มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
FITCH
Verified User
โพสต์: 194
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ว่าจะศึกษาตัวนี้ดีกว่าใครว่ายังไงบ้างครับ
ขอข้อลมูลเริ่มต้นหน่อยคร้าบ.........

:lol:
FITCH
Verified User
โพสต์: 194
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อืมแปลกห้องนี้ไม่มีใครสน finance จริงๆด้วย :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สนนะสนอยู่นะครับ ผมสน AEONTS ครับ แต่ผมว่ามันแพงไปนิดนึง ชอบที่มันมีโอกาสเติบโตสูงตามสินเชื่อส่วนบุคคลที่พุ่งพรวดพราดในปีนี้

ส่วน TISCO เคยซื้อเมื่อตอนต้นปี ที่เค้ากำลังมองว่า leasing จะเติบโตตามตลาดรถยนต์ ผมว่าก้อพอมี story นะ แหะ แหะ แต่ขายไปเกลี้ยงแล้วตั้งแต่มัน 24 บาทนะครับ ทำใจไม่ได้ตอนมันร่วงต่ำกว่าราคาทุนเพราะไม่คิดจะถือหุ้นตัวนี้ยาวมากนักครับ

ประเด็นที่กังวลเกี่ยวกับ 2 ตัวนี้ก้อคือ ปีหน้ามีแนวโน้มที่ดอกเบี้ยจะขึ้น TISCO อาจมีรายได้ที่ลดลงเพราะ leasing ในปีนี้เป็นดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าและยอดขายรถในปีหน้าอาจมีการชะลอตัว ยังไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นจริงรึเปล่า แต่ก้อน่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันนึงนะครับ
แม่นยำ
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมซื้อ NFS ครับ คิดว่าถูกกว่า TISCO

บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

Home Page www.tiscogroup.com
โทรศัพท์: 0-2633-6000
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ที่ 48/2 อาคารทิสโก้ ทาวเวอร์ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เลขทะเบียนบริษัทเลขที่ บมจ.618

ประกอบกิจการทางด้านเงินทุนมานานกว่า 30 ปี โดยบริษัทได้ให้บริการด้านการระดมเงินออม ให้คำปรึกษาด้านการเงิน ให้เช่าซื้อ และให้สินเชื่อประเภทต่างๆ ทั้งสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อการเคหะ และสินเชื่อบุคคลเอนกประสงค์ นอกจากนี้ บริษัทมีกลุ่มบริษัทในเครือซึ่งประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจจัดการกองทุน ธุรกิจเช่าซื้อ และ อื่นๆ

นอกจากนี้บริษัทยังคงยึดมั่นในมาตรฐานสูงสุดแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพที่บริษัทได้ดำรงรักษามาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ซึ่งส่งผลให้บริษัทได้รับรางวัล ผู้ปฏิบัติอันเป็นเลิศเชิงบรรษัทภิบาลในสาขาสถาบันการเงิน และ รางวัลคณะกรรมการตรวจสอบห่งปี 2544 ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย โดยได้รับความสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และ Asian Corporate Governance Association

แม้ว่าจะมีการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ ในปี 2545 การแข่งขันของสินเชื่ออุปโภคบริโภคได้ทวีความรุนแรงขึ้นคงเป็นไปอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเช่าซื้อรถยนต์ ในขณะที่ยอดขายรถยนต์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 ยอดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของบริษัทเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 49

ในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์ แม้ข้อกำหนดเรื่องค่านายหน้าขั้นต่ำ (Minimum fee regulation) จะทำให้รายได้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น บริษัทยังได้ทบทวนการจัดกลุ่มลูกค้าเพื่อมุ่งเน้นลูกค้าที่มีคุณภาพซึ่งนำไปสู่ลูกค้าที่ทำกำไรให้บริษัท และเป็นลูกค้าที่มีความสม่ำเสมอ

การร่วมมือทางธุรกิจกับดอยช์ ซีเคียวริตี้ส์ เป็นปีแรกส่งผลดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากดอยช์ ซีเคียวริตี้ส์มีส่วนสำคัญในการนำธุรกิจใหม่มาสู่ทิสโก้ ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท ทิสโก้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 ซึ่งทำให้ส่วนแบ่งตลาดในปี 2545 สูงขึ้น ทิสโก้ มีปริมาณการซื้อขายสูงเป็นอันดับ 7 ของตลาด

ความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อของบริษัทเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับธุรกิจการให้สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อเพื่อการเคหะ ซึ่งมีปริมาณสินเชื่อรวมกันประมาณ 97% ของเงินให้กู้ยืมทั้งหมด ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และปริมาณเงินให้กู้ยืมคงค้างตามคำนิยามใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยแยกตามรายธุรกิจ แสดงดังตารางต่อไปนี้
ธุรกิจ เงินให้กู้ยืมคงค้าง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ % ต่อเงินให้กู้ยืม
สินเชื่อเช่าซื้อ 24,654 336.95 1.4%
สินเชื่อธุรกิจ 11,750 2,068.51 17.6%
สินเชื่อเพื่อการเคหะ 3,451 861.30 25.0%

ธุรกิจเช่าซื้อถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัทซึ่งมีปริมาณสินเชื่อถึง 60.44% ของปริมาณสินเชื่อทั้งหมด จึงมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดกับความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ปริมาณสินเชื่อจำนวนนี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพียง 1.4% สะท้อนถึงคุณภาพที่ดีของสินเชื่ออันมีผลมาจากนโยบายการพิจารณาสินเชื่อที่รัดกุม ความเสี่ยงของบริษัทในธุรกิจนี้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ เช่น การตกต่ำของระบบเศรษฐกิจ ,วิธีปฏิบัติในการให้สินเชื่อในธุรกิจโดยรวมที่รัดกุมน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันทางธุรกิจซึ่งอาจทำให้ความเสี่ยงโดยทั่วไปสูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดเงินดาวน์และการยอมรับส่วนต่างกำไรที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อในธุรกิจเช่าซื้อนี้จัดว่าอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เนื่องจากอัตราการฟื้นเงินต้นของหนี้เสีย (loan loss recovery) อยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประสบการณ์และความชำนาญของบริษัทในการพิจารณาการให้กู้ยืมและการเรียกเก็บและติดตามหนี้ และสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ

ปริมาณสินเชื่อธุรกิจมีมากเป็นอันดับสองรองจากสินเชื่อเช่าซื้อ ยอดเงินให้กู้ยืมคงค้างมีปริมาณทั้งสิ้น 11,750 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 17.6% ของเงินให้กู้ยืมเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ในขณะคุณภาพสินเชื่อได้ถูกปรับปรุงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ประเด็นสำคัญของความเสี่ยงในการให้สินเชื่อธุรกิจเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับการกระจุกตัวของสินเชื่อในลูกหนี้รายใหญ่หรือภาคธุรกิจ

ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการเคหะมีปริมาณสินเชื่อค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นและมีอัตราส่วนปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ประมาณ 25% ของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อไม่สูงนัก เนื่องจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนนี้เป็นผลคงค้างมาจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งก่อนซึ่งมีหลักประกันครอบคลุมเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจได้เน้นหนักเรื่องการจัดการกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากกว่าการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ ฐานะความเสี่ยงยังมีแนวโน้มดีขึ้นตามสภาวะการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์

ลักษณะการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัทสามารถแบ่งตามประเภทธุรกิจออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มธุรกิจเงินทุน กลุ่มธุรกิจเช่าซื้อ กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ กลุ่มธุรกิจการจัดการกองทุน และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ โดยในแต่ละกลุ่มธุรกิจประกอบด้วยบริษัทในกลุ่มดังต่อไปนี้
1. ธุรกิจเงินทุน ประกอบด้วย
 บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
2. ธุรกิจเช่าซื้อ ประกอบด้วย
 บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
 บริษัท ทรู-เวย์ จำกัด
 บริษัท ไทยคอมเมอร์เชียล ออโต้ จำกัด
 บริษัท โฟล์ค สวาเก้น ลิสซิ่ง ไทยแลนด์ จำกัด
 บริษัท ทิสโก้ลีสซิ่ง จำกัด
 บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
3. ธุรกิจหลักทรัพย์ ประกอบด้วย
 บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
 บริษัท ทิสโก้ ซิเคียวริตี้ ฮ่องกง
 บริษัท ทิสโก้ โกลบอล อินเวสเมนท์ โฮลดิ้งส์
 บริษัท ทิสโก้ ซิเคียวริตี้ ยู เค

4. ธุรกิจจัดการกองทุน ประกอบด้วย
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด
5. ธุรกิจอื่น ๆ ประกอบด้วย
 บริษัท ไทยอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด
 บริษัทเงินทุน ไทยเพิ่มทรัพย์ จำกัด

ธุรกิจ โครงสร้างรายได้ ปี 2545 ปี 2544 ปี 2543 ปี 2542
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
เงินทุน ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 1,039 54% 1,042 79% 1,193 63% (3,782) 96%
บง. ทิสโก้ ค่าธรรมเนียม 194 10% 117 9% 120 6% (119) 3%
กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 509 26% (13) -1% 506 27% (112) 3%
อื่นๆ 186 10% 168 13% 79 4% 61 -2%
รวม 1,927 100% 1,314 100% 1,898 100% (3,953) 100%

ธุรกิจ โครงสร้างรายได้ ปี 2545 ปี 2544 ปี 2543 ปี 2542
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
หลักทรัพย์ ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 24 4% 39 6% 25 9% 108 10%
บล. ทิสโก้ ค่าธรรมเนียม 423 75% 333 55% 434 159% 826 78%
ทิสโก้ ฮ่องกง กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 111 20% 225 37% (190) -70% 109 10%
ทิสโก้ จีไอเอช อื่นๆ 6 1% 6 1% 4 1% 19 2%
ทิสโก้ ยู เค รวม 563 100% 602 100% 273 100% 1,062 100%
ธุรกิจ โครงสร้างรายได้ ปี 2545 ปี 2544 ปี 2543 ปี 2542
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
รวม ธุรกิจเงินทุน 1,927 58% 1,314 43% 1,898 69% (3,953) 139%
ธุรกิจหลักทรัพย์ 563 17% 602 20% 273 10% 1,062 -37%
ธุรกิจการจัดการกองทุน 225 7% 233 8% 73 3% 39 -1%
ธุรกิจเช่าซื้อ 612 18% 826 27% 497 18% - 0%
อื่นๆ 17 1% 76 3% 3 0% - 0%
รวม 3,345 100% 3,053 100% 2,745 100% (2,852) 100%

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 11,002,000,000 บาท เรียกชำระแล้ว 7,068,870,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 520,923,420 หุ้น หุ้นบุริมสิทธิ 185,963,580 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท

จำนวนหุ้นที่ถือ
ชื่อผู้ถือหุ้น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ รวม สัดส่วนร้อยละ
1. CDIB & Partners Investment Holding (Cayman) Ltd. 41,500,000 80,000 121,500,000 17.19
2. Mizuho Corporate Bank, Ltd. 7,505,652 46,000,000 53,505,652 7.57
3. Deustche Bank 37,895,496 0 37,895,496 5.36
4. Goldman Sachs International 34,877,000 0 34,877,000 4.93
5. กลุ่มปัฐพาณิชย์โชติ 15,012,000 12,800,000 27,812,000 3.93
6. HSBC (Sigapore) Nominees Pte Ltd 25,716,000 0 25,716,000 3.64
7. ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 20,000,000 0 20,000,000 2.83
8. Morgan Stanley & Co International 16,028,100 0 16,028,100 2.27
9. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 14,993,700 463,700 15,457,400 2.19
10. บริษัท ไทนเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 15,052,100 319,000 15,371,100 2.17
รวม 228,580,048
59,662,700
368,162,748
52.08




ข้อมูลสำคัญทางการเงิน 2545 2544 2543 2542 2541
ผลประกอบการ
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 3,369 3,112 3,234 3,459 4,820
ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม 1,267 1,345 1,579 2,134 5,002
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 2,102 1,767 1,656 1,325 -181
หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 518 171 59 4,993 1,516
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 1,761 1,457 1,148 816 -759
ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมอื่นๆ 903 764 642 982 795
กำไร (ขาดทุน) จากการซื้อขายหลักทรัพย์ 625 201 359 -2 1,066
ค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 7 4 -25 -244 -506
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ 225 487 172 81 18
ค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน 1,964 2,038 1,682 1,294 1,264
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 811 752 676 418 322
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่นๆ 1,153 1,287 1,006 876 941
กำไรก่อนภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 1,382 1,015 1,063 -4,146 -3,720
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,154 839 885 -4,474 3,850

ฐานะการเงิน
สินทรัพย์รวม 49,212 47,059 40,802 43,727 41,844
เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ 40,637 32,689 27,598 27,058 33,300
รายได้ดอกเบี้ยค้างรับ 112 202 206 259 74
รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ - สุทธิ 6,362 9,361 8,302 12,446 6,153
เงินกู้ยืมจากประชาชน 30,944 35,458 31,219 30,896 30,530
เงินกู้ยืมจากธนาคาร 3,264 2,695 2,215 1,623 3,565
เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ 53 57 89 716 2,989
ส่วนของผู้ถือหุ้น 7,812 6,689 5,546 4,403 2,975



ข้อมูลสำคัญทางการเงิน 2545 2544 2543 2542 2541
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้* 3,846 2,507 3,831 5,004 14,144
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ* 4,232 2,151 2,108 1,071 2,902

ข้อมูลอื่นๆ ที่มิได้แสดงอยู่ในงบการเงิน
มูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์จากธุรกิจนายหน้า 160,772 90,405 65,782 138,223 71,461
สินทรัพย์ภายใต้การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 31,743 36,613 42,469 39,443 29,960

เทียบรายหุ้นที่มูลค่าปรับลด
กำไร/ขาดทุน สุทธิ 1.60 1.17 1.26 -6.39 -38.43
มูลค่าหุ้นตามบัญชี 10.25 9.53 7.92 6.29 29.69
ราคาตลาด หุ้นสามัญ สูงสุด 30.00 22.75 31.75 61.50 46.50
ต่ำสุด 15.50 9.80 10.25 9.70 3.50
ณ สิ้นปี 22.40 16.20 15.50 30.50 14.25
หุ้นบุริมสิทธิ สูงสุด 28.00 22.00 28.75 50.00 -
ต่ำสุด 15.30 9.80 10.25 20.50 -
ณ สิ้นปี 22.60 15.60 14.75 28.00 -
ผลตอบแทน
กำไร (ขาดทุน) ก่อนหักหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 1,672 1,010 945 519 -2,334
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,154 839 885 -4,474 3,850
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย 2.35% 1.90% 2.10% -10.50% -8.1

อัตราส่วนทุน
เงินกองทุน ขั้นที่ 1 7,193 5,911 4,962 3,940 2,873
ขั้นที่ 2 848 492 885 577 0
เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) 19.45% 17% 16% 14% 8%
เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ 254.32 273% 178% 71% 262%

จำนวนพนักงาน (คน)** 1,292 1,198 1,179 1,107 632


2545 2544 2543
อัตรากำไรขั้นต้น 59.72% 50.30% 45.26%
อัตรากำไรสุทธิ 23.57% 20.57% 20.08%
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น 15.92% 13.71% 17.80%
อัตราดอกเบี้ยรับ 8.38% 8.81% 9.73%
อัตราดอกเบี้ยจ่าย 3.50% 3.75% 4.71%
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 4.88% 5.06% 5.00%
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน* 17.42% 8.16% 12.31%

2545 2544 2543
อัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ 4.37% 4.02% 3.92%
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 2.40% 1.91% 2.09%
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ 0.10เท่า 0.09 เท่า 0.10 เท่า

2545 2544 2543
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 5.30 เท่า 6.04 เท่า 6.36 เท่า
อัตราส่วนเงินให้กู้ต่อเงินกู้ยืม 120.76% 85.55% 83.26%
อัตราส่วนเงินให้กู้ต่อเงินฝาก 133.70% 92.19% 89.41%
อัตราส่วนเงินฝากต่อหนี้สินรวม 74.74% 87.83% 88.55%
อัตราการจ่ายเงินปันผล 0% 0.00% 0.00%

2545 2544 2543
อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม 10.41% 5.58% 6.07%
อัตราส่วนหนี้สูญต่อสินเชื่อรวม -1.13% 0.06% 1.06%
อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ต่อ
สินเชื่อรวม 4.13% 5.22% 9.94%
อัตราส่วนดอกเบี้ยค้างรับต่อสินเชื่อรวม 0.27% 0.62% 0.75%


2545 2544 2543
ข้อมูลต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 10.25 บาท 9.53 บาท 7.92 บาท
กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.60บาท 1.17 บาท 1.26 บาท
เงินปันผลต่อหุ้น 0 บาท 0 บาท 0 บาท
อัตราการเติบโต
สินทรัพย์รวม 4.94% 15.33% -6.69%
หนี้สินรวม 2.98% 14.51% -10.34%
รายได้จากการขายหรือบริการ 20.10% -3.73% -2.45%
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน -3.65% 21.18% 29.98%
กำไรสุทธิ 37.62% -5.27% n.m.


บริษัทและบริษัทย่อย ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพของเงินให้กู้ยืมในทุกส่วนของธุรกิจ และได้พยายามดำเนินการเร่งรัดการฟื้นฟูหนี้สิน โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากคำนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ. 2545 ลดลงร้อยละ 6.8 อยู่ในระดับประมาณ 1,764 ล้านบาท สัดส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อลูกหนี้ในปีพ.ศ. 2545 คิดเป็นร้อยละ 4.6 ลดลงจากร้อยละ 5.7 การลดลงของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบริษัทและบริษัทย่อยเกิดจากการลดลงของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเคหะในปีพ.ศ. 2545 กล่าวคือสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ปรับปรุงหนี้เป็นจำนวน 3,746 ล้านบาทและสินเชื่อเคหะได้ปรับปรุงหนี้ไปเป็นจำนวน 567 ล้านบาท

ปี 2545 ร้อยละของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวม
สินเชื่อธุรกิจ 53.8
สินเชื่อเพื่อการเคหะ 22.4
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 5.1
สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ 3.7
สินเชื่ออื่น ๆ 15.1

เงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ คิดเป็นจำนวน 3,856 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 2,792 ล้านบาทและเงินสำรองทั่วไปตามนโยบายการตั้งสำรองของบริษัท จำนวน 1,064 ล้านบาท รวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 82.1 ของเงินสำรองรวมของบริษัทและบริษัทย่อยจำนวน 4,695 ล้านบาท นโยบายการตั้งสำรองของบริษัทและบริษัทย่อยเป็นไปอย่างรอบคอบโดยเงินสำรองจะถูกตัดออกไปต่อเมื่อมีการชำระเงินจริงเท่านั้น ด้วยนโยบายดังกล่าวเงินสำรองของกลุ่มทิสโก้จึงสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยถึงร้อยละ 173

ความเห็น nfs
เรายังแนะนํ า ซื้อ" ปรับเพิ่มราคาเปาหมายป 04 เพิ่มจาก 38.50 บาทเปน 50.50 บาท (อิง P/E 16.5 เทา)
คาดปนี้ถึงเวลาจายปนผลเปนครั้งแรกหลังวิกฤต 0.66 บาท/หุน สํ าหรับผูถือหุนสามัญ และ 1.66 บาท
สํ าหรับผูถือหุนบุริมสิทธิ์ (TISCO-P) นอกจากนั้ นใหจับตาดู "บง. กรุงเทพธนาธร (BFIT)" เพราะอาจ
เปนเปาหมายที่จะถูก TISCO เทคโอเวอรไดในอนาคต (เพื่อเพิ่มขนาดของสินทรัพยใหใหญขึ้นไปอีก)
เนื่องจากมีผูถือหุนคาบเกี่ยวกัน (CDIB ถือ TISCO อยู 16.8% และถือ BFIT อยู 49.50%)
แม่นยำ
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คราวนี้ลองเทียบกับ nfs ดูนะครับ

บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน)

Website: www.nfs.co.th
ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนจำนวน 14,511,880,340 บาท และมีทุนที่เรียกชำระแล้วจำนวน 13,331,540,030 บาท

บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในชื่อ บริษัท ลีกวงมิ้ง จำกัด ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2502 โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2517 และ เข้าเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมายเลข 16 ในปี 2522 และเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 1 เมษายน 2525

ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งบริษัทฯ สามารถเป็นผู้นำในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ได้ ซึ่งนอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจในกรุงเทพมหานครแล้ว บริษัทฯ ยังได้มุ่งขยายธุรกิจสินเชื่อไปยังภูมิภาคในจังหวัดที่มีศักยภาพทางธุรกิจ โดยเปิดสำนักอำนวยสินเชื่อแล้วรวมทั้งสิ้น 13 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี นครสวรรค์ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และ สระบุรี โดยมีจำนวนพนักงานรวมทั้งสิ้น 842 คน

ส่วนหนี้สินส่วนใหญ่ของบริษัท คือ เงินกู้ยืมและเงินรับฝาก เท่ากับ 65,159 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75.64 ของ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับสินทรัพย์จัดชั้นของบริษัทตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวน 51,253 ล้านบาท ซึ่งจะต้องตั้งสำรองค่าเผื่อตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป็นจำนวน 432.12 ล้านบาท แต่บริษัทได้ตั้งสำรองค่าเผื่อไว้เป็นจำนวน 1,446.12 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 3.3 เท่าของเกณฑ์ที่ทางการกำหนดและหลังจากการ กันสำรองดังกล่าวแล้วบริษัทยังสามารถดำรง BIS Ratio ได้ในอัตราร้อยละ 13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 8 ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยมาก




บริษัทในฐานะของบริษัทแม่ (Holding Company) มีเป้าหมายที่บริษัทในกลุ่มร่วมกันให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร (Fully Integrated Financial Services) ซึ่งในขณะนี้บริษัทในกลุ่มได้ให้บริการทางการเงิน ดังนี้
บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ให้บริการ เช่าซื้อ ลีสซิ่ง การรับฝากเงิน ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) ให้บริการสินเชื่อและให้กู้ยืมเงิน รับฝากเงิน การให้บริการธนาคารพาณิชย์อื่นๆ
บริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด ให้บริการประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยรถยนต์ และ ประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บริษัท ธนชาติซูริคประกันชีวิต จำกัด ให้บริการประกันชีวิตในรูปแบบต่างๆ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาติ จำกัด ให้บริการจัดการกองทุนรวม จัดการกองทุนส่วนบุคคล จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด และบริษัทบริหารสินทรัพย์ แม๊กซ์ จำกัด ประกอบธุรกิจรับซื้อและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ


สำหรับปีสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2545 31 ธันวาคม 2544 31 ธันวาคม 2543
สินทรัพย์รวม 86,143 70,166 66,600
เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ของธุรกิจเงินทุน 50,719 33,489 38,653
BIS Ratio 13.29% 25.76% 23.20%
NPL 0.68% 0.21%* 23.96%
Provision 334.65% 345.90% 100.00%
หมายเหตุ * มิถุนายน 2544 ได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไปไว้ที่ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด


สำหรับคู่แข่งขันในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ของธนชาติสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. กลุ่มสถาบันการเงินในประเทศ ได้แก่ บริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) , บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรมจำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทในเครือของธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทเงินทุนเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
2. กลุ่มบริษัทจากต่างประเทศ มีความได้เปรียบในด้านเงินทุน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้แก่ บริษัทจีอีแคปปิตอล ออโต้ลีส จำกัด และบริษัทสแตนดาร์ดชาร์เตอร์(ประเทศไทย) จำกัด
3. กลุ่มบริษัทให้เช่าซื้อที่อยู่ในกลุ่มของบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ มีความได้เปรียบทางด้านความสัมพันธ์กับบริษัทแม่ ทำให้มียอดการทำเช่าซื้อที่แน่นอนกว่า อย่างไรก็ตามการทำตลาดค่อนข้างถูกจำกัดอยู่แต่ละยี่ห้อนั้นๆ ได้แก่ บริษัทโตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เมอร์ซีเดสเบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด ที่เน้นการให้เช่าซื้อในกลุ่มรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด บริษัท ไทยออโต้เซลล์ จำกัด ที่เน้นการให้เช่าซื้อในกลุ่มรถยนต์ยี่ห้อ อีซูซุ บริษัทฮอนด้า ลีสซิ่ง จำกัด และบริษัท บีเอ็มดับเบิ้ลยู ลีสซิ่ง จำกัด ได้เริ่มทำการตลาดรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้าและบีเอ็มดับเบิ้ลยู ตามลำดับ

ถ้ากล่าวถึงสภาพการแข่งขันที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการแข่งขันการให้บริการที่รวดเร็ว สำหรับการแข่งขันอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อเกิดขึ้นในยี่ห้อรถยนต์กลุ่มที่ตลาดนิยม เช่น ฮอนด้า โตโยต้า แต่อย่างไรก็ดี บริษัทที่มีต้นทุนทางด้านการเงินสูงจะเลี่ยงการแข่งขันกับบริษัทที่มีต้นทุนต่ำ โดยเจาะกลุ่มตลาดต่างจังหวัดหรือหันไปให้เช่าซื้อรถยนต์มือสอง และรถยนต์บางประเภทที่มีการแข่งขันน้อย เช่น รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบรรทุก 6 ล้อ เป็นต้น

สามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ที่ครบวงจร และเป็นบริษัทชั้นนำในประเทศได้ด้วยจุดแข็งดังนี้
1. การมีสำนักงานในกรุงเทพฯและสำนักอำนวยสินเชื่อในภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี อยุธยา นครศรีธรรมราช สระบุรี และนครสวรรค์ ทำให้บริษัทมีเครือข่ายสำนักงานอำนวยสินเชื่อที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าคู่แข่งรายอื่นและข้อได้เปรียบดังกล่าวสร้างความพร้อมให้บริษัทสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2. การมีเจ้าหน้าที่การตลาดที่มีประสบการณ์จำนวนมาก สามารถให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็ว
3. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดกับดีลเลอร์และลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
4. มีข้อมูลทางการตลาด ซึ่งรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวของตลาดรถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ ข้อมูลอุตสาหกรรม เช่าซื้อ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นต้น โดยค้นหาและเก็บรวบรวมจากศูนย์วิจัยและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
5. การพัฒนาฐานข้อมูลลูกค้า โดยการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล (MIS) ของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถวิเคาระห์และประเมินคุณสมบัติของลูกค้าจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งส่งผลบวกให้ในหลายๆ ด้าน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

กลยุทธ์การแข่งขัน
บริษัทดำเนินกลยุทธ์การแข่งขันในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ ดังนี้
1.ด้านราคา บริษัทมีนโยบายกำหนดราคาให้สามารถแข่งขันในตลาดได้โดยไม่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่เป็นอัตราเดียวกับคู่แข่งขันในตลาดรถยนต์แต่ละประเภท นอกจากนี้บริษัทอาจจะใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในกรณีมีการส่งเสริมการขายร่วมกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
2.ด้านบริการ จะให้บริการในการอนุมัติสินเชื่อด้วยความรวดเร็วนับตั้งแต่การออกพบลูกค้า การตรวจสอบเครดิต การแจ้งผลการพิจารณาให้ลูกค้าทราบได้ภายในระยะเวลา 1 วัน หลังจากได้รับข้อมูลประกอบพิจารณาสินเชื่อครบถ้วนนอกจากนั้นการออกเช็คให้แก่ดีลเลอร์จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ดีลเลอร์ส่งลูกค้าให้แก่บริษัท
3.ด้านการส่งเสริมการขาย บริษัทจะจัด Campaign ร่วมกับตัวแทนจำหน่ายเพื่อจัดงานมอเตอร์โชว์ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป และตามดีลเลอร์ต่างๆ แล้วแต่ความเหมาะสม นอกจากนั้นบริษัทยังมีการมอบของขวัญ ของที่ระลึกในช่วงเทศกาล เช่น โครงการ NEW YEAR GIFT ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
4.ด้านการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า บริษัทได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการใช้บริการของธนชาติ เช่น โครงการเช่าซื้อรถคันที่ 2 สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่มีประวัติการผ่อนชำระดี และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจ เช่น โครงการบัตรสิทธิประโยชน์ เป็นต้น

การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย
สำหรับการจำหน่ายและช่องทางการจำหน่ายในธุรกิจเช่าซื้อ บริษัทใช้บุคคลากรทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคประมาณ 150 คน เจาะกลุ่มตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ทุกยี่ห้อซึ่งเป็นจุดที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรง นอกจากช่องทางดังกล่าวแล้วยังใช้แนวทางการตลาดอื่น ดังนี้
1. จัดเช่าซื้อรถยนต์สวัสดิการให้กับบริษัทขนาดใหญ่ โดยจัดโครงการที่ให้เงื่อนไขเป็นพิเศษ โดยมุ่งเน้นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความต้องการ และเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงสูง
2. จัดเช่าซื้อรถยนต์แก่หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีความต้องการรถยนต์จำนวนมาก
3. จัดเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารของบริษัททั่วๆ ไป
4. จัดเช่าซื้อรถยนต์ให้ธุรกิจโรงแรมสำหรับเป็นรถยนต์ใช้รับรองลูกค้าของโรงแรม
5. จัดเช่าซื้อรถยนต์ผ่านทีมงาน FPA (Financial Planning Advisor) ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มธนชาติ
6. เพิ่มช่องทางด้านอินเตอร์เน็ตในการให้บริการเช่าซื้อ เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วในการอนุมัติ








รายชื่อผู้ถือหุ้น/กลุ่มผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2545
จำนวนหุ้น สัดส่วน%
1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 172,783,370 12.96
2. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 65,471,393 4.91
3. CLEARSTREAM NOMINEES LTD 60,368,538 4.53
4. CHASE NOMINEES LIMITED1 57,658,400 4.32
5. THAILAND SECURITIES DEPOSITORY COMPANY LIMITED FOR DEPOSITORS 52,607,988 3.95
6. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก 52,489,365 3.94
7. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE.LTD. 51,901,630 3.89
8. MORGAN STANLEY & CO INTERNATIONAL LIMITED 45,999,600 3.45
9. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 26,560,500 1.99
10. ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 24,790,555 1.86
รวม 610,631,339 45.80
จำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้ว 1,333,154,003 100.00








รายชื่อผู้ถือหุ้น/กลุ่มผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2545
จำนวนหุ้น สัดส่วน%
11. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 172,783,370 12.96
12. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 65,471,393 4.91
13. CLEARSTREAM NOMINEES LTD 60,368,538 4.53
14. CHASE NOMINEES LIMITED1 57,658,400 4.32
15. THAILAND SECURITIES DEPOSITORY COMPANY LIMITED FOR DEPOSITORS 52,607,988 3.95
16. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก 52,489,365 3.94
17. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE.LTD. 51,901,630 3.89
18. MORGAN STANLEY & CO INTERNATIONAL LIMITED 45,999,600 3.45
19. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 26,560,500 1.99
20. ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 24,790,555 1.86
รวม 610,631,339 45.80
จำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้ว 1,333,154,003 100.00
แม่นยำ
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

สำหรับผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. eps growth ทั้งคู่ประมาณ 50% แต่ pe แค่ 9-10
2. q1 47 จะมีการประกาศแผนของธปท.เรื่อง เปลี่ยน บง เป็น แบงค์
โดย nfs ประกาศแล้วว่าจะเป็น universal bank tisco ก็เริ่มปรับบางส่วนแล้วแต่ยังไม่ประกาศ
ผมคิดว่าจะช่วยในแง่การขยายสินเชื้อ และ การลดค่าใช้จ่ายบางส่วน
3. ข้อเสียก็คือทั้งคู่มีกองทุนถือกันเยอะแยะไปหมด ถ้าตาม lynch บอกว่าแบบนี้จะไม่ค่อยดี

ไม่ทราบว่าพี่ๆ ในนี้คิดอย่างไรครับ

ส่วน project price นะครับ

NFS : 25bath(nomura), 28(globlex)
TISCO : 50 (NFS)
tp146
Verified User
โพสต์: 9
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คุณแม่นยำ ผมอยากรู้ว่าการที่เปลี่ยนเป็น universal bank มันจะสู้ SCB KBANK ได้เหรอครับ ?? แล้ว NFS ก็มี bank อยู่แล้วนี่ครับ มันจะลดต้นทุนทางการเงินยังไงมั่งครับ
----------------------------------------
"Life is full of surprises, you cannot trust the time, Life is a way of achievement, and we are trapped in a life game"
แม่นยำ
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสนใจ TISCO บ้างมั๊ยเนี่ย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ความเห็นของนักวิเคราะห์ครับที่มีต่อการรวมbank

ความเห็นของธนชาติ
โดยประโยชนที่ คาดวาจะไดรับจากการเปนแบงกคือ "คาใชจายลด
(ผานการมี Payment Settlement เปนของตัวเอง เชนรับจายเช็ค และมีตู ATM เปนตน) และชองทางการ
หารายไดเพิ่ม (ผ่านการขยายฐานลูกค้าและทําธุรกิจใหมๆ ไมวาจะเป็น F/X, Trade Finance หรือ Credit Card เปนตน)"

ความเห็นของgloblex
ปจจุบัน NFS และ NBANK ใชเงินกองทุนเพื่อขยายฐานสินเชื่อบนฐานเดียวกัน โดย เงินกองทุนตอสินทรัพยเสี่ยง
ของ NFS อยูที่รอยละ 10 ทําให NFS ติดข้อจํากัดในการขยายสินเชื่ออยูบ้าง ในขณะที่ NBANK มีสูงถึงร้อยละ 30.73
การควบรวมกิจการจะทําใหฐานเงินกองทุนใหญขึ้นและทําใหปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นได โดยจะทําใหอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย
เสี่ยงอยูที่ร้อยละ 15 ทําใหลดภาระในการเพิ่มทุนในอนาคตได โดยผูบริหารย้ําวาอาจไมมีความ
จําเปนตองเพิ่มทุนอีกใน 3 ปขางหนา นอกจากนี้กิจการยังมีแผนการลดจํานวนสินทรัพยเสี่ยงในป 2547 ผ่านSecuritization ดวย
ล็อคหัวข้อ