พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Dekfaifah
Verified User
โพสต์: 1220
ผู้ติดตาม: 0

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

รูปภาพ

ภาพลักษณ์องค์กรเฉไปทาง 'หุ้นปั่น' ของ 'เซียนหุ้นเก็งกำไร' การกลับมาของอดีตเจ้าแม่การเคหะแห่งชาติ ฟื้นวิกฤติศรัทธา 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

แม้ถ้ำจะเล็กแต่ บมจ.ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น (SSE) บริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปจิ๊บจ๊อย 400 ล้านบาท แต่คลาคล่ำไปด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงในหลายวงการ เริ่มตั้งแต่ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ผู้โด่งดังนั่งเป็นประธานกรรมการบริษัท ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ อดีตเจ้าแม่การเคหะแห่งชาติ เป็นกรรมการผู้จัดการ รวมทั้ง ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ก็มีวาระที่จะเข้าเป็นกรรมการในบริษัท หลังพ้นจากตำแหน่ง

แม้ล่าสุด วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานกรรมการบริษัท และ อภิรักษ์ จูตระกูล ประธานกรรมการตรวจสอบ ได้ชิงลาออกจากบริษัท ขณะที่ ขรรค์ ประจวบเหมาะ ก็ขอถอนตัวกะทันหัน แต่บริษัทกำลังทาบทาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกหลังเกษียณอายุราชการสิ้นเดือนกันยายน เข้าเป็นประธานกรรมการบริษัทแทน โดยการลิงค์ของ "เสี่ยโต้ง" กมล เอี้ยวศิวิกูล ที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ติดยศ "พันเอก"

ขณะที่ โฉมพิศ บุนนาค มารดา ฉาย บุนนาค ก็จะลาออกไปอยู่ข้างหลังแล้วเปิดทางให้ญาติเข้ามาเป็นกรรมการแทน พร้อมกับปรับภาพลักษณ์ครั้งใหญ่เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บมจ.พี พลัส พี (PLUS) นับเป็นชื่อที่สามในรอบ 3 ปี (ชื่อเดิมคือ บมจ.ดีอี แคปปิตอล)

อย่างไรก็ตาม แม้จะเปลี่ยนชื่อจาก บมจ.ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น มาเป็น บมจ.พี พลัส พี ซึ่งมีความหมายว่า "Profit บวก Profit" และมีอดีตเจ้าแม่การเคหะแห่งชาติเป็น "แม่ทัพใหญ่" แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทก็ยังคงเป็นกลุ่มฉาย บุนนาค ที่ถือหุ้นกว่า 30% และกลุ่มเอี้ยวศิวิกูล ที่ถูกจับตามองจากตลาดหลักทรัพย์ และก.ล.ต.อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของฉาย ที่ถูกสงสัยเข้าไปเกี่ยวข้องกับดีลการสร้างราคาหุ้น บมจ.โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) หรือ SLC เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทนี้มี ธนพันธ์ วงศ์ชินศรี ซึ่งเป็นญาติฝั่งภรรยาของฉาย (วทันยา วงษ์โอภาสี) ถือหุ้นใหญ่

นอกจากนี้ ซันไชน์ ยังมีมติเข้าซื้อหุ้น บมจ.โรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) จำนวน 43.20% จาก บมจ.เอส แพ็ค แอนด์ พริ้นท์ (SPACK) และ Asia Special Situations MT1 Limited ในราคาหุ้นละ 1.94 บาท มูลค่ารวม 397.41 ล้านบาท ยังเป็น "รายการเกี่ยวโยง" เต็มๆ เพราะ ยุทธ ชินสุภัคกุล ผู้มีอำนาจใน EPCO และ SPACK คือ "พ่อ" ของ ฉาย บุนนาค และดีลนี้ โฉมพิศ บุนนาค แม่ของฉาย เป็นผู้ปล่อยเงินกู้ให้บริษัท 150 ล้านบาท ดอกเบี้ย 5% ต่อปี เพื่อนำไปสมทบทุนซื้อหุ้น EPCO

เงื่อนปมหลายอย่างทำให้ ฉาย ถูกตั้งคำถามจากหน่วยงานตรวจสอบภาครัฐในฐานะ "ผู้ต้องสงสัย" ขณะที่ ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น ที่ถูกร้องขอให้เข้ามาล้างภาพลักษณ์ใหม่ของบริษัท จำต้องเปิดตัวกับสื่อเมื่อวันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2553 ณ ร้านอาหาร R.cafe ใต้โรงละครรัชดาลัยเธียร์เตอร์ ห้างสรรพสินค้าเอสพลานาด

ชวนพิศ หรือ "อาเล็ก" ของฉายเป็น "เพื่อนสนิท" กับ โฉมพิศ บุนนาค ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอบอกว่า การเข้ามาบริหารซันไชน์ จะยึดหลัก "ขยัน-อดทน" ทำงาน เพื่อให้คนที่มองเราในแง่ลบรับรู้ว่าพี่ไม่ได้เข้ามาเพื่อสร้างราคาหุ้นให้เพื่อน (เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ รุ่น 18 ปี 2509) แต่การเข้ามาครั้งนี้ต้องการทำงานอย่างแท้จริง

"ถ้าพี่มีเงินจะรีบหาจังหวะซื้อหุ้น SSE เป็นตัวแรก แต่จะลงเท่าไรขึ้นอยู่ที่กำลังเงิน (หัวเราะ) พี่เชื่อว่าจากนี้บริษัทจะลงทุนบนกฎกติกา และความรอบคอบ ที่สำคัญลงทุนแล้วต้องได้รับผลตอบแทนคืนกลับมาประมาณ 20% ก่อนหน้านี้บริษัทลงทุนแล้วขาดทุนเป็นส่วนใหญ่"

ชวนพิศ เล่าว่า ตัวเองหยุดลงทุนในตลาดหุ้นมาตั้งแต่ปี 2545 หลังเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้ลงทุนมากส่วนใหญ่เป็นหุ้นบูลชิพ และหุ้นไอพีโอ กลยุทธ์การลงทุนไม่มีอะไรมากได้กำไรแล้วก็พอ  "อย่าโลภ" ไม่เช่นนั้นจะ "จน" ไม่รู้ตัว พี่ไม่เคยตั้งกฎเกณฑ์ว่าต้องได้กำไรเท่าไรทุกอย่างอยู่ที่ความพึงพอใจตามสถานการณ์

อดีตข้าราชการเกษียณวัย 62 ปี บอกว่า เป้าหมายที่จะลงมือทำคือทำให้บริษัทกลับมา "จ่ายเงินปันผล" ให้ได้  บริษัทนี้จ่ายเงินปันผลครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2548 หากไม่มีอะไรผิดพลาดในปี 2554 บริษัทอาจจะกลับมาจ่ายเงินปันได้อีกครั้ง แต่จะจ่ายได้เท่าไรคงต้องรอดูสถานการณ์ต่างๆ ก่อน

"เรามีแผนจะล้างขาดทุนสะสมให้หมดภายในปีหน้า ตามที่ตกลงไว้กับโฉมพิศ พี่จะเข้ามาบริหาร 3 ปี จะพยายามสร้างรายได้ให้ขยายตัวปีละ 15-20% หลังจากนี้ธุรกิจที่บริษัทเข้าไปลงทุนทุกตัวจะต้องมีกำไรหลายคนอาจไม่เชื่อคิดว่าเพ้อฝันแต่พี่จะทำให้เป็นจริง โดยเฉพาะโรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) ที่ผ่านมามีกำไรสุทธิต่อเนื่องทุกปี และยังมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอในอัตราที่สูงกว่า 10% ทุกปี ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนอย่างสม่ำเสมอ" (หลังทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์คาดว่าจะถือหุ้น EPCO ประมาณ 55% ใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท)

นอกจากนั้น ยังมีแรงเสริมจากผลประกอบการของ บมจ.อควา คอร์เปอเรชั่น (ถือหุ้น 44.24%) ซึ่งเป็นบริษัทลูก มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในปี 2553 คาดว่าจะโดดเด่นขึ้นมาก เนื่องจากดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับสื่อโฆษณา ซึ่งในปีนี้ได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก

ชวนพิศ ระบุว่า การเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บมจ.พี พลัส พี (PLUS) ถือเป็นการรีแบรนด์ครั้งใหม่ต้องการจะสะท้อนให้สาธารณชนได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของบริษัท ซึ่งภายหลังจากที่ได้เข้ามาบริหารงานได้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานในหลายๆ ส่วนด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านการลงทุนของบริษัทต่อไปจะเน้นการลงทุนระยะยาว ส่วนที่เป็นการลงทุนระยะสั้นจะเลือกพิจารณาเป็นกรณีไป

เธอยอมรับตรงๆ ว่า ภาพพจน์ของซันไชน์ที่ไม่ดีทำให้หนักใจมากที่สุดเพราะตั้งแต่เพื่อนรักติดต่อมาเมื่อต้นปี 2553 ให้มานั่งเก้าอี้ตัวนี้ พี่คิดแล้วคิดอีกว่าจะเอาดีหรือไม่ แต่ในปีหน้าภาพพจน์ของบริษัทจะดีขึ้นในสายตานักลงทุนและบริษัทจะเริ่มกลับมามีกำไรสุทธิ การเข้ามารับเป็นผู้บริหารของที่นี่ถือเป็นงานที่ท้าทายมาก และเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด

อย่าพยายามยึดติดเรื่องเดิมๆ อยากให้ทุกคนมองวันนี้ และอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น พี่รู้ว่าใครหลายคนไม่เชื่อใจในสิ่งที่เรากำลังทำ และคงคิดว่าเรากำลังสร้างมูลค่าหุ้น..พี่ไม่โกรธนะ! เพราะอดีตมันลบกันไม่ได้ เอาเป็นว่ามารอดูกันต่อไปดีกว่า

"พี่ว่างงานมาตั้งแต่ปี 2551 พอมีโอกาส ก็อยากเปลี่ยนฟิวส์มาทำงานบริษัทเอกชนบ้าง พี่จะใช้ทฤษฎีคล้ายๆ กับที่เคยทำงานกับภาครัฐ นั่นคือการเพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงาน เพราะหากธุรกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ใครๆ ก็คงอยากมีหุ้นเราไว้ครอบครอง"

ที่มา : ถนนนักลงทุน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 2

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว ความคืบหน้าในการลงทุนใน บริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเมนท์ จำกัด  
วันที่/เวลา 06 ต.ค. 2553 09:28:00  

ที่ PLUS-317/SET-070/53

          วันที่  5  ตุลาคม  2553
เรื่อง รายงานความคืบหน้า  Parking
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
               ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท ขอเรียนว่า เดิมบริษัทได้รับแจ้งว่า จะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง บริษัท ปาร์คกิ้ง  
แมนเนจเมนท์ จำกัด   ("Parking")    บริษัทผู้รับสัมปทาน  โดยผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร กับ บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)   ในวันที่  11  ตุลาคม 2553
เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการตามสัมปทานเพื่อที่จะได้แนวทางที่ชัดเจนแก่บริษัทในการที่จะลงทุนต่อ
หรือยุติการลงทุน     และต่อมาได้มีข่าวคราวตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ
อันเป็นผลกระทบต่อดำเนินการของบริษัทผู้รับสัมปทานซึ่งอาจส่งผลต่อการลงทุนของบริษัท
ขณะนี้บริษัทกำลังเร่งดำเนินการหาข้อสรุปและแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท
รายละเอียดความคืบหน้าบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป
              จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                             
ขอแสดงความนับถือ

                   
(นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

ฝ่ายเลขานุการบริษัท
ประโพธ  ชุ่มวัฒนะ หรือ นางสาวจารุณี  ทองเหลือง
โทร. 0-2641-2163-70 ต่อ 609
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 3

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว แจ้งความคืบหน้าการซื้อหุ้น EPCO จาก Asia Special Situations MT1 Limited
วันที่/เวลา 15 ต.ค. 2553 13:42:00  

ที่ PLUS-327SET-076/53
วันที่  15  ตุลาคม  2553

เรื่อง แจ้งการซื้อหุ้น  EPCO   และ  การทำ Tender  Offer
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างถึง หนังสือที่  PLUS-318/SET-071/53  ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2553

ตามที่บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) (บริษัท)  ได้ชี้แจงไว้ตามหนังสือฉบับที่อ้างถึง      
บริษัทใคร่ขอยืนยันโดยหนังสือฉบับนี้ว่า   บริษัทได้ซื้อและรับโอนหุ้น  EPCO  จำนวน 76.13 ล้านหุ้น
คิดเป็นมูลค่า 148.04  ล้านบาท  จาก Asia  Special Situations MT1 Limited    ครบถ้วนแล้ว ในวันที่  14
ตุลาคม  2553     ส่วนในเรื่องการทำคำเสนอซื้อหุ้น ( Tender Offer)
อยู่ในกระบวนการที่จะดำเนินการโดยต่อเนื่องให้แล้วเสร็จโดยเร็วและถูกต้องตามระเบียบที่สำนักงานคณะกรรมกา
รกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดไว้

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
      ขอแสดงความนับถือ
 
                  (นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)
                     ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO (247-4)  
วันที่/เวลา 27 ต.ค. 2553 09:02:00  

 การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์

เรื่อง : การประกาศทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท
ชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ถูกทำคำเสนอซื้อ : บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO)
ผู้ทำคำเสนอซื้อ :
บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)
บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์เนชันแนล บิสสิเนส จำกัด
นางโฉมพิศ  บุนนาค
ระยะเวลาทำคำเสนอซื้อ (เพิ่มเติม) : วันที่ 01 พ.ย. 2553 ถึงวันที่ 03 ธ.ค. 2553
ราคาเสนอซื้อ
หุ้นสามัญ (บาท/หุ้น) : 1.94
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 5

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว แจ้งความคืบหน้าให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลภายนอก  
วันที่/เวลา 21 ต.ค. 2553 13:19:00  

ที่ PLUS-329/SET-077/53
วันที่   21   ตุลาคม   2553
เรื่อง แจ้งความคืบหน้าให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลภายนอก
เรียน กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)  ("บริษัท")  
ได้แจ้งความคืบหน้าของการรับชำระหนี้ให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลอื่น เมื่อวันที่  18  สิงหาคม  2553
ซึ่งมียอดหนี้คงเหลือรวม 30  ล้านบาท  โดยผู้กู้ทั้งสองรายได้แก่ นางสาวพรพรรณ เที่ยงพิมล และ
นางสาวปิยฉัตร  บุรินทร์วัฒนา  ได้แจ้งบริษัทว่าจะชำระให้แล้วเสร็จภายในปี 2553  นั้น
บริษัทขอเรียนให้ทราบว่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553    นางสาวพรพรรณ  เที่ยงพิมล ได้ชำระหนี้คงค้าง
16.50  ล้านบาท  ครบถ้วนแล้ว  และ นางสาวปิยฉัตร  บุรินทร์วัฒนาได้ชำระหนี้คืนจำนวน 1.50 ล้านบาท
ทำให้ปัจจุบันมีภาระหนี้คงเหลือ จำนวน 12 ล้านบาท
           ทั้งนี้ บริษัท ได้เจรจาให้นางสาวปิยฉัตร  บุรินทร์วัฒนา
ชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ครบถ้วนภายในปี 2553 นี้
โดยบริษัทจะรายงานความคืบหน้าในการรับชำระหนี้จากการให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลอื่นที่เหลือให้ตลาดหลักทรัพย์
และ ผู้ลงทุนรับทราบจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

          (นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)
                                            ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 6

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว แจ้งความคืบหน้าการรับชำระหนี้ให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลภายนอก  
วันที่/เวลา 04 พ.ย. 2553 13:58:00  

ที่ PLUS-332/SET-078/53
      วันที่   4  พฤศจิกายน   2553

เรื่อง แจ้งความคืบหน้าการรับชำระหนี้ให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลภายนอก
เรียน กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553  บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) ("บริษัท")
ได้รายงานความคืบหน้าของการรับชำระหนี้ให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลอื่น  ลูกหนี้รายนางสาวปิยฉัตร
บุรินทร์วัฒนา มียอดหนี้คงเหลือ  12  ล้านบาท
บริษัทขอเรียนให้ทราบว่า ในวันที่ 2  พฤศจิกายน  2553  
บริษัทได้รับชำระหนี้เงินกู้จากลูกหนี้รายดังกล่าว  ครบถ้วนแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

           ขอแสดงความนับถือ

         (นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)
         ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 7

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว แต่งตั้งกรรมการและเลขานุการบริษัท  
วันที่/เวลา 08 พ.ย. 2553 13:24:19  

ที่ PLUS-340/SET-080/53
วันที่  5  พฤศจิกายน  2553

เรื่อง แต่งตั้งกรรมการและเลขานุการบริษัท
เรียน กรรมการผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)  ("บริษัท")  ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 13/2553  
เมื่อวันที่  4 พฤศจิกายน 2553  โดยที่ประชุมมีมติที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. อนุมัติการเปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งของนางสาวปรานี  รัตคาม  เป็นดังนี้
1.1 เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง จาก ประธานกรรมการตรวจสอบ เป็น เพียงกรรมการตรวจสอบ
1.2 เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง จาก ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาและค่าตอบแทน
เป็นเพียงกรรมการสรรหาและพิจารณาและค่าตอบแทน
2.  อนุมัติแต่งตั้ง  พลโทจิระเดช  โมกขะสมิต  เข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ , ประธานกรรมการตรวจสอบ
และประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน  มีผลตั้งแต่วันที่ 4  พฤศจิกายน  2553  เป็นต้นไป

และให้คงวาระตำแหน่งกรรมการเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของ นายพิสูจน์  สุขแสงทิพย์
3.  อนุมัติแต่งตั้ง  พ.ต.ท. เทพปทาน  นิพิวรรณ์  เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ  มีผลตั้งแต่วันที่  4  
พฤศจิกายน 2553
 เป็นต้นไป  และให้คงวาระตำแหน่งกรรมการเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของนางสาวรุ่งระวี
    เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์
4.  อนุมัติแต่งตั้ง  นางสาวเสาวรส  จันทรมิเวสกุล  เข้าดำรงตำแหน่งเลขานุการบริษัท  แทน  นายประโพธ
ชุ่มวัฒนะ
 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4  พฤศจิกายน  2553  เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                                     
ขอแสดงความนับถือ


                    นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ
    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผม Post ไว้เป็นเพียงแค่กรณีศึกษา (Case Study) เท่านั้นนะครับ!!!
เพราะผมเองมองว่า...

"การที่เรารู้จักหุ้นเยอะๆ และเฝ้าดูพฤติกรรมของหุ้นแต่ละตัว
แม้ว่าเราจะซื้อ หรือไม่ได้ซื้อหุ้นตัวนั้นก็ตามแต่
มันก็มีประโยชน์พอสมควร ทั้งที่ทำให้เราได้เห็นตัวอย่าง Story ต่างๆของหุ้น, การให้ข่าว รวมทั้งเรื่องของจิตวิทยาการลงทุน"

เราเป็นรายย่อย ต้องพยายามศึกษารายใหญ่ที่เค้าเป็นมืออาชีพบ้างอ่ะนะขอรับ

(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 9

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว SEC  
หัวข้อข่าว SEC News : แจ้งคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO ยังไม่ได้ยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์  
วันที่/เวลา 08 พ.ย. 2553 13:49:43  

 
ฉบับที่  74/2553  วันที่  8 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2553

ก.ล.ต. แจ้งคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO ยังไม่ได้ยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์

ก.ล.ต. แจ้งคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO) (แบบ 247-4)
ที่ยื่นโดยบริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)  บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์แนชั่นแนล บิสสิเนส จำกัด  บริษัท
อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด และนางโฉมพิศ บุนนาค เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 ยังไม่ถูกต้องครบถ้วน
ตามหลักเกณฑ์ เนื่องจากขาดข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอเพื่อรับซื้อหลักทรัพย์
และบริษัท ซิกโก้ แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
และเอกสารได้   ก.ล.ต. จึงพิจารณาว่า ผู้ทำคำเสนอซื้อยังไม่ได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้เป็นไปตาม
มาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535


สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งของ EPCO ว่า ไม่ได้มีการทำเอกสารยืนยัน
การไม่ขายหุ้นในคำเสนอซื้อ และจากการตรวจสอบเอกสารและสอบถามที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็น
ผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อ ก็ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของหนังสือแสดงความจำนงและเอกสารประกอบ
ของผู้ถือหุ้น EPCO ที่จะไม่ขายหุ้นในคำเสนอซื้อจำนวน 177 ราย ถือหุ้นรวมกัน 196,630,780 หุ้นได้
ทำให้มีความไม่แน่ชัดว่า เงินทุนในการทำคำเสนอซื้อที่ผู้ทำคำเสนอซื้อจัดเตรียมไว้ 154 ล้านบาทจะเพียงพอ
สำหรับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ในครั้งนี้

ทั้งนี้ ผู้ทำคำเสนอซื้อและที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องแสดงให้มั่นใจได้ว่า มีแหล่งเงินทุนเพียงพอในการ
ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO ครั้งนี้ และมีหน้าที่ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ถูกต้องครบถ้วนต่อ ก.ล.ต.
โดยเร็ว

สำหรับกรณีที่คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ไม่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญดังกล่าว  ก.ล.ต. จะพิจารณาดำเนินการกับ
ผู้ทำคำเสนอซื้อและที่ปรึกษาทางการเงินต่อไป


==========================================
^
^
^
โธ่...ยังเขียนไม่ทันไรเลย งานเข้าซะแล้ว!!!

(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 10

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว แจ้งมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553  
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2553 09:21:00  

 ที่         SSE-191/SET-044/53

                                                            วันที่ 9 สิงหาคม 2553

เรื่อง      แจ้งมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553

เรียน      กรรมการและผู้จัดการ
         ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

        บริษัท ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ขอแจ้งมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553
ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 เวลา 14.00 น. ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสุโขทัย -กรุงเทพฯ เลขที่ 13/3
ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

       1. มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจําปี 2553 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่
27 เมษายน 2553

       2. มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติเปลี่ยนชื่อบริษัทจากเดิม "บริษัท ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)"
เป็น
               ชื่อภาษาไทย                 "บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)"

               ชื่อภาษาอังกฤษ               "P Plus P Public Company Limited"
               ชื่อย่อ                      "PLUS"
          ทั้งนี้ ตามที่บริษัทได้เคยเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท พีพี คอร์เปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) นั้น แต่เนื่องจากในการจองชื่อกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีชื่อกิจการอื่นที่
ใกล้เคียงกัน จึงไม่สามารถอนุญาตให้จดทะเบียนได้ บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องสรรหาชื่อที่ใกล้เคียงกันเสนอให้แก่
ผู้ถือ หุ้นอนุมัติ ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และมีมติอนุมัติการ
เปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทตามลำดับ

       3. มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1. ของบริษัทให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนชื่อบริษัท ดังนี้
          ข้อ 1. ชื่อบริษัท                 "บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)"
                และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า   "P Plus P Public Company Limited"
                                     
       4. มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท ข้อ 1, 2, 38 ให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนชื่อบริษัท ดังนี้
             หมวดที่ 1 บททั่วไป
             ข้อ 1.   ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับของ บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)
             ข้อ 2.   คำว่า "บริษัท" ในข้อบังคับนี้ หมายถึง บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)
             หมวดที่ 6 บทเพิ่มเติม
             ข้อ 38.  ตราประทับของบริษัท

        5. อนุมัติการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์
และรายการที่เกี่ยวโยงกัน และขออนุมัติรับความช่วยเหลือทางการเงินจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเพื่อใช้เป็นแหล่ง
เงินทุนในการเข้าทำรายการดังกล่าว โดยในวาระนี้ มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมมีจำนวนหุ้นรวมทั้งสิ้น 380,251,695
หุ้น เป็นหุ้นที่ถือโดยบุคคลที่มีส่วนได้เสีย 46,317,940 หุ้น คงเหลือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงรวม 333,933,755 หุ้น

          5.1. มีมติอนุมัติการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรายการได้มาซึ่ง
สินทรัพย์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน ด้วยคะแนนเสียงดังนี้
                     มติ               คะแนนเสียง                ร้อยละของจำนวนหุ้น
                                                                 ที่มีสิทธิออกเสียง
                เห็นด้วย               333,778,243                     99.95%
                ไม่เห็นด้วย                 144,512                      0.04%
                งดออกเสียง                 11,000                      0.01%

           5.2. มีมติรับความช่วยเหลือทางการเงินจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการเข้าทำ
รายการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) ด้วยคะแนนเสียงดังนี้
                     มติ                คะแนนเสียง                ร้อยละของจำนวนหุ้น
                                                                  ที่มีสิทธิออกเสียง
                 เห็นด้วย               333,789,243                     99.96%
                 ไม่เห็นด้วย                 144,512                      0.04%
                 งดออกเสียง                    -                          -

      6. ตามที่บริษัทได้เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งนายขรรค์ ประจวบเหมาะ เข้าดำรง
ตำแหน่งกรรมการบริษัทเพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง นั้น แต่เนื่องจากนายขรรค์ ประจวบเหมาะ ได้แจ้งต่อบริษัทว่าปัจจุบัน
ยังดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานต่างๆ อีกหลายแห่ง จึงเกรงว่าอาจไม่สามารถมีส่วนช่วยเหลือในการบริหารได้

เต็มที่ บริษัทจึงได้ขอยกเลิกวาระดังกล่าวออกจากการประชุม

      7. เรื่องอื่น ๆ
         - ไม่มี -

      จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                     ขอแสดงความนับถือ



                                                   (นายประโพธ ชุ่มวัฒนะ)
                                                    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ตามข่าวแล้วก็สนุกไปอีกแบบนะขอรับ
ผมเองยังไม่ขอให้ย้ายเข้าห้องร้อยคนฯนะครับ!!!
v
v
v
==========================================

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว SET  
หัวข้อข่าว ตลท.ขึ้นเครื่องหมาย H หลักทรัพย์ EPCO และ PLUS  
วันที่/เวลา 08 พ.ย. 2553 14:12:52  

 การขึ้นเครื่องหมาย

เรื่อง : การขึ้นเครื่องหมาย H
ชื่อย่อหลักทรัพย์
 - บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO)
 - บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) (PLUS)
ขึ้นเครื่องหมาย : H
วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 08 พ.ย. 2553
รอบ : บ่าย
เหตุผล :
ปรากฎสารสนเทศที่กระทบต่อราคาแต่บริษัทไม่สามารถชี้แจงข่าวได้ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด
______________________________________________________________________

SET ขึ้นเครื่องหมาย "H" EPCO และ PLUS เนื่องจากสำนักงาน ก.ล.ต.แจ้งว่าคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO
ยังไม่ได้ยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์

         ตามที่ปรากฏข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)
แจ้งว่า คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO) (แบบ 247-4)
ที่ยื่นโดยบริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) (PLUS) บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์แนชั่นแนล บิสสิเนส จำกัด
บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด และนางโฉมพิศ บุนนาค เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553
ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม
หลักเกณฑ์ เนื่องจากขาดข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอเพื่อ
รับซื้อหลักทรัพย์ และบริษัท ซิกโก้ แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถ
ยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารได้ สำนักงาน ก.ล.ต.จึงพิจารณาว่า
ผู้ทำคำเสนอซื้อยังไม่ได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามมาตรา 247 แห่ง
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น (รายละเอียดปรากฏตามข่าว ก.ล.ต. วันที่ 8
พฤศจิกายน 2553)

        เนื่องจากประเด็นที่สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาว่า ผู้ทำคำเสนอซื้อยังไมได้ยื่น
คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO นั้น อาจส่งผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของ EPCO และ PLUS อย่างมีนัยสำคัญ
รวมทั้ง EPCO และ PLUS ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลดังกล่าวมายังตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์จึงขึ้นเครื่องหมาย H (Halt) เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ EPCO และ PLUS
เป็นการชั่วคราวตั้งแต่การซื้อขายรอบบ่ายของวันที่
8 พฤศจิกายน 2553 จนกว่าทั้งสองบริษัทจะชี้แจงและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
Free
Verified User
โพสต์: 81
ผู้ติดตาม: 0

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 12

โพสต์

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews ... 0000157850

PLUS ยังถือหุ้นสัมปทานที่จอดรถในสนามบินสุวรรณภูมิ อยู่อีกหรือป่าว ไม่แน่ใจ?
แต่ชื่อตัวละครในเรื่องคุ้นๆหู นะ :roll:
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว ชี้แจงการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO
วันที่/เวลา 09 พ.ย. 2553 09:14:43  

ที่ PLUS-344/SET-082/53

                                 วันที่   8  พฤศจิกายน  2553

เรื่อง ชี้แจงการขึ้นเครื่องหมาย  H
เรียน กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ขึ้นเครื่องหมาย "H" สำหรับหลักทรัพย์  PLUS  เนื่องจากสำนักงาน
ก.ล.ต. แจ้งว่าคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO (แบบ 247-4) ยังไม่ได้ยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
บริษัทขอชี้แจงและยืนยันเจตนาดังนี้
             บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า  บริษัทยังมีความตั้งใจและขอแสดงเจตนาในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
EPCO ต่อไป  แต่เนื่องจากบริษัทอยู่ระหว่างการยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารประกอบ
หนังสือแสดงความจำนงของผู้ถือหุ้น EPCO  ซึ่งยังขาดอีกเพียงจำนวน 14 ราย  (จากทั้งหมด 177  ราย)
ซึ่งบริษัทจะรีบดำเนินการและนำเสนอให้สำนักงาน ก.ล.ต. ต่อไปโดยเร็วที่สุด
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
            จึงเรียนมาเพื่อทราบ



 ขอแสดงความนับถือ

                                                                                                   
           
                                                   (นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)
                                                    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 14

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว SET  
หัวข้อข่าว ตลท. ปลดเครื่องหมาย "H" หลักทรัพย์ EPCO และ PLUS  
วันที่/เวลา 09 พ.ย. 2553 09:19:33  

 การปลดเครื่องหมาย

เรื่อง : การปลดเครื่องหมาย H
ชื่อย่อหลักทรัพย์
 - บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO)
 - บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) (PLUS)
ปลดเครื่องหมาย : H
วันที่ปลดเครื่องหมาย : 09 พ.ย. 2553
รอบ : เช้า
เหตุผล :
เปิดเผยสารสนเทศสำคัญครบถ้วนแล้ว
______________________________________________________________________

ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ EPCO และ PLUS

          ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมาย "H" (Halt)
เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO) และบริษัท พี พลัส
พี จำกัด (มหาชน) (PLUS) เป็นการชั่วคราวในช่วงการซื้อขายรอบบ่ายของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553
เนื่องจากปรากฏข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) แจ้งว่า
คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ EPCO (แบบ 247-4) ที่ยื่นโดย PLUS บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์แนชั่นแนล บิสสิเนส
จำกัด บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด และนางโฉมพิศ บุนนาค เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553
ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
เนื่องจากขาดข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอเพื่อรับซื้อหลักทรัพย์ และบริษัท
ซิกโก้ แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารได้
สำนักงาน ก.ล.ต.จึงพิจารณาว่า ผู้ทำคำเสนอซื้อยังไม่ได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามมาตรา 247
แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น
(รายละเอียดตามข่าว EPCO และ PLUS เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553)

          บัดนี้ EPCO และ PLUS ได้ชี้แจงข้อมูลเบื้องต้นว่า PLUS
ยังมีความตั้งใจและขอแสดงเจตนาในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO ต่อไป
และอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้การยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต.
กำหนด ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงเห็นสมควรปลดเครื่องหมาย "H" เพื่ออนุญาตให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ
EPCO และ PLUS ตั้งแต่การซื้อขายหลักทรัพย์รอบเช้าของวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 15

โพสต์

PLUS ส่งสัญญาณแนวโน้มธุรกิจสดใส [ นสพ.ทันหุ้น, 16  พฤษจิกายน 2553 ]

ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ ยิ้มได้หลัง PLUS โชว์ผลประกอบการงวด 9 เดือนปีนี้พลิกเป็นกำไรสุทธิ และเพิ่มขึ้นถึง 377% เมื่อเทียบกับปีก่อน ระบุเป็นผลที่เกิดจากการดำเนินงานอย่างแท้จริง โดยมีรายได้สำคัญมาจากค่าโฆษณา ขณะเดียวกันยังบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนภาพผู้บริหารตั้งใจทำงานจริง พร้อมชี้เป็นสัญญาณบอกให้รู้อนาคต PLUS จะเป็น บจ.พื้นฐานดีได้แน่

นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) (PLUS)  เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 3/53 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553 มีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.08 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3/52 ที่มีกำไรสุทธิ 5.94 ล้านบาท และในงวด 9เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 377.32 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันในปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 2.91 ล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้ผลประกอบการของ PLUS พลิกขึ้นมาโชว์ตัวเลขที่น่าประทับในครั้งนี้เป็นเพราะ ในไตรมาส 3 ปี 2553 บริษัทมีรายได้ค่าโฆษณา  83.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.90  ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.48

นอกจากนั้น บริษัทมีรายได้ค่าจ้างทำของ 20.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.28 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.57 และบริษัทมีต้นทุนผลิตรายการ 1.01 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.46 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ  90.33

ถือเป็นสัญญาณบวกของ PLUS  จากผลประกอบการที่มีกำไรสุทธิในงวด 9 เดือนปีนี้ จากปีก่อนที่เคยขาดทุนสุทธิ ดังนั้นผู้ถือหุ้นและนักลงทุนคงจะอุ่นใจได้ในระดับหนึ่งแล้วว่าคณะผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะเข้าทำงานจริง และขณะนี้บริษัทก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจาก บมจ.อควา คอร์เปอเรชั่น  ซึ่งเป็นบริษัทลูก ที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับสื่อโฆษณา ซึ่งได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ขณะเดียวกันยังมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานและเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ทำให้รายได้จากการโฆษณาปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

นางชวนพิศ กล่าวต่อในช่วงท้ายว่าจากปัจจัยพื้นฐานเดิมของ PLUS ที่เริ่มดีขึ้นตามลำดับแล้ว ในอนาคตภายหลังการเข้าไปลงทุนใน  บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) (EPCO) จะยิ่งทำให้บริษัทมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเยี่ยม เนื่องจาก EPCO เป็นบริษัทที่มีฐานะมั่นคงและผลประกอบการขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสม่ำเสมอ  และอยู่ในอันดับต้นๆ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ค่อนข้างสูง นอกจากนั้นในอนาคตจะทำให้ผู้ถือหุ้นของ PLUS มีโอกาสได้รับเงินปันผลด้วย


ที่มา : http://www.thunhoon.com/highlight/77583/77583.html
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 16

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว ชี้แจงกรณีทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO เพิ่มเติม  
วันที่/เวลา 17 พ.ย. 2553 09:42:46  

 ที่ PLUS-357/SET-089/53

     วันที่  12  พฤศจิกายน  2553

เรื่อง ชี้แจงกรณีทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO เพิ่มเติม
เรียน กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย H (Halt) เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท พี พลัส พี
จำกัด (มหาชน) (PLUS) เป็นการชั่วคราวตั้งแต่การซื้อขายรอบบ่ายของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553
และได้อนุญาตให้ซื้อขายได้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 เนื่องจากสำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งว่า PLUS
และบริษัทย่อยของ PLUS 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์แนชั่นแนล บิสสิเนส จำกัดและบริษัท อควา
คอร์เปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) และนางโฉมพิศ บุนนาค ยังไม่ได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO
ให้เป็นไปตามมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อวันที่ 9
พฤศจิกายน 2553 PLUS ชี้แจงว่าบริษัทยังมีความตั้งใจและขอแสดงเจตนาในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO
ต่อไป
แต่เนื่องจากผู้ทำคำเสนอซื้ออยู่ระหว่างการยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารประกอบหนังสือแสดง
ความจำนงของผู้ถือหุ้น EPCO ซึ่งยังขาดอีกเพียงจำนวน 14 ราย (จากทั้งหมด 177 ราย)
ซึ่งผู้ทำคำเสนอซื้อจะรีบดำเนินการและนำเสนอให้สำนักงานก.ล.ต. ต่อไปโดยเร็วที่สุดนั้น
เนื่องจากประเด็นที่ PLUS และบริษัทย่อยมิได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน
ก.ล.ต.ดังกล่าวเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญที่อาจกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์จึงขอให้บริษัทชี้แจงในประเด็นต่างๆ เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ลงทุนทั่วไป ดังนี้

1. ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งว่าคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ EPCO (แบบ 247-4)
ที่ยื่นโดยผู้ทำคำเสนอซื้อข้างต้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553
ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน
ก.ล.ต.เนื่องจากขาดข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอเพื่อรับซื้อหลักทรัพย์นั้นตลา
ดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทชี้แจงถึงที่มาที่ไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสาเหตุที่บริษัทมิได้แสดงข้อมูลเกี
่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอใช้ในการเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.
จนเป็นผลให้บริษัทไม่สามารถเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCOได้ตามที่เคยประกาศไว้
จากการเข้าหารือกับสำนักงานก.ล.ต.ในประเด็นดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553
ได้ทราบถึงสาเหตุการที่สำนักงานก.ล.ต. แจ้งว่าคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด
(มหาชน) (EPCO) (แบบ 247-4) ที่ยื่นโดยบริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันไชน์
อินเตอร์แนชั่นแนล บิสสิเนส จำกัด บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด และนางโฉมพิศ บุนนาค เมื่อวันที่ 27
ตุลาคม 2553 ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
เนื่องจากขาดข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอเพื่อรับซื้อหลักทรัพย์ และบริษัท
ซิกโก้ แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และเอกสารได้
ก.ล.ต. จึงพิจารณาว่า ผู้ทำคำเสนอซื้อยังไม่ได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามมาตรา 247
แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีสาเหตุมาจาก
1.1 แบบฟอร์มหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อครั้งนี้ไม่แสดงให้เห็นถึง
คำมั่นที่ผู้ถือหุ้นที่ได้แสดงความจำนงในการปฏิเสธคำเสนอซื้อในข้างต้นแล้วต้องปฎิบัติตามเจตนารมณ์เดิมที
่ให้ไว้  กล่าวคือผู้ถือหุ้นไม่สามารถนำหุ้นออกมาขายตามคำเสนอซื้อได้
ซึ่งบริษัทต้องจัดเตรียมวงเงินไว้กับตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์เลย
1.2 คำชี้แจงและอธิบายข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นในการลงนามในหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อไม่ชั
ดเจน ทำให้มีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าว
1.3 ความไม่สมบูรณ์และครบถ้วนของหนังสือแสดงความจำนงและเอกสารประกอบของผู้ถือหุ้น EPCO เช่น
ขาดสำเนาบัตรประชาชน
และสำเนาจากการรับหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำคำเสนอทางแฟกซ์ เป็นต้น
1.4 บริษัท ซิกโก้ แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
และเอกสารได้บางรายซึ่งตามที่แจ้งไปยังขาดอีกเพียงจำนวน 14 ราย (จากทั้งหมด 177 ราย)
ซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องจัดเตรียมวงเงินไว้กับตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์
จากสาเหตุตามรายละเอียดข้างต้น
บริษัทจึงขอชี้แจงต่อคำถามของตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับที่มาที่ไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสาเหตุที่บริษ
ัทมิได้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่เพียงพอใช้ในการเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO กล่าวคือ
เงินทุนที่บริษัทจัดเตรียมไว้ทั้งหมดประมาณจาก จำนวนหุ้นส่วนที่บริษัทไม่ได้ถือจำนวน 279,625,667 หุ้น
หักด้วยจำนวนหุ้นของผู้ที่ไม่ประสงค์จะขายหุ้นตามหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำ
คำเสนอซื้อครั้งนี้จำนวน 177 ราย จำนวน 196,630,778 หุ้น หักผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคล 2 รายจำนวนหุ้น
4,122,803 หุ้น ที่อยู่ในขั้นตอนกฏหมายของ พ.ร.บ. ล้มละลาย
ที่ไม่สามารถมาขายหุ้นภายในระยะเวลาของการทำคำเสนอซื้อครั้งนี้ได้
ดังนั้นจึงเหลือจำนวนหุ้นที่ต้องทำคำเสนอซื้อครั้งนี้จำนวน 78,872,086 หุ้นคิดเป็นจำนวนเงิน
153,011,846.84 บาท
ซึ่งผู้ทำคำเสนอซื้อใช้แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมจากตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์วงเงิน 145
ล้านบาทและเงินสดจำนวน 9.25 ล้านบาท ไว้กับผู้ทำคำเสนอซื้อ
รวมเป็นวงเงินที่บริษัทได้จัดเตรียมไว้ทั้งสิ้น 154.25 ล้านบาท ดังนั้นวงเงินที่บริษัทจัดเตรียมไว้จำนวน
154.25 ล้านบาท จึงมีความเพียงพอสำหรับการซื้อหุ้น 78,872,086 หุ้นคิดเป็นจำนวนเงิน 153,011,846.84 บาท
และภายหลังจากบริษัทจัดส่งคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 247-4) ฉบับลงวันที่ 27 ตุลาคม 2553
ต่อสำนักงานก.ล.ต. , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กิจการ กรรมการและผู้ถือหุ้นของ EPCO แล้ว
บริษัทจึงได้รับแจ้งว่า
แหล่งเงินทุนไม่เพียงพออันสืบเนื่องจากจำนวนหุ้นของผู้ที่ไม่ประสงค์จะขายหุ้นตามหนังสือแสดงความจำนงที่จ
ะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อครั้งนี้จำนวน 177 ราย จำนวน 196,630,778 หุ้น
ไม่สามารถนำมาหักได้และให้บริษัทนำเงินจำนวน 381,463,709.32 บาท
(ซึ่งเบื้องต้นทางที่ปรึกษาการเงินแจ้งให้นำเงินมาวางเพิ่ม 138
ล้านบาทเนื่องจากหักจำนวนหุ้นตามหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อออกให้บางส่วน)
มาวางกับตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ภายในวันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2553 (ได้รับแจ้งวันศุกร์ที่ 5
พฤศจิกายน 2553) ซึ่งจากการได้รับเรื่องดังกล่าวบริษัทมีระยะเวลาอันสั้นที่จัดเตรียมเงิน
ทำให้บริษัทไม่สามารถจัดเตรียมเงินได้ทันตามที่แจ้งมาได้
จึงเป็นที่มาของการออกหนังสือของสำนักงานก.ล.ต.ในช่วงบ่ายวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553
รวมทั้งบริษัทมีนัดหารือกับที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทในช่วงบ่ายของวันเดียวกันเพื่อสรุปแนวทางและประเ
ด็นที่สำนักงานก.ล.ต. แจ้งผ่านที่ปรึกษาทางการเงินมา

2. ตามที่สำนักงานก.ล.ต. แจ้งว่าได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งของ EPCO ว่า
ไม่ได้มีการทำเอกสารยืนยันการไม่ขายหุ้นในคำเสนอซื้อ
และจากการตรวจสอบเอกสารและสอบถามที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อก็ไม่สามารถยืนยันควา
มถูกต้องของหนังสือแสดงความจำนงและเอกสารประกอบของผู้ถือหุ้น EPCO ที่จะไม่ขายหุ้นในคำเสนอซื้อจำนวน 177
ราย ถือหุ้นรวมกัน 196,630,780 หุ้นได้
ทำให้มีความไม่แน่ชัดว่าเงินทุนในการทำคำเสนอซื้อที่ผู้ทำคำเสนอซื้อจัดเตรียมไว้ 154
ล้านบาทจะเพียงพอสำหรับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ในครั้งนี้นั้นตลาดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทชี้แจงรายละเอี
ยดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังกล่าวดังนี้
2.1 ขั้นตอนและการดำเนินการของบริษัทเพื่อขอคำยืนยันการไม่ขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้ง 177 ราย
ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO ในครั้งนี้
และสาเหตุที่ปรากฏข้อร้องเรียนจากผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งว่าไม่ได้มีการทำเอกสารยืนยันการไม่ขายหุ้น
ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่บริษัทเคยแจ้งไว้ในคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
บริษัทขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า
บริษัทมีขั้นตอนและการดำเนินการของบริษัทเพื่อขอคำยืนยันการไม่ขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้ง 177 ราย
ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ EPCO มีดังนี้
(1) พิจารณารายชื่อผู้ถือหุ้นเพื่อติดต่อสอบถามเรื่องความประสงค์ที่จะขายหุ้นในช่วงเวลาการทำคำเสนอซื้อห
รือไม่ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทและผู้ประสานงานภายนอก
เพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับผู้ถือหุ้นเพื่อสอบถามและนำเอกสารหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสน
อซื้อไปให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวลงนาม
(2) หนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ได้มามีความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร เช่น
ขาดสำเนาบัตรประชาชน
และสำเนาจากการรับหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำคำเสนอทางแฟกซ์ เป็นต้น นั้น
ในส่วนของสำเนาบัตรประชาชนทางเจ้าหน้าที่ประสานงานได้ดำเนินการคัดสำเนาเอกสารต่าง ๆ
จากหน่วยงานราชการเพื่อประกอบให้เอกสารสมบูรณ์ครบถ้วน
ในส่วนของผู้ถือหุ้นบางส่วนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดหรือไม่สะดวกที่จะส่งต้นฉบับหนังสือแสดงความจำน
งฯ เจ้าหน้าที่ประสานงานได้ขอให้ผู้ถือหุ้นดำเนินการจัดส่งทางโทรสารหรือทางอีเมลล์
ทั้งนี้โดยมีความเข้าใจว่าสามารถยืนยันความถูกต้องได้ จึงได้ดำเนินการดังกล่าว
เนื่องจากไม่มีข้อบังคับใดกำหนดให้ต้องดำเนินการส่งสำเนาบัตรประชาชนที่มีการลงนาม
หรือการส่งต้นฉบับหนังสือแสดงความจำนงฯ จึงเข้าใจว่าสามารถกระทำได้
(3) บริษัทได้มีการสุ่มหนังสือที่ได้รับจากการดำเนินการของผู้ประสานงานภายนอกบางส่วนเพื่อติดต่อกับผู้ถื
อหุ้นว่ามีการลงนามมาถูกต้องหรือไม่  เนื่องจากมีระยะเวลาอันกระชั้นชิด
บริษัทได้ทำการสุ่มตรวจบ้างตามควร
(4) บริษัทได้ส่งมอบหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อครั้งนี้ให้กับที่ป
รึกษาทางการเงิน ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินได้สุ่มตัวอย่างผู้ถือหุ้นประมาณ 1 ใน 3
ส่วนเพื่อติดต่อผู้ถือหุ้นว่ามีการลงนามมาหรือไม่ ซึ่งพบว่าจำนวนดังกล่าวมีการยืนยันว่าลงนามมาทุกราย
และหลังนั้นทราบว่าที่ปรึกษาทางการเงินได้มีการตรวจสอบทั้งหมด
และมีส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถติดต่อเพื่อยืนยันได้จำนวน 14 ราย (จาก 177 ราย) ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 36
ล้านบาท และในวันที่เข้าหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต.
บริษัทขอยืนยันการแสดงเจตนาในการทำคำเสนอซื้อต่อโดยจะขอวางเงินไว้ให้กับตัวแทนรับซื้อหุ้นตามจำนวนดังกล่
าว อย่างไรก็ตามทางสำนักงานก.ต.ล.แจ้งมาว่าแบบ 247-4
ทางสำนักงานสรุปว่าให้บริษัทดำเนินการเพื่อยื่นใหม่ทั้งหมด
ส่วนสาเหตุที่ปรากฏข้อร้องเรียนจากผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งว่าไม่ได้มีการทำเอกสารยืนยันการไม่ขายหุ้น
ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่บริษัทเคยแจ้งไว้ในคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
บริษัทขอเรียนขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลว่า เป็นเอกสารที่มาจากผู้ถือหุ้นรายใด
เพื่อจะได้ตรวจสอบว่ามีการผิดพลาดประการใดเพื่อจะได้ดำเนินการและแก้ไขต่อไป

2.2 สาเหตุที่ที่ปรึกษาการเงินของบริษัท
จึงไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของหนังสือแสดงความจำนงและเอกสารประกอบของผู้ถือหุ้น EPCO
ที่จะไม่ขายหุ้นในคำเสนอซื้อในครั้งนี้
บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาตามข้อ 2.1 (1) - (4)
เป็นผลจากการดำเนินการเพื่อขอหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้น  ซึ่ง
เอกสารที่บริษัทได้รับมาส่วนหนึ่งมีความไม่สมบูรณ์และความไม่ครบถ้วนของเอกสาร เช่น ขาดสำเนาบัตรประชาชน
และสำเนาจากการรับหนังสือแสดงความจำนงที่จะปฏิเสธคำเสนอซื้อที่ใช้ในการทำคำเสนอทางแฟกซ์ เป็นต้น
ซึ่งส่วนหนึ่งบริษัทได้จัดส่งเอกสารอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาและตรวจสอบแทน
เช่นส่วนของสำเนาบัตรประชาชนทางเจ้าหน้าที่ประสานงานได้ดำเนินการคัดสำเนาเอกสารต่าง ๆ
จากหน่วยงานราชการเพื่อประกอบให้เอกสารสมบูรณ์ครบถ้วน
ในส่วนของผู้ถือหุ้นบางส่วนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดหรือไม่สะดวกที่จะส่งต้นฉบับหนังสือแสดงความจำน
งฯ เจ้าหน้าที่ประสานงานได้ขอให้ผู้ถือหุ้นดำเนินการจัดส่งทางโทรสารหือทางอีเมลล์
ทั้งนี้โดยมีความเข้าใจว่าสามารถยืนยันความถูกต้องได้ จึงได้ดำเนินการดังกล่าว
เนื่องจากไม่มีข้อบังคับใดกำหนดให้ต้องดำเนินการส่งสำเนาบัตรประชาชนที่มีการลงนาม
หรือการส่งต้นฉบับหนังสือแสดงความจำนงฯ จึงเข้าใจว่าสามารถกระทำได้
แต่เอกสารดังกล่าวถูกปฏิเสธและไม่สามารถนำมาใช้ประกอบได้
ซึ่งปัญหานี้สืบเนื่องจากการทำคำเสนอซื้อหุ้นในครั้งนี้ เป็นการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ครั้งแรกของบริษัท
ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ดูแลเรื่องนี้ และผู้ประสานงานภายนอก
ยังไม่มีความชำนาญและไม่ทราบกฏเกณฑ์กติกาที่สำนักงานก.ล.ต.ใช้พิจารณาเรื่องเอกสารหลักฐาน
ประกอบกับไม่มีหลักเกณฑ์การจัดทำเอกสารที่ระบุไว้เป็นแนวทางอย่างชัดเจนให้ถือปฏิบัติ
จึงเป็นเหตุให้เกิดข้อผิดพลาดและข้อขัดข้องตามที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว
บริษัทมีความประสงค์ที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนทุกประการโดยสุจริต
ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะแก้ไขและดำเนินการให้ถูกต้องตามที่ประสงค์ของท่านทุกประการ
สุดท้ายนี้บริษัทขออภัยมา ณ ที่นี้ต่อความผิดพลาดที่ไม่มีเจตนาที่ให้เกิดความผิดพลาดในครั้งนี้
ซึ่งบริษัทและผู้ทำคำเสนอซื้อยังขอแสดงเจตนาที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ EPCO (แบบ 247-4) ต่อไป
โดยจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนและใช้ความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชนที่พึงปฏิบัติ
และการจัดเตรียมวงเงินให้เพียงพอไว้กับตัวแทนรับซื้อหลักทรัพย์ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานก
.ล.ต

            จึงเรียนมาเพื่อทราบ

   ขอแสดงความนับถือ



        (นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)
         ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 17

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
หัวข้อข่าว แจ้งการซื้อหุ้นบริษัทมีเดีย 360จำกัด,อควา มีเดีย 360จำกัด และรายการเกี่ยวโยงให้สัตยาบันเงินกู้ 30 ล้านบาทบริษัทมีเดีย 360  
วันที่/เวลา 17 พ.ย. 2553 09:46:55  

ที่ PLUS-345/SET-083/53

วันที่  15  พฤศจิกายน  2553

เรื่อง แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 15/2553

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สิ่งที่ส่งมาด้วย
1) สารสนเทศรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ในการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด ของบริษัท อควา    
คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
2) สารสนเทศรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกันในการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท อควา มีเดีย
360 จำกัด ของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
3) สารสนเทศรายการที่เกี่ยวโยงกันในการให้สัตยาบันรายการให้เงินกู้ยืมแก่บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
จำนวน 30 ล้านบาท ของ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย

บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 15/2553
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553โดยที่ประชุมมีมติที่สำคัญสรุปได้ดังนี้

1. มีมติอนุมัติให้ยกเลิกมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 7/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน
2553 เกี่ยวกับเรื่องที่จะมีมติในการประชุมครั้งนี้
2. อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 85.8
ล้านบาท หรือจากทุนจดทะเบียนเดิม 425 ล้านบาท ลดลงเหลือ 339.2 ล้านบาท
เนื่องจากเป็นหุ้นที่จัดสรรไว้เพื่อเสนอขายแก่ประชาชนและบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)
แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ โดยให้เสนอขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป
3. อนุมัติให้บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย
360 จำกัด (เดิมชื่อ "บริษัท เอวิว มีเดีย 360 จำกัด ") จำนวน 162,999 หุ้น ในราคาหุ้นละ 400.60 บาท
(มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.9994 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
โดยการออกหุ้นใหม่ของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  จำนวน 51.93 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ
1.25755 บาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) คิดเป็นมูลค่า 65.30 ล้านบาท เพื่อชำระค่าสินทรัพย์
ซึ่งเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีขนาดรายการตามเกณฑ์การออกหลักทรัพย์เท่ากับร้อยละ 15.31
ซึ่งทรัพย์สินที่มีขนาดมากกว่าร้อยละ 15 แต่ไม่เกินร้อยละ 50
ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
และเปิดเผยสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ทันที รวมทั้งต้องมีหนังสือเวียนแจ้งผู้ถือหุ้นภายใน 21 วัน
หลังจากเปิดเผยสารสนเทศ ซึ่งมีรายละเอียดของรายการตาม "สิ่งที่ส่งมาด้วย 1)" ที่แนบมากับหนังสือฉบับนี้
4. อนุมัติให้บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าซื้อหุ้นของบริษัท อควา
มีเดีย 360 จำกัด (เดิมชื่อ "บริษัท อควา เทเลวิชั่น จำกัด ") จำนวน 24,500 หุ้น ในราคาหุ้นละ 3,359.06
บาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
โดยการออกหุ้นใหม่ของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 65.44 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ
1.25755 บาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) คิดเป็นมูลค่า 82.30 ล้านบาท เพื่อชำระค่าสินทรัพย์
และเป็นการซื้อสินทรัพย์จากบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน 2,250 หุ้น คิดเป็นมูลค่า 7.55 ล้านบาท
ซึ่งเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีขนาดรายการตามเกณฑ์การออกหลักทรัพย์เท่ากับร้อยละ 19.29
ซึ่งทรัพย์สินที่มีขนาดมากกว่าร้อยละ 15 แต่ไม่เกินร้อยละ 50
ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
และเปิดเผยสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ทันที รวมทั้งต้องมีหนังสือเวียนแจ้งผู้ถือหุ้นภายใน 21 วัน
หลังจากเปิดเผยสารสนเทศ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณขนาดของรายการตามเกณฑ์การออกหลักทรัพย์
รวมกับรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์กรณีการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด ของ AQUA
ซึ่งมีขนาดของรายการรวม 65.30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.31
ทำให้มีขนาดของรายการรวมทั้งสิ้นเท่ากับร้อยละ 34.60 ซึ่งทรัพย์สินที่มีขนาดมากกว่าร้อยละ 15
แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
และเปิดเผยสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ทันที รวมทั้งต้องมีหนังสือเวียนแจ้งผู้ถือหุ้นภายใน 21 วัน
หลังจากเปิดเผยสารสนเทศ
นอกจากนี้ รายการดังกล่าวเป็นการซื้อหุ้นบางส่วนจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน คือ นางสาววทันยา วงษ์โอภาสี
จำนวน 2,250 หุ้น หรือ 4.50% ในราคาหุ้นละ 3,359.06 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมของรายการ 7.55 ล้านบาท
จัดเป็นประเภทรายการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือบริการ มีขนาดรายการเท่ากับ 1.26%
ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ NTA หรือมากกว่า 1 ล้านบาท
ซึ่งต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทและเปิดเผยสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์
รายละเอียดของรายการตาม "สิ่งที่ส่งมาด้วย 2) ที่แนบมากับหนังสือฉบับนี้
5. อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 260.8 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 260.8 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท หรือจากเดิม 339.2 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านบาท โดยให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติต่อไป
6. อนุมัติให้บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 260.8 ล้านบาท
โดยให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติต่อไป ดังนี้
6.1 จำนวน 51.93 ล้านหุ้น เพื่อใช้ชำระค่าหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด
6.2 จำนวน 65.44 ล้านหุ้น เพื่อใช้ชำระค่าหุ้นของบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
6.3 จำนวน 143.43 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายแก่ประชาชนและบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)
7. ให้สัตยาบันรายการให้เงินกู้ยืมของ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
จำนวน 30 ล้านบาท ให้แก่บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด (เดิมชื่อ "บริษัท อควา เทเลวิชั่น จำกัด")
ซึ่งเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยให้เสนอขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป
ซึ่งมีรายละเอียดของรายการตาม "สิ่งที่ส่งมาด้วย 3)" ที่แนบมากับหนังสือฉบับนี้
8. อนุมัติให้กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2553 ในวันที่  22 ธันวาคม  2553 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องบอลรูม โรงแรม ดิ เอมเมอรัล  เลขที่ 99/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
โดยกำหนดให้วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 เป็นวันให้สิทธิผู้ถือหุ้นเข้าร่วมการประชุม (Record Date)
เข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2553 โดยจะรวบรวมรายชื่อตามมาตรา 225
ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)
ด้วยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553
และกำหนดวาระการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2553 ดังต่อไปนี้
วาระที่ 1 รับรองรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2553  เมื่อวันที่  9   สิงหาคม  2553
วาระที่ 2 พิจารณาอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  
ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 85.8 ล้านบาท หรือจากเดิม 425 ล้านบาท ลดลงเหลือ 339.2 ล้านบาท
วาระที่ 3 พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 260.8 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 260.8 ล้านหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท หรือจากเดิม 339.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านบาท
วาระที่ 4 พิจารณาอนุมัติการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 260.8 ล้านบาท ของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
วาระที่ 5 พิจารณาให้สัตยาบันรายการให้เงินกู้ยืมของ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 30 ล้านบาท ให้แก่บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด ซึ่งเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน
วาระที่ 6 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

  ขอแสดงความนับถือ
        บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)
                                 
(นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)
 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายเลขานุการบริษัท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 18

โพสต์

PLUS ส่งสัญญาณธุรกิจสดใส รายได้โฆษณาสูง-ต้นทุนต่ำลง [ ข่าวหุ้น. 22 พย. 53 ]

"ชวนพิศ" ยิ้มได้หลัง PLUS โชว์ผลประกอบการ 9 เดือนพลิกเป็นกำไรสุทธิและเพิ่มขึ้นถึง 377%
เทียบกับปีก่อน ระบุเป็นผลที่เกิดจากการดำเนินงานอย่างแท้จริงโดยมีรายได้สำคัญมาจากค่าโฆษณา พร้อม
บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนภาพผู้บริหารตั้งใจทำงานจริง พร้อมชี้เป็นสัญญาณบอกให้รู้อนาคต
PLUS จะเป็นบริษัทพื้นฐานดีได้แน่
=============================================================
^
^
ตามอ่านข่าวเฉยๆ เหมือนอ่านหนังสือตอนต่อ ยังไงก็ไม่รู้
สนุกดีครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 19

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS
แหล่งข่าว PLUS
หัวข้อข่าว การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น
วันที่/เวลา 29 พ.ย. 2553 13:53:00

PLUS -371/SET-095/53

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
เรียน กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ได้รับแบบรายงานการได้มาหุ้นของบริษัท พี พลัส
พี จำกัด (มหาชน) (บริษัท) โดยนาย วีระพันธ์ จักรไพศาล ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน
2553 บริษัทขอเรียนให้ทราบว่าการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของนายวีระพันธ์ จักรไพศาล ซึ่งคิดเป็น 10.94%
ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของบริษัทเนื่องจาก นายวีระพันธ์ จักรไพศาล
ไม่ได้เข้ามาบริหารงานของบริษัทหรือเข้ามาควบคุมในการบริหารงานและดำเนินกิจการของบริษัทแต่อย่างใด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ


ขอแสดงความนับถือ


(นายประโพธ ชุ่มวัฒนะ)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 20

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS
แหล่งข่าว PLUS
หัวข้อข่าว ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาส 2/2553 ตามที่ตลาดหลักทรัพย์สอบถาม
วันที่/เวลา 29 พ.ย. 2553 14:11:00

PLUS-366/SET-094/10
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553

เรื่อง ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) (PLUS)
ได้นำส่งงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทสำหรับไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553
ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปรากฏรายการลงทุนในบริษัท
ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (Parking) ซึ่งมีการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่
รายการเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า ซึ่งมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างงวดสูง
และรายการให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลอื่นที่ขยายเวลาได้รับชำระคืนให้กู้ยืมดังกล่าวไปจนถึงภายในปี
2553 ดังนั้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการดังกล่าวข้างต้น ดังนี้

1. การลงทุนในบริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (Parking)
ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 16 ระบุว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้บริษัทและบริษัทย่อย คือบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(AQUA) ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ของบริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (Parking) จำนวน 300,000 หุ้น
หุ้นละ 100 บาท รวม 30 ล้านบาท และจำนวน 400,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวม 40 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ
วันที่ 30 มิถุนายน 2553 บริษัทและบริษัทย่อย จ่ายชำระเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองดังกล่าวรวม 54.70 ล้านบาท
เพื่อให้ Parking
นำไปเป็นหลักประกันในการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารแห่งหนึ่งเพื่อให้สามารถทำสัญญากับบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เพื่อรับสิทธิในการบริหารที่จอดรถของสนามบินสุวรรณภูมิ
ซึ่งบริษัทได้เปิดเผยว่า การลงทุนใน Parking ดังกล่าว
บริษัทมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป
และจัดส่งหนังสือแจ้งข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 บริษัทเปิดเผยว่า
อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อพิจารณาว่าบริษัทและบริษัทย่อยจะยังลงทุนใน Parking
ต่อไปหรือจะรับเงินมัดจำค่าหุ้นคืน โดยจะมีแนวทางที่ชัดเจนภายในเดือนกันยายน 2553 และเมื่อวันที่ 6
ตุลาคม 2553 บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า เดิมบริษัทได้รับแจ้งว่าจะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง
Parking บริษัทผู้รับสัมปทานโดยผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร กับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ในวันที่ 11 ตุลาคม 2553 เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการตามสัมปทาน
เพื่อที่จะได้แนวทางที่ชัดเจนแก่บริษัทในการที่จะลงทุนต่อหรือยุติการลงทุน
และต่อมาได้มีข่าวตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ
อันเป็นผลกระทบต่อดำเนินการของบริษัทผู้รับสัมปทานซึ่งอาจส่งผลต่อการลงทุนของบริษัท
ซึ่งบริษัทกำลังเร่งดำเนินการหาข้อสรุปและแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท
ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้บริษัทขอชี้แจงรายละเอียดให้ทราบดังนี้
ภายหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553
ได้มีมติอนุมัติการลงทุนดังกล่าวของบริษัทและบริษัทย่อย
โดยบริษัทและบริษัทย่อยได้ชำระเงินตามเงื่อนไขของสัญญาให้กับ Parking
ตามจดหมายเรียกให้ชำระค่าหุ้นฉบับลงวันที่ 27 เมษายน 2553
โดยนำฝากเช็คสั่งจ่ายค่าหุ้นล่วงหน้าของบริษัทและบริษัทย่อยเข้าบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งประเภทบัญชีเงินฝากป
ระจำ เลขที่ 026-3-14417-1 ชื่อบัญชีบริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด จำนวน 50 ล้านบาท
(โดยบัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีเปิดใหม่เพื่อใช้สำหรับนำเงินเข้าฝาก
ซึ่งจะไม่สามารถเบิกถอนเงินสดออกมาใช้จ่ายได้)
เพื่อเป็นหลักประกันในการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้กับ AOT และเข้าประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
เลขที่ 026-2-12329-6 ชื่อบัญชีบริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด จำนวน 20 ล้านบาท
เพื่อชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคาร
และสาเหตุที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนเนื่องจากในวันที่ 30 เมษายน 2553 Parking
มีกำหนดที่จะต้องลงนามสัญญากับ AOT
ดังนั้นจึงมีความเร่งด่วนที่ต้องชำระเงินดังกล่าวเพื่อใช้ในการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคาร
รวมทั้งบริษัทได้มีการตรวจสอบการมีอยู่จริงของโครงการและรายชื่อผู้ที่ได้รับสัมปทานดังกล่าวแล้ว
ซึ่งในข้อตกลงเกี่ยวกับการร่วมทุนบริษัทได้ทำนิติกรรมเพื่อให้ Parking
เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาการเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้กับบริษัทตามข้อตกลง
เนื่องจากในการดำเนินการดังกล่าวต้องมีขั้นตอนและระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมาย แต่ภายหลังทาง Parking
ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ เนื่องจากผู้บริหารของ Parking
ได้นำโครงการดังกล่าวไปเสนอให้กับบุคคลอื่นๆ หลาย ๆ ราย รวมทั้งมีการปลอมแปลงเอกสารต่าง ๆ
เพื่อใช้ในการจดทะเบียนเพื่อให้มีอำนาจในการทำนิติกรรมกับบุคคลอื่น ๆ ได้
ซึ่งทางบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ยื่นหนังสือคัดค้านในการจดทะเบียนเพิ่มทุนและการเปลี่ยนแปลงกรรมการ
จนถึงปัจจุบัน Parking
ยังไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนให้บริษัทเข้าเป็นผู้ถือและส่งตัวแทนเข้าเป็นกรรมการร่วมบริหารได้
ภายหลังการลงนามสัญญากับ AOT (วันลงนามสัญญากับ AOT คือวันที่ 30 เมษายน 2553) ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ
เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ตามรายละเอียดที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ทำให้ AOT
ได้แจ้งให้ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันว่า Parking ไม่ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือไม่ชำระค่าตอบแทนให้แก่
AOT และ AOT ขอให้ธนาคารส่งมอบเงินประกันตามหนังสือค้ำประกันให้กับ AOT จำนวน 66,928,310.83 บาท
จากจำนวนหนังสือค้ำประกันทั้งหมด 2 ฉบับจำนวน 118,631,740 บาท และภายหลัง AOT
ได้บอกเลิกสัญญาดังกล่าวกับ Parking โดยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553
ตามที่ปรากฏข่าวสารจากสื่อต่างๆ ซึ่งการยกเลิกดังกล่าวทำให้บริษัทได้รับความเสียหายของเงินลงทุน
จึงทำให้บริษัทต้องดำเนินการเพื่อเรียกร้องความเสียหายกับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง
บริษัทขอเรียนให้ทราบที่มาของตัวเลขเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจอง จำนวน 54.70
ล้านบาทตามยอดที่ปรากฏในงบการเงินไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 และตัวเลขปัจจุบัน ณ
วันที่ 30 กันยายน 2553 มีรายละเอียดดังนี้

บริษัท

หน่วย : ล้านบาท บัญชีเงินฝากธนาคารที่นำเงินเข้า
รับชำระเงินล่วงหน้าค่าหุ้นคืน Q 2/2553 ยอดคงเหลือ ณ วันที่
30 มิ.ย.53 รับชำระเงินล่วงหน้าค่าหุ้นคืน Q 3/2553 ยอดคงเหลือ ณ วันที่
30 ก.ย.53
ออมทรัพย์ ประจำ รวม
PLUS 13 17 30 8.3 21.7 - 21.7
AQUA 7 33 40 7.0 33.0 4.7 28.3
รวม 20 50 70 15.3 54.7 4.7 50.0

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2553 ของบริษัท อควา
คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้มีมติอนุมัติให้บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โอนขายสิทธิเรียกร้องให้กับนิติบุคคลแห่งหนึ่งซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กัน เป็นเงินจำนวน 28 ล้านบาท
ทำให้ขาดทุนจากการขายเงินลงทุนจำนวน 0.3 ล้านบาท
และภายหลังจากการขายเงินลงทุนมีผลทำให้เงินล่วงหน้าค่าหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยคงเหลือเท่ากับ 21.7
ล้านบาท
นอกจากนี้ตามหนังสือที่กล่าวถึงข้างต้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขอให้บริษัทชี้แจงในประเด็นต่างๆ
ดังนี้

1.1
ความคืบหน้าและกำหนดเวลาที่บริษัทและบริษัทย่อยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในการลงทุนหรือยุติการลงทุนในParking
จากรายละเอียดข้างต้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 13/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553
มีมติให้ยุติการลงทุนใน Parking
และให้ดำเนินการเรียกร้องความเสียหายจากคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
เพื่อลดความเสียหายของเงินลงทุนดังกล่าว

1.2 แนวทางดำเนินการของบริษัทและบริษัทย่อยในการเรียกคืนเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจอง
หากตัดสินใจยุติการลงทุนใน Parking
บริษัทอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อส่งให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการเรียกร้องความเสียหาย
โดยให้ดำเนินการอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อลดความเสียหายของเงินลงทุนดังกล่าว
และหากได้ความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป

1.3 ชื่อผู้ที่อนุมัติให้บริษัทและบริษัทย่อยจ่ายเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองจำนวน 54.70 ล้านบาท
โดยยังไม่ได้รับหุ้นของ Parking และเหตุผลที่อนุมัติให้จ่ายเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองดังกล่าว
ตามรายละเอียดข้างต้น บริษัทได้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องชำระเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองจำนวน 70
ล้านบาท (ภายหลังได้รับชำระเงินบางส่วนคืนทำให้มียอดคงเหลือจำนวน 54.70 ล้านบาท
ตามรายละเอียดในตารางข้างต้น) เนื่องจาก Parking
ต้องนำเงินดังกล่าวไปวางเป็นหลักประกันในการออกหนังสือค้ำประกันและชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือค้ำปร
ะกันของธนาคารแห่งหนึ่ง เพื่อให้สามารถลงนามในสัญญากับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ในวันที่
30 เมษายน 2553 รวมทั้งบริษัทได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสัญญาสัมปทานดังกล่าวว่ามีอยู่จริง
และการเพิ่มทุน Parking
ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาการเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้กับบริษัทต้องมีขั้นตอนในการด
ำเนินการและระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมาย
ทั้งนี้เงื่อนไขการชำระเงินได้แจ้งให้ที่ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติแล้ว ซึ่งในการชำระเงินให้กับ Parking

ตามจำนวนดังกล่าวบริษัทได้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและเงื่อนไขของสัญญาที่ได้แจ้งไว้ข้างต
้นแล้วนั้น

1.4 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการลงทุนใน Parking ของบริษัทและบริษัทย่อย
โดยจ่ายเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองจำนวน 54.70 ล้านบาท โดยยังไม่ได้รับหุ้นของ Parking
บริษัทขอเรียนว่า ในการพิจารณารายละเอียดเพื่ออนุมัติการลงทุนและการจ่ายชำระเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองจำนวน
70 ล้านบาท (ภายหลังได้รับชำระเงินบางส่วนคืนทำให้มียอดคงเหลือจำนวน 54.70 ล้านบาท
ตามรายละเอียดในตารางข้างต้น) โดยยังไม่ได้รับหุ้นของ Parking ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบครั้งที่
5/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 ได้พิจารณาความเหมาะสมของการลงทุน
และให้ความเห็นชอบต่อรายการที่บริษัท และบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (บริษัทย่อย)
จะลงทุนระยะยาวในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด จำนวน 30 ล้านบาท และ 40
ล้านบาท ตามลำดับ ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
1. เห็นควรให้ฝ่ายจัดการ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ความเหมาะสมและความชัดเจน ในผลตอบแทนดังกล่าว
รวมถึงแนวทางการป้องกันความเสี่ยงกรณีที่ผลตอบแทนไม่ได้เป็นไปตามที่ฝ่ายจัดการประมาณการไว้
2. เนื่องจากบริษัทและบริษัทย่อย มีการลงทุนในสัดส่วนที่สูง
ดังนั้นเห็นควรจัดให้มีผู้แทนของบริษัทเข้าไปเป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินการสำหรับการลงทุนดังกล่าว
3. ให้ฝ่ายจัดการเปิดเผยสารสนเทศตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดให้ครบถ้วนถูกต้อง
ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินล่วงหน้าค่าหุ้นจองจำนวน 70 ล้านบาท
(ภายหลังได้รับชำระเงินบางส่วนคืนทำให้มียอดคงเหลือจำนวน 54.70 ล้านบาท ตามรายละเอียดในตารางข้างต้น)
โดยยังไม่ได้รับหุ้นของ Parking คณะกรรมการตรวจสอบไม่ได้พิจารณารายละเอียดของประเด็นดังกล่าว
เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
และสามารถเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท รวมทั้งเพิ่มมูลค่าให้แก่กิจการและให้ผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้สัญญาให้สัมปทานของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
และข้อตกลงเกี่ยวกับการร่วมทุน

2. เงินลงทุนชั่วคราวในหลักทรัพย์เพื่อค้า
ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 ในระหว่างงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553
บริษัทและบริษัทย่อยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าจำนวนสูงถึง 450.07 ล้านบาท (มูลค่าซื้อ 242.77
ล้านบาท และมูลค่าขาย 207.30 ล้านบาท) หรือเท่ากับ 48.96% ของสินทรัพย์รวม ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27
สิงหาคม 2553
บริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์และผู้ลงทุนทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนที่คณะกรรมการบริษัท
มีมติอนุมัติคู่มือและระเบียบปฎิบัติในการลงทุนเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553
โดยกำหนดว่านโยบายการลงทุนระยะสั้นของบริษัทจะเน้นการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงและเน้นหุ้นที่มีศักยภาพแล
ะพื้นฐานดี อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2)
ที่บริษัทรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. พบว่า
ภายหลังจากวันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติคู่มือและระเบียบปฎิบัติในการลงทุน (วันที่ 20 กรกฎาคม
2553 ) บริษัทและบริษัทย่อยได้ขายหลักทรัพย์ของ บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์(1998 ) จำกัด (มหาชน) (SLC)
ที่ถืออยู่ออกไปจำนวน 116,682,600 หุ้น คิดเป็น 19.025% ของทุนชำระแล้วในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2553
และต่อมาในเดือนตุลาคม 2553 บริษัทมีการซื้อขายหลักทรัพย์ของ SLC จำนวน 33,375,200 หุ้น
และจำหน่ายหลักทรัพย์ของ SLC จำนวน 8,353,900 หุ้นคิดเป็น 5.51% และ 1.38% ของทุนชำระแล้วตามลำดับ
ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบนโยบายการลงทุนระยะสั้นของบริษัทที่กำหนดว่า
เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีศักยภาพและพื้นฐานดี แต่จากข้อมูลผลการดำเนินงานของ SLC
ที่เปิดเผยต่อสาธารณชนพบว่า SLC มีผลขาดทุนสุทธิอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 และสำหรับงวด
6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 SLC มีผลขาดทุนสุทธิ 50.82 ล้านบาท ดังนั้น
ตลาดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังนี้

2.1 การลงทุนในหลักทรัพย์ SLC
ของบริษัทและบริษัทย่อยเป็นการดำเนินการตามคู่มือและระเบียบปฎิบัติในการลงทุนที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ
ไว้หรือไม่ อย่างไร
บริษัทขอเรียนว่า ตามรายละเอียดข้างต้นได้กล่าวถึงการลงทุนในระหว่างงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30
มิถุนายน 2553 บริษัทและบริษัทย่อยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าจำนวนสูงถึง 450.07 ล้านบาท
(มูลค่าซื้อ 242.77 ล้านบาท และมูลค่าขาย 207.30 ล้านบาท) หรือเท่ากับ 48.96% ของสินทรัพย์รวมนั้น
บริษัทเห็นว่าการพิจารณามูลค่าซื้อขาย ควรดูที่มูลค่าสุทธิ มิใช่การนำยอด Turnover
จากการซื้อขายมารวมกันและนำมาเปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัท
ซึ่งในกรณีที่เปรียบเทียบยอดสุทธิของบริษัท มียอดซื้อมากกว่ายอดขายอยู่ 35.47 ล้านบาท หรือ 8.27%
ของสินทรัพย์รวมเท่านั้น
ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ SLC ของบริษัทและบริษัทย่อย
บริษัทได้ปฏิบัติตามคู่มือและระเบียบปฎิบัติในการลงทุน
โดยการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาดประเภทเพื่อค้า คณะกรรมการได้มอบหมายให้ นางชวนพิศ
ฉายเหมือนวงศ์ (กรรมการผู้จัดการ) นายประโพธ ชุ่มวัฒนะ (กรรมการ) และ ผู้จัดการฝ่ายบริหารการลงทุน
(ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้ง) เป็นผู้พิจารณาการลงทุนได้ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
(ในการซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละคราว) โดยการลงทุนใน SLC ได้มีพิจารณารายละเอียดดังนี้
(1) SLC ทำธุรกิจ Software Computer และสถานีข่าวผ่านดาวเทียม
ซึ่งเห็นว่าน่าจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับกลุ่มบริษัทได้ และที่ผ่านมาก็ได้มีการนำข่าวของทางสปริงนิวส์
ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SLC มาขึ้นจออัจริยะ และกำลังเจรจากันถึงเรื่องการนำซอฟท์แวร์ของ SLC
มาใช้ในการบริหารงานของกลุ่มบริษัท
(2) แม้ว่า SLC จะมีผลขาดทุน แต่ก็เป็นผลขาดทุนในช่วงเริ่มต้นของการทำสถานีข่าวผ่านดาวเทียม ซึ่งบริษัท
เชื่อว่าจะมีศักยภาพและความมั่นคงในอนาคต รวมทั้งยังสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทในเครือของ PLUS
ได้อีกด้วย

2.2 ผู้อนุมัติและเหตุผลที่บริษัทและบริษัทย่อยตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ SLC
ตามที่ระบุไว้ในข้อ 2.1
อำนาจตามคู่มือและระเบียบปฎิบัติในการลงทุนได้กำหนดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาดประเภทเ
พื่อค้า
คณะกรรมการได้มอบหมายให้กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการฝ่ายบริหารการลงทุนเป็นผู้พิจารณาการลงทุนได้ในวงเง
ินไม่เกิน 50 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในการประชุมคณะกรรมการบริษัท
ฝ่ายจัดการมีหน้าที่ต้องรายงานสรุปการซื้อ-ขายของหลักทรัพย์ให้ที่ประชุมทราบอย่างสม่ำเสมอ

2.3 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการลงทุนระยะสั้นในระยะที่ผ่านมาของบริษัทและบริษัทย่อย
โดยที่การลงทุนใดๆ บริษัทได้ถือปฏิบัติตามคู่มือและระเบียบปฎิบัติในการลงทุน
ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาสอบทานงบการเงินประจำไตรมาส
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ผู้สอบบัญชีได้รายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ
ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจ
จะเกิดขึ้นต่อเงินลงทุนดังกล่าว ซึ่งในกรณีที่ลงทุนระยะสั้นขาดความระมัดระวังและรอบคอบ
รวมทั้งการศึกษาข้อมูลไม่เพียงพออาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการลงทุนได้

3. รายการให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลอื่น 1 ราย ยอดคงเหลือ 12 ล้านบาท
ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 ระบุว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553
บริษัทมีเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลอื่นจำนวน 2 ราย โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 46 ล้านบาท
และในเดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม 2553 บริษัทได้รับชำระเงินจากลูกหนี้ดังกล่าวจำนวนรวม 34 ล้านบาท
โดยบริษัทได้รับชำระจากนางสาวพรพรรณ เที่ยงพิมล ครบถ้วนแล้วสำหรับนางสาวปิยฉัตร
บุรินทร์วัฒนายังคงค้างชำระอีกจำนวน 12 ล้านบาท
ซึ่งคาดว่าลูกหนี้ดังกล่าวจะสามารถชำระหนี้ได้แล้วเสร็จภายในปี 2553
ทั้งนี้เดิมบริษัทแจ้งว่าจะรับชำระคืนจากผู้กู้ให้ครบถ้วนภายในเดือนธันวาคม 2553
แต่ต่อมาบริษัทได้ขอขยายเวลาการรับชำระคืนเงินให้กู้ยืมอีกจำนวน 3 ครั้ง คือภายในเดือนมกราคม 2553
ภายในเดือนกรกฎาคม 2553 และภายในปี 2553 นอกจากนี้ บริษัทแจ้งว่า
ในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 ที่ประชุมเห็นว่า
เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเห็นควรให้ฝ่ายจัดการเจรจา
เพื่อขอรับหลักทรัพย์จากลูกหนี้มาเป็นหลักประกันในช่วงระหว่างที่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากใกล้จะครบกำหนดที่บริษัทต้องได้รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมดังกล่าวให้ครบถ้วนแล้ว
ตามที่ได้แจ้งให้ผู้ลงทุนทราบ ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลดังนี้

3.1 เหตุผลและความจำเป็นที่บริษัทขยายเวลาได้รับชำระหนี้คืนเงินให้กู้ยืมดังกล่าวภายในปี 2553
ตามข้อมูลข้างต้นบริษัทมีการขยายเวลาเวลาในการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้เงินให้กู้ยืมทั้ง 2 ราย
โดยบริษัทได้พิจารณาถึงการแสดงเจตนาในการชำระเงินกู้และดอกเบี้ย
ในระยะเวลาที่ผ่านมาทางผู้กู้ได้ชำระดอกเบี้ยให้กับบริษัทตรงตามกำหนดมาโดยตลอด
รวมทั้งการแสดงเจตนาที่จะชำระในส่วนของเงินต้นคืนให้กับบริษัทโดยมีการผ่อนชำระคืนมาบางส่วน
นอกจากนี้ทางผู้กู้ได้มีการติดต่อกับบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวบริษัทเห็นว่าลูกหนี้ยังให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้ของบริ
ษัท มีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลาในการชำระดอกเบี้ย รวมทั้งพิจารณาแล้วเห็นว่า
การดำเนินการในลักษณะที่ไม่ผ่อนผันโดยการเรียกให้ลูกหนี้ชำระคืนเงินต้นส่วนที่เหลือ
อาจจะจำเป็นต้องนำเข้าขบวนการของการเรียกร้องทางกฏหมาย
ซึ่งจะทำให้บริษัทต้องใช้เวลาในการดำเนินการและจะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามกำหนดระยะเวลาที่เคยได้รับ
จากการประเมินข้อดีข้อเสียแล้วเห็นว่า การผ่อนผันระยะเวลาในการชำระคืนเงินต้นน่าจะได้ประโยชน์กว่า
จึงได้อนุมัติการขยายเวลาดังกล่าวให้กับลูกหนี้ทั้ง 2 ราย
ทั้งนี้ลูกหนี้รายนางสาวพรพรรณ เที่ยงพิมล ได้ชำระคืนเงินต้นครบถ้วนแล้วในวันที่ 20 ตุลาคม 2553
และลูกหนี้รายนางสาวปิยฉัตร บุรินทร์วัฒนา ได้ชำระคืนเงินต้นครบถ้วนแล้วในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
ตามที่บริษัทได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไปทราบแล้วเมื่อวันที่ 21
ตุลาคม 2553 และวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 ตามลำดับ

3.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาขยายเวลาได้รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมดังกล่าว
ตามรายละเอียดที่บริษัทได้เรียนให้ทราบตามข้อ 3.1
หลักเกณฑ์ที่บริษัทนำมาพิจารณาขยายเวลาได้รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมดังกล่าว มีหลักใหญ่ๆ ดังนี้
(1) การแสดงเจตนาและระเบียบวินัยของลูกหนี้ต่อการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ย
(2) การประเมินข้อดีข้อเสียระหว่างการไม่ผ่อนผันกับการผ่อนผันเพื่อให้ขยายเวลาในการชำระคืนเงินกู้

3.3 ผู้อนุมัติขยายเวลาการได้รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมดังกล่าว
เนื่องจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมดังกล่าว
เป็นรายการที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้ฝ่ายจัดการต้องรายงานความคืบหน้าและสถานะของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมท
ั้ง 2 รายให้ที่ประชุมรับทราบ และในการติดต่อเพื่อขอขยายเวลาการชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าว
ลูกหนี้จะติดต่อผ่านฝ่ายจัดการของบริษัท ซึ่งฝ่ายจัดการจะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่แจ้งไว้ในข้อ 3.2
เป็นแนวทางในการพิจารณา รวมทั้งการรายงานสถานะของลูกหนี้ให้ที่ประชุมคณะกรรมการรับทราบอย่างสม่ำเสมอ

3.4 รายละเอียดของหลักประกันที่ผู้กู้ได้นำมาวางเป็นหลักประกันการกู้ยืมดังกล่าว
และแนวทางในการพิจารณาการประเมินมูลค่าหลักประกัน
ในเบื้องต้นในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการให้กู้ยืม
ผู้กู้ได้เสนอให้ผู้ค้ำประกันเป็นบุคคลโดยค้ำประกันเต็มวงเงิน
และภายหลังที่มีการขยายเวลาจากภายในเดือนกรกฎาคม 2553 เป็นภายในปี 2553
ซึ่งบริษัทได้มีการแจ้งให้ผู้กู้ทราบว่าในครั้งนี้ถ้าผู้กู้ไม่ชำระคืนเงินต้นได้ภายในกำหนดเวลาที่แสดงคว
ามจำนงมา บริษัทอาจจะต้องการดำเนินการเพื่อเรียกให้ชำระเงินต้น
รวมทั้งในการประเมินจำนวนเงินต้นที่คงเหลือกับความสามารถในการชำระหนี้แทนของผู้ค้ำประกันในกรณีที่ลูกหนี
้รายดังกล่าวมีปัญหา และบริษัทอาจจำเป็นต้องเรียกหลักประกันเพิ่ม
หรือในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามบริษัทได้ บริษัทจะต้องดำเนินการเรียกร้องตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

3.5 การดำเนินการของบริษัท หากผู้กู้ยังไม่ชำระคืนภายในปี 2553
และความเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับแนวทางดำเนินการของบริษัทในเรื่องดังกล่าว
ตามที่บริษัทได้เรียนไว้ในข้อ 3.4 เกี่ยวกับการดำเนินการในการขอขยายเวลาจากภายในเดือนกรกฎาคม 2553
เป็นภายในปี 2553 ของผู้กู้
บริษัทได้มีการแจ้งให้ผู้กู้ทราบว่าในครั้งนี้ถ้าผู้กู้ไม่ชำระคืนเงินต้นได้ภายในกำหนดเวลาที่แสดงความจำ
นงมา บริษัทอาจจะต้องการดำเนินการเพื่อเรียกให้ชำระเงินต้น
รวมทั้งในการประเมินจำนวนเงินต้นที่คงเหลือกับความสามารถในการชำระหนี้แทนของผู้ค้ำประกันในกรณีที่ลูกหนี
้รายดังกล่าวมีปัญหา บริษัทอาจจำเป็นต้องเรียกหลักประกันเพิ่ม
หรือในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามบริษัทได้ บริษัทจะต้องดำเนินการเรียกร้องตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายจัดการเห็นควร
ให้นำเสนอเพื่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาพร้อมกับข้อมูลการเงินประจำไตรมาสที่ 3/2553
ประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 อย่างไรก็ตามลูกหนี้ทั้ง 2
รายได้ชำระคืนเงินต้นส่วนที่เหลือทั้งจำนวนแล้ว (ลูกหนี้รายนางสาวพรพรรณ เที่ยงพิมล
ได้ชำระคืนเงินต้นครบถ้วนแล้วในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 และลูกหนี้รายนางสาวปิยฉัตร บุรินทร์วัฒนา
ได้ชำระคืนเงินต้นครบถ้วนแล้วในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553)
จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องนำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าพิจารณา
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)


(นายประโพธ ชุ่มวัฒนะ)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายเลขานุการบริษัท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 21

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS
แหล่งข่าว PLUS
หัวข้อข่าว เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
วันที่/เวลา 02 ธ.ค. 2553 09:14:26

ที่ PLUS -372/SET-096/53

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
เรียน กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ได้รับแบบรายงานการได้มาหุ้นของบริษัท พี พลัส
พี จำกัด (มหาชน) (บริษัท) ของรายนายวีระพันธ์ จักรไพศาล และ นายพลสิทธิ ภูมิวสนะ ซึ่งเป็นการได้มา
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553
บริษัทขอเรียนว่าการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของ นายวีระพันธ์ จักรไพศาล และ นายพลสิทธิ ภูมิวสนะ
ซึ่งคิดเป็น 10.94% และ 10.38 % ตามลำดับนั้น ได้มาจากกลุ่มตระกูลเอี้ยวศิวิกูล
ซึ่งเดิมถือหลักทรัพย์ในบริษัท คิดเป็น 24.75% และปัจจุบันลดลงเหลือ 3.43%
การเปลี่ยนแปลงข้างต้นไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของบริษัท เนื่องจาก นายวีระพันธ์
จักรไพศาล และ นายพลสิทธิ ภูมิวสนะ
ไม่ได้เข้ามาร่วมบริหารงานของบริษัทหรือเข้ามาควบคุมในการบริหารงานและดำเนินกิจการของบริษัทแต่อย่างใด

จึงเรียนมาเพื่อทราบ


ขอแสดงความนับถือ


(นายประโพธ
ชุ่มวัฒนะ)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายเลขานุการบริษัท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เรื่อง "ความเห็น IFA เกี่ยวกับการให้สัตยาบันในการให้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท" ของ Plus
ผมว่า "อ่านสนุก และได้ความรู้" อ่ะนะครับ
ที่ http://www.set.or.th/dat/news/201012/10043825.pdf

น่าสนใจดีครับ (^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 23

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS
แหล่งข่าว PLUS
หัวข้อข่าว ชี้แจงข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงานกลต.สอบถาม
วันที่/เวลา 17 ม.ค. 2554 13:48:04

ชี้แจงข่าวหรือข้อมูล

PLUS- 002/SET-001/54
วันที่ 14 มกราคม 2554

เรื่อง ชี้แจงการซื้อหุ้นบ.มีเดีย 360 และบ.อควา มีเดีย 360 และการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าจำนวนมาก
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน) ("PLUS / บริษัท")
ได้เปิดเผยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 15/2553
และข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) ("AQUA") ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน
2553 โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้ อนุมัติให้ AQUA (บริษัทย่อยที่ PLUS ถือหุ้นในสัดส่วน
44.24% ของทุนชำระแล้ว) เข้าซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด และบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
("กิจการทั้ง 2 แห่ง") โดยออกหุ้นสามัญของ AQUA จำนวน 51.93 ล้านหุ้น และ 65.44
ล้านหุ้นตามลำดับเพื่อแลกเปลี่ยน ทั้งนี้สำนักงานกลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอให้ PLUS
ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ลงทุนทั่วไป โดยให้ชี้แจงภายใน วันที่ 20
ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ PLUS ได้ขอขยายเวลาเป็นวันที่ 7 มกราคม 2554
จากข้อมูลข้างต้น PLUS ขอเรียนให้ทราบว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 16/2553 มีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 15/2553
ประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ในมติดังต่อไปนี้
1. มติอนุมัติให้บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด
โดยการออกหุ้นใหม่เพื่อชำระค่าสินทรัพย์ ซึ่งเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์
2. มติอนุมัติให้บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
โดยการออกหุ้นใหม่เพื่อชำระค่าสินทรัพย์ ซึ่งเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน
3. มติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน
260.8 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 260.8 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท หรือจากเดิม
339.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านบาท
4. มติอนุมัติการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 260.8 ล้านบาท ของบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
และมีมติอนุมัติให้ยกเลิกวาระการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2553 ซึ่งได้ประชุมในวันที่ 22
ธันวาคม 2553 โดยมีวาระการประชุมที่มีมติให้ยกเลิกดังนี้
วาระที่ 3 พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 260.8 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 260.8 ล้านหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท หรือจากเดิม 339.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านบาท
วาระที่ 4 พิจารณาอนุมัติการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 260.8 ล้านบาท ของบริษัท
อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
จากมติดังกล่าวมีผลให้การทำรายการเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ของ AQUA ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
ได้ถูกยกเลิกการทำรายการ ได้แก่ รายการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด และบริษัท อควา มีเดีย
360 จำกัด โดยออกหุ้นสามัญของ AQUA จำนวน 51.93 ล้านหุ้น และ 65.44 ล้านหุ้น ตามลำดับเพื่อแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตามทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานกลต. มีความประสงค์ให้ PLUS
ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้นักลงทุนรับทราบข้อมูลของรายการดังกล่าว รวมทั้งรายการให้เงินกู้ยืมของ
AQUA ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 30 ล้านบาท ให้แก่บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
ซึ่งเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันที่ PLUS ต้องขอสัตยาบันจากผู้ถือหุ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2553
และรายการเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าในงบการเงินงวดไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553
ดังนี้

1. รายการซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัดและบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
1.1 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553 คณะกรรมการบริษัทมีมติให้ AQUA ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PLUS
ลงทุนในกิจการทั้ง 2 แห่งข้างต้น โดยซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด จากนางชวัลลักษณ์
เอี่ยมอำภาและนางทิพวรรณ ปัญญาจิรวุฒิ ในสัดส่วน 45%
ของทุนชำระซึ่งเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนทำรายการ
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 บริษัทแจ้งว่า AQUA
จำเป็นที่จะต้องศึกษาและทบทวนการเข้าทำรายการซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด และบริษัท อควา มีเดีย
360 จำกัด
ซึ่งอาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของการเข้าทำรายการจึงยกเลิกการทำรายการดังกล่าวออกไปก่อน
ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ได้มีมติให้เข้าลงทุนในกิจการทั้ง 2
แห่งดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยแจ้งว่าจะซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด จาก นายสุรพัศ สิขเรศ
นายนริศ วรวุฒิ นายอภิชาติ โพธิ์ถนอม และนายนพไชย ประเทืองสุขสกุล ซึ่งไม่ได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน
จึงไม่เข้าข่ายต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ขายหุ้นของบริษัท
มีเดีย 360 จำกัด จากผู้ขายรายเดิมที่เป็นบุคคลเกี่ยวโยงมาเป็นบุคคลอื่น ตลาดหลักทรัพย์
จึงขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลดังนี้

(1) เหตุผลและที่มาที่ไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้ขายหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด
จากรายเดิมที่เป็นบุคคลเกี่ยวโยงมาเป็นบุคคลอื่นภายในเวลาเพียง 5
เดือนนับจากวันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติเข้าลงทุนครั้งก่อน
ตอบ จากข้อมูลดังกล่าว เป็นความประสงค์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด ซึ่ง PLUS
ไม่สามารถทราบเหตุผลได้ ทั้งนี้ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติรายการดังกล่าว
PLUS ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และเกณฑ์เกี่ยวกับรายการเกี่ยวโยงกันแล้ว

(2) รายละเอียดการติดต่อเจรจาระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับผู้ขายรายใหม่ โดยกล่าวถึงวันที่ติดต่อ
ชื่อผู้แทนจากบริษัทหรือบริษัทย่อยและเหตุผลที่ผู้ขายรายใหม่ต้องการขายหุ้นให้บริษัทย่อย
ตอบ เมื่อประมาณวันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2553 AQUAได้รับ ทราบผลประกอบการไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30
กันยายน 2553 ของ อควา มีเดีย 360 (ส่วนผลประกอบการของ มีเดีย 360 ซึ่งประกอบธุรกิจเดียวกันกับ อควา
มีเดีย 360 น่าจะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน) และทราบว่ามีการตกลงขายหุ้นมีเดีย 360 ฝ่ายบริหารของ AQUA
ได้ให้ นายพลสิทธิ ภูมิวสนะ เข้าเจรจากับผู้ถือหุ้นของกิจการทั้ง 2 แห่งอีกครั้ง
เนื่องจากเห็นว่าผลประกอบการของทั้ง 2 กิจการมีแนวโน้มที่ดี
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ
ส่วนเหตุผลของผู้ขายรายใหม่ต้องการขายหุ้นให้บริษัทย่อยบริษัทไม่สามารถทราบได้

(3) ผู้ขายหุ้นในบริษัท มีเดีย 360 จำกัด มีความสัมพันธ์กับบริษัท หรือ บริษัทย่อย หรือ
ผู้บริหารของบริษัทหรือบริษัทย่อยอย่างไร
ตอบ บริษัทขอเรียนว่า จากการตรวจสอบความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าว ไม่พบว่า เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน
และไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับบริษัท หรือ บริษัทย่อย หรือ ผู้บริหารของบริษัทหรือบริษัทย่อย

1.2 เนื่องจากราคาซื้อหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัดและบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีจำนวน 3.19 เท่าและ 39 เท่าตามลำดับ ดังนั้น จึงขอให้ PLUS
ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
(1) ในการประเมินมูลค่าของกิจการทั้ง 2 แห่งข้างต้น บริษัทได้มีการทำหรือได้ว่าจ้างบุคคลใดทำ
Due diligence หรือไม่ อย่างไร
ตอบ AQUAได้ชี้แจงมาว่า ได้ดำเนินการดังนี้
- บริษัท มีเดีย 360 จำกัด ได้ส่งทีมงานฝ่ายบัญชีและการเงินของAQUA เข้าไปทำ Due diligence
- บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
ไม่ได้ทำเนื่องจากเป็นบริษัทย่อยซึ่งทราบข้อมูลจากการจัดทำงบการเงินรวมของ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) อยู่แล้ว
(2) เหตุผลที่บริษัทเลือกประเมินมูลค่าของกิจการทั้ง 2 แห่ง โดยใช้วิธีประเมินด้วย P/E Ratio
รวมทั้งเหตุผลที่บริษัทไม่เลือกใช้วิธีการประเมินอื่นๆ (โดยให้อธิบายแยกเป็นแต่ละวิธีประเมิน)
โดยขอให้ระบุที่มาและสมมติฐานในการกำหนด P/E Ratio ของ AQUA และกิจการทั้ง 2 แห่งข้างต้นด้วย
ตอบ ในการประเมินมูลค่ากิจการ บริษัทได้ใช้วิธีส่วนลดกระแสเงินสดสุทธิ (Discounted Cash Flow Approach)
เป็นฐานในการพิจารณา (ซึ่งผลการคำนวณตามวิธีดังกล่าวจะได้ราคาที่ AQUA ใช้ซื้อหุ้น อควา มีเดีย 360 และ
มีเดีย 360 ในราคาหุ้นละ 3,649.91 บาท และ 429.49 บาท ตามลำดับ)
โดยมีสมมติฐานหลักมาจากผลการดำเนินงานในปัจจุบัน และคาดการณ์ถึงผลประกอบการที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต
ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญ เงื่อนไขหนึ่งในการดำเนินการแลกหุ้น ส่วนการเจรจานั้น ได้เลือกใช้วิธี P/E
Ratio ในการเจรจาต่อรอง เนื่องจากเป็นวิธีเชิงเปรียบเทียบที่สามารถเข้าใจได้โดยทั่วกัน
ซึ่งได้อาศัยค่าเฉลี่ย P/E Ratio
ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ที่ประมาณ 11.40 เท่า
(อ้างอิงข้อมูล 6 เดือนย้อนหลังนับจากวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553) หักส่วนลดร้อยละ 30
สำหรับการตั้งราคาหุ้นของ AQUA (8 เท่า) เนื่องจาก AQUA ยังมิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
และหักส่วนลดอีก ร้อยละ 30 (5.6 เท่า) ในการกำหนดราคาของกิจการทั้ง 2 แห่ง

(3) การลงทุนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและการบันทึกบัญชีมูลค่าเงินลงทุน ดังกล่าวของ PLUS และ
AQUA หรือไม่ อย่างไร
ตอบ การลงทุนดังกล่าวจะสามารถเพิ่มผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานให้แก่ทั้ง PLUS และ AQUA
ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อหุ้นอควา มีเดีย 360 อีกร้อยละ 49 และ มีเดีย 360 ร้อยละ 100
นอกจากนี้ผลต่องบแสดงฐานะการเงินของงบเฉพาะกิจการ AQUA จะต้องแสดงเงินลงทุนเท่ากับมูลค่าหุ้นที่ได้มา
และAQUA มีหน้าที่ต้องประเมินเรื่องการด้อยค่าเงินลงทุนดังกล่าว ซึ่งในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่า
เงินลงทุนดังกล่าวจะมีการด้อยค่าอย่างถาวร AQUAจะต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าดังกล่าวทันที
ส่วนผลต่องบแสดงฐานะการเงินของงบการเงินรวม AQUA
จะต้องแสดงส่วนต่างของเงินลงทุนกับมูลค่าตามบัญชีเป็นค่าความนิยม
และพิจารณาเรื่องการด้อยค่าเช่นเดียวกับการพิจารณาเงินลงทุนของงบแสดงฐานะการเงินของงบเฉพาะกิจการ
ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวจะมีผลต่องบแสดงฐานะการเงินของ PLUS
จากการนำตัวเลขข้อมูลทางการเงินของงบการเงินรวมของ AQUA มาจัดทำงบการเงินรวมของ PLUS

(4) ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ ความเหมาะสมของราคาซื้อและเงื่อนไขในการซื้อกิจการทั้ง 2
แห่ง ดังกล่าว
ตอบ คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การทำรายการดังกล่าว
แม้ว่าการทำรายการบางส่วนจะต้องทำกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน (คิดเป็น 1.26 % ของ NTA)
ซึ่งใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดียวกันกับการทำรายการกับบุคคลอื่น และเห็นว่า
การทำรายการดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ต่อโครงสร้างธุรกิจและผลการดำเนินงานของ PLUS และบริษัทย่อย
ส่วนความเหมาะสมของราคาซื้อและเงื่อนไขในการซื้อกิจการทั้ง 2 แห่ง
ได้พิจารณาตามรายละเอียดของสมมติฐานประมาณการกำไรสุทธิและวิธีการที่ใช้การประเมินมูลค่าของกิจการทั้ง 2
แห่งเห็นว่ามีความเหมาะสม

1.3 เนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการของ PLUS มีมติเรื่องการซื้อหุ้นบริษัท มีเดีย 360
จำกัดและบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัดดังกล่าวในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553
แต่บริษัทแจ้งมติดังกล่าวในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553
ซึ่งเป็นการรายงานล่าช้าโดยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า
ด้วยการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนที่กำหนดให้ บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้ง
สารสนเทศสำคัญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยโดยทันทีหรืออย่างช้าไม่เก
ินเวลา 9.00 น.ของวันทำการถัดไปนับจากเกิดเหตุการณ์การได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงขอให้ PLUS
ชี้แจงเหตุผลที่บริษัทแจ้งข้อมูลดังกล่าวล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ตอบ บริษัทขอเรียนว่า
เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปฏิบัติและรับผิดชอบงานด้านตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุนสัมพั
นธ์ใหม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีความเข้าใจผิดบางประการทำให้แจ้งมติดังกล่าวล่าช้า
อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตระหนักถึงความผิดพลาดครั้งนี้
จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเ
บียนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัทขออภัยในความผิดพลาดมา ณ ที่นี้ด้วย

ทั้งนี้สำนักงานกลต.
ได้ตั้งประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับรายการข้างต้นนอกเหนือจากข้อสงสัยของตลาดหลักทรัพย์ดังนี้
1.4 หากมีเดีย 360 ไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน เหตุใดบริษัทท่านจึงเปิดเผยในสารสนเทศ ว่า
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการซื้อหุ้น มีเดีย 360 และ อควา มีเดีย 360 คือ
เพื่อให้เป็นไปตามแผนการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจของ AQUA ให้เหมาะสม
ซึ่งจะช่วยขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
ตอบ เนื่องจากบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่า รายการได้มาครั้งนี้ มีการได้มาซึ่งการซื้อหุ้น อควา มีเดีย 360
จากนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี เป็นรายการเกี่ยวโยงบางส่วน
รวมทั้งการมีผู้ถือหุ้นร่วมกันบางรายทำให้อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้
ซึ่งในการจัดทำสารสนเทศของบริษัทใช้วิธีเกริ่นนำที่เป็นลักษณะภาพรวมเดียวกัน
ดังนั้นจึงมีผลทำให้การเปิดเผยในสารสนเทศเป็นไปตามที่สำนักงานกลต. ตั้งประเด็นข้อสงสัย

1.5 หากมีเดีย 360 ไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน เหตุใด มีเดีย 360
จึงมีชื่อคล้ายกับบริษัทย่อยของบริษัทท่านราย อควา มีเดีย 360 และมีกรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ร่วมกัน
(นายสุรพัศ สิขเรศ และ นายอภิชาต โพธิ์ถนอม ถือหุ้นรวมกันในสัดส่วนร้อยละ 65 และร้อยละ 22 ใน มีเดีย
360 และ อควา มีเดีย 360 ตามลำดับ และ มีนายธราพงษ์ เชียงเถียร เป็นกรรมการร่วมกัน)
ตอบ จากข้อสงสัยดังกล่าว บริษัทขอเรียนว่า บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท อควา
เทเลวิชั่น จำกัด เป็น บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด และบริษัท มีเดีย 360 จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อจาก
บริษัท เอวิว มีเดีย 360 จำกัด เป็น บริษัท มีเดีย 360 จำกัด เมื่อเดือนธันวาคม 2552
โดยมีวัตถุประสงค์ที่ทำการตลาดและประชาสัมพันธ์รายการร่วมกัน รวมทั้งบริษัท มีเดีย 360 จำกัด
มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้ บริษัท มีเดีย 360 จำกัดไม่สามารถใช้คำว่า เอวิว ได้
ส่วนการมีผู้ถือหุ้นร่วมกันบริษัทขอเรียนว่า บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
จัดตั้งขึ้นโดยการร่วมทุนระหว่างบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และ บริษัท เอวิว มีเดีย 360
จำกัด ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือนายสุรพัศ สิขเรศ และ นายอภิชาต โพธิ์ถนอม
เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท มีเดีย 360 จำกัดตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัท
นอกจากนี้การมีนายธราพงษ์ เชียงเถียร เป็นกรรมการร่วมกัน บริษัทขอเรียนว่า บริษัททั้ง 2
บริษัทมีการปรับปรุงโครงสร้างกรรมการตั้งแต่ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งที่อ้างถึงข้างต้นได้ขายหุ้นออกไป
และภายหลังที่กลุ่มผู้ถือหุ้นกลุ่มนางชวัลลักษณ์ เอี่ยมอำภา และ นางทิพวรรณ ปัญญาจิรวุฒิ
ขายหุ้นไปไม่กระทบโครงสร้างกรรมการแต่อย่างไร ซึ่งหากภายหลังที่บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)
เข้าถือหุ้น 100% แล้ว AQUA อาจมีความจำเป็นให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งกรรมการใหม่

1.6 สาเหตุที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทท่านไม่ขายหุ้น มีเดีย 360 ให้แก่บริษัทท่าน
ดังเช่นที่เคยมีมติคณะกรรมการบริษัทในเดือนมิถุนายน 2553 แต่กลับขายให้บุคคลภายนอก และ
ต่อมาภายในเวลาไม่นาน บริษัทท่านไปซื้อหุ้นดังกล่าวจากบุคคลภายนอกนั้น
ตอบ เนื่องจากผู้ถือหุ้นมีประสงค์จะขายหุ้นโดยขอรับเป็นเงิน แต่ AQUA
มีความประสงค์จะออกหุ้นสามัญเพื่อแลกเปลี่ยน ทำให้วัตถุประสงค์ในการซื้อขายไม่ตรงกัน
ส่วนเหตุผลอื่นไม่สามารถทราบวัตถุประสงค์ของผู้ถือหุ้นได้

1.7 ความสมเหตุสมผลของราคาซื้อหุ้น มีเดีย 360 และ อควา มีเดีย 360
ตามที่มติคณะกรรมการบริษัทในครั้งนี้อนุมัติให้ AQUA ซื้อหุ้น อควา มีเดีย 360 และ มีเดีย 360
ในราคาหุ้นละ 3,359.06 บาท และ 400.61 บาท ตามลำดับ ทั้งที่ ราคาตามบัญชีของ อควา มีเดีย 360 และ
มีเดีย 360 เพียงหุ้นละ 86.14 และ 125.76 บาท ตามลำดับ นอกจากนี้ รายการซื้อหุ้น อควา มีเดีย
ส่วนหนึ่งเป็นการซื้อจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน คือ นางสาววทันยา วงษ์โอภาสี ซึ่งเป็นภรรยานายฉาย
บุนนาค ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทท่าน สำนักงานจึงขอให้บริษัทชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นดังนี้
(1) เหตุผลที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้ซื้อหุ้น อควา มีเดีย 360 ในครั้งนี้ในราคาหุ้นละ 3,359.06
บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 486.75 จากราคาที่อนุมัติโดยมติคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน
2553 ในราคาหุ้นละ 542.48 บาท
ตอบ ในการกำหนดราคาครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553 นั้น ประมาณการว่า อควา มีเดีย 360
จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน 1.72 ล้านบาท ในปี 2553 แต่ภายหลังจากนั้น
บริษัทสามารถเพิ่มรายได้จากการดำเนินงานได้อย่างก้าวกระโดด ทำให้ผลประกอบการในปี 2553
สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้สูงถึง 30 ล้านบาท อันเป็นภาวะการณ์ปกติของธุรกิจบันเทิง

(2) เหตุผลที่กำหนดราคาซื้อหุ้น อควา มีเดีย 360 และ มีเดีย 360 สูงกว่า ราคาตามบัญชี ถึง 38.99 เท่า
และ 3.18 เท่า ตามลำดับ รวมทั้งที่มาของการกำหนดราคาด้วยวิธี P/E Ratio โดยให้ P/E Ratio ของอควา
มีเดีย 360 และ มีเดีย 360 ที่ 5.6 เท่า และ ให้ P/E Ratio ของ AQUA ที่ 8 เท่า
ตอบ ในการประเมินมูลค่ากิจการ บริษัทได้ใช้วิธีส่วนลดกระแสเงินสดสุทธิ (Discounted Cash Flow Approach)
เป็นฐานในการพิจารณา โดยมีสมมติฐานหลักมาจากผลการดำเนินงานในปัจจุบัน
และคาดการณ์ถึงผลประกอบการที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญ
เงื่อนไขหนึ่งในการดำเนินการแลกหุ้น ส่วนการเจรจานั้น ได้เลือกใช้วิธี P/E Ratio ในการเจรจาต่อรอง
เนื่องจากเป็นวิธีเชิงเปรียบเทียบที่สามารถเข้าใจได้โดยทั่วกัน ซึ่งได้อาศัยค่าเฉลี่ย P/E Ratio
ของบริษัทในหมวดเดียวกันที่ประมาณ 11.40 เท่า หักส่วนลดร้อยละ 30 สำหรับการตั้งราคาหุ้นของ AQUA (8
เท่า) เนื่องจาก AQUA ยังมิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหักส่วนลดอีกร้อยละ30 (5.6
เท่า) ในการกำหนดราคาของกิจการทั้ง 2 แห่ง

(3) เหตุผลสนับสนุนสมมติฐานประมาณการกำไรสุทธิในปี 2553 ของ อควา มีเดีย 360 ซึ่งเท่ากับ 29.99
ล้านบาท ทั้งที่ กำไรสุทธิงวด 9 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2553 มีเพียง 13.56 ล้านบาท
ตอบ การประมาณการกำไรสุทธิที่กล่าวถึงข้างต้น บริษัทย่อยประมาณการโดยอ้างอิงกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง
ประกอบกับแนวโน้วทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
อันเป็นผลสืบเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3
ซึ่งจะสอดคล้องกับตลาดทุน รวมทั้งการเติบโตของรายได้ของกลุ่มธุรกิจสื่อโฆษณา
ซึ่งจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานของบริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด โดยสรุปรายไตรมาส เป็นดังนี้
หน่วย : ล้านบาท ไตรมาสที่ 1/2553 ไตรมาสที่ 2/2553 ไตรมาสที่ 3/2553 ประมาณการ
Q 4/2553
รายได้ 30.88 26.09 41.55 44.66
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (5.49) 2.24 16.67 16.57
ดังนั้นบริษัทจึงเห็นว่า การประมาณการดังกล่าวจึงมีความสมเหตุสมผลแล้ว
และโดยสาระสำคัญของการเติบโตด้านรายได้ของธุรกิจสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ในไตรมาสที่ 3-4
ของทุกปีจะมากกว่าไตรมาสอื่นๆ

(4) เหตุผลสนับสนุนสมมติฐานประมาณการกำไรสุทธิในปี 2553 ของ มีเดีย 360 ซึ่งเท่ากับ 11.66 ล้านบาท
ทั้งที่กำไรสุทธิงวด 12 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2553 มีเพียง 9.79 ล้านบาท นอกจากนี้
งบการเงินดังกล่าวมีความน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด
เนื่องจากเป็นงบการเงินภายในบริษัทที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี
ในขณะที่งบการเงินประจำปีสิ้นสุด 30 กันยายน ปี 2551 และปี 2552 ของมีเดีย 360
ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี มีขาดทุนสุทธิ เท่ากับ 2.88 ล้านบาท และ 2.72 ล้านบาท ตามลำดับ
ตอบ การประมาณการดังกล่าวบริษัทย่อยใช้สมมติฐานประมาณการกำไรสุทธิในปี 2553 ของ มีเดีย 360
เช่นเดียวกันกับ อควา มีเดีย 360 ซึ่งจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานของบริษัท มีเดีย 360 จำกัด
โดยสรุปรายปี เป็นดังนี้
หน่วย : ล้านบาท ปี 2552 สิ้นสุด
30 กันยายน 52 ปี 2553 สิ้นสุด
30 กันยายน 53 ประมาณการ
Q 4/2553
รายได้ 63.84 73.63 24.38
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (2.72) 9.79 5.32

2. รายการขอสัตยาบันในกรณี AQUA ให้เงินกู้ยืมแก่บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด
ตามที่คณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ได้มีมติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 22
ธันวาคม 2553 พิจารณาให้สัตยาบันรายการที่ AQUA ให้เงินกู้ยืมแก่ บริษัท อควา มีเดีย 360 จำกัด จำนวน 30
ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยรายการดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2551 - 30
มิถุนายน 2552
ซึ่งตามเกณฑ์รายการที่เกี่ยวโยงกันกำหนดให้บริษัทต้องขออนุมัติการทำรายการจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการ
ให้เงินกู้ยืมแก่บุคคลเกี่ยวโยง
ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์จึงขอให้บริษัทชี้แจงเหตุผลที่บริษัทให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทดังกล่าวก่อนได้รับอนุม
ัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์รายการที่เกี่ยวโยงกัน ณ
ช่วงเวลาที่เกิดรายการดังกล่าว
ตอบ เนื่องจาก บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท เจ.อาร์.ดีล จำกัด)
ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ทำรายการดังกล่าวระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2551 - 30 มิถุนายน 2552
โดยไม่ทราบถึงกฏเกณฑ์ที่บริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์รายการที่เกี่ยวโย
งกัน และเมื่อ PLUS ทราบเรื่องดังกล่าว PLUS ได้เร่งดำเนินการเพื่อขอสัตยาบันจากผู้ถือหุ้น
ซึ่งการขอสัตยาบันจากผู้ถือหุ้น PLUS
ซึ่งต้องใช้เวลาในการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
จึงทำให้เกิดความล่าช้า

3. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าในงบการเงินงวด ไตรมาสที่ 3
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553
ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ให้บริษัทชี้แจงรายการเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าในงบการเงินงวด
ไตรมาสที่ 2 สิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2553
ซึ่งมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างงวดสูงและบริษัทชี้แจงมายังตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน
2553 นั้น เนื่องจากในระหว่างงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553
ปรากฏว่าบริษัทและบริษัทย่อยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าจำนวนสูงถึง 2,696.40 ล้านบาท (มูลค่าซื้อ
1,345.37 ล้านบาทและมูลค่าขาย 1,351.03 ล้านบาท) คิดเป็น 282.21% ของสินทรัพย์รวม
โดยสามารถแสดงมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าแยกเป็นแต่ละไตรมาส ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท
ไตรมาสที่ มูลค่าซื้อ มูลค่าขาย รวมมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้า
ไตรมาส 1 ปี 2553
(1 ม.ค. - 31 มี.ค.53) 71.69 71.69 143.38
ไตรมาส 2 ปี 2553
(1 เม.ย. - 30 มิ.ย.53) 171.08 135.61 306.69
ไตรมาส 3 ปี 2553
(1 ก.ค. - 30 ก.ย.53) 1,102.60 1,143.73 2,246.33
รวม 1,345.37 1,351.03 2,696.40

จึงขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
3.1 เหตุผลที่บริษัทและบริษัทย่อยมีการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 (วันที่ 1
กรกฎาคม - 30 กันยายน 2553) ในมูลค่าที่สูงถึง 2,246.33 ล้านบาท
ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงกว่าในไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2553 เท่ากับ 16 เท่าและ 7 เท่าตามลำดับ
และคิดเป็น 20 เท่าของรายได้จากการขายและบริการ
ซึ่งเป็นรายได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติของบริษัทในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีจำนวนเท่ากับ 114.83 ล้านบาท
และสำนักงานกลต. ได้ให้ชี้แจงเพิ่มเติมจากตลาดหลักทรัพย์ว่า
คณะกรรมการบริษัทได้ใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว
ว่าจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทท่านหรือไม่ อย่างไร
ตอบ บริษัทขอเรียนว่า การลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้ามีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
(ในการซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละคราว)
ซึ่งการลงทุนดังกล่าวบริษัทได้พิจารณาและคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเงินลงทุนดังกล่าว
โดยการศึกษาข้อมูลให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงต่อการลงทุนได้
และการจัดสรรเงินสดบางส่วนของบริษัทเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาดประเภทเพื่อค้า
เป็นการบริหารเงินสดให้เกิดประโยชน์
ดังนั้นความเสี่ยงจากการลงทุนดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทแต่อย่างใด
รวมทั้งการลงทุนทางคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ฝ่ายจัดการนำข้อมูลการลงทุนเสนอให้ที่ประชุมรับท
ราบ ส่วนการลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าที่สูงกว่าไตรมาสที่ 1 และ 2
ขึ้นอยู่ภาวะของตลาดทุนที่มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และ 2
รวมทั้งบริษัทยังไม่มีธุรกิจหลัก จึงเห็นว่า
การจัดสรรเงินสดบางส่วนของบริษัทเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาดประเภทเพื่อค้า
เป็นการบริหารเงินสดให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ตามรายละเอียดข้างต้นได้กล่าวถึงการลงทุนในระหว่างงวด 9
เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553
ปรากฏว่าบริษัทและบริษัทย่อยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าจำนวนสูงถึง 2,696.40 ล้านบาท (มูลค่าซื้อ
1,345.37 ล้านบาท และมูลค่าขาย 1,351.03 ล้านบาท) คิดเป็น 282.21% ของสินทรัพย์รวมนั้น
บริษัทเคยชี้แจงหลักคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ว่า
การพิจารณามูลค่าซื้อขาย ควรดูที่มูลค่าสุทธิ มิใช่การนำยอด Turnover
จากการซื้อขายมารวมกันและนำมาเปรียบเทียบกัน

3.2 การลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าของบริษัทและบริษัทย่อยที่เพิ่มขึ้นมากดังกล่าว
มีนโยบายการเลือกลงทุนในหลักทรัพย์อย่างไร
ชื่อผู้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนและเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด หรือ ซื้อขายด้วยการกู้ยืมเงิน
เพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Credit Balance)
ตอบ บริษัทได้กำหนดนโยบายการลงทุนระยะสั้น จะเน้นการลงทุนที่กระจายความเสี่ยง
และเน้นหุ้นที่มีศักยภาพและพื้นฐานดี โดยการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาดประเภทเพื่อค้า
คณะกรรมการได้มอบหมายให้ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ (กรรมการผู้จัดการ) นายประโพธ ชุ่มวัฒนะ (กรรมการ)
และ ผู้จัดการฝ่ายบริหารการลงทุน (ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้ง)
เป็นผู้พิจารณาการลงทุนได้ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท และเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดเท่านั้น

3.3 แนวทางการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายหลักทรัพย์จำนวนสูงของบริษัท
เนื่องจากบริษัทเคยชี้แจงเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2553 ว่าอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดแนวทางที่เหมาะสม
ตอบ สำหรับการบริหารความเสี่ยงในด้านการจำกัดผลขาดทุน อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม
เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ระหว่างดำเนินการให้การลงทุนต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของบริษัท

4. ข้อมูลจากงบการเงินรวมงวด 9 เดือน สิ้นสุด 30 กันยายน 2553 สำนักงานพบข้อมูลจากงบการเงินงวด 9 เดือน
สิ้นสุด 30 กันยายน 2553 ของบริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ( "GEN" ) ว่า AQUA ให้
GEN กู้ยืมเงินจำนวน 15 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานไม่พบข้อมูลดังกล่าวในงบการเงินรวม งวด 9 เดือน สิ้นสุด
30 กันยายน 2553 ของบริษัทท่านซึ่งมี AQUA เป็นบริษัทย่อยแต่อย่างใด
สำนักงานจึงขอให้ท่านชี้แจงประเด็นดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาด้วยว่า รายการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด
เข้าข่ายรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือไม่ หากใช่ บริษัทท่านได้ทำตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องแล้วหรือไม่
อย่างไร
ตอบ จากข้อสังเกตเรื่องการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวที่พบใน GEN แต่ไม่พบในบริษัท ซึ่งมี AQUA
เป็นบริษัทย่อย บริษัทขอเรียนว่า เนื่องจาก ณ วันสิ้นงวดไตรมาส 3/2553
รายการดังกล่าวไม่ปรากฏยอดคงเหลือในงบการเงินของบริษัทย่อย รวมทั้งในไตรมาสที่ 3/2553 บริษัทไม่บันทึก
GEN เป็นบริษัทร่วมอีกต่อไปทำให้ไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว จึงทำให้การเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน
ซึ่งบริษัทจะดำเนินการให้สมบูรณ์ ในการออกงบการเงินงวดถัดไป
ส่วนการพิจารณารายการดังกล่าวเป็นการให้กู้ยืมระยะสั้นแก่ GEN ในช่วงวันที่ 26/8/53 - 9/9/53 จำนวน 15
ล้านบาท และชำระคืนในวันที่ 16/9/2553 และ 22/9/2553 ครบถ้วนแล้ว พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 88,767.11 บาท
เนื่องจาก GEN อยู่ระหว่างการเพิ่มทุนและมีความจำเป็นต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ประกอบกับ AQUA
มีเงินสดคงเหลือจึงเห็นว่าการบริหารเงินสดได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าฝากสถาบันการเงิน
(ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บอัตราร้อยละ 12 ต่อปี) และเมื่อพิจารณาความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ยืมของ GEN
เห็นว่าไม่มีปัญหาเนื่องจาก GEN อยู่ระหว่างการเพิ่มทุน
อย่างไรก็ตาม PLUS ได้พิจารณารายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินดังกล่าวแล้วเห็นว่า
การทำรายการดังกล่าวเข้าข่ายการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน
ซึ่งคำนวณขนาดของรายการจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ให้ความช่วยเหลือและรับชำระคืนมีมูลค่ารวม 15,088,767.11
บาท โดยมีขนาดของรายการเท่ากับร้อยละ 2.54 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ
เมื่อคำนวณตามงบการเงินรวมของบริษัท ฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553
(ซึ่งมีสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิเท่ากับ 593.64 ล้านบาท )
ตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฎิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546
และประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.21/2551 เรื่องหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน
โดยมีขนาดของรายการต่ำกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัท ฯ
เมื่อคำนวณตามงบการเงินรวม ณวันที่ 30 มิถุนายน 2553
บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องตามประกาศและหลักเกณฑ์ที่กล่าวถึงข้างต้น

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ


(นางสาวเสาวรส จันทรมิเวสกุล)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน


ฝ่ายเลขานุการบริษัท
นางสาวเสาวรส จันทรมิเวสกุล หรือ นางสาวจารุณี ทองเหลือง
โทร. 0-2641-2163-70 ต่อ 601
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 24

โพสต์

วันนี้เค้ากำลังจะชน "ซิลลิ่ง" ครับผม
สำหรับหุ้นที่ต้องวางเงินสดล่วงหน้าตัวนี้(โบรกของผมคือธนชาตินะครับ)
ไม่รู้ว่าโบรกอื่นต้องวางเงินสดด้วยไหม?
อันนี้ไม่รู้ขอรับ (^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
NAI-A SIKHIU
Verified User
โพสต์: 584
ผู้ติดตาม: 0

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ไม่ต้องห่วงครับ เสี่ย...สั่งลุย
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 26

โพสต์

PLUS เพิ่มทุนให้ ผถห.เดิม รองรับวอร์แรนท์รุ่น 2 [ นสพ.ทันหุ้น, 2 กพ. 54 ]

นางสาวเสาวรส จันทรมิเวสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บมจ. พี พลัส พี (PLUS) แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทครั้งที่ 1/54 เมื่อวันที่ 1 ก.พ.54 ได้รับทราบเรื่องกรรมการลาออก 2 ท่าน คือ นางโฉมพิศ บุนนาค ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.54 และนายประโพธ ชุ่มวัฒนะ ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.54

และได้มีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่ดังนี้ นางจริยา นักสอน เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท แทนนางโฉมพิศ บุนนาค โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทเท่ากับวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ลาออก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.54 เป็นต้นไป และ นายพลสิทธิ ภูมิวสนะ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท แทนนายประโพธ ชุ่มวัฒนะ โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งกรรมการเท่ากับวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ลาออก โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.54 เป็นต้นไป

มีมติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท รุ่นที่ 2 (PLUS-W2) จำนวน 336,704,891 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราส่วน 2 หุ้นสามัญเดิมต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย โดยไม่คิดมูลค่า กรณีมีเศษของใบสำคัญแสดงสิทธิเหลือจากการคำนวณตามอัตราส่วนการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว
ให้ตัดเศษดังกล่าวทิ้งทั้งจำนวน ทั้งนี้ ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย สามารถใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1.50 บาท โดย

มีมติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจากเดิมจำนวน 673.409 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียน 1,010.114 ล้านบาท โดยทำการเพิ่มทุนรวมทั้งสิ้น 336.704 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 336.704 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท เพื่อวัตถุประสงค์การรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท รุ่นที่ 2 (PLUS-W2) จำนวน 336.704 ล้านหน่วย

กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท รุ่นที่ 2 (PLUS-W2) (Record Date) ในวันที่ 15 ก.พ.54 และให้รวบรวมรายชื่อตาม ม.225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 16 ก.พ.54 กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2554 ในวันที่ 8 มี.ค.54

ที่มา : http://www.thunhoon.com/highlight/81833/81833.html
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re:

โพสต์ที่ 27

โพสต์

[quote="pak"]หลักทรัพย์ PLUS  
แหล่งข่าว PLUS  
[b]หัวข้อข่าว ความคืบหน้าในการลงทุนใน บริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเมนท์ จำกัด  [/b]
วันที่/เวลา 06 ต.ค. 2553 09:28:00  

ที่ PLUS-317/SET-070/53

          วันที่  5  ตุลาคม  2553
เรื่อง รายงานความคืบหน้า  Parking
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
               ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท ขอเรียนว่า เดิมบริษัทได้รับแจ้งว่า จะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง บริษัท ปาร์คกิ้ง  
แมนเนจเมนท์ จำกัด   ("Parking")    บริษัทผู้รับสัมปทาน  โดยผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร กับ บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)   ในวันที่  11  ตุลาคม 2553
เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการตามสัมปทานเพื่อที่จะได้แนวทางที่ชัดเจนแก่บริษัทในการที่จะลงทุนต่อ
หรือยุติการลงทุน     และต่อมาได้มีข่าวคราวตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ
อันเป็นผลกระทบต่อดำเนินการของบริษัทผู้รับสัมปทานซึ่งอาจส่งผลต่อการลงทุนของบริษัท
ขณะนี้บริษัทกำลังเร่งดำเนินการหาข้อสรุปและแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท
รายละเอียดความคืบหน้าบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป
              จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                             
ขอแสดงความนับถือ

                   
(นายประโพธ  ชุ่มวัฒนะ)

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

ฝ่ายเลขานุการบริษัท
ประโพธ  ชุ่มวัฒนะ หรือ นางสาวจารุณี  ทองเหลือง
โทร. 0-2641-2163-70 ต่อ 609[/quote]

ข่าวต่อเนื่องครับ
v
v
"ปาร์คกิ้งฯ" ยึดพื้นที่จอดรถสุวรรณภูมิ [ นสพ.ข่าวหุ้น, 30 ก.ย. 54 ]

แหล่งข่าวจากการท่าอากาศยานไทย (ทอท.) กล่าวว่า บริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นต์ จำกัด ได้
ส่งทนายและนำคำสั่งศาลคุ้มครอง ชั่วคราวเข้าพื้นที่ ทำให้ตำรวจไม่กล้าขัดขวาง ขณะที่ ทอท. สั่งให้เจ้า
หน้าที่เก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บริเวณด่านเก็บค่าจอดรถ ทำให้เกิดความโกลาหล ช่วงเวลา 16.00 น.
ขณะที่พนักงานสายการบินและเจ้าหน้าที่ตื่นตกใจได้ทยอยนำรถออกกันจ้าละหวั่น จากนั้น ฝ่ายบริหารแจ้งว่า
ให้ระงับการเก็บค่าบริการจอดรถ เป็นชั่วคราว ตั้งแต่เวลา 16.30 น. วานนี้ (29 ก.ย.) โดยมีการจัด
เตรียมเจ้าหน้าที่ อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ขณะที่ บริษัท ปาร์คกิ้งฯ ยังไม่สามารถเข้าจัดเก็บ
ค่าจอดรถได้ เพราะ ทอท. ยังไม่มีการส่งมอบพื้นที่
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ปาร์คกิ้งทอท.ป่วนลองดีประธานใหม่ [ นสพ.ข่าวสด, 30 ก.ย. 54 ]

พล.อ.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์ รักษาการประธานกรรมการ บมจ. ท่าอากาศยานไทยหรือ ทอท.
กล่าวว่า ที่ประชุมกรรมการทอท. เมื่อวันที่ 29 ก.ย. มีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่ 4 ราย ได้แก่ 1.
พล.อ.อ.สุเมธโพธิ์มณี 2.เรืออากาศโทนรหัช พลอยใหญ่3.นายวัฒนา เตียงกูล และ4.พล.ต.ต.พีร
พันธุ์เปรมภูติ แทนกรรมการที่ลาออกไป โดยแต่งตั้งพล.อ.อ.สุเมธ เป็นประธาน
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 29

โพสต์

หลักทรัพย์ PLUS
แหล่งข่าว PLUS
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3 F45-3
วันที่/เวลา 16 พ.ย. 2554 08:51:00

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย (F45-3)
บริษัท พี พลัส พี จำกัด (มหาชน)

(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 3 งวด 9 เดือน
สอบทาน สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 30 กันยายน
ปี 2554 2553 2554 2553
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 24,252 7,431 17,605 8,073
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.0165 0.0055 0.012 0.006
ต่อหุ้น (บาท)


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 3 งวด 9 เดือน
สอบทาน สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 30 กันยายน
ปี 2554 2553 2554 2553
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 29,549 (12,895) 32,771 (19,431)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.0201 (0.0096) 0.0223 (0.0145)
ต่อหุ้น (บาท)

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต

หมายเหตุ

โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบ
งบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน ก.ล.ต.
เรียบร้อยแล้ว"



ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นางสาวเสาวรส จันทรมิเวสกุล )
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: พิสูจน์ศรัทธาบน 'เส้นขนาน'.. 'ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น'

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ชี้แจงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินงานมากกว่าร้อยละ 20
วันที่ 16 พ.ย. 2554 เวลา 08:56:00 น.
ที่ http://www.set.or.th/dat/news/201111/11047510.pdf
โพสต์โพสต์