How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนนิส

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนนิส

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จะเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดด้วยตัวเองได้อย่างไร? / ปีเตอร์ เดนนิส (จากหนังสือ 16 สูตรสำเร็จ รวยด้วยหุ้นฯ)
(How to be (an intelligent) “DIY investor”)

โค้ด: เลือกทั้งหมด

 	เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจยุทธศาสตร์การลงทุนของ “”วอเร็น บัฟเฟต”” และถ้าคุณคิดว่ากลยุทธ์นี้ฟังดูมีเหตุผล คุณก็สามารถนำไปปรับใช้ด้วยตัวคุณเอง ต่อไปนี้คือ เทคนิคง่ายๆ
 	1. ประการแรก ลองไล่ดูตารางหุ้นของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันจันทร์ ในแถวของ ROE หรืออัตราตอบแทนในส่วนของผู้ถือหุ้นและเลือกบริษัทที่มีค่า ROE สูงกว่า 15% ขึ้นไปออกมา ตัวเลขยิ่งมากก็ยิ่งแสดงว่าบริษัทนั้นๆ อาจจะมีการบริหารกิจการที่ดี และ/หรือมีความสมดุลทางธุรกิจ (Business Equation) ที่ดี ซึ่งจะช่วยให้บริษัททำอัตราตอบแทนในส่วนของผู้ถือหุ้นสูงกว่า 15% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
   2. ประการที่สอง กำจัดบริษัทที่มีค่า P/E สุงกว่า 7 เท่า ออกไปเสีย เพราะถ้าเราเลือกเฉพาะบริษัทที่ทำกำไรได้มากกว่า 1 ใน 7 ของราคา การถือหุ้นบริษัทดังกล่าวก็จะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างต่ำ 15% ของราคาที่คุณจ่ายไป
 	3. ประการที่สาม คุณต้องทำการค้นคว้าเล็กน้อย (อาจจะเป็นของใหม่สำหรับนักลงทุนบางท่าน) คุณควรจะเข้าไปดูในเวบไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (http://www.set.or.th) และเมื่อคลิกเข้าไปในหัวข้อ Company Highlights คุณจะพบข้อมูลผลการดำเนินกิจการของบริษัทย้อนหลัง 5 ปี สิ่งแรกที่จะต้องดูก็คือดูว่า ROE นั้น ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงอย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้ว่าประวัติศาสตร์จะไม่ ใช่คำตอบของทั้งหมด แต่อาจเป็นแนวทางที่ดี หรือสามารถนำมาเป็นเครื่องประกันถึงอนาคตได้บ้าง
 	4. ประการที่สี่ หากหุ้นที่มีค่า ROE สูงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเดาได้เลยว่าตัวเลขผลกำไรจะอยู่ในการเจริญเติบโตที่ดี ลองเข้าไปดูในรายละเอียดสักนิดก่อนก็ได้ว่าเป็นอย่างไร
 	5. ประการที่ห้า สิ่งต่อไปที่ควรจะดูคือ การเจริญเติบโตของรายได้หากพบว่ามันเป็นไปได้ด้วยดี ก็อนุญาตให้คุณเริ่มชอบเจ้าบริษัทนี้ได้บ้าง
 	6. ประการที่หก คุณควรตรวจดูก็คือว่า บริษัทมีอัตรากู้ยืมที่สูงเมื่อเทียบกับการลงทุนหรือไม่ การกู้ยืมเป็นสิ่งดีสำหรับบริษัทที่ดี เพราะว่าจะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น จากการที่นำเงินที่กู้ยืมไปลงทุนเพิ่มในกิจการ รายได้ที่เกิดขึ้นนั้นจะสูง กว่าปริมาณดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่าย อย่างไรก็ดีเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า บริษัทที่ดีนั้น ย่อมรักษาระดับหนี้ให้ต่ำกว่าระดับส่วนทุนได้เสมอ (หนี้น้อยกว่า 1 เท่าของส่วนผู้ถือหุ้น) 
 	7. ประการที่เจ็ด เทคนิคสุดท้ายเพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักลงทุนอาชีพก็คือ การย้อนกลับไปดูข้อมูล และตรวจสอบไปถึงภาพลักษณ์ และบุคลิกลักษณะของผู้บริหาร จงจำไว้ว่า “ความซื่อสัตย์”” เป็นสิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดสำหรับการบริหารจัดการ ผู้บริหารที่มีความซื่อตรง จะทำตัวเป็นเสมือนเจ้าของบริษัท เขาจะไม่ใช้จ่ายสินทรัพย์ในส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นทุกรายเท่าเทียมกัน
 	น่าเสียดายที่ว่ากิจการของคนไทยส่วนใหญ่ จะบริหารงานโดยสมาชิกในครอบครัวของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งบริษัทที่มีลักษณะเช่นนี้ จำเป็นต้องถูกสงสัยไว้ให้มาก นอกจากนั้น ผู้บริหารที่มีแบ็คกราวด์ที่น่าสงสัย อาจใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองในการหาประโยชน์ส่วนตัว ด้วยเล่ห์เพทุบาย ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
 	จงหลีกเลี่ยงกับดักที่อาจเกิดขึ้น บางทีแนวทางที่ดีที่สุดในการสืบประวัติผู้บริหารก็คือ การถามไถ่จากคนรอบข้างตัวเรา เช่น โบรกเกอร์ นักลงทุนคนอื่นๆ หรือใครก็ได้ที่คุณติดต่อเป็นการส่วนตัว คุณสามารถสอบถามพวกเขาเพื่อหาข้อมูลให้มากที่สุด
 	ผู้บริหารที่ไม่ซื่อสัตย์ มักจะมีประวัติที่ไม่ซื่อสัตย์ด้วย ดังนั้น คุณควรจะต้องค้นหาบุคคลที่มีอดีตอันใสสะอาดย้อนหลังไปนานสักหน่อย และถ้าหากการสืบค้นนั้นๆ มีเพียงสักครั้งที่ทำให้คุณเกิดข้อสงสัยในบุคคลนั้นๆขึ้นมา โปรดหนีห่างบริษัทที่เขาบริหารงานอยู่เป็นดีที่สุด
 	ผู้บริหารที่คุณต้องการไม่ใช่แต่เพียงเป็นคนทำงานหนัก และเฉลียวฉลาด แต่จะต้องเป็นผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์ด้วย เพราะถ้าเขาไม่มีความซื่อสัตย์ จริงใจ “การทำงานหนัก และเฉลียวฉลาด อาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลบเกลื่อน จนทำให้สายตาของคุณไม่สามารถมองไปถึงข้อเท็จจริง””
 	พร้อมๆกันนี้ คุณก็ควรคัดเอาบริษัทที่มีค่า ROE ที่ไม่แน่นอน หรือมีค่า ROE สูง ที่เกิดจากการกู้ยืมเป็นจำนวนมากออกไป (ROE เกิดจากการนำเอากำไรสุทธิหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้นคูณด้วย 100 บางบริษัทกู้เงินมากทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นต่ำ ถ้ากำไรเท่าเดิมหารด้วยตัวหารที่น้อยลง ค่าจะออกมาสูง) หรือบริษัทที่มียอดขายคงที่ และมีแนวโน้มจะตกต่ำก็ควรจะคัดออกไปด้วย
 	ที่จริงเมื่อมาถึงจุดนี้แล้วคุณจะพบว่า การเลือกหุ้นนั้นหลักใหญ่ก็คือ การเลือกของเสียทิ้ง และของดีจะถูกคัดเลือกไปเรื่อยๆ จนพบของที่มี “ตำหนิ” ”น้อยที่สุด 
 	สุดท้ายนักลงทุนจะสามารถคัดเลือกหุ้นด้วยตัวคุณเอง คุณอาจจะใช้ความรู้ของคุณที่มีเกี่ยวกับสินค้าของบริษัทนั้นๆ ประกอบการตัดสินใจไปด้วย ถึงขั้นนี้คุณอาจจะต้องไปที่ห้องสมุดของตลาดหลักทรัพย์ เพื่ออ่านรายงานประจำปีของบริษัทต่างๆ และดูข้อมูลของบริษัทจากระบบอินเทอร์เน็ตของห้องสมุด ถ้าคุณไม่สะดวกในการใช้อินเตอร์เน็ต
 	ท้ายที่สุด เมื่อผ่านการค้นคว้าวิจัยมาบ้างแล้ว คุณก็จะสามารถเลือกหุ้นลงทุนได้อย่างชาญฉลาด และอุ่นใจ เพราะรู้ว่าคุณกำลังซื้อหุ้นของบริษัทที่มีการบริหารของกิจการที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ทั้งยังมีข้อมูลเบื้องหลังสนับสนุนเพียงพอที่คุณจะรู้ว่าบริษัทจะไปได้ไกลใน อนาคต 
 	ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของ ““ราคา”” คุณควรจะชื่นใจเมื่อเห็นค่า P/E น้อยกว่า 4 เท่า เพราะนั้นคือรางวัลจากการพยายามของคุณ เนืองจากหุ้นเหล่านั้น จะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 25% ของราคาหุ้นต่อปี (100 หาร 4) 
 	ยังมีบริษัทมากมายในตลาดที่มีการซื้อ/ขายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี เมื่อคำนวณออกมาแล้ว บางบริษัทให้ผลกำไรมากกว่า 20% จากเงินลงทุน
 	“วอเร็น บัฟเฟต”” จะต้องอยากได้แน่ๆ ถ้าเห็นหุ้นอย่างนี้ นอกจากนั้น คุณจะยังได้รับโบนัสก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่ง ถ้าคุณลองตรวจดูช่องการจ่ายเงินปันผลของหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำในหนังสือพิมพ์ คุณจะพบว่าบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่จะจ่ายกำไรก้อนโตออกมาประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นเงินปันผล ซึ่งก็คือจะให้ผลตอบแทน 8 - 15 % ต่อปี ถ้าบริษัทจะกระทำเหมือนในปีที่ผ่านๆมา นักลงทุนก็จะได้เงินสดจากหุ้นเหล่านี้ภายใน 3 เดือน โดยเฉลี่ยคือประมาณ 10% ของราคาหุ้น นี่เพียงแค่โบนัสเท่านั้นนะครับ
 	เป็นการดีที่คุณจะเลือกหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำๆ แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบริษัทที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และถ้าคุณพิจารณาแล้วว่า จะมีลู่ทางที่เหนือกว่า ไม่ว่าคุณจะซื้ออะไร บางครั้งมันก็คุ้มค่าถ้าจะจ่ายมากกว่าเพื่อคุณภาพ
 	เมื่อมาถึงตอนสุดท้ายของขบวนการเลือกสรรและคัดออก คุณคงกำลังดูๆหุ้นอยู่สัก 1 - 2 โหล และส่วนใหญ่ก็จะเป็นหุ้นของบริษัทที่มีกิจการการส่งออก ผลของการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้บริษัทเหล่านี้มีสถานะที่มั่นคง ขณะเดียวกัน ก็ต้องเผชิญสภาวะการแข่งขันสูงกว่าในตลาดต่างชาติ และโดยมากจะดำเนินกิจการด้านธุรกิจการเกษตรหรือแปรรูปอาหาร ซึ่งจะได้รับประโยชน์อย่างมาก เพราะประเทศไทยมีจุดแข็งด้านนี้
 	ทฤษฎีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ชี้ว่า พอร์ตโฟลิโอที่ดีควรจะมีประมาณ 7 – 8 หุ้น เพราะการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ของการกระจายการลงทุน จะลดน้อยลงไปเมื่อเกินจุดนี้
 	วอเร็น บัฟเฟต เห็นด้วยพร้อมกับให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า การมีพอร์ตโฟลิโอที่กระชับ จะช่วยให้คุณติดตามการดำเนินงานของบริษัทของคุณได้ง่ายขึ้น ที่จริงแล้วเขามองว่าการกระจายหุ้นที่มากเกินความจำเป็นนั้นเป็นปฏิกิริยาของนักลงทุน ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในตัวเลือก ซึ่งความรู้สึกไม่มั่นใจนั้น สามารถบรรเทาได้ด้วยการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทของตนอย่างสม่ำเสมอ
 	เอาล่ะครับ ผมขอเชิญให้คุณลงมือทำด้วยตนเอง เลือกลงทุนด้วยตัวของคุณเอง ผมคาดว่าการที่คุณมีความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยมากกว่าจะช่วยให้คุณได้เปรียบ ในการเลือกตัวเต็งกว่าผมซึ่งเป็น “”ฝรั่ง””
 	อย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านทำตามคำแนะนำของบัฟเฟตนะครับ จงรักษามุมมองทางธุรกิจไว้ในฐานะนักลงทุนระยะยาว คำถามที่สำคัญที่สุดที่คุณควรจะถามตัวเองก็คือ บริษัทสามารถนำกำไรสะสม (retained earning) มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่ การผูกมัดเงินทุนของคุณกับบริษัทที่ไม่มีทั้งโอกาสและศักยภาพในการบริหารกำไรสะสม มีแต่จะทำให้เรือของคุณจอดนิ่งอยู่กลางน้ำ
 	อย่างไรก็ดี จงเลือกบริษัทที่สามารถทบต้น (compound) ผลกำไรได้ แล้วการลงทุนของคุณจะเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ 
-end-
[/size]
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
theerasak24
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 621
ผู้ติดตาม: 1

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
Wizardnight
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 19
ผู้ติดตาม: 1

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ได้ข้อคิดดีๆเยอะเลย ขอบคุณครับ
yinglaknite
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Great idea. ขอนำไปปรับปรุงสอนคนที่ทำงานเรื่อง merchanding. ที่สำนักการตลาดหน่อย เพราะ portfolio. สินค้าที่ดูแลอยู่ ไม่เติบโต ต้องได้คำแนะนำแบบ คมๆ ไปกระตุกต่อมคิด กระตุ้นต่อมใจหมวยเละทั้งทีม
[/color]I DREAM FOR LIVING
minkpro
Verified User
โพสต์: 12
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ได้แนวคิดดีๆเพิ่ม :mrgreen:
preejant
Verified User
โพสต์: 36
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

simple is the best
hatehate
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เป็นบทความที่ดีมาก ๆ ครับ :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3778
ผู้ติดตาม: 75

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ต้องกลับไปอ่านเล่มนี้ใหม่อีกสักรอบ :)
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
dr1
Verified User
โพสต์: 880
ผู้ติดตาม: 30

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

รู้สึกว่าอ.เดนนิสจะเป็นแรงบันดาลใจแรกเริ่มของอ.ลูกอิสานนะครับ
ตอนนี้ไม่ทราบว่ามีบทความใหม่ๆออกมาอีกมั้ย
samatah
Percen
Verified User
โพสต์: 44
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณครับ :cry:
dsdumrong
Verified User
โพสต์: 530
ผู้ติดตาม: 1

How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนนิส

โพสต์ที่ 11

โพสต์

:B
DragonKing
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับการแบ่งปันความรู้
ter
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เอกสารเก่าเก็บไว้อ่าน Scan pdf จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 12 มีนาคม 2543 ครับ
แนบไฟล์
peter dennis_.zip
(1.18 MiB) ดาวน์โหลด 393 ครั้ง

b4solid
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1135
ผู้ติดตาม: 72

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

thank มาๆ ครับ
AAA
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 114
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอบคุณครับ คงต้องไปรื้อเล่มนี้มาอ่านอีกรอบ เท่าที่อ่านมายังไม่มีอะไรเหลือในหัวเท่าที่อ่านในวันนี้ วันจันทร์นี้จะซื้อนสพ.มาลองปฏิบัติ
ขอบคุณอีกครั้ง :D :D :D
doc_zodi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 108
ผู้ติดตาม: 0

Re: How to be (an intelligent) “DIY investor” / ปีเตอร์ เดนน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ปรับใช้ง่ายดีครับ ขอบคุณมากครับ
แสงแดดสาดส่องจากดวงอาทิตย์
แสงชีวิตลิขิตได้ด้วยตัวเรา
โพสต์โพสต์