เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
surapol
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 280
ผู้ติดตาม: 1

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากทราบความคิดเห็นว่าพวกพี่ๆคิดอย่างไรบ้างระหว่าง

1. ปันผล
2.ซื้อหุ้นคืน
3. ลงทุนในธุรกิจใหม่ๆในภาวะการณ์เช่นนี้(Diversify)
4.หรือเป็นเพียง Long term investment
Way of life is way of brain
ภาพประจำตัวสมาชิก
Banchap
Verified User
โพสต์: 247
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เพิ่มข้อนี้ได้ไหมครับ
ข้อ 5. ชำระหนี้ระยะยาว (ถ้ามี)
Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 1

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ลองคิดว่าถ้าเป็นกิจการที่เราสามารถตัดสินใจได้เองนะครับ

สมมติเป็นร้านอาหารก็ได้ เช่น ร้านหมูกะทะเมื่อสัก 4 ปีก่อน ผมเปรียบเหมือนสถานการณ์ของ TTA เมื่อ 2 ปีก่อนเช่นกัน คือ ยังไม่มีคนเข้ามาทำเท่าไหร่ กำไรยังโตขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ทีนี้ ณ ปัจจุบัน ร้านหมูกะทะ ผมเปรียบเหมือนกับสถานการณ์ของ TTA ในอีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า คือ มีคนอื่นเข้ามาทำธุรกิจแข่งจำนวนมากมาย

ณ ปัจจุบัน ถ้าคุณมีร้านหมูกะทะอยู่สัก 10 สาขา ซึ่งได้ขยายมาเรื่อยๆ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้กำไรดี (ผมก็เปรียบเหมือนช่วงที่ผ่านมาที่ TTA มีการขยายกองเรือเพิ่มขึ้นโดยตลอด) คุณจะทำอย่างไรครับ??

1. เอาเงินสด (กำไร) ออกมาจากธุรกิจ เอาไปฝากแบงค์แทน ซื้อของ ซื้อบ้าน ฯลฯ
2. โน้มน้าวให้หุ้นส่วนที่ทำร้านหมูกะทะมาด้วยกัน 4 ปี ขายหุ้นคืนให้เรา เพื่อเราจะได้รวยคนเดียวต่อไป
3. เอาไปทำร้านไอติม ร้านสุกี้ รีสอร์ท ฯลฯ
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 357
ผู้ติดตาม: 75

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ต้องชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยให้หมดก่อนค่าระวางเป็นขาลงครับ และหลังชำระหนี้หมดควรมีเงินสดในมือเหลืออีกจำนวนหนึ่งเผื่อซื้อเรือเพิ่มในช่วงค่าระวางเรือต่ำๆ ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สมมุติว่าคุณเป็นผู้ถือหุ้น คุณจะทําอย่างไรกับหุ้นในมือ 30 ล้านหุ้น ที่มีราคาทุน 10 บาท ...........




ผมจะลองกลับประโยคของคุณ invisible hand ดูนะครับ ...........


ต้องขายหุ้นเรือให้หมดก่อนค่าระวางเป็นขาลงและหลังขายหุ้นหมดควรถือเงินสดในมือไว้รอซื้อหุ้นเรือในช่วงค่าระวางเรือตําๆ ..................

เอ........ เข้าท่าไหมหว่า ............
Knott
Verified User
โพสต์: 232
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

LOSO เขียน:
ต้องขายหุ้นเรือให้หมดก่อนค่าระวางเป็นขาลงและหลังขายหุ้นหมดควรถือเงินสดในมือไว้รอซื้อหุ้นเรือในช่วงค่าระวางเรือตําๆ ..................

หมายถึงผู้บริหารใช่ไหมครับ :P เห็นพอดีคำถามนี้ถามว่าผู้บริหารควรทำอย่างไร :lol: :lol:

กลุ่มไทเก้นก็ดูเหมือนจะเริ่มถอนตัวไปแล้วนี่ครับ ไม่รู้รอให้ค่าระวางเรือต่ำๆแล้วค่อยกลับมาใหม่หรือเปล่า :twisted: :twisted: :twisted:
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 32

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

จริงๆแล้ว ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เขาขายไป ก็คงคิดอย่างที่ท่าน LOSO ว่าไว้

ส่วนว่าใครจะคิดถูกคิดผิด คงต้องติดตามตอนต่อไป
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ถึงแม้จะยังไง กลุ่มไทเก้นก็รวยไปแล้วครับ กำไรเละ แม้จะไม่ได้ขายในราคาที่สูงสุด ยังไงก็สามารถที่จะซื้อกลับในราคาที่ต่ำกว่าขายไป
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 9

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ถึงแม้จะยังไง กลุ่มไทเก้นก็รวยไปแล้วครับ กำไรเละ แม้จะไม่ได้ขายในราคาที่สูงสุด ยังไงก็สามารถที่จะซื้อกลับในราคาที่ต่ำกว่าขายไป
tta เป็นบริษัท ที่จะเป็นที่เล่าขานในพฤติกรรม ของพวกไทเก้นไปอีกนาน
(ในทางที่ไม่ค่อยจะดี ซะเท่าไร)
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 357
ผู้ติดตาม: 75

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมคิดว่าหุ้น TTA มีความเสี่ยงจากการเกิด Moral Hazard ได้ง่าย เพราะผู้บริหารไม่ถือหุ้นแล้ว ( กลุ่มไทเก้นไม่ถือแล้ว และกลุ่มคนไทยถือน้อยจนไม่น่าจะเป็น wealth หลัก ) ดังนั้นจึงกล้าที่จะทำอะไรที่เสี่ยง เช่น ขยายกองเรือตอนนี้ หรือลงทุนใหม่ๆ ในธุรกิจอื่นๆ ถ้าค่าระวางเรือดีต่อเนื่องไปอีก 4-5 ปี ผู้บริหารก็ได้ประโยชน์เต็มๆ จาก bonus ที่เพิ่มตามผลกำไร และผู้ถือหุ้นก็ได้ประโยชน์ แต่หากค่าระวางเรือลงเร็วในช่วง 1-2 ปีนี้หรือการลงทุนแย่ ผู้บริหารก็ไม่เสียอะไรแต่ผู้ถือหุ้นเสีย

ดังนั้น หากใช้หลัก pay-off diagram เข้ามาช่วย ซึ่งใช้ TTA เป็น case study และจริงๆ แล้วทฤษฎีนี้ใช้ได้กับทุกบริษัทที่ผู้บริหารไม่ถือหุ้นด้วยครับ

1. TTA ลงทุนเพิ่ม ( ไม่เร่งคืนเงินกู้ )

1.1 กรณีค่าระวางเรือ sustain อีก 4-5 ปี ผู้บริหารแม้ไม่ถือหุ้นก็จะได้ประโยชน์จากขนาดธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและกำไรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อ bonus และค่าตอบแทนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ( บางบริษัทที่ good governance ไม่ดีผู้บริหารอาจะจะได้ส่วนแบ่งจากการลงทุนใน project ใหม่ๆ ด้วยซ้ำ ) ส่วนผู้ถือหุ้นก็จะได้ประโยชน์จากกำไรที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนเรือที่เพิ่ม ดังนั้นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นจะได้ประโยชน์ หรือเป็น + ทั้งคู่

1.2 กรณีค่าระวางเรือลงในอีก 1-2 ปีข้างหน้า บริษัทจะอยู่ในที่นั่งลำบากจากภาระหนี้ซึ่งทำให้เกิดดอกเบี้ยจ่าย และค่าเสื่อมราคาของเรือที่ซื้อมาในช่วงค่าระวางแพงๆ ผู้บริหารจะไม่ได้ไม่เสีย ( 0 ) แต่ผู้ถือหุ้นจะเสียประโยชน์ คือเป็น -


pay-off diagram ของผู้บริหารคือ ( +, 0 ) ( ค่าระวางเรือดีต่อเนื่อง, ค่าระวางเรือลงเร็ว )
แต่ pay-off diagram ของผู้ถือหุ้น คือ ( +, - ) ( ค่าระวางเรือดีต่อเนื่อง, ค่าระวางเรือลงเร็ว )

2. TTA เร่งคืนเงินคืนเงินกู้ งดขยายกองเรือ คืนเงินกู้ให้หมดก่อนค่าระวางขาลง และสำรองเงินสดไว้ซือเรือถูกๆ จำนวนมาก


2.1 ค่าระวางเรือ sustain ต่อเนื่องอีก 4-5 ปี ผู้บริหารจะไม่ได้ไม่เสีย ( 0 ) ผู้ถือหุ้นแม้จะเสียโอกาสไปบ้าง แต่ก็ยังได้ประโยชน์จากเรือที่มีอยู่ ก็ถือว่าไม่ได้ไม่เสีย ( 0 )
2.2 ค่าระวางเรือลงเร็ว ผู้บริหารก็จะไม่ได้ไม่เสีย ( 0 ) ส่วนผู้ถือหุ้นก็จะได้ประโยชน์จากการที่ TTA จะไม่มีภาระดอกเบี้ย มีเงินสดสูง รักษาระดับเงินปันผลได้ และมีเงินซื้อเรือถูกๆ ในช่วยค่าระวางต่ำๆ ( + )


pay-off diagram ของผู้บริหารคือ ( 0, 0 ) ( ค่าระวางเรือดีต่อเนื่อง, ค่าระวางเรือลงเร็ว )
แต่ pay-off diagram ของผู้ถือหุ้น คือ ( 0, + ) ( ค่าระวางเรือดีต่อเนื่อง, ค่าระวางเรือลงเร็ว )


ดังนั้น ในแง่ผู้ถือหุ้น จึงอยากเลือกแบบ 2 คือ ลดการลงทุนและคืนเงินกู้มากกว่าเพราะมีโอกาสได้ ( 0,+ ) ในขณะที่แบบที่ 1 ผลตอบแทนคือ ( +,- )

แต่ผู้บริหารก็จะอยากเลือกแบบ 1 คือ ลงทุนเพิ่มเพราะผลตอบแทนคือ ( +, 0 ) ซึ่งดีกว่ากรณีที่ 2 ซึ่งเป็นแบบ ( 0. 0 ) ครับ
surapol
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 280
ผู้ติดตาม: 1

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

จากมุมมอง เรื่องของ Moral Hazard ใน TTA น่าจะเป็นข้อสรุปถึงสาเหตุในเรื่องของราคาหุ้น ที่ไม่สะท้อนต่อความรู้สึกนักวิเคราะห์ รวมทั้งเราๆท่านๆหรือเปล่า :?:
คงต้องรอการพิสูตร เพราะในสถานะการณ์นี้ต้องเรียกว่า TTA อยู่ในภาวะการณ์ที่เป็นต่อมาก( กำไรดี เงินสดเยอะ) น่าลุ้นเหมือนกัน :mrgreen:
Way of life is way of brain
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 48

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

:lol: :lol: :lol: :lol:

ผมคิดว่า ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน

ผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มเดิมขายหุ้นไป ก็มีผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่เข้ามา

และซื้อแพงกว่าที่กลุ่มเดิมลงทุนไว้เยอะ

เรามักถามกันอยู่เสมอว่า กลุ่มเดิมขายแปลว่าต้องมีอะไรไม่ดีแน่

แต่ลืมถามว่ากลุ่มใหม่ซื้อ เพราะมันมีอะไรดี ?????? ทำไมถึงกล้าซื้อ ??????

:lol: :lol: :lol: :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
touchup
Verified User
โพสต์: 190
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมไม่ค่อยรู้อะไร ก็ขอเก็บกินปันผลไปก่อน ปีที่แล้ว 4.5
ขอให้ปีนี้สัก 5.5 ต้นทุนหุ้นจะได้ลดลง
ดูอดีต คิดปัจจุบัน ฝันอนาคต
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ถ้าผู้บริหารไม่คิดอะไรมาก แบบผม ก็ต้องคืนเงินกู้สถนาเดียวครับ
จะเอามาปันผลมากๆ ก็ไม่ได้ประโยชน์เพราะถือหุ้นกันไม่มาก

แต่ถ้าต้องการซื้อคืนหุ้นถูกๆในอนาคตก็ต้องไม่คืนเงินกู้สิครับ จะได้ขาดทุนมากๆตอนค่าระวางถูกๆ หุ้นจะได้ร่วงมากๆ
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 48

เมื่อคุณเป็นผู้บริหาร TTA คุณจะทำอย่างไรกับเงินในมือ3000ล้าน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

:lol: :lol: :lol: :lol:

ผมลองคิดในมุมอื่นดู ( ไม่จำเป็นว่าผมจะเห็นด้วยนะ )

ผลการดำเนินงานที่ดีของปี 47 ควรจะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นปี 47 หรือเปล่าครับถึงจะเป็นธรรม ถ้าใช่

ดังนั้น ผลการดำเนินงานที่ดีของปี 48 ก็ควรจะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นปี 48 ใช่ไหมครับ

ถ้าผลการดำเนินงานของปี 48 ไปเกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นปี 51 โดยผู้ถือหุ้นปี 48 ไม่ได้อะไรเลย จะเป็นธรรมไหม


มุมแบบนี้ก็มีนะ และน่าจะมีมุมอีกเยอะให้ได้ลองคิดกันหนุกๆ

:lol: :lol: :lol: :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ล็อคหัวข้อ