*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ได้ยินผู้มีอํานาจพูดกรอกหู(ทางโทรทัศน์)เกือบจะทุกวันว่าเศรษฐกิจบ้านเราดี

จะโต5%บ้าง 6%บ้าง

กองทุนหมู่บ้านและนโยบายประชานิยมเยอะแยะ

สารพัดโครงการเอื้ออาทร

นี่ก็จะมีmega project 1.7 ล้านๆ

ไหนจะสนามบินสุวรรณภูมิที่สร้างๆอยู่



ผมฟังแล้วก็เคลิ้มนะ ดูท่าเศรษฐกิจจะโต 5% 6% อย่างที่ท่านว่า
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แต่ประกาศตัวเลขไตรมาส1 ออกมา โต 3% กว่าๆ

ก็ยังดี ถึงแม้จะไม่ถึง 5% 6% อย่างที่ว่าไว้
SmileGraycop
Verified User
โพสต์: 127
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมว่าจริงๆน่าจะติดลบนะ แต่ไม่มีใครกล้าพูด ปัญหาคืออุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานคือบ้านยังอยู่ในมือคนไทยพอไปได้ ยายังมีการจ้างงานก็พอไปไหว อาหารก็ไปได้ของมัน แต่สิ่งทอเครื่องนุ่งห่มที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดเริ่มร่อแร่เข้าไปทุกที ของจีนมายังไงไม่รู้ภาษีก็ไม่ต้องเสียทะลักเข้ามาทีโรงงานปิดตัวกันระนาวเลย
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แต่ผมมาดูตัวเลขบางตัวอีกที

ก็แปลกใจอยู่นะครับ
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ระหว่างสิ่งดีๆที่ผมได้ยินอยู่เกือบจะทุกวี่ทุกวันทางโทรทัศน์

กับข้อมูล ความเป็นจริง ที่มีอยู่ในมือ


มันแย้งๆกันพิกล
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 32

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ก็น่าเห็นใจท่านนะ

ผมเองก็นึกไม่ค่อยออกเลยว่า จะแก้กันอย่างไร ในเมื่อเจอปัญหามากมายขนาดนี้
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ตัวเลข 3 % กว่าๆ ถือว่าหล่อแล้ว ไม่ขี้เหล่
ภาพประจำตัวสมาชิก
คัดท้าย
Verified User
โพสต์: 2917
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 8

โพสต์

หน้าหนึ่งสยามธุรกิจครับ http://www.siamturakij.com/ ... ช่วงนี้มีแต่ข่าวหน้าหนึ่ง ...


รายละเอียด
http://www.siamturakij.com/594/aaaaaaaaa/re594011.html

อสังหาฯเช็คเด้งระนาว สัญาณอันตรายศก.ขาลง

สมาคมอุตฯก่อสร้างไทย/สมาคมการขายและการตลาดฯ-ธุรกิจรับเหมา-วัสดุก่อสร้างระส่ำ เจอปัญหา "เช็คเด้ง" ระบาดหนัก ชี้ต้อตอจากมาตรการรัฐควบคุมแบงก์ปล่อยกู้โครงการพัฒนาที่ดิน "ภูมิสัน" หวั่นเกิดวิกฤติรอบใหม่แนะรับเหมาวางมาตรการคัดลูกค้าเข้ม พร้อมจี้รัฐบาบนำกฎหมาย "บุริมสิทธิ์" บังคับใช้แก้ปัญหา ด้าน "ไพโรจน์" ระบุบริษัทรับบริหารโครงการก็เจอปัญหาเดียวกัน เจ้าของโครงการชำระเงินช้าแถมเช็คเด้ง จนต้องรวมตัวตั้งสมาคมฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมกันแก้ไข ขณะที่ "แบงก์ชาติ" เผยยอดเช็คเด้ง 5 เดือนพุ่ง 1.2 หมื่นล้านบาท โดยกรุงเทพฯ-ปริมณฑลเช็คติดสปริง 9,400 ล้านบาท

รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง แจ้งว่า จากนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อลดลดความร้อนแรงการลงทุนที่มีการขยายตัวเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาหนี้เสีย และส่งผล

กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจเหมือนวิกฤติเศรษฐกิจผ่านมา ซึ่งนโยบายดังกล่าวของธปท. ส่งผลให้บริษัทพัฒนาที่ดินในระดับกลางและล่างได้รับผลกระทบ ไม่สามารถหาแหล่งเงินมาลงทุนเพื่อสานต่อโครงการได้ ทำให้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง คือกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และกลุ่มผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง ที่สำคัญขณะนี้ธปท.ยังมีแนวคิดที่จะแก้ไขพระราชบัญญัติเช็ค โดยกำหนดให้ผู้ที่ผิดสัญญาการชำระเงิน หรือปล่อยเช็คเด้งไม่ต้องมีความผิดทางอาญา ให้เหลือเพียงการฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายเท่านั้น ซึ่งหากนโยบายนี้มีผลบังคับใช้เชื่อว่าจะยิ่งทำให้ปัญหาเช็คเด้งเพิ่มมากขึ้น

"ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทพัฒนาที่ดินเริ่มมีปัญหาเช็คเด้ง หรือต่อรองยืดระยะเวลาการชำระเงินออกไป แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนี้เริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง ผู้ค้าวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาเลือกลูกค้าโครงการบ้านจัดสรร และหันไปมุ่งเจาะลูกค้ารายย่อยมากขึ้น"

นายภูมิสัน โรจน์เลิศจรรยา นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า ปัญหาเช็คเด้งในวงการรับเหมาก่อสร้างเริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้นในช่วงนี้ โดยฉพาะผู้ประกอบการโครงการพัฒนาที่ดินขนาดเล็ก เนื่องจากขาดสภาพคล่องจากการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของสถาบันกาเงิน แต่ในภาพรวมของภาคธุรกิจก่อสร้างยังมีแนวโน้มที่ดี เพราะที่อยู่อาศัยยังมีความต้องการอีกมากรวมถึงเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลที่กำลังจะมีการลงมือก่อสร้าง เพียงแต่ช่วงนี้ผู้บริโภคอาจขาดความมั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ว่าเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย และปัญหาราคาน้ำมันแพงจะมีผลต่อความมั่นคงในชีวิตมากน้อยเพียงใดจึงทำให้บรรยากาศการซื้อขายที่อยู่อาศัยลดความคึกคักลงบ้างแต่คงไม่รุนแรงเหมือนช่วงวิกฤติที่ผ่านมา

"ปัญหาเช็คเด้งมีเกิดให้เห็นกันทุกยุคทุกสมัยเมื่อภาวะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว จึงอยากให้รัฐบาลนำ กฎหมายบุริมสิทธิมาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง เพราะสามารถการันตีว่าได้รับชำระหนี้แน่นอน ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไปได้"

นายภูมิสัน กล่าวว่า กฎหมายบุริมสิทธินี้มีมานานกว่า 100 ปี แต่ไม่ได้นำมาปฎิบัติ เพราะยังขาดระเบียบในการปฎิบัติยื่นขอจดทะเบียนรับรองสิทธิ โดยเฉพาะในเรื่องการจดทะเบียนสิทธิที่จะต้องนำโฉนดฉบับจริงไปยื่นจดทะเบียนกับหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ ซึ่งในทางปฎิบัติกรมที่ดินไม่สามารถที่จะออกโฉนดตัวจริงได้ 2 ฉบับ ในขณะที่สถาบันการเงินผู้รับจำนองก็ไม่ยินยอมที่จะให้นำโฉนดตัวจริงไปไว้กับหน่ายงานอื่น เรื่องนี้จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องเข้ามาแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียนเพื่อให้กฎหมายบุริมสิทธิ์สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

ทั้งนี้ การที่สมาคมฯ พยายามนำกฎหมายบุริมสิทธิมาใช้ก็เพื่อเป็นการลดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างประสบปัญหาเช็คเด้งจนได้รับความเสียหายจำนวนมาก และยังมีผลกระทบต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน ทั้งต่อผู้บริโภค และสถาบันการเงิน เพราะหากมีการฟ้องร้องระหว่างผู้รับเหมากับเจ้าของโครงการ นอกจากจะทำให้เสียเวลาในการก่อสร้างแล้วยังทำให้การปิดโครงการล่าช้าออกไป ในที่สุดก็ทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อไม่ได้รับการส่งมอบที่อยู่อาศัย ขณะที่สถาบันการเงินก็ไม่ได้รับการชำระหนี้ ได้เพียงทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันกลายเป็นปัญหาหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลในที่สุด

นายไพโรจน์ สุขจั่น ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท บัวทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในฐานะกรรมการก่อตั้งสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า จากนโยบายการควบคุมการขยายการลงทุนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล โดยให้สถาบันการเงินคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อการลงทุนโครงการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียเหมือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เกิดการขาดสภาพคล่อง ส่งผลกกระทบต่อธุรกิจเกียวเนื่องทั้งธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง และบริษัทรับบริหารโครงการ ซึ่งผลกระทบดังกล่าว คือไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ มีปัญหาเช็คเด้ง หรือมีการชำระเงินช้ากว่ากำหนด

ทั้งนี้ การดำเนินงานในส่วนของบริษัทบัวทองฯ และบริษัทในเครือที่รับบริหารโครงการบ้านจัดสรรหลายโครงการ ก็ประสบปัญหาในลักษณะนี้เช่นกัน คือไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากเจ้าของโครงการได้รวมแล้วเป็นเงินถึง 60 ล้านบาท โดยปัญหานี้เริ่มรุนแรงขึ้นหลังจากรัฐบาลมีมาตรการให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย

"ปัญหาที่เจอคือบริษัทเจ้าของโครงการไม่ชำระค่าบริหารการตลาดและคอมมิชชั่น เพราะปกติบริษัทตัวแทนขายที่รับบริหารการขายจะออกค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ก่อน แต่เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ศาลก็เพิ่งตัดสินไป 2-3 คดี ให้เจ้าของโครงการชำระหนี้ให้เรา"

นายไพโรจน์ กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวบริษัทผู้รับจ้างบริหารโครงการจึงได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อศูนย์กลางในการพัฒนาประปรุงประสิทธิภาพ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการพัฒนาอาชีพนี้ ส่วนการแก้ไขปัญหาเช็คเด้ง หรือไม่ได้รับชำระค่าบริหารโครงการ สมาคฯ ได้แนะนำสมาชิกให้พิจารณาเลือกรับบริหารโครงการต่างๆ อย่างรอบคอบ และให้มีการเรียกเก็บเงินเร็วขึ้นไม่ปล่อยให้เเป็นดินพอกหางหมู รวมถึงควรรับบริหารโครงการแบบระยะสั้น

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า มูลค่าเช็คเด้งล่าสุดเดือนพฤษภาคมมีถึง 12,308 ล้านบาท จากปริมาณเช็คเด้งที่พบทั้งหมด 129,318 รายการ หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.53% ของมูลค่าเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด โดยเป็นมูลค่าเช็คเด้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 9,456 ล้านบาท เช็คเด้งในเขตภูมิภาค 1,751 ล้านบาท และเช็คเด้งที่เรียกเก็บข้ามเขตมูลค่า 1,099 ล้านบาท

โดยปริมาณและมูลค่าเช็คคืนไม่มีเงิน หรือเช็คเด้งในเดือนพฤษภาคม พบว่ามีปริมาณเช็คเด้งจำนวน 129,318 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 1.64% ของปริมาณเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด ขณะที่มูลค่าเช็คเด้งมีจำนวน 12,308.14 ล้านบาท คิดเป็น 0.53% ของมูลค่าเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด

สำหรับปริมาณเช็คเรียกเก็บเงินทั้งหมดในเดือนพฤษภาคมมีจำนวน 7,865,315 รายการ คิดเป็นมูลค่า 2,318,425.4 ล้านบาท ส่วนเช็คคืนรวมมีปริมาณทั้งหมด 196,626 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 2.5% ของปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งหมด หรือเป็นมูลค่า 21,971.72 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.95% ของมูลค่าเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด ทั้งนี้ปริมาณและมูลค่าเช็คดังกล่าว เป็นปริมาณและมูลค่าของเช็คที่เรียกเก็บรวมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, เช็คที่เรียกเก็บในเขตภูมิภาค และเช็คที่เรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชี

จากการพิจารณาปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ แยกตามเขตที่เรียกเก็บแล้วพบว่า ปริมาณเช็คเด้งในเดือนพฤษภาคมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีจำนวน 85,693 รายการ มูลค่า 9,456.29 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบเป็นสัดส่วนกับปริมาณเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด ปริมาณเช็คเด้งที่พบเท่ากับ 1.49% ของเช็คเรียกเก็บทั้งหมด ส่วนมูลค่าเช็คเด้งนั้นคิดเป็นสัดส่วน 0.45% ของมูลค่าเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด

โดยปริมาณและมูลค่าเช็คคืนรวมทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีปริมาณ 135,248 รายการ เป็นสัดส่วน 2.35% ของเช็คเรียกเก็บทั้งหมด หรือเป็นมูลค่าเช็คคืนรวมเท่ากับ 16,917.15 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.81% ส่วนปริมาณเช็คที่เรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้นมีจำนวน 5,755,615 รายการ มูลค่า 2,090,455.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 0.9% และ 16.9% ตามลำดับ

สำหรับปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งที่พบในเขตภูมิภาค ผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดในเดือนพฤษภาคม มีปริมาณ 22,836 รายการ มูลค่า 1,751.94 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเทียบกับเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมดเท่ากับ 1.6% และ 0.9% ตามลำดับ ส่วนเช็คคืนรวมที่พบนั้นมีจำนวน 35,420 รายการ มูลค่า 3,650.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.5% และ 1.8% ของเช็คเรียกเก็บที่มีปริมาณ 1,429,480 รายการ มูลค่า 197,667.32 ล้านบาท ทั้งนี้ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว 3.5% ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้น 25.8%

นอกจากนั้น เป็นปริมาณเช็คที่เรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชี โดยมีปริมาณเช็คเด้ง 20,789 รายการ มูลค่า 1,099.91 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อเช็คเรียกเก็บข้ามเขตทั้งหมด 3.1% และ 3.6% ตามลำดับ โดยปริมาณเช็คคืนข้ามเขตรวมมีทั้งหมด 25,958 รายการ มูลค่า 1,403.87 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.8% และ 4.6% ของเช็คเรียกเก็บข้ามเขตทั้งหมด ทั้งนี้เช็คเรียกเก็บข้ามเขตทั้งหมดมีปริมาณ 680,220 รายการ มูลค่า 30,302.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.5% และ 30% ตามลำดับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ที่ผมว่ามันแย้งๆกันพิกลคืออย่างนี้ครับ

เราบอกว่า GDP เราโตกว่า 3 % หล่อแล้ว ไม่ขี้เหล่


******แล้วทําไมข้อมูลล่าสุดที่ผมมี บริษัทที่เลิกกิจการถึงได้โตก้าวกระโดด 50% จาก316บริษัท โดดขึ้นมาเป็น 474 บริษัท *******
ภาพประจำตัวสมาชิก
yoyo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4833
ผู้ติดตาม: 167

*สิ่งที่ " ผู้มีอํานาจ" พูด กับความจริง รือเป็นแค

โพสต์ที่ 10

โพสต์

Britannica เขียน:ที่ผมว่ามันแย้งๆกันพิกลคืออย่างนี้ครับ

เราบอกว่า GDP เราโตกว่า 3 % หล่อแล้ว ไม่ขี้เหล่


******แล้วทําไมข้อมูลล่าสุดที่ผมมี บริษัทที่เลิกกิจการถึงได้โตก้าวกระโดด 50% จาก316บริษัท โดดขึ้นมาเป็น 474 บริษัท *******
ถ้ามองในแง่ดี
อาจจะเพราะว่ามีบริษัทที่เปิดใหม่เพิ่มขึ้นเยอะมากก็ได้ครับ
เปิดเยอะก็ต้องมีปิดเยอะเป็นเรื่องธรรมชาติครับ
ล็อคหัวข้อ