ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
sunnyvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 188
ผู้ติดตาม: 1

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากถามเรื่องการเป็นเจ้าของกิจการกับการเป็นนักลงทุน  

ในชีวิตก็มีบางครั้งล่ะ ที่อยากเป็นเจ้าของกิจการอื่นๆบ้าง
เคยอยากเปิดร้านกาแฟ แต่ก็ทราบว่ายุ่งมาก  ยิ่งเคยมีประสบการแต่ภาคราชการ

เลยคิดว่าต้องหาซื้อพวกแฟรนไชล์นี่แหละ  เป็นการเรียนลัด  ได้ทั้งประสบการและลดความเสี่ยง   แต่มาเป็นนักลงทุนเสีย4 ปี  (น่าจะเป็นแนวของเกรแฮม คือ ถือหุ้นพีอีต่ำ  มีปันผล)

ตอนนี้ความคิดซนๆ มาอีกแล้วว่า หรือจะลองเป็นเจ้าของกิจการแบบซื้อแฟรนไชล์ดู    จะเหนื่อยด้วยเสี่ยงด้วย หรือจะเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี



ผมได้อ่านหนังสือ Thailand Restuarant News เล่ม 85

ได้เห็นเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยผู้ทำธุรกิจร้านอาหารหลายอย่าง

รวมทั้งเห็นเนื้อหาเกี่ยวกับแฟรนไชล์ร้านอาหาร แบล็คแคนยอน และ เชสเตอร์กริล  ต้องลงทุน5-6 ล้านบาท    แต่ถ้าเป็นแบบ ขนาดเล็กก็ 2.5-3 ล้านบาท
ส่วนเซเวน ถ้ามีเงิน 1.5 ล้าน ให้ลองตดต่อไปได้  
ในใจตอนนี้ชอบเซเวนมากที่สุด รองลงไปคือแบลคแคนยอน

เพื่อนๆท่านใดมีประสบการ การลงทุนเหล่านี้ขอทราบเรื่อง  รายได้เที่ยบกับลงทุน  และความเสี่ยงด้วยครับ
เดินให้ถึงจุดหมาย
อย่างมีความสุข
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4247
ผู้ติดตาม: 4

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ลองไปค้นเรื่องแฟรนไชส์เซเว่นดูในห้องสีลม พันธ์ทิพย์นะครับ
เขาเขียนได้ถึงแก่นเลยครับว่าทำไม CP7-11 กำไรดีขนาดนี้
_________
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 48

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ที่จริงผมก็เคยคิดจะเปิดเซเว่นนะครับ  แต่พอลงรายละเอียดแล้วคิดว่าไม่คุ้มค่าเหนื่อย ค่าเสียเวลา ค่าความเสี่ยง และไม่คุ้มค่าเงิน(ได้ไม่มากนัก)

ก็เลยเล่นหุ้นอย่างเดียว

แต่เรื่องแบบนี้บางครั้งไม่ได้เงินแต่ก็ได้ประสบการณ์

หนังสือพ่อรวยสอนลูกเขาบอกไว้ว่า  นักเล่นหุ้นควรจะมีประสบการณ์ของ "เจ้าของกิจการ"  

เพราะเจ้าของกิจการจะรู้ละเอียดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆแบบที่คนทั่วๆไปจินตนาการไปไม่ถึง  จะรู้ช่องทาง  จะรู้เคล็ดลับสู่ความสำเร็จและอื่นๆอีกมาก  ซึ่งจะทำให้การเล่นหุ้นนั้น  สามารถทำได้ดีกว่า

และแม้บัฟเฟตต์เองก็บอกว่า  เขาเป็นนักลงทุนที่เก่ง  ก็มีสาเหตุมาจาก  เขาเป็นนักธุรกิจที่เก่งด้วย

ผมเองก็อยากจะทำให้ได้อย่างนั้น  แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างรวมทั้งความไม่ชอบ  ก็เลยไม่ได้ทำ  ก็เลยต้องพยายามหาสิ่งอื่นมาชดเชยตามมีตามเกิด
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เท่าที่รู้มาคนซื้อเฟรนไชส์ร้านเซเว่น มักไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่นัก ก็ไม่รู้จริงหรือป่าว

แต่ถ้าตอนนี้ผมมีเงินแล้วคิดอยากเปิดร้านสะดวกซื้อ ผมเลือกซื้อหุ้นเซเว่นดีกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
bankniti
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 627
ผู้ติดตาม: 0

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมก็เคยคิดที่จะเปิด 7-11 นะครับ แต่ร้านสะดวกซื้อผมว่าของหายง่ายครับ ไปๆ มาๆ จะมีตัวเลข stock สินค้าอยู่ในร้าน แต่บนชั้นวางของนั้นว่างเปล่า(ของหายไปแล้ว เมื่อไหร่ไม่รู้ :( )

ที่สำคัญผมว่าเราเสียเปรียบเจ้าของแฟรน์ชายครับ หากร้านเราขายดีมากๆ ก็มาเปิดอีกร้านในระแวกเดียวกัน แทนที่ร้านเราจะโตสัก 100% ก็อาจจะเหลือ 60% แล้วไปแบ่งให้อีกร้านที่เปิดใหม่โตด้วย (เป็นกลยุทธ์ของทางเจ้าของแฟรน์ชายครับ เขาถือคติว่าแทนที่จะให้ร้านเดียวโตเยอะๆ ก็ให้โตน้อยลงมาหน่อยแต่โตได้หลายร้านแทน) หรือหากเราขายได้ไม่ดี ทำแล้วไม่เห็นกำไรเหนื่อยเปล่า ก็ต้องเลิกไปให้คนอื่นมาซื้อแฟรน์ชายแล้วมาคุมร้านเราแทน สรุปว่า ขายไม่ดีอันนี้กลุ้มแน่ หากขายดีเกินไปก็จะมีอีกร้านมาเปิดแย่งลูกค้าเราเอง คิดได้อย่างนี้แล้วก็เอาเงินไปซื้อหุ้นดีกว่าครับ :D
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 1

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน มากเท่าไร

ต้นทุนการบริหารน่าจะต่ำลงอีก

ฮิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 9

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 7

โพสต์

8) เปิดง่าย เลิกยาก
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ถ้าจะทำแฟรนไชส์ก็ต้องมองที่ตัวธุรกิจเช่นกันครับ ต้องเอาที่ถูกกับนิสัยเรา และต้องเข้าใจธุรกิจบ้าง นอกจากนั้น ยังต้องดูว่าธุรกิจนั้นยังไปได้อีกมั๊ย ยกตัวอย่าง ส่วนตัวผมคงไม่ทำธุรกิจให้เช่าวีซีดี แม้ว่าผมจะชอบหนัง แต่ผมมองว่า 1. แฟรนไชส์มีหลายยี่ห้อ แข่งขันกัน สินค้าและบริการก็ไม่แตกต่างกันนัก (มุมมองส่วนตัว)
2. ยังมีคู่แข่งแฝงที่แข็งแกร่งมากๆ เช่นแผ่นก๊อป และการโหลดโดยตรงจากอินเตอร์เนท(การดูด)

มีข้อดีของแฟรนไชส์ข้อหนึ่งที่ผมชอบมากๆ ถ้าธุรกิจของคุณไปได้สวย คุณก็จะมีกระแสเงินสดมาลงทุนเพิ่มขึ้นครับ
รักในหลวงครับ
kongkang
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1085
ผู้ติดตาม: 6

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แฟรนไชส์เซเว่นก็น่าจะเป็นแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งค่ะ ชอบมากค่ะ แต่ติดตรง 24 ชั่วโมงนี่ล่ะค่ะ จะบริหารยังไง 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุดและความเสี่ยงน้อยที่สุด เลยต้องระงับความคิดอยากเปิดเหมือนกันค่ะ
ประจวบ
Verified User
โพสต์: 304
ผู้ติดตาม: 1

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 10

โพสต์

คนบางคนก็เหมาะจะเป็นบางอย่างครับ

เคยมีคนถามอจ.นิเวศน์ในรายการmoney  talkว่า
จบถึงดร. ทำไมถึงไม่เปิดบริษัทบ้าง
อจ.ว่าแค่บริหารเมียกับลูกยังทำไม่ได้เลย
เวลาซาวเสียงในบ้านจะไปช้อปปิ้งที่ไหน
ยังแพ้ทุกที  ได้แค่ช่วยขับรถไปส่งเค้า
แล้วจะไปบริหารคนทั้งบริษัทได้งัย

ส่วนผมถ้าจะเลือกขอเลือกซื้อหุ้น7-11ดีกว่า
หนักแน่นในแนวทางviพันธ์แท้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 11

โพสต์

อาจารย์ที่สอนวิชา Marketing เคยสอนผมว่า

ชาตินี้ถ้าไม่อยากเป็นทาสเค้า ก็อย่าไปซื้อ แฟรนไชล์ มาเด็ดขาด  :lol:
ไม่กำไรก็ต้องจ่าย
กำไรดีก็ต้องแบ่งเงินให้
กำไรดีเกินไป พี่ให้คนอื่นเปิดมาช่วยดูด -_-'
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
dunkphunkorn
Verified User
โพสต์: 161
ผู้ติดตาม: 0

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณ bankniti และคุณ Alastor ครับ

เพราะเคยได้ยินเรื่องนี้มาบ้างเหมือนกัน

ถ้ากำไรดี ขอส่วนแบ่งเพิ่ม ถ้าไม่ให้ เปิดร้านมาแย่งส่วนแบ่งเรา

ถ้าขายได้ไม่ดีล่ะครับ   ...

ฟังหูไว้หูนะครับ
นักลงทุนฝึกหัดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
v_sukit
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

ซื้อแฟรนไชล์เซเวน หรือร้านอาหาร เทียบกับหุ้น

โพสต์ที่ 13

โพสต์

การหลอกลวงโดยใช้แฟรนไชส์บังหน้าวงเงิน ประมาณ 100 ล้านบาท โดย คนในวงการ IT เมื่อปี  2547 :

The M@sk แฟรนไชส์ใส่หน้ากาก หลอกตุ๋นเหยื่อ 80 ราย สูญเงิน 50 ล.

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 กุมภาพันธ์ 2548 20:26 น.
 
      แฟรนไชส์แอปพริเคชั่นบนมือถือ The M@sk หลอกเงินแฟรนไชซีกว่า 80 ราย กว่า 50 ล้านบาท
ผู้เสียหายรวมตัวฟ้อง สคบ.และ สศก.
หากไม่ได้ผลหรือเจ้าของแฟรนไชส์หายตัวขาดการติดต่อจะบุกแจ้งความ สน.ทองหล่อจับกุม
เผยไม่อยากเห็นผู้โดนหลอกเหมือนตนเองอีก ด้านเอ็มดี The M@sk โผเข้าพบผู้เสียหาย
นัดเจรจาอีกครั้งช่วงสัปดาห์หน้า
     
      วันนี้ (3 ก.พ.) ผู้เสียหาย จำนวนกว่า 30 ราย
ได้รวมตัวเข้าร้องเรียนกับทางคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
และสำนักงานสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) ในกรณีที่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อประมาณต้น 2547
ปีที่ผ่านมา เนื่องจากแฟรนไชส์ The M@sk ของบริษัท เอ็มเอฟเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
ซึ่งมีนายจิรเดช พูนมโนธรรม เป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ได้ขายแฟรนไชส์คีออสและร้าน The M@sk คาเฟ่ ให้กับแฟรนไชซีกว่า 80 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 50
ล้านบาท พร้อมระบุกับผู้ลงทุนว่า เงินที่ลงทุนไปเพียง 300,000 บาท จะคืนทุนภายใน 3 เดือน
แต่ปรากฏว่าหลังจากที่ได้จ่ายเงินลงทุนไปแล้ว
ทางเจ้าของแฟรนไชส์กลับไม่สนใจที่จะตกแต่งร้านให้ได้
คีออสบางแห่งถูกยกออกไปจากห้างสรรพสินค้าโดยที่แฟรนไชซีไม่รู้เรื่อง จึงติดต่อขอเงินคืน
แต่ทางเจ้าของแฟรนไชส์กลับหายตัว ย้ายบริษัทหนี พร้อมอ้างขายหุ้นให้กับบริษัท เค. เจ้าพระยา
เอราวัณ ซิตี้คลับ จำกัด ไปแล้ว
แต่เมื่อผู้เสียหายได้ไปติดต่อกับหุ้นส่วนใหม่กลับถูกขัดขวางไม่ให้เข้าพบ ดังนั้น
จึงตัดสินใจเข้าร้องขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานดังกล่าว
และหากยังไม่ได้ผลจะเข้าแจ้งความกับสน.ทองหล่อเพื่อออกหมายจับกุมต่อไป
       
     
ตัวอย่างร้านต้นแบบของแฟรนไชส์ "The M@sk" ที่ถูกแฟรนไชซี รวมตัวกันเรียกร้องค่าเสียหาย
หลังจากลงทุนไปแล้ว กลับสูญเงินเปล่า

      นายไพศาล ทีปพงศ์ หนึ่งในผู้เสียหายจากการซื้อแฟรนไชส์ The M@sk เปิดเผยว่า
หลังจากที่ตนเองได้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์เพื่อเปิดในสาขาไทม์สแควส์ ถ.สุขุมวิท
และผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ The M@sk กว่า 80 ราย ทั้งใน กทม. และตจว. คิดเป็นเงินกว่า 50 ลบ.
ถูกหลอกลวงจากบริษัทฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งยังไม่ได้รับส่วนแบ่งหรือรายได้ใดๆ
ตามข้อตกลงจากเจ้าของแฟรนไชส์ จึงมารวมกันตัว ร้องเรียนกับทาง สคบ.และสศก.
     
      ทั้งนี้ระบบแฟรนไชส์ของ The M@sk ได้ใช้ระบบ close system
ซึ่งทางบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหาทำเล การจ้างพนักงานขาย
โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เพียงแค่นำเงินไปลงทุน
ซึ่งวิธีการทำแฟรนไชส์ดังกล่าวทำให้บรรดาผู้เสียหายตรวจสอบการทำงานยาก ทั้งในเรื่องของต้นทุน
และกำไรต่างๆ
     
      ด้านนายธงชัย บุญเลิศ ผู้เสียเงินลงทุนซื้อแฟรนไชส์ The M@sk กว่า 3 ล้านบาท
เปิดเผยถึง กลโกงของทางเจ้าของแฟรนไชส์ The M@sk ว่า ก่อนที่ตนเองจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์นี้
ได้ศึกษาข้อมูล และแผนธุรกิจของทาง The M@sk ทั้งการไปดูการออกงานตามสถานที่ต่างๆ เช่น
ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงาน The M@sk Day
ที่มีการนำบูธทั้งหมดมาออกงานอย่างเต็มที่ ทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และคีออสต่างๆ
ส่งผลให้มีความน่าเชื่อถือ จึงได้ตัดสินใจนำเงินมาลงทุน ขั้นแรกในรูปแบบคีออสประมาณ 3 แสนบาท
แต่ยังไม่ได้เปิดจริงและยังไม่เห็นคีออสแต่อย่างใด จึงเข้าร้องกับบริษัทฯ
แต่ทางบริษัทกลับเสนอธุรกิจรูปแบบใหม่ในลักษณะอินเตอร์เน็ตคาเฟ่
ที่มีความหลากหลายให้กับลูกค้ากว่ารูปแบบคีออส และจะได้กำไรและคืนทุนเร็วกว่า
จึงได้ตัดสินใจลงทุนในรูปแบบคาเฟ่ด้วยวงเงินประมาณ 2 ล้านบาท ในสาขาห้างมาบุญครอง
แต่การตกแต่งเป็นไปอย่างล่าช้า ในขณะที่ทางบริษัทฯ อ้างถึงรายจ่ายในการตกแต่งที่เพิ่มขึ้น
จึงได้ขอเงินเพิ่มจากตนตลอดมา โดยเงินที่จ่ายไปทั้งหมดประมาณ 3 ล้านบาท
โดยที่ไม่ได้รับอะไรตอบแทนมาเลย
     
      และในวันนี้ (3 ก.พ.) ตนจึงได้มาขอความช่วยเหลือกับทาง สคบ. ร่วมกับผู้เสียหายทุกๆ
ราย เพื่อหวังที่ได้เงินคืน แต่หลายคนทำใจแล้ว เพราะเรื่องที่จะได้เงินคืนนั้นเป็นไปได้ยาก
แต่จุดประสงค์หลักของการออกมาเรียกร้องในครั้งนี้ เพื่อชี้แจง
และไม่ต้องการให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่คิดจะทำธุรกิจกับ The M@sk ต้องตกเป็นเหยื่อรายต่อไป
     
      ด้านนางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์ โฟกัส จำกัด
เปิดเผยว่า ในส่วนของบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากกรณีที่บริษัทเอ็มเอฟเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
ในชื่อ The M@sk ได้ลงสื่อโฆษณาธุรกิจในหนังสือ ไดเร็กทอรี่ โอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์
มูลค่าหลักหมื่น แต่ไม่ได้รับการชำระเงินตามสัญญา โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ
ได้พยายามติดต่อทวนถามไปยังฝ่ายบัญชีของ The M@sk แต่ได้รับหลบเลี่ยง โดยเหตุผลเช่น
ผู้รับผิดชอบเดินทางไปต่างประเทศ , หมายเลขไม่สามารถติดต่อได้ เป็นต้น
     
      ก่อนหน้านี้ทาง The M@sk เคยมาร่วมออกบูทในงานแสดงสินค้าที่บริษัทฯ จัดขึ้น
ซึ่งที่แล้วมาได้รับการชำระเงินตลอด กระทั่งเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ซึ่งเมื่อเห็นข้อผิดสังเกต
จึงถอนโฆษณาของ The M@sk ออกจากสื่อของบริษัทฯ ทันที
     
      นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ลงทุนกับธุรกิจของ The M@sk
ได้ติดต่อมาร้องทุกข์เช่นเดียวกัน จึงพยายามจะช่วยประสานงานเจรจาให้
แต่ก็ไม่สามารถติดต่อกับทาง The M@sk ได้เช่นกัน
     
      ทั้งนี้ ในส่วนตัว คิดว่าในกรณีของ The M@sk
เกิดจากความผิดพลาดเฉพาะของตัวบุคคลในฝ่ายบริหารไม่อยากให้กระทบถึงภาพรวมต่อความไว้วางใจของตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจด้วยความเที่ยงตรง ดังนั้น
อยากขอให้ผู้บริหารของ The M@sk ออกมาเจรจาเพื่อแสดงเจตนาว่า
จะมีแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
     
      และล่าสุด ในช่วงบ่ายของวันนี้ (3 ก.พ.) นายจิรเดช พูนมโนธรรม
ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอฟเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
ได้เดินทางมายัง สศก. เพื่อเจรจากับผู้เสียหาย ซึ่งผลจากการประชุม นายจิรเดช
ได้กล่าวยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของตนคนเดียว
เนื่องจากการบริหารที่ผิดพลาดในการใช้เงินลงทุนทำธุรกิจเกิดตัว ทั้งนี้
ได้ขอนัดหมายกับผู้เสียหายทุกรายว่า ในวันที่ 17 ก.พ. ที่จะถึง เวลา 13.00 น. ณ สำนักงาน
สศก. ทาง The M@sk และบริษัท เค. เจ้าพระยา เอราวัณ ซิตี้คลับ จำกัด หุ้นส่วนรายใหม่
จะมาชี้แจงถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้เสียหายทราบอีกครั้ง
โพสต์โพสต์