** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
tummeng
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3665
ผู้ติดตาม: 0

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พอดีไปเจอบทความหนึ่งในกรุงเทพธุรกิจ Bizweek เห็นว่าน่าสนใจดี เลย Copy เอามาให้อ่านน่ะครับ (เท็จจริงประการใด โปรดใช้วิจารณยานด้วยละกันครับ) ** ถ้าเป็นจริงนี่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นกองทุนวายุภักษ์จังเลยนะเนี่ย

**************

สะกดรอย...กองทุน "วายุภักษ์ หนึ่ง"

กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ที่กำลังเดินแผน "จำกัด" การเติบโตของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) สูงเกินไป...ด้วยลูกเล่นพิเศษ ที่สร้างให้ "กระทรวงการคลัง" รับผลประโยชน์แทนประชาชน (ผู้ถือหน่วยลงทุน)

ความเคลื่อนไหวของพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นของ กองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" หลังจากกองทุนแห่งนี้เข้ามาร่วมวงซื้อขายในตลาดหุ้นได้ 2 ปีเศษ (เริ่มเทรดตั้งแต่ 27 ก.พ. 2547) โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ และรับประกันผลตอบแทน (เงินปันผล) ให้ผู้ถือหน่วยขั้นต่ำที่ 3% ต่อปี

โดยจากข้อมูลวันที่ 17 มี.ค. 2549 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้รายงานมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (หลังหักหนี้สิน 6.36 หมื่นล้านบาท) ของกองทุนไว้ทั้งสิ้น 1.39 แสนล้านบาท ขณะที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ที่ปรากฏชื่อกองทุนวายุภักษ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ 21 มี.ค. 2549 คิดรวมได้จำนวน 2.06 แสนล้านบาท

หลังจากทีมข่าวได้ทำการสำรวจมูลค่า "เงินปันผล" ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะได้รับจากการถือหุ้นอยู่ในหลักทรัพย์ต่างๆ พบว่า กองทุนยักษ์แห่งนี้มีโอกาสที่จะกวาดเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2548 ไปได้กว่า 7,877 ล้านบาท ซึ่งเงินปันผลส่วนใหญ่ล้วนได้มาจากหุ้น "ปตท." (PTT) จำนวน 4,031 ล้านบาท ซึ่งปีนี้ PTT ประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมากถึง 9.25 บาทต่อหุ้น

แต่ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าพฤติกรรมของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งคล้ายไม่ต้องการจะรับรู้กับเงินปันผลจากหุ้นบางตัว โดยจะใช้วิธี "โยกหุ้น" หรือ "สับเปลี่ยน" ผู้รับเงินปันผลเป็นกระทรวงการคลังโดยตรง...เพื่อไม่ให้เงินปันผลที่จะได้มา ตกไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง

โดยพบว่า การลงทุนใน "หุ้นบุริมสิทธิ ธ.ไทยพาณิชย์" (SCB-P) ถือเป็นหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ให้น้ำหนักลงทุนมากเป็น "อันดับสอง" รองจากหุ้น PTT แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กองทุนแห่งนี้ตั้งใจที่จะไม่รับรู้ประโยชน์จากเงินปันผลของ ธ.ไทยพาณิชย์ แม้สักครั้งเดียว

"วิธีการก็คือ" เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2548 ทางกระทรวงการคลังได้ทำการ "รับโอนหุ้น" SCB-P จำนวน 625.79 ล้านหุ้น มาจากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ "ธ.ไทยพาณิชย์" จะประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ที่ปรากฏชื่อในสมุดทะเบียนก่อนวันที่ 12 เม.ย. 2548 ...แล้วจึงมีการจ่ายเงินปันผลจริง ในวันที่ 28 เม.ย.2548

หลังจากรับเงินปันผลแล้ว "กระทรวงการคลัง" จึงค่อยโอนหุ้น SCB-P กลับไปให้กองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" ในจำนวนเดียวกับที่เคยรับโอนหุ้นมาก่อนหน้าวันรับปันผล เท่ากับว่า "กระทรวงการคลัง" จะรับประโยชน์จากหุ้น SCB-P เพียงรายเดียว...โดยที่ผู้ถือหน่วยลงทุนวายุภักษ์ (ประเภท ก) หมดสิทธิในเงินก้อนนั้นทันที

แล้วปีนี้ (2549) ก็เช่นกัน หลังจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจะจ่ายปันผลประจำปีหุ้นละ 3 บาท แต่ล่าสุดเมื่อ 15 มี.ค. 2549 ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารกองทุน "วายุภักษ์ หนึ่ง" ได้ถอดหุ้น SCB-P และ SCB ออกจากพอร์ตโอนไปให้แก่ "กระทรวงการคลัง" อีกครั้งในจำนวน 628.84 ล้านหุ้น และ 15.21 ล้านหุ้นตามลำดับ เป็นการดักทางก่อนถึงกำหนดปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผลอีกเช่นกัน หมายความว่า "เงินปันผล" จาก "ธ.ไทยพาณิชย์" จำนวนกว่า 2,403 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินปันผล 2,357 ล้านบาทจากหุ้น SCB-P และอีก 45.6 ล้านบาทจากหุ้น SCB) จะไปตกแก่ "กระทรวงการคลัง" รับไว้เองอีกเช่นเคย และเชื่อได้ว่า หลังจาก "ธ.ไทยพาณิชย์" จ่ายปันผลเสร็จตามกำหนดในวันที่ 28 เม.ย. 2549 ก็คงจะได้เห็น "กระทรวงการคลัง" โอนหุ้น SCB และ SCB-P ทั้งหมดคืนไปให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งอีกครั้ง

นอกจากนี้ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังสำรวจต่อไปที่ความเคลื่อนไหวของพอร์ตลงทุนกองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" ตั้งแต่ช่วง 31 ต.ค.2548-31 ม.ค. 2549 ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย...โดยพบว่ากองทุนแห่งนี้เริ่มทยอย "ซอยหุ้น" ในพอร์ตออกมาขาย เพื่อปรับน้ำหนัก และยุทธศาสตร์การลงทุนในหุ้นแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะการลดน้ำหนักลงทุนในหุ้น "บิ๊กแคป" หลายๆ ตัว ตั้งแต่การซอยหุ้น "บ.ท่าอากาศยานไทย" (AOT) ออกมาขายแล้วกว่า 3 ล้านหุ้น ขายหุ้น "ธ.กรุงเทพ" (BBL) จำนวน 5.2 ล้านหุ้น รวมถึงการขายหุ้น "บ.ปูนซิเมนต์ไทย" (SCC) อีกจำนวน 1 ล้านหุ้น ตลอดจนยังได้ตัดขายหุ้นของ "บ.ผลิตไฟฟ้า" (EGCOMP) ออกไปบางส่วน เป็นจำนวน 1,235,700 หุ้น

ผู้บริการกองทุนวายุภักษ์ยังได้ดำเนินการ "ทิ้งหุ้น" แบบ "เกลี้ยงพอร์ต" ในหุ้น "บ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี" (SSI) จำนวน 114.98 ล้านหุ้น รวมถึงยังเทขายหุ้น "บ.วนชัย กรุ๊ป" (VNG) ออกไปอีกทั้งหมด จำนวน 13.30 ล้านหุ้น (ณ 31 มี.ค.2548 พบชื่อกองทุนวายุภักษ์เข้ามาถือ VNG จำนวน 13.30 ล้านหุ้น)

ขณะเดียวกัน ยังพบการเก็บหุ้น "ไทยออยล์" (TOP) ตุนเข้าพอร์ตวายุภักษ์อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2548 รวมทั้งสิ้น 7.93 ล้านหุ้น รวมทั้งยังมีการนำเงินก้อนใหญ่เข้าไปร่วมลงทุนอยู่ใน "ทีพีไอ" (TPI) อีกกว่า 1,950 ล้านหุ้น ที่ราคาต้นทุน 3.30 บาทต่อหุ้น และส่งผลให้ TPI กลายเป็นมูลค่าการลงทุน "อันดับสาม" ของพอร์ตวายุภักษ์ หนึ่งทันทีรองจาก PTT และ SCB-P ตามลำดับ

มีข้อมูลที่น่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ...มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของนักลงทุน (ประเภท ก.) ถูกกดให้ทรงตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 10.60-10.70 บาท มาโดยตลอด ทั้งๆ ที่ต้นทุนของหุ้นส่วนใหญ่ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซื้อเข้ามา...ก็ค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็น PTT ที่ไปซื้อมาจาก "กระทรวงการคลัง" จำนวนกว่า 435 ล้านหุ้น (15.58%) มีต้นทุนเพียงหุ้นละ 63.35 บาท และ SCB-P มีต้นทุนหุ้นละ 31.35 บาท ...ขณะที่ราคาตลาดของหุ้นวันนี้กลับวิ่งไปไกลกว่ามาก

นอกจากนี้ ยังอาจมีหุ้นอีกมากที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เข้าไปซื้อขาย (ระยะสั้น) แต่ไม่ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามเกณฑ์รายงานต่อ ก.ล.ต. รวมถึงยังมีการถ่ายเทผลประโยชน์จากเงินปันผล "จำนวนมาก" ไปให้กับ "กระทรวงการคลัง"

จากเหตุการณ์ทั้งหมด เป็นไปได้ที่ "กระทรวงการคลัง" ต้องการกด NAV ไม่ให้ขึ้นไปสูงมาก จนอาจสร้างภาระในภายหลังที่จะต้องซื้อคืนหน่วยลงทุนจากประชาชนทั้งหมดเมื่อกองทุนมีอายุครบกำหนด 10 ปี

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ Bizweek
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เรื่อง scb ต้องลองหาดูข่าว ปีสองปีที่แล้ว รู้สึกเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับภาษี

เรื่องโอกาสเติบโตของ Nav ต้องลองกลับไปอ่านหนังสือชี้ชวนดู จำได้เลาๆว่า vayu 1 แทบจะเหมือน Bond มากกว่าหุ้น

ในบอร์ดนี้ก็เคยมีกระทู้เรื่องนี้อยู่ สมัยกองทุนเริ่มมีข่าวจัดตั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 1

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถูกแล้วครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อบังคับของกองทุนฯ อะไรซักอย่างที่ วายุภักษ์ไม่สามารถจะรับปันผลโดยตรงได้ ต้องโอนไปให้คลังรับแทน แล้วให้คลังโอนเงินกลับมาอีกที
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เอ๋
ในหนังสือชี้ชวนบอกว่า
รับปันผลได้โดยตรง
แต่ว่า ประเด็นอยู่ที่ว่า
ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก กับประเภท ข ได้รับเงินไม่เท่ากัน
โดย สามบาทแรก ประเภท ก ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
แต่บาทต่อไปเริ่มลดลง ไปเรื่อยๆๆ ละให้ประเภทข.เพิ่มขึ้น

แถมอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นแบบนี้ ในหนังสือชี้ชวนไม่ได้บอกว่า มีการโอนหุ้นที่ได้จากกระทรวงการคลังกลับมา

ซึ่งเป็นการปล้นกันชัดเจน
เอาอีกแล้วโจรเสื้อสูท
:)
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สงสารประชาชน

เจอแบบนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนคงไปร่วมไล่กับพันธมิตรแน่
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 6

โพสต์

โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่า vayu1 จะทำอะไรที่หน้าด้านได้ขนาดนั้นนะครับ
อาจจะเป็นอย่างที่คุณ jojo ว่า
แต่เท่าที่ตามอ่าน Bizweek มา ข้อมูลของทีมงานก็ไม่มั่วแบบให้ถูกจับได้เท่าไรนัก
คงต้องรอทางกองทุนออกมาชี้แจงล่ะครับ งานนี้ใครสักคนคงต้องขายหน้า
แต่ถ้ากองทุนไม่ชี้แจง คงต้องถือว่ายอมรับผิดโดยไม่สู้คดีครับ
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1423
ผู้ติดตาม: 293

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 7

โพสต์

น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการถือครองหุ้นโดยกองทุน ไม่เกิน 5 % ถึงมีสิทธิ์รับเงินปัลผลเต็มจำนวน ส่วนที่เกินไม่มีสิทธิ์ หรือเปล่าครับ
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คลังเค้าคงขอยืมเงินนกยักษ์ไปหมุนก่อนมั๊งครับ เห็นช่วง ๆ นี้ ถังแตก เมื่อเช้าก็ได้ข่าวเหลืออีกไม่เกิน 14 วัน  :lol:  :lol:
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 885

** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ไขความลับ..วายุภักษ์ หนึ่ง

หลังจากกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ได้ตั้งข้อสังเกตวิธีการโยกหุ้นบุริมสิทธิ ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB-P) ของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง (มูลค่าเป็นอันดับ 2 ของพอร์ต) จำนวน 625 ล้านหุ้นไปให้กับกระทรวงการคลัง ...ก่อนถึงวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายปันผล ซึ่งจะทำให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ได้ประโยชน์จากเงินปันผลนั้นแทน


ดร.พิชิต อัคราทิตย์ อธิบายกรณีที่เกิดขึ้นว่า เนื่องจากตาม พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์ กำหนดไว้ว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใดที่ถือหุ้นของธนาคารเกินกว่า 5% ผู้ถือหุ้นนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในส่วนที่ถือหุ้นเกิน 5% และไม่สามารถออกเสียงได้

วิธีหาทางเลี่ยง...เพื่อไม่ให้ผู้ถือหน่วยเสียผลประโยชน์ ก็คือ โอนหุ้น SCB-P ในส่วนที่เกิน 5% ไปให้แก่กระทรวงการคลังก่อนวันปิดสมุดทะเบียน โดยที่ทางกองทุนรวมวายุภักษ์จะเหลือหุ้นจำนวน 160 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 4.71%

หลังจากธนาคารจ่ายปันผลเสร็จ ทางกระทรวงการคลังก็จะโอนหุ้นคืนกลับมาให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์เช่นเดิม...พร้อมๆกับ "เงินปันผล"

"เราจำเป็นต้องทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่ากระทรวงการคลังจะให้เราถอดหุ้น SCB-P ออกไป จนเหลือต่ำกว่า 5% หรือจนกว่ากระทรวงการคลังจะยอมซื้อหุ้นกลับไป"

สำหรับกรณี ทรัพย์สินรวมของกองทุนเพิ่มขึ้นไปถึง 2 แสนล้านบาท (ต้นทุน 1 แสนล้านบาท) แต่มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของผู้ถือหน่วยลงทุน (ประเภท ก.) กลับขยับอยู่เพียง 10.60-10.70 เท่านั้น

ขณะที่ NAV ของผู้ถือหน่วยประเภท ข. กลับวิ่งไปถึง 20 บาท ทั้งๆที่กองทุนรวมวายุภักษ์ก็มีส่วนต่างจากราคาหุ้นของปตท. (PTT) จำนวนมาก เพราะมีต้นทุนเพียงหุ้นละ 63.35 บาท และยังได้หุ้นทีพีไอมาเพียง 3.30 บาทต่อหุ้น รวมถึง SCB-P ซึ่งมีต้นทุนเพียงหุ้นละ 31.35 บาท

ดร.พิชิต ชี้แจงว่า ตามกฎการบันทึกบัญชีเพื่อหาค่า NAV ของ SCB-P ไม่ว่าราคาตลาดของหุ้นจะขึ้นไปเท่าไร แต่เราจำเป็นต้องคำนวณจากราคา "ต้นทุน" เพื่อให้เป็นไปตามกฎการบันทึกบัญชี แต่หากมีการขายหุ้นออกมาก็สามารถบันทึกเป็นกำไรได้ทันที

สำหรับมูลค่าส่วนต่างจากหลักทรัพย์อื่นๆ นั้น แม้ทรัพย์สินรวมทุกประเภทจะขึ้นไปถึง 2 แสนล้านบาท แต่กองทุนวายุภักษ์ก็ยังต้องมี "ภาระหนี้สิน" ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เพื่อเอาไปหักกับสินทรัพย์อีกครั้ง

ในทางหนึ่ง เราอาจเรียกภาระส่วนนี้ว่าเป็น "ค่าประกันภัย" ตลอดการเดินทาง เนื่องจากผู้ถือหน่วยประเภท ก จะได้รับการคุ้มครองทั้ง "เงินต้น" และ "ผลตอบแทน" ขั้นต่ำปีละ 3% ตลอดอายุ 10 ปี

ทีนี้...การที่จะได้สิทธิเช่นนี้ ก็จะต้องมีหนี้สินบางอย่าง "กำกับ" เอาไว้

ส่วนสูตรคำนวณค่าประกันภัยค่อนข้างจะซับซ้อน แต่หลักการ ก็คือ ในภาวะที่ตลาดหุ้นยังดี...ถ้าหากมูลค่าหุ้นขึ้นไปเกินกว่าระดับหนึ่ง ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง (รวมค่าประกันภัย) จะต้องแบ่งปันไปให้แก่กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหน่วยประเภท ข ในสัดส่วนที่มากกว่าประชาชนทั่วไป (ประเภท ก)

..ยิ่งมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเท่าไร สัดส่วนที่จะต้องให้กระทรวงการคลังก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ถ้าหากตลาดหุ้นลง ค่าประกันภัยก็จะลดลงตาม หรือเมื่อ "พอร์ตติดลบ" ค่าประกันในส่วนนี้แทนที่จะหักออกไปให้กระทรวงการคลัง ก็จะกลายเป็นส่วนที่กระทรวงการคลังต้องจ่ายกลับให้แก่ประชาชน

"เราคาดเดาได้ยากว่าในช่วง 10 ปีนี้ตลาดหุ้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นี่เพิ่งจะผ่านมาเพียง 2-3 ปีเท่านั้น จะเรียกว่ามันเป็นค่า 'ประกันภัย' เพื่อให้ประชาชนผู้ถือหน่วยลงทุน ได้รับความคุ้มครองตลอดการเดินทาง 10 ปี"
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
โพสต์โพสต์