หน้า 1 จากทั้งหมด 2

ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 10:44 am
โดย PrasertsakK
ผมลองนั่งคำนวณโดยคิดอัตราทบต้น ในความมั่งคั่งของผม เพื่อดูความเป็นไปได้ที่จะมีเงินพันล้านหรือเปล่า (ก็หลาย ๆ คนบอกว่าพลังของดอกเบี้ยทบต้นนี้มันมหาศาล ผมเลยลองทำดู) และพอลองนั่งคำนวณจริง ๆ แล้ว ก็เห็นว่า โอกาสที่คนหนึ่งจะมีเงินพันล้านด้วยการลงทุน มันก็ใช่จะเป็นไปไม่ได้ ผมเลยทำตัวอย่างไว้ให้ดู เพื่อพิสูจน์ว่า สองมือสองแขน พึ่งพ่อแม่ อย่างพอเพียง ก็หาเงินพันล้านได้ แต่ผมว่าก่อนไปดูตัวอย่าง มาศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จกันก่อนดีกว่า อย่างที่ทุกท่านรู้มา ปัจจัยที่ส่งผลให้เรามีเงินพันล้านนั้น มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ เงินเริ่มต้น ความสามารถในการลงทุน เวลา ผมจึงมานั่งศึกษาดูว่าอะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้เราเข้าใกล้ความเป็นเงินพันล้านมากที่สุด โดยพยายามสร้างตารางจำลองผลตอบแทนที่ได้ จากการนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุน โดยในแต่ละเดือน จะทำการเติมเงินเข้าไปทุกเดือน (แต่เพื่อคำนวณให้ง่ายเลยเหมารวมเป็นปีไป) เดือนละ 10000 บาท โดยผมคิดว่า ในแต่ละปี เงินเดือนที่ได้ควรจะปรับขึ้นประมาณ 5% (เลยสมมุติว่าเงินที่เติมเข้าไปเป็น เพิ่มขึ้น5%ด้วยทุกปีแต่ จริง ๆ น่าจะมากกว่านั้น) ซึ่งผมจะทำการแยกกรณีศึกษาในเรื่องของ เงินต้น ความสามารถ และเวลา

กรณีแรกที่ เงินต้น ผมพนันได้เลยว่าทุกคนคิดได้อยู่แล้วว่า ถ้าคนไหนเกิดมารวย โอกาสที่จะรวย ไปอีกยิ่งสูงมาก เรื่องนี้ผมก็คงไม่เถียง แต่เมื่อผมลองทำตารางเปรียบเทียบดู โดยผมสมมุติให้มีคนสามคน โดยแต่ละคนได้รับเงินจากพ่อแม่มาให้ลงทุนต่างกัน คือ หนึ่งแสนบาท หนึ่งล้านบาท และ สิบล้านบาท โดยทั้งสามคนทำงานที่เดียวกัน เงินเดือนเหมือนกันทุกอย่าง โดยผมสมมุติให้ แต่ละคนแบ่งเงินเดือนมาไว้คนละหนึ่งหมื่นบาท โดยแต่ละปีเงินเดือนพวกเขาจะได้เพิ่ม 5% ซึ่งเขาก็แบ่งในสัดส่วนที่เท่ากันมาลงทุนทุกเดือน แต่เพื่อให้ไม่ยุ่งยาก ผมจึงเหมาก้อนไปเลยเป็นปีละ 120,000 และเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 5% โดยผลตอบแทนที่ได้คือ 10% เมื่อทำตารางเสร็จ ปรากฏว่า ผมได้เจอสิ่งที่แปลกประหลาดใจอยู่ นั้นคือ
001.jpg
จะเห็นว่า แม้ว่า เงินต้นของ case 1 และ case 2 จะห่างถึง 10 เท่า ผลต่างเมื่อผ่านไป 30 ปี จะห่างเพียง 1.43 เท่าแค่นั้น และแม้ว่า เงินต้นของ case 1 และ case 3 จะห่างถึง 100 เท่า ผลต่างก็จะมีเพียง 5.8 เท่า แค่นั้น ซึ่งจากการคำนวณนี้ จะทำให้เราเห็นว่า ถ้าหากคุณโชคดีเกิดมารวย คุณจะมีโอกาสที่จะรวยมากขึ้น นั้นเป็นเรื่องจริง แต่สำหรับ คุณที่ไม่ได้รวยอะไรมากนัก ก็ไม่ต้องนึกเสียใจ เพราะว่า ถ้าคุณตั้งใจและไม่ย่อท้อ เมื่อเวลาผ่านไป ความต่างชั้นของความรวยของคุณกับเพื่อนที่รำรวยของคุณ จะค่อย ๆ ลดลง จนระดับอาจจะไม่มีความสำคัญอะไรก็ได้ (แต่ผมว่า เกิดมารวยคงดีกว่า 555)

กรณีต่อไป ผมลองศึกษาผลเรื่องของความสามารถในการลงทุน ซึ่งผมคิดว่าทุกท่าน ก็คงรู้ดีอยู่แล้วว่า ยิ่งเรามีความสามารถมากขึ้นแค่ไหน ผลตอบแทนยิ่งสูงขึ้นมากขึ้น ครั้งนี้ ผมแบ่งเป็นเป็นสี่คน โดยแต่ละคนได้รับเงินจากพ่อแม่เท่ากันคนละหนึ่งแสนบาท แต่ว่าแต่ละคนนั้น สามารถสร้างผลตอบแทนได้ต่างกัน คือ คนที่หนึ่ง ได้ 5% คนที่สองได้ 10% คนที่สามได้ 15% และคนสุดท้ายได้ 20% ต่อปี ซึ่งก็ไม่ได้ผิดคลาดแต่ประการใดที่คนยิ่งเก่งก็ยิ่งได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ดูในตารางได้เลยครับ
002.jpg
จากตารางจะเห็นว่า ยิ่งเราสามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทนเราได้สูงเท่าไร ความเข้าใกล้ความร่ำรวยนั้นก็ยิ่งมากขึ้น ทุก 5 เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น พอผ่านไปสามสิบปี เงินในกระเป๋าเรากับเพิ่มขึ้นหลายเท่าทีเดียว จาก 16ล้าน เป็น 36ล้าน เป็น 100ล้าน เป็น 280ล้าน แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้น มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะ สถิตโลกปัจจุบัน นั้นได้เพียง 22% เท่านั้น
การที่เราจะเพิ่มความสามารถในการตอบแทนเป็นเรื่องที่ไม่ได้ง่าย ดังนั้น การที่เราจะได้ผลตอบแทนที่ดีมาก ๆ นั้น อาจจะเป็นแค่โชค หรือ อาจจะต้องทุ่มเทจนไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่นเลย ซึ่งผมว่า อย่างนั้นจะมีชีวิตไปทำไมใช่ไหมครับ การฝึกฝีมือต้องใจเย็น ๆ และทำด้วยความไม่โลภจนเกินไป ผมแนะนำให้เพื่อนอ่านบทความของเพื่อนผม ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเรื่องผลตอบแทนมากขึ้น
http://achikochi1234.blogspot.com/2011/09/72-1.html

ส่วนกรณีสุดท้ายเป็นเรื่องของเวลา ผมว่าเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่คงเห็นความมหัศจรรย์ของเวลาบาง แต่ผมขออนุญาตเพื่อน ๆ ทำตารางนี้เผื่อไว้สำหรับน้อง ๆ รุ่นใหม่ดู ตารางนี้ผมแอบปรับอัตราผลตอบแทนเป็น 12% เพราะผมมองว่าแต่ละท่าน ๆ มีความสามารถที่จะทำได้เกินกว่านี้ และผมยังใช้เงื่อนไขเดิมคือเริ่มต้นด้วยเงินหนึ่งแสนบาท เติมเงินทุกปี เดือนละหนึ่งหมื่น และ เพิ่มทุกปี ปีละ 5%
003.jpg
จากตารางเราจะเห็นว่า ยิ่งเวลาผ่านไปนานแค่ไหน เราก็ยิ่งมีเงินมาก แต่ไม่ได้มากธรรมดา มากโครต ก็ดูสิครับ ลงทุนไป 10 ปี ก็เริ่มมีเงินเกือบ 3 ล้าน พอผ่านไป 20ปี จะมีเงิน 14ล้าน ผ่านไป 30ปีก็ 52ล้าน พอเกือบตายก็ได้เกือบ 1800ล้าน เห็นไหมว่ายิ่งถ้าเรายิ่งมีเวลาที่จะลงทุนมากแค่ไหน เงินมันก็จะมากขึ้นมาก นั้นก็หมายถึง ถ้าเรายิ่งลงทุนเมื่อเราเด็กแค่ไหน ก็มีโอกาสเห็นเงินพันล้านมากขึ้น

สุดท้ายผมทดลองสร้างพอร์ทการลงทุนดูความเป็นไปได้ที่จะให้เราได้ความมั่งคังนับพันล้านดู และเพื่อให้ความสมจริง ผมจึงสมมุติคน ๆ นี้มีอายุประมาณ 30 ปี แต่เป็นพนักงานกินเงินเดือน เรียนจบมหาลัยที่ดี ซึ่งหลังเกษียร์ก็เป็นถึงระดับบริหารเงินเดือนเกือบแสนละกันครับ มีความสามารถสูงในการลงทุน ซึ่งได้ผลตอบแทนทบต้นประมาณ 15%ต่อปี
(ผมจะเล่ารายละเอียดของการลงทุนข้างล่างตารางครับ)
004.jpg
เงินต้น เวลาเริ่มต้นลงทุน ถ้าจะไม่หาเงินเลยนี้คงไม่มีถึงพันล้านแน่ ๆ ดังนั้นผมจะเปลี่ยนทรัพยสินเป็นทุน ก็คือขอพ่อแม่อย่างหน้าด้าน ๆ จากที่ท่านจะซื้อรถให้ไปทำงาน ก็ขอเป็นเงินสดเพื่อลงทุน หนึ่งล้านบาท
ปีที่ 1 แบ่งเงินเก็บไว้ลงทุนเดือนละ หมื่นบาท (ซึ่งทั้งปีเอาเป็นว่าแสนสอง มีโบนัสอีกนิด หนึ่งหมื่นทั้งหมดเป็น 130,000 ต่อปี) เป็นเวลาห้าปี ผมให้ห้าปีเพราะว่า ช่วงแรกเงินเดือนไม่เยอะ แบ่งมาเดือนละหมื่นก็ OK
พอปีที่ 5 ได้ฤกษ์แต่งงาน แทนที่จะจัดงานใหญ่โต ซื้อรถแพง ๆ สิ้นสอดซะเยอะ(ส่วนมากพ่อแม่ออกให้อีกแล้ว) ลองเปลี่ยนมันเป็นทุน ผมว่าคราว ๆ หนึ่งล้านบาทอีกแล้วครับ (ใครจะแต่งวะเนี้ย มีเงินแต่ใช้ไม่ได้)
ปีที่ 6 เงินเดือนเริ่มเยอะ ปรับแบ่งเงินลงทุนเดือนละ สองหมื่นแทน (ทั้งปี ปีละ สองแสนสี่ แต่ช่วงนี้เงินโบนัสเริ่มเยอะ เลยขอแบ่งมาหนึ่งแสนเป็น 340,000ต่อปี) เป็นเวลาห้าปีอีกแล้ว พอทำงานสิบปี ได้เลื่อนตำแหน่ง หัวหน้าใหญ่
ปีที่ 11 หัวหน้าใหญ่ต้องโดนหักเงินเยอะหน่อย เดือนละสามหมื่น (ทั้งปี ปีละ สามแสนหก โบนัสช่วงนี้ก็เพิ่มเลยหักโบนัสเพิ่มอีกแสนสี่ สรุปว่าเป็น 50000ต่อปี) เป็นเวลาห้าปีอีก คราวนี้ได้ตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่
ปีที่ 16 ผู้จัดการใหญ่เงินเดือนเยอะก็หักเยอะขึ้นเป็นเดือนละ สี่หมื่น(ทั้งปี สี่แสนแปด โบนัสเยอะหักเป็นสักแสนเจ็ด สรุปว่าเป็น 650,000 ต่อปี) แต่เป็นผู้จัดการตำแหน่งมันตัน เลยต้องทำงานตำแหน่งนี้ไปสิบปี
ปีที่ 26 อีกแค่ห้าปีก็โดนเชิญออก แต่เก่งเลยเป็นผู้บริหาร หักซะเลยเดือนละห้าหมื่น (ทั้งปีก็หกแสน แต่ช่วงนี้ไปเริ่มไปโรงพยาบาลกันเงินโบนัสไว้ ไม่ใส่ในพอร์ท สรุปว่าเป็น 600,000 ต่อปี)
ปีที่ 30 โดนเชิญออก ไม่ได้เงินเดือนแล้ว เลยไม่เติมเงินซะงั้น (จริง ๆ ได้เงินบำนาญอีกนะ อิอิ)
ปีที่ 40 อายุ 70 มี 999 ล้านบาท ขาดไม่กี่แสน ก็ขอลูกหลานเอา บอกว่าจะได้ครบพันล้านซะที
สรุปว่า ได้เงินพันล้านแล้วครับ ^ ^

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 12:05 pm
โดย กาละมัง
อีก 40 ปี เงินพันล้าน เทียบแล้วอาจเสมือนเงินไม่เกิน 50 ลบ ปัจจุบัน ว่าไหมครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 12:26 pm
โดย viim
กาละมัง เขียน:อีก 40 ปี เงินพันล้าน เทียบแล้วอาจเสมือนเงินไม่เกิน 50 ลบ ปัจจุบัน ว่าไหมครับ
ไม่จริงครับ เพราะสมมติโดยเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3 % เมื่อพิจารณาค่าเงินเมื่อเวลาผ่านไป 40 ปี โดยสูตร FV = PV / (1+x%)^n เมื่อ x =average inflation rate และ n = จำนวนปีในอนาคต เราพบว่าค่าเงิน 1000 ล้านบาทในอีก 40 ปีข้างหน้าจะเป็น 1000/(1.03)^40 = 306.5568 ล้านบาท
หรือเอาแบบแย่หน่อยเงินเฟ้อเฉลี่ย 5% ต่อปีในระยะยาวนะค่าเงิน 1000 ล้านบาทจะเป็น
1000/(1.05)^40 = 142.0457 ล้านบาท อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยในระยะยาวเงินเฟ้อไม่น่าจะถึง 5% ครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 12:44 pm
โดย koon007
หากนำเงิน15ล้าน ลงทุนในหุ้น จขกท คิดว่ากี่ปีจะเท่ากับ1พันล้านครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 1:06 pm
โดย E-man
ผมก็อยากมีพันล้านเหมือนกันครับ ถ้าอายุยืนยาวพอก็มีโอกาสถึงเป้าหมายได้

ว่าแต่คุณ PrasertsakK อยู่นครพนม อำเภออะไรครับ แถวนี้ผมหาคนคุยเรื่องหุ้นไม่ได้เลยครับ :cry:

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 2:47 pm
โดย Rocker
มีพอสําหรับตนเองและคนรอบข้าง เผื่อแผ่คนอื่นได้ถือว่า รวยแล้ว ตายไปไม่เห็นมีใครเอาไปได้สักบาท

คนเราเกิดมา ทุนทรัพย์ ไม่เท่ากัน การตั้งเป้าเท่านั้นเท่านี้ถึงจะมีความสุข จะทําให้เราทุกข์หากไม่มี
สู้มีความสุข ทุกวันดีกว่า หากไม่ได้เกิดมารวย ถึงมี 1000 ล้านวันนั้นก็อาจไม่ได้ใช้ชีวิตที่ผ่านมา 30 40 ปี

เวลาไม่หวนกลับ มีเงินเป็นตัวเลขในบัญชีแต่ไม่ได้ใช้เลยจะมีประโยชน์อะไร ถึงอยากได้เมียสวยๆตอนแก่
เด็กที่มาคบกับเราก็หวังแต่ เงิน เพราะส่วนใหญ่คงมองว่าเป็นเสี่ยแก่ๆ

ผมได้คุยกับพี่ท่าน 1 ท่านมารวยเป็น พันล้านตอนอายุ 50 จาก การทําธุรกิจ ตอนอายุ 30 มีเงินไม่กี่ล้านเอง
ท่านเล่าให้ฟัง ว่า ชีวิตคนเราคาดเดายากนัก แกไม่เคยคิดจะมีขนาด 1 พันล้าน ระหว่างทางแกใช้ชีวิตเต็มที่
ไป Pub Bar ตีGolf ตี...เที่ยวหมด แต่ก็มีวินัยทํางาน แกสอนผมว่า พยายามเพิ่มรายได้ให้มากกว่าลดรายจ่าย
เพราะการเพิ่มรายได้นั้นทําง่ายกว่าแล้วเรามีความสุขด้วย

หลักการ คือ ใช้ชีวิตให้มีความสุข เดินทางสายกลาง ตรึงไปไม่ดี หย่อนไปไม่ดี

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 4:45 pm
โดย กาละมัง
viim เขียน:
กาละมัง เขียน:อีก 40 ปี เงินพันล้าน เทียบแล้วอาจเสมือนเงินไม่เกิน 50 ลบ ปัจจุบัน ว่าไหมครับ
ไม่จริงครับ เพราะสมมติโดยเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3 % เมื่อพิจารณาค่าเงินเมื่อเวลาผ่านไป 40 ปี โดยสูตร FV = PV / (1+x%)^n เมื่อ x =average inflation rate และ n = จำนวนปีในอนาคต เราพบว่าค่าเงิน 1000 ล้านบาทในอีก 40 ปีข้างหน้าจะเป็น 1000/(1.03)^40 = 306.5568 ล้านบาท
หรือเอาแบบแย่หน่อยเงินเฟ้อเฉลี่ย 5% ต่อปีในระยะยาวนะค่าเงิน 1000 ล้านบาทจะเป็น
1000/(1.05)^40 = 142.0457 ล้านบาท อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยในระยะยาวเงินเฟ้อไม่น่าจะถึง 5% ครับ
ผมรู้เพียงว่า ความรู้สึก สิ่งที่เห็น หากย้อนไป 40 ปี ผมเห็น (โดยประมาณตามความจำ)
ก๋วยเตี๋ยว ชามละ 1-2 บาท
น้ำมันรถลิตรละ 1 บาท
ทองคำบาทละ 400 บาท
ตึกแถว 1-2 แสนบาท
ที่ดินไร่ละไม่กี่ร้อยบาท
เศรษฐีเงินล้านมีน้อยมาก
สรุป คือ 40 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินน่าจะลดลงกว่า 20 เท่า

คุณ viim post ตามข้างต้น ทำให้ผมเกิดข้อสงสัย ว่าวิธีคิด(ไม่ได้หมายถึงวิธีคำนวน)ถูกต้องไหม ค่าเงินอนาคตเปรียบเทียบกับปัจจุบันหาอย่างไร เรื่องคำนวนเพื่อหา pv fv ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ discounted rate จะใช้ค่าไหน การใช้ค่า cpi (consumer's price index) นั้นถือว่าถูกต้องเพียงใด จึงได้บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ พบดังนี้ http://www.measuringworth.com/uscompare/
ก็ลองอ่านดูนะครับ

สรุปคร่าว ๆ บทความ ให้ความเห็นว่า เจาะจงวิธียาก ส่วนใหญ่ก็ใช้ cpi แต่ยังไม่น่าครอบครุม
ใครอยากเสริมแลกเปลี่ยนมุมมองก็ยินดีครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 6:39 pm
โดย leaderinshadow
เงินเฟ้อที่เราเห็น คิดจากการถ่วงน้ำหนัก ของสินค้าหลายๆรายการ

แต่เท่าที่เคยได้ยิน
มีคนเคยบอกว่า
อัตราค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าของเงินเฟ้อปกติ
ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา (เอกชน) จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าของเงินเฟ้อปกติ

และคนที่มีฐานะ มักมีค่าใช้จ่ายในสองเรื่องสูงกว่าคนธรรมดา
ดังนั้น คนแต่ละคนที่มีมาตราฐานการดำรงชีพที่ต่างกัน
ก็อาจจะต้องใช้ ค่า inflation ที่ต่างกัน ในคำนวณ purchasing power เพื่อการวางแผนทางการเงิน
เพราะแต่ละคน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มรักษามาตราฐานของคุณภาพชีวิตต่างกัน


อันนี้ยังไม่นับรวม การใช้จ่ายด้านอาหาร organic อีกนะครับ
สมัยก่อน พืชผักปลอดสารพิษ แทบจะเก็บกินได้ฟรี
แต่ปัจจุบัน ของพวกนี้ที่ขายตามห้าง ราคาแพงหูฉี่เลย

ก็เลยคิดว่า การใช้ตัวเลขเงินเฟ้อ เพื่อคำนวณ purchasing power ในอนาคต
ควร adjust ให้สูงๆไว้ก่อนเลยครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 7:16 pm
โดย PrasertsakK
E-man เขียน:ผมก็อยากมีพันล้านเหมือนกันครับ ถ้าอายุยืนยาวพอก็มีโอกาสถึงเป้าหมายได้

ว่าแต่คุณ PrasertsakK อยู่นครพนม อำเภออะไรครับ แถวนี้ผมหาคนคุยเรื่องหุ้นไม่ได้เลยครับ :cry:
อยู่อำเภอเมืองครับ แต่ว่าจะอยู่ขอนแก่นมากกว่าครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 7:27 pm
โดย PrasertsakK
Rocker เขียน:มีพอสําหรับตนเองและคนรอบข้าง เผื่อแผ่คนอื่นได้ถือว่า รวยแล้ว ตายไปไม่เห็นมีใครเอาไปได้สักบาท

คนเราเกิดมา ทุนทรัพย์ ไม่เท่ากัน การตั้งเป้าเท่านั้นเท่านี้ถึงจะมีความสุข จะทําให้เราทุกข์หากไม่มี
สู้มีความสุข ทุกวันดีกว่า หากไม่ได้เกิดมารวย ถึงมี 1000 ล้านวันนั้นก็อาจไม่ได้ใช้ชีวิตที่ผ่านมา 30 40 ปี

เวลาไม่หวนกลับ มีเงินเป็นตัวเลขในบัญชีแต่ไม่ได้ใช้เลยจะมีประโยชน์อะไร ถึงอยากได้เมียสวยๆตอนแก่
เด็กที่มาคบกับเราก็หวังแต่ เงิน เพราะส่วนใหญ่คงมองว่าเป็นเสี่ยแก่ๆ

ผมได้คุยกับพี่ท่าน 1 ท่านมารวยเป็น พันล้านตอนอายุ 50 จาก การทําธุรกิจ ตอนอายุ 30 มีเงินไม่กี่ล้านเอง
ท่านเล่าให้ฟัง ว่า ชีวิตคนเราคาดเดายากนัก แกไม่เคยคิดจะมีขนาด 1 พันล้าน ระหว่างทางแกใช้ชีวิตเต็มที่
ไป Pub Bar ตีGolf ตี...เที่ยวหมด แต่ก็มีวินัยทํางาน แกสอนผมว่า พยายามเพิ่มรายได้ให้มากกว่าลดรายจ่าย
เพราะการเพิ่มรายได้นั้นทําง่ายกว่าแล้วเรามีความสุขด้วย

หลักการ คือ ใช้ชีวิตให้มีความสุข เดินทางสายกลาง ตรึงไปไม่ดี หย่อนไปไม่ดี
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณ rocker ครับในการใช้ชีวิตให้มีความสุขและเดินสายกลาง การที่เราจะเป็นคนรวยล้นฟ้า หาจะมีประโยชน์ไม่ ถ้าเราไร้สุข แต่ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมา หาใช่จะโอ้อวดว่าตัวเองเก่ง หรือว่า วิเศษประการใด แต่จุดมุ่งหมายของผม อยากจะเป็นกำลังใจให้กับคนที่ทำงานกินเงินเดือนว่าเงินพันล้านไม่ได้เป็นเป้าหมายที่เกินเอือม (เนื่องด้วย เพื่อนผมส่วนมากจะเป็นคนกินเงินเดือน และ มักจะพูดกับผมว่า ทำงานกินเงินเดือน แก่ไปก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม ไม่เหมือนกับมึง มีโอกาสมากกว่า(ผมเองทำธุรกิจครับ)) ผมจึงยกตัวอย่างว่านี้ขึ้นเพื่อบอก เพื่อบอกเพื่อนผมว่า "เห็นไหมว่า มึงก็ทำได้"

ขอให้ทุกคนมีความสุขและรำรวยครับ

PRASERTSAKK

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 7:35 pm
โดย PrasertsakK
koon007 เขียน:หากนำเงิน15ล้าน ลงทุนในหุ้น จขกท คิดว่ากี่ปีจะเท่ากับ1พันล้านครับ
ก็ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่หาได้นะครับ ถ้า 10% ก็ 45ปี ถ้า 12% ก็ 38ปี ถ้า 15% ก็ 31 ปี ครับ

ดูคำนวนคราว ๆ ตามตารางในรูปครับ
005.png

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 7:41 pm
โดย dome@perth
อย่าคิดว่าเราจะทำผลตอบแทนได้เป็นบวก ทุกปีครับ

ลองดูนะครับ ช่วงเวลา40ปีนั้น ติดลบไปซัก3-4ครั้ง
ตัวเลขมันเปลี่ยนไปมากทีเดียวนะครับบบผม :D

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 7:53 pm
โดย PrasertsakK
dome@perth เขียน:อย่าคิดว่าเราจะทำผลตอบแทนได้เป็นบวก ทุกปีครับ

ลองดูนะครับ ช่วงเวลา40ปีนั้น ติดลบไปซัก3-4ครั้ง
ตัวเลขมันเปลี่ยนไปมากทีเดียวนะครับบบผม :D
ผมคิดแบบระยะยาว ๆ ๆ ๆ ๆ นะครับ แล้วเฉลี่ยเอาควรได้ประมาณนั้น เพราะว่าในบางปี เราอาจจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่า 15% บางปีน้อยกว่า บางทีติดลบ ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า การลงทุนในหุ้น ในระยะยาวควรได้ผลตอบแทนดีพอสมควร เนื่องด้วย มันมีความผันผวนมากกว่าการฝากเงิน หรือ การลงทุนซื้อที่ดิน หรือ การลงทุนแบบอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนธรรมดา(ไม่ได้ซวย) และไม่ได้โลภจนเกินไป และตั้งใจลงทุนในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ พวกเราสมควรที่จะได้รับผลตอบแทนพอสมควร ซึ่งผมเห็นว่า 10-15% เป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 9:04 pm
โดย viim
กาละมัง เขียน:
viim เขียน:
กาละมัง เขียน:อีก 40 ปี เงินพันล้าน เทียบแล้วอาจเสมือนเงินไม่เกิน 50 ลบ ปัจจุบัน ว่าไหมครับ
ไม่จริงครับ เพราะสมมติโดยเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3 % เมื่อพิจารณาค่าเงินเมื่อเวลาผ่านไป 40 ปี โดยสูตร FV = PV / (1+x%)^n เมื่อ x =average inflation rate และ n = จำนวนปีในอนาคต เราพบว่าค่าเงิน 1000 ล้านบาทในอีก 40 ปีข้างหน้าจะเป็น 1000/(1.03)^40 = 306.5568 ล้านบาท
หรือเอาแบบแย่หน่อยเงินเฟ้อเฉลี่ย 5% ต่อปีในระยะยาวนะค่าเงิน 1000 ล้านบาทจะเป็น
1000/(1.05)^40 = 142.0457 ล้านบาท อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยในระยะยาวเงินเฟ้อไม่น่าจะถึง 5% ครับ
ผมรู้เพียงว่า ความรู้สึก สิ่งที่เห็น หากย้อนไป 40 ปี ผมเห็น (โดยประมาณตามความจำ)
ก๋วยเตี๋ยว ชามละ 1-2 บาท
น้ำมันรถลิตรละ 1 บาท
ทองคำบาทละ 400 บาท
ตึกแถว 1-2 แสนบาท
ที่ดินไร่ละไม่กี่ร้อยบาท
เศรษฐีเงินล้านมีน้อยมาก
สรุป คือ 40 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินน่าจะลดลงกว่า 20 เท่า

คุณ viim post ตามข้างต้น ทำให้ผมเกิดข้อสงสัย ว่าวิธีคิด(ไม่ได้หมายถึงวิธีคำนวน)ถูกต้องไหม ค่าเงินอนาคตเปรียบเทียบกับปัจจุบันหาอย่างไร เรื่องคำนวนเพื่อหา pv fv ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ discounted rate จะใช้ค่าไหน การใช้ค่า cpi (consumer's price index) นั้นถือว่าถูกต้องเพียงใด จึงได้บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ พบดังนี้ http://www.measuringworth.com/uscompare/
ก็ลองอ่านดูนะครับ

สรุปคร่าว ๆ บทความ ให้ความเห็นว่า เจาะจงวิธียาก ส่วนใหญ่ก็ใช้ cpi แต่ยังไม่น่าครอบครุม
ใครอยากเสริมแลกเปลี่ยนมุมมองก็ยินดีครับ
ไม่ได้มีอะไรมาโต้แย้ง เพียงแต่เห็นว่าการบอกว่าเงิน 1000 ล้านบาทใน 40 ปีจะมีค่าเหลือแค่ 50 ล้านบาทในวันนี้ก็ออกจะเกินจริงไปซะหน่อย จริงๆแล้วสูตรที่ผมยกมามันก็เป็นสูตรมาตรฐานที่เขาใช้กันในทาง finance อีกประการหนึ่ง ผมเองก็ลองคำนวณดูเหมือนกัน ข้าวแกงสมัยผมเรียนมัธยม เรียนมหาวิทยาลัย และตอนทำงานมาซื้อบ้าน เมื่อเทียบกับราคาข้าวแกง ราคาบ้านในวันนี้ มันก็ได้ discount rate ที่ประมาณนี้ 3.xx% ไม่ได้ยกความรู้สึกมาอธิบาย ที่ว่าที่ดินไร่ละไม่กี่ร้อยบาทนี่มันก็ขึ้นกับว่าที่ตรงไหนด้วย ปัจจัยที่มีผลต่อราคามันมีมากมายนะครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 9:05 pm
โดย naijan
ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เชื่อว่าคุณทำได้
เป็นกำลังให้ครับ
ผมจะคอบปรบมือเชียร์ในขณะที่คุณกำลังวิ่งเข้าสู่เป้าหมายครับ
สู้ๆครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 9:31 pm
โดย donrak
น่าจะย้ายเข้าคลังกระทู้คุณค่านะครับจะได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนใหม่ๆที่สนใจจะลงทุนแนวนี้ครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 10:47 pm
โดย canuseeme
อยาก จะกด ซัก 10+

เป็นบทความ ที่ดี มากเลยครับ สร้าง แรงบันดาล ใจ ให้ ใครหลายคน เลย

(ไม่รู้บทความนี้ จะกระจายไปได้ มากแค่ไหน)

cpi มันสร้างมาเป็นตระกร้า แล้ว มันจะใช่ ตะกร้า ที่เรา จะใช้ รึป่าว นี่ ก็ อีกอัน นะฮะ อีกอย่างพัน ล้าน ที่คำนวณ นี่เข้า ใจว่า ยังไม่คิด ปันผล

แล้ว ก็คิดเฉลี่ย ก็ พอได้ แล้ว ถ้า ไปคิด ปีนี้ บวก ปีนั้น ลบ ก็จะเสียเวลาป่าว ประมาณ 5- 15 % ตลอด ก็พอเป็นไปได้ นะ( โดยความคิดส่วน ตัว)

สรุปเปนกระทู้ที่ดี ครับ สร้าง กำลังใจได้ ดี พร้อม ตัวอย่าง และ มุม มอง ตัวแปร หลาย ด้าน ชอบครับ :B

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 12:15 am
โดย Notelio
นี่แหละครับ ความสนุกของตาราง excel เวลาใส่ตัวเลข กับสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก คือผลตอบแทนทบต้น แล้วจินตนาการอนาคตไกลๆ ว่าจะได้ปีละเท่านั้นเท่านี้ มันทำให้รู้สึกว่าคนธรรมดาคนนึงก็มีโอกาสไปถึงเลข 8 หลัก 9 หลักได้ ขอแค่มีเวลา แต่นั่นแหละครับสิ่งที่เรียกว่าเวลามันเป็นอะไรที่จำกัดมาก ตัวผมเองก็มีตาราง excel อันนึง ใส่ยอดเงินต้นเอาไว้ตอนปี 50 ว่าถ้าได้ผลตอบแทน 10% 20% 30% 40% ต่อปี กี่ปีจะไปถึงเลข 8 หลัก กี่ปีจะไปถึงเป้าหมาย 1 ล้าน $ และอีกกี่ปีจะเกษียน ทุกอย่างดูสวยหรู แต่หลังจากนั้น 1 ปีคือปี 51 ผลตอบแทนใน port ลงไป 40 % ตารางเหล่านี้แทบจะช่วยอะไรไม่ได้ ที่ผมจะบอกคือโลกแห่งความจริงบางทีมันไม่เหมือนกับความฝัน แต่การที่เรามีฝันไว้มันช่วยผลักดันเราก้าวต่อไป และถ้าเรามีวิธีลงทุนที่ถูกต้องเหมือนเหล่าเทพ VI ในห้องนี้หลายท่าน อาจจะไม่ต้องใช้เวลาถึง20-30 ปี บางทีแค่ 5 ปี หลายคนอาจจะไปถึงเป้าหมายแล้วก็ได้ ซึ่งพอไปถึงเสร็จอาจจะรู้สึกเหมือนผมก็ได้ว่า เออ มันถึงแล้วนะ เป้าที่ถ้าถึงแล้วจะเลิก แต่เวลายังเหลืออีกเยอะนี่ทำไงต่อดี หาต่ออีกนิดให้มั่นคงมากขึ้นดีกว่า สุดท้ายมันก็เลิกลงทุนไม่ได้อยู่ดี แต่ก็เป็นการลงทุนที่เราไม่ต้องไปซีเรียส ไม่ต้องเร่งจังหวะ รักษาฐานเราให้มั่นคง แล้วสนุกกับการทำคะแนนให้มากขึ้น สุดท้ายพอมีเงินมากถึงระดับนึง มันก็ไม่ได้มีความหมายนอกจากเป็นตัวเลขในบัญชีที่เพิ่มขึ้นดูแลสุขภาพตัวเองและทำให้คนรอบข้างเรามีความสุขน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 12:35 am
โดย Jeng
ขอบคุณครับ

สรุปคือ 1. เงินต้น 2. เงินเติม 3. ความสามารถในการทำกำไร 4.เวลา

เพื่อมุ่งหน้าสู่อิสรภาพทางการเงิน

เราพลาดตรงไหน ก็แก้ตรงนั้น เช่น เงินต้นน้อย ก็ต้องหมั่นเติม

หรือ เงินต้นมาก เงินเติมน้อย แต่ ไร้ความสามารถ ก็ต้องแก้ให้มีความสามารถ

หรือ เงินต้น เงินเติม เพรียบ ความสามารถก็มี แต่เลิกง่ายๆ

ก็ต้องแก้ให้เลิกยาก แก้ให้รักการลงทุน เป็นต้น

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 9:11 am
โดย doctornum
เห็นด้วยนะครับ เป้าหมายทำให้เรามีความฝันที่จะทำ มุ่งไปด้วยใจที่มีพลัง
ความเห็นผมคือ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ ระหว่างทางที่เดินทางสู่เป้าหมายต้องมีความสุขด้วย ไม่อย่างนั้นพอถึงแล้วอาจไม่มีความหมาย
เคยอ่านมาทำนองว่า
ตอนเด็กๆ มีแรง----มีเวลา----ไม่มีเงิน
ตอนทำงาน มีแรง----ไม่มีเวลา---มีเงิน
ตอนเกษียณ ไม่มีแรง---มีเวลา----มีเงิน
คงต้อง balance ถ้าแก่ๆ ไม่มีแรงไปเที่ยวแล้วคงไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 9:18 am
โดย dome@perth
PrasertsakK เขียน:
dome@perth เขียน:อย่าคิดว่าเราจะทำผลตอบแทนได้เป็นบวก ทุกปีครับ

ลองดูนะครับ ช่วงเวลา40ปีนั้น ติดลบไปซัก3-4ครั้ง
ตัวเลขมันเปลี่ยนไปมากทีเดียวนะครับบบผม :D
ผมคิดแบบระยะยาว ๆ ๆ ๆ ๆ นะครับ แล้วเฉลี่ยเอาควรได้ประมาณนั้น เพราะว่าในบางปี เราอาจจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่า 15% บางปีน้อยกว่า บางทีติดลบ ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า การลงทุนในหุ้น ในระยะยาวควรได้ผลตอบแทนดีพอสมควร เนื่องด้วย มันมีความผันผวนมากกว่าการฝากเงิน หรือ การลงทุนซื้อที่ดิน หรือ การลงทุนแบบอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนธรรมดา(ไม่ได้ซวย) และไม่ได้โลภจนเกินไป และตั้งใจลงทุนในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ พวกเราสมควรที่จะได้รับผลตอบแทนพอสมควร ซึ่งผมเห็นว่า 10-15% เป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ครับ
ใช่ครับค่าเฉลี่ยผลตอบแทน 10-15% ก็น่าจะทำได้กัน ผมเข้าใจ แต่ผมหมายถึงตารางที่ทำนั้น
คือการทบต้นทุกๆปีไม่สะดุดเลยแม้แต่ครั้งเดียว จะเห็นได้ว่าเราจะได้ภาพอันสวยหรู
แต่ถ้าหาก เราเอา 3-4 ครั้งในช่วง 40 ปี ที่มี โอกาส อาจสดุดหกล้ม แทรกเข้าไปในตาราง
จะเห็นได้ว่า ภาพมันไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิดนะครับ ถึงแม้บางปี กำไรจะเป็นร้อย%ก็ตาม

สีแดงข้างล่างของคุณ Notelio นั่นคือสิ่งที่ผมอยากสื่อ
Notelio เขียน:นี่แหละครับ ความสนุกของตาราง excel เวลาใส่ตัวเลข กับสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก คือผลตอบแทนทบต้น แล้วจินตนาการอนาคตไกลๆ ว่าจะได้ปีละเท่านั้นเท่านี้ มันทำให้รู้สึกว่าคนธรรมดาคนนึงก็มีโอกาสไปถึงเลข 8 หลัก 9 หลักได้ ขอแค่มีเวลา แต่นั่นแหละครับสิ่งที่เรียกว่าเวลามันเป็นอะไรที่จำกัดมาก ตัวผมเองก็มีตาราง excel อันนึง ใส่ยอดเงินต้นเอาไว้ตอนปี 50 ว่าถ้าได้ผลตอบแทน 10% 20% 30% 40% ต่อปี กี่ปีจะไปถึงเลข 8 หลัก กี่ปีจะไปถึงเป้าหมาย 1 ล้าน $ และอีกกี่ปีจะเกษียน ทุกอย่างดูสวยหรู แต่หลังจากนั้น 1 ปีคือปี 51 ผลตอบแทนใน port ลงไป 40 % ตารางเหล่านี้แทบจะช่วยอะไรไม่ได้ ที่ผมจะบอกคือโลกแห่งความจริงบางทีมันไม่เหมือนกับความฝัน แต่การที่เรามีฝันไว้มันช่วยผลักดันเราก้าวต่อไป และถ้าเรามีวิธีลงทุนที่ถูกต้องเหมือนเหล่าเทพ VI ในห้องนี้หลายท่าน อาจจะไม่ต้องใช้เวลาถึง20-30 ปี บางทีแค่ 5 ปี หลายคนอาจจะไปถึงเป้าหมายแล้วก็ได้ ซึ่งพอไปถึงเสร็จอาจจะรู้สึกเหมือนผมก็ได้ว่า เออ มันถึงแล้วนะ เป้าที่ถ้าถึงแล้วจะเลิก แต่เวลายังเหลืออีกเยอะนี่ทำไงต่อดี หาต่ออีกนิดให้มั่นคงมากขึ้นดีกว่า สุดท้ายมันก็เลิกลงทุนไม่ได้อยู่ดี แต่ก็เป็นการลงทุนที่เราไม่ต้องไปซีเรียส ไม่ต้องเร่งจังหวะ รักษาฐานเราให้มั่นคง แล้วสนุกกับการทำคะแนนให้มากขึ้น สุดท้ายพอมีเงินมากถึงระดับนึง มันก็ไม่ได้มีความหมายนอกจากเป็นตัวเลขในบัญชีที่เพิ่มขึ้นดูแลสุขภาพตัวเอง และทำให้คนรอบข้างเรามีความสุขน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดครับ
ผมไม่ได้อยากเป็นผู้ร้าย มาโผ่ มาสะดุด ท่ามกลางความฝัน(หวาน) ของใครๆนะครับ
เพราะผมก็คนหนึง ที่สร้างตารางฝัน(หวาน)เอกเซลนี้ เมื่อเริ่มลงทุนใหม่ๆ แต่ในทีสุด ความไม่แน่นอน ยังเป็นสัจจะธรรม
ไม่อยากให้ตั้งความหวังมากเกินไปครับ หากพลาดมาก ความทุกข์ จะ เข้ามาครอบงำแทนครับผม

ยังไงก็ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน เดินตามทาง ตารางเอกส์เซล ที่ตนสร้างมา
และมีผลตอบแทนอย่างสมำ่่เสมอตามฝันนั้นครับ
ตัวแปร 4 ตัว อย่างที่เฮีย Jeng บอกนั่นแหละครับคือสำคัญที่จะนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 9:30 am
โดย tigerroad197
ขอบคุณมาก ๆ ครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง

ทำสิ่งที่ตั้งใจให้เป็นจริงให้ได้ ไม่ต้องสนใจเสียงรอบข้างครับ

วันนี้อาจจมีคนพูดให้เสียกำลังใจ แต่เมื่อคุณประสบความสำเร็จ วันนั้นจะมีแต่คนยกย่องคุณครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 9:31 am
โดย Tibular
คับเป็นแนวคิดที่ดีคับ

แต่อย่าลืมว่าตลาดหุ้น
ไม่ได้เป็นเส้นตรงนะคับ

เกิดปีนึงเราขาดทุนหนักๆมา
ผลของการทบต้นก็หายไปเยอะ

ความแน่นอนคือความไม่แน่นอนคับ
อย่าติดกับดักจิตวิทยาความคิดของมนุษย์
คือสมองจะพยายามมองเรื่องต่างๆ
เป็นเส้นตรงต่อเนื่องกันไป
เพราะมันง่ายในการทำงาน
คือคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะเกิดต่อเนื่อง
เรื่องดีก็คิดว่ามันจะดีขึ้น
เรื่องร้ายก็คิดว่ามันจะแย่ลง

การคิดว่าเราจะสามารถทำผลตอบแทนทบต้น
ไปจนกระทั่งพันล้านนี่ ไม่ใช่ง่ายๆ
ถ้าไม่โดดเด่น เก่ง และทำงานหนักจริงๆ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 10:21 am
โดย ลูกอิสาน
ครั้งแรกที่ผมเข้าใจตารางทบต้นนี้
ผมก็รู้ทันทีว่า ชีวิตมีหวังที่จะรวยแล้ว
จากมนุษย์ธรรมดาๆคนนึง
มองไม่ออกว่า มีทางไหนที่ง่ายกว่านี้
โชคดีที่ทำได้ดีกว่าคาด

ผมว่า"ความเชื่อ ความหวัง"เป็นอะไรที่ไม่มีต้นทุน
คนที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ตัวเองทำคงทำอะไรสำเร็จได้ยาก
แต่ความเชื่ออย่างเดียวคงไม่พอ ต้อง"ลงมือทำ"ด้วยนะครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 1:13 pm
โดย 996gt3
ผมว่าดีครับ อย่างน้อยถ้าเรามีความเชื่อว่าสามารถหาเงินได้พันล้านในช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่
มันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการมีเงินพันล้านแล้วครับ :8)

บางคนอาจไม่เคยคิดถึงเรื่องแบบนี้ อาจพอใจแค่มีเงินหลักล้านหรือสิบล้าน ซึ่งท้ายสุดเขาก็จะทำได้มากสุดแค่นั้นจริงๆครับ เพราะเขาไม่ได้คิดไว้ไกลกว่านั้น

แต่ระหว่างทางที่จะไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ขนาดนั้น มันก็คงยากแสนสาหัสประมาณนึงเมื่อเทียบกับเป้าหมายหลักสิบล้านหรือร้อยล้านครับ
อยู่ที่ว่าเราจะยังรักษาความเชื่อนั้นไว้ได้แล้วเดินทางไปในทางที่มันสามารถทำให้เป้าหมายเราเป็นจริงได้ไหมน่ะครับ

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 1:17 pm
โดย Jaturont
ถ้าเราขับรถอย่างระมัดระวัง รู้เส้นทาง ไม่ประมาท เราก็ถึงจุดหมายครับ

ถ้ามัวแต่กลัวรถชน คงไม่ต้องไปไหนกันพอดี ^^

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 19, 2011 11:38 pm
โดย Sattha
Excel template นั้นหอมหวานจริงๆครับ

มันทำให้เราเห็นเป้าหมายชัดๆ ที่สร้างมาจาก Logic ของเราเองล้วนๆ (แต่ก็ถือเป็นจุดอ่อนข้อใหญ่ได้เลยนะเนี้ย :shock: )

ผมก็มีของผมไว้เหมือนกันนะ :D


เอาใจช่วยคุณ PrasertsakK และทุกๆท่านที่มีความหอมหวานนี้ครับ ^^

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 20, 2011 2:04 am
โดย ย้ำคิดย้ำฝัน
หลายปีก่อนผมมีรายได้จากการทำงานหนักค่อนข้างมาก และก็มีความทุกข์มากมาก
หลายเดือนนี้ผมไม่มีรายได้จากการทำงานและการลงทุนเลย แต่กลับมีความทุกข์น้อยมาก

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 20, 2011 9:49 am
โดย SunShine@Night
ย้ำคิดย้ำฝัน เขียน:หลายปีก่อนผมมีรายได้จากการทำงานหนักค่อนข้างมาก และก็มีความทุกข์มากมาก
หลายเดือนนี้ผมไม่มีรายได้จากการทำงานและการลงทุนเลย แต่กลับมีความทุกข์น้อยมาก
ว้าว แสดงว่ามีอิสภาพทางการเงินแล้ว :)

Re: ผมจะมีพันล้าน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 20, 2011 11:49 am
โดย pak
เป็นกำลังใจให้คุณ PrasertsakK นะขอรับ
และขอขอบคุณที่ทำให้ผมได้เห็น "ความมหัศจรรย์ของ Mathematic" อีกครั้งหนึ่ง
น่าทึ่งจริงๆครับ!!!

ความฝันมักจะเริ่มต้นจากจุดเล็กๆแบบนี้แหล่ะครับ
ความฝัน แรงบันดาลใจ และความหวัง...แม้มันจะดูเล็ก แต่มันก็สามารถสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

แต่สำหรับผม ผมมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปเล็กน้อย
ขออนุญาตแชร์มุมมองก็แล้วกันนะครับ

1. "แม้ว่า เงินต้นของ case 1 และ case 2 จะห่างถึง 10 เท่า ผลต่างเมื่อผ่านไป 30 ปี จะห่างเพียง 1.43 เท่าแค่นั้น!!!"
^
^
ผมมองว่า หลายๆสิ่งในโลกนี้ ก็จะมีพฤติกรรมคล้ายๆรูปแบบนี้นะครับ
กล่าวคือ "เมื่อเราเพิ่มสิ่งหนึ่งเข้าไปจนถึงจุดหนึ่งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งจะเพิ่มขึ้นตามน้อยมากๆ" อ่ะนะขอรับ
เฉกเช่นเดียวกับ "เงิน" ครับ กล่าวคือ...

"ถ้าไม่มีเงินเลย อันนี้เราลำบากแน่ๆ
และถ้าเรามีเงินมากขึ้น เราก็น่าจะสามารถมีความสุขได้มากขึ้น
แต่ถ้าเรามีเงินมากพอถึงจุดหนึ่งแล้ว ความสุขมันไม่ได้เพิ่มขึ้นมากตามในอัตราส่วนเดียวกันหรอกนะขอรับ
บางอย่าง เงินไม่สามารถซื้อได้...นี่เป็นแค่ความคิดส่วนตัวของผมอ่ะนะครับ"




2. การมีเงินพันล้านอาจจะดูยากไปหน่อยสำหรับผม
เพราะความฝันของผมง่ายกว่านั้น
กล่าวคือ...

"ผมแค่เอาใจช่วยให้บริษัทฯที่ผมเป็นหุ้นส่วนอยู่ มี Market Cap. เกินพันล้านบาทในสักวัน
แค่นั้น...ผมก็มีความสุขมากมายแล้วครับ"

(ปัจจุบันบริษัทฯยังมี Market Cap. ระดับร้อนล้านบาทอยู่อ่ะนะครับ)