SE-ED กับ ไทยรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ลูกเต่า
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 504
ผู้ติดตาม: 1

SE-ED กับ ไทยรัฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2208 12 เม.ย. - 14 เม.ย. 2550
 


 

 
'อากู๋'โดดหย่าศึก บอยคอตต์'ซีเอ็ด' ทนงรับ4เงื่อนไข  
ซีเอ็ดถอยรับข้อเสนอชมรมผู้จำหน่ายหนังสือฯ ยอมให้เอเยนต์ในพื้นที่ส่งหนังสือตรง


เข้าสาขาไม่ต้องผ่านคนกลาง แต่ขอให้ทบทวนส่วนลดในอัตราที่เป็นธรรม เผยเบื้องหลัง " อากู๋ "ไพบูลย์โดดหย่าศึกหลังหารือบิ๊กรวมห่อ


สืบเนื่องจากการบริษัท รวมห่อ หรือผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ และเอเยนต์งดส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในเครือสยามกีฬา และในเครือฐานเศรษฐกิจเข้าสาขาของ บมจ.ซีเอ็ด เอ็ดดูเคชั่น หรือ บมจ.ซีเอ็ดตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น ล่าสุดแหล่งข่าวจากกวงการรวมห่อเผย


"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า นายทนง โชตสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีเอ็ด ได้ ตอบรับข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ ของ ชมรมผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์กับโมเดิร์นเทรดแล้วโดยส่งหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา


โดยหนังสือฉบับดังกล่าวมีสาระโดยสังเขปว่า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สาขาของ บมจ.ซีเอ็ด หรือ ซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์ จะรับสินค้าโดยตรงจาก บริษัทรวมห่อ หรือ เอเยนต์ โดยบริษัทรวมห่อและเอเยนต์จะร่วมกันสรรหาเอเยนต์ที่มีศักยภาพในการจัดส่งหนังสือเข้าร้านค้าในโมเดิร์นเทรด ส่วนต่างจังหวัด ซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์จะรับหนังสือพิมพ์และนิตยสารจากเอเยนต์ในพื้นที่ และร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ จะชำระค่าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารภายใน 15 วันนับแต่วันวางบิล อย่างไรก็ตามในส่วนของส่วนลดหรือเปอร์เซ็นต์จากการขายนั้นทาง บมจ.ซีเอ็ด ขอให้ทางชมรมฯให้ตามกลไกตลาด


ทั้งนี้ นายทนงได้ระบุในหนังสือฉบับดังกล่าวว่า " เงื่อนไขทางการค้าต่างๆ บริษัทขอให้เหมาะสม เป็นธรรมตามกลไกตลาดที่ให้กันอยู่แล้ว และอยู่ในระดับที่ร้านซีเอ็ดบุ๊เว็นเตอร์ สามารถอยู่รอดได้"


แหล่งข่าวเดียวกันระบุว่าก่อนที่ บมจ.ซีเอ็ด จะตอบรับข้อเรียกร้องชองชมรมฯนั้นเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ นายเกรียงศักดิ์ วัชรพล หัวหน้ากองการจัดจำหน่าย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นายมนตรี ภูวสุวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐานรวมห่อ จำกัด ได้เข้าพบนายไพบูลย์ ดำรงค์ชัยธรรม หรืออากู๋ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมี ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ซีเอ็ด เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในวงการจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสารรวมทั้งข้อเสนอของชมรมฯด้วย


ทั้งนี้ข้อเสนอของชมรมฯที่เสนอต่อ บมจ.ซีเอ็ด ประกอบด้วย 1.ให้ส่วนลดกับ บมจ.ซีเอ็ดในอัตรา 15 % 2.ชมรมฯขอให้ ซีเอ็ด บุคเซ็นเตอร์ในพื้นที่ต่างๆ รับหนังสือพิมพ์และนิตยสารจากเอเยนต์ในพื้นที่นั้นๆเท่านั้น และขอไม่ให้นำหนังสือข้ามเขตเข้ามาจำหน่าย 3.ชมรม.ฯขอให้บมจ.ซีเอ็ดเปลี่ยนแปลงวิธีชำระค่าหนังสือ โดยขอให้ชำระในวันที่ 25 ของเดือนนั้นในกรณีที่เอเยนต์ส่งหนังสือให้ระหว่างวันที่ 1-15 กรณีส่งหนังสือระหว่างวันที่ 16-31 ให้ชำระเงินภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป และ4.สำหรับ ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ขอให้รับหนังสือโดยตรงจากบริษัท รวมห่อ หรือ จากเอเยนต์ในพื้นที่นั้นๆ โดยเป็นการรับตรงจาก บริษัท รวมห่อ หรือจากเอเยนต์ในพื้นที่นั้น อนึ่งชมรมฯส่งหนังสือให้บมจ.ซีเอ็ดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ทีผ่านมา


อย่างไรก็ดีก่อนหน้าที่ บมจ.ซีเอ็ดจะยอมยกธงขาวนั้น ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา


นาย ทนง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีเอ็ด ได้เชิญ ผู้บริหารบริษัทรวมห่ออาทิ บริษัท โอเชียน บริษัท นานาสานส์ บริษัท ฐานรวมห่อ บริษัท ธนบรรณ บริษัท เค.เค และฝ่ายจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยนายทนงได้เสนอให้บริษัทรวมห่อ ที่งดหรือลดส่งหนังสือเข้า ซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดมาระยะหนึ่ง ขอให้ส่งเข้าโดยปกติแต่ที่ประชุมยังไม่สามารถรับปากในส่วนสาขาต่างจังหวัดเพราะขึ้นอยู่กับเอเยนต์ในพื้นที่นั้นๆ


สำหรับเบื้องหลังที่บริษัทรวมห่อและเอเยนต์ส่วนใหญ่งดส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารเข้า สาขาของ บมจ.ซีเอ็ด นั้นเพราะมองรูปแบบธุรกิจที่ บมจ.ซีเอ็ด นำมาใช้โดยกำหนดให้ บริษัท รวมห่อ หรือ เอเยนต์ ที่ต้องการส่งหนังสือเข้าไปจำหน่ายใน ซีเอ็ดบุ๊เซนเตอร์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลต้องผ่าน บริษัท กานดาน ซัพพลายส์ เพียงรายเดียวเท่านั้น ส่วนในเขตต่างจังหวัดขอให้ส่งผ่าน บริษัท เวิล์ด ดิสทรีบิวชั่น (ในเครือบริษัทกานดาฯ )เพียงรายเดียวเช่นกัน ซึ่งบรรรดาบริษัทรวมห่อและเอเยนต์มองว่าเป็นการผูกขาดอีกทั้งประสิทธิภาพในการกระจายยังไม่ทั่วถึงและมีการเจรจากับทาง บมจ.ซีเอ็ดหลายครั้งเพื่อให้ทบทวนระบบจัดส่งหากไม่เป็นผลกระทั่งปลายเดือน ตุลาคมต่อเนื่องต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทรวมห่อ และเอเยนต์ ส่วนใหญ่งดส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในเครือสยามกีฬา และในเครือฐานเศรษฐกิจเข้าซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์


ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันนั้นเอง ในวันที่ 1 พฤศจิกายน นายทนง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีเอ็ด พยายามแก้สถานการณ์ด้วยการเชิญเจ้าของสำนักพิมพ์ต่างเข้าหารือทถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหากปัญหาก็ยังไม่คลี่คลาย ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน นายก่อเกียรติ พิชญอาทร กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา ซัพพลายส์ ได้ส่งหนังสือถึงสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยความตอนหนึ่งของหนังสือนายก่อเกียรติอ้างว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง "ได้มีคำสั่งไปยังสำนักพิมพ์ตลอดจนบริษัทรวมห่อหลายแห่งให้งดส่วนหนังสือให้แก่บริษัทในกรุงเทพฯ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ"  



สรุปว่าดีกันแล้วใช่มั้ยครับเนี่ย
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 1

SE-ED กับ ไทยรัฐ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รู้สึกหงุดงิกนิดหน่อย
หาไทยรัฐ ฐาน ที่se-ed ไม่ได้  
ต้องไปหาที่cp7-11
โพสต์โพสต์