ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Meeja
Verified User
โพสต์: 333
ผู้ติดตาม: 0

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีคำถามมาแล้วตอบไม่ได้อะครับ
พี่ๆ ช่วยตอบหน่อยล่ะกันครับ

ถ้าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เปิดให้พนักงานจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด
ต้องเสียภาษีหรือค่าใช้จ่ายอะไรไหมครับ

ผมว่าไม่เสียนะ...นอกจากเสียค่าซื้อหุ้น
-
ผู้ติดตาม: 0

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เสียครับ ลองอ่านที่ rd.go.th ดูนะครับ ถ้าจำไม่ผิดให้คิดภาษีส่วนต่างระหว่างราคาที่ได้กับราคาตลาด ได้หุ้นแล้วถือไปขายต่ำกว่าราคาตลาดหรือขาดทุน หรือกำไรมากกว่า ทาง RD ก็ไม่ยุง ทางฝ่ายการเงินน่าจะแนะนำได้

เพื่อนผมซื้อ RMF เต็มพิกัดเพื่อลดภาระภาษี

และระวังถ้าไม่เสียภาษี โดนภาษีย้อนหลัง รวมทั้งเป็นความผิดของบริษัทด้วย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Meeja
Verified User
โพสต์: 333
ผู้ติดตาม: 0

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

แหงะ หาไม่เจอน่ะครับ

...ไม่มีใครรู้เลยจริงๆ หรือ...
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 919

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สงกาสัย.....คุณ Meeja จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนปูนใหญ่เหรอครับ
ไม่ยักกะรู้ว่าปูนใหญ่จะเพิ่มทุน...... :lol:

(ผมมั่วไปนะครับ)
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
_THiNK_
ผู้ติดตาม: 0

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ของผมไม่เสียครับ
-
ผู้ติดตาม: 0

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ลองดูนะครับ

มีคนเล่าว่าเมื่อประมาณปีกว่ามาแล้ว บางบริษัทโดน RD ตรวจสอบ ที่แย่คือพนักงานโดนภาษีย้อนหลังและค่าปรับ เลวร้ายที่สุดก็คือราคาหุ้นที่ขายก็แทบไม่กำไร


http://www.rd.go.th/cgi-bin/intra_searc ... e=2;long=1

เลขที่หนังสือ : กค 0706/4934
วันที่ : 28 พฤษภาคม 2546
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายหุ้นให้แก่พนักงานในราคาพิเศษ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40 (4) (ช), มาตรา 41 วรรคสอง
ข้อหารือ : สำนักงานฯ แจ้งว่า บริษัทฯ เป็นลูกค้าของสำนักงานฯ ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศ
ฝรั่งเศส ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ยิบซัม และวัสดุทำหลังคา บริษัทฯ
ได้จัดให้มีโครงการ ซึ่งเป็นโครงการจัดสรรหุ้นให้แก่พนักงาน โดยเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัทฯ
บริษัทในเครือ และบริษัทสาขาทั่วโลกรวมทั้งพนักงานของบริษัทในประเทศไทยเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น ดังนี้
1. โครงการเสนอขายหุ้น (Stock Purchase Plan) พนักงานมีสิทธิจองหุ้นได้ไม่เกิน
จำนวน 110 หุ้น โดยราคาจอง (Subscription Price) จะคำนวณจากราคาเฉลี่ยของราคาหุ้นใน
ช่วง 20 วันของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศฝรั่งเศส (Euronext Paris SA) ก่อนหน้าที่จะประกาศ
ขาย โดยหักส่วนลดร้อยละ 20 ของราคาดังกล่าว สำหรับการจองหุ้นที่ 1 ถึง 10 พนักงานขายจะจ่าย
เงินในอัตราร้อยละ 40 ของราคาจอง (หลังหักส่วนลดร้อยละ 20) โดยบริษัทฯ จ่ายเงินให้ในอัตรา
ร้อยละ 60 ของราคาจอง ส่วนหุ้นที่ 11 ถึง 110 จะต้องจ่ายเงินเต็มจำนวน (หลังหักส่วนลดร้อยละ
20) โดยมีเงื่อนไขว่าพนักงานไม่สามารถจำหน่ายหุ้นดังกล่าวจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่
วันที่ได้รับมอบหุ้นดังกล่าว สำนักงานฯ จึงขอทราบว่า
1.1 วันที่พนักงานจองหุ้น ผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับจากส่วนต่างระหว่างมูลค่าตาม
ราคาตลาดหลักทรัพย์ในประเทศฝรั่งเศส และราคาจองหุ้น จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน
หรือไม่ และส่วนลด เงินสมทบ ที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
หรือไม่
1.2 กรณีพนักงานขายหุ้นดังกล่าว พนักงานจะถือราคาใดเป็นต้นทุนของหุ้นและผลกำไร
จากการขายหุ้นดังกล่าว จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่
1.3 หากพนักงานโอนเงินได้จากการขายหุ้นทั้งหมดเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษี
เดียวกัน จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่
2. โครงการให้สิทธิในการซื้อหุ้น (Stock Option Plan) พนักงานที่จองหุ้นตามโครงการ
แรก จะได้สิทธิ 1 สิทธิสำหรับหุ้นแต่ละหุ้น ส่วนมูลค่าหุ้นจะคิดคำนวณจากราคาเฉลี่ยของราคาหุ้นที่
ตลาดหลักทรัพย์ประเทศฝรั่งเศสในช่วง 20 วันทำการ พนักงานจะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นได้ในวันแรกของปี
ที่ห้านับจากวันจัดสรร และจะขายหุ้นดังกล่าวได้ภายในระยะเวลา 10 ปี นับจากวันจัดสรร ซึ่งพนักงาน
มีสิทธิในการซื้อหุ้นดังกล่าวในอนาคตในราคาคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาด ทั้งนี้ พนักงานจะ
ไม่ได้รับหุ้น หากพนักงานลาออกหรือพ้นสภาพการจ้างงาน สำนักงานฯ จึงขอทราบว่า
2.1 สิทธิดังกล่าวยังมิได้ก่อให้เกิดเงินได้หรือผลประโยชน์ใด ๆ จึงไม่ต้องนำสิทธินั้น ๆ
มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ใช่หรือไม่
2.2 หากพนักงานใช้สิทธิซื้อหุ้น พนักงานจะต้องนำฐานเงินได้โดยถือส่วนต่างระหว่าง
มูลค่าหุ้นตามราคาตลาดของประเทศฝรั่งเศส ณ วันใช้สิทธิกับราคาใช้สิทธิในการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่
2.3 หากพนักงานขายหุ้นดังกล่าวจะใช้ฐานมูลค่าหุ้นใดเพื่อเสียภาษี
2.4 หากพนักงานขายหุ้นและโอนเงินจากการขายหุ้นทั้งหมดเข้ามาในประเทศไทย ใน
ปีภาษีเดียวกัน จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีหรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. กรณีบริษัทฯ นำหุ้นขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดให้กับพนักงานของบริษัทเอง
กรมสรรพากรได้มีแนวทางวินิจฉัย ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 ฯ
ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 อยู่แล้ว ขอให้สำนักงานฯ ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
2. กรณีพนักงานได้รับสิทธิในการซื้อหุ้น (Stock Option Plan) โดยระบุเฉพาะตัวไม่
สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ ซึ่งพนักงานมีสิทธิในการซื้อหุ้นดังกล่าวในอนาคต จึงยังมิได้รับ
เงินได้พึงประเมินในวันที่ได้รับใบสิทธิในการซื้อหุ้น สำหรับภาระภาษีในกรณีที่พนักงานได้ซื้อหุ้นตามสิทธิใน
การซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 ฯ ลงวันที่ 7
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 จึงขอให้สำนักงานฯ ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวนั้น
3. กรณีผู้อยู่ในประเทศไทย ได้ขายหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศ กรณีเข้าลักษณะเป็นการขาย
ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ หากมีกำไรจากการขายหุ้นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช)
แห่งประมวลรัษฎากร และนำเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกัน จะต้องนำเงินได้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41
วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 66/32447
ภาพประจำตัวสมาชิก
Meeja
Verified User
โพสต์: 333
ผู้ติดตาม: 0

ภาษี-จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณ คุณ - (Guest) มากๆ ครับ

ตอนนี้หาข้อประมวลกฎหมายจริงๆ เจอแล้ว
Post ไว้เผื่อเป็นความรู้ล่ะกันครับ

http://www.rd.go.th/publish/2511.0.html

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ที่ 28/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเสียภาษีในกรณีได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ


--------------------------------------------------------------------------------


ด้วยกรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรวินิจฉัยว่า กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจก หรือขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ให้กับพนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ จำนวนใด

คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและได้มีคำวินิจฉัยในการประชุมครั้งที่ 33/2538 วันที่ 10 มกราคม 2538 ว่า กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน หรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าวตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีย่อมถือได้ว่าบุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมิน ให้ถือตามมูลค่าหุ้น ดังนี้

1. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering)ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป

(2) หากหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น

2. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป

(2) หากหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น

กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจะเสนอหุ้นให้พนักงาน ลูกจ้างกรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าว และประสงค์ที่จะทำความตกลงเกี่ยวกับการคำนวณมูลค่าหุ้นเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีของบุคคลดังกล่าว ให้ยื่นคำขอต่อกรมสรรพากรเพื่อเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป

สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

อรัญ ธรรมโน
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร

แปลกดี ที Capital Gain ไม่เสียภาษี
แล้วไม่ให้ตลาดมีแต่นักเกร็งได้อย่างไร??
ล็อคหัวข้อ