กองทุนร่วมลงทุน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 320

กองทุนร่วมลงทุน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    หนึ่งในมาตรการที่รัฐจะช่วยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคือการตั้งกองทุนร่วมลงทุนหรือ Venture Capital Fund (VC) ในฐานะที่ดิฉันเคยเป็นผู้จัดการกองทุนเพื่อร่วมลงทุนมาก่อนจึงอยากจะขอแบ่งปันประสบการณ์ให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาค่ะ

    ก่อนอื่นต้องขอปูพื้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจไปพร้อมๆกันกองทุนร่วมลงทุนหรือ  Venture Capital Fund  คือกองทุนที่ผู้ลงทุนรวมเงินทุนมาเพื่อร่วมลงทุนในกิจการต่างๆที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ผู้ลงทุนเหล่านี้ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการแต่เป็นผู้ลงทุนที่เรียกว่า “ผู้ลงทุนทางการเงิน” หรือ Financial Investors โดยอาจจะลงทุนตั้งแต่กิจการยังเตาะแตะอยู่ที่เรียกว่า Green Field ส่วนใหญ่จะเป็นทุนประเดิม (Seed Money) หรือดิฉันเคยเรียกว่า “เชื้อไฟ” คือนำเงินไปลงทุนเพื่อให้กิจการสามารถเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆได้เช่นอาจจะเพื่อทำสินค้าต้นแบบออกมาหรือนำมาใช้ลงทุนผลิตสินค้าล็อตแรกเพื่อทดลองตลาด

    ถัดมาจะเป็นการลงทุนในช่วงที่ธุรกิจเริ่มขยายหรือเรียกว่า Expansion Phase และช่วงเติบโต (Growth)ในช่วงนี้ธุรกิจจะต้องการเงินเพิ่มซึ่งอาจจะกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์แต่หากฐานของทุนไม่แข็งแกร่งก็อาจจะกู้ได้น้อยจึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนให้กับธุรกิจเพื่อให้สามารถสร้างฐานทุนให้ใหญ่ขึ้นหรือกองทุนร่วมลงทุนอาจจะเป็นผู้ให้กู้และผู้ลงทุนไปพร้อมกันทั้งสองอย่างได้

    กองทุนร่วมทุนจะไม่ได้ถือหุ้นของกิจการตลอดไปแต่จะถืออยู่ระยะหนึ่งซึ่งอาจเป็นช่วงเวลา  3-7 ปีแล้วก็จะขายหุ้นออกไปเมื่อกิจการแข็งแกร่งขึ้นเพราะผู้ลงทุนเป็นผู้ลงทุนทางการเงินตามที่ได้กล่าวไปแล้วไม่ได้ต้องการร่วมลงทุนกับกิจการไปตลอดเพราะอาจจะมีกิจการอื่นๆต้องการเงินลงทุนประเภทนี้อีก

    เมื่อกิจการแข็งแกร่งขึ้นอาจเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (IPO) และนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Listing) ซึ่งกองทุนร่วมลงทุนอาจจะขายเงินลงทุนออกในช่วงนี้

    แต่หากกิจการไม่มีความประสงค์จะจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์กองทุนร่วมลงทุนอาจขายคืนให้กับเจ้าของกิจการหรือขายคืนให้กับผู้ลงทุนรายอื่นที่มีความสนใจลงทุนซึ่งประเด็นนี้ก็ต้องตกลงกันให้ดีมิฉะนั้นหากผู้ลงทุนรายใหม่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ไม่ตรงกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้

    ประเด็นของการร่วมลงทุนจากภาครัฐที่ดิฉันอยากจะฝากไว้มีดังนี้

    ประการแรกคือการลงทุนประเภทเงินร่วมลงทุนหรือ VC นี้มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะหากร่วมลงทุนกับวิสาหกิจขนาดย่อมในต่างประเทศถือเป็นเรื่องธรรมดามากที่กิจการที่ลงทุนจะให้ผลดีเพียง 1 หรือ 2 กิจการจาก 10 กิจการที่ลงทุนเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้จัดการกองทุนร่วมลงทุนหรือตัวแทนของภาครัฐที่เข้ามาเป็นกรรมการหรือผู้กำกับนโยบายต้องได้รับการคุ้มครองว่าหากเป็นการลงทุนที่เป็นไปโดยใช้ความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชนพึงกระทำแล้วผู้จัดการหรือกรรมการเหล่านั้นไม่ควรต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวมิฉะนั้นดิฉันทำนายว่าจะไม่สามารถหากิจการร่วมลงทุนได้เพราะเจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องจะเกร็งไปหมดและประโยชน์ของกองทุนจะหดหายไปทันทีจะมีแต่ข่าวการตั้งกองทุนเพื่อให้กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมดีใจและมีความหวังเท่านั้น

    ประการที่สองการดำเนินการควรมีความโปร่งใสในลักษณะการจ้างให้หน่วยงานเอกชนหรือกึ่งเอกชนดำเนินการดิฉันเห็นด้วยกับการอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกลต. แต่ผู้จัดการกองทุนอาจจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุนก็ได้เนื่องจากการบริหารจัดการเงินร่วมลงทุนต้องอาศัยประสบการณ์ในการลงทุนและจัดโครงสร้างซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของวาณิชธนากรหรือ Investment Banker ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานในธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทหลักทรัพย์รูปแบบอื่นๆได้  การดำเนินงานเองโดยหน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเก่าหรือใหม่จะก่อให้เกิดประเด็นการแทรกแซงจากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้ผู้ปฏิบัติงานก็มีความลำบากใจ

    ประการที่สามกฏเกณฑ์คุณสมบัติของกิจการที่จะขอรับการสนับสนุนต้องไม่ซับซ้อนหรือเข้มงวดจนเกินไปเช่นต้องการเน้นการจ้างงานในชนบทด้วยต้องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมด้วยหลายครั้งคุณสมบัติหรือกฏเกณฑ์เหล่านี้อาจจะขัดแย้งกันทำให้กิจการที่ผ่านคุณสมบัติให้พิจารณามีน้อยลงอาจกำหนดให้มีคุณสมบัติ 2 ใน 10 อย่างถือว่าผ่านเบื้องต้นเป็นต้นเพราะกิจการยังจะต้องไปผ่านด่านอื่นๆที่ “หินและโหด” อีกมากเช่นการมีความโปร่งใสการมีธรรมาภิบาลในการประกอบการฯลฯ

    ประการที่สี่อยากให้รัฐตั้งผลตอบแทนที่คาดหวังให้ต่ำกว่ากองทุนร่วมลงทุนทั่วไปเพราะณปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยก็ต่ำต้นทุนเงินของรัฐก็ถูกลงการลงทุนในกิจการในประเทศไทยไม่ค่อยมีกิจการที่มีนวัตกรรมในลักษณะแปลกใหม่หรือ Breakthrough เหมือนของซีกโลกตะวันตกเช่นแอปเปิลหรือเฟซบุ้คแต่กิจการของไทยโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจะเป็นกิจการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นจึงยากที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประเภทหลายเท่าตัวของเงินลงทุน

    ประการที่ห้าหากต้องการให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงดิฉันอยากเสนอให้แบ่งกองทุนเป็นหลายกองโดยแยกตามวัตถุประสงค์เช่นกองทุนที่เน้นหนักเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม  กองทุนที่เน้นบริษัทการค้า (Trading Company) และกองทุนที่เน้นการต่อยอดธุรกิจเช่นการบริการโลจิสติกส์หรือกองทุนที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมการผลิตที่ไทยเราทำได้อย่างดีเยี่ยมอยู่แล้วแต่อยากทำให้ดียิ่งขึ้น

    สาเหตุที่เสนอให้แยกเนื่องจากผู้จัดการเงินร่วมลงทุนจะสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาและแนะนำกิจการต่างๆที่ร่วมลงทุนได้หรือหากยังมีความเหมาะสมไม่ถึงขีดขั้นที่จะลงทุนอาจจะช่วยปั้นช่วยนวดให้เก่งขึ้นแข็งแรงขึ้นเพราะจากประสบการณ์ของดิฉันบางกิจการมาขอรับการสนับสนุนร่วมลงทุนเพราะอยากได้คำแนะนำอยากขอความช่วยเหลือหารือปรึกษาในการทำธุรกิจซึ่งหากเป็นผู้จัดการกองทุนร่วมลงทุนเราจะไม่มีเวลาทำในเรื่องต่างๆเหล่านี้เพราะเป้าหมายอยู่ที่ต้องร่วมลงทุนให้ได้เร็วให้ได้ดีที่สุดสิ่งที่ทำได้ก็เพียงแต่ให้คำแนะนำไปหาหน่วยงานที่จะช่วยให้คำปรึกษาได้

    หากรัฐจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการตั้งหน่วยงานหรือว่าจ้างหน่วยงานเอกชนทำหน้าที่ “พี่เลี้ยงธุรกิจ” ไปพร้อมๆกัน  ดิฉันเชื่อว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME ของไทยจะต้องแข็งแกร่งและเป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นแน่นอน

    สำหรับผู้สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนร่วมลงทุนเพิ่มเติมขอแนะนำให้อ่านหนังสือ Venture Capital ธุรกิจเงินร่วมลงทุน : หนทางสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการรุ่นใหม่เขียนโดยดร.เรวัตตันตยานนท์และคุณสุธีพนาวรจัดพิมพ์โดยศูนย์ส่งเสริมพัฒนาความรู้ตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยราคาเล่มละ 250 บาทค่ะ
[/size]
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 23

Re: กองทุนร่วมลงทุน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

VC ของทาง ICT ของเดิมก็มีอยู่แล้ว แต่ 7 ปี ปล่อยกู้ไปได้แค่ 2 Case !
ปัญหาของ VC ภาครัฐคือเอาข้าราชการมาบริหารนี่แหละครับ
เพราะ mind set ของข้าราชการนั้น เค้าจะเน้น protect ตัวเอง เพราะถ้าทำดี ก็เสมอตัว แต่ถ้าทำไม่ดี หน้าที่การงานเค้าเสีย
รัฐบาลจะจัดตั้งใหญ่แค่ไหน ตราบใดที่ให้ข้าราชการบริหาร ผมค่อนข้างมั่นใจว่าล้มเหลวแน่นอน

model ที่ work คือ model ของอิสราเอลครับ รัฐจะไปใส่เกินใน VC ของเอกชนแทนที่จะมาบริหารเอง

ส่วนภาคเอกชนไทยเราก็มีปัญหาเรื่องดึงคนเก่งทำอยู่ในทีม VC เพราะ VC เก่งๆ ไม่ใช่แค่เป็นผู้ลงทุนนะครับ
แต่ต้องเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจได้ด้วย และส่วนใหญ่ในทีม ก็มักจะมีผู้ประสบความสำเร็จในด้านๆนั้น รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
ทั้งทางธุรกิจ การเงิน เทคโลโลยี กฎหมาย อยู่ในทีมของ VC
และการที่จะดึงมืออาชีพ ระดับเทพๆพวกนี้มาทำงาน ที่ต่างประเทศ เค้ามี profit sharing ให้ครับ
แต่เมืองไทยทำไม่ได้ เพราะกองทุน profit sharing เป็นกองทุนผิดกฎหมาย หรือที่เราๆเรียกว่า hedge fund
VC หลายเจ้าในเมืองไทย มักไปจดทะเบียนในต่างประเทศ และจ้างมืออาชีพด้านนี้ ในรูปแบบพิเศษ หรือ ในรูปแบบนอมินี่
เพื่อทีจะจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบ profit sharing ได้ เพราะถ้าไม่จ่ายผลตอบแทนแบบนี้ได้ เค้าจะดึงคนเก่งมาร่วมทีมได้ยาก
เพราะผลประโยชน์ไม่จูงใจ เลยทำให้ VC บ้านเรามีข้อจำกัดในการโตและการทำงานพอควร
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: กองทุนร่วมลงทุน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ต้น.เจียงฮาย
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 44
ผู้ติดตาม: 2

Re: กองทุนร่วมลงทุน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณคับ :D
โพสต์โพสต์