ถามผู้รู้กรณ๊ คดี Ptt ที่ ศาลปกครอง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
121
Verified User
โพสต์: 843
ผู้ติดตาม: 0

ถามผู้รู้กรณ๊ คดี Ptt ที่ ศาลปกครอง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ที่  520/14/42
                                                                                   20 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง      ผลกระทบของพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และ
             ประโยชน์ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
             ต่อการดำเนินงานของบริษัท

เรียน     กรรมการและผู้จัดการ
            ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

           ตามที่ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (พรฎ. (ฉบับที่ 2)) โดยลง
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 และมีผลใช้บังคับ
เมื่อพ้นกำหนด 30 (สามสิบ) วัน นับแต่วันประกาศดังกล่าว ดังนั้น พรฎ. (ฉบับที่ 2)
จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป นั้น

           บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ใคร่ขอเรียนเนื้อหาที่สำคัญโดยสรุป
ของ พรฎ. (ฉบับที่ 2) ดังนี้

         1. กำหนดให้ยกเลิกบทบัญญัติบางมาตราแห่งพระราชกฤษฎีกากำหนด
อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 (พรฎ.
(ฉบับที่ 1)) ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติทุน
รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดย พรฎ. (ฉบับที่ 2) กำหนดให้ ปตท. ไม่มีอำนาจ
สิทธิ และประโยชน์ตามบทมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติการปิโตรเลียม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 (พรบ.ปตท.) ดังนี้

               (1) มาตรา 8 แห่ง พรบ.ปตท. ซึ่งเป็นอำนาจในการสำรวจ พัฒนา
และผลิตปิโตรเลียมตามที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี
โดยให้มีสิทธิประโยชน์และหน้าที่เสมือนเป็นผู้รับสัมปทานตามกฎหมาย
ว่าด้วยการปิโตรเลียม

               (2)  มาตรา 11 แห่ง พรบ.ปตท. ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษในการที่ทรัพย์สิน
ของ ปตท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
                อนึ่ง พรฎ. (ฉบับที่ 1) ได้จำกัดไว้เฉพาะทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืน
และทรัพย์สินในระบบท่อส่งปิโตรเลียมของ ปตท. เท่านั้น ที่ไม่ต้องอยู่ในความ
รับผิดแห่งการบังคับคดี

                (3)  มาตรา 38 แห่ง พรบ.ปตท. ซึ่งเป็นอำนาจของ ปตท. ในการ
ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่
ปตท. มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้มาซึ่งแหล่ง
ปิโตรเลียมหรือเพื่อใช้ในการวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ฯลฯ

           2.   ให้อำนาจ สิทธิ และประโยชน์อื่นที่กำหนดให้เป็นของ ปตท. ตาม
พรบ.ปตท. เช่น การกำหนดเขตระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ การวาง
ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อไปใต้ เหนือ หรือข้ามที่ดินของบุคคลใดๆ
ตามมาตรา 30 แห่ง พรบ.ปตท. ไปเป็นของคณะกรรมการกำกับการใช้
อำนาจของบริษัท (ตามที่ระบุในข้อ 3.)

            3.  ให้มีคณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 (สาม) คน ซึ่งรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงพลังงานแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน
นโยบายและแผนพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ

            สำหรับเหตุผลในการตรา พรฎ. (ฉบับที่ 2) นี้ เนื่องจากคณะกรรมการ
นโยบายทุนรัฐวิสาหกิจได้เสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติม พรฎ. (ฉบับที่ 1) โดยเห็นว่า
ปตท. มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันการประกอบธุรกิจปิโตรเลียม
ได้อย่างเท่าเทียมกันกับผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมอื่น

            ปตท. ขอเรียนว่า พรฎ. (ฉบับที่ 2) ดังกล่าว มิได้ส่งผลกระทบต่อการ
ดำเนินงานของ ปตท. แต่อย่างใด หาก ปตท. มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการต่างๆ
เช่น การขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ปตท. จะดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์
และเงื่อนไขในการปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท
ที่ตั้งขึ้นจะเป็นผู้กำหนดต่อไป

            จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                                                  ขอแสดงความนับถือ


                                                            นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                                              กรรมการผู้จัดการใหญ่



               ผมประชาชนคนธรรมดา ไม่รู้เรื่องกฎบัตร กฎหมาย

เก็งกำไรมากบ้าง ลงทุนน้อยบ้าง ตามสภาพการ

ชักอยากใช้เวลากับอย่างอื่นมากขึ้น

กะจะเลิกเก็ง เลิกเล็งทุน จะทำได้ง่ายๆที่ไหนกันเล่าครับ


                อันว่าประเทศเราก็มีพี่เบิ้มนี่แหละผูกขาดด้านพลังงาน

เรื่องบัญน้ำ บัญชีของบริษัทก็พอหาดูได้

แต่คดีที่ศาลปกครอง เป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง

จะนำคดี กฟผ มาเทียบเคียงก็แค่ใกล้เคียง   (หรือเปล่า ไม่แน่ใจ)

            จึงอยากถามนักกฎหมายว่าประเทศอื่น   ที่มีตลาดหุ้นมายาวนานกว่าเรา

เขาเคยมีคดีคล้าย ปตทจะถูกเพิกถอน แบบนี้หรือเปล่า

แล้วผลเป็นอย่างไรบ้าง

                  ว่าตามความเห็นประชาชนความรู้ด้อยอย่างผม

ไม่คิดว่า ปตท จะถูกถอนไปได้

เพราะศาลไม่น่าจะตัดสินมีผลย้อนหลัง

                ประเทศที่รักของเรามีเรื่องมหัศจรรย์

หัวเราะมิได้ร่ำไห้ไม่ออก  มากเกินยิ่งแล้ว

ฉนั้น.....โปรดอย่าบอกนะครับว่าไม่เคยมีกรณีแบบนี้ในโลกมาก่อนเลย

    ปล. ด้วยปีกแห่งรักบิ๊กเบิ้มนี้ จะโหมหักปีกย่อม ปีกจ้อย  ขะ-ไหน-หนาด  

  ขอบคุณครับ
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ถามผู้รู้กรณ๊ คดี Ptt ที่ ศาลปกครอง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอให้ความเห็นว่า จังหวะนี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้

PTT ถูกศาลตัดสิน ให้ออกจากตลาด เป็นไปได้แน่นอน
ด้วย เหตุผล .............................. มิชอบ ก็ว่าไป

หรือ ศาลปกครองยกฟ้องก็เป็นไปได้


ตอบกวนดีไหม  :lol:  :lol:  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zumo
Verified User
โพสต์: 582
ผู้ติดตาม: 0

ถามผู้รู้กรณ๊ คดี Ptt ที่ ศาลปกครอง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

PTT อาจจะไม่ถึงขนาดโดนเอาออกจากตลาด แต่อาจจะเป็นโดนแยกตัวท่อส่งก๊าซออกไปอ่ะครับ แต่ก้อไม่แน่ตอนนี้ตัดสินกันแต่ละเรื่องยากจะขาดเดา พอขัดผลประโยชน์กัน คนที่ตายก้อนักลงทุนรายย่อยตามระเบียบ :evil:
triathlon
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

ถามผู้รู้กรณ๊ คดี Ptt ที่ ศาลปกครอง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เรื่องมันค้างเติ่งมานาน คือเดิม ปตท เป็นรัฐวิสหากิจ ดังนั้น สิทธิพิเศษต่างๆ เช่นการเวนคืนที่ดิน การวางท่อลอดใต้ที่ดินชาวบ้านก็ทำได้ เพราะถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ (ซึ่งสมัยนั้นก็มีคนโวย เอ็นจีโอนี่แหละว่าถ้ารัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชน ไม่ควรได้สิทธิพิเศษนี้ แต่ตอนนี คงจำกันไม่ได้แล้วว่าเมื่อสิบปีกาอนพูดอะไรไว้)
พอเข้าตลาด ก็มีประเด็นว่า แม้ ปตท จะยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เพราะรัฐและหน่วยงานของรัฐถือหุ้นมากกว่าครึ่ง แต่ ปตท ก็เป็น บริษัทไปแล้ว ไม่ใช่หน่วยงานราชการเต็มรูปแบบ ดังนั้นสิทธิในการเวนคืน ฯลฯ ต้องมาอยู่ที่รัฐ เข้าใจว่าในหนังสือชี้ชวนของ ปตท เองก็ระบุเรื่องนี้อยู่ แต่ต่อมา พอเข้าตลาดแล้ว ก็ล่าช้า ยังไม่ได้แยกเรื่องท่อให้เสร็จ
ถามว่าต่างประเทศมีไหม เอ สมัยอีดี้ อามินนี่ก็ยึดกิจการเอกชนเป็นของรัฐนะ :cry:
just one life, use it!
โพสต์โพสต์