CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
เอก
Verified User
โพสต์: 329
ผู้ติดตาม: 0

CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีผลกระทบต่อกำไร-ขาดทุนอย่างไร ผมมองว่า พฤติกรรมของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยมากกว่า 35 น่าจะดูหนังในโรงหนังน้อยลง และหันมาดู VCD มากขึ้น ก็น่าจะทำให้ผลประกอบการของ CVD ดีขึ้นในอนาคต เพื่อนๆเห็นเป็นไงครับ
เงินซื้อความสะดวกสบายได้ แต่ซื้อความสุขไม่ได้ ความสุขเราต้องสร้างมันขึ้นมาเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Frodo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 1

CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คงต้องรอดูนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่
ข่าวออกมาว่าเสียลิขสิทธิ์จากค่ายหนังสำคัญไปหลายค่าย
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

โพสต์ที่ 3

โพสต์

กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ว่าเอาไว้
ศึก 2 วัง "มาลีนนท์" หัก "กลุ่มหงษ์ฟ้า" ล้างบางคน "เผด็จ" ส่อ "ซีวีดี" สะเทือน

"มาลีนนท์" ล้างบ้านใหม่ "ซีวีดี" เขี่ย "กลุ่มหงษ์ฟ้า" พ้นทาง..ส่งผลลิขสิทธิ์หนังค่ายยักษ์ "ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์" หลุดมือ "แหล่งข่าววงใน" ยืนยัน รายใหญ่ทยอยทิ้งหุ้น CVD ตลอด ด้าน "มาลีนนท์" ยิ้มได้กุมเงินสดมาบริหารเอง กว่า 384 ล้านบาท



ภายหลัง "ดร.แคทลีน มาลีนนท์" และ "นางสาวเทรซี่ แอนน์ มาลีนนท์" (บุตรสาว 2 คนของนายประชา มาลีนนท์) ใช้เงินกว่า 191.97 ล้านบาท เข้าฮุบหุ้นใหญ่ "บมจ.ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์" (CVD) ซื้อหุ้นจากกลุ่ม "นายเผด็จ หงษ์ฟ้า" และกลุ่ม "นายสวง ว่องสุภัคพันธุ์" เบ็ดเสร็จ 7.12 ล้านหุ้น สัดส่วน 21.97% เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2549

ซึ่งเมื่อรวมกับการถือหุ้นของ "บมจ.บีอีซี เวิลด์" (BEC) ทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของกลุ่มมาลีนนท์ ใน "ซีวีดี" สูงถึง 40%

หลังจากกลุ่มมาลีนนท์ เข้ามาบริหาร "ซีวีดี" ได้เพียง 4-5 เดือน ก็พบว่า กลุ่มผู้บริหารเดิมที่เป็นลูกน้องเก่าของ "เผด็จ หงษ์ฟ้า" อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้ก่อตั้งบริษัท ทยอยลาออกกันไม่ขาดสาย

เริ่มจาก "นายเผด็จ" ได้ลาออกจากการเป็น "ที่ปรึกษาบริษัท" ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 ตามมาด้วยมือขวาของ "นายเผด็จ" คือ "Mr.Brian Estus" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บ. ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล (บริษัทย่อย) ที่แจ้งลาออกไปเมื่อ 1 สิงหาคม 2549

ทั้งนี้ Mr.Brian Estus ถือเป็นหัวใจหลักของ "ซีวีดี" ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากค่ายหนังดังทั่วโลก

ถัดมาก็เป็นบุตรสาวของนายเผด็จ คือ "นางกันทิมา แสงอารยะกุล" ตัวแทนบริหารฝ่ายคุณภาพ และผู้จัดการฝ่ายการตลาด ค่ายภาพยนตร์อิสระ และ TVB (ค่ายหนังฮ่องกง) ก็ได้แจ้งการลาออกมีผลทันที วันที่ 10 สิงหาคม 2549

ด้าน "แหล่งข่าวในวงการ" เปิดเผยกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ (มาลีนนท์) ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับ "นายเผด็จ หงษ์ฟ้า" ส่วนเหตุที่คนของนายเผด็จ ลาออกนั้นเกิดจากการที่กลุ่มมาลีนนท์ มีแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างจากนโยบายของนายเผด็จ และพยายามผลักดันให้ "ผู้บริหารเดิม" ทำยอดขายมากเกินไป

"การดำเนินการของ กลุ่มมาลีนนท์ เขาไม่ฟัง คุณเผด็จ สุดท้ายเลยมีปัญหากัน ทำให้คุณเผด็จ ต้องลาออกจากที่ปรึกษา เช่นเดียวกับฝ่ายขายมือหนึ่งก็ลาออกแล้ว ตอนนี้มีคนลาออกตามค่อนข้างมาก" แหล่งข่าวเล่าให้ฟัง

ซึ่งผลกระทบของความขัดแย้งครั้งนี้ได้เริ่มขยายออกไปสู่ธุรกิจ โดยเฉพาะคู่ค้าบริษัทภาพยนตร์ค่ายดังจากต่างประเทศ

ล่าสุด "แหล่งข่าว" ยืนยันว่า ซีวีดี ไม่ได้รับการต่อสัญญาซื้อลิขสิทธิ์ กับค่าย "ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์" ซึ่งเป็นค่ายหนังที่สร้างสัดส่วนรายได้สูงถึง 30% ของรายได้รวม

ขณะเดียวกันยังมีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการต่อสัญญาซื้อลิขลิทธิ์ที่จะหมดในระยะใกล้นี้กับ "วอลท์ ดิสนีย์" ซึ่งถือเป็นค่ายภาพยนตร์ที่มีหนังดังๆ เป็นจำนวนมาก ล่าสุดมีข่าวว่าค่ายวอลท์ ดิสนีย์ เตรียมให้ลิขสิทธิ์กับรายอื่นแล้ว

ขณะนี้ ซีวีดี เหลือเพียงหนังจากค่าย "โซนี่ พิกเจอร์ โฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์" เท่านั้น ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ที่ให้ผลิตแต่ "CVD" อย่างเดียว ยังไม่สามารถผลิตเป็น "DVD" ได้

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ภายหลังจาก กลุ่มมาลีนนท์ เข้ามา วันนี้หนังใหม่ของ ซีวีดี ออกมาน้อยมาก ซึ่งทำให้มาร์เก็ตแชร์ของบริษัทตกต่ำลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันยังทำให้ "ศูนย์เช่าวิดีโอ" ได้รับผลกระทบไปด้วย จากจำนวนหนังที่น้อยลง

ปกติหนังจากค่ายหลัก (โซนี่ พิกเจอร์, บัวนา วิสต้า เวิลด์ไวด์, ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์) จะออกประมาณ 23-24 แผ่นต่อเดือน และหนังจีนจะออก 25 แผ่นต่อเดือน ตอนนี้เหลือออกเดือนละไม่กี่แผ่น จนถึงล่าสุด VCD ที่ต้องออกในเดือนมิถุนายนยังออกไม่ครบมาถึงเดือนสิงหาคม

"...จากอันดับ 1 ตอนนี้ "ซีวีดี" คงตกไปอยู่อันดับโหล่แล้วมั้ง ซึ่งคุณเผด็จ เขาเสียดายมากเพราะบริษัทนี้เขาก่อตั้งมากับมือ ที่เขาขายหุ้นออกไปก็เพราะอายุมากแล้วอยากเกษียณ แต่ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ เขามาทำอย่างนี้ เลยรู้สึกเจ็บปวด"

แหล่งข่าวรายเดิม ยังบอกด้วยว่า ขณะนี้นักลงทุนรายใหญ่ที่ถือหุ้น CVD พอรู้ข่าว หลายคนได้ทยอยขายหุ้นออกไปแล้วจำนวนมาก กดให้ราคาหุ้นปัจจุบันลงมาเหลือ 14.80 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่กลุ่มมาลีนนท์เข้ามาลงทุนที่หุ้นละ 27 บาท หากนับจากราคานี้ กลุ่มมาลีนนท์ ขาดทุนแล้ว ประมาณ 86 ล้านบาท

ด้าน "นักวิเคราะห์หลักทรัพย์" ประเมินว่า ถ้า ซีวีดี ไม่ได้รับการต่อสัญญากับ "ทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ็อกซ์" จริง ก็จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทค่อนข้างมาก แต่เรื่องดังกล่าวก็ถือเป็นนโยบายที่ "ดร.แคทลีน มาลีนนท์" เคยประกาศมาแล้วว่า กลยุทธ์ของ ซีวีดี จากนี้จะลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ราคาแพง หันมาซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก กลุ่มบีอีซี แทน อาทิ ภาพยนตร์เกาหลีชุด "หมอโฮจุน"

ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายความโดดเด่นของ ซีวีดี ในด้านลิขสิทธิ์หนังต่างประเทศกับค่ายใหญ่ๆ อย่างชัดเจน

"ความจริงถ้ากลุ่มมาลีนนท์ต้องการช่องทางที่จะขาย VCD ของตัวเอง ก็ไม่จำเป็นต้องเข้ามาซื้อหุ้นจาก กลุ่มนายเผด็จ หงษ์ฟ้า ในราคาสูงก็ได้ เพราะจริงๆแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นเดิมของ "บีอีซี" ประมาณ 20% ก็สามารถทำธุรกิจเป็นพันธมิตรกันได้อยู่แล้ว"

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ ถึงแม้ว่ากลุ่มมาลีนนท์จะขาดทุนหุ้น CVD อยู่เกือบ 90 ล้านบาท แต่จริงๆ แล้ว ยังถือว่าคุ้ม เพราะกลุ่มมาลีนนท์มีอำนาจเด็ดขาดในการเข้าบริหารเงินสดของ "ซีวีดี" ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 มีจำนวนมาก ถึง 384.45 ล้านบาท โดยไม่มีกลุ่มหงษ์ฟ้า และกลุ่มว่องสุภัคพันธุ์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับเงินก้อนนี้ ขณะที่หนี้สินระยะยาวของบริษัทนี้ก็ไม่มีเลย

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นโยบายใหม่ของ ซีวีดี ในวันนี้ "จะไม่เน้นเกมรุก" แต่กลับหันไปลดต้นทุนของบริษัทลงทุกช่องทาง และอาจไปกระทบผลประโยชน์บางประการของกลุ่มนายเผด็จ โดยเฉพาะการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากต่างประเทศ

ล่าสุด "นักวิเคราะห์" บอกว่า ซีวีดี ได้ลดจำนวนการผลิต VCD และ DVD รวมทั้งปรับลดเครดิตให้กับร้านเช่า ลงเหลือ 45 วัน จากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 90 วัน เพื่อรักษาฐานะของบริษัท มากกว่าการเน้นเกมรุกที่กลุ่มนายเผด็จเคยทำ

สำหรับผลการดำเนินงานของ "ซีวีดี" ในงวดครึ่งปี 2549 มีกำไรสุทธิเพียง 17.83 ล้านบาท ลดฮวบจากงวดเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 35.52 ล้านบาท หรือลดลง 49.80%
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายความโดดเด่นของ ซีวีดี ในด้านลิขสิทธิ์หนังต่างประเทศกับค่ายใหญ่ๆ อย่างชัดเจน
มันเริ่มออกอาการไม่โดดเด่นมาระยะนึงแล้วมากกว่า ไม่งั้นเขาจะเลิกหรอ เขาจะขายหุ้นเขาทำไม ถ้าไม่คิดได้ว่า ทำไปก็เหนื่อย
ไม่ใช่เหนื่อยแค่ แย่งซื้อหนังกะเจ้าอื่นไม่ได้อย่างเดียว

แต่...
ซีวีดี ได้ลดจำนวนการผลิต VCD และ DVD รวมทั้งปรับลดเครดิตให้กับร้านเช่า ลงเหลือ 45 วัน จากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 90 วัน
คิดง่ายๆ ก็ถ้าตลาดมันดี มันขายได้จริง มันต้องลดมั้ยล่ะ
:roll:



ส่วนคนซื้อไปน่ะ เหตุผลก็ระบุชัดๆ
เป็นนโยบายที่ "ดร.แคทลีน มาลีนนท์" เคยประกาศมาแล้วว่า กลยุทธ์ของ ซีวีดี จากนี้จะลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ราคาแพง หันมาซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก กลุ่มบีอีซี แทน อาทิ ภาพยนตร์เกาหลีชุด "หมอโฮจุน"
และ....
แต่จริงๆ แล้ว ยังถือว่าคุ้ม เพราะกลุ่มมาลีนนท์มีอำนาจเด็ดขาดในการเข้าบริหารเงินสดของ "ซีวีดี" ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 มีจำนวนมาก ถึง 384.45 ล้านบาท
ก็ถ้าไม่คุ้ม แล้วใครเขาจะซื้อล่ะ
:roll:
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 60

CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สรุปว่าคุ้มสำหรับผู้กุมอำนาจเพราะ เงินสดมีมาก

แต่ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เกี่ยวนะครับงานนี้

ดูๆไปก่อนซักพักก็ดีนะครับ นโยบายที่ออกมายังไม่ชัดเจนในเรื่องผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น(รายย่อย)
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
เอก
Verified User
โพสต์: 329
ผู้ติดตาม: 0

CVD เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกทางบัญชี

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
เงินซื้อความสะดวกสบายได้ แต่ซื้อความสุขไม่ได้ ความสุขเราต้องสร้างมันขึ้นมาเอง
โพสต์โพสต์