รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
NDD
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

case: ยาวหน่อยครับ สมมติ ภรรยาออกจากกงานโดยมีรายได้ดังนี้
1. เงินเดือนปกติที่ผ่านมา 8 เดือน
2. เดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน
2.1 เงินเดือนเดือนสุดท้าย เดือนที่ 9
2.2 เงินชดเชยตามกม. 10 เดือน
2.3 เงินชดเชยพิเศษที่บริษัทจ่ายเพิ่ม 5 เดือน
3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คำถามครับ
- ข้อ 2.2 ที่ว่าสามารถคำนวณแยก คือ 7500xจำนวนปี ที่เหลือหารสอง สมมุติเหลือ A บาท คิดเป็นเงินรายได้มาคำนวณภาษี เขามีแบบฟอร์มช่วยคำนวณไหม ใช้แบบฟอร์มอะไร
- ข้อ 2.3 รวมอยู่ใน 2.2 หรือ รวมในข้อ 1
- ข้อ 3 ทราบคร่าวๆมีวิธีการคำนวณเหมือนกัน เช่นเอาเฉพาะส่วนนายจ้าง x ปี ที่เหลือหารสอง สมมุติ เหลือ B คิดเป็นเงินรายได้มาคำนวณภาษี เขามีแบบฟอร์มช่วยคำนวณไหม ใช้แบบฟอร์มอะไร
- วีธีการยื่นที่ผมเข้าใจมีทางเลือกดังนี้
ทางเลือกที่ 1 แยกยื่นสามีภรรยา โดยของภรรยาไม่ต้องรวม A (และ,หรือ)B โดย A,B แยกเสียภาษี (เสีย rate เท่าไรไม่ทราบ)
ทางเลือกที่ 2 แยกยื่นสามีภรรยา โดย เอา A(และ,หรือ)B เป็นรายได้
ทางเลือก 3 รวมยื่นสามีโดย ไม่ต้องรวม A (และ,หรือ)B โดย A,B แยกเสียภาษี (เสีย rate เท่าไรไม่ทราบ)
ทางเลือก 4 รวมยื่นสามี โดย เอา A(และ,หรือ)B เป็นรายได้รวมด้วย
(ถ้าแตก วิธีย่อยคือเลือก A อย่างเดียว B อย่างเดียว  หรือทั้ง Aและ B คงได้ 4x3 เป็น 12 ทางเลือก)

รบกวนใครรู้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือ comment ความเข้าใจผมด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 2

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

2.2 เงินชดเชยตามกม. 10 เดือน
ไม่ต้องจ่ายภาษีนี่ครับ
http://www.one-stophr.com/knowledgeHR/s ... .php?id=31
3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ไม่ได้คิดแบบนั้นครับ มีวิธีคิดหากระทู้เก่าๆ ได้ครับ

รวมหรือไม่รวมต้องกดเครื่องคิดเลขดู อันไหนถูกกว่าเอาอันนั้น
ข้อมูลที่ให้มาไม่เพียงพอ
ส่วนใหญ่แยกยื่นจะถูกกว่า
NDD
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ไปอ่านข้อมูลเพิ่ม รู้สึกว่า

เงินจาก 2.2,2.3 และ 3 มันใช้ใบแนบในการคำนวณภาษีแยก โดย 2.2,2.3 หักได้ 300วันแต่ไม่เกิน 3 แสน แล้วมารวมกับ 3 ไปคำนวณค่าใช้จ่ายตามแบบฟอร์ม ใบแนบ ภงด. (มีสูตรเกี่ยวกับพวกเงินเดือนสุดท้าย หรือ เฉลี่ย 10เดือน คูณ 10% และ พวก 7000 x จำนวนปี......)

แล้วเอาไปคำนวณภาษีเฉพาะ ก้อนนี้ก่อน แล้วเทียบกับส่วนที่เขาหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้ว จ่ายเกิน หรือ ขาด ให้ไปรวมกับ ภงด. 90 หรือ 91

ทีนี้ พอไปรวม 90 หรือ 91 เข้าใจว่า จะไปรวม สามี หรือ แยกยื่น ก็ว่าอีกที ...แล้วแต่คำนวณแล้วอะไรจ่ายน้อยกว่า น่าจะเข้าใจถูก รบกวนใครที่รู้เพิ่มเติมหน่อยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอถามเพิ่มเติมครับ ภรรยาทำงานมากี่ปีแล้วครับ
เดี๋ยวผมจะตอบให้ทั้งหมดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เรื่องที่ถามเกี่ยวกับ"เงินได้ที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน"นี่ สรุปง่ายๆครับ

2.2 เงินชดเชยตามกม. 10 เดือน ถือเป็นเงินได้ที่คำนวนเสียภาษีตามมาตรา 48(5) ได้ครับ


3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  ถือเป็นเงินได้ที่คำนวนเสียภาษีตามมาตรา 48(5) ได้ครับ

2.3 เงินชดเชยพิเศษที่บริษัทจ่ายเพิ่ม 5 เดือน จะเอามารวมเป็นเงินได้ตามมาตรา 48(5) ได้ ก็ต่อเมื่อ ไม่เกิน เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน และเงินเดือนเดือนสุดท้ายนี้จะต้องไม่เกินเงินเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานบอกด้วยร้อยละ 10
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ส่วนค่าใช้จ่ายที่หักได้นั้น ตามมาตรา 48(5) นั้น
หักได้ กรณีทำงานเกิน 5 ปีครับ และ เงินได้นั้นต้องจ่ายในปีภาษีเดียวกับที่นายจ้างให้ออกจากงาน และเมื่อเสียแล้วไม่ต้องนำไปรวมเสียอีกตามมาตรา 48(1) และ 48(2)
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ค่าใช้จ่ายที่บอกว่า 7500 x จำนวนปีที่เหลือหาร 2 นี่ผิดนะครับ

จริงๆมันได้แค่ 7000 x จำนวนปี
แล้ว เงินได้ที่หารสองได้นั้น ต้องเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 48(5) เท่านั้นที่หาร 2 ได้ ไม่งั้น อาจโดนตามเก็บภาษีย้อนหลังได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ส่วนวิธีการยื่นก็ง่ายๆครับ

" ได้เงินได้ที่จะเสียเท่าไหร่ จ่ายตามขั้นบันไดเลย ถือเป็น Final Tax ไม่ต้องนำไปรวมคำนวนปลายปี" จะดีที่สุดครับ  
คล้ายๆ กับภาษีเงินปันผลนะครับ ถ้าให้หัก 10 % ก็ไม่ต้องเอามาคำนวนรวมปลายปี
NDD
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

รบกวนคุณ abscisic อีกครั้งครับข้อมุลเพิ่มเติมคือ
บริษัทย้ายฐานการผลิตไปรวมกับอีกโรงงานที่ ตจว. เลยมีบางส่วนให้สมัครออกจากงาน  ภรรยาทำงานมา 16 ปี โดยจะออกจากงานราวสิ้นเดือน มีนา ปีหน้า (ซึ่งต้องยื่นภาษีของปี 52 ผมถามเผื่อไว้)

เงินเดือน ปกติ จะได้ถึงเดือนมีนาแค่ 3 เดือน ราว 1 แสน
แต่ได้ชดเชยให้ 16 เดือน คือประมาณ 5 แสน,ส่วน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สะสมมา รวม 6 แสน (ก้อนนี้รวมทั้งส่วนของพนักงาน ผมประโยชน์ของส่วนพนักงาน ส่วนที่บริษัทสมทบให้ และผลประโยชน์ที่บริษัทสมทบ) ผมงง ในส่วน PF นี้ด้วย เพราะจะมีบางส่วนที่จ่ายในปีภาษี จะไปใส่ในส่วนลดหย่อนของ ภงด.90 หรือว่าใส่ในส่วนของ 48(5)

ผมเลยคิดว่า ถ้าคิดส่วนของ เงินชดเชย 16 เดือน และ PF ไปเสียภาษีตามเกณฑ์ที่ว่า "เงินได้ครั้งเดียวที่ออกจากงาน" แล้วในส่วน PF นี้ ส่วนที่พนักงานจ่ายสะสมมาต้องมาคำนวณภาษีด้วยหรือไม่หรือว่าคิดแต่ของบริษัท

แล้วส่วนที่เป็นเงินเดือนปกติ 1 แสน กะว่าจะเอาไปรวมกับของผมในการคำนวณภาษี(ตอนจะยื่นจริงคงลองคำนวณดูอีกที)  เพราะจะได้หักค่าลดหย่อนอื่นๆ ได้อีกเยอะเช่น ดบ.บ้าน เดิมแยกคนละ 5 หมื่น ก็จะเป็น 1 แสน ลดหย่อนอื่นๆ รวมแล้วน่าจะทำให้ภาษีรวมลดลง  (ฐานภาษีผมเริ่ม แตะ 30%) ไม่รู้ว่ารวมอย่างนี้จะได้ไหม

ประเด็นย่อยอื่นๆ ผมโหลดแบบฟอร์มใบแนบของ สรรพากรมาศึกษาดูบ้าง

ยังไงรบกวนคำแนะนำเพิ่มเติมอีกอีกทีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

16 ปี เหรอครับ เงินเดือนประมาณ 30000ใช่ไหมครับ
เพราะฉะนั้นจะได้สิทธิ 48(5) เท่ากับ 30000x12 = 360,000 เงินที่จ่ายให้พิเศษอีก 5 เดือนก็เข้าเกณฑ์ 48(5)  ทั้งหมดครับ

เพราะฉะนั้น ส่วน 2.2 ,2.3 กับ 3 คุณเอาไปรวมคำนวนแบบ 48(5) ได้เลบครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แนะนำว่าให้หัก เป็น final tax เลย อย่าเอา ไปรวม ภงด 90 91 อีกครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ส่วน PF เนี้ย ที่จ่ายปี52 ก็เอาไปลงหักเป็นค่าลดหย่อนใน ภงด 90 91 ของปี 52 ที่จะยื่นต้นปีหน้า

ส่วน PF ที่ลงใน 48(5) เป็นรายได้เนี้ย ผมไม่มั่นใจ แต่ถ้าให้ชัวร์เลย ก็เอาไปลงทั้งหมดเลยจะดีกว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ส่วนเงินได้ 1 แสน ที่ได้ปีนี้และจะยื่นเสียต้นปีหน้าเนี้ย จะเอาไปรวมคำนวนกับของคุณก็ได้ หรือจะแยกเสียของภรรยาเองก็ได้ครับ ต้องคำนวนเอาว่าเสียอย่างไรถูกกว่า แต่ผมคิดว่าแยกเสียของภรรยา ภงด 91 จะดีกว่านะครับ
NDD
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

อีกนิดครับ
final tax หมายถึงส่วน 2.2 2.3 กับ 3 ใช่ไหมครับ

แต่ส่วนข้อ 1 (กับ 2.1) ยังต้องยื่น ภงด. 91,90 หรืเปล่าครับ ถ้าใช่ สามารถ เอามารวมกับผมได้หรือไม่

ไม่ทราบถูกไหมครับ

แต่ผมเห็นในแบบ ฟอร์มใบแนบ มันมีช่อง ให้คิดภาษีในใบแนบเลย แล้วยังต้องเปรียบเทียบกับที่ บริษัทหัก ณ ที่จ่าย แล้วไปรวมใน ภงด 90 91 อีกที

"6. ภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม(ถ้า4.มากกว่า5.)ให้นำไปกรอกในรายการในแบบ ภงด. 90 หรือ 91 แล้วแต่กรณี"

ความหมายของ final tax คือคิดภาษีแยกก้อน ของ 48(5) แต่ว่า ยังต้องเทียบกับที่เขาหัก ณ ที่จ่าย แล้วเอาส่วนต่างไปรวมในช่องหนึ่ง ของ ภงด. 90 91 อีกใช่ไหมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

อีกนิดครับ
final tax หมายถึงส่วน 2.2 2.3 กับ 3 ใช่ไหมครับ

แต่ส่วนข้อ 1 (กับ 2.1) ยังต้องยื่น ภงด. 91,90 หรืเปล่าครับ ถ้าใช่ สามารถ เอามารวมกับผมได้หรือไม่


ถูกต้องตามนั้นเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

abscisic เขียน:อีกนิดครับ
final tax หมายถึงส่วน 2.2 2.3 กับ 3 ใช่ไหมครับ

แต่ส่วนข้อ 1 (กับ 2.1) ยังต้องยื่น ภงด. 91,90 หรืเปล่าครับ ถ้าใช่ สามารถ เอามารวมกับผมได้หรือไม่


ถูกต้องตามนั้นเลยครับ
1 กับ 2.1 ยื่น 90 91 ครับ จะรวมกับใครก็คำนวนเอาครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

แต่ผมเห็นในแบบ ฟอร์มใบแนบ มันมีช่อง ให้คิดภาษีในใบแนบเลย แล้วยังต้องเปรียบเทียบกับที่ บริษัทหัก ณ ที่จ่าย แล้วไปรวมใน ภงด 90 91 อีกที

"6. ภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม(ถ้า4.มากกว่า5.)ให้นำไปกรอกในรายการในแบบ ภงด. 90 หรือ 91 แล้วแต่กรณี"

ความหมายของ final tax คือคิดภาษีแยกก้อน ของ 48(5) แต่ว่า ยังต้องเทียบกับที่เขาหัก ณ ที่จ่าย แล้วเอาส่วนต่างไปรวมในช่องหนึ่ง ของ ภงด. 90 91 อีกใช่ไหมครับ


ขอโทษนะครับ 4.มากกว่า 5 เนี้ย
4. คืออะไรครับ
แล้ว 5 คืออะไรครับ
NDD
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

4 กับ 5 ที่ผม copy ข้อความมาจาก แบบฟอร์มใบแนบ หมายถึง เขาให้เปรียบเทียบ ภาษี ที่คำนวนตาม 48(5) เทียบกับ ภาษีหัก  ณ ที่จ่าย ตอนที่ บริษัทหักไว้ ตอนเขาจ่ายเงิน ก้อนนี้ให้ครับ ผมอ่านแล้วมันเหมือนว่า ผลต่าง ต้องไปลงในช่องนึง ของ ภงด. 90 91 ....น่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

[quote="NDD"]4 กับ 5 ที่ผม copy ข้อความมาจาก แบบฟอร์มใบแนบ หมายถึง เขาให้เปรียบเทียบ ภาษี ที่คำนวนตาม 48(5) เทียบกับ ภาษีหัก
NDD
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :)
mlm20045
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

สวัสดีครับ ...

ผมอ่านข้อมูลข้างต้นแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจได้หมดครับ เนื่องจาก case นี้ต่างจาก case ผมและเพื่อนๆ นิดหน่อยครับ ดังนั้นผมจึงขอสมมุติตัวเลข และ case ของผมให้คุณ abscisic ช่วยตอบหน่อยนะครับ

Case โดยให้ออกจากงานเดิมปี 51

ระยะทำงานไม่เกิน 5 ปีครับ

ข้อมูลรายได้ตลอดปี 51  
1. เงินเดือนสุดท้าย 30,000
2. เงินเดือนทั้งหมด  300,000
3. เงินชดเชยทั้งหมดที่ได้รับ 400,000
4. PF ส่วนของตัวเอง 100,000
5. PF ส่วนของนายจ้าง 100,000

คำถาม :
1. เงินได้ดังกล่าวมีวิธคิดภาษีอย่างไรบ้างครับ ถ้าจำแนกด้วย ภงด.91 กับ การคิดภาษีตาม 48(5) ครับ

ป.ล. - ตอนนี้ขั้นตอนที่ผมเข้าใจคือ
a. เอาเงินข้อ 3. ยกเว้นภาษี 300,000  จะเหลือ 100,000
b. เอาเงิน 100,000 (ที่เหลือจากข้อ a.) มารวมกับรายได้ข้อ 2.+4.+5. = 600,000 แล้วเอาไปคิดภาษีตาม ภงด.91 อ่ะครับ

ขอบคุณครับ :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

[quote="mlm20045"]สวัสดีครับ ...

ผมอ่านข้อมูลข้างต้นแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจได้หมดครับ เนื่องจาก case นี้ต่างจาก case ผมและเพื่อนๆ นิดหน่อยครับ ดังนั้นผมจึงขอสมมุติตัวเลข และ case ของผมให้คุณ abscisic ช่วยตอบหน่อยนะครับ

Case โดยให้ออกจากงานเดิมปี 51

ระยะทำงานไม่เกิน 5 ปีครับ

ข้อมูลรายได้ตลอดปี 51
mlm20045
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

:shock: โอวว จริงเหรอครับ...  :cry:  เสียดายจัง เฮ้อ...


ขอบคุณมากนะครับ....
mlm20045
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ขอรบกวนอีกครั้งครับ

เพิ่งได้ยินเกี่ยวการเคลมเงินภาษีที่เกิดจากเงินชดเชยตามกม. เนื่องจากถูกเลิกจ้าง เพราะบริษัทต้องการลดพนักงานแน่ะครับ (เห็นว่ามีช่องให้ click อ่ะครับ)... แต่ไม่มีข้อมูลเลยว่าต้องใช้แบบฟอร์มอะไร / ที่ไหน หรือหลักฐานสำคัญอะไรบ้างครับ  คุณ abscisic พอจะมีข้อมูลมั้ยครับ

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

[quote="mlm20045"]ขอรบกวนอีกครั้งครับ

เพิ่งได้ยินเกี่ยวการเคลมเงินภาษีที่เกิดจากเงินชดเชยตามกม. เนื่องจากถูกเลิกจ้าง เพราะบริษัทต้องการลดพนักงานแน่ะครับ (เห็นว่ามีช่องให้ click อ่ะครับ)... แต่ไม่มีข้อมูลเลยว่าต้องใช้แบบฟอร์มอะไร / ที่ไหน หรือหลักฐานสำคัญอะไรบ้างครับ
mlm20045
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนการยื่นภาษีกรณีออกจากงาน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ขอบคุณครับ...

ผมคงจะเข้าใจผิดไปเองอ่ะครับ คงต้องทำตาม กม.ละครับ
:cry:  :cry:
ขอบคุณที่สละเวลามาตอบนะครับ...

ขอบคุณอีกครั้งครับ
โพสต์โพสต์