เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ROBINS จะแก้ปัญหา  เพื่อจะจ่ายเงินปันผลอย่างไร

หรือว่าไม่ต้องจ่ายปันผลก็ดีแล้ว
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 2

โพสต์

งง อะครับพี่ ไอ้เกณฑ์บัญชีใหม่มันเป็นยังไงล่ะครับ

ขอโทษทีนะครับถ้าถามอะไรปล่อยไก่ออกไป
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 3

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ต้องล้างกำไรสะสมกับส่วนขาดทุนมูลค่าหุ้นก่อน ทีนี้กำไรสะสมก็จะลดลงจนถึงระดับหนึ่งซึ่งอาจทำให้จ่ายปันผลไม่ได้
Impossible is Nothing
Mr. Big
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1913
ผู้ติดตาม: 7

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ได้ยินมาว่าจะลดพาร์ 10 เหลือ 1 เหมือน atc นะครับ

ดังนั้นถ้าทำได้ retained earnings กลายเป็นบวกเลยนะครับ หลังจากออกจากแผนถึงทำได้ เห็น cns ว่าไว้ตอนเช้าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
xcha
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 6

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอความรู้หน่อยนะครับ

ส่วนขาดทุนมูลค่าหุ้น คืออะไรหรือครับ ?
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5012
ผู้ติดตาม: 144

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มารออ่าน
jiras
Verified User
โพสต์: 558
ผู้ติดตาม: 0

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมขอแสดงความเห็นนะครับ ผิดหรือถูกขอให้ผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ
ปกติบริษัทมหาชนที่มีขาดทุนสะสมแต่เมื่อเริ่มมีกำไรและต้องการจ่ายเงินปันผลให้เร็วขึ้น ก็จะใช้วิธีลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมซึ่งจะทำให้สามารถจ่ายเงินปันผลได้เช่นกรณีของ ATC และอีกหลายบริษัทที่ผ่านมาและทาง TMB ก็กำลังขอให้คลังยินยอม แต่หลักทางบ/ช ถ้าบริษัทมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นอยู่ต้องนำมาล้างส่วนนี้ก่อน ไม่สามารนำไปล้างขาดทุนสะสมได้ทันที หลักทางบ/ชนี้มีมานานแล้วครับ เพียงแต่กฏหมายบริษัทมหาชนเขียนให้บริษัทมหาชนสามารลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมได้ ทำให้ที่ผ่านมามีหลายบริษัทที่ลงบ/ช ไม่ถูกต้อง โดยไม่ได้นำมาหักส่วนต่ำมูลค่าหุ้นก่อน ROBINS เองก็มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นกว่า 10,000 ลบ. :idea:
jiras
Verified User
โพสต์: 558
ผู้ติดตาม: 0

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ATC ก็ยังมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นกว่า 3,000 ลบ. และ TPI ก็มีกว่า 32,000 ลบ. ซึ่งพอทางสมาคมบ/ช ออกมาแจ้งเรื่องมาตรฐานทางบ/ชดังกล่าวเลยทำให้หุ้น ATC,TPI ตกลงมามากทีเดียว :idea:
JackJune
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอเสริมสำหรับผู้ถามว่า ส่วนลดมูลค่าหุ้นคืออะไร
ส่วนลดมูลค่าหุ้นจะมีความหมายตรงกันข้ามกับส่วนเกินมูลค่าหุ้น จะเกิดขึ้นเนื่องจาก   ส่วนต่างของราคาหุ้นที่เสนอขายต่อนักลงทุนในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนครับ เช่น ราคาหุ้น ที่จดทะเบียน พาร์ 10 บาทแต่ขายได้ในราคาหุ้นละ 9 บาท ดังนั้น ส่วนลดมูลค่าหุ้นก็เท่ากับ หุ้นละ 1 บาทครับ
ก็เปรียบง่ายๆเหมือนกับว่า เป็นผลขาดทุนของผู้ถือหุ้นอย่างหนึ่ง ดังนั้น ก่อนที่จะจ่ายเงินปันผลหรือล้่างขาดทุนสะสม จำเป็นที่จะต้องล้าง ส่วนลดมูลค่าหุ้นออกไปก่อน
ภาพประจำตัวสมาชิก
xcha
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 6

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 10

โพสต์

[quote="JackJune"]ขอเสริมสำหรับผู้ถามว่า ส่วนลดมูลค่าหุ้นคืออะไร
ส่วนลดมูลค่าหุ้นจะมีความหมายตรงกันข้ามกับส่วนเกินมูลค่าหุ้น จะเกิดขึ้นเนื่องจาก
JackJune
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ที่บอกว่าขายได้ในราคาหุ้นละ 9 บาท ราคานี้ คือ ราคาตลาด หรือเปล่าครับ ? ถ้าใช่ จะใช้ราคาของวันไหนมาคิดครับ เพราะราคาตลาดก็เปลี่ยนไปทุกวัน
ราคา 9 บาทเป็นราคาที่เสนอขายครั้งรแรก พูดง่ายๆก็คือราคา เพิ่มทุนที่เสนอขายกับผู้ลงทุน หรือ ipo ครั้งแรกแหล่ะครับ ไม่ได้ปรับตามราคาตลาดในแต่ละวัน บันทึกครั้งเดียวตอนแรกที่มีรายการการขายหุ้นจดทะเบียนครับ
ส่วนใหญ่แล้ว ส่วนลดมูลค่าหุ้นจะเกิดในกรณีที่บริษัทต้องการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ลงทุนในราคาต่ำกว่าราคาพาร์ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
xcha
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 6

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เข้าใจแล้วครับ

ขอบคุณมากครับ คุณ JackJune  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
2nd wind
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 629
ผู้ติดตาม: 22

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมขอเอาข่าวแหล่งที่มา มาโพสต์ไว้ เผื่อมีใครพลาดไปนะครับ

ก.ล.ต.ปิดช่องโหว่บจ.ล้างขาดทุนสะสม

http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... 2005/11/21

ต้องแก้ไขส่วนต่ำมูลค่าหุ้นก่อนปันผล "ทีพีไอ-เอ็นเอสเอ็ม-ทหารไทย"เข้าข่าย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า หลังจากนี้บริษัทจดทะเบียนที่จะใช้แนวทางการลดทุนมาล้างขาดทุนสะสม เพื่อให้สามารถจ่ายเงินปันผลได้ จะไม่สามารถดำเนินการได้อีกต่อไป เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานทางบัญชี ในกรณีที่บริษัทมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นที่เกิดจากขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้หรือต่ำกว่าราคาพาร์ หากลดทุนต้องนำไปล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นให้หมดก่อน จึงจะลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการแต่งบัญชีกำไรหรือขาดทุนสะสมเพื่อจ่ายเงินปันผล และขณะนี้ ก.ล.ต.กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ที่ใช้แนวทางดังกล่าวไปก่อนหน้านี้อย่างไร

"มาตรฐานทางบัญชีใหม่ ก.ล.ต.จะบังคับใช้กับงบการเงินปี 2548 ทั้งปี หลังจากที่บริษัทจดทะเบียนนำส่งงบการเงินสิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว" นายธีระชัยกล่าว

นางเกษรี ณรงค์เดช นายกสภาวิชาชีพบัญชี กล่าวว่า ก.ล.ต.ได้หยิบยกประเด็น บจ.ที่ใช้วิธีการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม โดยที่ยังมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นเหลืออยู่มาหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะวิธีการดังกล่าวคนที่ได้ประโยชน์คือผู้ถือหุ้นที่ได้ปันผล แต่เจ้าหนี้จะเสียผลประโยชน์ จึงต้องมีการรักษาสิทธิของเจ้าหนี้ไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบงบการเงินของ บจ.ไตรมาส 3 ปี 2548 ที่นำส่งตลาดหลักทรัพย์พบว่า มี 12 บริษัทที่ลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสม ประกอบด้วยบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TPI บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด(มหาชน) หรือ WIN บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด(มหาชน) บริษัท นครไทยสตริปมิล จำกัด(มหาชน) หรือ NSM บริษัท อะโรเมติกส์(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ ATC บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด(มหาชน) หรือ ESTAR บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด(มหาชน) หรือ SVOA บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) หรือ SIRI บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ KGI บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ SGF บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ PYT และ บริษัท อีสเทิร์นไวร์ จำกัด(มหาชน) หรือ EWC

ทั้งนี้ NSM เป็นบริษัทที่มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นสูงสุดถึง 57,757 ล้านบาท และยังมีขาดทุนสะสม 442 ล้านบาท รวมแล้ว 58,199 ล้านบาท แต่มีทุนชำระแล้ว 76,037 ล้านบาท รองลงมาคือ TPI ที่มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 32,049 ล้านบาท มีกำไรสะสมเพียง 4.6 พันล้านบาท หากนำกำไรสะสมหักส่วนต่ำมูลค่าหุ้นจะยังขาดทุนสะสมอีก 2.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีทุนชำระแล้วเพียง 7,849 ล้านบาท ทำให้ไม่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริง

นอกจากนี้ธนาคารทหารไทยยังเป็น บจ.อีกแห่งที่จะลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม จะได้จ่ายเงินปันผลได้ ทั้งที่ยังมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นจำนวนมาก
คนมีโชค คือ คนที่พร้อมเสมอเมื่อโอกาสยังมาไม่ถึง และใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ยามโอกาสมาถึง
ภาพประจำตัวสมาชิก
2nd wind
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 629
ผู้ติดตาม: 22

เกณฑ์บัญชีใหม่ปี 2549

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เปิดโผ 12 บจ.ล้างขาดทุนผิดหลักบัญชี

http://www.bangkokbiznews.com/2005/11/2 ... d=19210734

"ก.ล.ต.-สภาวิชาชีพบัญชี" งัดมาตรฐานบัญชีใหม่คุมเข้มขั้นตอนล้างขาดทุน หวั่นฐานะการเงินไม่สะท้อนความเป็นจริง "ธีระชัย" จี้บริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินการไปแล้วเร่งแก้ไขให้ถูกต้องในงวดสิ้นปี 2548 เผยทีพีไอมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นถึง 3.2 หมื่นล้านบาท แต่มีกำไรสะสมเพียง 4.6 พันล้านบาทเท่านั้น

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียนที่จะใช้แนวทางการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อให้สามารถจ่ายเงินปันผลได้ จะไม่สามารถดำเนินการได้อีกต่อไป หลังจากที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานทางบัญชี ในกรณีที่บริษัทมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้น ที่เกิดจากขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หรือขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์

ทั้งนี้หากบริษัทใดมีความประสงค์จะลดทุนเพื่อนำไปล้างขาดทุนสะสมจะต้องล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นให้หมดก่อน จึงจะไปล้างขาดทุนสะสมได้ เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการแต่งบัญชีกำไรหรือขาดทุนสะสม เพื่อให้สามารถจ่ายเงินปันผลได้

โดยขณะนี้ ก.ล.ต. กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนที่ใช้แนวทางดังกล่าวไปก่อนหน้านี้ได้อย่างไร

"มาตรฐานทางบัญชีใหม่ ก.ล.ต. จะบังคับใช้กับงบการเงินปี 2548 ทั้งปี หลังจากที่บริษัทจดทะเบียนนำส่งงบการเงินสิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ดังนั้นหากบริษัทใดมีการบันทึกบัญชีไม่เป็นไปตามความเห็นของสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าว จะต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องในงบการเงินงวดถัดไป"นายธีระชัย กล่าว

ด้าน ดร.เกษรี ณรงค์เดช นายก สภาวิชาชีพบัญชี กล่าวว่า ก.ล.ต.ได้หยิบยกประเด็นบริษัทจดทะเบียนที่ใช้วิธีการลดทุน เพื่อล้างขาดทุนสะสม โดยที่ยังมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นเหลืออยู่มาหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะการที่บริษัทล้างขาดทุนสะสม ด้วยการลดทุนจดทะเบียน จะทำให้บริษัทมีกำไร และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์คือผู้ถือหุ้น เพราะได้เงินปันผล ขณะที่เจ้าหนี้จะเป็นผู้ที่เสียผลประโยชน์

ดังนั้นจึงต้องออกมาตรฐานทางบัญชีว่า หากจะลดทุน เพื่อล้างขาดทุนสะสมจะต้องล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นให้หมดก่อน

"ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจาก ก่อนหน้านี้บริษัทจำกัดไม่สามารถขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้น(พาร์)ได้ แต่พอมีกฎหมายบริษัทมหาชนอนุญาต ให้ขายหุ้นต่ำกว่าพาร์ได้ จึงทำให้มีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น ดังนั้นเพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้ให้คงเดิมไว้ หากจะมีการลดทุน เพื่อล้างขาดทุนสะสม ก็ควรที่จะมีหลักประกันในส่วนผู้ถือหุ้นต่อเจ้าหนี้ ส่วนบริษัทที่อาศัยช่องทางดังกล่าวและจ่ายเงินปันผลให้เจ้าหนี้ ถือว่ายกประโยชน์ให้จำเลย แต่จะทำต่อไปไม่ได้ หลังจากออกมาตรฐานบัญชีใหม่แล้ว"ดร.เกษรี กล่าว

ทั้งนี้จากการสำรวจงบการเงินไตรมาส 3 ปี 2548 ของบริษัทจดทะเบียนที่นำส่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า มีบริษัทจดทะเบียน 12 บริษัท ที่ดำเนินการลดทุนจดทะเบียน เพื่อล้างขาดทุนสะสมคือ บริษัท อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ) บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด บริษัท นครไทยสตริปมิลล์

นอกจากนี้ยังมีบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด บริษัท แสนสิริ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา และ บริษัท อีสเทิร์นไวร์

แหล่งข่าวจากวงการบัญชีกล่าวว่า ส่วนใหญ่บริษัทดังกล่าวข้างต้นจะเป็นบริษัทที่เคยผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มาแล้ว ซึ่งกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ก็จะนิยมใช้การลดทุน เพื่อนำไปล้างขาดทุนสะสม แต่รูปแบบการล้างขาดทุนสะสมบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งทำข้ามขั้นตอน ส่งผลให้ฐานะของบริษัทหลังจากที่ล้างขาดทุนสะสม ไม่ได้สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริง

โดยทั้ง 12 บริษัทดังกล่าวมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นติดลบ ขณะที่มีกำไรสะสมเกิดขึ้น ถึง 10 บริษัท มีเพียงบริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด และบริษัทนครไทยสติปมิลล์เท่านั้นที่ยังขาดทุนสะสมอยู่

ทั้งนี้รูปแบบการล้างขาดทุนสะสมบริษัทเหล่านี้ได้มีการนำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสม โดยที่ยังไม่นำไปหักส่วนต่ำมูลค่าหุ้นที่ติดลบ เนื่องจากตามกระบวนการ การล้างขาดทุนสะสมที่ถูกต้องแล้ว บริษัทจะต้องนำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาล้างส่วนต่ำมูลค่าหุ้นก่อน และเมื่อเหลือเท่าไหร่จึงนำมาล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่

อย่างไรก็ตามจากงบการเงินไตรมาส 3 ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวข้างต้นร่วม 10 บริษัท ต่างก็มีกำไรสะสม แต่หากบริษัทเหล่านี้ปฏิบัติตามขั้นตอนการล้างขาดทุนสะสมที่ถูกต้อง จะพบว่ายังมีตัวเลขขาดทุนสะสมอยู่แฝงอยู่

โดยเฉพาะทีพีไอปัจจุบันถือว่าเป็นบริษัทที่มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นสูงสุดถึง 3.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีกำไรสะสม 4.6 พันล้าน และมีขณะที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระเพียง 7.84 พันล้านบาท ซึ่งหากนำกำไรสะสมมาหักส่วนต่ำมูลค่าหุ้นที่เหลือ 3.2 หมื่นล้านบาท พบว่าจะมีตัวเลขขาดทุนสะสม 2.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่บริษัทอะโรเมติกส์ แม้จะมีตัวเลขส่วนต่ำมูลค่าหุ้นสูงถึง 3.6 พันล้าน แต่หากนำกำไรสะสมที่มีอยู่ 4.5 พันล้าน ไปหักก็ยังเหลือกำไรสะสมอยู่กว่า 900 ล้านบาท และบริษัทแสนสิริ มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 1.06 พันล้านบาท แต่มีกำไรสะสม 1.24 พันล้าน หลังหักส่วนต่ำมูลค่าหุ้นก็จะยังเหลือกำไรสะสมอยู่เช่นกัน

ส่วนที่เหลือ 9 บริษัท หากนำกำไรสะสมที่มีอยู่ไปหักกับส่วนต่ำมูลค่าหุ้น ก็จะทำให้มีตัวเลขขาดทุนสะสมทันที
คนมีโชค คือ คนที่พร้อมเสมอเมื่อโอกาสยังมาไม่ถึง และใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ยามโอกาสมาถึง
ล็อคหัวข้อ