ผ่างบดุลแบงก์ชาติ "ขาดทุนค่าเงิน 2.7 แสนล้าน"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ผ่างบดุลแบงก์ชาติ "ขาดทุนค่าเงิน 2.7 แสนล้าน"

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผ่างบดุลแบงก์ชาติ "ขาดทุนค่าเงิน 2.7 แสนล้าน"
กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550


หลังจากที่ แบงก์ชาติออกมาระบุว่าปี 2549 ขาดทุน 1.74 แสนล้านบาท ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เขียนบทวิเคราะห์ชื่อ "แบงก์ชาติขาดทุนจากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศได้อย่างไร" ถึงที่มาที่ไปของการขาดทุน ซึ่งมากกว่าที่ ธปท.แถลงออกมา บทวิเคราะห์นี้ได้ทำขึ้นเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว แต่มิได้นำมาเผยแพร่สู่สาธารณชน เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกระเทือนกับเครดิตความน่าเชื่อถือของแบงก์ชาติ อย่างไรก็ตามเมื่อแบงก์ชาติ ได้ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงการขาดทุนจากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศในปี 2549 ว่าอาจจะมีประมาณ 3 แสนล้านบาท ผู้วิเคราะห์จึงเห็นว่าน่าจะเปิดเผยบทวิเคราะห์ฉบับนี้ ซึ่งใช้ข้อมูลที่ประกาศอยู่แล้ว ต่อสาธารณชน (Public Information) เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจว่าการขาดทุนดังกล่าว เกิดจากสาเหตุใด และปริมาณเงิน 3 แสนล้านบาท ดังกล่าว มีความสมเหตุสมผลเพียงใด

การขาดทุนจากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศของแบงก์ชาติ มาจาก 4 สาเหตุใหญ่ คือ

1. ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้ว (Stocks) โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในขณะนั้นอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทอยู่ที่ 41.03 บาท แต่เมื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อบาทอยู่ที่ 36.05 บาท มีผลให้แบงก์ชาติ ขาดทุนจากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว โดยทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐขาดทุนประมาณ 5 บาท ทำให้ขาดทุนในส่วนนี้ถึง 260,000 ล้านบาท

2. ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น (Flows) ในตลอดปี 2549 แบงก์ชาติได้รับเงินสำรองระหว่างประเทศ (ส่วนใหญ่น่าจะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในส่วนนี้มีผลให้แบงก์ชาติขาดทุนประมาณ 2.50 บาทต่อทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่าการขาดทุนรวม 37,500 ล้านบาท (หากคิดโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ดอลลาร์สหรัฐ/บาทถัวเฉลี่ยต้นปีท้ายปี) อย่างไรก็ตามหากคำนวณโดยละเอียด โดยใช้เงินสำรองระหว่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน คูณกับอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน โดยใช้ค่าเฉลี่ยของเดือนนั้นๆ จะทำให้การขาดทุนในส่วนนี้ของการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเหลือเพียง 26,372 ล้านบาท ในส่วนนี้ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากข้อมูลสาธารณะที่มีอยู่แล้วว่าเงินสำรอง ที่เพิ่มขึ้นมาจากธุรกรรมปกติ (ส่งออก-นำเข้า เงินทุนไหลเข้า-ออกอันเนื่องจากการลงทุน) หรือจากการแทรกแซงและปกป้องค่าเงินบาท โดยซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศ

3. การขาดทุนจากการทำ Swap/Forward วิธีการปกป้องหรือแทรกแซงค่าเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่นิยมมากที่สุด นอกเหนือจากการซื้อขายเงินในตลาดทันที (Spot) ก็คือ การทำ Swap หรือ Forward เนื่องจากแบงก์ชาติ ไม่ต้องการให้ค่าเงินบาทแข็ง (เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน) แต่หากแทรกแซงในการซื้อขาย โดยการซื้อดอลลาร์สหรัฐทันที จะมีผลให้แบงก์ชาติ สะสมเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทำสัญญาซื้อล่วงหน้า ในลักษณะ Swap หรือ Forward ซึ่งมีผลให้แบงก์ชาติมีสถานะ และพันธะที่จะต้องรับมอบเงินดอลลาร์สหรัฐในอนาคต การคำนวณความเสียหายจากพันธะ Swap/Forward สามารถทำได้โดยใช้หลักเดียวกับข้อ 1 และข้อ 2

คือ หลักปริมาณพันธะที่มีอยู่แล้ว (Stocks) และปริมาณพันธะที่เพิ่มขึ้นในปี 2549 (Flows) กล่าวคือ ปริมาณพันธะที่มีอยู่แล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม 2549 มี 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขาดทุน 5 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขาดทุนในส่วนนี้ 19,000 ล้านบาท และปริมาณพันธะที่เพิ่มขึ้น 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยสิ้นปี 2549 เป็น 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยขาดทุน 2.5 บาทต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขาดทุนในส่วนนี้ 7,750 ล้านบาท รวมการขาดทุนจากการทำ Swap/Forward 26,750 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการปกป้องและแทรกแซงค่าเงินบาท

รวมขาดทุนจากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไป ตามข้อ 1-3 ทั้งสิ้น 324,250 ล้านบาท แต่หากใช้วิธีคำนวณโดยใช้เงินสำรองระหว่างประเทศและพันธะ Swap/Forward ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน คูณกับค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละเดือนที่เปลี่ยนไป จะทำให้ได้ตัวเลขการขาดทุนที่ 311,602 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อย

4. ผลตอบแทนจากการนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุน หากใช้สมมติฐานที่ว่าแบงก์ชาติสามารถนำเงินสำรอง ทั้งหมดไปลงทุนให้เกิดดอกออกผลได้ (แต่ในความเป็นจริงแบงก์ชาติคงไม่สามารถนำเงินสำรองทั้งหมดไปลงทุนได้ทันที เนื่องจากต้องเก็บไว้ใช้บริหารสภาพคล่องและปกป้องแทรกแซงค่าเงินบาท) โดยหากคิดว่าแบงก์ชาตินำเงินสำรอง ไปลงทุนในตราสารหนี้และพันธบัตรสกุลเงินสหรัฐเป็นส่วนใหญ่ (ซึ่งน่าจะเป็น US Treasury) การคำนวณผลตอบแทนในส่วนนี้ ใช้หลักเดียวกับข้อ 1และข้อ 2 คือ เงินสำรอง ที่มีอยู่แล้ว ณ ต้นปี 2549 จำนวน 52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปีหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมการลงทุน จึงคิดเป็นจำนวนเงินผลตอบแทน 93,600 ล้านบาท และการนำเงินสำรอง ที่เพิ่มขึ้น 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปลงทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.5% ต่อปี จึงคิดเป็นจำนวนเงิน 13,500 ล้านบาท รวมผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน 107,100 ล้านบาท

เมื่อรวมผลจากข้อ 1-4 ทำให้แบงก์ชาติขาดทุนจากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ 218,150 ล้านบาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ผ่างบดุลแบงก์ชาติ "ขาดทุนค่าเงิน 2.7 แสนล้าน"

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อย่างไรก็ตามหากรวมการขาดทุนอันเนื่องมาจากการลดปริมาณเงินบาทในระบบเศรษฐกิจ (Cost of Sterilization) ของแบงก์ชาติจะทำให้ตัวเลขการขาดทุนมากกว่านี้ เพราะการที่แบงก์ชาติซื้อดอลลาร์ขายบาทเป็นจำนวนมากนั้น ทำให้แบงก์ชาติต้องดึงเงินบาทกลับออกจากระบบเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ

ในส่วนนี้แบงก์ชาติได้ออกพันธบัตรขายให้กับสถาบันการเงินและนักลงทุนทั้งปี 2549 เป็นตัวเลขเกือบ 9 แสนถึงล้านล้านบาท ซึ่งมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมประมาณ 5- 5.5% ต่อปี ทำให้น่าจะมีต้นทุนดอกเบี้ยอีกประมาณ 50,000-55,000 ล้านบาท เมื่อรวมในส่วนนี้น่าจะทำให้แบงก์ชาติขาดทุนทั้งสิ้นประมาณ 273,150 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 แบงก์ชาติก็ออกแถลงข่าวอีกครั้งว่า จากงบการดำเนินงานปี 2549 เบื้องต้นของแบงก์ชาติว่าขาดทุนเป็นจำนวน 174,000 ล้านบาท โดยเป็นการขาดทุนจากการตีราคาเงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินบาท (Unrealized Loss) เป็นจำนวน 173,000 ล้านบาท ส่วนการขาดทุนอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท เป็นการขาดทุนจากการดำเนินงานที่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ (Realized Loss) หากตัวเลขดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้วเป็นจริง ก็จะเป็นตัวเลขที่แตกต่างจากบทวิเคราะห์นี้ ซึ่งน่าจะมาจาก 2 สาเหตุคือ

1. สมมติฐานในบทวิเคราะห์นี้ แบงก์ชาติได้ผลตอบแทนจากการนำเงินสำรอง ไปลงทุนเพียง 5% ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐที่อายุระหว่าง 1 เดือนถึง 30 ปี ซึ่งมีเส้นอัตราผลตอบแทนค่อนข้างตรงที่ระดับ 5% ในขณะที่แบงก์ชาติแถลงในวันเดียวกันว่าได้ผลตอบแทน 7% ต่อปี ซึ่งก็อาจเป็นไปได้

2. สมมติฐานในบทวิเคราะห์นี้ แบงก์ชาติมีการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศ (ดอลลาร์สหรัฐ) อยู่ตลอดเวลาและไม่ได้คำนึงและแยกแยะระหว่าง Realized กับ Unrealized Loss แต่ในการแถลงข่าวของแบงก์ชาติ ทำให้สรุปได้ว่า แบงก์ชาติซื้อเงินตราต่างประเทศ (ดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งปี 2549 อย่างเดียว โดยแทบจะไม่มีการขายออกไปเลย ทำให้แบงก์ชาติยังไม่รับรู้การขาดทุน (Realize Loss) เหมือนกับการที่นักลงทุนซื้อหุ้นแล้วราคาหุ้นตกลง ตราบใดที่ยังไม่ขายออกไป ก็อาจจะถือว่ายังไม่ขาดทุน

สรุปแล้วการขาดทุนของแบงก์ชาติเกิดจาก 4 สาเหตุใหญ่ด้วยกันคือ 1. อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไป ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลง 2.การซื้อขายเงินตราต่างประเทศตามปกติ 3. การปกป้องและแทรกแซงค่าเงินของแบงก์ชาติ (ในส่วนนี้จากข้อมูลสาธารณะไม่อาจทราบได้ว่าทำไปเท่าใด แต่น่าจะสันนิษฐานได้ว่ามาจากส่วนหนึ่งของการซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาดทันที (Spot) และส่วนใหญ่ของพันธะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้า (Net Forward Position) ซึ่งมาจากการทำ Swap/Forward 4.การที่แบงก์ชาติต้องดูดซับสภาพคล่องเงินบาท

ซึ่งหากแบงก์ชาติไม่ซื้อดอลลาร์ขายบาทจำนวนมาก และไม่คงนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานาน ก็คงไม่ทำให้ต้องออกพันธบัตรจำนวนมาก มีผลให้เกิดภาระต้นทุนดอกเบี้ยสูง ตัวอย่างของธนาคารกลางของประเทศ ที่ต้องบริหารเงินสำรอง ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์และล่าสุดประเทศจีน ซึ่งสามารถบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศและต้นทุนจากการทำ Sterilization ได้ค่อนข้างดี ซึ่งแบงก์ชาติคงต้องระมัดระวังดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะแนวโน้มเงินบาทแข็งและเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนยังมีอยู่ต่อเนื่อง

ล่าสุดตัวเลขที่เปิดเผย ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นไปถึง 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และพันธะที่จะต้องซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (สำรอง 30% ) คงช่วยได้บ้างแต่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น
121
Verified User
โพสต์: 843
ผู้ติดตาม: 0

ผ่างบดุลแบงก์ชาติ "ขาดทุนค่าเงิน 2.7 แสนล้าน"

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อืมม์ม์ม์ม์ม์ม์ม์....อย่างนี้เองเนาะ...... :?



ขอบคุณครับ....... :lol:
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ผ่างบดุลแบงก์ชาติ "ขาดทุนค่าเงิน 2.7 แสนล้าน"

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สหรัฐดูไม่เสียอะไรเลย จากการอ่อนค่า $

เพราะเงินที่เอาไปใช้ ก็เป็นเงินที่พวกเราเอเชียขนเงินไปซื้อดอลล่า เป็นทุนสำรองกัน

การที่ค่าเงินอ่อน แล้วคนเอเชียยังถือเงินสำรองอยู่ในรูป $
ก้เหมือน สหรัฐเอาเงินไปใช้ฟรีๆ
โพสต์โพสต์