$$ รวมหุ้น Turnaround $$

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 76

Re:

โพสต์ที่ 301

โพสต์

Paul VI เขียน:
miracle เขียน:Turn around
ประเภทแรก
1. ไปสู่ที่ชอบที่ชอบเถอะ
2. ไปสู่ที่ใหม่เถอะ
3. ฉันไม่ไปซักอย่างอยู่อย่างนี้ล่ะ
:)
:D

แล้ว ถามคุณ มาดาม หน่อย คิดว่าตัวไหนจะ turn บ้าง  :?:
ประเภทสอง
1. ลอกคราบ. ของเก่าขายเรียบ แล้วทำใหม่
2. ซื้อของใหม่มาทำเลย
3. ลำแข้งตัวเองผลิตของใหม่
4. กวาดบ้านให้สะอาด ทำกิจการเดิม
5. ถึงเวลาแปลงร่าง. โดน take over
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 76

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 302

โพสต์

Turn. แบบสอง ayud kamart(2554) tcc(2553) umi+rci
กลุ่มประกันวินาศภัย
:)
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 303

โพสต์

"Turn" จริง หรือ "Turn ปลอม"...ต้องตัดสินใจกันเอง
ผมเองก็ไม่รู้อ่ะนะขอรับ
v
v
AKR ผู้ถือหุ้นไฟเขียวลดพาร์ ล้างขาดทุน-พร้อมจ่ายปันผล [ ทันหุ้น, 19 ก.ค. 55 ]

AKR ฟุ้ง Q3/2555 ล้างขาดทุนสะสมเกลี้ยง ล่าสุดผู้ถือหุ้นไฟเขียวลดพาร์เหลือ 0.80 บาท จาก
1 บาท แล้วผู้บริหาร "ดนุชา น้อยใจบุญ" คาด Q4/2555 พลิกกำไร มีงานในมือกว่า 1 พันล้านบาท ส่วน
รายได้โต 20% แตะ 2 พันล้านบาท พร้อมรุกประมูลงานใหม่ตุลาคมนี้เชื่อคว้างานเพียบ โบรกเคาะสัญญาณ
หุ้นรอบนี้เด้งรับข่าวดีระยะยาวให้ต้านสำคัญ 0.95 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
CONAN
Verified User
โพสต์: 409
ผู้ติดตาม: 0

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 304

โพสต์

miracle เขียน:Turn. แบบสอง ayud kamart(2554) tcc(2553) umi+rci
กลุ่มประกันวินาศภัย
ขอแปะ WAVE ไว้ช่วยพิจารณาอีกตัวครับ
หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นประเภทใดก็ตามควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย ...เครดิต อ.โจ ลูกอีสาน
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 305

โพสต์

"4P" สำหรับหุ้น Turnaround ในมุมมองส่วนตัวของผม
By Pak ThaiVI, 29 ส.ค. 55


ผมอยากจะพูดถึง 4P สำหรับหุ้น Turnaround ในมุมมองของผม ณ เวลานี้ที่ผมรู้สึกหน่อยนะครับ
ดังนี้...

P1 คือ P-Potentail ผมมองว่านี่คือจุดเริ่มต้นของการ Turnaround ครับ
กล่าวคือบริษัทฯต้องมี "ศักยภาพ" ที่ดีก่อน
ซึ่งมันคือแก่นแท้ และเหตุผลว่า "บริษัทฯแห่งนี้จะฟื้นได้อย่างไร?"


P2 คือ P-Perception นั่นคือการที่ตลาดยังไม่ไม่รับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงในบริษัทฯของเรา
ผมมองว่านี่คือความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด
และเป็นช่องว่างทำให้เกิด MOS สำหรับหุ้นประเภท Turnaround นี้ขึ้นมาได้


P3 คือ P-Performance นั่นคือ ตลาดจะเริ่มรับรู้ก็ต่อเมื่อผลดำเนินการประกาศออกมา
อาจจะเป็น "ผลงาน/ผลการประมูลงาน" หรือ "ผลประกอบการ" ที่จะประกาศออกมาก็ได้
ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จากศักยภาพ(Potential) ของบริษัทฯ จะนำมาสู่การเติบโตทั้งในส่วนของรายได้และกำไร
และนำมาสู่ Performance ที่ดีขึ้นต่อไป


P4 คือ P-Price ซึ่งมักจะ Laggard หรือจะมาล้าหลังจะ P อื่นๆเสมอ!!!
โดย Pricing ที่ตลาดจะกำหนดให้ในอนาคต
โดยจะมาจาก Potential , Perception และ Performance นั่นเอง


ทั้งหมดคือ 4P หรือ กลไกในการกำหนดราคาหุ้นประเภท Turnaround ในความรู้สึกของผมอ่ะนะครับ
คิดเอง เขียนเอง ก็ไม่รู้ว่าจะถูกต้องไหมนะครับ
ถ้ามีอะไรผิดพลาด ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

รูปภาพ

ปล.
เส้นเพียงไม่กี่เส้นในภาพนี้ สามารถทำให้เราคิดและเข้าใจธรรมชาติของตลาดหุ้นได้มากมายจริงๆครับ
...ว่าไหม?
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
wigraipat
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 306

โพสต์

เยี่ยมคับคุณpak
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 307

โพสต์

ข่าวตัดมาเก็บครับ
sak007 เขียน:“วิชัย ทองแตง” สยายปีกสู่ท่อส่งน้ำมัน! โชว์วิธีปั้นธุรกิจขึ้นชั้นเศรษฐีแซงหน้า “ทักษิณ”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กันยายน 2555 16:57 น.

เจาะใจ ‘วิชัย ทองแตง’ จากอดีตทนายความคดีซุกหุ้น ผ่านมาเพียง 10 ปี วันนี้เขาติดอันดับความร่ำรวยแซงหน้า ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ไปแล้ว! พบปรัชญาในการทำธุรกิจต้องกล้า ‘คิดใหญ่’ แล้วไปให้ถึง ประกาศวันใดสังคมเชื่อมั่นว่าเขาไม่ใช่ ‘นอมินี’ ของ ‘แม้ว’ จะกระโดดเข้าสู่ธุรกิจสัมปทานรัฐ ปัจจุบันขอแค่เดินตามนโยบายของรัฐ ก็ทำให้ ‘ธุรกิจบริการสุขภาพ-เคเบิล’ ล้วนแต่เป็นเบอร์ 1 ของประเทศ จับตา ‘วิชัย’ เตรียมโดดเข้าสู่ธุรกิจลอจิสติกส์-ท่อส่งน้ำมัน ครอบคลุมตลาด AEC

พูดถึง “วิชัย ทองแตง” ไม่มีใครไม่นึกถึง “ทักษิณ ชินวัตร” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชื่อของวิชัย ทองแตง โดดเด่นขึ้นมาในสังคม และเป็นไฮไลต์ให้สังคมจับตามองคือเหตุการณ์ที่เขาเข้าไปช่วยว่าความให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีซุกหุ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ด้วยข้อแก้ต่างที่เรียกว่า “บกพร่องโดยสุจริต” และเป็นการปลดล็อกสำคัญที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณก้าวไปสู่จุดสูงสุดด้านการเมืองในตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ได้สำเร็จ

และยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้นไปอีก เมื่อข้อบังคับของนายกรัฐมนตรีและภรรยา จะต้องห้ามการดำเนินการทางธุรกิจ นั่นทำให้การก้าวเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาลของเขา ถูกมองว่าเป็น “นอมินี” ให้กับตระกูลชินวัตร

ผ่านมาแล้ว 10 ปี วันนี้ “วิชัย ทองแตง” ประกาศชัดว่า “ผมไม่ใช่นอมินี”!

ชื่อของ วิชัย ทองแตง วันนี้จึงไม่ใช่แค่ “ทนายคนเก่ง” แต่เป็นนักบริหารที่ได้รับการยอมรับในฐานะ เศรษฐีหุ้นท็อปโฟร์ คือได้รับการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยปี พ.ศ. 2554 โดยวารสารการเงินการธนาคาร ร่วมกับอาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ วิชัย ทองแตง ติดอันดับ 4 ถือครองหุ้นสูงสุดที่มูลค่า 11,804.14 ล้านบาท และทำให้ตระกูลทองแตงติดอันดับตระกูลเศรษฐีหุ้นในอันดับ 5 ด้วยการถือครองหุ้นรวมมูลค่า 15,328.38 ล้านบาท ที่ก้าวกระโดดจากอันดับที่ 297 เพียงระยะเวลาแค่ 1 ปี

นอกจาก วิชัย ทองแตง จะถูกกล่าวขานเป็น “พ่อมดตลาดหุ้น” แล้ว ยังได้รับการยอมรับในการบริหารธุรกิจ “เฮลท์แคร์” โดยเฉพาะธุรกิจเครือโรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก อีกทั้งยังทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ 1 ปีที่ผ่านมาเขาได้ก้าวสู่การทำธุรกิจเคเบิลทีวี และเริ่มมองหาธุรกิจไลน์ใหม่ที่มีอนาคตเข้ามาบริหารเพิ่มอีก

ที่สำคัญวันนี้นิตยสารฟอร์บส์ ฉบับเดือนกันยายน เผยแพร่ผลการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุด 40 อันดับแรกในประเทศไทย โดย วิชัย ทองแตง ติดอันดับมหาเศรษฐีอันดับ 20 ของไทย ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวติดอันดับที่ 23

เส้นทางการทำธุรกิจของ “วิชัย ทองแตง” วันนี้จึงเรียกว่าไม่ธรรมดา แต่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนต้องจับตา!

‘วิชัย’ ชี้กลยุทธ์การทำธุรกิจต้องโต-ยั่งยืน

วิชัย ทองแตง เล่ากับ ‘ASTV ผู้จัดการรายวัน’ ถึงยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจของเขาว่าอันดับแรกคือ ซื้อของเน่า แต่เห็นว่ามีอนาคตมาบริหารจัดการใหม่ให้กลายเป็นธุรกิจที่ดี เขาเรียกว่า “ของถูก ที่มีอนาคต” ที่สำคัญต้องเป็นธุรกิจที่ turn around สูงด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น เป้าหมายสำคัญของการทำธุรกิจของเขาจะต้องมีปลายทางของทุกธุรกิจที่จะนำเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ และทุกธุรกิจของเขาจะต้องมี market cap หรือมูลค่าตามราคาตลาดโดยรวมของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในระดับ 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป

“ผมจะไม่ละทิ้งสไตล์การทำธุรกิจของผม เพราะผมถนัดธุรกิจ turn around คือเลือกธุรกิจดีแต่อ่อนแอ เข้าไปช่วยแก้ไขพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ธุรกิจนั้นๆ กลับมายืนอยู่ได้อย่างมั่นคง และเติบโตต่อไป”

แต่แม้ว่าเขาจะมีความชำนาญด้านตลาดหุ้นและฝีมือการทำธุรกิจ turn around จนสำเร็จด้วยการเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่การที่เขาถูกเชื่อมโยงว่าเป็นนอมินีทักษิณ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจของเขา โดยเฉพาะเป็นสาเหตุหลักที่เขาตัดสินใจไม่ลงทุนในธุรกิจสัมปทานภาครัฐเด็ดขาด
วิชัยยืนยันว่าจะไม่เข้าไปลงทุนหรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจ 2 ประเภท คือธุรกิจที่กำลังเป็น SUNSET และธุรกิจที่จะถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยเฉพาะธุรกิจสัมปทาน

“เมื่อไรที่สังคมเข้าใจและเชื่อว่าผมไม่ใช่นอมินีคุณทักษิณ ผมถึงจะมาสนใจหรือลงทุนธุรกิจสัมปทาน ซึ่งวันนี้และขณะนี้ผมไม่ยุ่งธุรกิจสัมปทานรัฐแน่นอน ”

ดังนั้น ด้วยปรัชญาและโมเดลในการทำธุรกิจของวิชัย ที่เป็นแบบคิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก และต้องเป็นคิดใหญ่แบบที่ได้ประโยชน์กลับมาสูงสุดและมองเห็นอนาคตแบบยั่งยืน ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในแทบทุกธุรกิจที่โดดเข้าไป และประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน

นี่คือเหตุผลว่าทำไมเพียงไม่กี่ปี ชื่อของ วิชัย ทองแตง จึงติดทำเนียบเศรษฐี แถมยังรวยแซงหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปแล้ว

ไม่เน้นสัมปทาน-เดินหน้าธุรกิจตามนโยบายรัฐ

วิชัยพูดด้วยน้ำเสียงตัดพ้อว่า “คนในประเทศไทยมีเยอะที่ชอบทำธุรกิจ turn around และประสบความสำเร็จ แต่ไม่โดนเขม่น เป็นโชคไม่ดีของผม ที่เพียงแค่ไปว่าความให้คุณทักษิณ ทำให้คนมองว่าเป็นนอมินี มันไม่ใช่ ผมก็ลงทุนไปตามชีวิตปกติ และลงทุนก่อนที่จะไปว่าความให้ พ.ต.ท.ทักษิณเสียอีก”

โดย วิชัย เริ่มเข้าไปช่วยแก้วิกฤตตลาดหุ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ตั้งแต่นั้นก็ลงทุนอยู่ในแวดวงตลาดหุ้นมาตลอด จนมาปี พ.ศ. 2542 ที่ได้เข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลศิครินทร์ เข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลเปาโล ในปี พ.ศ. 2543 และเข้าซื้อหุ้นในโรงพยาบาลพญาไท ในปี พ.ศ. 2544

การเข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลพญาไทในปีเดียวกับที่ว่าความให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นจุดเริ่มที่ทำให้คนมองว่า เขาคือนอมินีให้ตระกูลชินวัตร

“ผมทำธุรกิจมานานแล้ว แต่คนไม่รู้จัก พอคนเริ่มรู้จักและคิดว่าผมคือนอมินี ตั้งแต่นั้นมา หุ้นที่ผมเคยซื้อได้ในราคาไม่แพงนัก ก็ราคาขึ้นสูงหลายเท่าตัว อย่างโรงพยาบาลพญาไท การซื้อหุ้นงวดสุดท้าย ผมต้องซื้อในราคาที่สูงมาก แต่ไม่เป็นไร”

ประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้เขาต้องการหนีให้ห่างจากภาคการเมือง

ดังนั้น สไตล์ในการเลือกธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจ turn around ที่เขาถนัดคือต้องไม่เกี่ยวกับการเมือง และเป็นธุรกิจที่ต้องมีอนาคต

นั่นหมายความว่า วิชัย ทองแตง จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวกับการทำสัมปทานกับภาครัฐอย่างเด็ดขาด เพียงแต่จับตาดูว่านโยบายของแต่ละรัฐบาลไปทางใด และนั่นหมายถึงอนาคตของธุรกิจเขาด้วย

และสิ่งที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือธุรกิจโรงพยาบาล ที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยในอดีตและพรรคเพื่อไทยที่บริหารโดย “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” 2 พี่น้องชินวัตร มีนโยบายชัดเจนจะทำให้ประเทศไทยเป็น Medical Hup และวันนี้ธุรกิจโรงพยาบาลของเขาก็ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในการเป็น Medical Hup สมบูรณ์แบบที่สุด

‘วิชัย’ สบช่อง รัฐบาลชินวัตรปั้น Medical Hup

วิชัยบอกว่าการทำให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ในเวลานั้นมีความเป็นไปได้สูงมาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการรักษาพยาบาล ทั้งความสามารถของแพทย์ และการดูแลเอาใจใส่ในการบริการที่ดีมากของพยาบาลไทย เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ และสถานที่

ดังนั้นการจะทำให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub จึงเป็นอนาคตที่จับต้องได้!

“ตอนแรกที่เข้ามาลงทุนธุรกิจโรงพยาบาล เพราะว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับศีลธรรม หรือ moral business คือความที่เป็นครอบครัวพุทธศาสนิกชน ที่ยึดมั่นการดูแลช่วยชีวิตผู้คนนั้นจะเป็นความภูมิใจ ประกอบกับการเติบโตมากับครอบครัวที่เป็นแพทย์แผนไทยของคุณพ่อ และพี่ชาย พี่สะใภ้วันนี้ก็เป็นแพทย์ จึงทำให้ความคุ้นเคยในธุรกิจโรงพยาบาลมีมาก ครอบครัวทุกคนก็สนับสนุน จึงก้าวเข้ามาทำธุรกิจโรงพยาบาล”

วิชัยย้ำว่าเมื่อเข้าไปศึกษาอย่างละเอียด ก็พบว่าธุรกิจโรงพยาบาลมีความมั่นคงและยั่งยืนอย่างมาก ทั้งเรื่องของการป่วย การเจ็บ ที่เป็นสิ่งที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกคนต้องมีการมารักษาพยาบาลไม่เว้นแม้แต่คนเดียว จึงเป็นธุรกิจที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์

อีกทั้งเมื่อศึกษาลึกเข้าไปอีกก็พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพมากในการรักษาพยาบาล จึงเชื่อว่าจะขยายความเชื่อมั่นไปในประเทศต่างๆ ได้ด้วย

“ครั้งแรกที่ผมโดดมาทำธุรกิจนี้ มีข่าวผู้นำสวีเดนจะมารักษาที่โรงพยาบาล
ศิริราช จากการที่มีคนระดับพระราชามาใช้บริการการรักษาพยาบาลในประเทศไทย เป็นการบ่งบอกว่าภายนอกประเทศมีความเชื่อมั่นระบบการรักษาพยาบาลของไทย อีกทั้งแพทย์ไทยมีความเก่งจริง สามารถรักษาท่านได้จนได้รับความพึงพอใจ เหตุการณ์นี้จึงเป็นการจุดประกายที่ดีมาก จากนั้นจะเห็นว่าชาวต่างประเทศที่มารักษาพยาบาลในไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”

วิชัยยอมรับว่า ขณะที่รัฐบาลทักษิณประกาศให้ไทยเป็น Medical Hub เขาได้ดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลไปแล้ว โดยเริ่มเข้าทดลองลงทุนในธุรกิจนี้ในการซื้อหุ้นโรงพยาบาลเล็กๆ ในจังหวัดราชบุรี ในปี 2538 และพอดีมีการเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลหลายตัวประสบภาวะวิกฤตหนัก และทำให้เขาสนใจเข้ามาลงทุนเริ่มตั้งแต่โรงพยาบาลศิครินทร์ เปาโล และโรงพยาบาลพญาไท

“ตอนนั้นผมก็ยังไม่แข็งแรงเท่าไรในการทำธุรกิจนี้ แต่เชื่อมั่นว่านโยบาย Medical Hub มีความเป็นไปได้”

หลังจากปี พ.ศ. 2540 กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนจึงได้มีการโฟกัสว่าจะต้องทำให้ไทยเป็น Medical Hub ให้ได้ ด้วยปัจจัยที่มีอยู่แล้ว จึงต้องทำโรงพยาบาลให้ไปสู่มาตรฐานสากล รองรับชาวต่างประเทศให้ได้ แม้จะต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่ก็เชื่อมั่นว่าเป็นการลงทุนเพื่อไปสู่อนาคต ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ได้ใช้เวลาแค่ 1-2 ปี แต่จะต้องมุ่งมั่นอย่างมาก และต้องมองอนาคตไปอีก 10 ปีข้างหน้า

“ตอนนี้ประเทศไทยเป็น Medical Hub แล้ว เมื่อดูจากจำนวนคนต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการ เม็ดเงินในการเข้ามาใช้บริการ หรือ billing ที่เพิ่มขึ้น รวมกับเสียงสะท้อนความพึงพอใจในการเข้ารับบริการของชาวต่างชาติ ที่มีการจัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ในคุณภาพการรักษามาตลอดในระดับเอเชียด้วยกัน”

ขณะเดียวกัน วิทยาการทางการแพทย์ไทยก้าวหน้า มีการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาพยาบาล จนกล่าวได้ว่าทัดเทียมระดับสากล หรือระดับโลกได้ โดยเฉพาะการรักษาโรคยาก ประเทศไทยทำได้หมดแล้ว ทั้งโรคหัวใจ, โรคเกี่ยวกับสมอง, หลอดเลือด, การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ฯลฯ

ส่วนในเรื่องของคุณภาพนั้น ปัจจุบันมีโรงพยาบาลในประเทศไทยถึง 24 แห่ง ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน JCIA (Joint Commission International Accreditation USA) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของทั่วโลก

“โรคยากทั้งหลายเราทำได้หมด ไม่เกินขีดความสามารถของหมอไทย ธุรกิจ Medical Hub จึงถือว่าเป็นความสำเร็จของประเทศไทยอย่างมาก”

วันนี้ธุรกิจโรงพยาบาลในมือวิชัยมีเครือข่ายแล้ว 30 โรงพยาบาล มีเตียงรองรับคนไข้ 5,000 เตียง และยังทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลด้วยสไตล์ turn around ของ วิชัย ทองแตง ประสบความสำเร็จได้ด้วย

เหตุจับมือ BGH เสริมแกร่งมุ่ง Medical Hup

วิชัยบอกว่าการจะทำให้ธุรกิจ turn around ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะต้องมีความมุ่งมั่นเข้าไปแก้สถานการณ์วิกฤตที่ธุรกิจนั้นๆ ประสบอยู่ อย่างช่วงที่เขาซื้อโรงพยาบาลศิครินทร์นั้น โรงพยาบาลศิครินทร์อยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้เช่นเดียวกับโรงพยาบาลเปาโล ขณะที่โรงพยาบาลพญาไทอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟู

“มันไม่ง่าย ต้องมีจิตวิทยาในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (manage change) เพราะเวลาก้าวเข้าไปมีปัญหาจำนวนมากรอให้แก้ไข จึงต้องใช้ทั้งความอดทน ใช้ทั้งจิตวิทยา และศิลปะเข้าไปช่วยในการบริหารอย่างมาก”

เมื่อเขาประสบความสำเร็จในการบริหารธุรกิจโรงพยาบาลแบบซื้อกิจการที่มีปัญหาเข้ามาบริหารเองแล้ว วิชัยได้พัฒนารูปแบบการบริหารงานมากขึ้นไปอีกระดับด้วยแนวคิด “ทำใหญ่ ไม่ทำเล็ก”
“ทำใหญ่แล้วต้องได้ผลด้วย คือต้องได้ประโยชน์ เพราะฉะนั้นเมื่อจะทำให้ใหญ่ก็ต้องทำให้ได้ประโยชน์”

ดังนั้น วิชัยจึงได้ก้าวสู่การทำธุรกิจแบบที่เรียกว่า holding company ในการเข้ามารวบรวมกิจการประเภทเดียวกัน และให้มีบริษัทแม่ในการวางยุทธศาสตร์การทำงาน ด้วยแนวความคิดว่าต้องมีระบบ consolidate หรือควบรวมให้เกิดความเป็นหนึ่ง

นี่เป็นเหตุต่อมาให้ วิชัย ได้บริหารกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล โดยตั้งบริษัทเฮลท์ เน็ตเวิร์คจำกัด (มหาชน) เพื่อให้เป็น holding company ดำเนินงานเกี่ยวกับบริษัทด้านสุขภาพทั้งหมดที่จะมีการขยายไลน์ในอนาคตไปสู่การบริการด้านสุขภาพต่างๆ

ล่าสุดยังได้ร่วมกิจการกับ บริษัทกรุงเทพดุลิต เวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BGH เพราะมองว่าการรวมกิจการของบริษัทประเภทเดียวกันจะยิ่งทำให้เกิดความเข้มแข็ง โดยเฉพาะเพื่อเตรียมรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ที่วิชัยมองว่า ทุนขนาดใหญ่จากต่างประเทศจะเข้ามา และต้องรีบสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจไทย

“ในเอเชียธุรกิจบริการสุขภาพกลุ่ม BGH มีมาร์เกตแคปอยู่ที่ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท มีเตียงประมาณ 5,000 เตียง จึงเป็นรองแค่กลุ่ม Integrated Healthcare (IHH) ของมาเลเซียที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมาเลเซียมีมูลค่าสูงถึง 2.7 แสนล้านบาท และมีเตียงประมาณ 8,000-9,000เตียง ซึ่ง IHH ยังมีเครือข่ายโรงพยาบาลในสิงคโปร์ มาเลเซีย ตุรกี อินเดีย รวมทั้งจีน ขณะนี้เราก็ต้องเฝ้าดูว่าเขาจะขยายเข้ามาซื้อกิจการโรงพยาบาลในไทยหรือเปล่า"

วิชัยจึงมั่นใจว่าการ consolidate หรือการควบรวมกิจการให้เป็นหนึ่งเท่านั้น จึงจะเป็นทางรอดของธุรกิจไทย!


รวมเคเบิลทีวี-ปั้นไทยสู่ Smart Thailand

จากความยิ่งใหญ่ของธุรกิจสุขภาพที่ประสบความสำเร็จและก้าวสู่ความเป็น Medical Hub ได้แล้วนั่นจึงใช้หลักการเดียวกันในการเข้ามาบริหารงานในธุรกิจเคเบิลทีวีในปัจจุบันนี้

“ตอนแรกที่มาทำธุรกิจเคเบิลทีวีนั้น มาเป็นแค่ที่ปรึกษาให้ญาติ แต่ตอนหลังเห็นว่าต้องเข้ามาทำเอง ต้องมาศึกษาให้ละเอียด ถึงจะแก้ปัญหาขาดทุนได้ จึงเริ่มเข้ามาบริหารได้ 1 ปีแล้ว”

วิชัยบอกว่า โมเดลของธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ จะมีโมเดลคล้ายกัน คือต้องรวมกันและมี holding company ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีมีแนวความคิดนี้อยู่แล้ว จากการพูดคุยกันในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ที่มีสมาชิกผู้ประกอบการ 350 ราย ใน 77 จังหวัด โดยมีความคิดว่าจะต้องมีบริษัทกลางในการทำหน้าที่ในการเข้ามาช่วยบริหารต้นทุน

โดยเฉพาะการซื้อคอนเทนต์ร่วมกัน เพื่อเสียค่าลิขสิทธิ์ในจำนวนที่ถูกลง จึงมีการตั้งบริษัท CTH หรือบริษัทเคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด ขึ้นมาเป็นบริษัทกลาง แต่ที่ผ่านมาการแข่งขันสูงมาก ทำให้แนวความคิดนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ

“พอไม่ประสบความสำเร็จ เขาก็เริ่มมองหาคนมาช่วยแก้สถานการณ์ ชื่อเสียงผมเด่นด้าน turn around อยู่แล้ว รวมกับเป้าหมายที่เขาอยากให้ CTH เข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย จึงมีคนมาชวนไปช่วย”

วิชัยจึงเข้ามาศึกษาธุรกิจเคเบิลทีวีอย่างจริงจัง โดยมีการจ้างบริษัทมืออาชีพมาเขียนแผนธุรกิจให้กับ CTH ให้เป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรให้กับสมาชิก และดำเนินธุรกิจยั่งยืน ส่งต่อถึงลูกหลานได้

“1 ปีที่มาศึกษา พบว่า เคเบิลทั่วประเทศไทยมันมีเสน่ห์ แต่ทุกวันนี้กระจัดกระจาย ขาดความเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ถ้าลงไปดูดีๆ ในแต่ละจังหวัดจะพบเลยว่า มีวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดที่มีค่ามาก แต่ทุกวันนี้ถ้าอยู่คนละจังหวัดจะไม่มีทางได้ดู”

เพราะฉะนั้นขุมทองของเคเบิลทีวีคือ คอนเทนต์ ที่เมื่อสามารถเอามา cross culture หรือสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้เมื่อไร เมื่อนั้นธุรกิจเคเบิลจะมีความเข้มแข็งมาก

แน่นอนว่า ในสายตาของวิชัยแล้ว เขาจะต้องมองนโยบายรัฐ และทิศทางการพัฒนาของภาครัฐประกอบในการทำธุรกิจนั้นๆ ด้วย และเคเบิลทีวีก็เป็นธุรกิจดาวรุ่ง ในส่วนของนโยบายภาครัฐที่อยากให้ประเทศไทยเป็น Smart Thailand

“เมื่อเกิด กสทช.และนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลพอดี ตรงนี้ธุรกิจเคเบิลทีวีที่มีเครือข่ายอยู่แล้วแต่ขาดแค่โครงข่าย หากมีโครงข่ายขึ้นมาเชื่อมโยงกันทั้ง 77 จังหวัดเป็นใยแมงมุมได้เมื่อไร ธุรกิจนี้จึงเป็นธุรกิจที่มีอนาคต”

คิดใหญ่ของวิชัย คือ นอกจากรวมผู้ประกอบการเคเบิลทีวีเข้าด้วยกันให้ได้แล้ว ยังต้องหาผู้ร่วมทุน ที่จะมาช่วยทำให้ภาคธุรกิจนี้แข็งแรง

“ฟรีทีวีที่ไหนส่งคนไปอยู่ทุกจังหวัด ไม่มี เราได้เห็นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ มีคุณค่าจากผู้ประกอบการในแต่ละจังหวัดทั้งนั้น ตรงนี้จะยั่งยืนมาก จะต้องส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางวัฒนธรรมของประเทศให้ได้ ซึ่งผู้ประกอบการทุกรายจะแข็งแรงหมด ไม่ต้องกลัวถูกกลืน ถูกฮุบ ส่วนผู้ใช้บริการก็มีโอกาสเข้าถึงคอนเทนต์ และเข้าถึงเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ไปพร้อมกัน”

โดยในส่วนของคอนเทนต์ วันนี้วิชัยนำ CTH จับมือร่วมกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่มีจุดเด่นเรื่องการบริหารคอนเทนต์ให้ถึงมือประชาชนอย่างกว้างขวางเพื่อขยายความสามารถในการบริหารคอนเทนต์เรียบร้อย

แผนต่อมาคือ เวลาลงทุนธุรกิจ ต้องคิดว่าจะลงทุนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จให้มากที่สุดด้วย ดังนั้นเมื่อมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเขียนแผนธุรกิจให้ CTH จึงพบว่า นอกจากการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมจากธุรกิจเคเบิลทีวีแล้ว จะต้องดำเนินธุรกิจให้ตอบสนองคนรุ่นใหม่ที่จะใช้ internet wi-fi หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการเพิ่มเข้าไปให้ผู้บริโภคเลือกได้ด้วย
และนี่คือจุดสำคัญของการเป็น Smart Thailand ตามนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปัจจุบันนี้

การลงทุนโครงข่ายจึงเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของแผนการดำเนินงาน CTH นี้ ทว่าการลงทุนต้องใช้เวลานานมาก ดังนั้นวิชัยตัดสินใจเช่าโครงข่ายของ TOT เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการบริหารให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา

หากดิวนี้สำเร็จ CTH จะไปข้างหน้าได้เร็วมาก โดยวิชัยมองว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 จะเริ่มเดินหน้าแผนงานที่ศึกษาไว้ได้ และได้ประกาศไปกับพี่น้องเคเบิลทีวีว่า อีก 3 ปี CTH จะเข้าตลาดหลักทรัพย์

โดยโครงสร้างหุ้น CTH ขณะนี้มีผู้ประกอบการเดิมถือหุ้น 30% วิชัยถือ 25% ไทยรัฐถือ 25% และอีก 20% สำรองไว้สำหรับพันธมิตรรายใหม่ โดยทุนจดทะเบียนที่ตั้งไว้คือ 1 พันล้านบาท ขณะนี้มีเงินทุนแล้ว 800 ล้านบาท เมื่อได้พันธมิตรใหม่ก็จะครบ 1 พันล้านบาทพอดี โดยสมาชิกเคเบิลทีวีวันนี้มีอยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน ในอีก 3 ปี มีเป้าหมายว่าสมาชิกจะต้องอยู่ที่ระดับ 7 ล้านคน

วิชัยยืนยันว่าทุกแผนจะต้องเร่งทำให้สำเร็จเช่นกัน

“อย่าลืมว่า AEC จะทำให้เกิดผู้เล่นรายใหม่เข้ามา เป็นรายใหญ่ เงินทุนเยอะ ต้องแข่งขันสูงมาก อย่างวันนี้ google และ Microsoft ก็เริ่มหันมาเล่นในตลาดนี้แล้ว มาเลเซียที่แข็งแรงกว่าไทยก็เริ่มที่จะเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว ถ้าผู้ประกอบการไทยไม่รวมตัวให้เข้มแข็ง ตรงนี้นอกจากธุรกิจจะไม่ยั่งยืนแล้ว ยังมองว่ามีโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะถูกกลืนวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นหน้าที่คนไทยที่ต้องปกป้อง”

ทั้งนี้ ยืนยันว่าผู้ประกอบการเคเบิลทีวีมีความเห็นตรงกันว่า จะไม่ใช้เคเบิลทีวีนี้ในเชิงการเมืองด้วย เพราะมองว่าจะทำให้ธุรกิจนี้ไม่แข็งแรงทั้งระบบ หากใครจะลงเล่นการเมืองท้องถิ่นก็ลงได้ แต่อย่าเอาช่อง หรือเคเบิลทีวีไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองให้ตัวเอง


ธุรกิจอสังหาฯ เล็งหาพันธมิตรเสริม

ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิชัยถือว่าตัวเขาเองมีส่วนกำเนิดมาจากธุรกิจนี้ โดยได้เริ่มลงทุนในช่วงก่อนปี 2530 และประสบความสำเร็จมากในยุคของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ยอมรับว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นมีการเติบโตทางตัวเลขทางการเงินน้อยกว่าธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะธุรกิจโรงพยาบาลที่มีการเติบโตหลายเท่าตัวตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากวิชัยลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่มากนัก มีแค่บริษัท แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND แต่ถ้าธุรกิจที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ วิชัยยอมรับว่ามีอยู่หลายโครงการทั้งหมู่บ้าน และคอนโด

โดยแผนการปั้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ยังยึดโมเดล consolidate คือต้องเติบโตแบบควบรวมเพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นจุดหลักเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ

ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเขามีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท ซึ่งเขามองว่ายังไม่เพียงพอ ต้องทำให้ถึงระดับ 1 หมื่นล้านบาท

“ธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ในประเภทที่มีคนสนใจลงทุนมาก มาร์เกตแคปจึงไม่ควรต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพราะไซส์มันจะใหญ่พอสำหรับให้กองทุนต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศมีความมั่นใจเข้ามาลงทุน โดยกลุ่มนักลงทุนต่างชาตินี้ก็จะทำให้มูลค่าของหุ้นเราสูงขึ้น เพราะมีประสบการณ์จากตลาดหุ้นทั่วโลก อย่างมูลค่าที่เขาให้สิงคโปร์ซึ่งสูงกว่าเมืองไทยมาก ดังนั้นจึงมีช่องที่จะเติบโตได้อยู่ แต่เราต้องสร้างมาร์เกตแคปขึ้นไป”

เตรียมโดดเล่น “ลอจิสติกส์” ท่อส่งน้ำมัน

อย่างไรก็ดี นโยบายภาครัฐไม่ได้มีเพียงหนึ่ง นโยบายที่วิชัยกำลังมองเห็นว่าเป็นดาวรุ่ง และคิดใหญ่กว่าธุรกิจที่เขาดำเนินอยู่ในขณะนี้ คือ นโยบายลอจิสติกส์

ลอจิสติกส์ จะเป็นภาคธุรกิจใหม่ที่วิชัยอยากจะโดดเข้าไปเล่น!

“ผมสนใจเรื่องลอจิสติกส์มาก ยังไม่ได้ทำ แต่มองว่าเป็นธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอนาคต คิดบัญญัติไตรยางศ์ง่ายๆ ถ้าคิดถึงต้นทุนลอจิสติกส์รวมๆ วันนี้ต้นทุนเราสูงมาก แล้วส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงด้วย ทั้งที่เราเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว เราสามารถทำให้ลดลงได้ เพราะมีเทคนิค อย่าง เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่รวมเอาลอจิสติกส์รวมกับสินค้าคอนซูเมอร์ ตั้งบริษัท เบอร์ลี ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ (BJC Logistics)เข้าดำเนินการ หรือทาง CP (ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ) ที่ใช้ CP retail รวมกับลอจิสติกส์”

ทุกวันนี้แต่ละธุรกิจมีลอจิสติกส์ของตัวเอง ถ้าเอามารวมกัน ต้นทุนลอจิสติกส์จะลดลงอย่างมาก ยิ่งต้นทุนต่ำลงเท่าไร ความสามารถในการแข่งขันก็จะสูงขึ้นมาก

ดังนั้น การร่วมมือระหว่างธุรกิจ โดยมีบริษัทเป็นแกนกลาง เป็น holding company เข้ามาจัดการด้านลอจิสติกส์ของประเทศ เป็นเรื่องที่ควรจะทำเป็นอย่างมาก

“และผมไม่ได้มองเล็กๆ holding company นี้จะต้องทำในระดับภูมิภาค คือเชื่อมลอจิสติกส์ทั้งภูมิภาคอาเซียนให้ได้ จะมีประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งได้มาก”

วิชัยยอมรับว่า วันนี้มีบริษัทที่มาติดต่อขอให้ วิชัย ทำลอจิสติกส์ในเรื่องท่อขนส่งน้ำมันแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ

วันใดที่ “วิชัย” มือ “turn around” ลงไปเล่นธุรกิจลอจิสติกส์เต็มตัวเมื่อไร คอยจับตาอันดับเศรษฐีของ “วิชัย ทองแตง” ที่จะขยับขึ้นมาเป็นชั้นแนวหน้าของประเทศไทยมากขึ้นไปอีกแน่นอน

เพียงแต่ งานยากของ “วิชัย ทองแตง” มีประการเดียว คือจะพิสูจน์ตัวเองหนีภาพลักษณ์ “นอมินี” ตระกูลชินวัตร ได้พ้นหรือไม่?
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 308

โพสต์

ข่าวตัดมาเก็บ(2)ครับ
pakapong_u เขียน:ทายาท 'เคซีอี' แฟน 'อั้ม-พัชราภา' เปิดแผน 'เทิร์นอะราวด์'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (Th)

Monday, September 03, 2012 02:30
25877 XTHAI XFRONT XGEN V%NETNEWS P%WNO

ทายาทหนุ่ม..เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ 'แอมป์' พิธาน องค์โฆษิต เปิดแผน 'เทิร์นอะราวด์' ธุรกิจหลายพันล้านของครอบครัว ตั้งเป้า "แรงง..ๆๆ" ไม่แพ้จีบสาว 'อั้ม-พัชราภา' ภายใน 3-5 ปี รายได้กระฉูดปีละ 25%
--> เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งเป็นข่าวใหญ่บนหน้าหนังสือพิมพ์บันเทิงหลายฉบับ “แอมป์” พิธาน องค์โฆษิต รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ ลูกชายคนที่ 2 ของ "เสี่ยบัญชา องค์โฆษิต" ส่งดอกไม้ปริศนาให้สาวไฟแรงสูง “อั้ม” พัชราภา ไชยเชื้อ นางเอกวิก 7 สี ข่าวซุบซิบดาราการันตี "หนุ่มแอมป์" กับ "สาวอั้ม" ไฟฟ้าหัวใจสปาร์คแผล็บๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว!!
ล่าสุดเพิ่งเปิดแถลงข่าวใหญ่แต่ไม่ใช่ "กิจการหัวใจ" เป็นกิจการของ "ป๊ะป๋า" มูลค่า "หลายพันล้านบาท" ที่ถูก "น้ำ" เมื่อปีที่แล้วพัดเอา "ความมั่งคั่ง" หายไปเยอะมาก คราวที่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค เจอน้ำท่วมเต็มๆ บวกกับพิษหนี้ยุโรปซ้ำดาบสอง มาคราวนี้หนุ่มแอมป์ แรงง..ๆๆ ไม่แพ้จีบสาวอั้ม ประกาศแผน "เทิร์นอะราวด์” สุดท้าทาย! หลังเก็บตัวเงียบอยู่บนชั้น 21 อาคารว่องวานิช ถ.พระราม 9 นานเป็นปี "บริษัทพีอาร์" ถึงกับโทรศัพท์มาย้ำกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถึง 2 รอบ "ส่งนักข่าวมารึเปล่าคะ!!!" “ปี 2556 ผลประกอบการและราคาหุ้น KCE จะกลับมา “เทิร์นอะราวด์” หลังอยู่ในยุคตกต่ำมานานกว่า 1 ปี” ประโยคสั้นๆ ของ “แอมป์” พิธาน ทายาทที่ถูกวางตัวขึ้นมาดูแลธุรกิจของครอบครัวองค์โฆษิตรุ่นต่อไป
งาน Group Interview ที่จั่วหัวหรู “ผ่ากลยุทธ์ KCE ครึ่งปีหลัง 2555” ไม่ได้มีเพียงนักข่าวสายหุ้นเท่านั้น แต่ยังมีนักข่าวสายบันเทิงมารอสัมภาษณ์ชนิดแน่นห้องประชุม อยากรู้กิจการหัวใจระหว่าง "แอมป์" กับ "อั้ม" วันนี้มีมูลค่าเท่าไรแล้ว
ย้อนประวัติทายาทหนุ่ม KCE รายนี้ จบปริญญาโทจาก Johnson Graduate School of Management มหาวิทยาลัยคอร์เนล เรียนรู้งานในเคซีอีตั้งแต่ปี 2548 หนุ่มแอมป์เคยเล่าให้ "บิซวีค" ฟังเมื่อ 2 ปีก่อนว่า เขาเป็นคนเสนอตัวขอพ่อเข้ามาทำงานในเคซีอีเอง เพราะเห็นว่าพี่ชายคนโต อรรถสิทธิ์ องค์โฆษิต มีความถนัดงานทางด้านคอมพิวเตอร์มากกว่างานบริหาร ส่วนน้องสาวคนสุดท้อง ชุตินาถ องค์โฆษิต ก็ชอบเรื่องโปรแกรมมากกว่างานเอกสาร
ล่าสุดพิธานเล่าแผนธุรกิจในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า (2556-2560) ให้ "บิซวีค" ฟังด้วยน้ำเสียงมั่นใจสุดขีด...ผมจะพยายามผลักดันตัวเลขรายได้ให้ขยายตัวปีละ 25% จากปกติที่เติบโตได้ปีละประมาณ 10-15% หากไม่มีอะไรผิดพลาด ตั้งแต่ปี 2556 ได้เห็นแน่นอน!!!
"ตอนแรกที่ผมเคยบอกว่าปีหน้าจะขยายตัวเพียง 10-15% นั่นเป็นเพราะผมยัง “กั๊ก” เรื่องดีๆ ไว้อีกนิดหน่อย (หัวเราะ) ข่าวดีชิ้นนั้นคือ ผมมีแผนจะบุกตลาดประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่าเป็นตลาดใหม่ “กิ๊ก” ตอนนี้เราได้จับมือกับพันธมิตรเข้าไปตั้งสำนักงานในประเทศญี่ปุ่นแล้ว" เขาเปิดเผย
ในปี 2555 ญี่ปุ่นสร้างยอดขายให้เคซีอีเพียง 1% โดยเขาเชื่อว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า จะมีรายได้จากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 10% ถึงวันนี้โครงสร้างรายได้ของเคซีอีจะเปลี่ยนแปลงไปทันที โดยรายได้จากแถบเอเชียจะทะยานขึ้นเป็น 45% จากระดับปกติ 27-28% ส่วนรายได้จากแถบยุโรปจะลดเหนือ 40% จากเดิม 60% และรายได้จากสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ 20-25% เพิ่มจากระดับปกติอยู่ที่กว่า 10%
“เราจะพยายามดึงลูกค้ารายใหญ่ที่ติดท็อป 10 ทั้งในประเทศและต่างประเทศของอุตสาหกรรมยานยนต์มาเป็นลูกค้าเราให้ได้ อย่างตอนนี้ตั้งใจจะดึง DENSO, DELPHI และ VISTEON ถ้าเราทำได้จริง เท่ากับว่าเราจะมีลูกค้ารายใหญ่อยู่ในมือเพียบ ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์โลกมีขนาดใหญ่มากมีเงินทุนหมุนเวียนกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และสร้างรายได้กว่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐให้กับผู้ผลิตใน 26 ประเทศทั่วโลก”
แอมป์เล่าต่อว่า ข่าวดีชิ้นที่ 2 ได้พูดในงานแถลงข่าวไปบ้างแล้ว นั่นคือ เราจะเปิดโรงงานแห่งใหม่บนพื้นที่ 20 ไร่ มูลค่าลงทุน 2,800 ล้านบาท เดิมตั้งใจจะเปิดปลายปี 2554 แต่เมื่อเจอน้ำท่วมก็ต้องหยุดไว้ชั่วคราว เคซีอีตั้งใจจะเปิดโรงงานให้ได้ 3 เฟส หากทำได้จริงบริษัทจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้านตารางฟุตต่อเดือน เป็นประมาณ 4 ล้านตารางฟุตต่อเดือน ตอนนี้กำลังตัดสินใจว่าจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 เฟส หรือ 3 เฟส
แต่ที่แน่ๆ เฟสแรก กำลังการผลิต 700,000 ตารางฟุตต่อเดือน จะเริ่มก่อสร้างในปี 2556 แน่นอน หากไม่มีอะไรผิดพลาดภายในไตรมาสแรกของปี 2556 จะได้ข้อสรุปทั้งหมด เบื้องต้นอาจกู้เงินจากธนาคาร 80% อีก 20% มาจากกระแสเงินสดหมุนเวียน
เขาบอกว่า ตอนนี้ต้องคิดถึงความคุ้มค่าเป็นหลัก เมื่อก่อนไม่คิดเยอะอย่างนี้นะ (หัวเราะ) ในอดีตบริษัทเคยใช้เงินมือเติบ แต่ตอนนี้เปลี่ยนความคิดใหม่เราไม่อยากกลับไปเหนื่อยเหมือนเดิมอีก บอกตรงนี้เลยโรงงานแห่งใหม่ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลงมาก แต่จะลดลงเท่าไรยังบอกไม่ได้ เมื่อช่วงน้ำท่วมกรุงเทพ ตนเองกับคุณพ่อ แอบบินไปดูโรงงานที่ไต้หวัน 3 รอบ ทำให้มีแนวความคิดจะดีไซน์ระบบของโรงงานใหม่
ส่วน ข่าวดีชิ้นที่ 3 ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไปแล้วว่าบริษัทจะเทคโอเวอร์ บริษัท เคม โทรนิคส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ผู้ประกอบการหมึกพิมพ์ลายแผงวงจรไฟฟ้า และน้ำยาเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าเงินลงทุน 240 ล้านบาท ดีลนี้จะจบภายในเดือนกันยายนนี้ ที่ผ่านมาเราซื้อน้ำยาเคมีจากเขามาผลิต และเขาก็ซื้อเศษเคมีจากเรากลับไปรีไซเคิลเพื่อทำเคมีใหม่มาขายเรา ข้อดีของการเทคโอเวอร์บริษัทดังกล่าวคือ ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญจะช่วยให้อัตรากำไรสุทธิของเราดีขึ้น
ทายาทหนุ่มเคซีอี ถือโอกาสระบายความในใจให้ฟังว่า ตอนน้ำท่วมปลายปี 2554 ทำให้เคซีอีพลาดเป้าหมายหลายๆ อย่าง วันนั้นก็ทำได้แค่ “ก้มหน้ายอมรับความจริง” และรีบแก้ไข วันนี้เรา "กลับมาแล้ว" (น้ำเสียงสดใส) หลังปรับรูปแบบการทำงานในโรงงานเพื่อลดต้นทุน และอัตราของเสีย
"ถ้ามองราคาหุ้น KCE ที่วิ่งอยู่ราวๆ 7.25 บาท ถือว่า "ต่ำมาก" เมื่อเทียบกับค่า P/E ที่อยู่ระดับ 15.70 เท่า ผมเชื่อว่าหากนักลงทุนมั่นใจในแผนธุรกิจของเรา ราคาหุ้นยังไปได้ไกลกว่านี้ ตัวผมเองหากมีโอกาสและจังหวะก็ซื้อหุ้น KCE เพิ่มตลอด จำได้ตอนปี 2553 ผมเคยบอกคุณว่าผมมีหุ้นแค่ 2-3% เป้าหมายคือ 5% ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงแล้วนะ"
เป้าหมายของเคซีอี ผู้บริหารหนุ่ม บอกว่า อยากสร้างบริษัทให้มีระบบรัดกุมเหมือน บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส ยอมรับว่าผู้บริหาร HANA มีวิสัยทัศน์ที่ดีมาก ครั้งหนึ่งเคยมีโอกาสได้พูดคุยกับเขา รู้เลยเขาเก่งจริงยกนิ้วให้
แฟนหนุ่มดาราดัง กล่าวทิ้งท้ายว่า ให้จับตาในปี 2556 รายได้และกำไรของเคซีอีจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะมีกำไรสุทธิไตรมาสละกว่า 215 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 7-8% เราทำได้แน่นอน!!
ก่อนหน้านี้ "แอมป์" พิธาน องค์โฆษิต ทายาทพันล้านเคซีอี ก็ยังไม่แรงง..ๆๆ ถึงขนาดนี้ หลังมาเชื่อมไฟฟ้าหัวใจเข้ากับ "อั้ม-พัชราภา" ดาราไฟแรงสูง..กลายเป็น "หนุ่มแอมป์คนใหม่" ไปในบัดดล!!!

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 309

โพสต์

การล้างขาดทุนสะสม เพื่อการจ่ายปันผล...เป็น ท่าไม้ตายสุดยอด ของหุ้นประเภท Turnaround
ดังนี้ ทุกๆบริษัทฯนี้ ควรเป็นกรณีให้เราศึกษานะครับ
นี่เป็นอีกตัวอย่างนึง ที่ผมขอตัดมาเก็บ (เป็นการวิเคราะห์ของคุณ luck me) นะครับ

==========================================================
AKR : ข่าวล้างขาดทุนสะสมหมด

********************
หนังสือพิมพ์ "ทันหุ้น"

AKRล้างขาดทุนหมดเกลี้ยงพลิกกำไร-เทคนิคทะลุ1.10บ.
AKR ฟุ้งไตรมาส 3/2555 ล้างขาดทุนสะสมเกลี้ยง หลังแผนลดพาร์เหลือ 0.80 บาทจบสิ้นเดือนนี้ ผู้บริหาร "ดนุชา น้อยใจบุญ" ลั่นผลงานพลิกกำไรทันที ส่วนทั้งปีรายได้วิ่งตามเป้า 20% แถมข่าวดีจ่ายปันผลเอาใจผู้ถือหุ้นอีกครั้ง พร้อมเร่งเจรจาพันธมิตรใหม่ด้านเทคนิคฉายแววโดดเด่นทะลุ 1.10 บาท
********************

^
^
สิ้นสุด 30/6/2555 สัดส่วนผู้ถือหุ้นมี

(๑) ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว : 750,173,640 หน่วยๆละ 1.00 (พาร์)
(๒) ส่วนเกินมูลค่าหุ้น : 296.58 ล้านบาท
(๓) ขาดทุนสะสม : -852.88 ล้านบาท

akr สามารถนำ "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 296.58 ล้านบาท" มาลดขาดทุนสะสม -852.88 ล้านบาท เหลือ -556.30 ล้านบาท

ในการลดพาร์เหลือ 0.80 บาท จะได้เงิน = 750.173640*0.20 = 150.03 ล้านบาทไม่เพียงพอที่จะล้างขาดทุนสะสม -556.30 ล้านบาท ได้ ในการที่ ผบห ออกมาให้ข่าวว่าสามารถล้างได้หมดเกลี่้ยง ต้องมีอะไรในก่อใผ่ ถ้าเป็นจริงน่าสามารถจบดีลขายบริษัทลููกได้ ปลดภาระหนักอึ้งออก ได้เงินมาช่วยล้างขาดทุนสะสม

ถ้าต้องการรู้ความจริงลองสอบถามผู้บริหาร หรือ ฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ Telephone 0-2719-8777 ได้เรื่องอย่างไรช่วยมาตั้งกระทู้ให้รับรู้ด้วย

ด้วยความปรารถนาดี

จากคุณ : luck me
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 310

โพสต์

^
^
กรณี AKR มีความเห็นที่น่าสนใจ จากคุณ romporn คือ...
v
v
จ่ายปันผลจาก "งบเฉพาะกิจการครับ" ถ้างบการเงินเฉพาะกิจการเป็นไม่มี "ขาดทุนสะสม" ก็จ่ายปันผลได้

ข้อมูลจากเว็ปของตลาดหลักทรัพย์(http://www.set.or.th/set/companyprofile ... country=TH) เขาว่า

"นโยบายเงินปันผล

ประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ (ตามงบการเงินเฉพาะกิจการ) หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและสำรองตามกฎหมายในแต่ละปี (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)"

จากคุณ : romporn
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
wigraipat
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 311

โพสต์

ขอบคุณคับคุณpak
Laziale
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2147
ผู้ติดตาม: 3

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 312

โพสต์

pak เขียน:^
^
กรณี AKR มีความเห็นที่น่าสนใจ จากคุณ romporn คือ...
v
v
จ่ายปันผลจาก "งบเฉพาะกิจการครับ" ถ้างบการเงินเฉพาะกิจการเป็นไม่มี "ขาดทุนสะสม" ก็จ่ายปันผลได้

ข้อมูลจากเว็ปของตลาดหลักทรัพย์(http://www.set.or.th/set/companyprofile ... country=TH) เขาว่า

"นโยบายเงินปันผล

ประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ (ตามงบการเงินเฉพาะกิจการ) หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและสำรองตามกฎหมายในแต่ละปี (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)"

จากคุณ : romporn
จ่ายปันผลได้จากงบเดี่ยวหากไม่มีขาดทุนสะสมจริงครับ ว่าแต่เจ้าหนี้จะยอมหรือป่าวเพราะยังไงแม่ก็ต้องจ่ายแทนลูกอยู่แล้วด้วยครับ :mrgreen:
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 313

โพสต์

กรณีศึกษา การลดพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสม : NMG
NMG : บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ที่ http://hoonyai.com/index.php?topic=1482 ... ;topicseen
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 314

โพสต์

เหลือน้อยลงทุกทีนะครับสำหรับหุ้น Turnaround

1) Focus ก็ไปเริ่มออกตัวแรงปรี๊ดไปแล้ว
แต่ Story ยังคงเหลือให้รายใหญ่เล่น กล่าวคือ...
โครงการใหม่ที่รัตนาธิเบต และเพลินจิต, โอกาสที่อาจจะได้รับงานสร้างโรงไฟฟ้าฯจากอมตะบีกริม
และหมากปิดเกมส์สุดท้ายคือ ล้างขาดทุนสะสม และประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรก

2) BLAND ก็ออกตัวแบบของจริงมาครู่ใหญ่ๆแล้ว
วิ่งออกตัวพร้อมเรือพ่วง BLAND-W2 และ BLAND-W3

3) NIPPON น้องใหม่ที่เพิ่งจะมี Big Story คือ
"ฟู้ดแลนด์ฯจ่อเข้าตลท. แบ็กดอร์NIPPON"
ที่ http://www.kaohoon.com/daily/23882/%E0% ... CB9F8C5535

สรุปว่า ใน Set เกือบจะ 1,300 จุดแบบนี้
หุ้น Turnaround ยิ่งเหลือน้อย และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกที
ยังไงก็ตาม โอกาสยังคงมีเสมอครับ

pak ThaiVI
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
wigraipat
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 315

โพสต์

แล้วcolorคุณpakคิดว่าไงคับ
David TON
Verified User
โพสต์: 1047
ผู้ติดตาม: 1

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 316

โพสต์

ตอนนี้ที่คิดออกและเห็นเด่นๆ ขอส่ง INOX ให้ช่วยวิเคราะห์ครับ
เลือกเด็กที่เรียนดี แล้วให้เค้าพาเราไป
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 317

โพสต์

“ผ่าแผน Turnaround LVT”
ทันหุ้น, 17 ตุลาคม 2555

บริษัท แอล.วี.เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ LVT ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจด้านการให้บริการวิศวกรรมทั้งในและต่างประเทศ ได้เริ่มต้นดำเนินยุทธศาสตร์ใหม่ อันเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีผลการดำเนินงาน พลิกจากขาดทุนในช่วงสองปีที่ผ่านมา กลับมามีกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผู้ก่อตั้งบริษัทและกรรมการผู้จัดการ LVT นายแฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น แถลงต่อผู้สื่อข่าววันนี้ (17 ต.ค.) ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของยุทธศาสตร์ใหม่ในครั้งนี้ประกอบด้วยการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การบันทึกรายได้ที่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งจะ ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น และสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตระยะยาว

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การพลิกฟื้นบริษัทมีความคืบหน้าอย่างชัดเจน บริษัทตั้งเป้าที่จะขายเงินลงทุนบางส่วนในต่างประเทศ โดยเฉพาะโครงการร่วมทุนในประเทศอินเดียภายใต้การดำเนินงานของบริษัท “LNVT” ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2545 และดำเนินธุรกิจคล้ายกับ LVT คือให้บริการด้านวิศวกรรมแก่ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศอินเดียและประเทศใกล้เคียง อาทิ ประเทศศรีลังกา และเนปาล โดย “LNVT” มีผลการดำเนินงานกำไรอย่างต่อเนื่องโดยตลอด บริษัทฯ ถือหุ้นใน “LNVT” จำนวน 49% และจะขายหุ้นที่ถืออยู่จำนวน 25% ให้แก่นักลงทุนจากประเทศจีน โดยคาดว่าจะสร้างรายได้พิเศษเป็นมูลค่าประมาณ 180 ล้านบาท และจะบันทึกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

นายแฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความมั่นใจว่ากระบวนการพลิกฟื้นของบริษัท มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจอันเป็นผลสืบเนื่องจากการควบคุมต้นทุนและการตรวจสอบภายใน ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการบริหารงานภายในองค์กรจะได้ผลเต็มที่ บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่มีชื่อเสียงของโลกเข้ามากำกับดูแล ด้านการตรวจสอบภายใน และได้ว่าจ้างบริษัทตรวจสอบบัญชีที่น่าเชื่อถืออีกแห่งหนึ่งคือ บริษัท KPMG เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท

ทั้งนี้ ระบบการบันทึกรายได้ที่สม่ำเสมอและมีความต่อเนื่องในปัจจุบันจะป้องกันไม่ให้สถานะทางการเงินของบริษัทมีความผันผวนมากดั่งเช่นในอดีตที่ผ่านมา โดยฐานะทางการเงินของบริษัทพลิกจากกำไรสุทธิจำนวน 221.9 ล้านบาท ในปี 2551 และกำไรสุทธิจำนวน 144 ล้านบาทในปี 2552 มาเป็นขาดทุนสุทธิจำนวน 239 ล้านบาทในปี 2553 และขาดทุนสุทธิจำนวน 23.8 ล้านบาท ในปี 2554 สำหรับผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ของปีนี้บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 93.4 ล้านบาท

นายแฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น เชื่อว่าฐานะทางการเงินของ LVT ในปัจจุบันมีพัฒนาการดีขึ้นจากในอดีต โดยบริษัทได้สะสมมูลค่างานในมือ (Backlog) ประมาณ 2,500 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3,200 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ จากมูลค่างานสะสมทั้งหมดนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถบันทึกรายได้จริงเป็นเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ภายในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีนี้

รายได้ที่จะบันทึกจำนวนนี้คาดว่าส่วนใหญ่จะมาจากโครงการสำคัญจำนวน 2 โครงการ ในประเทศบราซิลซึ่งประกอบด้วยโครงการ Apodi และ Elizabeth โดยทั้ง 2 โครงการนี้ มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ และสามารถควบคุมต้นทุนตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากระบบการควบคุมภายในขององค์กรที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าในอดีต การจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรสำหรับทั้ง 2 โครงการนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ และบริษัทในขณะนี้กำลังเจรจาที่จะรับงานโครงการใหม่อีก 1 โครงการในประเทศบราซิล

ธุรกิจ LVT ในประเทศบราซิลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธุรกิจมากกว่า 10 ประเทศในหลายภูมิภาคทั่วโลก อาทิ ในประเทศมาเลเซีย และพม่า ในทวีปเอเชีย, ประเทศซาอุดิอาระเบีย และเยเมนในตะวันออกกลาง, ประเทศโมซัมบิกในทวีปแอฟริกา ตลอดจนประเทศประเทศฮอนดูรัส และโดมินิกัน รีพลับบลิกในลาติน-อเมริกา ธุรกิจของบริษัทในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยบริการด้านวิศวกรรม การจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงาน ตลอดจนการสนับสนุนโครงการร่วมทุนต่างๆ

นายแฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น กล่าวว่า ฐานะทางการเงินในปัจจุบันของบริษัทดีขึ้นกว่าในอดีต เป็นอย่างมาก อันเป็นผลสืบเนื่องจากการบริหารจัดการที่รัดกุม และระบบการควบคุมภายใน ที่มีประสิทธิภาพ และฐานะปัจจุบันนี้เพียงพอที่จะสนับสนุน Backlog มูลค่ามากกว่า 4,000 ล้านบาท

“และเพื่อเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของผมในอันที่จะพัฒนาบริษัทให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ผมได้นำหุ้นส่วนตัวของผมไปจำนองไว้กับธนาคาร เพื่อจะได้วงเงินอย่างเพียงพอในการเปิด L/C” เขากล่าวเสริมเขากล่าวเพิ่มเติมว่า หากจะดำเนินธุรกิจต่อไปในภาวะปกติ ก็ยังคงไม่มีความจำเป็นในการเพิ่มทุนแต่ประการใด

“แต่ในฐานะที่ผมต้องรับผิดชอบต่อการเพิ่มพูนความมั่งคั่งและผลกำไรของบริษัทในอนาคตระยะยาว ผมจึงตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญ เพื่อเตรียมการสำหรับการพัฒนาก้าวต่อไปของ LVT” นายแฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น กล่าว

บริษัทได้กำหนดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 เพื่อขออนุมัติการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 396,692,350 หุ้น โดยแบ่งเป็นเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง (PP) จำนวนไม่เกิน 51 ล้านหุ้น และจัดสรรหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 345,692,350 หุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วน 3 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ที่ราคา 1.25 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ เพื่อนำเงินเพิ่มทุนส่วนนี้ไปลงทุนร่วมกับบริษัท Max Manufacturing ในประเทศพม่า เพื่อผลิตปูนซิเมนต์จากโรงงาน 2 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองเนปิดอร์ อันเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่าผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท MAX คือนาย U Zaw Zaw ซึ่งเป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าในประเทศพม่าและมีเครือข่ายธุรกิจครอบคลุมกิจการด้านต่างๆ ทั้งด้านการค้า การธนาคาร และอุตสาหกรรม

นายแฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น กล่าวสรุปว่า การลงทุนร่วมกับกลุ่มบริษัท MAX ในประเทศพม่าในครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ LVT เพราะบริษัทจะสามารถสร้างทรัพย์สินใหม่ที่มีคุณค่าและสามารถให้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเขาเชื่อมั่นว่าโครงการลงทุนร่วมระหว่าง LVT และกลุ่มบริษัท MAX มีศักยภาพสูงพอที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมซีเมนต์ในประเทศพม่าให้ยิ่งใหญ่อย่างเช่นความประสบผลสำเร็จของเครือปูนซีเมนต์ไทยในประเทศไทย

“ผมถือว่าการลงทุนร่วมในครั้งนี้เป็นก้าวย่างที่สำคัญ เพื่อวางรากฐานสำหรับการเจริญเติบโตของบริษัทในระยะยาว และหวังว่าการเพิ่มทุนเพื่อการนี้จะได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นด้วยดี” นายแฮนส์ จอร์แกน เนียลเซ่น กล่าว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 318

โพสต์

BMCL ลุ้นล้างขาดทุนสะสม หลังคาดรายได้ทะลุ 1.8 พันล.

นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้า กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนล้างขาดทุนสะสมที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันกำลังประมาณการรายได้และตัวเลขทางบัญชีใหม่ เพราะปริมาณผู้โดยสารได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากเมื่อก่อน รวมทั้งยังอยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาทางการเงินพิจารณาถึงแผนล้างขาดทุนสะสมอยู่ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก

สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัท ในปีนี้ คาดว่ารายได้จะเติบโตจากปีก่อนที่มีรายได้ 1.8 พันล้านบาท เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 20% โดยมีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 2.5-2.6 แสนคนต่อวัน จากปีก่อนที่มีปริมาณผู้โดยสารเฉลี...่ยประมาณ 1.8-1.9 แสนคนต่อวัน ซึ่งสาเหตุที่ปริมาณผู้โดยสารปรับเพิ่มขึ้น เพราะได้รับผลดีจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่งที่เปิดให้บริการใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า ทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และยังได้รับผลบวกจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งส่งผลให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT มากขึ้น และยังรวมถึงที่พักอาศัยตามแนวเส้นรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีปริมาณมากขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่ตามสถานีให้บริการ โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดจ้างบริษัทผู้รับทำโฆษณาขนาดกลาง เพื่อทำการตลาดในการหารายได้ให้เพิ่มขึ้น จากการพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตามสถานีบริการ โดยในเร็วๆ นี้จะเปิดตัวผู้ที่เข้ามาบริหารดูแลในส่วนของงานดังกล่าว

นอกจากนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการที่คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เข้าทำสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 4 มูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะดำเนินการเสนอเรื่องให้ ครม. พิจารณารายละเอียดของโครงการดังกล่าวได้ในเร็วๆ นี้ เพื่อให้บริษัทสามารถเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้ต่อไป

“โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง รายละเอียดได้เจรจากับ รฟม.เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว เหลือเพียงให้ ครม.ลงนามเท่านั้น ก็หวังว่า รฟม.จะเสนอ ครม.ได้ในไม่ช้านี้” นายชัยวัฒน์ กล่าว

อนึ่ง ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท BMCL ได้มีมติให้บริษัทเข้าทำสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 4 สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถ และซ่อมบำรุงรักษา (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) (สัญญา สัมปทาน) กับรฟม.ซึ่งมีอายุของสัญญารวม 30 ปีนับแต่วันที่ลงนามในสัญญา และมีมูลค่าของโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 80,365 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 76

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 319

โพสต์

กำลังดูตัวหนึ่งอยู่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ยังไม่ turn ใน1-2ปี. แต่ระยะยาวน่าจะเป็นพญาหงส์ที่สวยงาม
;)
:)
mood
Verified User
โพสต์: 151
ผู้ติดตาม: 0

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 320

โพสต์

หุ้น turn around ที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน?? น่าสนใจจัง ตัวอะไรครับ ขอเอาไปศึกษาต่อมั่ง ขอบคุณล่วงหน้าคับ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 321

โพสต์

pak เขียน:“ผ่าแผน Turnaround LVT”
ทันหุ้น, 17 ตุลาคม 2555

...บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่มีชื่อเสียงของโลกเข้ามากำกับดูแล ด้านการตรวจสอบภายใน และได้ว่าจ้างบริษัทตรวจสอบบัญชีที่น่าเชื่อถืออีกแห่งหนึ่งคือ บริษัท KPMG เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท
^
^
^
ประโยคนี้ ถือเป็น "Turnaround Point" ที่สำคัญของหุ้น Turnaround อีกข้อหนึ่งเลยนะครับ
เพราะบริษัทฯที่มีความมั่นใจในการฟื้นตัว มักจะปรับภาพลักษณ์ของบริษัทฯ ด้วยการว่างจ้าง
บริษัทฯที่ปรึกษา หรือผู้สอบบัญชีฯ ที่ได้รับการยอมรับและเป็นสากล เช่น บริษัทฯ BIG4 อ่ะนะครับ

*** อันนี้เป็นเพียงข้อสังเกตของผมอ่ะนะขอรับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 322

โพสต์

เปิดประเด็นใหม่ส่งท้ายปลายปี 2555
กับกระทู้ชื่อ "### เชิญวิจารณ์...หุ้นในพอร์ตของฉัน ###"
ที่ http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 00368.html

ก่อนที่เราจะผ่านไปสู่ปีใหม่ 2556
หุ้น Turnaround เราก็มีเพียง "เวลา" และ "ศรัทธา" เป็นเพื่อนสนิท เท่านั้นเองครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 323

โพสต์

I12900368-0.png
BMCL - บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ = N.A.
ผลตอบแทนเงินปันผล = 0.00%
กำไรต่อหุ้น (บาท) = -0.05
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) = 0.0
ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี = 6.26
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) = 8,126.00
จำนวนหุ้นจดทะเบียน = 11,950,000,000


My Comment :

ตัวนี้แทบไม่ค่อยได้ดูงบเลยครับ
แต่เนื่องจากตัวเองต้องใช้รถไฟฟ้าใต้ดินไปกลับที่ทำงานเกือบทุกวัน
เอ่อ...เช้าๆคนมันแน่นมากๆเลยนะครับ
ต้องรอรถไฟถึง 3 - 5 ขบวน กว่าจะได้ขึ้น ต้องรอต่อคิวยาวมากๆ!!!
(ถ้าเราจะเข้าเมืองอ่ะนะครับ)

แถมพอได้ขึ้น ก็ถูกเบียดหยั่งกับปลากระป๋อง
เหมือนเป็นน้องๆคลิปของรถไฟฟ้าจีนเลยอ่ะนะครับ
ด้วยความแปลกใจ เลยจัดหุ้นเอาไว้เพื่อศึกษาเพียงเล็กน้อยครับผม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 324

โพสต์

LVT - บริษัท แอล.วี.เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ = N.A.
ผลตอบแทนเงินปันผล = 0.00%
กำไรต่อหุ้น (บาท) = -0.19
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) = 0.0
ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี = 1.24
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) = 705.21
จำนวนหุ้นจดทะเบียน = 518,538,524


My Comment :
LVT หุ้น Turnaround พิมพ์นิยม ขวัญใจชาววีไอหลายๆท่าน
ด้วยดีกรี มี Celeb เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่
แต่เราต้องไม่ลืมว่า นั่นอาจะเป็นเพียงเงินก้อนเล็กๆของท่านก็ได้!!!

ด้วยข้อได้เปรียบ เป็นหุ้นขนาดเล็ก Market Cap. เพียง 700 ล้านบาท
จึงใช้เงินไม่มาก ในการจะเข้าเป็น ผถห.รายใหญ่ ได้ (ตามสไตล์ของผมเอง)
แต่ผมมีเยอะไหม ตอบว่า ไม่เยอะครับ!!!
เพราะ ไม่มีเงินซื้อครับ (ฮา...)

บริษัทฯนี้ มีงบการเงินที่เรียกว่า "สวยงาม" ทีเดียว
พร้อมจะสามารถสร้าง Big Story ในการประกาศจ่ายปันผลได้ทุกเวลา
ขอเพียงแสดง ความสามารถในการทำกำไรออกมาให้ได้เท่านั้น
เพราะมีส่วนเกินมูลค่าหุ้นและกำไรสะสมอยู่อย่างเหมาะสม

ตอนนี้ทุกอย่างก็พุ่งไปที่ ทวาย และการเปิดขุมทรัพย์ของประเทศพม่า
LVT ไปด้วยครับ
แถมไปจับมือกับผู้ที่กว้างขวางในพม่าเสียด้วย
จับมือเพื่อทำโรงปูนฯ เพื่อรองรับความต้องการอย่างมหาศาลในการพัฒนาประเทศ

จึงต้องจัดหุ้นเอาไว้ศึกษา และเข้าประชุมครับ
เผื่อเจอ Celeb อ่ะนะ ^ ^
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 325

โพสต์

MTI - บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ = N.A.
ผลตอบแทนเงินปันผล = 1.01%
กำไรต่อหุ้น (บาท) = -10.69
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) = 0.75
ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี = 1.38
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) = 4,395.50
จำนวนหุ้นจดทะเบียน = 59,000,000



My Comment :
เกิดมาไม่เคยคิดว่า จะมีหุ้นบริษัทฯประกัน จะตกมาถึงมือ "นักลงทุนหุ้น Turnaround" ได้
เพราะมันคือบริษัทฯที่ดีเยี่ยม และมี Business Model ที่เทพมากๆ
แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสให้เราเสมอ

MTI เป็นบริษัทฯที่ทำการตลาดได้เข้าตาผมครับ
ขวัญใจลูกค้ารายย่อย เข้าถึงประชาชนได้เก่ง
จึงเป็นเจ้าของ Database ของลูกค้าที่ผมถือว่าเป็นสินทรัพย์มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับบริษัทฯ

อีกทั้งผมเองมีความเห็นส่วนตัว ว่า...
"เมืองไทยในอนาคต ประกันสุขภาพมาแน่ๆ!!!"
ใครมีฐานข้อมูลลูกค้ามาก ยิ่งได้เปรียบครับ

แถมด้วยดีกรีตระกูล "ล่ำซำ"
นี่ถ้ารวยเมื่อไหร่ มีเงินสัก 25 ล้านบาท
ผมจะมาเป็น ผถห.ใหญ่ที่นี่
...ผมฝันไว้แบบนั้นนะ

คนเราเมื่อมีฝัน ก็ต้องซื้อมาประดับพอร์ตเอาไว้บูชาครับ ^ ^
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 326

โพสต์

SSI - บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ = N.A.
ผลตอบแทนเงินปันผล = 0.00%
กำไรต่อหุ้น (บาท) = -0.43
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) = 0.0
ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี = 0.70
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) = 11,368.76
จำนวนหุ้นจดทะเบียน = 18,336,703,235


My Comment :
ตลาดหุ้นไม่ได้ใช้เหตุผล!!!
...ผมฟันธงไว้แบบนั้น

SSI ได้หุ้นส่วนธุรกิจ(Partnership Agreement) คือ JFE และ Marubeni-Itochu
และมีการขายหุ้น PP ให้ทั้ง 2 บริษัทฯในราคา 0.68 บาท

แต่เนื่องจากยัง "ไม่มีอาการจะเล่น"!!!
นักลงทุนจึงยังไม่สนใจ

แต่กลับกัน หุ้น IPO แพงเท่าไหร่ กรุไม่รู้
รู้แต่ว่า "มันเล่นแน่ๆ"!!!
ดังนั้น กรุเล่นด้วย
นี่แหล่ะครับ นิสัยนักลงทุนไทยมากแบบเรา
ซึ่งบางทีผมนึกสนุกบ้าง ก็เอาด้วยเหมือนกันอ่ะนะขอรับ

SSI ปีนี้ยังขาดทุน
ไว้รอมีกำไร หรือรอเค้าเล่นกันก่อนนะ
ซื้อแพงกว่าหน่อย แต่ไม่ต้องรอ ก็คุ้มกว่า
...เชื่อว่าหลายคนคิดเช่นนั้ครับผม

หุ้นตัวนี้ ผมมีน้อย
แต่ป๋า(คุณพ่อของผม)ท่านชอบและมีเยอะครับ
ผมซื้อไว้ขำๆ เผื่อคุณพ่อให้ไปประชุมเป็นเพื่อนอ่ะนะครับ
อ้อ..ผมเคยคุยผ่าน Fb กับคุณกิติชัย เตชะงามเลิศ ที่ถือหุ้นตัวนี้ไว้มากกว่า 200 ล้านหุ้นด้วยนะครับ
ถือว่า "คอเดียวกัน" ครับผม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 327

โพสต์

TTA - บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ = N.A.
ผลตอบแทนเงินปันผล = 6.41%
กำไรต่อหุ้น (บาท) = -4.40
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) = 0.5
ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี = 0.50
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) = 11,044.87
จำนวนหุ้นจดทะเบียน = 708,004,413


My Comment :
ผมเคยกองเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ กองเรือของโจโฉ ที่บุกมาถล่มจิวยี่ที่ผาแดง
กองเรือนั้นยิ่งใหญ่นัก แต่มีผู้นำทัพคือ โจโฉ

TTA ไม่แตกต่างกันนัก
กับการเพิ่มทุนครั้งยิ่งใหญ่ 1 ต่อ 1 ราคา 14 บาท
"เสี่ยเนสกาแฟ" ประยุทธ มหากิจศิริ ยอมควักกระเป๋าเพิ่มทุน 2,000 ล้านบาท
แต่มี "ข้อแลกเปลี่ยน" ดันลูกชาย "เสี่ยกึ้ง" เฉลิมชัย มหากิจศิริ ขึ้น รักษาการ กรรมการผู้จัดการ "ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส" (UMS)
ซึ่ง "กึ้ง" วันนี้ได้กลายเป็น ผถห.ใหญ่ของ TTA ไปเรียบร้อยแล้ว

แต่เสน่ห์ที่ทำให้นักลงทุนหลายๆคนหันมามอง ก็คือ...
ชื่อของคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่มารับตำแหน่งประธานบอร์ดของบริษัทฯนี้
ถ้าไม่มั่นใจ ถ้าไม่แน่จริง...งานนี้คุณประเสริฐไม่น่าจะกระโดลงมาเล่นเอง

หุ้นต่ำบุ๊ค แต่ออกแนวมีรอบคล้ายๆหุ้น Commodity แห่งนี้
วันหนึ่งอาจจะกลับมาเป็นดาว เพื่อให้คนนั่งดูค่า BDI กันทุกวันก็ได้
...ใครจะรู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 328

โพสต์

TRUE :
จะเรียกว่า "ข่าวลือตัวพ่อ" ก็ไม่ไกลเกินจริงไปนัก สำหรับหุ้นตัวนี้
ผู้บริหารซื้อ, เจ้าของซื้อ...ซัดกันนัวไปหมด
มีเป้าราคาแพร่สะพัดออกมาในห้องค้าฯมากมาย
จนไม่รู้ว่า เป้าจริง หรือ เป้าหลอก

บางที นึกว่าข่าวจริง....อ้าวกลายเป็นจ้าวหลอกเราไปติดดอย
บางที นึกว่าเป็นข่าวลวง...อ้าววว กรุตกรถไฟไปซะงั้น

นอกจากความผันผวนเรื่องราคาแล้ว
ความไม่แน่นอนเรื่อง การประมูล 3G ยังคงเป็นปัจจัยกดดันหุ้นอยู่

แถมด้วยความไม่มั่นคงทางการเมืองอีกนิดๆ
เสอ้ายฯ ประกาศจัดตั้งม็อบที่ไม่ธรรมดา ที่อีกฝ่ายมิอาจจะวางเฉยได้
เฮ้อ...รวยด้วยหุ้นนี่ มันยากจริงหนอ



MBKET :
เค้าเป็น Broke ที่มี Market Share เป็นอันดับ 1
แต่ เอ่อ......
พี่ครับ หุ้นของตัวพี่เองนี่...เป็นหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่องเอาเสียจริงๆนะครับ
ราคาไม่ไปไหนเอาเสียเลย
ซื้อแล้วนั่งหาวไปได้นานทีเดียว

คนซื้อ ก็คงคิดว่าหุ้นไม่แพง
ราคาพาร์อยู่ที่ 5 บาท
และยังมีปันผลสม่ำเสมออยู่ทุกปี ปีละกว่า 8%

ก็พอจะมีเสน่ห์ในท่ามกลางภาวะตลาดกระทิงแบบนี้
MBKET ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่บอกเราว่า หุ้นไม่ได้แพงไปหมดเสียทุกตัวหรอกนะครับ



SNC :
อันนี้ซื้อตาม เซียนใน "ห้องไทวีไอ" อ่ะนะ
เห็นเค้าว่า "ยังไม่แพง" (หลังน้ำท่วม)
คนเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง จริงไหมครับ (ฮา...)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 329

โพสต์

SAM - บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ = 35.13
ผลตอบแทนเงินปันผล = 0.00%
กำไรต่อหุ้น (บาท) = 0.06
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) = 0.0
ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี = 0.55
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) = 1,028.56
จำนวนหุ้นจดทะเบียน = 850,049,200


My Comment :
ตัวนี้ เค้ากำลังแสดง Live Show อ่ะนะครับ
เราเลยต้องตีตั๋วเข้าชมสักหน่อย
ทั้งนี้เนื่องจาก วอแรนต์ของ SAM อยู่ในช่วงกำลังจ่ายเงิน

โดยมีสัดส่วนการแปลงที่ 1:1
ที่ราคาแปลง 1 บาท
จึงถือว่ามี Story และความน่าสนใจอยู่ในตนเอง

เป็นหุ้นต่ำบุ๊คอีกตัวหนึ่งในไม่กี่ตัว
ทุกวันนี้ เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆแล้วครับ
ส่วนตัวนั่งเล็ง ผลประกอบการ Q3 - Q4/55 นี้อย่างตั้งใจ

เพราะเจ้าของเองก็แปลงวอแรนต์เยอะ
ผมเลยอยากรู้ว่า หลังจากได้แปลงเป็นหุ้นแม่กันเยอะๆแล้ว
ข่าว ,ผลประกอบการ และราคาหุ้น จะไปในทิศทางใด

ขอตามไปดูเพื่อความ เพลิดเพลิน และศึกษาเคสไว้ประดับความรู้ ครับผม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$

โพสต์ที่ 330

โพสต์

ส่วน PAE ตัวนี้ พูดไปบ่อยแล้ว จนแทบจะเป็นโลโก้ของผมไปเสียแล้ว 555+
เดี๋ยวคนอ่านจะพลอยเบื่อเอา

แต่ถ้าจะให้ Comment สักนิดก็ได้ครับ ว่า...

เราคงไม่คาดหวังกับงบ Q3/55 นี้นะครับ
ทั้งนี้เพราะ...
1) งานส่วนมากถูกเลื่อนออกไปจาก Q3 ไปเสร็จเอาใน Q4 เกือบทั้งหมด
2) บริษัทฯลงทุนสร้าง Yard ใหม่ที่ S1 ลานกระบือไปจำนวนประมาณ 60 - 80 ล้านบาท!!!
เรามีแต่รายจ่าย โดยยังไม่สามารถรับรู้รายได้ได้เลย!!!

บวกกับ เรายังต้องจ้างพนักงานจำนวนมากเพื่อรองรับงานดังกล่าว
นี่คืองานที่ margin ดี แต่เป็น Negative Cashflow อย่างแท้จริง

บริษัทฯไหนอยู่ระหว่างสร้างโรงงานใหม่ ผมไม่เคยเห็นงบสวยซักกะตัว
เราจึงไม่มีใครคาดหวังกับงบ Q3/55 นี้ครับผม

รอโรงงานสร้างเสร็จก่อน และเริ่มรับรู้รายได้ในช่วงต้นปี 2556
...ค่อยมามองผลประกอบการกันอีกครั้งครับผม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."