มีใครสน salee บ้าง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

:D
sunrise
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2273
ผู้ติดตาม: 1

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เห็นบทวิเคราะห์ครับ

คิดว่าน่าสนใจเพราะกำไรต่อโตเนื่อง
แต่ว่ายังไม่ได้ศึกษาเลยสักนิดเดียวครับ :lol:
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
2nd wind
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 630
ผู้ติดตาม: 24

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตัวนี้น่าสนใจเหมือนกัน เห็นว่าได้ลูกค้ารายใหญ่จาก P&G และจากออสเตรเลีย ครึ่งปีแรกเหมือนจะไม่ดี แต่คิดว่าน่าจะคุ้มค่า เพราะมีค่าใช้จ่ายจากการทดลองทำชิ้นงานเสนอให้ P&G แค่รอบเดียว แต่เขาจะได้ลูกค้ารายใหญ่ ระยะยาวอีกหลายรอบ ตัวนี้ครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งแรก เพราะได้ลูกค้าเพิ่ม และไม่มีค่าใช้จ่ายทดลองผลิตสินค้าเหมือนครึ่งแรก และอาจจะมีผลของฤดูกาลขายสินค้าที่มากขึ้นช่วงปลายปี แต่ที่ต้องระวังก็เรื่องราคาวัตถุดิบ เม็ดพลาสติก ว่าจะมีผลดีผลเสียมากกว่ากันเท่าไร
คนมีโชค คือ คนที่พร้อมเสมอเมื่อโอกาสยังมาไม่ถึง และใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ยามโอกาสมาถึง
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 1

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:lol:  :lol:

คู่แข่งมีใครบ้างครับศึกษาหรือยัง  8)
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
sunrise
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2273
ผู้ติดตาม: 1

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

พอจะหาข้อมูลได้ที่ไหนบ้างครับพวกหนังสือชี้ชวนหรือว่าพวก รายงานประจำปี
ผมหาในเน็ตไม่ได้เลยครับ
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fi ... 2005-04-19

ข้อมูลผมเอาจาก filing อ่ะครับ

ผู้ออกหลักทรัพย์:
สาลี่อุตสาหกรรม บมจ.
 
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์:
สาลี่อุตสาหกรรม บมจ.
 
วันที่นับ 1 Filing :
9 กันยายน 2547
 
วันที่ Filing มีผลใช้บังคับ:
11 เมษายน 2548
 
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย:
19 เมษายน 2548
 
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย:
21 เมษายน 2548
 
ประเภทหลักทรัพย์:
หุ้นสามัญ
 
ประเภทการเสนอขาย:
IPO
 
บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน:
บางกอก ซิตี้ แอดไวเซอรี่ บจก.
 

หัวข้อ  วันที่ปรับปรุงครั้งสุดท้าย
  *download all files  
    ปกหน้า
11 เมษายน 2548  
    ส่วนที่ 1 ข้อมูลสรุป (Executive Summary)
11 เมษายน 2548  
    ส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์
7 มีนาคม 2548  
       ปัจจัยความเสี่ยง
7 มีนาคม 2548  
       ลักษณะการประกอบธุรกิจ
7 มีนาคม 2548  
       การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์
7 มีนาคม 2548  
       การวิจัยและพัฒนา
7 มีนาคม 2548  
       ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ
7 มีนาคม 2548  
       โครงการในอนาคต
7 มีนาคม 2548  
       ข้อพิพาททางกฎหมาย
7 มีนาคม 2548  
       โครงสร้างเงินทุน / โครงสร้างผู้ถือหุ้น
7 มีนาคม 2548  
       การจัดการ / โครงสร้างการจัดการ
7 มีนาคม 2548  
       การควบคุมภายใน
7 มีนาคม 2548  
       รายการระหว่างกัน
7 มีนาคม 2548  
       ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
11 เมษายน 2548  
       ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
11 เมษายน 2548  
    ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์
11 เมษายน 2548  
    ส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
7 มีนาคม 2548  
    เอกสารแนบ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท
7 มีนาคม 2548  
    เอกสารแนบ รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย
7 มีนาคม 2548  
    เอกสารแนบ แบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน
7 มีนาคม 2548  
  เอกสารแนบ งบการเงิน งวด(ปี 2545-2544)  10 กันยายน 2547  
  เอกสารแนบ งบการเงิน งวด(ปี 2546 - 2545)  10 กันยายน 2547  
  เอกสารแนบ งบการเงิน งวด(เก้าเดือนแรกปี 2547)  21 มกราคม 2548  
  เอกสารแนบ งบการเงิน งวด((2547-2546))  17 มีนาคม 2548
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 1 - 1
ส่วนที่ 1
ข้อมูลสรุป (Executive Summary)
(ผู้ลงทุนควรอ่านรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 ก่อนตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์)
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (บริษัท) ก่อตั้งโดย กลุ่มจิวะพรทิพย์ กลุ่มอัศวกาญจน์ และ ผู้บริหาร
ของบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด (โปรดดูรายละเอียด หน้า 2.2-1 และเอกสารแนบ 2 ) ซึ่งบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม
จำกัด เป็นผู้ค้าเคมีภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมานานเป็นระยะเวลา 35 ปี ในอดีตเคยเป็นผู้จัดจำหน่ายเม็ดพลาสติก ซึ่งในปัจจุบัน
ไม่ได้จัดจำหน่ายแล้วและไม่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับบริษัท สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถแยกตามสายการผลิตออก
เป็น 2 สายการผลิต ได้แก่ สายการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบฉีด (Plastic Injection) และสายการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
แบบขึ้นรูป (Vacuum Pressure Forming) นอกจากนี้ บริษัทยังให้บริการรับออกแบบ ผลิต และ ซ่อมแซมแม่พิมพ์
สำหรับขึ้นรูปพลาสติกด้วย (Vacuum Molding) แต่ในส่วนของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก (Injection Molding) บริษัทจะให้
บริการเฉพาะการซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
วันที่ 18 มิถุนายน 2545 บริษัทได้ลงทุนใน บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาเพื่อรับซื้อถาด
ไอซี (Integrated Circuit Tray) ที่บริษัทผลิตเพื่อจำหน่ายต่อให้กับบริษัทผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของญี่ปุ่น
ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด ในอัตราส่วนร้อยละ 17.99
และเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 บริษัทยังได้เข้าลงทุนในบริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและ
จำหน่ายเม็ดสีพลาสติกแบบเข้มข้น (Masterbatch) ให้กับผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกและ
อุตสาหกรรมยาง โดยผู้ผลิตเหล่านี้จะนำเม็ดสีพลาสติกแบบเข้มข้นไปผสมกับเม็ดพลาสติก ยาง และยางสังเคราะห์
บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยถือหุ้นในสัดส่วน
บริษัทละร้อยละ 6.25
นอกจากนี้ วันที่ 26 ธันวาคม 2546 บริษัทได้เข้าไปลงทุนในบริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด (บริษัทย่อย) ในอัตรา
ส่วนร้อยละ 99.99 โดยดำเนินธุรกิจรับพิมพ์ฉลากสินค้าคุณภาพสูง (Sticker) ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องจักรอันทันสมัย
ปัจจุบันบริษัทรับพิมพ์ฉลากสินค้าให้กับธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้า
ระดับพรีเมียม ที่ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์รวมถึงฉลากสินค้าที่มีคุณภาพ
ปัจจุบัน บริษัทได้เช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรังสิตพรอสเพอร์ เอสเตท จำกัด ตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 7
โรงงาน มีพื้นที่ใช้สอย 5,160 ตารางเมตร โดยมีกำลังการผลิตเต็มที่ 2,700 ตันต่อปี สำหรับชิ้นส่วนพลาสติก และ
22.21 ล้านเมตรต่อปี สำหรับฉลากสินค้า (โปรดดูรายละเอียด หน้า 2.3-11) แต่เนื่องจากปัจจุบันบริษัทประสบปัญหาข้อ
จำกัดในการขยายพื้นที่ทำให้ไม่สามารถรับงานเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น บริษัทจึงตัดสินใจที่จะสร้างโรงงานและอาคารสำนัก
งานเป็นของตนเอง ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 30 ไร่ โดยโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง
เมื่อเดือนเมษายน 2547 และคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์และเริ่มดำเนินการผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2548 บริษัทคาด
ว่าการก่อสร้างโรงงานใหม่จะทำให้บริษัทสามารถรองรับความต้องการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกของลูกค้าได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า
50% ของกำลังการผลิตในปี 2547
ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รายได้จากการขายและให้บริการของบริษัทมี
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 85.90 ล้านบาท ในปี 2544 เป็น 119.31 ล้านบาท และ 263.29 ล้านบาท ในปี 2545
และ 2546 ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 78 ต่อปี โดยการเพิ่มขึ้นของยอดขายมีปัจจัยมาจากการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศ ประกอบกับการที่บริษัทได้มีการปรับปรุงสายการผลิตให้
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 1 - 2
มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับการผลิตได้หลากหลายขึ้น ในส่วนของกำไรสุทธิ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยใน
ปี 2544-2546 บริษัทมีกำไรสุทธิประมาณ 5.55 ล้านบาท 10.92 ล้านบาท และ 42.92 ล้านบาท ตามลำดับ การเพิ่มขึ้น
ของกำไรสุทธินอกจากมีผลมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากการที่บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนการ
ผลิต และค่าใช้จ่ายในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันบริษัทมีเงินทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วทั้งสิ้น 115 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 115
ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ราคาหุ้นละ 1 บาท และการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในครั้งนี้ ต่อบุคคลทั่วไปทั้งสิ้น
จำนวน 30 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 20.69 ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน
ต่อบุคคลทั่วไป (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) และในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน หุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในครั้ง
นี้ ต่อบุคคลทั่วไปจะมีจำนวนไม่เกิน 34.50 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 23.08 ของจำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลัง
การเสนอขายหุ้นแก่บุคคลทั่วไป โดยจะเป็นราคาเดียวกับการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนครั้งนี้ (รายละเอียดของ
การเสนอขายหุ้นสามารถดูได้ในส่วนที่ 3 ของเอกสารนี้)
บริษัทมีความประสงค์ที่จะนำหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่
จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้เพื่อใช้ลงทุนก่อสร้างโรงงานของบริษัท และ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 1 - 1
ส่วนที่ 1
ข้อมูลสรุป (Executive Summary)
(ผู้ลงทุนควรอ่านรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 ก่อนตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์)
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (บริษัท) ก่อตั้งโดย กลุ่มจิวะพรทิพย์ กลุ่มอัศวกาญจน์ และ ผู้บริหาร
ของบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด (โปรดดูรายละเอียด หน้า 2.2-1 และเอกสารแนบ 2 ) ซึ่งบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม
จำกัด เป็นผู้ค้าเคมีภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมานานเป็นระยะเวลา 35 ปี ในอดีตเคยเป็นผู้จัดจำหน่ายเม็ดพลาสติก ซึ่งในปัจจุบัน
ไม่ได้จัดจำหน่ายแล้วและไม่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับบริษัท สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถแยกตามสายการผลิตออก
เป็น 2 สายการผลิต ได้แก่ สายการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบฉีด (Plastic Injection) และสายการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
แบบขึ้นรูป (Vacuum Pressure Forming) นอกจากนี้ บริษัทยังให้บริการรับออกแบบ ผลิต และ ซ่อมแซมแม่พิมพ์
สำหรับขึ้นรูปพลาสติกด้วย (Vacuum Molding) แต่ในส่วนของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก (Injection Molding) บริษัทจะให้
บริการเฉพาะการซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
วันที่ 18 มิถุนายน 2545 บริษัทได้ลงทุนใน บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาเพื่อรับซื้อถาด
ไอซี (Integrated Circuit Tray) ที่บริษัทผลิตเพื่อจำหน่ายต่อให้กับบริษัทผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของญี่ปุ่น
ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด ในอัตราส่วนร้อยละ 17.99
และเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 บริษัทยังได้เข้าลงทุนในบริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและ
จำหน่ายเม็ดสีพลาสติกแบบเข้มข้น (Masterbatch) ให้กับผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกและ
อุตสาหกรรมยาง โดยผู้ผลิตเหล่านี้จะนำเม็ดสีพลาสติกแบบเข้มข้นไปผสมกับเม็ดพลาสติก ยาง และยางสังเคราะห์
บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยถือหุ้นในสัดส่วน
บริษัทละร้อยละ 6.25
นอกจากนี้ วันที่ 26 ธันวาคม 2546 บริษัทได้เข้าไปลงทุนในบริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด (บริษัทย่อย) ในอัตรา
ส่วนร้อยละ 99.99 โดยดำเนินธุรกิจรับพิมพ์ฉลากสินค้าคุณภาพสูง (Sticker) ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องจักรอันทันสมัย
ปัจจุบันบริษัทรับพิมพ์ฉลากสินค้าให้กับธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้า
ระดับพรีเมียม ที่ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์รวมถึงฉลากสินค้าที่มีคุณภาพ
ปัจจุบัน บริษัทได้เช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรังสิตพรอสเพอร์ เอสเตท จำกัด ตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 7
โรงงาน มีพื้นที่ใช้สอย 5,160 ตารางเมตร โดยมีกำลังการผลิตเต็มที่ 2,700 ตันต่อปี สำหรับชิ้นส่วนพลาสติก และ
22.21 ล้านเมตรต่อปี สำหรับฉลากสินค้า (โปรดดูรายละเอียด หน้า 2.3-11) แต่เนื่องจากปัจจุบันบริษัทประสบปัญหาข้อ
จำกัดในการขยายพื้นที่ทำให้ไม่สามารถรับงานเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น บริษัทจึงตัดสินใจที่จะสร้างโรงงานและอาคารสำนัก
งานเป็นของตนเอง ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 30 ไร่ โดยโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง
เมื่อเดือนเมษายน 2547 และคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์และเริ่มดำเนินการผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2548 บริษัทคาด
ว่าการก่อสร้างโรงงานใหม่จะทำให้บริษัทสามารถรองรับความต้องการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกของลูกค้าได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า
50% ของกำลังการผลิตในปี 2547
ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รายได้จากการขายและให้บริการของบริษัทมี
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 85.90 ล้านบาท ในปี 2544 เป็น 119.31 ล้านบาท และ 263.29 ล้านบาท ในปี 2545
และ 2546 ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 78 ต่อปี โดยการเพิ่มขึ้นของยอดขายมีปัจจัยมาจากการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศ ประกอบกับการที่บริษัทได้มีการปรับปรุงสายการผลิตให้
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 1 - 2
มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับการผลิตได้หลากหลายขึ้น ในส่วนของกำไรสุทธิ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยใน
ปี 2544-2546 บริษัทมีกำไรสุทธิประมาณ 5.55 ล้านบาท 10.92 ล้านบาท และ 42.92 ล้านบาท ตามลำดับ การเพิ่มขึ้น
ของกำไรสุทธินอกจากมีผลมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากการที่บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนการ
ผลิต และค่าใช้จ่ายในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันบริษัทมีเงินทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วทั้งสิ้น 115 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 115
ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ราคาหุ้นละ 1 บาท และการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในครั้งนี้ ต่อบุคคลทั่วไปทั้งสิ้น
จำนวน 30 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 20.69 ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน
ต่อบุคคลทั่วไป (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) และในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน หุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในครั้ง
นี้ ต่อบุคคลทั่วไปจะมีจำนวนไม่เกิน 34.50 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 23.08 ของจำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลัง
การเสนอขายหุ้นแก่บุคคลทั่วไป โดยจะเป็นราคาเดียวกับการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนครั้งนี้ (รายละเอียดของ
การเสนอขายหุ้นสามารถดูได้ในส่วนที่ 3 ของเอกสารนี้)
บริษัทมีความประสงค์ที่จะนำหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่
จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้เพื่อใช้ลงทุนก่อสร้างโรงงานของบริษัท และ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
1. ปัจจัยความเสี่ยง
1.1 ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ
1.1.1 ความเสี่ยงทางด้านราคาวัตถุดิบ
เนื่องจาก เม็ดพลาสติก แผ่นพลาสติก และ แผ่นฟิล์มพลาสติก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก และฉลากพิมพ์พลาสติก (Sticker) เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น ราคาโดยทั่วไปจะแปรผันตามราคาน้ำมันและราคาก๊าซในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีการสั่งซื้อวัตถุดิบเกือบทั้งหมดเหล่านี้จากแหล่งผลิตภายในประเทศด้วยสกุลเงินบาท แต่ราคาวัตถุดิบดังกล่าวมักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่ซื้อขายกันด้วยสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ด้วยระดับความผันผวนที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพตลาดและปัจจัยอื่นๆ เช่น ระดับอุปสงค์และอุปทาน อย่างไรก็ตามในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ต้นทุนวัตถุดิบดังกล่าวของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 และ 54 ตามลำดับของ ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนพลาสติกและฉลากพิมพ์พลาสติก ทั้งนี้ ที่ผ่านมาราคาเม็ดพลาสติก ABS HIPS และ PET ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตของบริษัท เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันในระดับราคาที่ค่อนข้างผันผวน (โปรดดูรายละเอียด หน้า 2.3-18)
ดังนั้น หากราคาวัตถุดิบดังกล่าวมีการปรับตัวสูงขึ้นก็อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำไรขั้นต้นของบริษัทบ้างแต่ไม่มาก ทั้งนี้ เนื่องจากในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบฉีดทั้งหมดของบริษัทที่ผ่านมา ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนด ประเภท มาตรฐาน คุณภาพ และผู้ขายวัตถุดิบมาให้ ซึ่งผู้ขายวัตถุดิบของดังกล่าวจะใช้ราคาขายซึ่งเป็นราคาเดียวกันทั่วโลก (Global price) ดังนั้น หากราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น บริษัทสามารถที่จะขอปรับราคา สินค้าเพิ่มขึ้นได้ ส่วนในการผลิตแบบขึ้นรูป และฉลากพิมพ์ ที่ผ่านมาเมื่อราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ทางบริษัทสามารถขอปรับราคาสินค้าจากลูกค้าได้ เนื่องจากบริษัทจะมีวัตถุดิบอยู่ใน Stock ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทจึงขึ้นไม่มาก บริษัทจึงยังไม่ขึ้นราคาสินค้าเพื่อสายสัมพันธ์และลูกค้าจะได้มีเวลาปรับตัว จนกระทั่งวัตถุดิบใน Stock ของบริษัทหมด และลูกค้าตระหนักถึงราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น บริษัทจึงเจรจากับลูกค้าเพื่อขอขึ้นราคาสินค้า ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการเช่นนี้มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม บริษัทมีมาตรการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ ดังนี้
1. ประสานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและติดต่อกับผู้ค้าวัตถุดิบไว้หลายๆ ราย
2. เปรียบเทียบราคาวัตถุดิบจากผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป เพื่อให้ได้เงื่อนไขทางการค้าที่ดีที่สุด
3. ติดตามแนวโน้มราคาเม็ดพลาสติกและแผ่นพลาสติกจากผู้ขายภายในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอเพื่อวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบที่เหมาะสม หากราคามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น บริษัทอาจจะสั่งซื้อล่วงหน้าในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในการผลิตระยะหนึ่ง
4. ติดต่อและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถชี้แจงและปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่เป็นจริงได้
1.1.2 ความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้ผลิตวัตถุดิบคุณภาพน้อยราย
ที่ผ่านมาบริษัทสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทเม็ดพลาสติกและแผ่นพลาสติกเกือบทั้งหมดจากแหล่งผลิตภายในประเทศ โดยซื้อจากผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นที่มีโรงงานตั้งอยู่ในประเทศไทยและผู้ผลิตชาวไทย ซึ่งเม็ดพลาสติกแแผ่นพลาสติกที่ผลิตจากโรงงานดังกล่าวมีคุณภาพดี และเป็นที่ยอมรับของลูกค้า โดยการได้มาของวัตถุดิบ หน้า 2.1 - 1
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
ดังกล่าวจะเป็นในลักษณะบริษัทเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อตามคุณสมบัติที่ลูกค้ากำหนดทั้งหมด โดยลูกค้าจะกำหนด ประเภท มาตรฐาน คุณภาพ หรือผู้ขาย มาให้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ผลิตแผ่นฟิลม์พลาสติก ประเภท A-PET และ PET-G ที่มีคุณภาพ ในประเทศมีจำนวนประมาณ 4 ราย และในระหว่างปี 2544-2546 ที่ผ่านมา บริษัทมียอดสั่งซื้อแผ่นฟิลม์พลาสติกดังกล่าวจากผู้ผลิตรายหนึ่งในสัดส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 30 ของยอดสั่งซื้อวัตถุดิบรวมในแต่ละปี โดยผู้ผลิตรายนี้เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบคุณภาพรายใหญ่ ซึ่งวัตถุดิบที่ซื้อจากผู้ผลิตรายนี้จะมีคุณสมบัติดีมีปัญหาในการผลิตน้อย และตรงตามคุณสมบัติที่ลูกค้ากำหนดมากที่สุด ดังนั้น บริษัทอาจมีความเสี่ยงในการพึ่งพิงผู้ผลิตรายนี้มากเกินไป สำหรับมาตรการในการลดความเสี่ยง ณ ปัจจุบัน บริษัทได้มีการติดต่อกับผู้ผลิตอีกรายหนึ่งที่สามารถผลิตแผ่นฟิลม์พลาสติกที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน และแผ่นฟิลม์ที่ได้จากบริษัทนี้เมื่อนำมาขึ้นรูปจะให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติตรงตามที่ลูกค้ากำหนดเช่นกัน นอกจากนี้ ในปี 2548 จะมีโรงงานผลิตแผ่นฟิลม์พลาสติก ประเภท A-PET และ PET-G เปิดใหม่อีก 2 โรงงาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการพึ่งพิงผู้ผลิตแผ่นฟิลม์พลาสติกรายนี้ได้
ในส่วนของ สติ๊กเกอร์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญที่ใช้ในการผลิตฉลากสินค้าของบริษัทย่อย ถึงแม้บริษัทจะมีการสั่งซื้อสติ๊กเกอร์จากผู้ขายภายในประเทศทั้งหมด แต่ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีการสั่งซื้อสติ๊กเกอร์จากบริษัท เอเวอรี่ เดนิสสัน จำกัด (ประเทศไทย) ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 57 ของยอดสั่งซื้อ สติ๊กเกอร์ ทั้งหมด ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสติ๊กเกอร์คุณภาพรายใหญ่ รวมทั้งมีการบริการที่ดีกว่าผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรายอื่น อย่างไรก็ตาม บริษัทมิได้มีนโยบายผูกขาดการซื้อกับผู้จัดจำหน่ายรายใดรายหนึ่ง แต่จะคำนึงถึงคุณภาพและราคาของวัตถุดิบเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพของแผ่น สติ๊กเกอร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการผลิตฉลากสินค้า ปัจจุบันบริษัทได้มีการติดต่อกับผู้จำหน่าย สติ๊กเกอร์ประมาณ 4-5 ราย ที่สามารถผลิตแผ่นสติ๊กเกอร์ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับแผ่นสติกเกอร์ที่ผลิตโดยบริษัท เอเวอร์รี่ เดนิสสัน ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้
1.1.3 ความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งจากการแข่งขันจากผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นและไต้หวันที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย และ บริษัทคู่แข่งในประเทศจีนที่มีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า ประกอบกับอุตสาหกรรมในประเทศโดยรวมมีกำลังการผลิตเหลืออยู่อีกมาก จึงทำให้มีการแข่งขันทางด้านราคาสูงซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรเบื้องต้นของบริษัท รวมทั้งอัตราการเติบโตของยอดขาย แต่เนื่องจากชิ้นส่วนพลาสติกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บริษัทผลิตเป็นสินค้าคุณภาพและต้องใช้ความชำนาญของช่างเทคนิค เช่น การปรับสภาพเครื่องจักรในการผลิตให้เหมาะสมกับแม่พิมพ์ที่ถูกกำหนดไว้ อาทิ อุณหภูมิ และระยะการดึงออก เพื่อให้ได้สินค้าตามที่ลูกค้าต้องการและเป็นการลดของเสียจากขบวนการผลิต ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีประวัติการร้องเรียนจากลูกค้าในเรื่องมาตรฐาน หรือคุณภาพของสินค้า ประกอบกับบริษัทมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งทำให้เชื่อมั่นว่าบริษัทสามารถที่จะแข่งขันกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมนี้ได้ ดังนั้น นโยบายการแข่งขันของบริษัทจะเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของสินค้ามากกว่าราคา รวมทั้งบริษัทได้มีการพัฒนาการผลิตสินค้าทั้งในแง่คุณภาพที่ดีขึ้น ความรวดเร็วในการส่งมอบ และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ นั้นสามารถกำหนดราคา
หน้า 2.1 - 2
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
ขายได้สูง นอกจากนี้ บริษัทได้มีการทำการศึกษาร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดทั้งในเรื่องเทคนิคการผลิตและการควบคุมการผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าของบริษัท และยังมีมาตรการในการลดความเสี่ยง โดยจะขยายฐานลูกค้าเข้าไปในสายผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันในด้านราคาที่ต่ำกว่า โดยลูกค้าจะเน้นคุณภาพของสินค้า ซึ่งบริษัทได้ทำการผลิตอยู่แล้ว อาทิ ถาดไอซี (IC Tray) ซึ่งบริษัทได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องจาก Toyo Jushi ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างผลิตถาดไอซี (IC Tray) นอกจากนี้ยังมีกล่องบรรจุมอเตอร์คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือตลาดชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับรถยนต์
1.2 ความเสี่ยงด้านการบริหาร การจัดการ
1.2.1 ความเสี่ยงกรณีมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่าร้อยละ 50
ปัจจุบันกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท คือ บริษัท วีไอวีอินเตอร์เคม จำกัด กลุ่มจิวะพรทิพย์ และ กลุ่มอัศวกาญจน์ และผู้บริหารของบริษัทอีก 3 ท่าน คือ นายเลอพงศ์ วงศ์ทวีพิพัฒน์ นายสาทิส ตัตวธร และนายเศวต นราธิปกร โดยกลุ่มดังกล่าวถือหุ้นรวมกันคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 79.91 ของทุนชำระแล้วของบริษัท และภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อบุคคลทั่วไปในครั้งนี้ จะทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเป็นร้อยละ 63.37 (โปรดดูรายละเอียด หน้า 2.8-1) อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ดังกล่าวยังคงถือหุ้นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้สามารถคัดค้านมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องต่างๆได้ โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายหรือข้อบังคับที่กำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นจึงอาจไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอได้
1.2.2 ความเสี่ยงเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์
หุ้นสามัญที่บริษัทเสนอขายให้ประชาชนในครั้งนี้ เป็นการเสนอขายก่อนได้รับอนุมัติให้เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งเป็นตลาดรองรับในการซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัท ดังนั้น หุ้นสามัญที่ถูกเสนอขายในครั้งนี้อาจจะประสบปัญหาในเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดรองได้ หากหุ้นสามัญของบริษัทไม่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้สนใจลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทไม่ได้รับผลตอบแทนจากการขายหุ้นตามราคาที่คาดการณ์ไว้
หน้า 2.1 - 3
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.2 - 1
2. ลักษณะการประกอบธุรกิจ
2.1 ประวัติความเป็นมา
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (บริษัท) เป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม
จำกัด ซึ่งเป็นผู้ค้าเคมีภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมานานเป็นระยะเวลา 35 ปี ในอดีตบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด
เคยมีแผนกค้าเม็ดพลาสติกซึ่งปัจจุบันไม่ได้จัดจำหน่ายแล้ว และไม่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับทางบริษัท ซึ่งแผนก
ดังกล่าวจะนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศและขายให้กับโรงงานทำชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาการนำ
เข้าเม็ดพลาสติกทำยากมากขึ้น เนื่องจากโรงงานเม็ดพลาสติกที่จัดจำหน่ายให้แก่บริษัท ได้มีการร่วมทุนและ
ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของตลาดชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ Subcontractor ของผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (Original Equipment Manufacturer :
OEM) ซึ่งมีคำสั่งการผลิตจำนวนมากมองหาคู่ค้าที่น่าเชื่อถือได้เพื่อมารับคำสั่งการผลิตและได้ชักชวนให้บริษัท
วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด เปิดโรงงานฉีดพลาสติกเพื่อฉีดชิ้นส่วนพลาสติก จากเหตุผลดังกล่าว จึงก่อตั้ง บริษัท
สาลี่ อุตสาหกรรม จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2536 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 15 ล้านบาท โดยกลุ่ม
จิวะพรทิพย์ กลุ่มอัศวกาญจน์ และ ผู้บริหารของบริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (โปรดดูราย
ละเอียด หน้า 2.8-1 และเอกสารแนบ 2 ) โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้กับ Subcontractors ของผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (Original Equipment
Manufacturer : OEM) ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเริ่มจากการฉีดพลาสติกเพื่อผลิตชิ้น
ส่วนคอมพิวเตอร์ เช่น แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ และ กล่องบรรจุคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้า ต่อมาบริษัทได้ดำเนิน
การขยายงานทางด้านการขึ้นรูปพลาสติกด้วยระบบสูญญากาศ (Vacuum Pressure Forming) เพื่อใช้ผลิต
ถาดพลาสติก (Plastic tray) สำหรับบรรจุชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ และบรรจุภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อการส่งออก
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถแยกตามสายการผลิต ออกเป็น 2 สายการผลิต ได้แก่ สายการผลิตชิ้นส่วน
พลาสติกแบบฉีดและ สายการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบขึ้นรูป นอกจากนี้ บริษัทยังให้บริการรับออกแบบ และ
ผลิตแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปพลาสติกด้วย ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มขยายลูกค้าของตนในปัจจุบันไปในกลุ่ม OEM โดย
ตรงด้วยเช่นกัน
วันที่ 18 มิถุนายน 2545 บริษัทได้ลงทุนใน บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด เป็นจำนวนเงิน 1.50 ล้านบาท
เนื่องจาก บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อถ่ายโอนเทคโนโลยีการผลิตถาดไอซี
(Integrated Circuit) ของ Toyo Jushi Co., Ltd. โดยบริษัทถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 17.99 การลงทุนดังกล่าวเพื่อ
ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีและได้รับคำสั่งผลิตอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 13 สิงหาคม 2546 ลงทุนในบริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด จำนวน 1.25 ล้านบาท โดยบริษัทและ
บริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันในสัดส่วนร้อยละ 12.50 ในบริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด และ วันที่ 22 ธันวาคม 2546
บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วจาก 15 ล้านบาท เป็น 115 ล้านบาท หรือ คิดเป็นทุนที่เพิ่มขึ้น
100 ล้านบาท (10 ล้านหุ้น) เพื่อนำไปลงทุนใน บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด (บริษัทย่อย) ในวันที่ 26 ธันวาคม
2546 โดยซื้อหุ้นจาก บริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด และผู้ถือหุ้นอื่นรวมร้อยละ 92.87 ของทุนชำระแล้ว 54
ล้านบาท จากเดิมที่ถือเพียงร้อยละ 7.13 คิดเป็นเงินลงทุน 52.93 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันบริษัทถือบริษัทย่อย
ร้อยละ 99.99 โดยการลงทุนใน 2 บริษัทดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการลงทุนของบริษัท ส่วนเงินเพิ่ม
ทุนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดนโยบายหลักในการบริหารงานให้กับ บริษัท
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.2 - 2
สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย แต่ไม่มีนโยบายเข้าไปกำหนดการบริหารงานของทั้ง บริษัท สาลี่
คัลเล่อร์ จำกัด และ บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด
การเพิ่มทุนก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ บริษัทได้ขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 4.95 ล้านหุ้น
หรือร้อยละ 49.50 และให้กับผู้ถือหุ้นของ บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด เป็นจำนวน 5.05 ล้านหุ้น หรือร้อยละ
50.50 เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ระหว่างบริษัทและบริษัท สาลี่ พรินท์ติ้ง จำกัด เพื่อนำ
บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับบริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการพิมพ์ฉลากสินค้า (Sticker) ซึ่ง
ได้ก่อตั้งและทำการผลิตเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตฉลากสินค้าคุณภาพสูงที่ใช้เครื่อง
จักรและเทคโนโลยีอันทันสมัย
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด ได้แปรสภาพจากบริษัทจำกัดมาเป็น
บริษัทมหาชน พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) และในระยะเวลา 5
ปี ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกี่ยวกับอำนาจในการควบคุมการบริหารบริษัท โดยกลุ่มผู้ถือหุ้น
รายใหญ่ของบริษัทคือ บริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด กลุ่มจิวะพรทิพย์ และ กลุ่มอัศวกาญจน์
2.2 โครงสร้างทางธุรกิจของกลุ่มบริษัท
25%
หมายเหตุ 1. บริษัทเข้าถือหุ้นใน บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด และ บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด เพื่อกระจายการลงทุน
2. บริษัทเข้าถือหุ้นใน บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด เพื่อสายสัมพันธ์และได้รับคำสั่งผลิตอย่างต่อเนื่อง
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด
บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด
99.99% 17.99%
6.25%
6.25%
บริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด
31.14%
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.2 - 3
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ประเภท
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้กับผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (Original Equipment Manufacturer : OEM) และ
Subcontractors ของผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ OEM ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่น ที่มีฐานการผลิตใน
ประเทศไทยและต่างประเทศ ธุรกิจหลักของบริษัทแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
แบบฉีด (Plastic Injection ) และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบขึ้นรูป (Vacuum Pressure Forming)
นอกจากนี้ บริษัทยังให้บริการรับออกแบบ ผลิต และซ่อมแซมแม่พิมพ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปพลาสติก (Vacuum
Molding Design) เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานด้านการขึ้นรูปพลาสติกอีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่าน
มาปริมาณการผลิตและกลุ่มลูกค้าของงานทั้งสองประเภท (Plastic Injection และ Vacuum Pressure
Forming) ของบริษัทมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยและถือหุ้นโดยบริษัทในอัตราส่วนร้อยละ 99.99 ดำเนิน
ธุรกิจรับพิมพ์ฉลากสินค้าคุณภาพสูง (Sticker) ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องจักรอันทันสมัย ปัจจุบันบริษัทรับพิมพ์
ฉลากสินค้าให้กับธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าระดับพรีเมียม
ที่ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์รวมถึงฉลากสินค้าที่มีคุณภาพ มีลักษณะคงทน สีสันสวยงามและโดดเด่น
ปัจจุบันฐานลูกค้าของบริษัทได้ขยายออกไปหลากหลายประเภท อาทิ กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตเครื่องสำอาง
เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องดื่ม รวมถึงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง และด้วยคุณภาพสินค้าที่โดดเด่น จึงทำ
ให้ บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการผลิตฉลากสินค้าคุณภาพ เพราะนอกจากจะมี
เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยแล้ว บริษัทยังมีระบบการบริหารการจัดการและทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์
ทางด้านการพิมพ์ฉลากสินค้ามานานกว่า 17 ปี
บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด เป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายเม็ดสีพลาสติกแบบเข้มข้น (Masterbatch) ให้
กับผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกและอุตสาหกรรมยาง โดยผู้ผลิตเหล่านี้จะนำเม็ดสี
พลาสติกแบบเข้มข้นไปผสมกับเม็ดพลาสติก ยาง และยางสังเคราะห์ บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด เปิดดำเนิน
การเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันใน บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด ใน
สัดส่วนร้อยละ 12.50
บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาเพื่อรับซื้อถาดไอซี (Integrated Circuit Tray) ที่
บริษัทผลิตเพื่อจำหน่ายต่อให้กับบริษัทผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของญี่ปุ่น เหตุผลของการที่บริษัทต้อง
จำหน่ายถาดไอซี (IC Tray) ผ่านบริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด เนื่องจากหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์
จำกัด มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท Toyo Jushi Co., Ltd. ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การผลิตถาดไอซี (IC
Tray) มายาวนานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นอยู่ใน บริษัท ยูเนี่ยนซันไรส์ จำกัด ในอัตราส่วน
ร้อยละ 17.99
ทั้งนี้ แม้ว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารของบริษัท ถือหุ้นหรือเป็นผู้บริหารในบริษัทอื่นๆ แต่ไม่มี
บริษัทใดประกอบธุรกิจแข่งขันกับบริษัทและบริษัทย่อย
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.2 - 4
2.3 โครงสร้างรายได้ของบริษัท
โครงสร้างรายได้ของบริษัทและบริษัทย่อย ระหว่างปี 2544 ถึง ไตรมาส 3/2547 เป็นดังต่อไปนี้
ตาราง 2.3.1 โครงสร้างรายได้ของบริษัทและบริษัทย่อย
ประเภท ดำเนิน 2544 2545 2546 ม.ค. ก.ย. 2547
การโดย ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
- ฉีดพลาสติก (Injection) บริษัท 12.33 9.46 25.51 13.56 48.26 18.33 51.29 20.80
- ขึ้นรูปพลาสติก (Vacuum)* 73.57 56.42 93.80 49.86 110.56 41.99 99.13 40.20
รวม 85.90 65.87 119.31 63.43 158.82 60.32 150.42 61.00
ธุรกิจพิมพ์ฉลากสินค้า
- พิมพ์ฉลากสินค้า** บริษัท 44.50 34.13 68.80 36.57 104.47 39.68 96.17 39.00
ย่อย
รวมรายได้ 130.40 100.00 188.11 100.00 263.29 100.00 246.59 100.00
* รวมรายได้จากการให้บริการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ขึ้นรูปพลาสติก (Vacuum Molding)
** เป็นรายได้เฉพาะของบริษัทย่อย ในช่วงปี 2544 - 25 ธันวาคม 2546 ก่อนที่บริษัทจะเข้าไปซื้อกิจการ
2.4 เป้าหมายในการดำเนินงานธุรกิจ
ด้านธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติก บริษัทมีเป้าหมายในการดำเนินงานในอนาคตดังนี้
1. เพิ่มสายผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะสายผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเล็งเห็นว่าบริษัทมีความ
สามารถในการผลิต และมีศักยภาพในการเติบโตสูงในอุตสาหกรรม เช่น สายผลิตภัณฑ์ทางด้านบรรจุ
ภัณฑ์เพื่อการบริโภค (Food Packaging) และ ชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมดังกล่าว บริษัท
มีลูกค้าและคำสั่งซื้อแต่ไม่มาก จึงต้องการขยายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะอุตสาห
กรรมบรรจุภัณฑ์ บริษัทจำเป็นต้องมีห้อง Clean Room ซึ่งโรงงานใหม่ที่กำลังก่อสร้างจะมีห้อง Clean
Room เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้ได้
2. ปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงาน จัดให้มีมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ภายในปี 2548
เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
ด้านธุรกิจพิมพ์ฉลากสินค้า บริษัทมีเป้าหมายในการดำเนินงานในอนาคตดังนี้
1. เสนอการบริการแบบครบวงจรให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) โดยเพิ่มการรับบริการออก
แบบฉลากสินค้า ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งซื้อจากลูกค้ากลุ่มนี้เป็นจำนวนน้อย จึงต้องการขยายฐานให้
กว้างขึ้นในกลุ่ม SME ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 11

โพสต์

3. การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์
3.1 การประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
3.1.1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์
สายผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการฉีดพลาสติก
(Injection Molding) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ผลิตภัณฑ์ : แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของ สแกนเนอร์ พริ้นเตอร์ รวมถึง ถาดไอซี (IC Tray) ที่
มีคุณสมบัติพิเศษในการเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งบริษัทได้สิทธิ์ในการผลิตแต่เพียงผู้เดียว (Sole Manufacturer)
ภายในประเทศไทย จาก Toyo Jushi Co., Ltd. ในการผลิตเพื่อส่งให้กับบริษัทผู้จำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำ
ของญี่ปุ่น
กลุ่มที่ 2 ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์ : ชิ้นส่วนประกอบของ ไมโครเวฟ แฟกซ์ ปลั๊กไฟ สวิทช์ตัดไฟ และ เครื่องมือวัดค่าไฟฟ้า
2. สายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการขึ้นรูปพลาสติกด้วยระบบสูญญากาศ
(Vacuum Pressure Forming) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์ : กล่องบรรจุมอเตอร์คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ กล่องบรรจุชิ้นส่วน Hard Disk Drive
ถาดใส่ชิ้นงานอลูมิเนียม (Aluminium) ถาดใส่ชิ้นงานแผงวงจรไฟฟ้า และ ถาดใส่ชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้า อื่นๆ
กลุ่มที่ 2 บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อการอุปโภคและบริโภค
ผลิตภัณฑ์ : ถาดใส่กุ้งแช่แข็งและอาหารทะเล บรรจุภัณฑ์ประเภทลามิเนท (Laminate)
ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทรับบริการออกแบบ ผลิต และซ่อมแซม แม่พิมพ์สำหรับการขึ้นรูปพลาสติก (Vacuum
Molding) แต่ในส่วนของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก (Injection Molding) บริษัทจะให้บริการเฉพาะการซ่อมแซมเล็กๆ
น้อยๆ เท่านั้น
บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้าทุกขั้นตอน (Quality Inspection and Quality
Control) ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ (Incoming Quality Inspection) กระบวนการผลิต (In-Process Inspection QI)
และในขั้นตอนสุดท้าย (Out-Going Inspection OQI) เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพที่ดีเป็นไปตาม
ข้อกำหนดที่ตกลงกับลูกค้า และด้วยกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เครื่องจักรที่ทันสมัย แรงงานที่มี
ความสามารถและความชำนาญ ประกอบกับกระบวนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด สินค้าของบริษัท
จึงได้รับการยอมรับและเป็นที่พอใจของลูกค้าและได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตตาม
มาตรฐาน ISO 9001:2000 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2545
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 12

โพสต์

3.1.2 การตลาดและภาวะการแข่งขัน
นโยบายการตลาดและกลยุทธ์การแข่งขัน
เนื่องจากบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้ามายาวนาน ดังนั้น กลยุทธ์ในการแข่งขันจะเน้นการสร้างความ
พอใจในการให้บริการแก่ลูกค้าในระยะยาว (Long-Term Customer Satisfaction) โดยมีกลยุทธ์ทางการตลาด ดังนี้
1. บริษัทจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตแต่บริษัทยังได้รับคำสั่งซื้อน้อย
อาทิ บรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภค (Food Packaging) และกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ รวมถึงการขยายฐาน
ลูกค้าไปในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมให้มากขึ้น เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
2. ผลิตสินค้าให้ทันตามนัดหมาย เนื่องจากสินค้าของบริษัทจะผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ซึ่งจะมี
ลักษณะเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนการผลิตที่ดี เพื่อให้สามารถผลิต
สินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้า รวมทั้งให้บริการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
3. คำนึงถึงการรักษาคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า โดยมีการควบคุมคุณภาพสินค้าทั้งในระหว่างกระบวนการ
ผลิต และก่อนจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า
4. มุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาวโดยบริษัทได้จัดให้เจ้าหน้าที่การตลาดและขายของบริษัท
ดูแลและรับทราบข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายที่เกี่ยวกับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนพลาสติก เพื่อที่
บริษัทจะได้ให้บริการที่ดีและเป็นที่พอใจแก่ลูกค้าแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. มุ่งพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เทคนิคการผลิต และความ
ชำนาญของบุคลากร เพื่อให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพดีขึ้น อาทิ การปรับสภาพเครื่องจักรในการผลิตให้
เหมาะสมกับแม่พิมพ์ที่ถูกกำหนดไว้ เช่น อุณหภูมิ ระยะการดึงออก เพื่อลดการสูญเสียในการผลิต เป็น
ต้น
3.1.3 ลักษณะลูกค้าและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
กลุ่มลูกค้าของบริษัทในปัจจุบัน เป็น Subcontractors รายใหญ่ของผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (OEM) และผู้ผลิต
สินค้าต้นแบบ OEM ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญชาติญี่ปุ่น โดย Subcontractors เหล่านี้ จะมีสัญญาการจ้างผลิตที่แน่นอน
จากผู้ผลิต OEM และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทมายาวนานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ซึ่งบริษัทมีนโยบายจะ
ขยายไปยังผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (Original Equipment Manufacturer : OEM) ที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนกลุ่มลูกค้า
เป้าหมายในอนาคต คือ Subcontractors และผู้ผลิตสินค้าต้นแบบจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งย้ายฐานการผลิตออกนอก
ประเทศญี่ปุ่นไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศจีน และตลอดเวลาที่ผ่านมา สินค้าที่บริษัทผลิตมี
คุณภาพและได้มาตรฐานจึงทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจและเพิ่มปริมาณธุรกิจให้กับบริษัทมาโดยตลอด และในช่วง
3 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่มีการจำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายใดในสัดส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 30 ของรายได้รวมของ
บริษัทในแต่ละปี ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีนโยบายที่จะไม่พึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากเกินไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 13

โพสต์

1. สายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการฉีดพลาสติก (Injection Molding)
1.1 กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท มินีแบไทย จำกัด บริษัท เม็กเท็ค แมนูแฟ็คเจอริ่ง คอร์ปอเรชั่น (ประเทศ
ไทย) จำกัด บริษัท ยูเนี่ยน ซันไรส์ จำกัด
1.2 กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท ฮายโมลด์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เคอีดับบลิว (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท โคบุนชิ (ไทยแลนด์) จำกัด
2.สายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการขึ้นรูปพลาสติก (Vacuum Pressure Forming)
2.1 กลุ่มลูกค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับใส่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท นิเด็คอีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮายโมลด์ (ประเทศไทย)
จำกัด บริษัท เพาเวอร์อีเลคโทรนิคส์ออฟมินีแบ จำกัด บริษัท มินีแบอีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)
จำกัด บริษัท ไดโด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
2.2 กลุ่มลูกค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อการอุปโภคและบริโภค
ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท นาฟูโกะ จำกัด

นโยบายราคา
นโยบายด้านราคาของบริษัทค่อนข้างมีความยืดหยุ่น เนื่องจากบริษัทมีนโยบายการกำหนดราคาที่
เหมาะสม โดยคำนึงถึงต้นทุนในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ระดับกำไรที่เหมาะสม และปริมาณสินค้าที่ลูกค้า
ต้องการ
การจำหน่ายและช่องทางการจำหน่าย
สินค้าของบริษัทจะถูกส่งโดยตรงให้กับลูกค้าของบริษัทที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ OEM หรือผ่าน
Subcontractors ของผู้ผลิตสินค้าต้นแบบซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัท โดยสินค้าที่รับซื้อไปจากบริษัทจะถูกนำไป
ประกอบและส่งกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อกระจายขายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของ
บริษัทเป็นกลุ่มลูกค้าชาวญี่ปุ่น ดังนั้น บริษัทจึงได้มีการตั้งทีมการตลาดทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวญี่ปุ่นขึ้นเพื่อความ
สะดวกในการดูแลลูกค้า โดยทีมการตลาดญี่ปุ่นจะเป็นผู้เจรจาและเปิดตลาดหาลูกค้าใหม่ที่เป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนทีม
ไทยจะมีหน้าที่สนับสนุนหลังจากที่มีการตกลงในเบื้องต้นโดยจะเป็นผู้ประสานงานในเรื่องการผลิต การจัดส่งสินค้า
เป็นต้น เพื่อให้การผลิตสินค้าราบรื่นเป็นไปตามที่ลูกค้ากำหนดและจัดส่งได้ตรงตามเวลา นอกจากนี้ ทีมตลาดไทย
ยังมีหน้าที่ในการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าชาวยุโรปที่มาลงทุนในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพื่อกระจายฐาน
ลูกค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งทีมการตลาดของบริษัทมีกลยุทธ์ในการหาลูกค้าใหม่ดังนี้
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.3 - 5
1. ลูกค้าเก่าและผู้จำหน่ายวัตถุดิบแนะนำ - ทั้งลูกค้าและผู้จำหน่ายวัตถุดิบที่มีความสัมพันธ์ในทางธุรกิจที่ดีกับ
บริษัทมาอย่างยาวนานได้แนะนำลูกค้ารายใหม่ให้กับบริษัท
2. เข้าพบลูกค้าใหม่โดยตรง แนะนำประวัติให้ลูกค้าได้รู้จัก เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 14

โพสต์

3.1.4 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
โครงสร้างอุตสาหกรรมและภาวะอุตสาหกรรม
สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยคาดว่ายังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นส่วนประกอบของสิ่งของเครื่องใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ และการสื่อสารจะเป็นตัวผลักดันให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้
อุตสาหกรรมนี้เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีอัตรา
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในระยะยาวอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่จะ
ขยายตัวต่อไปในอนาคต เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยียังสามารถพัฒนาต่อไปได้
อีกมาก โดยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน เปรียบเสมือนเป็นการวางรากฐานของเทคโนโลยีในอนาคต
ดังนั้นความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะยังคงมีความต้องการต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง 2) สินค้าในอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นสินค้าชั้นกลาง คือเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบให้แก่สินค้าอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ความ
ต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มาจากความต้องการที่ค่อนข้างหลากหลาย และแม้ว่าสินค้าบางชนิดที่ใช้ชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ล้าสมัย หรือหยุดผลิตไปแล้ว แต่จะยังมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆ และ 3) การที่
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีการขยายตัวอย่างมาก และมีธุรกิจจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ
จากการใช้ช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการทำธุรกิจ และ
เพื่อสนับสนุนระบบธุรกรรมทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ให้อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์โลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็จะส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีการขยายตัว
ไปพร้อมกับ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก (ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ศูนย์ประสานการ
ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (17 พ.ค.2547)) สำหรับบริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกประเภทอิเล็กทรอนิกส์
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.3 - 6
และเครื่องใช้ ไฟฟ้า โดยผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (OEM) ที่เป็นผู้รับซื้อสุดท้ายส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ
สัญชาติญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย ซึ่งผู้ผลิตสินค้าต้นแบบเหล่านี้จะนำสินค้าที่รับซื้อจากบริษัทไป
ประกอบและส่งกลับไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆทั่วโลก ดังนั้น อุปสงค์และอุปทานสินค้า
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลก รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น จึงมีผลกระทบ
โดยตรงต่อการผลิตของบริษัท
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 15

โพสต์

จะเห็นว่ารายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทมาจากรายได้การ
ผลิตสินค้าแบบขึ้นรูปพลาสติก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้ให้กับบริษัทเป็นจำนวนมาก คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติก
สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ กล่องบรรจุมอเตอร์คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า กล่อง
บรรจุชิ้นส่วน Hard Disk Drive และ ถาดใส่ชิ้นงานแผงวงจรไฟฟ้า จะเห็นว่ารายได้ของบริษัทในส่วนนี้มีการเติบโต
ไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลก เมื่อเปรียบเทียบกับ
สถิติการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในตารางที่ 3.1.4
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 16

โพสต์

3.2 การประกอบธุรกิจผลิตฉลากสินค้า
3.2.1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์
โดยทั่วไป บริษัทย่อยจะรับพิมพ์ฉลากสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งจะมีการออกแบบฉลากสินค้ามา
เรียบร้อยแล้ว โดยลูกค้าจะส่งตัวอย่างงานที่จะสั่งทำมาให้ในรูปของ Digital File จากนั้นฝ่ายศิลป์ของบริษัทจะทำ
Artwork เพื่อส่งให้ลูกค้าตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องก่อนการผลิตทุกครั้ง กรณีที่เป็นงานใหม่หรืองานเก่าที่มี
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฝ่ายศิลป์จะทำการยิงฟิลม์ใหม่ (Film) เพื่อนำฟิล์มที่ได้ไปทำแม่พิมพ์ แต่เนื่องจากฉลาก
สินค้าของลูกค้าแต่ละรายมีลักษณะ ขนาด จำนวนสีที่ใช้ ความยากง่ายของงาน และปริมาณการสั่งพิมพ์ที่แตกต่าง
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.3 - 12
กัน ดังนั้น การวางแผนการผลิตจึงมีความสำคัญ ผู้จัดการแผนกวางแผนและผลิตจะจัดลำดับการผลิตโดยใช้
เกณฑ์ในการกำหนดส่ง ลักษณะความต่อเนื่องของงาน ชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรและความยากง่ายของงาน
จากนั้น ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการสั่งซื้อวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิต ลักษณะของฉลากสินค้าที่บริษัทผลิตจะมีทั้งฉลาก
สินค้าที่พิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์พลาสติก และฉลากสินค้าที่พิมพ์ลงบน สติ๊กเกอร์กระดาษ
บริษัท สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน
ISO 9002:1994 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2544 และ ISO 9001:2000 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546

3.2.2 การตลาดและภาวะการแข่งขัน
1. กลยุทธ์ทางด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
บริษัทเน้นนโยบายผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ปัจจุบัน เครื่องจักรที่
บริษัทใช้ในการผลิตจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น เครื่องยิงฟิล์มที่สามารถยิงฟิล์มได้ละเอียดถึง 4,500
dpi ซึ่งเครื่องยิงฟิล์มโดยทั่วไปให้ความละเอียดได้เพียง 2,550 dpi นอกจากนี้ยังมีเครื่อง Vision
Inspection ที่ใช้ในการตรวจเช็คคุณภาพของฉลากพิมพ์หลังการผลิต เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าที่
ออกแบบ / ผลิต
แม่พิมพ์ (Plate)
รับคำสั่งพิมพ์
ผลิตฉลากสินค้า
Art work
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.3 - 13
จัดส่งมีความครบถ้วน และคุณภาพตรงตามที่ลูกค้ากำหนด นอกจากนี้บริษัทยังนำเทคนิคทางสถิติและ
การวิเคราะห์เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคุณภาพอีกด้วย
2. กลยุทธ์ทางด้านการให้บริการ
บริษัทมีการให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบฉลากสินค้า การทำแม่พิมพ์ จนถึงการผลิต
สินค้าและจัดส่ง นอกจากนี้บริษัทยังมีนโยบาย In-House Confidential เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าฉลาก
พิมพ์ที่ผลิตจากบริษัทจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับจนกว่าผลิตภัณฑ์ของลูกค้าจะวางจำหน่ายใน
ท้องตลาด
3. กลยุทธ์ทางด้านการบริหาร
บริษัทมีทีมบริหารงานที่มีประสบการณ์ในธุรกิจมายาวนานกว่า 17 ปีจากประเทศออสเตรเลีย และมี
การถ่ายทอดความรู้และทักษะในการทำงานให้กับบุคลากรในองค์กร ดังนั้น เชื่อมั่นได้ว่าระบบงาน
และกระบวนการผลิตของบริษัทมีประสิทธิภาพ
3.2.3 ลักษณะลูกค้าและช่องทางการจำหน่าย
กลุ่มลูกค้าของบริษัทสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มผู้ขายสินค้าพรีเมียม ฉลากสินค้าของลูกค้ากลุ่มนี้โดยทั่วไปจะมีลักษณะสวยงาม สีสันสดใส โดดเด่น
และมีความคงทนสูง ต้นทุนการผลิตฉลากสินค้าประเภทนี้จะสูง เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีราคา
ค่อนข้างแพงและจำนวนสีที่ใช้ในการพิมพ์จะมีจำนวนสีมาก ดังนั้น กระบวนการผลิตจะมีความซับซ้อน
โดยทั่วไปราคาสินค้าของลูกค้ากลุ่มนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ บริษัท จอห์นสัน
แอนด์ จอห์นสัน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งปัจจุบันบริษัทผลิตฉลากสินค้าตระกูล คลีนแอนด์ เคลีย (Clean
and Clear) ให้กับบริษัทจอห์นสันฯ ซึ่งฉลากสินค้าที่บริษัทผลิตนอกจากลูกค้าจะใช้ปิดลงบนผลิตภัณฑ์ที่
ขายในประเทศแล้วลูกค้ายังส่งไปยังประเทศ เกาหลี ออสเตรเลีย ฮ่องกง และ ไต้หวัน ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของ
Beiersdorf (Thailand) Co., Ltd. เครื่องสำอางเบนเซ แชมพูสุนัขยี่ห้อสลิคกี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อ
มอนซูน แวลลี่ย์ ของบริษัท สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้ง พลัส จำกัด และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อไนท์ ของบริษัท
ไทยสพิริท อินดัสตรี จำกัด เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (Original
Equipment Manufacturer : OEM) สัญชาติญี่ปุ่นที่สั่งทำฉลากสินค้ากับบริษัทเพื่อนำไปใช้กับสินค้าที่ผลิต
และส่งกลับไปประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
2. กลุ่มผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภค ลักษณะฉลากสินค้าจะเป็นดวงเล็กๆ ไม่เน้นสีสันมากนัก ดังนั้นการผลิต
จึงไม่ค่อยมีความซับซ้อน และต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าฉลากสินค้าของกลุ่มผู้ขายสินค้าพรีเมียม ตัวอย่าง
ลูกค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ ขนมเบเกอรี่ยี่ห้อเลอแปงและมิสแมรี่ ผู้ผลิตอาหารสด
เบทาโก และผู้ผลิตสินค้าระดับกลางและเล็ก (SME)
แบบแสดงรายการข้อมูล (69-1) บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
หน้า 2.3 - 14
3.2.4 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
เนื่องจากลักษณะการให้บริการของบริษัทจะเป็นรูปแบบการให้บริการผลิตฉลากสินค้าแบบครบวงจร และ
จะเน้นการผลิตฉลากสินค้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคู่แข่งของบริษัทสามารถแบ่งออกเป็น 1) ผู้ผลิตฉลากสินค้า
เพียงอย่างเดียว และ 2) ผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าด้านอื่นด้วยนอกจากฉลากพิมพ์
ในส่วนของผู้ผลิตฉลากสินค้าเพียงอย่างเดียวส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นโรงงาน
ห้องแถว และใช้เงินลงทุนต่ำ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และโดยมากจะมีความชำนาญเฉพาะด้านการพิมพ์ฉลากสินค้า
แบบกระดาษเท่านั้น ดังนั้น คู่แข่งขันของบริษัทที่ผลิตฉลากสินค้าที่มีคุณภาพสินค้าระดับเดียวกันจะมีค่อนข้างน้อย
รายเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนในการซื้อเครื่องจักรสูง เพราะต้องใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความ
เที่ยงตรงในการผลิตและตรวจเช็คความผิดพลาด อาทิ เครื่องยิงฟิล์ม เครื่อง Vision Inspection เพื่อใช้ตรวจเช็ค
คุณภาพของฉลากพิมพ์หลังการผลิต เพื่อให้ฉลากที่ได้มีแบบ สีและคุณภาพตามที่ต้องการ ซึ่งทำให้การเข้ามาของ
คู่แข่งขันค่อนข้างลำบาก เพราะการจะเข้ามาแข่งขันธุรกิจนี้ต้องมีฐานลูกค้าที่แน่ชัดก่อน เนื่องจากมีการลงทุนใน
เครื่องจักรที่สูง และการได้รับการยอมรับจากลูกค้าเป็นไปไม่ง่ายนัก แต่เนื่องจากบริษัทได้ก่อตั้งและผลิตฉลากสินค้า
มาแล้วเป็นเวลา 8 ปี จึงเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีคู่แข่งที่เป็น
ต่างชาติประมาณ 1-2 ราย ที่เพิ่งเข้ามาตั้งโรงงานในไทย ได้แก่ มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งบริษัทมีโอกาสในการแข่งขันที่
ดีกว่า เนื่องจากอยู่ในธุรกิจมานานกว่า
สำหรับผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าชนิดอื่นด้วยนอกเหนือจากฉลากพิมพ์ เช่น ผู้ผลิตพวกบรรจุหีบห่อ อาทิขวดน้ำดื่ม
หรือถ้วยไอศกรีม แม้จะมีการใช้เงินลงทุนในเครื่องจักรสูง แต่ผู้ผลิตในกลุ่มนี้จะเน้นการผลิตสินค้าหลักของบริษัท
จึงไม่ได้เน้นการผลิตฉลากพิมพ์เพื่อขาย แต่เป็นการผลิตเพื่อใช้กับสินค้าของบริษัทและบริษัทในกลุ่มเท่านั้น และคาด
ว่าผู้ผลิตดังกล่าวจะไม่เข้ามาเป็นคู่แข่งบริษัทในการผลิตฉลากพิมพ์เป็นสินค้าหลักและขายให้กับบุคคลภายนอก
ดังนั้น การแข่งขันโดยตรงยังไม่รุนแรง
จากการวิเคราะห์รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของบริษัท จะเห็นว่าแนวโน้มตลาดฉลากสินค้าคุณภาพสูงมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุสำคัญเนื่องจากกระแสความนิยมฉลากสินค้าคุณภาพสูงในต่างประเทศเริ่มเข้ามาใน
ประเทศไทย ประกอบกับผู้บริโภคให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงามมากขึ้น ดังนั้น การทำฉลากสินค้า
ที่มีคุณภาพดี สีสันสดใส จะทำให้สินค้ามีความโดดเด่นและดึงดูดผู้บริโภคได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการ
ผลิตโดยผู้ผลิตสินค้าไม่จำเป็นต้องผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนกันแต่มีลวดลายหรือสีที่แตกต่างเก็บไว้เป็น
จำนวนมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ผมเอาจาก  filing มาเพียงบางส่วนนะครับ  เอามาส่วนสำคัญๆ อ่ะครับ

ถ้าพี่ๆๆอยากได้รายละเอียดทั้งหมด

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fi ... 2005-04-19

โหลดจากอันนี้อ่ะครับ :D
sunrise
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2273
ผู้ติดตาม: 1

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับ

ผมงงเองครับ
salee อยู่ใน mai ไม่ใช่ set เลยหายังไงๆ ก็ไม่เจอ  :lol:
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 19

โพสต์

สัมภาษณ์พิเศษ..'สาทิส ตัตวธร' ลั่น  SALEE จะเป็นดาวรุ่งใน MAI  คุยปีหน้าโตกระฉูดหลังเปิดตลาดส่งออกจริงจัง

                  eFinancethai.com มีโอกาสสัมภาษณ์ 'สาทิส ตัตวธร' กรรมการผู้จัดการ บมจ.
สาลี่ อุตสาหกรรม (SALEE) หลังเปิดโรงงานใหม่มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ยันปีหน้าจะเห็นการ
เติบโตของรายได้แบบก้าวกระโดด หลังโรงงานใหม่แล้วเสร็จ ธุรกิจครบวงจร และเริ่มเปิดตลาด
นอก หลังได้พันธมิตรใหม่จากสิงคโปร์หนุน ลั่นจะเป็นดาวรุ่งใน MAI

โรงงานใหม่แห่งนี้ลงทุนไปมากแค่ไหน
                  โรงงานนี้เราใช้งบลงทุนไปเฉพาะค่าก่อสร้างประมาณเกือบ 400 ล้านบาท ส่วน
เครื่องจักรที่นำเข้ามาติดตั้งใหม่เป็นทั้งเครื่องจักรเก่าที่มีอยู่เดิม และเครื่องจักรที่นำมาติดตั้ง
ใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิต โดยในโรงงานใหม่นี้จะมีบริษัทในเครือเข้ามารวมอยู่ในบริเวณเดียว
กันทั้งหมด ซึ่งปัจจุบัน SALEE มีบริษัทในเครืออยู่ที่สิ้น 5 บริษัท ประกอบด้วยบริษัท สาลี่ อินดัส
ตรี ธุรกิจหลัก  คือผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้วยวิธีการขึ้นรูปพลาสติกและวิธีการฉีดพลาสติก
บริษัทสาลี่ พริ้นท์ติ้ง ผลิตสิ่งพิมพ์สติกเกอร์ต่างๆ ให้กับสินค้าแบรนด์ต่างๆ  สาลี่ เอคอท ผลิตแม่
พิมพ์  สาลี่ คัลเลอร์ ผลิตเม็ดพลาสติกบริษัท ยูเนี่ยน ซันไลท์ ทำธุรกิจมาร์เก็ตติ้ง   ถือว่าค่อนข้าง
จะครบวงจร แต่ในอนาคตคงจะมีการต่อยอดธุรกิจจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ขึ้นไปอีก ซึ่งโรงงานใหม่
จะเปิดดำเนินการในสิ้นปีนี้

ปัจจุบันธุรกิจของสาลี่ ถือว่าครบวงจรแล้วหรือไม่
            ปัจจุบันถือได้ว่าสาลี่ มีธุรกิจเกือบครบวงจรแล้ว  ซึ่งล่าสุดเราได้ร่วมทุนกับกลุ่ม เอคอ
ตจากสิงคโปร์ เปิดบริษัท สาลี่ เอคอต ในสัดส่วน ไทย 52% และสิงคโปร์ 38%ที่เหลือเป็นผู้ถือ
หุ้นอื่นๆ อีก 10%   ทำธุรกิจผลิตแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ล่าสุดของสาลี่

การร่วมทุนกับสิงคโปร์ นอกจากตั้ง 'สาลี่ เอคอต' ผลิตแม่พิมพ์แล้วจะยังมีธุรกิจอื่นอีกหรือ
ไม่
               คงจะมีธุรกิจอื่นตามมาอีก ซึ่งความจริงธุรกิจส่งออกที่เราเริ่มเปิดตลาดอย่างจริงจังใน
ปีหน้า ก็เป็นเพราะพันธมิตรสิงคโปร์แนะนำลูกค้ามาให้ เพราะเขาค่อนข้างกว้างขวางในธุรกิจนี้  

'สาลี่ เอคอต'วางเป้าหมายไว้อย่างไร
               ความจริงเรื่องสาลี่ เอคอต เราไม่ได้หวังไว้ว่าจะสร้างรายได้ชัดเจน แต่เพื่อให้ธุรกิจ
ของเราครบวงจรมากกว่า เพราะก่อนหน้านี้เราร้างบริษัทอื่นผลิตแม่พิมพ์ทำให้รายจ่ายรั่วไหลออก
ไปข้างนอก แต่เมื่อเรามีบริษัทผลิตเองนอกจากจะรองรับงานในเครือแล้ว ยังรับงานเพื่อสร้างราย
ได้เพิ่มได้อีกด้วย โดยขณะนี้ถ้ามีลูกค้าเข้ามา 1 ราย รายได้แทบจะกระจายไปเกือบทุกบริษัท
โดยสาลี่ เอคอต ผลิตแม่พิมพ์ ผ่านไปขึ้นรูปหรือฉีดพลาสติกกันสาลี่ อินดัสตรี ส่งไปพิมพ์สติ๊เกอร์
กับสาลี่ พริ้นติ้ง คือธุรกิจเราขณะนี้ค่อนข้างจะครบวงจรแล้ว แต่ในอนาคตอาจจะต่อยอดขึ้นไปอีก
อย่างที่บอก เช่น การรีดพลาสติก ที่เรายังไม่มี
 
ปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งราคาเม็ดพลาสติก-น้ำมัน-ดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นส่งผลกระทบต่อ
SALEE มากน้อยแค่ไหน
              เรื่องดอกเบี้ยสมัยก่อนสาลี่มีหนี้สินต่ทุน 0.1-02 เท่าๆ นั้น โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้การ
ค้า แต่หลังจากเข้าระดมทุนในตลาดเพื่อสร้างโรงงานใหม่ โดยระดมทุนมาจำนวน 80 ล้านบาท
ในขณะที่สร้างโรงงานไปกว่า 400 ล้านบาท  ส่งผลให้หนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 1.3-1.4 เท่าเศษ  
ประกอบกับทุกเดือน SALEE จะมีกำไร ขนาดมีค่าใช้จ่ายเรื่องย้ายโรงงานเดือนละกว่าล้านบาท
ก็ยังมีกำไร ดังนั้นภาระดอกเบี้ยจึงไม่กระทบมากนัก ประกอบกับหลังจากย้ายโรงงานเข้ามาที่โรง
งานใหม่จะสามารถลดรายจ่ายเรื่องค่าเช่าโรงงานลงเดือนละกว่า1   ล้านบาท หรือปีละกว่า 10
ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินจำนวนดังกล่าวนำมาใช้เป็นค่าดอกเบี้ยแทน ทำให้บริษัทไม่มีภาระเรื่องค่า
ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากนัก

มีนโยบายลดหนี้ลงหรือไม่
                เรามีนโยบายที่จะลดหนี้ต่อทุนให้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 2 ปีหน้าคาดว่า
จะลดหนี้สินต่อทุนให้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 1 เท่าได้ จาก 1.3-1.4 เท่าในปัจจุบัน  เนื่องจากมีรายได้
เข้ามาอย่างต่อเนื่อง  

เรื่องราคาน้ำมันกระทบหรือไม่
            เรื่องราคาน้ำมันจะเกี่ยวข้องกับการขนส่งและธุรกิจพลาสติก ทั้งขึ้นรูปและแบบฉีด โดย
แบบขึ้นรูปเพราะปัจจุบันซัพพลาย มีมากกว่าดีมานด์ โดยวัตถุดิบที่ใช้เป็น PET ปัจจุบันซัพพลาย
มีมาก ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นลำบาก แต่ทางบริษัทมีแหล่งซื้อวัตถุดิบที่ดีทำให้ไม่ได้รับผลกระทบ
มากนัก ส่วนออร์เดอร์ในพลาสติกประเภทฉีดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทประเภทแรก คือ ราคา
สินค้าผันไปตามราคาวัตถุดิบ ทำให้เมื่อราคาวัตถุดิบเพิ่มก็สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าได้ ส่วน
ประเภทที่สองจะกำหนดราคาต้นทุนจากราคาวัตถุดิบชัดเจน โดยจะซื้อวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าที่ราคาที่
ตกลงไว้กับลูกค้าจะทำให้ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบน้อยมาก

แสดงว่าทั้งราคาน้ำมัน-ต้นทุนวัตถุดิบ-ดอกเบี้ยจะไม่กระเทือนกำไรของ SALEE
             คงจะไม่ถึงกับไม่กระเทือน ได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มาก ที่กระทบก็เฉพาะค่าน้ำมัน
ค่าวัตถุดิบ ค่าไฟ แต่สิ่งที่จะกระทบที่เห็นได้ชัดคือค่าใช้จ่ายจากการย้ายโรงงานมากกว่า ในปีนี้
แม้จะมีเรื่องต้นทุนที่กล่าวมาแล้วแต่ยืนยันว่ามีกำไรแน่ล้านเปอร์เซ็นต์ ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนขึ้น
อยู่กับไตรมาสสุดท้ายของปี ยืนยันว่าเรามีกำไรแน่นอน เพราะถ้า SALEE ขาดทุนแล้วมันจะอึด
อัด

อัตราการเติบโตของรายได้ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
             ในช่วงไตรมาส 3 นี้ SALEE เติบโตได้ไม่ต่ำกว่า อัตราการเติบโตของครึ่งปีแรกที่ผ่าน
มา ซึ่งคาดว่าทั้งปี 48 รายได้จะเติบโตไม่น้อยกว่า 20-30%  

รายได้สิ้นปีนี้จะเป็นอย่างไร
              รายได้ในสิ้นปีนี้ต้องขอดูสถานการณ์ในอีก 2 เดือนข้างหน้าประกอบด้วย ในเรื่องการ
ตลาด ลูกค้า เพราะพบว่าในเดือนที่ผ่านมา ธุรกิจไม่ได้เติบโตเข้าเป้า ต่างกับทุกปีที่ผ่านมา จึง
ต้องรอดูอีก 2 เดือนที่เหลือว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของธุรกิจหรือไม่

หมายความว่าบริษัทมีความเป็นห่วงในผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ค่อนข้างมาก  
             จริงๆ แล้วในไตรมาสที่ 4 เรามีค่าใช้จ่ายเรื่องการย้ายโรงงานเข้ามาเพิ่ม และค่าใช้จ่าย
ในการย้ายโรงงานยังสรุปไม่ได้ ถ้าสามารถระบุลงไปได้ว่าตัวเลขเท่าไหร่ก็จะสรุปผลประกอบการ
ในปีนี้ได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการย้ายโรงงานคาดว่าจะใช้เงินหลายล้านบาท นอกจากนั้น เป็นผล
กระทบจากค่าไฟฟ้าที่ค่าเอฟทีจะปรับเพิ่มขึ้นอีกในเดือนต.ค.นี้ ซึ่งบริษัทหวังว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม
ขึ้นกับการประหยัดค่าเช่าโรงงานลงเดือนละ 2 ล้านบาท มันจะทดแทนกันได้พอดี แต่ในช่วงนี้
ต้องเสียค่าใช้จ่าย 2 ด้านเพราะโรงงานใหม่ยังไม่เปิดในขณะที่โรงงานเก่ายังต้องใช้ค่าใช้จ่ายจึง
เพิ่มขึ้น แต่เรื่องการเติบโตไม่น่าเป็นห่วง มั่นใจว่าเรามีการเติบโตแน่นอน

การเติบโตของปีหน้าเป็นอย่างไร
             ในปีหน้าเราจะมีธุรกิจส่งออกเข้ามาเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขส่งออกพลิกหน้ามือเป็น
หลังมือ  ซึ่งที่ผ่านมาเคยส่งออกผ่านลูกค้าในประเทศเป็นหลัก แต่ในปีหน้าจะเริ่มส่งออกด้วยตัว
เอง โดยคาดว่าในปีแรกรายได้จากการส่งออกจะมีสัดส่วนถึง 30% โดยจะพลิกสัดส่วนรายได้จาก
ปัจจุบันรายได้จากการส่งออก 5% และในประเทศ 95% มาเป็นในประเทศ 70% และต่าง
ประเทศจะเพิ่มเป็น 30% ดังกล่าวหรือคิดเป็นเม็ดเงินเบื้องต้นประมาณ 150-200 ล้านบาท ดัง
นั้น ปีหน้าการเติบโตจะค่อนข้างเห็นการเติบโตชัดเจนเพราะเรามีการส่งออกเข้ามาเพิ่มดังกล่าว
และโรงงานใหม่เปิดเดินเครื่องเต็มตัวซึ่งเชื่อว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% จากปีนี้

รายได้ของสาลี่ในปีหน้าจะเป็นอย่างไร
              ยังมั่นใจว่ากำลังการผลิตของ SALEE จะเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ในปีหน้า ณ ปัจจุบัน
ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิต 2,700 ตัน/ปี ส่วนปีหน้าคาดว่าจะใช้วัตถุดิบ 4 พันตัน/ปี หลังจากที่ย้าย
โรงงานใหม่เข้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ยอดขายเติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน ส่วนจะเป็นตัวเลข
เท่าไหร่คงจะไม่สามารถกำหนดตายตัวในขณะนี้ได้ แต่เชื่อว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% แม้ว่า
กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นอีก 50% ก็ตาม

นโยบายปันผลปีนี้เป็นอย่างไร
              เรายังยืนยันปันผลที่ไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิ โดย 30% จะเป็นอัตราต่ำสุด แต่
เรายังยืนยันว่าในอนาคตหากบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นจนสามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 30%
เราก็จะทำ เพราะอย่าลืมว่าในอนาคตเมื่อผู้ถือหุ้นอย่างผมแก่ตัวลงทำอะไรไม่ได้ รายได้ก็จะมา
จากการปันผล ดังนั้นผมต้องทำธุรกิจให้ดีและมีปันผลมากๆ เพื่อผู้ถือหุ้นทุกคน รวมทั้งตัวผมเอง
ด้วย

มีโครงการที่จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่หรือไม่
                ความจริงถ้าดูจากทุนและทรัพย์สินที่มีอยู่ขณะนี้เราสามารถเข้าไปจดทะเบียนใน
ตลาดใหญ่ได้สบาย แต่ขณะนี้ยังยืนยันว่าจะอยู่ในตลาด MAI และเรามั่นใจว่า SALEE จะเป็น
บริษัทที่โดดเด่นในอันดับต้นๆ ของตลาด MAI แน่นอน

********
วัชราพร จันทระ
eFinancethai.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

มีใครสน salee บ้าง

โพสต์ที่ 20

โพสต์

SALEE เผย Q3/48 มีกำไร 14.9 ลบ. ส่วนงวด 9 เดือนมีกำไร 32.2 ลบ.

             สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 3 (F45-3)
                             บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
                                                               สอบทาน
                                                          (หน่วย : พันบาท)
                                                       สิ้นสุดวันที่  30  กันยายน
                                                 ไตรมาสที่ 3                   งวด   9   เดือน
                           ปี              2548            2547            2548            2547
กำไร(ขาดทุน) สุทธิ              14,977         12,484          32,243         34,012
กำไร(ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)  0.10          0.11            0.24             0.30
ล็อคหัวข้อ