หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตอนนี้ไปเจอหุ้นคู่แฝด คู่หนึ่ง ทำธุรกิจปิโตรเคมี มีหุ้นแม่เป็นเสี่ย ปอ ทั้งคู่

ตัวหนึ่งขายปิโตรเคมี แบบ Hi tech

อีกตัวหนึ่ง Low tech

ที่แปลกก็คือ

ตัว Hi tech กำไร ก็น้อยกว่า  PE ก็สูงกว่า ปันผลเป็นเปอร์เซ้นต์ก็น้อยกว่า Market Cap ต่ำกว่า Hi tech เกือบ ประมาณ 1 เท่า แถมต้นทุนสินค้าขายก็ผันผวนมาก เพราะต้นทุนสินค้า ใช้วัตถุดิบที่อิงกับน้ำมัน แต่เนื่องจากราคาของผลิตภัณฑ์ช่วงนี้มีราคาสูงตามราคาตลาด Spread ก็ดีขึ้น ทำให้กำไรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แถมมีกำลังการผลิตเพิ่มเติมเข้ามาในไตรมาส 2 เป็นต้นไป

ส่วนตัว Low tech กำไรก็มากกว่าตัว Hi tech เกือบ 5 เท่ากว่า PE ต่ำกว่า ปันผลก็ดีกว่า ฐานะการเงินก็เข้มแข็ง แถมธูรกิจใหญ่ขึ้นเพราะมีการควบรวมกิจการกันมาจากผู้ถือหุ้นแม่ระดับ Big ของประเทศ Mar Cap ก็ใหญ่กว่า แต่ราคาต่างกันประมาณ 2 เท่ากว่า ต้นทุนวัตถุดิบก็ผันผวนน้อยกว่า เพราะใช้วัตถุดิบอิงกับก๊าซและมีสัญญาซื้อผูกพันธ์กับแม่อีกต่างหาก จึงทำให้ราคาวัตถุดิบผันผวนน้อยกว่า แถมราคาของผลิตภัณฑ์ช่วงนี้ก็มีราคาสูง Spread ดีขึ้นต่อเนื่องโดยตลอด กำไรยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาสแรก กำไรเพิ่มขึ้นมาก และคาดว่าไตรมาส 3 ก็ยังมีกำไรต่อเนื่อง และตอนนี้อาจแจ๊คพ้อต ได้ปันผลระหว่างกาล ต้องรอการประชุม แต่ตัวนี้มีข้อเสียคืออยู่ระหว่างมีการเพิ่มทุน เพราะบริษัทต้องการขยายการผลิต ซื้อบริษัทจากบริษัทแม่ เพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตและทำธุรกิจครบวงจร แถมเตรียมขยายกำลังการผลิตเพิ่มเพื่อทำให้เกิด Economy of Scale ในระดับสากลเพื่อสร้างความพร้อมในช่วงปิโตรเคมีขาลงซึ่งคาดว่าน่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปีต่อจากนี้ไป แถมพยายามเพิ่มมูลค่าเพิ่มโดยขยายผลิตภัณฑ์ไปยัง Down Stream ให้มากขึ้นในอนาคต

ตัว Hi Tech ราคาหุ้นต่ำกว่าก็ขึ้นเอาขึ้นเอา

แต่ Low Tech ราคาหุ้นสูงกว่า แต่ต่ำเตี้ยลงทุกวัน สวนกับกำไรที่เกิดขึ้น จนราคาขณะนี้ต่ำกว่าราคาที่จะเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมไปแล้ว

นายตลาด ทำไมตีราคาหุ้นในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน แตกต่างกันมากขนาดนี้ ใครมีเหตุผลสนับสนุนบ้างครับ  :D
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เพื่อให้เห็นภาพคร่าว ๆ ของธุรกิจ 2 ตัวนี้นะครับ ผมไปเจอจาก Web pantip มา เห็นว่าอ่านแล้วเห็นภาพกว้างอย่างชัดเจนมาก เอามา Post ให้ดูครับ

PTTCH =  NPC + TOC  ผลิตภัณฑ์ นำมาผลิต
พลาสติกคุณภาพต่ำ เช่นถุงยางอนามัย ถุงพลาสติกร้อนเย็น ต้างๆ ฯลฯ ที่ทำมาจาก สาร Olefin

ATC เป็นบริษัทเดี่ยวๆ ALONE ผลิตภัณฑ์นำมาผลิตพลาสติก คุณภาพสูง เช่น
Aromatics
Benzene  แผ่น ซีดี เบาะรถยนต์
Toluene ทำตัวทำละลาย
Xylene  ทำเสื้อผ้า

เอที ซี และ ที โอ ซี เคยขี่คอกันขึ้นมา ห่างพียงไม่เกิน ๕ บาท แต่ ทีโอซีขึ้น เพราะรวมกับเอ็น พี ซี
แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 49 16:36:50

จากคุณ : supanut01  - [ 12 ก.ย. 49 15:56:14 ]
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เมื่อทราบธุรกิจแล้ว เราก็มาดูว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อกำไรของหุ้นดูจาก ราคาของผลิตภัณฑ์ หัก กับต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผมขอนำ ที่ คุณ GS Mobile ช่วยกรุณารวบรวม Trend แนวโน้มของราคาผลิตภัณฑ์ของตลาดของหุ้นทั้ง 2 มาให้ดู

จะเห็นว่าแนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์ และ Spread ของราคา (ราคาผลิตภัณฑ์ ลบ ต้นทุนผลิตภัณฑ์) ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั้ง 2 ตัว

ดูตรงความเห็นที่ 12 - 15 ครับ

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 04784.html
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

กำไรมีแนวโน้มดีขึ้นทั้ง 2 ตัวตามผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ทั้งรายไตรมาส และ ราย 6 เดือน แต่ของ PTTCH ราย 6 เดือนเติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ ATC ไตรมาสแรก Drop ลงเนื่องจากปิดซ่อมโรงงานแล้วมา กระเตื้องขึ้นในไตรมาส 2 แต่ผลงาน 6 เดือนยังต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
                          บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                                                         สอบทาน
                                สิ้นสุดวันที่  30 มิถุนายน      (หน่วย : พันบาท)
                                    ไตรมาสที่ 2          งวด 6 เดือน
             ปี                    2549        2548        2549        2548

  กำไร (ขาดทุน) สุทธิ             1,088,008    930,918    1,436,926    3,628,992
  กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)      1.12        0.96        1.48        3.76

 ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
      ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต


 หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุ
               ประกอบงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

 "ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบ
  การเงินฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน
  ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว"


                              ลงลายมือชื่อ _______________________
                                      ( นายเพิ่มศักดิ์  ชีวาวัฒนานนท์ )
                                          กรรมการผู้จัดการใหญ่
                                        ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ


สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
                    บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

                                                         สอบทาน
                                สิ้นสุดวันที่  30 มิถุนายน      (หน่วย : พันบาท)
                                      ไตรมาสที่ 2         งวด 6 เดือน
             ปี                     2549                      2549

  กำไร (ขาดทุน) สุทธิ              4,163,211                8,320,861
  กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)    3.68                     7.36

  ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
       ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต


 หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุ
               ประกอบงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

 "ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบ
  การเงินฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน
  ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว"

                              ลงลายมือชื่อ _______________________
                                        ( นางสาว ปนัดดา กนกวัฒน์ )
                               ตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส
                                         ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ

หมายเหตุ : บริษัทเกิดจากการควบรวมกิจการของ TOC และ NPC มีผลวันที่ 7 ธันวาคม 2548
ทำให้ไม่มีงบการเงินสำหรับไตรมาส 2 ปี 2548 ในงบการเงินครั้งนี้
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จากข้อมูล Settrade เอาผลการดำเนินงานมาเปรียบเทียบให้เห็นกัน

ATC
Yield 5.65% ปันผลประมาณ 2 บาท
P/E 11.20 เท่า
P/BV 1.87 เท่า
Market Cap 34175 ล้านบาท

ของ PTTCH
Yield 6.54% ปันผลประมาณ 5 บาท
P/E 5.74 เท่า
P/BV 1.55 เท่า
Market Cap 86532 ล้านบาท
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

สำหรับที่ ผลิตภัณฑ์ของ ATC ในขณะนี้พุ่งต่อเนื่อง มีผู้รู้ใน Pantip ไปค้นข้อมูลมา ผมไม่สามารถยืนยันความถูกต้องนี้ได้ แต่เอามาให้ดูประกอบการพิจารณาครับ เป็นข้อมูลที่ได้จากจากคุณ : Wonderful World  ห้องพันธ์ทิพย์สินทร

เหตุผลที่ราคา Px พุ่งไม่หยุด.....

" กฎหมายเกี่ยวกับน้ำมันฉบับใหม่ของอเมริกา
เป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ให้สูงขึ้น  เนื่องจากจะมีการนํา aromatics feedstock (วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอะโรเมติกส์) มาใช้ผสมกับน้ำมันซึ่งจะส่งผลทําให้ปริมาณวัตถุดิบและปริมาณผลผลิตผลิตภัณฑ์ อะโรเมติกส์ปรับตัวลง     และต้องรอจนกว่าจะมีผลผลิต aromatics feedstock จากกําลังการผลิตใหม่เข้ามาเพิ่มเติมประมาณปี 2552-2553 "

จากคุณ : Wonderful World  - [ 12 ก.ย. 49 17:17:16 ]
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="thawattt"]เPTTCH =
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ไปค้นดูกราฟ ของ Pttch ตามกระทู้นี้ตอนท้ายนะครับ

ที่ผมพูดถึงว่า ตั้งแต่ประกาศเพิ่มทุนมา ตัวนี้ราคาต่ำลงเมื่อเทียบกับราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และ Spread ดีขึ้นตลอดครับ

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 63961.html
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ทำไม PTTCH ไม่กู้ธนาคาร หรือออกหุ้นกู้แทนที่จะเพิ่มทุนล่ะครับ D/E ตอนนี้เท่าไหร่แล้วเอ่ย ไม่มีปัญหากับผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง PTT ด้วย

แล้วเรื่อง Mono ethylene glycol เพื่อทดแทนการนำเข้าไปถึงไหนแล้ว (ตัวที่จะมาประกอบกับ  terephthalic  acid <-- ได้มาจาก paraxylene เพื่อผลิต polyester)  

ถ้าเข้าใจไม่ผิดยังสร้างโรงงานไม่เสร็จเลย การทดสอบโรงงานรวมทั้ง pilot run ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายอีกก้อนใหญ่ไม่ใช่หรือครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มาช่วยกัน Post หุ้น Watch List กันนะครับ จะได้เห็นหลายมุมมอง

ที่คุณ Jaychou ถามเรื่อง DE มา ผมเลยเอาโครงสร้างอื่น ๆ มาเปรียบเทียบเพิ่มเติมให้เลยครับ และขอบคุณ คุณba_2l ที่มา Post กราฟ ที่สวยงามมาก ๆ มาประกอบครับ  :lol:

เปรียบเทียบโครงสร้างงบดุลและอัตราการทำกำไร

ATC  
Asset  55989
หนี้สิน 37716
ส่วนของผู้ถือหุ้น 18272
DE 2.06 เท่า
ROA 7.84%
ROE 16.88%
อัตรากำไรสุทธิ 4.38%

PTTCH
Asset  85296
หนี้สิน 29472
ส่วนของผู้ถือหุ้น 54238
DE 0.54 เท่า
ROA 24.57%
ROE  30.68%
อัตรากำไรสุทธิ 23.19 %

จะเห็นได้ว่า ฐานะการเงินของ PTTCH แน่นปึก มี DEค่อนข้างต่ำประมาณ 0.54 เท่า แถมประสิทธิภาพการทำกำไร ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ROA ROE อัตรากำไรสุทธิ สูงกว่า ATC ทุกตัวครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ได้ข้อมูลใน Web พันธ์ทิพย์มาเพิ่มเติม ครับ อ่านแล้วน่าสนใจครับว่า ทำไม ATC ยังพุ่งแรง
เอ ที ซี
ในอเมริกา กฏหมาย การ ใช้สาร อะโรเมติกส์ ผสมในน้ำมัน เป็นสิ่ง ต้องห้าม และเกิดไม่ได้ง่าย เพราะสารเบนซีน เป็นสารก่อมะเร็ง
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนโรงงานในเอมริกา  สูง มาก ๆ ขณะเมืองไทย ต้นทุนในการก่อสร้างโรงงาน ราคาถูกกว่า ทำให้กำไรดีกว่า
และสารอะโรเมติกส์ สามารถ ลงดาวน์ สตรีม ที่มีคุณภาพสูง และ เอ ที ซี ก็ เน้นที่ ราคา จึงเป็ สาเหตุที่ นำ โทลูอีน มาเพิ่มมูลค่าเปลี่ยน เป็นสารที่มีราคาสูงกว่า

คิดดู ในความเก่ง ของ โรงงาน ที่ขาดทุนทางบัญชี ที่ อัตตรา แลกเปลี่ยน เป็นเงิน ๙๐๐๐ ล้าน บาท กลับ กำไร ได้ ด้วยความสามารถ ล้วน ๆ ซึ่งบริษัทอื่น ๆ ในเครือไม่เคยพบกับการขาดทุนมากมาย เช่นนี้

ข้อเสีย ของ เอ ที ซี คือ หุ้น หมุน ในตลาดมาก (บ้านปูเคยนำมาขายในตลาดกว่า ๑๐ เปอร์เซนต์) จึงทำให้ ช่วงของราคาสามารถเปลี่ยน แปลง ได้เป็นอย่าง มากๆ (อาจเป็นข้อดี ก็ได้)

โดยเฉพาะ เอ ที ซี มีโครงการ ที่จะนำสารเบน ซีน มาลง ดาวน์สตรีม ในหลาย ๆ ตัว เช่า ไซโคลเฮกเซน  ซึ่งกำลังผลิตอยู่  และรวมถึง ฟีนอล ที่ ปตทเคม บอว่า ของ ตัว เอง จริง ๆ และ ฟีนอลมีวัตถุดิบหลักคือ เบนซีน ซึ่ง เอ ที ซี ผลิตอยู่ เป็นโครงการของ ปตท. ที่มี เอ ที่ ซี   ๔๐ เปอรเซนต์  และ จะนำมาเพิ่มมูลค่า

โรงงาน อะโรเมติกส์ ของ เอ ที ซี  มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ลำดับ ๓-๔ ของโลก ถ้า โรงใหม่เสร็จ อาจขึ้นลำดับที่ ๑
และกระบวนการผลิตเดิม มีสารคล้ายน้ำมัน อ๊อกเทน สูงกว่าโรงกลัน และมี คอนเดนเสท เหลือ (Condensate Residue) จึงมีอดีต ผู้ บริหาร หัวใสนำไปผลิต เป็น น้ำมัน ในโรงกลั่น ระยองเพียว ฯ  อยู่แล้ว สารที่มีมูลค่า และราคาสูงๆ เช่น พาราไซลีน  จึงไม่ต้อง นำไปผสม ในน้ำมัน ที่มีราคาต่ำ เพราะ ฉะนั้น เป็นไปไม่ได้ ที่เข้า จะเอา สารที่มีราคาสูง ไปผสม ในน้ำมัน ที่ราคาแสนจะต่ำๆๆๆๆ


จากคุณ : supanut01  - [ 13 ก.ย. 49 11:02:20 ]

อ่านแล้วนับวันนับวัน ประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตปิโตรเคมีระดับสากลขึ้นไปทุกที ช่วงนี้แค่เอาชนะในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในอนาคตจะขอขึ้นชิงแชมป์อันดับ 1 บ้างครับ เดี๋ยวเอาข้อมูลของ PTTCH มาดูกันว่าระดับการผลิตเป็นอย่างไรครับ ต่อไปปิโตรเคมีเมืองไทยไม่น้อยหน้าใครในเรื่องระดับการผลิตสากลแล้วครับ ทำให้มี Economy of Scale ที่แข่งขันได้ทั่วโลก น่าดีใจครับ  :P
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ระดับการผลิตของ PTTCH ยังใหญ่ระดับในประเทศ แต่นอกประเทศยังต้องเพิ่มระดับการผลิตขึ้นไปอีกครับ

ด้วยขนาดกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.523 ล้านตัน/ปี บมจ. ปตท. เคมิคอล นับเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์อันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ใน 3 อันดับแรกของผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ได้เปรียบในแง่ของการลดต้นทุนการผลิต และการต่อรองในด้านการตลาด

และเพื่อลดผลกระทบจาก Cycle ปิโตรเคมีขาลง จึงต้องหาวิธีการกระจายความเสี่ยงดังนี้

ปตท. เคมิคอล เป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ครบวงจร โดยมีผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากโอเลฟินส์ที่หลากหลาย เช่น โพลีเอททีลีน (พีอี) เอทีลีนออกไซด์ (อีโอ) และเอทิลีนไกลคอล (อีจี) เป็นต้น การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเช่นนี้ นอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์แล้ว ยังช่วยกระจายความเสี่ยงให้แก่บริษัทอีกด้วย เนื่องจาก วงจรราคาและธุรกิจของผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจะแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ต้นน้ำและผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ

นอกจากนี้ยังต้องสร้างศักยภาพการแข่งขันเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงต้นทุนการแข่งขันดังนี้

บมจ. ปตท. เคมิคอล มีผู้ถือหุ้นหลักคือ ปตท. ซึ่งเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้กับบริษัท นอกจากนั้น ผู้ถือหุ้นอื่น ๆ บางรายยังเป็นผู้มีการทำสัญญาระยะยาวเพื่อรับซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทอีกด้วย จึงสามารถวางกลยุทธ์ในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น

บริษัทยังมี โรงงานผลิตโอเลฟินส์ถึง 2 โรง ซึ่งมีวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน

และยังเป็นเจ้าของระบบสาธารณูปการต่าง ๆ เช่น คลังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ระบบผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ และท่าเทียบเรือ ส่งผลให้สามารถบริหารจัดการ กระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำผลิตภัณฑ์พลอยได้ มาปรับใช้ให้เกิดมูลค่ามากขึ้นอีกด้วย ในระยะยาวจึงช่วยเพิ่มผลผลิต และลดความสูญเสียอันอาจเกิดจากการผลิต และลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของบริษัท

ดีเด่นกันไปคนละอย่าง
ตรงนี้ต้องไปพิสูจน์กันต่อในเรื่อง

การบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำ
การบริหารการผลิตให้ตอบสนองความต้องการ
และวงจรผลิตภัณฑ์ของปิโตรเคมี
การกระจายความเสี่ยงของรายได้เพื่อให้ผลกระทบจากปิโตรเคมีขาลง กระทบให้น้อยที่สุดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
วัวแดง
Verified User
โพสต์: 1429
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

atc ถ้าตอน20ต้นๆ ผมว่าผ่าน แต่ตอนนี้ไม่ใช่สไตล์ผม ถึงแม้ผมจะคิดว่าถึงหลักสี่ก็ตาม :D
ถ้าผมคิดเหมือนคนทั่วๆไป ผลตอบแทนผมก็เหมือนคนทั่วๆไป
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมมีโอกาสไปดูข้อมูลของบริษัท ดาวน์เคมีคอล ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่มากของอเมริกา ซึ่งมีประวัติการดำเนินงานในธุรกิจเคมีภัณฑ์เป็นเวลานาน รวมทั้งทำธุรกิจเกี่ยวกับปิโตรเคมีด้วย โดย Port การลงทุนใหญ่มาก ๆ

ข้อสังเกตที่ผมลองศึกษาธุรกิจนี้ดูตามข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยสรุปได้ดังนี้

1.  ผลงานมีลักษณะเป็น Cyclical อย่างเห็นได้ชัดเจน ปีไหนกำไรมาก ก็สูงมาก ๆ ปีไหนแย่ ก็กำไรลดลงมาก ดูจากกำไรต่อหุ้นดังนี้

ปี 2005  กำไรเพิ่มขึ้นสูงถึง 61%
ช่วงปี 96 - 05  เติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 5%
ปี 89 - 95 เติบโตติดลบ
ปี 2006 คาดการการเติบโตไว้ที่ 10%
และสำหรับปีหน้าคาดการการเติบโตไว้ที่ 10% เช่นกัน

2.  กำไรสุทธิต่อยอดขายอยู่ที่ 9.75%
3.  DE อยู่ที่ 0.69 เท่าค่อนข้างดี เพราะกลยุทธ์ของเขาต้องการลดหนี้ให้มาก
4.  อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 3.13% ต่อปี
5.  PE ประมาณ 9 เท่า
6.  ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 38.14$ เทียบกับกำไร 12 เดือนล่าสุด 4.24$ ต่อหุ้น
7.  กลยุทธ์ธุรกิจที่สำคัญของเขาคือ จะพยายาม Diversify Port โดยเน้นธุรกิจดั้งเดิม และ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยจะเน้นการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ รวมถึงพัฒนาบริการให้ครบวรจร และเน้นผลิตภัณฑ์ Downstream ให้มากขึ้น โดยปัจจุบัน มีประเทศที่เป็นลูกค้าของบริษัทประมาณ 175 ประเทศ และบริษัทมีฐานการผลิตประมาณ 39 แห่ง และบริษัทจะเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น และการขยายธูรกิจให้มากขึ้น นอกจากนี้จะพยายามเน้นการลดภาระการใช้เงินทุน (Less Capital Intensive) และจะพยายามเน้นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นในตลาดโลก และจะเน้นเฉพาะธุรกิจที่เป็นดาวรุ่ง โดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งขันเป็นต้นและเน้นผลิตภัณฑ์ที่ High Margin โดยสามารถสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุน Cost Advantage อีกด้วย

อ่านกลยุทธ์ของเขาแล้วดีมาก ๆ ครับ ก็เอามาฝากครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ใครสนใจ ลองเข้าไปดูรายละเอียดใน Web site ตามนี้ครับ
http://www.dow.com/financial/
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ในที่สุด Pttch ก็ชิงจ่ายปันผลก่อนแล้วครับ เพื่อปลอบนักลงทุนระยะยาวที่ขาดทุนจาก Capital Gain ก่อนหน้านี้ เพราะเหตุเพิ่มทุนครับ จ่ายระหว่างกาลหุ้นละ 2.50 บาทครับ เดือนหน้ารับทรัพย์เลยครับ

PTTCH ปันผล 2.50 บาทครับ XD 26 กันยา รับทรัพย์ 12 ตุลา
ที่ 01 - 795 / 2549
                                      15 กันยายน 2549

เรื่อง      การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล

เรียน      กรรมการและผู้จัดการ
        ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (บริษัท) ขอแจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่
7/2549 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2549
ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ในอัตรา 2.50 บาทต่อหุ้นรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,827.85 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ดังนี้

1.) เงินปันผลจำนวน 1.92 บาทต่อหุ้น หรือรวมเป็นเงิน 2,171.79 ล้านบาท ซึ่งผู้ถือหุ้นประเภทบุคคลธรรมดา
สามารถขอเครดิตภาษีคืนได้คือ
- เงินปันผลจำนวน 0.41 บาทต่อหุ้น เครดิตภาษีได้ในอัตราร้อยละ 30
- เงินปันผลจำนวน 1.51 บาทต่อหุ้น เครดิตภาษีได้ในอัตราร้อยละ 15

2.) เงินปันผลจำนวน 0.58 บาทต่อหุ้น หรือรวมเป็นเงิน 656.06 ล้านบาท ซึ่งผู้ถือหุ้นประเภทบุคคลธรรมดาไม่
สามารถขอเครดิตภาษีได้  เนื่องจากเป็นเงินปันผลที่ได้รับจากการดำเนินงานส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีจาก BOI

โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นในการรับเงินปันผล  ในวันที่
29 กันยายน 2549 เวลา 12.00 น. และกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 12 ตุลาคม 2549
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                    ขอแสดงความนับถือ

                                   (นายอดิเทพ พิศาลบุตร์)
                                    กรรมการผู้จัดการใหญ่
ภาพประจำตัวสมาชิก
khun_parinya
Verified User
โพสต์: 176
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เห็นด้วยกับ jaychou ครับ การออกหุ้นเพิ่มทุน แสดงให้เห็นถึงการไร้ความสามารถของผู้บริหารในการบริหารครับ

เพราะถ้าเขาจิตใจแน่วแน่ คิดว่าจะบริหารให้ได้กำไร เขาก็ควรออกหุ้นกู้แทนครับ เพื่อจะได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ หรือถ้ากลัวไม่มีใครซื้อหุ้นกู้ ก็ควรจะไปกู้จากธนาคารครับ เพราะธนาคารก็ปล่อยกู้ให้อยู่แล้ว

กู้เมืองไทยไม่ได้ ก็กู้เมืองนอกได้ครับ
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

การลงทุนระยะยาว ยังมีความกังวลใน Supply ใหม่ระดับเมกะตัน จาก ตะวันออกกลาง  จะเข้าสู่ตลาดในช่วงสองปีข้างหน้า
    ลองเปรียบเทียบกับ ธุรกิจปิโตรเคมีของปูนซิเมนต์ไทยดูครับ ปัจจุบันกำลังการผลิต PTTCH มากกว่า ROC อยู่ไม่มากเท่าไร  แล้ววิธีการหาแหล่งเงินลงทุนก็แตกต่างกัน  SCC เลือกออกหุ้นกู้ PTTCH เลือกออกหุ้นเพิ่มทุน

 
ชณ/รร/วจ 48 - 261                                          26 ตุลาคม 2548
เรียน      กรรมการและผู้จัดการ
            ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง      โครงการลงทุนสร้างโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2

            บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ขอเรียนว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงกับ
The Dow Chemical Company เพื่อลงทุนสร้างโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 ในประเทศไทย มูลค่าการลงทุน
44,000 ล้านบาท (1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 67 นอกจากนั้น บริษัทฯ
ยังจะขยายการลงทุนอีกเป็นมูลค่า 16,000 ล้านบาท (400ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในโครงการ Downstream
ซึ่งจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 เป็นวัตถุดิบ  ทั้งนี้ คาดว่าโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2
และโครงการ Downstream จะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้ในปี 2553

             โรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 จะมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์รวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านตันต่อปี
(Ethylene 900,000 ตันต่อปี และ Propylene 800,000 ตันต่อปี) และจะมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ
อีกประมาณ 700,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ จะใช้เทคโนโลยีล่าสุดและผ่านการพิสูจน์แล้วเพื่อให้สามารถผลิต Propylene
ได้ปริมาณสูงสุด โดยโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 นี้ จะสามารถผลิต Propylene ได้มากกว่าโรงงานแรกถึงร้อยละ 75
เพื่อรองรับภาวะอุปทานที่ตึงตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากส่วนใหญ่โรงงานผลิตโอเลฟินส์ที่สร้างใหม่จะมาจาก
ตะวันออกกลาง และใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบในการผลิต ทำให้มีกำลังการผลิต Propylene และผลิตภัณฑ์อื่นๆ น้อย

              สำหรับโครงการ Downstream นั้น จะมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นประมาณ 700,000 ตันต่อปี (HDPE 300,000
ตันต่อปี และ PP 400,000 ตันต่อปี) และจะเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (High value added  product)
ให้มากที่สุด เพื่อทำให้มี Margin เพิ่มขึ้น โดยจะใช้ความได้เปรียบจากเครือข่ายการกระจายสินค้าที่มีอยู่ทั้งภายทั้งใน
ประเทศและในภูมิภาคนี้

               สำหรับวัตถุดิบในการผลิตโอเลฟินส์ซึ่งได้แก่ Naphtha, Condensate และ LPG จะหามาจากทั้ง
ภายในประเทศและต่างประเทศ สำหรับเรื่องน้ำที่ใช้ในการผลิตนั้น บริษัทเชื่อว่าจะมีน้ำเพียงพอ

                อนึ่ง ธุรกิจปิโตรเคมีได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2526 และถือว่าเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ โดยในปัจจุบันโรงงานโอเลฟิน
ส์แห่งแรกมีกำลังการผลิต Ethylene 800,000 ตันต่อปี และ Propylene 400,000 ตันต่อปี และมีกำลังการผลิต Polyolefins
รวมทั้งสิ้น 1.1 ล้านตันต่อปี (HDPE, LDPE, LLDPE และ PP) รวมทั้งยังมีโครงการร่วมทุนขนาดใหญ่ภายในประเทศกับ
Dow Chemical  มีกำลังการผลิต SM 300,000 ตันต่อปี LLDPE 300,000 ตันต่อปี และ PS 100,000 ตันต่อปี มีการร่วม
ทุนกับ Mitsui Chemicals มีกำลังการผลิต PTA 1,400,000 ตันต่อปี PET 100,000 ตันต่อปี และ PP Compound 52,000
ตันต่อปี และร่วมทุนกับ Mitsubishi Rayon มีกำลังการผลิต MMA 85,000 ตันต่อปี และ BMA 10,000 ตันต่อปี  นอกจากนั้น
ยังมีการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศซึ่งรวมถึงการถือหุ้นร้อยละ 20 ในโครงการ Aromatics ประเทศอินโดนีเซีย มี
กำลังการผลิต PX 500,000 ตันต่อปี และการถือหุ้นร้อยละ 38 ในโครงการ Polyolefins ประเทศอิหร่าน มีกำลังการผลิต
HDPE 300,000 ตันต่อปี

 
 
               เรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                                                            ขอแสดงความนับถือ
                                                                      บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)


                                                                            (นายชุมพล ณ ลำเลียง)
                                                                              กรรมการผู้จัดการใหญ่
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผู้บริหาร คุณอติเทพ พิศาลบุตร ได้ให้สัมภาษณ์กับ หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นไว้
ผมคิดว่าคงตอบประเด็นสำหรับใครบางคนที่สงสัยว่าทำไมต้องเพิ่มทุนเพื่อมาลงทุนในกิจการครับ


การจะฝ่ามรสุมของธุรกิจปิโตรเคมีได้นั้น ต้องดูการเตรียมความพร้อมของเราว่าพร้อมแค่ไหน เช่น หากมองแล้วว่าฝนจะตกแน่นอน ก็ต้องเตรียมร่มไว้

ธุรกิจปิโตรเคมีนั้น จะมีช่วงขาขึ้น และขาลง หรือเป็นรอบของเขา และในแต่ละรอบจะมีระยะเวลาทุก 6 - 8 ปี ฉะนั้น หากเราจะรู้ว่ามันเป็นช่วงขาลงต่อไป เราก็ต้องเตรียมแผนธุรกิจให้พร้อมกับการเผชิญปัญหาช่วงขาลงดังกล่าว

ปี 2540 เป็นช่วงวิกฤติการเงินของไทย ขณะนั้นมองไม่ออก เราไม่ได้เตรียมตัวไว้ มันมาแบบไม่รู้เรื่อง ทำให้เราเผชิญกับปัญหาค่อนข้างมาก

ราคาปิโตรเคมีตกลง ขณะเดียวกันเราก็ใช้เงินลงทุนไว้ค่อนข้างสูง เช่นมีเงินอยู่ 100 ล้านบาท ก็ไปกู้เงินมาอีก 200 ล้านบาทก็ลงทุนได้

แต่การกู้เงินมานั้น หลังค่าเงินมีการปรับลด เช่นเรามีหนี้อยู่ 25 บาท มันก็ปรับขึ้นไปเป็น 50 บาท ทำให้สิ่งที่เราเตรียมไว้มันไม่ได้ผล

การแก้ไขปัญหาขณะนั้นคือ เราต้องคุญกับแบงก์ที่เป็นเจ้าหนี้ ไม่ได้หนีไปไหน ต้องมีวินัยการเงินมากขึ้น รวมถึงมีที่ปรึกษากฏหมายที่ดีด้วย ดังนั้นต้องเตรียมเมื่อทราบว่าจะเผชิญปัญหา คือการไม่กู้เงินมากเกินไป ต้องดูความสามารถในการชำระหนี้ว่ามีขนาดไหน ไม่กู้เงินมากเกินไป

ผมคิดว่าผู้บริหาร PTTCH เขาค่อนข้าง Conservative พยายามจะกู้เงินให้น้อยที่สุดในการลงทุน และพยายามจะใช้เงินทุนจากการดำเนินงานให้มาก ถ้าไม่พอจึงใช้เงินจากการเพิ่มทุนมาช่วย เพราะเคยผ่านวิกฤตการณ์เรื่องค่าเงินมาก่อน ยังจะสำรองเงินให้เพียงพอฉุกเฉินในการรองรับกับวิกฤตการณ์ครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ สไตล์การบริหาร ที่มองอนาคตที่แตกต่างกัน

การเพิ่มทุนมีข้อเสียในเรื่อง Dilution Effect แน่นอน แต่หากการเพิ่มทุนสามารถไปลงทุนเพื่อเพิ่มผลประกอบการได้เร็ว และยังป้องกันความเสี่ยงในเรื่อง Financial Risk ให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมรองรับกับสถานการณ์ความไม่แน่นอน แถมสัดส่วนทุนที่สูงก็ช่วยเรื่องความเสี่ยง Credit Risk ของผู้กู้ที่ทำให้มีโอกาสในการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าพวกที่มีหนี้มาก ๆ เมื่อเทียบกับส่วนของทุน หรือ DE ที่สูงครับ ดังนั้นบริษัทคงพยายามรักษา DE ให้อยู่ในระดับต่ำและเหมาะสม และทำให้บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอ เพื่อให้มีร่มรองรับความผันผวนในอนาคต ซึ่งผมว่าก็ดีอย่าง มีก้อก 2 มาเล่นครับ แทนที่จะมีก้อกเดียว หากมีวิกฤตเข้ามาก่อนเร็วเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ครับ เพราะอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน จึงต้องบริหารความเสี่ยงในช่วงที่เราสามารถบริหารความเสี่ยงได้ครับ [/quote]
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

หลังจาก Hitech ทำผิดหวังใน Q1 ที่ผ่านมา แต่แก้คืนใน Q2 - Q3 กำไรกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะไตรมาสนี้ น่าดูน่าชมเลยครับ คงต้องดู Q3 ของ Low Tech หน่อยว่า จะโชว์ผลงานแข่งกับ Hitech ได้ขนาดไหนครับ โดย Hitech ผลงานดี ก็เลยทำให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้น จาก 20 บาทกว่า ตอนนี้ก็ขึ้นมาเกือบ 35บาทกว่า ๆ แล้ว

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่3(F45-1)
                      บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                                                        ก่อนสอบทาน
                                สิ้นสุดวันที่  30 กันยายน      (หน่วย : พันบาท)
                                    ไตรมาสที่ 3          งวด 9 เดือน
             ปี                   2549        2548        2549        2548

  กำไร (ขาดทุน) สุทธิ            2,816,769    914,871    4,253,695    4,543,863
  กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)    2.91         0.95        4.39        4.71

   หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

                  "ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ"

                              ลงลายมือชื่อ _______________________
                                       ( นายเพิ่มศักดิ์  ชีวาวัฒนานนท์ )
                                           กรรมการผู้จัดการใหญ่
                                        ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

แล้วผลงาน Hitech ดีขึ้นเพราะอะไร ดูข้อมูลตามนี้ครับ จะเห็นได้ว่า Spread ดีขึ้นตามการคาดการณ์ไว้แล้ว ปริมาณการขายก็เพิ่มขึ้น จนมีผลทำให้ Ebida ขึ้นไปเกือบ 2 เท่าเลยครับ จาก 1400 กว่า ๆ ขึ้นไป 3200 กว่า ๆ แล้วครับ

ที่ เอ.ที.ซี. / ฝบช./ 229 / 2549
                                       30   ตุลาคม  2549

เรื่อง   คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินของฝ่ายจัดการ (MD&A) ประจำไตรมาส 3 ปี 2549
เรียน   กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

      เพื่อสนับสนุนโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)ใคร่ขอนำเสนอคำ
อธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินของฝ่ายจัดการสำหรับไตรมาส 3 ปี 2549 เพื่อให้นักลงทุนใช้อ่าน
ควบคู่กับงบการเงินก่อนสอบทานประจำไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจผลการดำเนิน
งานและฐานะการเงินของบริษัทฯ ได้ดียิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้
1.  ผลการดำเนินงาน

หน่วย : ล้านบาท
               งบกำไรขาดทุน                    ไตรมาส 3        ไตรมาส 1-3
                                    2549      2548      2549      2548
  ขายสุทธิ                          22,389     16,331    54,661    46,347
  ต้นทุนวัตถุดิบ*                      (18,431)  (14,242)   (47,092)  (37,914)
     ส่วนต่าง (Product to Feed Margin)3,958   2,089      7,569      8,433
  ต้นทุนการผลิต (Processing Cost)*    (610)    (642)      (1,820)    (1,778)
  ค่าซ่อมบำรุงตามรอบระยะเวลา
  (Turnaround Cost)*               (4)         -       (149)        -
  รายได้อื่น                          57         112       96          134
  ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร         (129)       (101)       (424)      (334)
     EBITDA                       3,272      1,458       5,272      6,455
  ดอกเบี้ยรับ                           1         24         9          52
  ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงิน      (188)      (175)     (555)     (488)
  ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี -โรงงาน*   (291)     (346)    (913)    (1,014)
  ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี - บริหาร      (6)      (6)      (19)     (19)
  กำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย    (35)     (3)       (52)     (6)
  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ                            (23)      -        (53)      -
     กำไรก่อนกำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน 2,730      952      3,689    4,980
  กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน **          87      (37)        565    (436)
     กำไรสุทธิ                             2,817    915      4,254    4,544

     * แสดงรวมเป็นต้นทุนขายในงบการเงินก่อนสอบทาน
    ** รวมกำไร(ขาดทุน)จากการปรับมูลค่าสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราให้เป็นมูลค่ายุติธรรม

เปรียบเทียบไตรมาส 3 ปี 2549 กับ ไตรมาส 3 ปี 2548
1.1 ภาพรวมผลการดำเนินงาน
     ในไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 2,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,902 ล้านบาท
หรือร้อยละ 208 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2548  ซึ่งมีกำไรสุทธิจำนวน 915 ล้านบาท ในขณะที่มี
EBITDA 3,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2548 จำนวน 1,814 ล้านบาท หรือร้อยละ
124 ปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.2 ส่วนต่างมูลค่าผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product to Feed Margin)
เปรียบเทียบราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบไตรมาส 3 ปี 2549 กับไตรมาส 3 ปี 2548

                                                  หน่วย :  เหรียญสหรัฐฯ / ตัน
               ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ                     วัตถุดิบ    ราคาเฉลี่ย  ราคาเฉลี่ย ส่วนต่าง
         เบนซิน  ไซโคล  พารา  แนฟทา  คอนเดนเสท  คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์    วัตถุดิบ
               เฮกเซน ไซลีน  ชนิดเบา  เรซิดิว
Q3/49       913  1,061  1,276  613     592        582      786       606      180
Q3/48      820  ยังไม่ผลิต   852  524     512        493      642       520      122
%เพิ่ม(ลด)   11%  ยังไม่ผลิต   50%  17%     16%       18%      22%      17%      48%

     ในไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทมีกำไรจากส่วนต่างมูลค่าผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product to Feed Margin)
อยู่ที่ 180 เหรียญสหรัฐต่อตัน  เทียบกับไตรมาส 3 ปี 2548 ซึ่งอยู่ที่ 122 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 1,869
ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 89.47 โดยสาเหตุหลักมาจาก
        1. ปัจจัยด้านราคา ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 1,300 ล้านบาท  โดยราคาเฉลี่ยผลิตภัณฑ์สูงขึ้น 22%
คิดเป็นมูลค่า 2,419 ล้านบาท  แต่ราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าโดยสูงขึ้นเพียง 17% คิดเป็นมูลค่า
1,119 ล้านบาท  ทั้งนี้ราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้นมากคือพาราไซลีน  ในไตรมาสนี้ราคาอยู่ที่ 1,276 เหรียญสหรัฐ
ต่อตัน  เทียบกับ 852 เหรียญสหรัฐต่อตัน ณ ไตรมาส 3 ปี 2548 หรือมีส่วนต่างเทียบกับคอนเดนเสทเพิ่มขึ้นจาก
359 เหรียญสหรัฐต่อตัน  เป็น 694 เหรียญสหรัฐต่อตัน  ขณะเดียวกันสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เบนซินเป็น
ไซโคลเฮกเซน   โดยราคาเบนซินอยู่ที่ 913 เหรียญสหรัฐต่อตัน  ขณะที่ราคาไซโคลเฮกเซนอยู่ที่ 1,061
เหรียญสหรัฐต่อตัน
          2. ปัจจัยด้านปริมาณ  ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 569 ล้านบาท  เป็นผลจากปริมาณขายเพิ่มขึ้น
138,951 ตัน  ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มกำลังการผลิตของ Condensate Splitter จาก 50 KBD เป็น
62 KBD และการเปลี่ยน Adsorbent และอุปกรณ์ภายใน Parex Unit ทำให้ปริมาณพาราไซลีนเพิ่มขึ้น
11,698 ตัน

1.3  ต้นทุนการผลิต (Processing Cost)
          ต้นทุนการผลิต ไตรมาส 3 ปี 2549 ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2548 จำนวน 32 ล้านบาท
ทั้งนี้เนื่องจากมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวในไตรมาส 3 ปี 2548 หลายรายการ อาทิ เช่น
เงินเพิ่มค่าเบี้ยประกันภัยโรงงานจากการปรับมูลค่าตามจริง 24 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาเสนองานค่าก่อสร้าง
Aromatics Complex II จำนวน 15 ล้านบาท

1.4  รายได้อื่น
     รายได้อื่นลดลง 55 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาสที่ 3 ปี 2548
มีรายได้ที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวคือกำไรจากการทำสัญญาอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าจำนวน 77 ล้านบาท
ส่วนรายการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องอันได้แก่เงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกและรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 22 ล้านบาท

1.5  ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
     ค่าใช้จ่ายขายและบริหารเพิ่มขึ้น 28 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการขายที่เพิ่มขึ้นตาม
ปริมาณขาย

1.6  ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงิน
     ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงิน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2548 จำนวน 13 ล้านบาท
แบ่งตามประเภทรายการได้ดังนี้

             ประเภทหนี้       ดอกเบี้ยเพิ่ม / (ลด)             สาเหตุ
            เงินกู้ระยะสั้น        23   ล้านบาท      ยอดเบิกใช้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1,753 ล้านบาท
            เงินกู้ยืมผู้ถือหุ้น       36   ล้านบาท      MLR เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 5.80% เป็น 7.66%
            หุ้นกู้สกุลบาท        (46)  ล้านบาท      ยอดหนี้ลดลง



2.  ฐานะการเงิน

2.1  สินทรัพย์
             ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมจำนวน 54,520 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่
31 ธันวาคม 2548 จำนวน 1,497 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
2.1.1  เงินสดและเงินฝากธนาคาร ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 มีจำนวน 6,584 ล้านบาท ลดลงจาก ณ 31
ธันวาคม 2548 จำนวน 5,926 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทฯ
ได้กันเงินสดเพื่อสำรองการชำระหนี้ตามข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ไว้แล้ว 1,295 ล้านบาท
2.1.2  ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,535 ล้านบาท ตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีรายการลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้
2.1.3  สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 2,255 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณและราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
2.1.4  เงินลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้น 815 ล้านบาท เนื่องจากเงินลงทุนเพิ่มในบริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด บริษัท
พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด และ บริษัท พีทีที ไอซีที จำกัด จำนวน 650 ล้านบาท 187 ล้านบาท และ 30 ล้านบาท
ตามลำดับ โดยรับรู้ผลขาดทุนเงินลงทุนด้วยวิธีส่วนได้เสีย ในบริษัท พีทีทีฟีนอล จำกัด บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด
และบริษัท พีทีที ไอซีที จำกัด จำนวน 25 ล้านบาท 17 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท ตามลำดับ
2.1.5  ลูกหนี้จากการทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 359 ล้านบาท ตามการแข็งค่าของเงินบาท
2.1.6  สินทรัพย์ถาวรสุทธิเพิ่มขึ้น 2,534 ล้านบาท เป็นยอดสุทธิของรายการที่ลดลงจากการตัดค่าเสื่อมราคา
โรงงานปกติ 917 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในส่วนที่ตีราคาเพิ่ม 552ล้านบาท ปรับลดมูลค่าที่ดิน
โครงการ Aromatics II ตามขนาดพื้นที่ที่รังวัดจริง 32 ล้านบาท กับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของโครงการ
Aromatics II จำนวน 2,537 ล้านบาท โครงการ Feed Fractionation Revamp and Cyclohexane
จำนวน 284 ล้านบาท โครงการ Parex Revamp 76 ล้านบาท ค่าซื้อ Catalyst จำนวน 704 ล้านบาท ค่า
Adsorbent Chamber Internal 500 V1-2 (เป็นส่วนของอุปกรณ์หอกลั่น) จำนวน 243 ล้านบาท
งานปรับปรุงกระบวนการผลิตและซื้ออุปกรณ์อื่นๆ 191 ล้านบาท

2.2 หนี้สิน
           ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมจำนวน 33,614 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่
31 ธันวาคม 2548 จำนวน 300 ล้านบาท โดยมีรายการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญดังนี้
2.2.1 เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น มียอดเพิ่มขึ้น 603 ล้านบาท
2.2.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นๆเพิ่มขึ้น 1,327 ล้านบาท มีรายการหลักจากการเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้ค่าวัตถุดิบ
1,035 ล้านบาท เจ้าหนี้งานก่อสร้างโครงการ Aromatics II เพิ่มขึ้นจำนวน 156 ล้านบาท
2.2.3 ดอกเบี้ยค้างจ่ายหุ้นกู้ลดลง 172 ล้านบาท เนื่องจากมียอดหนี้ลดลงจากการชำระคืน
2.2.4 หุ้นกู้ลดลง 2,254 ล้านบาท จากการชำระคืนหุ้นกู้ในประเทศจำนวน 1,196 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน
2549 และการลดลงของหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศจำนวน 1,058 ล้านบาท จากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา
แลกเปลี่ยนที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลง
2.2.5 ดอกเบี้ยค้างจ่ายเงินกู้ด้อยสิทธิจากผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 304 ล้านบาท
2.2.6 หนี้สินอื่นลดลง 108 ล้านบาท รายการหลัก เจ้าหนี้สรรพากรลดลงประมาณ 60 ล้านบาท

2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
           ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้น 20,906 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่
31 ธันวาคม 2548 จำนวน 1,796 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                                                         ล้านบาท
           ส่วนของผู้ถือหุ้น             30  ก.ย. 49       31  ธ.ค. 48   เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
           ทุนสามัญชำระแล้ว               969              966              3
           ส่วนเกินทุน                     71               42              29
           ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์    13,036          13,588           (552)
           สำรองตามกฏหมาย                290             290              -
           สำรองเพื่อการขยายงาน          1,306           2,611         (1,305)
           กำไร(ขาดทุน)สะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร 5,234           1,613           3,621
           รวมส่วนของผู้ถือหุ้น             20,906          19,110           1,796

           ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ
จัดสรรเงินกำไรและจ่ายเงินปันผลประจำปี 2548   และโอนสำรองเพื่อการขยายงานจำนวน 1,305 ล้านบาท
ไปเป็นสำรองที่ยังไม่ได้จัดสรร โดยให้บริษัทฯจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 2 บาท คิดเป็นมูลค่า
1,938 ล้านบาท โดยกำหนดให้จ่ายเงินปันผลในวันที่ 12 เมษายน 2549



           ในส่วนของกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร มีรายการเคลื่อนไหวดังนี้
           กำไรสะสม ณ 31 ธ.ค. 48               1,613     ล้านบาท
           - กำไรสุทธิของไตรมาส 1-3 ปี 2549       4,254     ล้านบาท
           - โอนจากสำรองเพื่อการขยายงาน          1,305     ล้านบาท
           -  จ่ายเงินปันผล                      (1,938)    ล้านบาท
           กำไรสะสม ณ 30 ก.ย. 49               5,234     ล้านบาท


3. งบกระแสเงินสด
     ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิจาก ณ วันที่
31 ธันวาคม 2548 จำนวน 5,926 ล้านบาท  โดยแยกรายละเอียดกระแสเงินสดตามแต่ละกิจกรรมได้ดังนี้


                                                   จำนวน (ล้านบาท)
           กระแสเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน                2,020
           กระแสเงินสดใช้ไปในการชำระดอกเบี้ยจ่าย
           และค่าใช้จ่ายทางการเงิน                          (974)
           กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุน                  (3,604)
           กระแสเงินสดใช้ไปในการจ่ายเงินปันผล               (1,938)
           กระแสเงินสดใช้ไปในการจ่ายชำระหุ้นกู้               (1,196)
           กระแสเงินสดได้มาจากกิจกรรมทางการเงิน              636
           ผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ        (870)
                    เงินสดลดลงสุทธิ                       (5,926)


4.  อัตราส่วนทางการเงิน

           อัตราส่วน                       ไตรมาส 3 ปี 2549    ไตรมาส 3 ปี 2548
     อัตราส่วนส่วนต่างผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ (%)          17.68            12.79
     อัตรากำไรขั้นต้น (%)                        13.64             6.74
     อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (%)              13.42             6.53
     อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (เท่า)       17.50             9.66
     อัตราส่วนหนี้เงินกู้ยืมสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)    0.96             0.85



     หมายเหตุ
     อัตราส่วนส่วนต่างผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ      =  ส่วนต่างยอดขายกับต้นทุนวัตถุดิบ ต่อ ยอดขาย
     อัตรากำไรขั้นต้น                    =  กำไรขั้นต้น (ขายหักต้นทุนขาย) ต่อ ยอดขาย
     อัตรากำไรจากการดำเนินงาน          =  EBIT ต่อ ยอดขาย
     อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย     =  EBITDA ต่อ ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ
     อัตราส่วนหนี้เงินกู้ยืมสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น =  หุ้นกู้ เงินกู้ด้อยสิทธิและเงินกู้ทุนหมุนเวียน
                                        สุทธิจากเงินสด ต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้น




                                                   ขอแสดงความนับถือ


                                              (นายเพิ่มศักดิ์  ชีวาวัฒนานนท์)
                                                  กรรมการผู้จัดการใหญ่
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ส่วน Low tech ตั้งแต่มีการเพิ่มทุนจำนวนมาก

ราคาเคลื่อนไหว แคบมาก ๆ แม้จะมีปันผลระหว่างกาลไปแล้ว 2 บาทต่อหุ้น แต่ที่แน่ ๆ คือ การเพิ่มทุนราคาหุ้นละ 78 บาทต่อหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 รายคือ PTT และ SCC ตกลงที่จะเพิ่มทุนตามนั้นแม้ราคาเพิ่มทุนจะสูงกว่าราคาตลาดนะขณะนี้

น่าลุ้นว่าผลงาน Low tech จะน้อยหน้า Hi tech หรือไม่ครับ อิ อิ  :lol:
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เรามาลุ้นผลประกอบการของ PTTCH กัน

มีบทวิเคราะห์ของ SCIBS ล่าสุดเอามาฝากว่า เขาคาดการณ์ผลงานเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็รู้ว่าใกล้เคียงรึเปล่าครับ

***PTTCH แจ้งมติการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 9 พ.ย. 2549 และมีกำหนดการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในระหว่างวันที่ 27 พ.ย. 1 ธ.ค. 2549 (ข่าวตลาดฯ)

ความเห็นนักวิเคราะห์ : PTTCH เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 3.151 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาใช้สิทธิ 78 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนในการรับสิทธิในวันที่ 14 พ.ย. 2549 กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 9 พ.ย. 2549 และมีกำหนดการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในระหว่างวันที่ 27 พ.ย. 1 ธ.ค. 2549

โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนเพื่อ
นำไปลงทุนในโครงการต่างๆในอนาคต โดยเฉพาะโครงการ PTTPE ที่มีกำลังการผลิตเอทิลีน 1 ล้านตัน SCIBS มีความเห็นว่าการลงทุนดังกล่าวจะส่งผลให้ PTTCH เป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์ที่มีกำลังการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลจากการมีEconomy of scale นอกจากนั้นยังจะมีการเพิ่มสายการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นต่อเนื่อง ได้แก่ LDPE และ LLDPE ซึ่งจะเป็นการ
สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างเสถียรภาพของผลประกอบการได้ในตัว ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างเสถียรภาพการเติบโตให้กับ PTTCH ได้ในระยะยาว


คำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐาน : ราคาหุ้น PTTCH ได้ปรับตัวลดลง 15% ภายหลังจากประกาศเพิ่มทุน ส่งผลให้ DownsideRisk ของราคาหุ้นในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ Upside Gain มีสูงถึง 30% จากราคาเหมาะสมปี 2550 ที่ SCIBS ประเมินไว้ที่ 101 บาท

SCIBS ยังคงคำแนะนำ ซื้อ โดยมีปัจจัยสนับสนุนระยะสั้นได้แก่ ผลประกอบการ Q3/49 ที่คาดจะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 4,736 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% qoq จาก Spread ของเอทิลีน แนฟทา ในช่วง Q3/49 คาดว่าจะอยู่สูงถึงUS$590 ต่อตัน เป็นผลมาจากราคาเอทิลีนที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากความตึงตัวของผลิตภัณฑ์เอทิลีน และ การหยุดผลิตนอกแผนของโรงงานมิตซูบิชิ ที่มีกำลังการผลิต 500,000 ตันต่อปี

ขณะที่การเติบโตในระยะยาวจากกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2550 2552 จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.523 ล้านตัน เป็น 2.888 ล้านตัน จากการทำDebottleneck โรงงาน I4-1, I4-2 และจากโครงการ PTTPE จะช่วยสนับสนุนให้ผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ต้องขอโทษที่ Post ปันผลระหว่างกาลของ PTTCH ผิดไป คือ ที่จ่ายจริงคือ 2.50 บาทต่อหุ้น ไม่ใช่ 2 บาทครับ

ผมนึกขึ้นได้ว่า SCC เพิ่งประกาศผลงานกำไรไตรมาสที่ผ่านมา และ SCC ก็ถือหุ้น PTTCH อยู่ จึงน่าจะมีข้อมูลยืนยันผลงานด้านปิโตรเคมีได้ แล้วผมก็ไปพบจริง ๆ ครับ เลยเอามาฝากครับ แต่เป็นผลงานปิโตรเคมีทั้งกลุ่มของ SCC ซึ่งรวมผลงานของ PTTCH ด้วย ซึ่งกลุ่มนี้ของ SCC ยังเติบโตดีอยู่มากตามที่ผมไปเจอในคำชี้แจง M&D ของที่ SCC แจ้งให้ตลาดทราบครับ

ข้อมูลสรุปของกลุ่มธุรกิจหลัก


ธุรกิจเคมีภัณฑ์


ส่วนต่างระหว่างราคา HDPE และ Naphtha (GAP) อยู่ที่ระดับ $731 ต่อตัน  โดยเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา

ในไตรมาสนี้ ราคา Naphtha มีระดับสูงสุดอยู่ที่ $668 ต่อตัน ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม จากนั้นลดลงมาอยู่ที่ระดับ $541 ต่อตันในช่วงปลายเดือนกันยายน ซึ่งเป็นผลจากปัญหาทางการเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลางได้ผ่อนคลายลงระดับหนึ่ง ประกอบกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในคลังของสหรัฐอเมริกาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยราคา Naphtha เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ $616 ต่อตัน ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนแต่เพิ่มขึ้น $86 ต่อตันจากช่วงเดียวกันของปีก่อน


สำหรับราคา Ethylene ในไตรมาสนี้ เริ่มต้นที่ระดับ $1,130 ต่อตัน และสูงขึ้นถึงระดับ $1,490 ต่อตันเนื่องจากเป็นช่วงการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน Cracker ของประเทศในทวีปเอเชีย ทำให้ Supply ในภูมิภาคมีอย่างจำกัด จึงส่งผลให้ราคา Ethylene โดยเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ $1,304 ต่อตัน เพิ่มขึ้น $186 ต่อตันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น $391 ต่อตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


ในส่วนของ Downstream ราคา HDPE เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ $1,347 ต่อตัน เพิ่มขึ้น $147 ต่อตันจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น $260 ต่อตัน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากปริมาณความต้องการPolymers จากประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้น  เนื่องจากจีนต้องเร่งส่งมอบสินค้าให้ทันภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2549ซึ่งเป็นกำหนดการลงโทษการทุ่มตลาดของจีนในยุโรป โดยหากส่งมอบหลังวันดังกล่าว อัตราภาษีนำเข้าสินค้าของจีนในยุโรปจะเพิ่มสูงขึ้น  

สำหรับส่วนต่างราคาระหว่าง HDPE และ Naphtha (GAP) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ $731 ต่อตัน เพิ่มขึ้น $148 ต่อตัน จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น $171 ต่อตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไตรมาสนี้ ธุรกิจฯ มีปริมาณขาย Polyolefins เท่ากับ 253,402 ตันลดลง 9% จากไตรมาสก่อน และลดลง 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากลูกค้าชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากการคาดการณ์ว่าราคาผลิตภัณฑ์จะปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง


ยอดขายสุทธิของธุรกิจเคมีภัณฑ์ในไตรมาสนี้ เท่ากับ 32,694 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เทียบกับไตรมาสก่อนจากราคาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มขึ้น 36% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้น
ของราคาผลิตภัณฑ์
และการนำผลการดำเนินงานของ TPC มาจัดทำงบการเงินรวม โดยธุรกิจฯ มี EBITDAเท่ากับ 7,240 ล้านบาท ลดลง 7% เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเงินปันผลรับที่ลดลงจากบริษัทร่วม
แต่เพิ่มขึ้น 55% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจาก Margin ของ HDPE และ PP ที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคา Naphtha  โดยในไตรมาสนี้ ธุรกิจฯ มีกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 5,283  ล้านบาท เพิ่มขึ้น55% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

การเพิ่มทุนของ PTTCH เกี่ยวอะไรกับแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ สังเกตุดูนะครับ ธุรกิจปิโตรเคมี ต่อจากนี้ จะเป็น สายโอลิฟิวล์ที่ผลิตจาก ก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการผลิตโอลิฟิวล์ที่ผลิตจากน้ำมัน ตรงนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของ PTTCH ลง เนื่องจาก วัตถุดิบ ก๊าซธรรมชาติ PTT เป็นผู้ผลิตเอง และราคาก๊าซธรรมชาติมีความผันผวนน้อยกว่า ราคาน้ำมันครับ

อ่านข้อมูลการจัดกลุ่มธุรกิจของ PTT แล้ว ทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ

ที่ 520/14/433
                                                                              27 กันยายน 2549
เรื่อง      แจ้งนโยบายการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มของบริษัท
             ปตท.จำกัด (มหาชน)

เรียน     กรรมการและผู้จัดการ
             ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

             ตามที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้แจ้งนโยบาย
การลงทุนของ ปตท.ในธุรกิจต่างๆ ทั้งในส่วนของการลงทุนใหม่
การขยายหรือเพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงการเข้าซื้อหุ้นหรือซื้อกิจการ
ต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และในแบบแสดง
รายการข้อมูลประจำปี 2548 (แบบ 56-1) โดยการลงทุนในธุรกิจ
ปิโตรเคมีและการกลั่นของ ปตท.โดยรวม จะมีทั้งการลงทุนโดย
ปตท.และการลงทุนโดยผ่านบริษัทร่วมและบริษัทในเครือ ในลักษณะ
การทำธุรกิจเป็นลักษณะปกติทั่วไป (Arms Length Basis) จาก
โครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม ปตท. รวมถึงได้มีการกำหนด
ทิศทางและนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยพยายามสร้างกลไกการ
ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยส่วนหนึ่งของกลไกดังกล่าว
ได้แก่ การจัดโครงสร้างในการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทที่ชัดเจน
เช่น การที่ ปตท.มีทิศทางและนโยบายในการควบรวมกิจการระหว่าง
บริษัทที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันเข้า
ด้วยกัน นั้น

             ปตท.ขอแจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการ ปตท. ในการประชุม
ครั้งที่ 8/2549 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 ได้กำหนดทิศทางและนโยบาย
การปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและบริษัทในเครือ โดยเน้นการ
ปรับโครงสร้างในรูปแบบ Integrated Value Chain โดยแบ่งออกเป็น

             1. สายโอเลฟินส์ที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (Gas based value
chain) กำหนดให้บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เป็น
แกนนำในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ที่ผลิตจากก๊าซฯ
(Gas based value chain) โดยมุ่งเน้นสายเอทิลีนเป็นหลัก เพื่อรองรับ
และเป็นการต่อยอดธุรกิจก๊าซธรรมชาติของกลุ่ม ปตท. เป็นลำดับแรก
และเพื่อให้มีความเชื่อมโยงในการส่งต่อวัตถุดิบสำหรับการขยายงาน
ของปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่องของ PTTCH และบริษัทในเครืออื่นๆ ของ
ปตท. นอกจากนี้ กำหนดให้มีการรวมบริษัทที่มีลักษณะการดำเนิน
กิจการหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน
และลักษณะของผลิตภัณฑ์หลักเป็น Commodity เข้าด้วยกัน เช่น
การจำหน่ายหุ้นสามัญของบริษัท พีทีที โพลิเอทิลีน จำกัด (PTTPE)
และหุ้นสามัญของบริษัท บางกอก โพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน)
(BPE) ที่ ปตท.ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่ PTTCH (ทั้งนี้ การจำหน่ายหุ้นสามัญ
ดังกล่าว ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PTTCH ในวันที่
28 กันยายน 2549 ก่อนจึงจะดำเนินการได้)

                2. สายธุรกิจบริการ (Strategic Support Business) เป็นธุรกิจ
ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจหลัก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
และความได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงการค้าให้แก่ทั้งกลุ่ม ปตท.

                3. สาย Specialties และ Engineering Plastic เป็นธุรกิจที่มี
Value Chain การทำธุรกิจต่อเนื่องไปยังสาย Engineering Plastic
เช่นธุรกิจสาย Phenol , Polycarbonate

                 4. สายธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture) เป็นธุรกิจที่มีกระบวน
การผลิตซับซ้อน จึงต้องอาศัยผู้ร่วมลงทุนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือ
เป็นกิจการที่ผู้ถือหุ้นต้องการลงทุนร่วมกับ ปตท. โดยตรง แต่ทั้งนี้
ผลิตภัณฑ์หลักจะไม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับผลิตภัณฑ์หลักของ
บริษัทในกลุ่มอื่น ซึ่ง ปตท. จะพิจารณาการลงทุน ทั้งในส่วนของ
การลงทุนใหม่ และ/หรือการซื้อกิจการ

                สำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจการกลั่นยังคง
เป็นไปตามที่ ปตท.ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
2549 และในแบบ 56-1 ประจำปี 2548 ตามกล่าวข้างต้น

                 อนึ่ง การจัดแบ่งกลุ่มธุรกิจภายใต้นโยบายการลงทุนในธุรกิจ
ปิโตรเคมีของ ปตท. ดังกล่าว ทำให้มีความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย
ในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัทในกลุ่ม ปตท.มากขึ้น
อีกทั้งจะช่วยขจัดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ทั้งของ ปตท.และบริษัทในเครือ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ ปตท. และ PTTCH ตลอดจนผู้ถือหุ้น
ในระยะยาว โดยเฉพาะการเน้นความชัดเจนที่ให้ PTTCH เป็น
แกนนำในรูปแบบ Integrated Value Chain จะส่งผลให้ PTTCH
สามารถขยายฐานการลงทุนด้าน Gas Base Olefins สายเอทิลีน
ได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย
ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อการดำเนินงานในช่วงวัฏจักรขาลงของธุรกิจ

                  จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                                                      ขอแสดงความนับถือ


                                                               (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์)
                                                                   กรรมการผู้จัดการใหญ่

ฝ่ายตลาดทุนและผู้ลงทุนสัมพันธ์
โทร.       0 2537 2792
โทรสาร 0 2537 2791
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

การเพิ่มทุนของ PTTCH เกี่ยวอะไรกับแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ สังเกตุดูนะครับ ธุรกิจปิโตรเคมี ต่อจากนี้ จะเป็น สายโอลิฟิวล์ที่ผลิตจาก ก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการผลิตโอลิฟิวล์ที่ผลิตจากน้ำมัน ตรงนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของ PTTCH ลง เนื่องจาก วัตถุดิบ ก๊าซธรรมชาติ PTT เป็นผู้ผลิตเอง และราคาก๊าซธรรมชาติมีความผันผวนน้อยกว่า ราคาน้ำมันครับ

อ่านข้อมูลการจัดกลุ่มธุรกิจของ PTT แล้ว ทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ

ที่ 520/14/433
                                                                              27 กันยายน 2549
เรื่อง      แจ้งนโยบายการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มของบริษัท
             ปตท.จำกัด (มหาชน)

เรียน     กรรมการและผู้จัดการ
             ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

             ตามที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้แจ้งนโยบาย
การลงทุนของ ปตท.ในธุรกิจต่างๆ ทั้งในส่วนของการลงทุนใหม่
การขยายหรือเพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงการเข้าซื้อหุ้นหรือซื้อกิจการ
ต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และในแบบแสดง
รายการข้อมูลประจำปี 2548 (แบบ 56-1) โดยการลงทุนในธุรกิจ
ปิโตรเคมีและการกลั่นของ ปตท.โดยรวม จะมีทั้งการลงทุนโดย
ปตท.และการลงทุนโดยผ่านบริษัทร่วมและบริษัทในเครือ ในลักษณะ
การทำธุรกิจเป็นลักษณะปกติทั่วไป (Arms Length Basis) จาก
โครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม ปตท. รวมถึงได้มีการกำหนด
ทิศทางและนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยพยายามสร้างกลไกการ
ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยส่วนหนึ่งของกลไกดังกล่าว
ได้แก่ การจัดโครงสร้างในการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทที่ชัดเจน
เช่น การที่ ปตท.มีทิศทางและนโยบายในการควบรวมกิจการระหว่าง
บริษัทที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันเข้า
ด้วยกัน นั้น

             ปตท.ขอแจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการ ปตท. ในการประชุม
ครั้งที่ 8/2549 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 ได้กำหนดทิศทางและนโยบาย
การปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและบริษัทในเครือ โดยเน้นการ
ปรับโครงสร้างในรูปแบบ Integrated Value Chain โดยแบ่งออกเป็น

             1. สายโอเลฟินส์ที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (Gas based value
chain) กำหนดให้บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เป็น
แกนนำในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ที่ผลิตจากก๊าซฯ
(Gas based value chain) โดยมุ่งเน้นสายเอทิลีนเป็นหลัก เพื่อรองรับ
และเป็นการต่อยอดธุรกิจก๊าซธรรมชาติของกลุ่ม ปตท. เป็นลำดับแรก
และเพื่อให้มีความเชื่อมโยงในการส่งต่อวัตถุดิบสำหรับการขยายงาน
ของปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่องของ PTTCH และบริษัทในเครืออื่นๆ ของ
ปตท. นอกจากนี้ กำหนดให้มีการรวมบริษัทที่มีลักษณะการดำเนิน
กิจการหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน
และลักษณะของผลิตภัณฑ์หลักเป็น Commodity เข้าด้วยกัน เช่น
การจำหน่ายหุ้นสามัญของบริษัท พีทีที โพลิเอทิลีน จำกัด (PTTPE)
และหุ้นสามัญของบริษัท บางกอก โพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน)
(BPE) ที่ ปตท.ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่ PTTCH (ทั้งนี้ การจำหน่ายหุ้นสามัญ
ดังกล่าว ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PTTCH ในวันที่
28 กันยายน 2549 ก่อนจึงจะดำเนินการได้)

                2. สายธุรกิจบริการ (Strategic Support Business) เป็นธุรกิจ
ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจหลัก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
และความได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงการค้าให้แก่ทั้งกลุ่ม ปตท.

                3. สาย Specialties และ Engineering Plastic เป็นธุรกิจที่มี
Value Chain การทำธุรกิจต่อเนื่องไปยังสาย Engineering Plastic
เช่นธุรกิจสาย Phenol , Polycarbonate

                 4. สายธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture) เป็นธุรกิจที่มีกระบวน
การผลิตซับซ้อน จึงต้องอาศัยผู้ร่วมลงทุนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือ
เป็นกิจการที่ผู้ถือหุ้นต้องการลงทุนร่วมกับ ปตท. โดยตรง แต่ทั้งนี้
ผลิตภัณฑ์หลักจะไม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับผลิตภัณฑ์หลักของ
บริษัทในกลุ่มอื่น ซึ่ง ปตท. จะพิจารณาการลงทุน ทั้งในส่วนของ
การลงทุนใหม่ และ/หรือการซื้อกิจการ

                สำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจการกลั่นยังคง
เป็นไปตามที่ ปตท.ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
2549 และในแบบ 56-1 ประจำปี 2548 ตามกล่าวข้างต้น

                 อนึ่ง การจัดแบ่งกลุ่มธุรกิจภายใต้นโยบายการลงทุนในธุรกิจ
ปิโตรเคมีของ ปตท. ดังกล่าว ทำให้มีความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย
ในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัทในกลุ่ม ปตท.มากขึ้น
อีกทั้งจะช่วยขจัดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ทั้งของ ปตท.และบริษัทในเครือ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ ปตท. และ PTTCH ตลอดจนผู้ถือหุ้น
ในระยะยาว โดยเฉพาะการเน้นความชัดเจนที่ให้ PTTCH เป็น
แกนนำในรูปแบบ Integrated Value Chain จะส่งผลให้ PTTCH
สามารถขยายฐานการลงทุนด้าน Gas Base Olefins สายเอทิลีน
ได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย
ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อการดำเนินงานในช่วงวัฏจักรขาลงของธุรกิจ

                  จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                                                      ขอแสดงความนับถือ


                                                               (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์)
                                                                   กรรมการผู้จัดการใหญ่

ฝ่ายตลาดทุนและผู้ลงทุนสัมพันธ์
โทร.       0 2537 2792
โทรสาร 0 2537 2791
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

การเพิ่มทุนของ PTTCH เกี่ยวอะไรกับแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ สังเกตุดูนะครับ ธุรกิจปิโตรเคมี ต่อจากนี้ จะเป็น สายโอลิฟิวล์ที่ผลิตจาก ก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการผลิตโอลิฟิวล์ที่ผลิตจากน้ำมัน ตรงนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของ PTTCH ลง เนื่องจาก วัตถุดิบ ก๊าซธรรมชาติ PTT เป็นผู้ผลิตเอง และราคาก๊าซธรรมชาติมีความผันผวนน้อยกว่า ราคาน้ำมันครับ

อ่านข้อมูลการจัดกลุ่มธุรกิจของ PTT แล้ว ทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ

ที่ 520/14/433
                                                                              27 กันยายน 2549
เรื่อง      แจ้งนโยบายการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มของบริษัท
             ปตท.จำกัด (มหาชน)

เรียน     กรรมการและผู้จัดการ
             ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

             ตามที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้แจ้งนโยบาย
การลงทุนของ ปตท.ในธุรกิจต่างๆ ทั้งในส่วนของการลงทุนใหม่
การขยายหรือเพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงการเข้าซื้อหุ้นหรือซื้อกิจการ
ต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และในแบบแสดง
รายการข้อมูลประจำปี 2548 (แบบ 56-1) โดยการลงทุนในธุรกิจ
ปิโตรเคมีและการกลั่นของ ปตท.โดยรวม จะมีทั้งการลงทุนโดย
ปตท.และการลงทุนโดยผ่านบริษัทร่วมและบริษัทในเครือ ในลักษณะ
การทำธุรกิจเป็นลักษณะปกติทั่วไป (Arms Length Basis) จาก
โครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม ปตท. รวมถึงได้มีการกำหนด
ทิศทางและนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยพยายามสร้างกลไกการ
ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยส่วนหนึ่งของกลไกดังกล่าว
ได้แก่ การจัดโครงสร้างในการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทที่ชัดเจน
เช่น การที่ ปตท.มีทิศทางและนโยบายในการควบรวมกิจการระหว่าง
บริษัทที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันเข้า
ด้วยกัน นั้น

             ปตท.ขอแจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการ ปตท. ในการประชุม
ครั้งที่ 8/2549 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 ได้กำหนดทิศทางและนโยบาย
การปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและบริษัทในเครือ โดยเน้นการ
ปรับโครงสร้างในรูปแบบ Integrated Value Chain โดยแบ่งออกเป็น

             1. สายโอเลฟินส์ที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (Gas based value
chain) กำหนดให้บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เป็น
แกนนำในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ที่ผลิตจากก๊าซฯ
(Gas based value chain) โดยมุ่งเน้นสายเอทิลีนเป็นหลัก เพื่อรองรับ
และเป็นการต่อยอดธุรกิจก๊าซธรรมชาติของกลุ่ม ปตท. เป็นลำดับแรก
และเพื่อให้มีความเชื่อมโยงในการส่งต่อวัตถุดิบสำหรับการขยายงาน
ของปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่องของ PTTCH และบริษัทในเครืออื่นๆ ของ
ปตท. นอกจากนี้ กำหนดให้มีการรวมบริษัทที่มีลักษณะการดำเนิน
กิจการหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน
และลักษณะของผลิตภัณฑ์หลักเป็น Commodity เข้าด้วยกัน เช่น
การจำหน่ายหุ้นสามัญของบริษัท พีทีที โพลิเอทิลีน จำกัด (PTTPE)
และหุ้นสามัญของบริษัท บางกอก โพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน)
(BPE) ที่ ปตท.ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่ PTTCH (ทั้งนี้ การจำหน่ายหุ้นสามัญ
ดังกล่าว ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PTTCH ในวันที่
28 กันยายน 2549 ก่อนจึงจะดำเนินการได้)

                2. สายธุรกิจบริการ (Strategic Support Business) เป็นธุรกิจ
ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจหลัก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
และความได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงการค้าให้แก่ทั้งกลุ่ม ปตท.

                3. สาย Specialties และ Engineering Plastic เป็นธุรกิจที่มี
Value Chain การทำธุรกิจต่อเนื่องไปยังสาย Engineering Plastic
เช่นธุรกิจสาย Phenol , Polycarbonate

                 4. สายธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture) เป็นธุรกิจที่มีกระบวน
การผลิตซับซ้อน จึงต้องอาศัยผู้ร่วมลงทุนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือ
เป็นกิจการที่ผู้ถือหุ้นต้องการลงทุนร่วมกับ ปตท. โดยตรง แต่ทั้งนี้
ผลิตภัณฑ์หลักจะไม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับผลิตภัณฑ์หลักของ
บริษัทในกลุ่มอื่น ซึ่ง ปตท. จะพิจารณาการลงทุน ทั้งในส่วนของ
การลงทุนใหม่ และ/หรือการซื้อกิจการ

                สำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจการกลั่นยังคง
เป็นไปตามที่ ปตท.ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
2549 และในแบบ 56-1 ประจำปี 2548 ตามกล่าวข้างต้น

                 อนึ่ง การจัดแบ่งกลุ่มธุรกิจภายใต้นโยบายการลงทุนในธุรกิจ
ปิโตรเคมีของ ปตท. ดังกล่าว ทำให้มีความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย
ในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัทในกลุ่ม ปตท.มากขึ้น
อีกทั้งจะช่วยขจัดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ทั้งของ ปตท.และบริษัทในเครือ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ ปตท. และ PTTCH ตลอดจนผู้ถือหุ้น
ในระยะยาว โดยเฉพาะการเน้นความชัดเจนที่ให้ PTTCH เป็น
แกนนำในรูปแบบ Integrated Value Chain จะส่งผลให้ PTTCH
สามารถขยายฐานการลงทุนด้าน Gas Base Olefins สายเอทิลีน
ได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย
ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อการดำเนินงานในช่วงวัฏจักรขาลงของธุรกิจ

                  จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                                                      ขอแสดงความนับถือ


                                                               (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์)
                                                                   กรรมการผู้จัดการใหญ่

ฝ่ายตลาดทุนและผู้ลงทุนสัมพันธ์
โทร.       0 2537 2792
โทรสาร 0 2537 2791
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขอโทษด้วยครับ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้การ Post เกิดการซ้ำกันขึ้นมาครับ ไม่รู้ว่าจะหาทางลบกระทู้ที่ซ้ำกันได้อย่างไร
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ผลการจัดกลุ่มธุรกิจดังกล่าวของ ปตท. จึงนำมาสู่การซื้อหุ้นปิโตรเคมีของ ปตท. เพื่อให้มาอยู่ใน Line ของ PTTCH ครับ ซึ่งได้ดำเนินการซื้อขายเสร็จและชำระเงินเรียบร้อยแล้วด้วยครับ

ใช้เงินลงทุนซื้อหุ้นจากปตท. จำนวนเงิน 3,750 ล้านบาทครับ

ที่  520/14/435
                                                                                                  2 ตุลาคม 2549

เรื่อง      รายงานการจำหน่ายหุ้นบริษัท พีทีที โพลิเอทิลีน จำกัดและ
              บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท
              ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

เรียน      กรรมการและผู้จัดการ
              ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

              ตามที่เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.)
ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าคณะกรรมการ ปตท. ในการประชุมครั้งที่
8/2548 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 ได้มีมติอนุมัติให้ ปตท. ดำเนินการ
ปรับโครงสร้างธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ ซึ่งรวมถึงการจำหน่ายหุ้น
บริษัท พีทีที โพลิเอทิลีน จำกัด (PTTPE) และบริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน
จำกัด (มหาชน) (BPE) ที่ ปตท.ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่บริษัท ปตท. เคมิคอล
จำกัด (มหาชน) (PTTCH)  นั้น

                 ปตท. ขอแจ้งให้ทราบว่าในวันที่ 2 ตุลาคม 2549 ปตท.ได้ทำการ
โอนหุ้นสามัญของ PTTPE และ BPE ที่ ปตท. ถืออยู่ทั้งหมดจำนวน 11,500,000
หุ้นและ 85,000,000 หุ้นตามลำดับ ให้แก่ PTTCH เรียบร้อยแล้ว และได้รับชำระ
เงินค่าหุ้นดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,750,000,000 บาทและ
2,000,000,000 บาทตามลำดับจาก PTTCH เรียบร้อยแล้วในวันเดียวกัน
ทั้งนี้ ภายหลังการจำหน่ายหุ้นดังกล่าว จะมีผลให้ PTTCH เป็นผู้ถือหุ้น
รายใหญ่แต่เพียงรายเดียวใน PTTPE และ BPE ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น
ร้อยละ 99.99 ของทุนชำระแล้วทั้งหมดของแต่ละบริษัท

                  อนึ่ง การจำหน่ายหุ้น PTTPE และ BPE ดังกล่าวของ ปตท.ได้
รับยกเว้นตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่
เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546 ข้อ 7(4) และขนาดของรายการไม่เข้าข่ายที่จะต้อง
รายงานสารสนเทศตามหลักเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
ของบริษัทจดทะเบียน แต่เป็นการรายงานการเข้าร่วมทุนหรือยกเลิกการเข้า
ร่วมทุนกับบริษัทอื่น โดยสัดส่วนของการเข้าร่วมทุนตั้งแต่ร้อยละ 10 ของ
ทุนชำระแล้วของบริษัทที่เข้าร่วมทุน

                   จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                                                          ขอแสดงความนับถือ


                                                                     (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์)
                                                                       กรรมการผู้จัดการใหญ่

ฝ่ายตลาดทุนและผู้ลงทุนสัมพันธ์  โทร. 0 2537 2792  โทรสาร 0 2537 2791
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 2

หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

จากการปรับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ประเภท Low tech (ไม่ซับซ้อน)

ทำให้ กลุ่มธุรกิจ Low tech แต่ Asset Size จะใหญ่มากขึ้น และใหญ่กว่า High Tech ขึ้นไปอีก

ซึ่งผมก็ทราบมาว่า Atc ก็มีการวางแผนที่จะมีการควบรวมกิจการกันเหมือนกัน กับกลุ่มเครือของ ปตท. ครับ

2 เส้นทางเดิน ของ Low Tech และ High Tech ด้านปิโตรเคมีของไทย ที่จะไปคว้าดาวข้างหน้า ผลการดำเนินงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องน่าติดตามนะครับว่า ยักษ์ใหญ่ปิโตรเคมีของไทย จะไปแข่งกับยักษ์สากลนานาชาติได้หรือไม่

แต่ที่แน่ ๆ คือ Size ของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเป็นระดับ แสนล้านบาทขึ้นไป น่าจะจูงใจให้การลงทุนของกองทุนและต่างชาติ สนใจลงทุนมากขึ้นครับ
โพสต์โพสต์