MoneyTalk@SET19/2/60หุ้นเด่นปี60&กองทุนมองหุ้นไทย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk@SET19/2/60หุ้นเด่นปี60&กองทุนมองหุ้นไทย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Money talk@SET 19/2/60
หัวข้อ 1 “หุ้นเด่นปี 60”
1) คุณ อนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ กรรมการผู้จัดการ BRR
2) คุณ ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร MTLS
3)คุณ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิช ดำเนินรายการ

Intro
3 บริษัทเป็นหุ้นเด่น นอกจากเป็น sponsor แล้วก็ยังมีจุดร่วมคล้ายคลึงกัน
1) ผู้บริหารอายุใกล้เคียง คลุกคลีธุรกิจมากับมือ
2) ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่เหนื่อยหรือกำลังปรับเปลี่ยนในธุรกิจ

ภาพรวมการดำเนินธุรกิจ
BRR
เป็น holding ธุรกิจหลักผลิตน้ำตาล ส่งขายตลาดโลก 70% ขายในประเทศ 30%
มีธุรกิจต่อเนื่องจากน้ำตาล
- โรงไฟฟ้า ใช้วัตถุดิบจากกากอ้อย ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้า 2 โรงงาน ขนาด 9.9 MW
โรงงานที่ 3 สร้างเสร็จแล้ว รอนโยบายรับซื้อเพิ่มเติม
- โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ลูกค้าส่วนใหญ่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเราเอง กำลังการผลิต 30,000 กว่าตัน
พื้นที่ปลูกอ้อยรอบราว 2 แสนไร่ เกษตร พื้นที่รัศมี 40 km ราว 1.5 หมื่นครอบครัว (หลายหมื่นคน)
[หมอเคเสริมให้เห็นภาพขนาดความใหญ่ของพื้นที่ สนามหลวง 74 ไร่ สวนลุม 360 ไร่ อ.เมืองบุรีรัมย์ 4.5 แสนไร่]
กำลังผลิตน้ำตาล ล่าสุดขยายเป็น 2.4 หมื่นตัน เพื่อรองรับอ้อย 3 ล้านตันต่อปี
จากเดิมมีอ้อยเข้า 2 ล้านตัน ปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านตัน และ ปี 61 3 ล้านตันอ้อย
เป็นผลมาจากปี 60 เกษตรกรหันมาปลูกเยอะ ข้าวไม่ค่อยดี ราคาอ้อยก็ดีกว่าพื้นผลเกษตรอื่น รวมทั้งปริมาณฝนค่อนข้างยาว
ช่วงในการผลิตน้ำตาล จะเริ่มหีบอ้อยที่ โรงงาน ราวเดือน ธ.ค. – เม.ย. หลังจากนั้นจากหยุด
- สัดส่วนรายได้จากน้ำตาล 70-80% ขึ้นกับราคาขาย โดยปีที่แล้ว ราคาขาย 15 เซ็นต์ ปัจจุบัน 23 เซ็นต์
- สัดส่วนรายได้จากไฟฟ้าคิดเป็นรายได้ 20% 9.9 MW ต่อโรงงาน
สัดส่วนกำไร ปีที่ผ่านมาจากโรงไฟฟ้าสูงกว่า มี GPM เกือบ 40% สำหรับปีนี้ margin น้ำตาลน่าจะปรับขึ้นราว 30%

JMART
ไม่ได้ทำแค่ขายมือถือ มีบริษัทลูก jmt ติดตามหนี้สิน ใช้เงินไป 5 พันล้านบาท ซื้อหนี้ 1 แสนล้านบาท
เราเป็นบริษัทเดียวใน บริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจนี้ ปี 60 มีนโยบายในการซื้อหนี้อยู่ 3 หมื่นล้าน งบประมาณซื้อ 1.5 พันล้าน
โครงสร้างธุรกิจมีการปรับช่วงต้นปีแยกธุรกิจมือถือออกมาเป็น JMART Mobile นอกจากนี้ยังมี
- JAS Asset ทำธุรกิจหลัก 2 อย่าง คือให้เช่าพื้นที่ขายมือถือ และมีพื้นที่เช่าที่ปล่อยให้ร้านขายมือถือเช่า IT Junction 50 แห่งทั่วประเทศ
มีผู้จำหน่าย 1.5 พันดีลเลอร์ ขายมือได้ราว 3 ล้านเครื่อง ตัว JMART เองขายปีละ 1 ล้านเครื่อง
- SINGER เป็นบริษัทที่เราซื้อมาเมื่อ 2 ปีก่อน ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านเงินผ่อน
- 2 ปีที่ผ่านมามีการเริ่มธุรกิจ Personal loan ชื่อว่า J Fintech ปัจจุบันเราปล่อย loan ไปกว่า 1 แสนราย คิดเป็นเงิน 2.8 พันล้านบาท
อยากให้ลองนึกตาม ว่า 3-5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีจะเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น
สิ่งที่จะทำให้กลุ่ม JMART ไปด้วยกันแบบ synergy ได้ และชนะในการทำธุรกิจได้ด้วยเทคโนโยโลยี, startup project ใหม่ๆ และ application ใหม่ๆ
ซึ่งจะช่วยเรียกลูกค้าได้เป็นแสนหรือล้านคนในระยะเวลาอันสั้น
ความเชื่อส่วนตัวว่าถ้าขายมือถืออย่างเดียวคงไม่โต หรือโตได้แค่จุดเดียว แต่ถ้าเรามี platform ในการโต
มี jmt ที่ทำเรื่องการเก็บหนี้ มี singer ทำเรื่องการปล่อยกู้ jfintech ทำเรื่องการปล่อย + Application ใหม่ๆ จะเพิ่มลูกค้าได้เป็นล้านราย
jigsaw ตรงนี้คือ retail เราขายมือถือผ่าน retail, หนี้เราก็เป็น retail , 1 แสนล้าน มีลูกหนี้ 3 ล้านราย
ใน 3 ปีข้างหน้า จะซื้ออีก 1 แสนล้าน จะมีลูกหนี้เพิ่มมี 3 ล้านรายก็จะมากกว่า credit bureau
Jmart จะทำหน้าที่ cover ในเมือง singer จะ cover ในต่างจังหวัด ภาพจะชัดขึ้น
สัดส่วน Jmart ถือหุ้นในบริษัทลูก 55% jmt 67% jas 24.99% singer 90% jfintech

MTLS
ปีที่ผ่านมาเคยประกาศว่าจะเติบโต 50% ซึ่งผลที่ออกมาก็เติบโต 80% ติดกัน 3 ไตรมาส ยอดปล่อยสินเชื่อ, ลูกหนี้คงเหลือ และกำไร
สำหรับปี 60 ด้วยฐานที่โตขึ้นคงทำไว้ 80% คงเหนื่อย ปีนี้เราตั้งไว้โต 50%
มีสินเชื่อ 5 ประเภท จักรยานยนต์ รถยนต์ การเกษตร ที่ดิน และ สินเชื่อตามนโนบายรัฐ นาโนไฟแลนด์ กับ พรีโลน
ซึ่งเราชำนาญจักรยานยนต์ ทำมา 20 กว่าปี เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน
ลูกค้าหลักของเราเป็นผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มที่ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ได้ยากกว่า
จำนวนสาขาสิ้นปี58 800 => สิ้นปี 59 1600 เป้าหมายสิ้นปี 60 จะเป็น 2200 สาขา
เติบโตปีละ 600 สาขา เราสามารถเติบโตได้ตามระดับ จังหวัด/อำเภอ/ตำบล,ชุมชน มีแบ่ง 3 size เหมือนแบ่งเป็นการปกครองมีผู้ว่า/หัวหน้าอำเภอ/กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน
เราเริ่มต้นจากพิษณุโลก จะมีสาขาในภาคเหนือค่อนข้างเยอะ ช่วงเข้าตลาดได้เงินจาก ipo ขยายไปอีสาน และใต้ มาได้ 1-2 ปี
รวมถึงกรุงเทพ ซึ่งเราจะยังขยายตัวได้อีกเยอะ นอกจากนี้พื้นที่ดั้งเดิม ที่ยังหลวมๆ เช่น แม่ฮ่องสอนเรายังไม่ได้เปิด ก็จะเข้าไปได้
สัดส่วนสินเชื่อ 55% จักรยานยนต์ 35% รถยนต์ 5% ที่ดินเพิ่งแนะนำได้ปีกว่า
จุดเด่นของบริษัท
1) บริการลูกค้าดี ลูกค้าประทับใจ ให้เกียรติลูกค้า บริการน้ำดื่ม
2) อย่าไปคิดดอกเบี้ยเขาแพง สินเชื่อที่เป็น non bank ด้วยกัน เราถูกสุดในไทย รวมแล้วดอกเบี้ย 23% ให้ นาโนไฟแนนซ์ 36% พรีโลน 28%
3) ดูแลพนักงานให้ดี อยู่กันอย่างพี่อย่างน้อง ดูแลเขาดี เขาก็ทำงานให้เราดี
การเก็บหนี้ให้ได้ - ลูกหนี้มีหลักประกันจะเป็นตัวคัดกรองเบื้องต้น , เป็นคนในท้องถิ่น รู้ว่าใครอยู่ที่ไหนมีที่มาที่ไป
สินเชื่อที่ดิน เริ่มจากฐานที่เล็กทำให้มีแนวโน้มเติบโตได้ดี
หนี้เสียมี 1% ต่ำมาก ลูกค้าเราเป็นคนทำงาน ส่วนใหญ่คนเป็นคนดี เขาทำงาน เขาใช้ชีวิตตรงนั้นจะหนีไปไหน
จักรยานยนต์เป็นเครื่องมือทำมาหากินเขาจะทิ้งไปได้อย่างไร

ผลประกอบการปีที่ผ่านมา และแผนดำเนินงานข้างหน้า
BRR
โดยรวมพึงพอใจแม้ราคาน้ำตาลจะต่ำ ภาวะภัยแล้งถือว่าหนัก ซึ่งเราประคองผลผลิตให้เติบโตได้
ซึ่งเราได้ลงทุนเพิ่มกำลังผลิต จาก 6 พันตันเป็น 2.4 หมื่นตัน เพิ่มไลน์ผลิต 1 ไลน์ รับปริมาณอ้อยได้ 3 ล้านตันอ้อย
เพราะเราดูแนวโน้มการบริโภคน้ำตาลอยู่ในเอเชีย เราส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก
ความต้องการใช้น้ำตาลในจีนเพิ่มทุกปี ซึ่งสภาพพื้นที่บ้านเขาไม่เหมาะสมในการผลิต
น้ำตาลใช้ส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ที่บริโภคตามบ้านถือว่าน้อย
อนาคตต้องมีการเปิดเสรีสูงขึ้น จะแข่งขันกันทั้งโลก ซึ่งน้ำตาลไทยจะมีพรีเมียมในการขายในภูมิภาค จากค่าขนส่งจากบราซิลจะแพง
บราซิลผลิตน้ำตาลใหญ่สุดในโลก 600 ล้านตัน แต่ 300 ล้านตันทำเป็นเอทานอล เป็น renewable energy ซึ่งมีนโยบายใช้ในภูมิภาคนั้น
เกือบ 50% โลกผลิตที่บราซิลเพราะพื้นที่เขาค่อนข้างเยอะ
รัฐบาลมีการคุยกันในเชิงนโยบายส่งเสริมการใช้พื้นที่ทำเกษตร ซึ่งมีการออกใบอนุญาตในการแปลงพื้นที่นาข้าวให้เป็นอ้อย
กำแพงภาษีน้ำตาลในแต่ละประเทศยังมีพอสมควร จะไม่ปล่อยให้ราคาผันผวนเยอะ อย่างเช่น จีนก็จะมีหน่วยงานรัฐบาลที่ดูแลการนำเข้า
แต่จากการเปิด AEC ก็จะเริ่มมีการลดกำแพงภาษีลง แต่ค่อยๆปรับลดลง ไม่ได้ลงทีเดียว 100% ภาพต่อไปคือพื้นที่ไหน เหมาะกับการปลูกอะไร ควรจะเป็นแบบนั้น
เปรียบเทียบกับจีน เทคโนโลยีเราสู้เขาไม่ได้ แต่น้ำตาลเราชนะเขาได้ เพราะภูมิศาสตร์เราเหมาะสม
และมีระบบการจัดการดี จึงเป็นเหตุให้รัฐส่งเสริมในการแข่งขัน
เรามีเงินกู้ยืมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปีละ 1 พันกว่าบล้านในการลงทุนปลูกอ้อย (เงินเกี๊ยว)
ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก (MRR – ดีกว่าชาวบ้านกู้ยืมทั่วไป) ซึ่งหนี้เสียแทบไม่มี เวลาที่เขามาขายอ้อยก็หักกันไป
รัฐบาลมีการจัดการผลประโยชน์ 70% ราคาวัตถุดิบเป็นของชาวไร่ 30% เป็นส่วนของโรงงาน
นอกจากกากอ้อยที่เอามาเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าได้ ใบอ้อยที่เก็บจากไร่ 1 ไร่เก็บได้ประมาณ 1 ตัน ซึ่งมี heat rate สูงกว่ากากอ้อยเกือบ 2 เท่า
ในปี 60 เราจะเริ่มเก็บเกี่ยวสิ่งที่ลงทุนไปในช่วงสองปีกว่า ปริมาณอ้อยปีนี้จะเพิ่มขึ้นราว 3 แสนตันและปีถัดไปก็เพิ่มขึ้นอีก
พื้นที่เพาะปลูกตอนนี้เพิ่มมา 8-9 หมื่นไร่ เราตั้งเป้าหีบอ้อย 2.4-2.5 แสนตัน ราคาน้ำตาล 80-90% ที่ทำราคาแล้ว ได้ 23 เซ็นต์
ธุรกิจต่อเนื่อง ทั้งโรงไฟฟ้า ปุ๋ย ก็จะได้ประโยชน์จากปริมาณอ้อยที่เพิ่มขึ้น
กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เราจะเอารายได้โรงไฟฟ้า 2 โรงงานมาตั้งเป็นกองทุนพลังงาน โดยยื่นไฟล์ลิ่งกับ กลต.ไป
ประมาณ เม.ย.-พ.ค. จะขายกองทุนได้เงินมา 3-4 พันล้านบาท สำหรับไปลงทุนเพิ่มเติมทำโรงงาน refinery ใช้แปลงน้ำตาลดิบเป็นน้ำตาลชั้นสูง
รวมถึงพิจารณาสร้างโรงงานเอทานอล ที่เป็น By-product โมลาส ปัจจุบันขายให้กับโรงเหล้า ซึ่งปีนี้ไทยนำเข้าเอทานอลจากต่างประเทศ
สำหรับโรงงานน้ำตาลโรงใหม่ก็จะพิจารณาการลงทุนซึ่งเรามีใบอนุญาตแล้ว แต่คงเป็นปีถัดๆไป
โรงไฟฟ้าโรงที่ 3 สร้างเสร็จแล้ว แต่กระทรวงพลังงานยังไม่เปิดรับซื้อ

JMART
ปีที่ผ่านมา เราประมาณการณ์ไว้เติบโต 30% สำหรับปี 60 เราก็ตั้งเป้าหมายไว้ 30% ต่อปี ใน 2 ปีข้างหน้า
- มือถือ ซัมซุง, แอปเปิล, หัวเหว่ย, oppo, vivo น่าจะ 90% ตลาด
เราขายซัมซุงมากสุดในไทย , หัวเหว่ย ยอดเพิ่มขึ้นราว 100% จากรุ่นที่มีกล้อง LEICA , OPPO 40% , VIVO 30% ส่วน iphone เราโต 40%
ซึ่งเรามีผลกำไรจากกลุ่มที่เราทำชัดเจน และยิ่งแบรนด์จีนเติบโตมากก็จะมีอัตรากำไรดีขึ้น ร้านแบรนด์ Huawei ,Oppo หรือ Samsung ที่เปิดพารากอนก็บริหารโดย jmart
ยอดขายมือถือเราปีละ 1.2 ล้านเครื่อง แม้คนจะมีมือถือกันหมดแล้ว แต่ก็ยังมีความต้องการเปลี่ยนมือถือ และพฤติกรรมไม่มีใครใช้มือถือที่ถูกลง มีแต่จะใช้คุณสมบัติดีๆ
ตอนนี้แบรนด์ที่เราขายอยู่ทั้งเกาหลีและจีนก็ขายเป็นเบอร์ 1 แล้ว มีไอโฟนที่เรายังไม่ได้ขายเป็นเบอร์ 1
มีแผนจะเปิดการเจรจากับแอปเปิล โดยเอาดีลเลอร์ที่เรามี 1.5 พันรายมาคุยกับเขา
Singer ที่ผ่านมาไม่เคยขายมือถือเลย โดยเริ่มขายเมื่อปีที่ผ่านมา เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาขายได้ 100 ล้านบาทต่อเดือน
ซึ่งต่อไปเราก็จะขาย iphone ผ่านช่องทางนี้ด้วย และเราไม่ได้ขายแค่เงินสด แต่จะขายเงินผ่อนด้วย ทั้ง singer , j fintech ซึ่งครบวงจร
กำลังคิดเรื่อง application เดี๋ยวคืน ซึ่งจะใส่ application นี้เข้าไปในเครื่องที่ขายผ่านหน้าร้าน และเครื่องที่ขายผ่านพนักงาน singer โดยจะให้ commission
จะออก application กลางปี จะมีการ approve ลูกค้าผ่านแอพ ซึ่งจะมีให้เงินทดลองใช้ก่อน จะทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มากและให้บริการได้รวดเร็วขึ้น

MTLS
ปี 60 ตั้งเป้าหมายเติบโต 50% คิดว่าน่าจะทำได้ เนื่องจากมีแรงส่งจากการเปิดสาขาที่ผ่านมา
โดยปกติเมื่อเปิดสาขาใหม่ ลูกค้าจะไม่ได้มาใช้บริการเต็มที่
เปรียบเทียบเป็นน้ำเต็มแก้วจะมีลูกค้าเข้ามา 1 ใน 3
ปีถัดมาก็จะเริ่มเป็นที่รู้จัก/ปากต่อปาก เป็น 2 ใน 3 และอีกปีถัดไปก็จะเต็มแก้ว
ปัจจัยที่ทำให้เติบโต ได้แก่
1)เปิดสาขาใหม่ - ชายแดน มุกดาหาร , นครพนม , ภาคใต้ ยังมีสาขาหลวมๆ, กรุงเทพ ยังเปิดได้อีกเป็น 100 สาขา ตอนนี้มีแค่ 20 กว่าสาขา
2)สินเชื่อประเภทใหม่ๆ เช่น สินเชื่อที่ดิน ช่วงแรกลูกค้าจะยังไม่มาใช้บริการ หรือยังไม่รู้จัก การตอบรับจะค่อยๆมา ในระยะยาวน่าจะดีและเป็นตัวช่วยผลักดันให้โตได้ 50%
การขยายต่างประเทศ เคยเข้าไปดูการทำธุรกิจที่พม่า/เวียดนามมาบ้าง ยังไม่สนใจใน 2-3 ปีนี้ เพราะเชื่อว่าตลาดในไทยยังโตได้อีกมาก
ลูกค้ามีราว 1.2 ล้านราย คิดเป็นจำนวนจักรยานยนต์ 1.3-1.4 ล้านคัน บางคนมีมากกว่า 1 คัน
จำนวนรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนกับขนส่ง ปีละ 20 ล้านคัน ในแต่ละปีจะเพิ่มอีก 1 ล้านคัน
ตรงนี้เป็นโอกาสที่เราจะเติบโตได้อีก
ในอนาคตเรายังคงมุ่งเติบโตกับสินเชื่อรถจักรยานยนต์เป็นหลัก แต่เนื่องจากมูลค่าต่อหน่วย รถจักรยานยนต์คันละ 1.4 หมื่น, รถยนต์ 8 หมื่น, โฉนดที่ดิน 1 แสนบาท
สัดส่วนรถจักรยานยนต์จึงอาจลดลง
สินเชื่อนาโน กับพรีโลน ไม่มีหลักประกัน แต่หนี้เสียต่ำ เพราะเราคัดเลือกลูกค้า เราระมัดระวังมาก
การแข่งขัน – มีคู่แข่ง 2 ประเภท คือที่เป็น บ.จดทะเบียน หรือ non bank แบบสาขาด้วยกัน
ประเภทที่ 2 คือ คู่แข่งในท้องถิ่น คือ ร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขายเองปล่อยกู้เองขายเอง รวมทั้งร้านค้าท้องถิ่นที่ปล่อยสินเชื่อด้วยเหมือนกัน
ซึ่งการแข่งขันเป็นเรื่องปกติ ชนะที่การได้ใจลูกค้า

ปิดท้าย
การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ดีที่สุดก่อนตัดสินใจลงทุน
เราให้ข้อมูล กำไรของท่าน ขาดทุนเป็นของท่านเช่นกัน



หัวข้อ 2 “กองทุนมองหุ้นไทยในปี 60”
1) คุณ วรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง
2) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
3) คุณ บัณฑิต อนันตมงคล Director and Head of Equity Investment บริษัทประกันชีวิต AIA
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

Intro
อ.เสน่ห์ เปิดด้วยกลอน
“เมื่อกองทุนมองหุ้นไทย ปีไก่ทอง เป็นเรื่องต้องรับรู้ ดูเหตุผล
จะไปต่อหรือsideway เอชอบกล เขาดั้นด้นหาหุ้นไทยอย่างไรกัน
วรวรรณคุณตู่ผู้หญิงเก่ง ดร.สมจินต์มือเจ๋งเก่งกรองกลั่น
คุณบัณฑิตคิดไว้ได้ประชัน สถาบันการลงทุนหุ้นไก่ทอง”
กองทุนบัวหลวง ขนาดรวมราว 7 แสนกว่าล้าน เป็นหุ้นราวเกือบ 3 แสนล้านบาท
ที่เหลือเป็นตราสารหนี้ และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
นโยบายการลงทุนจะเลือกเฉพาะสินทรัพย์ที่เป็น investment grade และระดับ A- ขึ้นไป
กองทุน TMB ขนาดรวมราว 3.2 แสนล้าน เป็นหุ้นราว6 หมื่นล้านบาท
จะเป็นตราสารหนี้เยอะ และเป็น passive fund
กองทุนของ AIA สินทรัพย์ทั้งสิ้น 7 แสนกว่าล้าน เป็นหุ้นราว 1 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหุ้นไทย

มองหุ้นไทยปี 60 อย่างไร?
คุณวรวรรณ
ปีก่อนหุ้นขึ้นเยอะราว 20% ตามธรรมชาตินักลงทุนที่มีกำไรก็จะขาย ปัจจัยในประเทศจะการลงทุนของรัฐบาล โครงสร้างพื้นฐาน
ปัจจัยความไม่แน่นอนในต่างประเทศ เช่น นโยบายของปธน.ทรัมป์ ซึ่งเขาเป็นสไตล์นักธุรกิจ ไม่ค่อยยึดตามระบบหลักการ อาศัยการต่อรอง จับทางได้ยาก
อีกปัจจัยคือ ยุโรป ซึ่งจะมีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ เช่น ฝรั่งเศส มีผู้นำที่มีแนวคิดจะออกจาก EU เหมือน BREXIT ต้องดูว่าเยอรมันจะอุ้มประเทศที่เหลือไหวไหม
การขึ้นดอกเบี้ยของ FED จะมีผลต่อ flow ของเงิน
สรุปโอกาสขึ้นหุ้นไทยมี แต่น่าจะเป็น sideway เพราะปีก่อนขึ้นมาเยอะแล้ว
วิธีการจัดการกองทุนของเรามองระยะยาวไปข้างหน้า 2-3 ปีขึ้นไป มี theme อย่างไร ที่มองในระยะสั้นจะมีสัดส่วนเล็กในพอร์ต
อย่างเรื่อง middle class จะมากขึ้นในเอเชีย อย่างที่เวียดนาม เพิ่งเห็นข้อมูลประกันสงคม เงินสะสมลูกจ้าง + นายจ้าง มีเงินสะสม 30%
ซึ่งสูงมากเทียบกับบ้านเรา พอเมืองเจริญเติบโตมากขึ้น คนจะมีฐานะมากขึ้น มีการจ้างงาน และมีธุรกิจพัฒนาตามมาอีกมากมาย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ

สถาบันเลือกหุ้นอย่างไร?
คุณบัณฑิต
เงินบริษัทประกันชีวิตเป็นเงินระยะยาว มีรับเงินกรมธรรม์ ตั้งแต่ 5,10,15,30 หรือยาวกว่านั้น แต่ระยะสั้นเราก็จะมีภาระที่ผู้ถือกรมธรรม์จะเคลมเข้ามา ก็ต้องสามารถจ่ายได้
ทุกประเทศจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ลงทุน ล่าสุด ceo ไปซื้อกิจการที่ศรีลังกา
จะมีการประชุมกันประจำเพื่อรวบรวมความคิดและรูปแบบการลงทุนให้เหมาะกับระยะสั้น และระยะยาว
มีข้อเขียนที่เพิ่งอ่านเจอ ว่าในอเมริกาในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา แทบไม่ได้ลงทุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเลย ซึ่งเริ่มโตต่อไปลำบาก
แต่ภายใต้นโยบายทรัมป์ที่จะลดภาษี คนก็เริ่มเป็นห่วงว่าจะนำเงินที่ไหนมาขยาย
เราลงทุนกระจายในอุตสาหกรรมที่เหมาะสม บางอุตสาหกรรม มีปัจจัยไม่เอื้อกับการลงทุนก็จะลดน้ำหนักบ้าง
เงินสดเราไม่มี เพราะตราสารหนี้จะดึงไปหมด
โครงการสาธารณูปโภคที่จะประมูลปีนี้ถ้าทำหมดที่นายกบอกก็จะทำได้ 8 แสนล้าน ซึ่งก็ต้องไปศึกษาเจาะดูว่าบริษัทไหนจะได้ประโยชน์บ้าง
AIA เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง แยกบริหารกันจาก AIG
การหมุนเวียนหุ้นของกองทุน AIA ถือว่าไม่เยอะ น่าจะราว 1 ใน 4 รอบ แต่ถ้าปีที่ผันผวนมากอาจจะหมุนเวียนมากกว่านี้
การเลือกหลักทรัพย์จะมีการวิเคราะห์กันละเอียด คุยกับผู้บริหาร ดูโรงงาน สำรวจคู่แข่ง/คู่ค้า/ลูกค้า จนได้บทสรุปการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
ถือในสัดส่วนที่มากพอสมควร ถ้าสภาพคล่องต่ำ ก็ทยอยซื้อ หุ้นเล็กเราก็สามารถเลือกลงทุนได้ถ้ามีอนาคตตลงทุนยาวได้
มีนักวิเคราะห์ 3 คน มี Fund manager 2 คน มี dealer 1 คน (ทำหน้าที่สั่งซื้อขาย)

ดร.สมจินต์
การบริหารกองทุนหุ้นเรามี 4 สไตล์
- กองทุนดัชนี เช่น กอง set 50 ลงทุนเลียนแบบ set 50 กองทุนที่ใหญ่สุดในโลกก็เป็นกองทุนดัชนีลงทุนใน S&P500 ซึ่งประสบความสำเร็จมาก
กองทุน set 50 ผลตอนแทนย้อนหลัง อยู่ที่ 14.8%
- Rule base จาก set 100 ดูหุ้นที่ใหญ่ และมีปันผล จะมีการกระจายความเสี่ยง ไม่ให้มีหุ้นเกิน 3 ตัว ใน 1 sector เช่น Jumbo 25
- Smart beta เริ่มปีที่แล้ว เป็นการลงทุนหุ้นขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีอุปสรรคสำคัญคือ ความผันผวน เราจึงใช้ Optimization model
โดยให้ FTSE มาช่วยเป็น advisor เพื่อจัดพอร์ตหุ้นขนาดกลาง/เล็ก ให้มีความเสี่ยงต่ำ
ซึ่งจากการทำ backtest พบว่านอกจากความเสี่ยงต่ำแล้ว ผลตอบแทนยังดีกว่าดัชนีด้วย
- การลงทุนในโลก เราไม่ชำนาญ เราจึงลงทุนร่วมกับ global quality growth ของ เวลลิงตัน
เขามี universe 3 พันกว่าบริษัททั่วโลก ใช้ตัวกรอง 4 ตัว โดยเน้นเรื่อง คุณภาพ และเติบโต
1) คุณภาพ วัดด้วย margin บริษัทที่ดีจะขายของที่มีคุณภาพในราคาสูง และมีต้นทุนที่ต่ำ โดยจะเน้นการวิเคราะห์ cash flow margin
2) Growth วัดด้วยการดู การเพิ่ม cash flow และ margin
3) ความคุ้มค่าราคา วัดด้วย cash flow yield เทียบราคาตลาดว่าคุ้มไหม
4) Capital return วัดว่าบริษัทจริงใจกับผู้ถือหุ้นไหม ซึ่งจะแบ่งปันเป็นกระแสเงินสดออกมา คือ ปันผล หรือซื้อหุ้นคืน
การคัดกรองจาก 3 พันตัวจะเหลือเหลือ 500 ตัว แล้วมา ranking ทำ financial model ออกไปข้างหน้า 15 ปี และเลือกลงทุน 75 ตัว

คุณวรวรรณ
เราเป็น Active fund จะไม่เหมือน passive fund
จะอาศัยการเลือกหุ้น และใช้ความสามารถผู้จัดการกองทุน
กระบวนการเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เริ่มจากการดู theme ข้างหน้า 2-3 ปี เลือกหุ้นที่คิดว่าใช่
ปีที่แล้ว ใช้ theme ว่า “สูงวัย สุขสำราญ บริการ ปัจจัย 4” ทำให้คนที่สนใจเรารู้ว่าเรามองอะไร มองข้างหน้าเป็นอย่างไร ต้องเข้าใจว่าใช้เวลาที่จะเห็นผล
สำหรับปีนี้ ใช้ theme ว่า “ ชีวิตสบายด้วยเทคโนโลยี ชีวิตดีด้วยพลังงานสะอาด”
การลงทุนของเราเป็นระยะยาว อย่าง theme เก่า บินแหลก บริโภคไม่อั้น ก็ยังมีหุ้นถืออยู่ถ้ายังไม่แพงเกินไป
ซึ่งหุ้นที่เราซื้อ 10 ตัว อาจจะไม่ได้ถูกต้องหมด แต่ 7-8 ตัวเข้าเป้า
เรามีทีมงานราว 30 คน ซึ่งจะมีอายุ มีสาขาที่จบผสมผสานกัน เพื่อให้มีความคิดที่หลากหลาย
และเราก็มีหลายกองทุนซึ่งมีนโยบายต่างกัน เช่น บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน ก็ลงทุนที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน,
บัวหลวงธนคม – ธนาคาร + โทรคมนาคม บัวหลวงทศพล – เลือกแค่ หุ้น 10 ตัวจาก sector ไหนก็ได้
,B-ASEAN ลงทุนในต่างประเทศ, B-SENIOR ลงทุนผสมเหมาะกับคนเกษียณ เสี่ยงต่ำ สามารถเอาเงินออกมาใช้ได้, B-BASIC หุ้นที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่,
B-CARE เกี่ยวกับ Healthcare sector เราเป็นเจ้าแรกที่ลงทุนกับ เวลลิงตัน
และยังมีอีกหลากหลาย เช่น B-KIND เกี่ยวกับ ESD ดูเรื่องสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นกองแรกของประเทศ
ปลายเดือน ก.พ. มีแผนจะออกกองทุน B-Innotech ลงทุนใน global พวก innovation, พลังงานสะอาด ไม่ได้เดือดร้อนในประเทศ

คุณบัณฑิต
กระบวนการเราคล้ายบัวหลวง มีเกณฑ์วัดทั้งระยะสั้น กลาง ยาว
ผู้จัดการกองทุนจะมีตัววัด โดยติดตามผลรายเดือน เพื่อดูว่านโยบายลงทุนที่ใช้ไปในทิศทางที่คาดหวังไหม เพื่อยืนยันว่ากลยุทธที่ใช้เหมาะสมไหม
ในระยะกลางยังตอบโจทย์ได้ไหม บางทีภาวะ underperform ก็เป็นชั่วคราวควรซื้อเพิ่ม
เรามีหลายกองทุน โดยมีสไตล์แต่ละกองทุนจะแตกต่างกัน
ทำงานที่นี่มา 21 ปี ผลตอบแทนสูงกว่า benchmark ของเราราว 10% ต่อปี
benchmark ของเราค่อนข้างท้าทาย สมัยก่อนเราใช้ set index เป็นหลัก แต่ปีที่หุ้นเล็กวิ่งเราจะ underperform นิดหน่อย
ความภูมิใจของเราอย่างคือเป็นประเทศแรกที่ขอเงินลงทุนจากสำนักงานใหญ่ในปี 1999
ช่วงหลังต้มยำกุ้ง และซื้อมาตลอด ซึ่งเงินที่ซื้อไปน่าจะราว 5-6 หมื่นล้านบาท
ลงทุนหุ้นที่ดี ในจังหวะที่ดี และไม่จำเป็นต้องเทรด
สมัยก่อนเคยถือ cpall 10% ในพอร์ตบริษัท ราคาต้นทุนเท่ากับ par ผ่านไป 20 กว่าปีก็ขึ้นมามาก
ซึ่งเราก็มีหน่วยงานที่คอยดูความเสี่ยงไม่ให้ถือบางตัวมากเกินไป ก็ต้องมีขายออกมาบ้าง
5 ตัวแรกมีเท่าไรเราตอบไม่ได้ แต่ถืออยู่เยอะ
จุดพิเศษของต้องดู คือสภาพคล่อง ว่ากระทบบริษัทแม่ และนโยบายการลงทุนในหุ้นเราโดยกระทบจาก risk rate capital
ที่ต้องตั้งสำรอง 16% จะไปกินส่วนผู้ถือหุ้นเยอะ ทำให้บ.ประกันต้องพิจารณาให้ดีก่อนลงทุนในหุ้น
เงินลงทุนของบ.ประกันชีวิตจะดีกว่ากองทุนนิดหน่อย ลักษณะเหมือนกองทุนปิดที่จะมีเงินในระยะยาวมาก
แต่ต้องมีการคุยกับนักคณิตศาสตร์ประกันชีวิต เป็นระยะเช่น แนวโน้มอัตราการตายของคน
ถ้ามีโรคอะไรที่กระทบทำให้คนตายมาขึ้น จะต้องกำหนดนโยบายการลงทุนให้เหมาะสม
นโยบายการลงทุนมีกำหนดไว้ แต่กว้างๆ เช่น สินทรัพย์เสี่ยงไม่เกิน 30% ซึ่งโลกสมัยนี้เปลี่ยนไป แม้เป็นสินทรัพย์รัฐบาลก็มีความเสี่ยงได้

ดร.สมจินต์
ระยะเวลาถือหุ้นยาวแค่ไหนอาจไม่มีนัยสำคัญ บางทีมันก็คือถือตลอดไป
อย่าง กบข. หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะลงทุนไปเรื่อยๆ
สำคัญอยู่ที่เราจะลงทุนในทรัพยสินหุ้นทุนในสัดส่วนแค่ไหน และต้องมองไปข้างหน้าไกลๆ
ซึ่งก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะโดยมองทั้งในแง่ upside และ downside
บลจ.ทหารไทย ไม่ค่อยเชื่อในเรื่อง market timing เท่าไร เช่น การเพิ่ม/ลดถือเงินสด
เราจะลงทุนตลอดเวลา 99% ขึ้นไปใน index fund ทั้งหลาย
Passive investor มีการตัดสินใจใหญ่ๆ อยู่ 3 อัน
1) asset allocation จะตัดสินใจซื้อหุ้นทุน ตราสารหนี้ เงินสด กี่ % (จัดทัพลงทุน)
2) เงินที่ตัดสินใจให้อยู่ในหุ้นทุน ซื้อหุ้นตัวไหน หรือตราสารหนี้ตัวไหน (security selection)
3) จะซื้อ เวลาไหน ขายเวลาไหน (market timing)
จากงานวิจัยเรื่องการตัดสินใจและผลตอบแทน พบว่า asset allocation จะมีผลกว่า 92 %
แต่การเลือกตัวหุ้นมีผลแค่ 5% และการจับจังหวะเวลามีผล 2%
เรามีหน้าที่ช่วยผู้ลงทุนให้เลือกตัดสินใจสัดส่วนลงทุนที่เหมาะสม
ตัวอย่าง ปีที่แล้ว SET ผลตอบแทน 23% SET 50 23% Jumbo 25 ได้ 25% ซึ่งเราไม่ได้เก่งเป็นพิเศษ แต่ตอนต้นปีมีประเด็นหวั่นไหวมาก
ทั้งจากการขึ้นดอกเบี้ยของ fed, brexit, การเลือกตั้งอเมริก คนที่ตัดสินใจลงทุนบางครั้งก็อดตัดสินใจไม่ได้ที่จะถือ cash เยอะเป็นพิเศษ
แต่passive fund มีมีวินัยจะยึดหลัก fully invest ซึ่งในปีแบบนี้เราจะได้ผลตอบแทนที่ดี
ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยให้นักลงทุนจัดทัพลงทุนได้เหมาะสม โดยไม่ต้อง switch ไปมา
มีงานวิจัยว่า Best day สำคัญมากสำหรับตลาดหุ้น บางครั้งถ้าเราพลาดไปจะเสียผลตอบแทนมาก
วันที่ดีมากๆ หรือเดือนที่ดีมากๆ มักจะมาหลังจากที่มีข่าวร้ายมากๆ หุ้นตกลงไปเยอะ
ซึ่งเราจะก้าวข้ามปัญหาแบบนั้น
การจัดการกองทุน set 50 เราก็จะซื้อขายรักษาสัดส่วนให้ match กับ set 50
โดยมี practical cash amount (มีเงินจำนวนหนึ่งที่เหมาะสม ที่ทำให้ไม่ต้องสั่งซื้อขายตลอดเวลา)
การวัด performance เราต้องพยายามให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี โดยเน้นให้บริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ
และหาโอกาสสร้างผลตอบแทน เช่น ให้ยืมหุ้น
เราวัดผลตอบแทนกับ Total return คือ ผลตอบแทน SET50 + ปันผลที่จ่ายออกมา

คุณบัณฑิตเสริมว่า ช่วงที่ผ่านมาจะมีการเคลื่อนไหวกองทุน ETF จาก กองทุน active fund ต่างประเทศ
มี Flow เข้ามาลงทุนใน ETF ค่อนข้างมาก ซึ่งไม่สนใจว่าราคาซื้อเท่าไร ขอแค่ซื้อให้ครบ
บางครั้งจะมีปัญหาว่าหุ้นสภาพคล่องไม่พอก็ต้องมีการยืมหุ้น ถ้าวันไหนฝรั่งเข้าเยอะ หุ้นจะสวิงค่อนข้างมาก
บางทีเข้าไม่กี่วันแล้วจบ ไม่เหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนที่ทยอยซื้อต่อเนื่อง

คุณวรวรรณ
พฤติกรรมคนซื้อกองทุน วันไหนมีข่าวร้าย คนจะเข้ามาซื้อกองทุนเยอะ
Passive fund ขึ้นเท่าไรลงเท่าไรต้องได้เท่านั้น แต่ Active fund จะตรงกันข้าม
ถ้าเห็นหุ้นนั้นไม่ดี หรือไม่ชอบเจ้าของ จะซื้อทำไม
โดยทั่วไปจะมีหุ้น 30 กว่าตัว กองทุนหนึ่งก็ขนาดราวหมื่นล้านบาท

อ.นิเวศน์
มองว่า active ต้องมีฝีมือพอสมควร ต้องมีกลยุทธ์ มีความสามารถในการเลือกหุ้น
ที่ผ่านมา active ดูกำไรจะดีกว่า แต่ถ้าไม่เก่งจริง ก็จะไป active แล้วติดดอย
ถ้าไม่มั่นใจก็ควรซื้อกองทุน ซึ่งดูว่าจะเอากองทุน active หรือ passive ดี
ก็ไม่แน่นอน เพราะเป็นอดีต แต่อนาคตไม่รู้ ถ้าเป็น passive จะแน่นอนกว่าว่าตามดัชนี

อ.สมจินต์
LTF เป็นกองหน้า ใช้สร้างความมั่งคั่งระยะยาว ระหว่างทางจะผันผวน
RMF จะมีทั้งเป็น กองหน้า กองกลาง กองหลัง มีตั้งแต่หุ้น กองทุนอสังหา ไปจนถึงตราสารหนี้
ของเรามีท้งที่เป็น index, rule base, optimization รวมถึง active fund ที่ลงทุนต่างประเทศ
สำหรับนักลงทุนสถาบัน สิ่งที่อยากสร้างให้มีคือการสร้างวัฒนธรรมการลงทุน และอุปนิสัยที่ดีในการลงทุน
ชอบดูวิถีชีวิตผ่านงบกำไรขาดทุนง่ายๆ คือ ดูรายได้ แล้วหักรายจ่าย เหลือ กำไรหรือขาดทุน
ถ้าเราอยากสำเร็จ มีหน้าที่ 3 อย่าง
รายได้ - พากเพียรในการทำงาน
รายจ่าย – พอเพียงในการจับจ่าย
เพิ่มพูนด้วยการลงทุน - อยากให้ลงทุนอย่างเพลิดเพลิน
คุณวรวรรณเสริม ข้อ 4 ลงทุนอย่าเพลี่ยงพล้ำ ในวัยอันโพล้เพล้

อ.ไพบูลย์กล่าวปิดท้าย
อย่าเอาการลงทุนเข้ามาในชีวิต จนทำลายเรื่องอื่นที่เป็นเนื้อจริงๆของความเป็นคน
แต่อย่างไรเราก็ต้องลงทุนในหุ้นเพราะให้ผลตอบแทนดีที่สุดในระยะยาว
ซึ่งก็ต้องมาคิดดูว่ามีกองทุนที่ทำหน้าที่ทั้ง active เลือกหุ้นได้เหมือนเราเลือกเองหรือเก่งกว่าด้วยซ้ำ หรือกองทุนที่ passive ที่มันเติบโตเองอยู่แล้ว
บางครั้งก็ต้องมาดูว่าชีวิตเรามีค่ามากกว่ามานั่งหาหุ้นเอง ลำบากไปคอยมาตามฟัง
เชื่อว่าการที่มาฟังวิทยากรที่ให้ความรู้จริงๆกับเรา มีความปราถนาดีเป็นที่ตั้ง เป็นแนวทางที่ถูกต้อง
ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน และขอบคุณทุกคนที่อยู่มาถึงวันนี้และได้ประโยชน์ร่วมกัน


MoneyTalk@SET ครั้งถัดไป
เดือน มี.ค. 60 - อาทิตย์ 12 มี.ค. จองเสาร์ 4 มี.ค.
หัวข้อ 1 ทำ IB บริหารพอร์ตลงทุนหุ้นแบบมืออาชีพการเงิน (คุยเรื่องวิชาชีพการเงิน CFA, CFP, FRM )
หัวข้อ 2 ยุทธวิธีลงทุนของ 3 นายกและ 1 กูรู VI(คุณธันวา,คุณอนุรักษ์,คุณชาย มโนภาส และ ดร.นิเวศน์)

เดือน เม.ย.60 - อาทิตย์ 23 เม.ย.
หัวข้อ 1 ท่านเลขาฯกลต.เปิดให้สัมภาษณ์ (คุณรพี สุจริตกุล)
หัวข้อ 2 บริษัทจดทะเบียน 3 บริษัท
หัวข้อ 3 ฝรั่งมองหุ้นไทยอย่างไร และมองหุ้นอะไร
(แอนดรู สตรอท เป็นนายกสมาคม CFA และตั้งกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย/เวียดนาม, คุณปริญญ์ พาณิชภัค CLSA,
คุณภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย และประธานกรรมการ DBSV)
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2645
ผู้ติดตาม: 270

Re: MoneyTalk@SET19/2/60หุ้นเด่นปี60&กองทุนมองหุ้นไทย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
FB live เมื่อวานขัดข้องไปช่วงนึง
อ่านสรุปด้วยจะได้ครบ
โพสต์โพสต์