึ่งตัวเลขขนาดนี้แม้ไม่ใช่ธุรกิจที่ใหญ่แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องเลิกบริการ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0209
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news21/07/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

บอร์ดทีโอทีให้จ่ายกสท2.4พันล. แลกสิทธิบริหารมือถือไทยโมบาย  

โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:18 น.
พ.อ.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการนโยบายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ทีโอทีจ่ายชดเชยให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,400 ล้านบาท เพื่อให้ทีโอทีมีอำนาจบริหารจัดการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทยโมบายในระบบ 1900 เมกะเฮิร์ตซ์ และคลื่นความถี่ 3 จี ในย่านความถี่ 2000 เมกะเฮิร์ตซ์ แต่เพียงผู้เดียว
 พ.อ.นาฬิกอติภัคกล่าวว่า หลังจากนี้จะยื่นเสนอต่อบอร์ด กสท หากเห็นชอบก็จะทยอยจ่ายเงินให้จนครบตามกำหนด ส่วนการพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทยโมบายสู่ระบบ 3 จี ใช้งบลงทุนประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท ทีโอทีอาจจะใช้เงินกู้จากประเทศจีนหรือญี่ปุ่น แทนการใช้เงินกองทุนของรัสเซีย เพื่อไม่ต้องใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน ที่ต้องใช้เวลานาน แต่การกู้สามารถเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผ่านไปยังกระทรวงการคลังพิจารณาได้ทันที ทั้งนี้ จะเร่งให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลนี้

พ.อ.นาฬิกอติภัคกล่าวถึงการดำเนินการเบื้องต้นว่า จะพัฒนาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทยโมบาย ระบบ 1900 เมกะเฮิร์ตซ์ ในเขตกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ 533 สถานีฐาน ให้เป็นระบบ 3 จี ใช้เงินลงทุน 1,400 ล้านบาท โดยเปิดให้ผู้ประกอบการเอกชน เช่น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เป็นต้น ร่วมดำเนินการพัฒนาโครงข่าย หรือการทำวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) เพื่อแลกกับการเช่าใช้ในราคาถูก เช่น หากบริษัทไหนติดตั้งสถานีเป็นจำนวนมาก ก็จะได้รับสิทธิในการเช่าใช้โครงข่าย 3 จี ในราคาถูก แต่หากใครลงทุนพัฒนาน้อยกว่าก็จะคิดค่าเช่าใช้ในราคาที่สูงกว่า เป็นต้น ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้จะไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน เพราะทีโอทีจะกำหนดให้เอกชนแต่ละรายลงทุนได้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท
http://news.sanook.com/economic/economic_159336.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เปิด พ.ร.บฯ ล่าตัวป่วนโลกไซเบอร์

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 05:00:00
แล้ววันที่โลกไซเบอร์ (ไทย) ต้องหันมาจัดเก็บกวาดบ้านที่รกรุงรังเต็มไปด้วยขยะให้สะอาดเอี่ยมเรียบร้อย และเป็นระเบียบ ก็เดินทางมาถึง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เป็นครั้งแรกของวงการอินเทอร์เน็ตที่จะมี "กฎหมาย" ไว้บังคับใช้เมื่อเกิดเหตุอันไม่ชอบมาพากลขึ้น หลังจากที่อินเทอร์เน็ตเป็นเสมือน "แดนสนธยา" จนเป็นเรื่อง "ยาก" หากจะต้องเอาผิดกับผู้ที่ก่ออาชญากรรมขึ้นบนสถานที่แห่งนี้

กระนั้นก็ตาม แม้จะมีหลายภาคส่วนที่ดูเหมือนจะ "ขานรับ" กับกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็มีอีกหลายส่วน ที่ยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้จริง โดยเฉพาะการ "อ่อน" ประชาสัมพันธ์ ที่ดูเหมือนจะเป็นประเด็นให้พ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกผู้ที่ต้องใช้งานเป็นประจำเข้าใจในแบบผิดๆ

ล่าสุด เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้จริงๆ ก็มีเสียงเตือนด้วยความกังวลเช่นกันถึงความพร้อม และความเข้าใจของผู้ใช้กฎหมาย ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการในหลายๆ ด้าน ขณะที่ผู้กระทำผิด ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด คือผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพราะถ้าไม่เก่งจริง ก็คงไม่สามารถหาช่องโหว่และทำผิดได้

"สิทธิชัย โภไคยอุดม" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ผู้เสนอ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 บอกว่า กระทรวงไอซีทีได้เสนอกฎกระทรวงว่าด้วยการยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณา ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร และในสัปดาห์หน้าจะเสนอ กฎกระทรวงว่าด้วยคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติได้
"เรื่องการออกกฎกระทรวง ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงอะไร ตอนนี้ออกมา 1 เหลืออีก 1 ส่วนประกาศกระทรวงอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เราจะเน้นที่ผู้กระทำผิดเป็นหลัก ไม่ต้องการโจมตีผู้ให้บริการ แต่สิ่งที่กำหนดเป็นหน้าที่ให้ทำ ถือเป็นการป้องกันผู้ให้บริการมากกว่า"
ส่วนการเตรียมความพร้อมบุคลากรนั้น รมว.ไอซีที ยอมรับว่า บุคลากรของกระทรวงยังขาดอีกมาก ต้องมีการเปิดรับสมัครเพิ่มเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลต่อไป

"ปรเมศวร์ มินศิริ" นายกสมาคมผู้ดูแลเวบไทย บอกว่า การมีกฎหมายที่ดูแลเรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ดีมาก และถูกต้องที่สุด แต่เมื่อพิจารณาถึงความพร้อม เห็นได้ชัดว่าประเทศไทย ทั้งหน่วยงานราชการ ผู้ให้บริการเอกชนและประชาชนผู้ใช้บริการ ยังไม่มีความพร้อม เพราะการเผยแพร่ให้ความรู้ในวงสาธารณะยังไม่มากเพียงพอ ขณะที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
ดังนั้น กระทรวงไอซีทีต้องมุ่งเป้าให้ตรงประเด็น เน้นการเอาผิดกับกลุ่มบุคคลที่ตั้งใจก่อความเสียหายให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะพวก "แฮคเกอร์" ที่จัดได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่เตรียมความพร้อมมากที่สุด มากกว่าจะมุ่งเป้ามาที่กลุ่มผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ที่อาจกระทำผิดโดยไม่รู้ตัว
"ต้องยอมรับว่ามีเวลาเตรียมตัวน้อย จะมีปัญหาในทางปฏิบัติแน่นอน เพราะยังไม่มีความเข้าใจ เช่น การเก็บข้อมูลการจราจรทางอินเทอร์เน็ต และการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ ที่ผู้ให้บริการต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่การขอหมายเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล" ปรเมศวร์เล่า

อีกประเด็นคือ การออกกฎกระทรวง ที่ผ่านเข้าที่ประชุม ครม. เพียงแค่กฎเดียวเท่านั้น คือ การยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ เหลือการกำหนดคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ ยังไม่ได้นำเข้าพิจารณา ทำให้ปัจจุบัน แม้จะมีการกระทำผิดจริง ก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะยังไม่มีเจ้าหน้าที่มาดำเนินการ

"ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ" พาร์ทเนอร์ บริษัทแมกนัส แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด และอาจารย์พิเศษ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า หลักการของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้ต้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่มุ่งอุดช่องโหว่การทำผิดทางเทคโนโลยีที่เดิมประมวลกฎหมายอาญาไม่สามารถเอาผิดได้

"หลังพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลแล้ว การส่งต่อ หรือฟอร์เวิร์ดเมลภาพอนาจาร ภาพอนาจารดาราถูกตัดต่อหรือไม่ตัดต่อ จนถึงการส่งต่อลิงค์ยูอาร์แอลของเวบโป๊อนาจาร ก็เข้าข่ายกระทำผิดต่อพ.ร.บ.นี้ รวมถึงการส่งทางมือถือด้วย"

ในส่วนผู้ให้บริการ หรือเซอร์วิส โพรไวเดอร์นั้น หากเครื่องแม่ข่ายหรือระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือกระทำผิด ผู้ให้บริการนั้นจะเข้าข่ายที่ต้องโทษด้วยหรือไม่อยู่ที่ "เจตนา" เป็นสำคัญ

หนึ่งในกฎหมายลูกที่จะถูกนำมาบังคับใช้ร่วมกับ พ.ร.บ.นี้ คือ "การยึด อายัดเครื่องคอมพิวเตอร์" โดยหลักๆ จะเป็นแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่จะสามารถยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ต้องสงสัย หรืออายัดเครื่องกรณีเป็นระบบขนาดใหญ่ เพื่อใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวนหรือพิสูจน์หลักฐานการทำผิด รวมไปถึงการเก็บข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ เน้นข้อมูลที่ "จำเป็น" เพื่อสืบค้นแกะรอยหาผู้กระทำผิด

ประเด็นสำคัญที่มีการพูดถึงกันมาก คือ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ซึ่งเข้าใจว่า เจตนารมณ์ของประกาศฉบับนี้ ต้องการให้ ผู้ให้บริการ เก็บรักษาข้อมูลของ ผู้ใช้บริการ ในลํกษณะที่ผู้ให้บริการสามารถ ระบุตัว ผู้ใช้บริการได้

"ผู้ให้บริการ" จะต้องเก็บข้อมูลหลายอย่าง ตั้งแต่ ชื่อประจำตัว (Username) ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) หมายเลขที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (IP Address) กรณีเวบบอร์ดและเวบบล็อกนั้น ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลทั้ง ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการ

เรื่องนี้ถือว่าเกี่ยวข้องและน่าจับตามากที่สุด โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ คนทำเวบอิสระ คนเล่นเน็ต เพราะมาตรการบังคับให้กรอกรายละเอียดค่อนข้างละเอียด และภาครัฐก็ไม่ค่อยประชาสัมพันธ์เรื่องแบบนี้ไปสู่สาธารณชนวงกว้างมากนัก ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มคิดกันว่า ...

เป็นไปได้หรือไม่ว่า ข้อกำหนดแบบนี้ อาจไปกีดกันคนจำนวนหนึ่งทางอ้อมให้ตัดสินใจไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เช่น คนที่ไม่เคยมีอีเมล หรือคนที่ไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัว และอาจจะทำให้รู้สึกว่าการบังคับกรอกรายละเอียด เป็นเรื่องรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคลมากจนเกินไป

แน่นอนว่า กระทรวงไอซีทีอาจตั้งธงไว้แล้วว่าต้องการจับ ผู้ร้าย ให้สะดวก โดยออกกฎหมายให้ผู้ให้บริการประเภทต่างๆ มาให้ความร่วมมือ แต่หากไอซีทีมีความเข้าใจพื้นฐานของธรรมชาติในโลกอินเทอร์เน็ตด้วย ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย

การกำหนดกรอบให้แน่ชัดลงไปว่าข้อมูลแค่ไหนที่อยากรู้ น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประเภท ยูสเซอร์ ไอดี, ไอพี แอดเดรส, ชื่อสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, วันที่เวลาการเข้าออกของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

สิ่งสำคัญที่สุด คือ "ไอซีที" และผู้เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้  ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของโลกอินเทอร์เน็ตให้ถ่องแท้ด้วยว่า "คนที่เล่นอินเทอร์เน็ตจะยอมบอกตัวตนของตัวเองบนสถานที่แห่งนี้ได้มากน้อยแค่ไหน"

ทีมข่าวไอที
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=85416
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

กรุงเทพฯ ติดท็อป 20 รับงานไอที จับตาจีนแซงหน้าอินเดียใน 4 ปี

20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:33:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายคอนราด ชาง ผู้จัดการฝ่ายวิจัยตลาดบิซิเนส โพรเซส เอาท์ซอร์สซิ่ง (บีพีโอ) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ไอดีซี เป็นบริษัทวิจัยด้านไอทีระดับโลก กล่าวว่า จากผลสำรวจการจัดอันดับ Global Delivery Index (GDI) เปรียบเทียบความพร้อมของ 35 เมืองแถบเอเชียแปซิฟิก ในแง่ศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางรับเหมาช่วงบริการด้านไอที (ดิลิเวอรี่ เซ็นเตอร์) พบว่า กรุงเทพฯ ติดอันดับ 1 ใน 20

โดยติดอยู่ในกลุ่มของประเทศที่อยู่หลังอันดับ 10 จากปัจจัยจุดแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ต้นทุนราคาแรงงานที่แข่งขันได้ และต้นทุนค่าเช่าที่สมเหตุผล เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่นๆ ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเผชิญปัญหาอีกหลายประการ ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุนและธุรกิจ ในด้านเสถียรภาพทางการเมือง ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาหลักอื่นในเอเชีย ที่อาจไม่เท่าเมืองสำคัญอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งยังขาดความเข้าใจถึงความพร้อมของไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางรับเอาท์ซอร์สซิ่ง ทำให้บ่อยครั้งที่นักลงทุนไม่รับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ ที่รัฐสนับสนุนอุตสาหกรรมเอาท์ซอร์สซิ่ง

ดังนั้น ในภาพรวม ไทยต้องมีมาตรการเชิงรุกที่จะแสดงถึงจุดยืนการเป็น "เอาท์ซอร์สซิ่ง ฮับ" เพื่อดึงดูดการลงทุนในเซคเตอร์นี้ให้จริงจังขึ้น เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ทั้งบังกาลอร์ ต้าเหลียน กัวลาลัมเปอร์ และมะนิลา ต่างก็ลงทุนเชิงรุกด้านโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมเอาท์ซอร์สซิ่ง

พร้อมกันนี้ บริษัทได้จัดอันดับ 10 เมืองในเอเชีย ที่มีความพร้อมการรับเหมาช่วงบริการด้านไอที พบว่า หลายเมืองของจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าบังกาลอร์ มะนิลา และมุมไบ ภายในปี 54
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=85185
โพสต์โพสต์