หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 7:57 am
โดย sathaporne
รบกวนถามผู้รู้หน่อยครับ
ไม่เข้าใจครับว่าค่าเสื่อมนี่บางทีผมก็เห็นเป็นต้นทุนขาย
บ้างก็อยู่ใน SG&A
ผมเข้าใจเอาเองว่าบริษัทที่เป็นผู้ผลิต ค่าเสื่อมจะอยู่ใน
ต้นทุนขายใช่ไหมครับ ซึ่งก็หมายความว่าบริษัทนั้นจะไม่มี
ค่าเสื่อมอยู่ในSG&Aใช่ไหมครับ หรือว่าในบริษัทเดียวกันอาจมี
ค่าเสื่อมอยู่ได้ทั้งในต้นทุนขายและ SG&A ครับ
รบกวนผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 9:36 am
โดย miracle
อันนี้ต้องไปดูในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
กลุ่มนี้ต้นทุนการขายมีเรื่องค่าเสื่อมของบ้านมาคิดด้วย
และพอดีพวกสินทรัพย์ของมันเองก็คิดค่าเสื่อมราคาด้วย

ลองไปดูล่ะกันครับ เห็นยากมากในกลุ่มนี้
ถ้าเป็นพวกบ้านมือสองเห็นชัดเจนมาก
:)

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 10:15 am
โดย กาละมัง
กรณีโรงงาน  ค่าเสื่อมราคาของ

1. ตัวโรงงาน..  จะอยู่ในต้นทุน

2. ตัวอาคารสำนักงาน ...  จะอยู่ใน SG & A

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 10:15 am
โดย Alastor
ค่าเสื่อมราคาเป็นได้ทั้ง ต้นทุนการผลิต หรือ SG&A ครับ แล้วแต่ว่า ธุรกิจใช้สินทรัพย์นั้นๆกับกิจกรรมไหน ถ้า โรงงาน ก็เข้า COGS(Cost of Goods Sold) ถ้าเป็น อุปกรณ์ตบแต่งร้าน ก็เข้า SG&A บางบริษัทในหมายเหตุงบการเงินจะแยกให้
Cost Summary 2547 % 2548 % 2549 %
แป้งสาลี 409,530.70 21.59% 435,993.98 19.72%
ไขมัน 151,111.57 7.97% 167,221.65 7.56%
น้ำตาล 51,532.79 2.72% 68,874.97 3.11%
ยีสต์ 30,588.44 1.61% 32,667.62 1.48%
สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ 118,194.44 6.23% 137,564.25 6.22%
วัตถุดิบอื่นๆ 44,278.18 2.33% 50,263.36 2.27%
บรรจุภัณฑ์ 142,585.27 7.52% 165,348.75 7.48%
Staff 372,745.00 431,186.00 22.73% 499,657.00 22.59%
Depreciation-COGS 98,819.00 103,000.00 5.43% 146,000.00 6.60%
Depreciation-SG&A 52,332.79 54,077.22 2.85% 71,502.44 3.23%
Others 361,089.32 19.03% 436,306.82 19.73%
Total Cost 1,628,268.85 1,897,173.93 100.00% 2,211,400.84 100.00%
ที่ quote มาให้เป็นที่ผมแยกต้นทุนการดำเนินงานของ PB บริษัทแยกให้ด้วยว่า Depreciation มาจาก COSG/SG&A เท่าไหร่ ผมไม่แน่ใจว่าผมเอามาบวกลบเองหรือบริษัทแยกให้เลย ทำไว้เป็นปีแล้วลืมครับ -_-'

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 10:31 am
โดย sattaya
ปกติแล้วจะแยกส่วนครับ

สินทรัพย์ที่ใช้สำหรับการใด ค่าเสื่อมควรจะไปเป็นต้นทุนของส่วนนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณต้นทุนที่แท้จริง

- พวกเครื่องจักร อาคาร ที่ใช้ในการผลิตค่าเสื่อมควรจะรวมอยู่ในต้นทุนขาย
- อาคารสำนักงาน รถยนต์ส่งสินค้า ค่าเสื่อมควรจะอยู่ใน SG&A

บางบริษัทแยกไว้ให้เห็นในหมายเหตุประกอบงบ

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 10:53 am
โดย sathaporne
ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ
ขอถามต่ออีกหน่อยนะครับ
สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ถ้าหากเครื่องจักรเครื่องนั้นไม่มีการผลิต
ก็จะถือว่าไม่มีค่าเสื่อมของเคี่องจักรนั้นเกิดขึ้นกับเครื่องจักรใช่ไหมครับ
อีกข้อนะครับ
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท
     ที่การผลิต 1000ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นก็ยังคงเป็น 10บาท(ไม่ใช่ 1บาท) ใช่ไหมครับ

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 11:15 am
โดย Alastor
คำถามน่าสนครับ :D
สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ถ้าหากเครื่องจักรเครื่องนั้นไม่มีการผลิต
ก็จะถือว่าไม่มีค่าเสื่อมของเคี่องจักรนั้นเกิดขึ้นกับเครื่องจักรใช่ไหมครับ
ที่ผมเคยเห็นคือ ถ้ายังแค่ test run เครื่องจักรนั้นยังไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อขาย จะยังไม่ทำประโยชน์ทางธุรกิจ เลย ไม่ตัดค่าเสือม แต่ กรณีใช้ๆอยู่แล้วหยุดใช้นี่ไม่เคยเห็นกับตานะครับ ผมเดาว่า คิดต่อ ไม่งั้นก็แต่งงบกำไรขาดทุนกันสนุกแน่ๆเลย
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท
    ที่การผลิต 1000ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นก็ยังคงเป็น 10บาท(ไม่ใช่ 1บาท) ใช่ไหมครับ
การตัดค่า Depreciation คิดกันตาม ระยะเวลา เป็นต้นทุนคงที่ ไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิตครับ

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 27, 2008 11:31 am
โดย miracle
Alastor เขียน:คำถามน่าสนครับ :D
ที่ผมเคยเห็นคือ ถ้ายังแค่ test run เครื่องจักรนั้นยังไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อขาย จะยังไม่ทำประโยชน์ทางธุรกิจ เลย ไม่ตัดค่าเสือม แต่ กรณีใช้ๆอยู่แล้วหยุดใช้นี่ไม่เคยเห็นกับตานะครับ ผมเดาว่า คิดต่อ ไม่งั้นก็แต่งงบกำไรขาดทุนกันสนุกแน่ๆเลย
ถ้า test run อยู่ไม่ตัดค่าเสื่อม จนกระทั่งเริ่มใช้ในการผลิตจริงๆๆ (อันนี้เข้าในส่วนของผู้ถือหุ้นตรงๆ ไม่ผ่านงบกำไรขาดทุน)
แต่ถ้าเครื่องตั้งอยู่เฉยๆๆ ไม่ได้ทำอะไร ก็คิดค่าเสื่อมเมื่อกันครับ <---มันผลิตแต่เสีย หรือปิดซ่อมโรงงานก็ยังมีค่าเสื่อมราคา ในช่วงที่ซ่อม

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 29, 2008 9:34 am
โดย ply33
Alastor เขียน:คำถามน่าสนครับ :D
ที่ผมเคยเห็นคือ ถ้ายังแค่ test run เครื่องจักรนั้นยังไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อขาย จะยังไม่ทำประโยชน์ทางธุรกิจ เลย ไม่ตัดค่าเสือม แต่ กรณีใช้ๆอยู่แล้วหยุดใช้นี่ไม่เคยเห็นกับตานะครับ ผมเดาว่า คิดต่อ ไม่งั้นก็แต่งงบกำไรขาดทุนกันสนุกแน่ๆเลย
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 29, 2008 9:58 am
โดย krisy
ถ้า test run เนี่ย ทางบัญชีจะถือว่า ยังไม่พร้อมใช้งาน ดังนั้นจะไม่มีการตัดค่าเสื่อมค่ะ แต่ถ้าพร้อมใช้งานแล้ว ก็จะต้องตัดทันที ไม่มีข้อแม้ ไม่เกี่ยวกับว่า ไม่ได้ผลิตแล้วจะขอไม่ตัดค่าเสื่อม เพราะนั่นเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ แต่ของซื้อมาแล้วเสื่อมค่าลงทุกวันค่ะ ต้องตัดค่า

ถ้าไม่ได้ทำการผลิต เช่นไม่มียอดขายทำให้ต้องหยุดผลิตไปนานนาน ค่าเสื่อมลงตามปกติ แต่ทางภาษีเข้าใจว่าต้องบวกกลับ ดังนั้นมีแต่ข้อเสียค่ะ ถ้ามีสินทรัพย์แต่เราไม่ใช้งาน

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 29, 2008 10:02 am
โดย Pallas
[quote="sathaporne"]
สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ถ้าหากเครื่องจักรเครื่องนั้นไม่มีการผลิต
ก็จะถือว่าไม่มีค่าเสื่อมของเคี่องจักรนั้นเกิดขึ้นกับเครื่องจักรใช่ไหมครับ
อีกข้อนะครับ
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท