หอการค้าสหรัฐโวยแหลก ผู้ว่าการFEDตัวการทำตลาดหุ้นทั่วโลกป่วน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Mr. Big
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1913
ผู้ติดตาม: 7

หอการค้าสหรัฐโวยแหลก ผู้ว่าการFEDตัวการทำตลาดหุ้นทั่วโลกป่วน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จับตาเม็ดเงินต่างชาติทะลักเข้าเอเชียอีกครั้ง หลัง'หอการค้าสหรัฐ'สยบลมปาก'เบอร์นันเก้'

        หอการค้าสหรัฐ โวยแหลก ผู้ว่าการเฟดตัวการทำตลาดหุ้นทั่วโลกป่วนเหตุแสดง
ท่าทีเรื่องทิศทางดอกเบี้ยไม่ชัดเจน คาดหลังจากนี้ 'เบอร์นันเก้' สงบปากสงบคำมาก
ขึ้นส่งผลเม็ดเงินต่างชาติทะลักเข้าตลาดเอเชียอีกครั้ง

                ล่าสุดสัญญาณต่างชาติเริ่มซื้อสุทธิหุ้นไทย 3 วันติดกันกว่า 1 พันล้านบาท ด้าน
โบรกเกอร์เตือนอย่าเพิ่งชะล่าใจ ระบุเม็ดเงินเข้าไทยอาจเป็นแค่เศษเงิน เหตุปัจจัยการเมืองยัง
กดดันแต่ยังเชื่อช่วงนี้ตลาดซู่ซ่าเพราะได้เงินฝรั่งช่วยดันขณะที่'ทักษิณ' ยอมรับการเมืองกระทบ
ความเชื่อมั่นนักลงทุน ตลาดหุ้น

               ในที่สุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ก็ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานขึ้นอีก
0.25% เป็น 5.25% หรือเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 17 ในระยะเวลา 2 ปี โดยการปรับครั้งนี้เป็นไป
ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์กันไว้แต่กว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการนั้น  ในช่วง 2 สัปดาห์ที่
ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์เกือบทั่วโลกต่างก็ได้รับผลกระทบกับความไม่แน่นอนในเรื่องดังกล่าวกัน
ถ้วนหน้า โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย ที่ดัชนีทุกประเทศปรับตัวลดลงอย่างหนักจากเม็ด
เงินไหลออกที่นักลงทุนต่างประเทศโยกกลับไปเก็งกำไรในตลาดเงิน ซึ่งประเด็นหลักข้อหนึ่งที่ส่ง
ผลให้ตลาดหุ้นในเอเซียอ่อนแอ และเต็มไปด้วยความสับสนในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะ
มาจากนโยบายที่ไม่แน่นอนของนายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการเฟดคนใหม่ ทั้งที่ก่อนหน้ายืนยันว่า
จะพักการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ให้ข่าวว่าพร้อมจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป ซึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความลังเล จากที่คาดว่าจะนำเงินไปลงทุนใน
ตลาดอื่นได้ไม่เกินก็ต้องรับเทขายทิ้งออกมาเมื่อประกาศว่าการประชุมครั้งนี้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อีก จนทำให้เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วเอเซียลดลงอย่างรุนแรงพร้อมกันและบางประเทศ
อย่างอินเดียนั้นรับผลกระทบอย่างหนักจนลดลงถึง 10% ถึงขนาดต้องปิดทำการในวันนั้นไป

* หอการค้าสหรัฐ โวย 'เบอร์นันเก้' ต้นเหตุทำตลาดทุน-เงินสับสน              จนล่าสุดเมื่อวานนี้ (29 มิ.ย.) นายมาร์ติน เรกาเลีย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของหอการ
ค้าสหรัฐ ออกมาระบุว่า นายเบน เบอร์นันเก้ เป็นต้น

            เหตุที่ได้สร้างความสับสนต่อนักลงทุนด้วยการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันเองในช่วง
ที่ผ่านมาโดยเบอร์นันเก้พูดอย่างหนึ่งในวันหนึ่ง และก็พูดถึงสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
ในสัปดาห์ถัดไป

              'นายเบอร์นันเก้เคยยอมรับว่าเขาตัดสินใจผิดพลาดในเดือนพ.ค.ในการกล่าวกับสื่อมวล
ชนรายหนึ่งว่าเขาคิดว่าตลาดตีความเขาผิดพลาดในการมองว่าเขาไม่คิดจะใช้นโยบายแข็งกร้าว
ในการจัดการกับภาวะเงินเฟ้อโดยก่อนหน้านั้นเบอร์นันเก้เคยพูดถึงแนวโน้มที่เฟดจะหยุดพักการ
ใช้นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่ในเวลาต่อมาเขาก็ให้ข่าวอีกว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ใน
ระดับสูงเกินกว่าระดับที่น่าพึงพอใจและถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยต่อไปเท่ากับว่าความเห็นของนายเบอร์นันเก้คือสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นอ่อนแอใน
ระยะนี้และถ้อยแถลงของเขาไม่ได้ช่วยส่งเสริมความโปร่งใสของเฟดแต่อย่างใดและเขาสร้าง
ความสับสนให้แก่ตลาดโดยไม่จำเป็น' หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากหอการค้าสหรัฐ กล่าว

                ทั้งนี้คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) ประชุมกันเมื่อ 28 และเมื่อ
วานนี้ (29 มิ.ย.) คาดว่า FOMCจะปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐขึ้น 0.25 % สู่ 5.25 %
หลังเสร็จสิ้นการประชุมโดยหอการค้าสหรัฐคาดว่าเฟดจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ 5.5 % ในเดือน
ส.ค.และหลังจากนั้นเฟดก็อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในขณะที่เศรษฐกิจชะลอการเติบโตโดยถูกกด
ดันจากการขยับขึ้นของราคาพลังงานและการคุมเข้มนโยบายการเงิน

                อย่างไรก็ตามการลงทุนทางธุรกิจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐโดยได้
รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในภาคโรงงานและจากบริษัทที่ถือครองเงินสดเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้รายได้จากการค้าก็อาจเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงอีก 10 % ในปีหน้า

                นอกจากนี้ หอการค้าสหรัฐยังเตือนว่าการปั่นค่าเงินโดยบางประเทศ เช่นจีนและญี่ปุ่น
ไม่ใช่สิ่งที่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไปโดยกลุ่มผู้ผลิตของสหรัฐมีความไม่พอใจเป็นอย่างมากต่อ
จีนในการที่ตรึงค่าเงินหยวนไว้ที่ระดับต่ำเกินความเป็นจริงเมื่อเทียบกับดอลลาร์เพื่อหนุนยอดส่ง
ออกของจีนมายังสหรัฐ

                 ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ของไทยก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วยเช่นกันเห็นได้จาก
เม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศที่มีปริมาณการขายสุทธิติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้บรรยากาศ
การลงทุนโดยรวม ซบเซามูลค่าการซื้อขายเบาบางมาตลอด ยิ่งผสมโรงกับปัจจัยการเมืองที่ยังไร้
ความชัดเจนด้วยแล้วส่งผลให้ความคาดหวังว่าเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยน้อยลง
เต็มที่เพราะนักลงทุนยังขาดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศจนทำให้ไม่แน่ใจที่
จะเข้ามาลงทุนในไทย

                  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อความชัดเจนเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเฟดเห็นชัดขึ้นในช่วง 2-
3  วันที่ผ่านมานี้สังเกตุได้ว่าเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างประเทศเริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนใน
ประเทศไทยอีกครั้ง แม้จะมีปริมาณไม่มากนักแต่ก็เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น โดยในสัปดาห์นี้ เม็ด
เงินต่างชาติเริ่มซื้อสุทธิตั้งแต่วันอังคารที่ 27 มิถุนายน ที่ 198.68 ล้านบาท และซื้อสุทธิ
286.60 ล้านบาทในวันพุธที่ 28  มิถุนายน ส่วนเมื่อวานนี้ก็ซื้อสุทธิอีก 453.04 ล้านบาท ซึ่งการ
กลับเข้ามาครั้งนี้แม้อาจจะมองว่าเป็นการเข้ามาซื้อหุ้นขนาดใหญ่หรือหุ้นบิ๊กแคปเพื่อปิดงบบัญชี
ในไตรมาสที่ 2 หรือทำวินโดว์ เดรสซิ่งเท่านั้นแต่เชื่อว่าอย่างน้อยก็น่าจะเป็นผลดีต่อตลาดฯและ
เพิ่มบรรยากาศการลงทุนในดีขึ้นได้

               ยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่หอการค้าสหรัฐออกมาตำหนิการให้ข่าวของนายเบน เบอร์
นันเก้ผู้ว่าการเฟดว่าเป็นต้นเหตุสร้างความสับสนให้กับตลาดฯในช่วงที่ผ่านมาแล้วน่าจะทำให้จาก
นี้ไปการดำเนินนโยบายหรือการกำหนดท่าทีของนายเบอร์นันเก้จะมีความรัดกุมและแน่นอนมาก
ขึ้น ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงท่าทีไปเรื่อยจนทำให้นักลงทุนสับสนอย่างที่ผ่านมาก็จะส่งผลให้นักลงทุน
ต่างประเทศมีความมั่นใจมากขึ้นและทำให้มีเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นได้อีก

                 โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเอเซียเมื่อวานนี้ ส่วนใหญ่จะปรับขึ้น เช่น นิกเกอิปิดที่
ระดับ 15,121.15 จุดเพิ่มขึ้น 235.04 จุด หรือ +1.6%  ดัชนีคอมโพสิต เกาหลีใต้ ปิดที่ระดับ
1,263.02 จุด เพิ่มขึ้น 24.31 จุด หรือ +2.0% ดัชนีฮั่งเส็งปิดที่ระดับ 15,865.22 จุด เพิ่มขึ้น
122.56 จุด หรือ -0.78% ดัชนีSHI:  ตลาดหุ้นจีน ปิดตลาดที่ระดับ 1,671.62 จุด เพิ่มขึ้น
32.33 จุด หรือ1.97 %  และดัชนี BSESN: ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ระดับ 10,144.82 จุด เพิ่มขึ้น
15.12 จุด ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทย ปิดที่ระดับ 670.71 จุด เพิ่มขึ้น3.91 จุด หรือ
0.59%  มีมูลค่าการซื้อขาย  9,989.02 ล้านบาท

*จับตาเงินไหลเข้าจากนี้

                  แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์รายหนึ่ง ให้ความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หอการค้าสหรัฐทำ
หน้าที่ในครั้งนี้ได้ดีเพราะตามบทบาทหน้าที่ของผู้ที่กำหนดทิศทางทางการเงินของประเทศยักษ์
ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาที่ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวไปในทางใดก็ล้วนแต่กระทบต่อตลาดเงินตลาดทุน
ของภูมิภาคอื่นแทบทั้งสิ้น ดังนั้นการที่นายเบอร์นันเก้พูดไม่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆนั้น
ทำให้สถานการณ์การลงทุนไม่ดีแน่ๆ แต่จากนี้เชื่อว่าการกำหนดทิศทางของผู้ว่าการเฟดคงจะ
ระมัดระวังมากขึ้นแน่ๆ หากไม่แน่ใจอะไรก็คงไม่พูดออกมาก่อน จนทำให้ตลาดเกิดความสับสน

               'เมื่อก่อนนี้ตอน อลัน กรีนสแปน เป็นผู้ว่าการฯจะเห็นได้เลยว่าหากไม ่แน่ใจอะไรจะ
ไม่พูอออกมาแต่ถ้าแน่ใจแล้วก็จะยืนยันทันที แถมยังประกาศชัดเจนด้วยว่าจะ ขึ้นดอกเบี้ยไปอีกกี่
ครั้งเพื่อเหตุผลอะไรจึงทำให้ตลาดไม่ปั่นป่วนมาก เว้นแต่จะมีการปรับขึ้นในอัตราที่สูงเกินคาด
หมายเท่นั้นอาจทำให้ตลาดฯตอบรับไม่ดี แต่ในส่วนของเบอร์นันเก้นั้น ก่อนหน้าบอกจะคงแต่จาก
นั้นก็มาบอกว่าจะปรับ จึงทำให้นักลงทุนสับสน ซึ่งจะเห็นได้ว่าวันที่ตลาดเอเซียร่วงแรงเมื่อ 2
สัปดาห์ก่อนนั้นก็เพราะเบอร์นันเก้ประกาศว่าไม่พอใจกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นมากจนอาจจะต้อง
ปรับดอกเบี้ยขึ้น จึงทำให้เม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเซียไปยังตลาดเงินสหรัฐแทน' แหล่ง
ข่าว

             เขากล่าวว่าเพราะฉะนั้นเม็ดเงินซื้อสุทธิจากนี้ของต่างประเทศจึงน่าจะะส่งผลดีต่อตลาด
เพราะอย่างน้อยข่าวเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดจากนี้น่าจะหมดลงแม้ว่าการประชุมครั้ง
หน้าในเดือนสิงหาคมจะมีสัญญาณการปรับขึ้นอีกครั้งแต่ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหลัก
ทรัพย์มากมายนักเหมือนก่อนหน้านี้อีก เพราะนักลงทุนรับรู้และก็คลายความกังวลไปแล้ว
โพสต์โพสต์