กลุ่มโลจิสติกส์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

กลุ่มโลจิสติกส์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เปิดแผนกลยุทธ์การตลาด ปณท.กวาดรายได้ลอจิสติกส์ 14,800 ล. [ ฉบับที่ 806 ประจำวันที่ 30-6-2007 ถึง 3-7-2007]  
บ.ไปรษณีย์ไทย - นายวุฒิพงษ์ โมฬีชาติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท. กล่าวถึง แผนการสร้างรายได้ให้กับปณท. ว่า บริษัทเน้นการทำตลาดด้านการส่งพัสดุภัณฑ์ในประเทศมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันคู่แข่งอย่าง องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) ซึ่งเป็นสังกัดภายใต้กระทรวงคมนาคม ได้ถูกยุบไป ทำให้บริษัทสามารถสร้างฐานลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทางบริษัทได้เปิดบริการ ลอจิสติกส์ โพสต์ ซึ่งเป็นการ รับส่งสิ่งของ และพัสดุภายในประเทศราคาประหยัด สำหรับสินค้าน้ำหนัก 20-30 กิโลกรัม ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถส่งในจังหวัด ในภาคเดียวกันด้วยอัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ 100-120 บาทต่อเที่ยว ขณะที่ส่งข้ามภาคจะมีราคาเริ่มต้นที่ 140-180 บาทต่อเที่ยว ส่วนสินค้าที่ได้รับความนิยมในการส่งข้ามจังหวัดมากที่สุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ มีค่าบริการขนส่งเริ่มต้นที่ 1,200-1,400 บาทต่อเที่ยว

นอกจากนี้ ปณท. ยังได้ร่วมมือกับบริษัท อาร์เอส ดิจิตอล จำกัด เปิดบริการรายงาน สถานะของจดหมาย พัสดุภัณฑ์ หรือการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ในรูปแบบแบบลอจิสติกส์ ผ่านระบบเอสเอ็มเอสบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้บริการของไปรษณีย์ไทย แตกต่างจากดีเอชแอลของต่างประเทศ ส่วนการทำตลาดขนส่งสินค้าในต่างประเทศนั้น บริษัทจะจับมือกับดีเอชแอลในการขยายบริการ เพราะยอมรับว่า การทำตลาดระหว่างรัฐกับรัฐ ไม่ว่าจะเป็นจากไทยไปอเมริกา หรือที่อื่นๆ จะมีความล่าช้ากว่าทำร่วมกับเอกชน จึงจะเน้นจับมือกับเอกชนมากขึ้น

บริษัทตั้งเป้าสร้างรายได้จากการรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 6% จากรายได้รวมที่ตั้งเป้าไว้ที่ 14,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 888 ล้านบาท รวมทั้งยังได้วางแผนที่จะขยายบริการพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากที่สุด โดยจะได้ร่วมมือกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ใช้พื้นที่ใต้ท้องรถของบขส.รับส่งสินค้า โดยผู้ใช้บริการสามารถไปรับสินค้าหรือพัสดุที่สถานีรถโดยสารในจังหวัดนั้นๆ รวมทั้งบริษัทจะใช้พื้นที่ของบขส. และทำระบบออนไลน์ เพื่อเช็คการเข้าออกของสินค้า และจัดระบบได้ นายวุฒิพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ ในหน่วยธุรกิจด้านการขนส่ง บริการที่ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ตั้งแต่ Messenger ที่สามารถให้บริการได้รวดเร็วเพียง 30 นาที-4 ชั่วโมงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล บริการ total Mail Solution ก็เป็นหนึ่งบริการที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจที่ต้องการความแน่นอนในการส่งสิ่งของจึงเป็นโอกาสที่ไปรษณีย์ไทยตอบโจทย์เหล่านี้ได้ และอีกบริการคือ Logistic post ที่แม้จะนำร่องไปแล้วบางแห่ง แต่วันที่ 29 มิ.ย.จะมีการเปิดให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/06/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

BOI ช่วย ไทคอน แจ้งเกิดอุตฯ ลอจิสติกส์ [ ฉบับที่ 806 ประจำวันที่ 30-6-2007 ถึง 3-7-2007]  
สำนักงานบีโอไอ - นางหิรัญญา สุจินัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบส่งเสริมกิจการเขตอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของบริษัท ไทคอน โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนา โครงการก่อสร้างศูนย์กลางขนส่งคลังสินค้า และระบบจัดการคลังสินค้า (Logistics Park) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา บนพื้นที่ประมาณ 450 ไร่ วงเงินลงทุน 3.86 พันล้านบาท

โครงการดังกล่าวจะพัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ รายแรกของประเทศไทย ที่เปิดให้บริการด้านลอจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ ภายหลังก่อนหน้านี้บีโอไอได้ประกาศให้การส่งเสริมกิจการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ ไปเมื่อเดือนก.พ. 2550 นางหิรัญญา กล่าว

สำหรับโครงการเขตอุตสาหกรรมลอจิส ติกส์ดังกล่าว จะให้บริการด้านลอจิสติกส์ อย่างเต็มรูปแบบ โดยจุดเด่นสำคัญคือ สถานที่ตั้งห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 22 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างกรุงเทพฯ และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังเพียง 50 กิโลเมตร แบ่งเป็น พื้นที่คลังสินค้าทั่วไปขายหรือให้เช่า พื้นที่คลังสินค้าเขตปลอดอากรขาย หรือให้เช่า สถานีเปลี่ยนถ่ายขึ้น-ลงตู้ คอนเทนเนอร์ และพื้นที่ส่วนกลางบริการสาธารณูปโภค และระบบ โทรคมนาคมหลักที่มีการวางสายสื่อสารความเร็วสูง

นางหิรัญญา กล่าวต่อว่า โครงการนี้จะรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทจากใน และต่างประเทศที่ต้องการเช่าคลังสินค้าแทนการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเอง และผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ ที่ต้องการหลีกหนีความคับคั่งของเขตปลอดอากรภายในสนามบินสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้ บริษัทไทคอน นั้นเป็นบริษัทแรก ที่ยื่นรับการส่งเสริมในกิจการเขตอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ ผู้ประกอบการด้านลอจิสติกส์ของไทย และช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันจะมีส่วนทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคของตลาดภายในประเทศลดลง และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนด้านผังเมืองและการจราจร
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/06/07

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ใช้เวที FTA จีน-อาเซียนพัฒนา ลอจิสติกส์ เจาะตลาดจีน [ ฉบับที่ 802 ประจำวันที่ 16-6-2007 ถึง 19-6-2007]  
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้เปิดเผยผลทำการวิจัยโครงการเตรียมความพร้อมด้านลอจิสติกส์เพื่อตอบรับสถานการณ์ข้อตกลงเขตการค่าเสรี หรือ เอฟทีเอ จีน-อาเซียน เนื่องจากเส้นทางสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในเส้นทางนี้ยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่มาก โดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งที่สูง จนไม่สามารถแข่งขันได้

โดยรศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สกว.นั้น เห็นว่า ในปี 2553 เอฟทีเอจีน-อาเซียน จะมีการบังคับใช้ พร้อมจะมีการเปิดเส้นทางระเบียบเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมเมืองท่าดานังในเวียดนาม กับเมาะละ แหม่งในพม่า ซึ่งเป็นการเชื่อมคาบสมุทรอินเดีย กับแปซิฟิก ซึ่งในส่วนนี้ประเทศไทยซึ่งมีบทบาท ในการให้บริการลอจิสติกส์ในภูมิภาค จะสามารถ สร้างโอกาสจากการที่เราจะเป็นทางผ่านการค้า ระหว่างจีน กับกลุ่มประเทศอาเซียน

เพราะไทยเองนั้น ก็ไม่ได้มีเพียงการส่งสินค้าไปค้าขายในจีน และภูมิภาคดังกล่าว แต่ยังเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าต่างๆ ดังนั้น เมื่อจีนเองก็ได้มีการเตรียมความพร้อมของระบบลอจิสติกส์ ที่จะรองรับการเติบโตในการกระจายสินค้า และขนส่งสินค้า ไทยเราเองก็ต้องจำเป็นที่ต้องเตรียมรับการขยายตัวของธุรกิจดังกล่าวในอนาคตอีกด้วย เพราะการที่สินค้าจากจีนเริ่มมีการกระจายสินค้าไปทั่วภูมิภาคนี้ หากไทยได้กลายเป็นทางผ่านก็อาจจะมีโอกาสในการกระจายสินค้าของเราเข้าสู่จีนเช่นกัน

ตอนนี้เราต้องยอมรับว่า ในเรื่องของธุรกิจด้านลอจิสติกส์ของไทยยังมีปัญหาค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเรื่องของราคาค่าขนส่งที่มีราคาสูง ไม่มีกองเดินเรือเป็นของตัวเอง รวมทั้งในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ในการส่งสินค้าเสียหายง่าย เช่น ผักหรือ ผลไม้ก็ยังไม่ดีพอ จึงทำให้ไทยเราขาดโอกาสในการเป็นทางเลือก จากกลุ่มผู้ใช้บริการในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของต้นทุนของการขนส่งที่สูง และเรื่องของระเบียบการทำงาน หรือการให้บริการแบบระบบราชการที่ไม่มีบริการแบบ 24 ชั่วโมง 7 วัน ยิ่งทำให้สู้ประเทศเส้นทางอื่นๆ ไม่ได้ ดังนั้นประเทศไทยควรจะต้องมีการพัฒนาระบบการขนส่งทั้งทางรถยนต์ ทางเรือ และรางรถไฟ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนถูกลง

รศ.ดร.แก้วตา โรหิตรัตนะ หัวหน้าโครงการการศึกษาและสำรวจระบบลอจิสติกส์ของประเทศจีน ในส่วนของข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กล่าวว่า การที่จีนจะเน้นการ ทำเส้นทางขนส่งใหม่นั้น เราเองจะต้องแสวงหา ผลประโยชน์จากการนำสินค้าไปขายที่จีนเช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ แต่ที่ผ่านมาการกระจายสินค้าของไทยในจีนก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะสินค้าประเภทผลไม้ เช่น ทุเรียน หรือมังคุด จะมีการกระจุกอยู่เฉพาะจีนตอนล่าง เช่น ฮ่องกง กวางโจว และเสิ่นเจิ้น และมีตลาดขายส่งผลไม้อยูที่เจียงหนานเพียงที่เดียว ทำให้ไม่มีการกระจายสินค้า และเกิดปัญหาตลาดมาเฟียขึ้น เพราะเป็นระบบขายฝาก ซึ่งผู้ที่ขายสินค้าจึงไม่มีโอกาสในการกำหนดราคาสินค้านอกจากพ่อค้าคนกลางเท่านั้น

ในขณะที่ในบางพื้นที่ก็มีความต้องการสินค้า และมีเส้นทางขนส่งที่มีต้นทุนถูกกว่า และสะดวกมากกว่า เช่น เมืองเซียะเหมินที่อยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้เพียง 400 กิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้นประเทศไทยเองก็ควรจะต้องมีการเข้าไปสำรวจตลาดใหม่ ๆ ในจีนว่า กลุ่มลูกค้าอยู่ที่ไหน และเป็นใคร เพื่อที่จะหาเส้นทางใหม่ๆ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนในการขนส่งสินค้า และสร้าง ตลาดสินค้าใหม่ๆ ซึ่งเชื่อว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ประเทศไทยเองก็น่าจะสามารถแสวงหารายได้จากการทำเอฟทีเอ ในครั้งนี้ ไม่ใช่จะเป็นเพียงทางผ่านให้กับจีนในการส่งกระจายสินค้าลงสู่ตอนใต้เท่านั้น

นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าทางเรือเองก็น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับไทย เพราะการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ก็มีปัญหาเรื่องราคาที่สูงมาก ดังนั้นหากเราเปลี่ยนเส้นทางและหาวิธีการส่งสินค้า และมีท่าเรือส่งสินค้าในฝั่งทะเลอันดามัน จะเป็นทางเลือกใหม่ๆ แต่เชื่อว่าความนิยมใช้การขนส่งทางรถยังจะไม่หมดไป และทางคณะวิจัยคาดว่า ในปี 2555 จะมีผู้ใช้การขนส่งสินค้าด้วยรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 90.7% จากที่ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 80%

รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย ผู้ประสานงานโครงการวิจัยลอจิสติกส์ สกว. กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาตั้งแต่ต้นทาง ถึงปลายทางทั้งของไทย และจีน รวมทั้งการค้าชายแดนโดยเน้นการทำสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกอันดับต้นๆ ที่ส่งไปจีน เช่น ยางพารา ทุเรียน มังคุด มันสำปะหลัง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจากการวิจัยชุดนี้ ยังพบว่า รูปแบบลอจิสติกส์ของไทยยังมีปัญหา เพราะไม่เป็นระบบ ไม่มีฐานข้อมูล และมีปัญหาค่าขนส่งสูง จึงแข่งขันได้ยาก

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ไม่มีฐานข้อมูลที่เป็นทางการใช้ประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ ฉะนั้นต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ที่มีปัญหา เช่น ผลักดันท่าเรือของไทยให้มีนโยบายดึงดูดการเข้ามาใช้ท่าขอสายเดินเรือ ลดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่พอ เพราะ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสินค้าส่งออกเยอะจึงทำให้มีตู้คอนเทนเนอร์กลับมาประเทศล่าช้า และน้อยมากทำให้มีปัญหามาก รวมทั้งในส่วนของการทำตลาดสินค้าต่างๆ ในจีน กงสุลไทยควรให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ประกอบการมากกว่านี้

รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ หัวหน้าโครงการ การศึกษาระบบลอจิสติกส์ของการค้าไทย-จีน กรณีการค้าผ่านแดนไทย-คุนหมิง กล่าวว่า การขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทย สู่คุนหมิง พบว่า ระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีความพร้อม แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถทำได้ เพราะยังมีกฎระเบียบที่เหลื่อมล้ำกัน และไม่มีความเป็นสากล หรือเป็นระบบที่แน่นอนตายตัว ดังนั้น จะต้องแก้ไขในจุดเหล่านี้ ซึ่งควรจะต้องมีการเจรจาทั้งระดับระหว่างประเทศ และกลุ่มประเทศ เพราะสถานการณ์ทุกวันนี้ทางพม่าเองยังไม่อนุญาตให้สินค้าไทยผ่านไปจีนได้ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ในขบวนการเปลี่ยนสัญชาติสินค้า ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้เราไม่สามารถส่งสินค้าไปถึงจีนได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ เพราะเส้นทางการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนนั้น เส้นทางที่ผ่านประเทศพม่าถือว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดกว่าส่งผ่านประเทศลาว ซึ่งหลายประเทศจึงสนใจที่จะเข้ามาใช้เส้นทางดังกล่าว โดยเฉพาะจีนก็ต้องการที่ส่งออกผ่านในส่วนนี้เช่นกัน ดังนั้นการจะใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้ ไทยควรจะต้องมีวิธีการเชื่อมโยงที่ชัดเจนของนโยบายตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จนถึงระดับรัฐบาลรวมทั้งต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการมากที่สุด

นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เส้นทางเชื่อมโยงในภูมิภาคที่เป็นเส้นทางสำคัญมี 2 แนว คือ เส้นทางสายเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ ซึ่งจะเชื่อมตั้งแต่จีนตอนใต้ ลาว และไทย อีกแนวคือ เส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตก โดยเชื่อมโยงตั้งแต่ดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านไทยที่มุกดาหาร ขอนแก่น และพิษณุโลก และเข้าไปพม่า ที่ย่างกุ้ง ซึ่งถนนจะต้องเชื่อมโยงกันได้ ในขณะที่การขนส่งจะต้องไม่ติดปัญหาต่างๆ เช่น ติดเรื่องพวงมาลัยรถซ้าย หรือขวา เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเจรจาระหว่างไทย-ลาว มาแล้ว และจะไปหารือกับทางเวียดนาม ที่กรุงฮานอย เรื่องการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนต่อไป สำหรับแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ก็มีการตั้งคณะทำงานร่วมประกอบด้วย จีน ไทย และลาว ในการที่จะมองปัญหาเพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้มากที่สุด

การทำเอฟทีเอระหว่างจีนกับอาเซียนในครั้งนี้ ไทยเราเองในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอื่นๆ ก็จำเป็นจะต้องหาผลประโยชน์จากส่วนนี้ ไม่ใช่แค่จะเป็นทางผ่านสินค้าให้กับจีนเท่านั้น ซึ่งหากปัญหาที่เรายังขาดข้อมูลในการทำตลาดให้กับผู้ประกอบการ หรือยังขาดเส้นทางในการขนส่งสินค้าที่ดี ดังนั้นรัฐบาลเองก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นโครงสร้างหลักในการประกอบธุรกิจของเราในอนาคต หากจะสามารถปรับปรุงเส้นทางรถไฟ หรือบริการอื่นๆ ก็ยิ่งควรทำ โดยเฉพาะการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ระบบลอ จิสติกส์ของไทยมีการพัฒนา และมีต้นทุนที่ลดลงมากกว่านี้
http://www.siamturakij.com/home/index.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/06/07

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สามมิตรฯ จับมือจีน-ญี่ปุ่นรุกลอจิสติกส์ตั้งเป้าตลาดในปท.-ส่งออก3.6พันล้าน [ ฉบับที่ 801 ประจำวันที่ 13-6-2007 ถึง 15-6-2007]  
นายเชาว์ โพธิ์ศิริสุข ประธาน กรรมการ บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง แผนการลงในช่วงครึ่งปีหลังว่า บริษัทได้เตรียมแผนการขยายธุรกิจในการลง ทุนร่วมกับพันธมิตร คือ จีนและญี่ปุ่น โดยล่าสุดได้เซ็นสัญญาร่วมทุนกับบริษัท ซีไอเอ็มซี เวฮิเคอร์ กรุ๊ป จำกัด ของจีน ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจผลิตและจำหน่ายรถกึ่งพ่วง ประเภทต่างๆ และบริษัทซูมิโมโต คอร์เปอเรชั่นส์ ผู้ประ กอบการธุรกิจเทรดดิ้งทั่วโลกรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันเปิดบริษัทภายใต้ชื่อ บริษัท ซีไอเอ็มซี-เอส เอ็มเอ็ม เวฮิเคอร์ ประเทศไทย จำกัด ตั้งโรงงาน ผลิตที่จังหวัดเพชรบุรีบนเนื้อที่ 120,000 ตารางเมตร ด้วยทุนจดทะเบียนบริษัท 260 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้น ได้ แก่ ซีไอเอ็มซี 55% สามมิตร 35% และ ซูมิโตโม 10% รวมจำนวนหุ้น 2,600,000 หุ้น

ด้านนายหลี่ กุ้ย ผิง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีไอเอ็มซี เวฮิเคอร์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงการร่วมทุน ครั้งนี้ว่า ในเบื้องต้นบริษัทร่วมทุนนี้ จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับรถกึ่งพ่วงเพื่อการพาณิชย์ สำหรับระบบลอจิสติกส์ โดย แบ่งประเภทรถที่จะผลิตเป็น 3 ธุรกิจได้ แก่ ธุรกิจผลิตรถกึ่งพ่วงทุกชนิด เน้นการ ผลิตรถกึ่งพ่วงพื้นก้างปลาและรถกึ่งพ่วงพื้นเรียบเป็นหลัก ธุรกิจผลิตรถตู้แห้ง ตู้เก็บความเย็น และตู้เย็น และสุดท้ายในธุรกิจรถบรรทุกขนส่ง วัสดุอันตราย น้ำมัน สารเคมี ก๊าซธรรมชาติและก๊าซเหลว เป็นต้น เน้นเจาะตลาดรถกึ่งพ่วงเพื่อการ พาณิชย์สำหรับระบบลอจิสติกส์ภายในตลาดภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด แบ่งเป็น การทำตลาดภายในประเทศประมาณ 60% และตลาดต่างประเทศ 40% มี กำลังในการผลิตทั้งสิ้น 10,000 ต่อปี มูลค่ารวม 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,500 ล้านบาท

สำหรับบริษัท ซีไอเอ็มซี เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายรถกึ่งพ่วงประเภทต่างๆ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศมากกว่า 30% จากการทำตลาดภายในประเทศทั้งหมด 50% และผลิตเพื่อการส่งออก อีก 50% โดยมีบริษัทแม่ที่เมืองเสิ่นเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาขาย่อยใน ประเทศจีนทั้งหมด 10 แห่ง ในต่างประเทศ 4 แห่ง คือ ที่สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และล่าสุดที่จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

สาเหตุที่เกิดความร่วมทุนในครั้งนี้ เพราะเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางในด้านคมนาคมขนส่งและระบบลอจิสติกส์ที่มีมาตรฐานในภูมิภาค อาเซียน พร้อมกับศักยภาพของ สามมิตร ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และรถบรรทุกประเภทต่างๆ ที่ได้ มาตรฐานระดับสากล จนสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดจำนวนมากในภูมิภาคนี้

ทางด้านนาย คาซูฮิซะ โทกาชิ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโส บริษัท ซูมิโมโต คอร์ปอร์เรชั่นส์ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวในเรื่อง นี้ว่า บริษัทจะดำเนินการจัดหาวัตถุดิบเหล็กและโลหะที่มีคุณภาพดี เพื่อนำมาผลิตรถกึ่งพ่วงเพื่อการพาณิชย์สำหรับระบบลอจิสติกส์ให้กับบริษัท และยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในในการผลักดันผลิตภัณฑ์ของบริษัทร่วมทุนไปสู่ตลาดในระดับสากลต่อไป

ผมเชื่อว่าด้วยศักยภาพความแข็ง แกร่งของพันธมิตรหลักทั้ง 3 บริษัท ประกอบกับกลยุทธ์ทิศทางการทำธุรกิจเชิง รุกจะส่งผลให้บริษัท ซีไอเอ็มซี-เอสเอ็มเอ็ม เวฮิเคอร์ ประเทศไทย จำกัด ก้าวไปข้างหน้า ได้อย่างมั่นคง แข็งแกร่ง และสามารถทำ ยอดการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน นายคาซูฮิซะ กล่าว
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news02/07/07

โพสต์ที่ 5

โพสต์

'สรรเสริญ'จี้รฟท.เร่งออกแบบรถไฟฟ้าสีแดงบางซื่อ-รังสิต

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:01:00

สรรเสริญ จี้ รฟท. เร่งออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต พร้อมสั่งไม่ปรับลดขนาดสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ หวังรองรับโครงการใหม่ในอนาคต คาดเดือน ส.ค. นี้นำเสนอครม.พิจารณาได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยจะให้ขั้นตอนการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 2 ช่วง เปิดให้บริการในช่วงที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้ รฟท.จะสามารถสรุปแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งมีส่วนประกอบ 2 ส่วนใหญ่ คือ สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ และเส้นทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต ได้ชัดเจน รวมทั้งมีกรอบวงเงินลงทุนที่แน่นอน เพื่อนำเสนอสู่การพิจารณาของ ครม. และดำเนินการประกวดราคาต่อไป

แผนงานเดิมคาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จะประกวดราคาได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะมีระยะเวลาการดำเนินงานห่างจากช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เกือบ 7 เดือน ซึ่งตนได้กำชับให้เร่งเพื่อให้ระยะเวลาการดำเนินงานทั้ง 2 ช่วงไม่ห่างกันจนเกินไป ซึ่งก็น่าจะสามารถเร่งรัดให้เร็วขึ้นได้ประมาณ 1-2 เดือน นายสรรเสริญ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการปรับแบบรายละเอียดในส่วนบางซื่อ-รังสิต ไม่น่าใช้เวลานาน เพราะเป็นการเพิ่มสถานี ส่วนการปรับลดขนาดสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อให้เล็กลงนั้น ตนได้มอบนโยบายว่า ควรก่อสร้างสถานีให้มีขนาดใหญ่ไว้เพื่อรองรับรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะได้ไม่ลำบากในการก่อสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง และไม่เสียเวลาปรับแบบเดิมด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=81750
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news02/07/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

บีทีเอสคลำเงินก้อนใหม่2.4หมื่นล้านไม่เจอเลื่อนเข้าตลาดหุ้น

แผนฟื้นฟู "บีทีเอส" สะดุด เหตุจากยังหาเงินก้อนใหม่ 2.4 หมื่นล้านมาเคลียร์หนี้ไม่ได้ เลื่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นปีหน้า ย้ำไม่กระทบแผนซื้อรถไฟฟ้า 12 ขบวน เผยระบบตั๋วร่วมคืบหน้าจับมือบีเอ็มซีแอล- สนข. ถกหาข้อสรุป 3 กรกฎาคมนี้ ประเดิมเฟสแรกตั๋วใบเดียวใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส

นายอาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษาบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทต้องเลื่อนการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกไปเป็น ปีหน้าแทน จากเดิมมีกำหนดจะเข้าตลาดในเดือนมิถุนายนนี้

เนื่องจากในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการที่มีมูลหนี้จำนวน 40,000 กว่าล้านบาท ยังติดปัญหาเรื่องการหาเงินทุนก้อนใหม่ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 24,000 ล้านบาท ที่ต้องนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ไม่ได้

ตอนนี้ด้านอื่นๆ ไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถไฟฟ้า 12 ขบวน ที่กำลังคัดเลือกซัพพลายเออร์ มีปัญหาเรื่องการหาเงินทุนก้อนใหม่เพียงอย่างเดียว ทำให้แผนฟื้นฟูยังไม่แล้วเสร็จ

นายอาณัติกล่าวว่าในส่วนของแผนฟื้นฟูฯที่อยู่ระหว่างดำเนินการจะมีการยกเว้นดอกเบี้ยค้างจ่าย แปลงหนี้เป็นทุน ยืดหนี้ และการหาทุนก้อนใหม่เพื่อใช้ชำระหนี้ จะเหมือนกับแผนฟื้นฟูทั่วๆ ไป คือ มีการยกเว้นดอกเบี้ยค้างจ่ายให้

ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระตกวันละ 7-8 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้ต่อวันประมาณ 9-10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 10% แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วยังขาดทุน สำหรับปริมาณผู้โดยสารขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่กว่า 4 แสนคน/วัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0217
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/07/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เล็งเปิดเอกชนเช่ารางเดินรถไฟฟ้าแทนสัมปทาน

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 20:19:00

สรรเสริญเล็งเปิดทางให้เอกชนเช่ารางรถไฟแทนการเปิดสัมปทานโครงการรถไฟฟ้า เสนอครม.ตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน นายกฯนั่งประธาน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :  นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการตรวจสภาพพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จากบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม.วานนี้(2 มิ.ย.) ว่า แนวเส้นทางช่วงเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า จะมีประชากรหนาแน่น เพราะจะผ่านศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างอาจมีผลกระทบต่อปัญหาการจราจรบ้างเล็กน้อย แต่หลังจากสะพานพระนั่งเกล้า ไปจนถึงบางใหญ่ จะไม่มีปัญหาการจราจร

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพิจารณาแนวทางการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างเส้นทางสายสีม่วงกับเส้นทางสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีบางซื่อ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รฟม.ได้ส่งผลการศึกษารูปแบบการให้เอกชนลงทุนมาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่าเอกชนควรเป็นผู้ลงทุนจัดหาขบวนรถ และเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ โดยการเช่ารางจากรฟม. ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันในหลายประเทศ

หากจะให้สัมปทานเอกชนเช่นเดียวกับรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระยะแรก อาจมีข้อจำกัด เพราะเอกชนต้องแบ่งผลตอบแทนจากรายได้การเดินรถให้รฟม. แต่ถ้าใช้วิธีให้เอกชนเช่าราง น่าจะทำให้เอกชนสนใจลงทุนมากกว่า ขณะที่รฟม.จะมีผลตอบแทนจากรายได้ค่าเช่ารางนายสรรเสริญ กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82050
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/07/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เร่งแจ้งเกิดท่าเรือ ย่านฝั่งตะวันตก ลดต้นทุนขนส่ง  

สอท. เตรียมชงแผนการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้และการสร้างท่าเรือฝั่งตะวันตก ให้นายกพิจารณาในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ยืนยันเสียงส่วนใหญ่หนุนปากบารา จังหวัดสตูล อ้างเหมาะสมที่สุด ที่จะสร้างท่าเรือ

นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)กล่าวภายหลัง การประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง "การสร้างท่าเรือฝั่งตะวันตกกับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้" ว่า สอท.เล็งเห็นว่าในอนาคตพื้นที่อุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดจะไม่สามารถขยายตัวได้อีก และหากประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะสร้างท่าเรือฝั่งตะวันตก เพื่อรับกับการขยายตัวทางด้าน อุตสาหกรมและลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานที่ในการก่อสร้างท่าเรือฝั่งตะวันตก

ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งภายในประเทศในปี 2560 หรืออีกใน 10 ปี ข้างหน้า สถานที่นั้นมีการเลือกไว้แล้ว 2 แห่ง คือตำบลท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และ ตำบลปากบารา จังหวัดสตูล แต่ที่น่าเป็นไปได้ที่สุดและที่ประชุมก็เห็นด้วยกว่า 90% คือที่ปากบารา จังหวัดสตูล เป็นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการที่จะสร้างท่าเรือ สอท. จะนำเรื่องเสนอพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในวันที่ 19 กรกฎาคม นี้ คาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้อย่างช้าในปี2552 หากช้าไปกว่านี้จะไม่ทันกับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม ในการก่อสร้างรัฐจะเป็นผู้ก่อสร้างและให้เอกชนเป็นผู้บริหาร เพื่อที่จะให้มีการผลักดันให้ท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้นให้ได้ในเขตอุตสาหกรรมภาคใต้ เนื่องจากการขนส่งสินค้าในภาคใต้นั้นส่วนใหญ่จะส่งไปยังปีนังเป็นส่วนใหญ่ และคิดว่าอีก 5-6 ปีท่าเรือแหลมฉบังจะเต็ม จำเป็นต้องขยายท่าเรือเพื่อรองรับกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะไม่สามารถสู้กับประเทศจีน เวียดนาม เนื่องจากประเทศต่างๆเหล่านี้กำลังพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่ง อาทิ ท่าเรือ ถนน เป็นต้น เพื่อที่จะให้เป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนในต่างประเทศเข้ามาลงทุน

ด้านนายบุ่นเอี้ยน ศรีแสนสุชาติ นายกสมาคมขนส่งสินค้า กล่าว่า เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าและส่งออกสินค้าเกือบ 90% ของGDP และหากจะให้อุตสาหกรรมก้าวหน้าและเกิดความสนใจจากนักลงทุนจากต่างประเทศควรจะสร้างท่าเรือด้านฝั่งตะวันตกของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคใต้ด้วยเนื่องจากหากมีท่าเรือเกิดขึ้นก็จะทำให้อัตราการว่างงานในภาคใต้ลดลงด้วยและสิ่งที่ตามมาคือปัญหาทางด้านภาคใต้ก็จะลดลงเนื่องจากได้มีความกินดีอยู่ดีของประชาชนในภาคใต้
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66113
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/07/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

วงล้อโลจิสติกส์  - 4/7/2550

คอลัม วงล้อโลจิสติกส์

ขออนุญาตเปิดตัวอย่างเป็นทางการกับกับคอลัมวงล้อโลจิสติกส์ โดยมีสโดเรมี ที่จะขอทำหน้าที่ในการประกาศแจ้งข้อมูลข่าวสาร และความเคลื่อนไหวในแวดวงโลจิสติกส์ ในรอบสัปดาห์ เพื่อรายงานให้พี่น้องได้รับทราบกันทั่วหน้าเจ้าค่ะ.....0.....ประเดิมเรื่องแรกเป็นการประกาศแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวในการเข้ามาในธุรกิจของวงการโลจิสติกส์กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) ที่จะเริ่มให้บริการระบบลำเลียงสินค้าทุกประเภท ตั้งแต่ชิ้นเล็กอย่างซองจดหมาย ไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น มอเตอร์ไซค์ เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ พร้อมการันตรีว่าจะสามารถรับสินค้าได้ไม่เกิน 3 วัน สำหรับโซนเดียวกัน ไม่เกิน 5 วันในภาคเดียวกัน และไม่เกิน 10 วัน สำหรับต่างภาค โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป นอกจากยังมีบริการแบบพิเศษสุด ๆ กับการบริการ"เมสเซนเจอร์ โพสต์"รับส่งสิ่งของ ให้กับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กร ระหว่างในเขต กทม. และปริมณฑล ภายใน 30 นาที.....0.....เรื่องต่อไปเป็นการจัดสัมมนา"เจ้าของสถานประกอบการรถบรรทุก"เพื่อสร้างความรู้ระบบโลจิสติกส์ให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมกว่า 140 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งงานนี้"ฐาปบุตร ชมเสวี"เลขานุการรมว.กระทรวงแรงงาน ชี้ แจงว่า ระบบการขนส่งสินค้าของประเทศไทยขณะนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภายใน และระหว่างประเทศ โดยพบว่า การขนส่งภายในประเทศทางถนน โดยรถบรรทุกได้รับความนิยมมากที่สุด ประมาณร้อยละ 88 ของการใช้บริการขนส่งทั้งหมด ส่วนทางรถไฟและทางน้ำมีสัดส่วนน้อยมาก ดังนั้นจึงต้องการยกระดับการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินซึ่งจะส่งผลให้ลดต้นทุนรวมของสินค้า และยกระดับความสามารถของการแข่งขัน.....0......เรื่องสุดท้ายเป็นผลจากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า-ส่งออก และการค้าประเทศเพื่อนบ้าน และคณะอนุกรรมการคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาร่วมภาครัฐเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท่าเรือชายฝั่งตะวันตกเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยในภาคใต้ ซึ่ง"วีระชาติ ทนังผล" ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ชี้แจงว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทย ซึ่งพร้อมที่จะเปิดประตูสู่การค้าโลก ด้วยการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้อันอุดมไปด้วยทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเล ให้เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ดึงดูดนักลงทุนและเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทั่วโลก ส่วนพื้นที่เป้าหมายโครงการประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช, กระบี่, พังงา และภูเก็ต โดยการเร่งพัฒนาภูมิภาคเป็นตัวนำพัฒนาฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมปิโตรเลียม พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ฐานชุมชนเมือง สังคมสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับจังหวัดพังงา ท่าเรือนำลึกและนิคมอุตสาหกรรม คือประตูแห่งใหม่สู่โครงข่ายการค้าระดับโลก โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกบริเวณ อ.ท้ายเหมือง และนิคมอุตสาหกรรมหลังท่าเรือที่จะต้องดำเนินการ ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ ทุ่นลอยขนถ่ายน้ำมัน พื้นที่ท่าเรือและอุปกรณ์ เครื่องกำจัดมลพิษ.....0.....สัปดาห์นี้ขอลาไปก่อนนะค่ะ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีเจ้าค่ะ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176668
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news05/07/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

กทม.อัดฉีดงบฯ 7,055 ล้าน ต่อขยายรถไฟฟ้า BTS "ตากสิน-บางหว้า"คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

ไม่ใช่เพียงแค่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสไปฝั่งธนฯ ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ที่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พยายามผลักดันเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2551 เท่านั้น แต่โครงการส่วนต่อขยายอีกช่วงหนึ่งของเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้ ที่ทอดยาวออกไปอีก 4.5 กิโลเมตร จากสถานีตากสิน-บางหว้า ถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ผู้ว่าฯ กทม.หมายมั่นปั้นมือจะแจ้งเกิดให้ได้ โดยได้ทุ่มเม็ดเงิน 7,055 ล้านบาทดำเนินการ โดยใช้งบประมาณของ กทม.ก่อสร้างเองทั้ง 100%

นับจากนี้ไปประมาณ 3 เดือน กทม.จะใช้เวลาจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการนี้ หลังจากที่สภา กทม.ได้อนุมัติงบประมาณปี 2550 ให้ดำเนินการวงเงินรวม 700 กว่าล้านบาท หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ภายในเดือนกันยายนนี้เราจะได้เห็นการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงนี้แน่ โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี จากนั้นจะเปิดให้บริการในปี 2553

ตามผลการศึกษาที่ กทม.จัดทำไว้เมื่อปี 2548 โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม จากตากสิน-บางหว้า มีจุดเริ่มต้นช่วงจากถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปจนถึงถนนเพชรเกษม ตัวโครงการจะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากบริเวณแยกตากสินไปตามถนนราชพฤกษ์ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนเพชรเกษม ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร

ตลอดแนวสายทาง มีสถานีทั้งสิ้น 4 สถานี คือ สถานีโพธิ์นิมิต ตั้งอยู่ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 8 สถานีรัชดาภิเษก ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกถนนรัชดาภิเษก สถานีวุฒากาศ ตั้งอยู่ซอยวุฒากาศ 23 และสถานีสุดท้ายสถานีบางหว้า อยู่บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการบนถนนเพชรเกษม

นอกจากนี้ในอนาคต กทม.มีแผนจะก่อสร้างสถานีใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 สถานี คือ สถานีวัดประดู่ ซึ่งจะอยู่บริเวณจุดสิ้นสุดส่วนต่อขยายเพิ่ม บริเวณวัดประดู่ ซึ่งเป็นการขยายเส้นทาง ไปเชื่อมต่อกับระบบรถเมล์ด่วนบีอาร์ที เพื่อเชื่อมกับโครงการบีอาร์ที บริเวณถนนราชพฤกษ์ สำหรับระยะทางส่วนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้คงขึ้นกับนโยบายของผู้บริหาร กทม.ในอนาคตว่าจะดำเนินการหรือไม่

หากมีการต่อขยายเพิ่มเติม เส้นทางดังกล่าวนี้นอกจากจะเชื่อมกับโครงการบีอาร์ทีที่สถานีวัดประดู่บนถนนราชพฤกษ์แล้ว ในแนวเส้นทางยังมีสถานที่เป็นจุดต่อเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนระบบอื่นอีก 2 จุด คือ สถานีวุฒากาศ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาชัย สถานีบางหว้า เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค

เพื่อรองรับความต้องการของผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวหรือย่านใกล้เคียงที่มีรถส่วนตัว แต่ต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายใหม่ ตามแนวสายทางจะมีจุดจอดแล้วจรหรือปาร์กแอนด์ไรด์ 2 จุด ในบริเวณพื้นที่ใต้ทางยกระดับของถนนราชพฤกษ์ คือ สถานีรัชดาภิเษก จัดสถานที่จอดรถไว้รองรับรถ 200 คัน และสถานีวุฒากาศ จอดได้ 160 คัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0217
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/07/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ม.ศรีปทุมผนึกCLITเพิ่มดีกรีมินิโลจิสติกส์2  - 7/7/2550

ม.ศรีปทุมผนึกCLIT เพิ่มดีกรีมินิโลจิสติกส์ 2

หลังประสบความสำเร็จกับหลักสูตรอบรมระดับสากลเพื่อพัฒนาบุคคลด้านโลจิสติกส์ หรือ มินิ โลจิสติกส์ รุ่นแรกในปีที่แล้วซึ่งมีผู้บริหารจากองค์กรต่างๆ สนใจอบรมรวม 40 คน ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมเตรียมเปิดอบรมรุ่นที่ 2 รับจำกัดเพียง 60 คน

ดร.รวิภา ลาภศิริ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดเผยว่า หลักสูตรมินิ โลจิสติกส์ รุ่นที่สองเป็นโครงการที่ศูนย์วิทยบริการจัดทำร่วมกับมูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ประเทศไทย) เพื่อให้ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้าใจถึงความสำคัญของระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งมีความเข้าใจถึงแนวโน้มของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์ สามารถนำการจัดการโลจิสติกส์ไปใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบในเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว โดยจะจัดอบรมระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม-25 พฤศจิกายน นี้

ทั้งนี้ในมินิ โลจิสติกส์ รุ่นที่สอง ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เริ่มจากได้ร่วมมือกับสถาบัน CLIT ซึ่งเป็นสถาบันด้านโลจิสติกส์ที่รัฐบาลอังกฤษให้การรับรองเข้ามาร่วมออกแบบเนื้อหาการอบรม

"อังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศที่เน้นความสำคัญและได้รับความยอมรับในเรื่องโลจิสติกส์อย่างมาก ส่วน CLIT มีเครือข่ายอยู่ใน 20 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในเอเชียตอนนี้เข้ามาในไทยเป็นประเทศแรก ซึ่งหลักสูตรใช้แบบเดียวกับที่ CILT ใช้ในอังกฤษ แต่ปรับบริบทให้เข้ากับธุรกิจโลจิสติกส์ในเอเชีย"

นอกจากนั้นยังเพิ่มระยะเวลาการอบรมจาก 60 ชั่วโมงในรุ่นแรกเป็น 120 ชั่วโมงในรุ่นที่สอง ซึ่งนอกจากการบรรยายในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับโลจิสติกส์ เช่น Customer Care and Service Quality Management in Transport Operation Freight Operation กฏหมายและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก นำเข้า ระเบียบพิธีการส่งออก นำเข้าและความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น

ในหลักสูตรมินิ โลจิสติกส์ รุ่นที่ 2 ได้เพิ่มส่วนการศึกษางานเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้อบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการทำงานจริงได้ทันที ซึ่งสถานที่ดูงานนั้นผู้บริหารหลักสูตรเน้นความครบถ้วนทั้งโลจิสติกส์ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ โดยโลจิสติกส์ทางบกเข้าดูงานของศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปูนซิเมนตืไทยโลจิสติกส์ จำกัด โลจิสติกส์ทางทะเลดูงานในบริษัท เจีดับบลิวดี อินโฟ โลจิสติกส์ จำกัด ส่วนโลจิสติกส์ทางอากาศดูงานในบริษัท Trans Air Cargo จำกัด แล้วยังมีการศึกษางานในต่างประเทศที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ระยะเวลา 3 วัน 2 คืนอีกด้วย
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176939
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/07/07

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ศึกหั่นค่าตั๋วสายการบินระอุ  
โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 02:55 น.

สายการบินถล่มราคาแข่งกันเดือด ไทยแอร์เอเชียงัดบินในประเทศค่าตั๋ว 1 บาทให้สมาชิก วันทูโกห่วงปล่อยนานเจ็บหนัก
สายการบินเปิดฉากแข่งขันด้านราคากันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการบินไทย นกแอร์ บางกอกแอร์เวย์ส โดยล่าสุดสายการบินไทยแอร์เอเชียงัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับเส้นทางบินในประเทศ เฉพาะสมาชิกที่สมัครผ่านทางเวบไซต์ ในอัตราค่าโดยสารเที่ยวเดียวจำนวน 1.5 หมื่นที่นั่ง เริ่มต้นที่ 1 บาท ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, เชียงราย, อุบลราชธานี, อุดรธานี, หาดใหญ่, ภูเก็ต, กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

นายอุดม ตันติประสงค์ชัย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินวันทูโก กล่าวว่า วันทูโกคงไม่เน้นกลยุทธ์ราคา แต่คำนึงถึงราคาที่เป็นไปได้มากกว่า และยึดหลักความจริงใจต่อผู้บริโภค ซึ่งจริงๆ แล้วการจัดโปรโมชั่นราคาถูกมากๆ เช่นนี้ สายการบินต่างก็มีเงื่อนไขการจองมากมาย อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้กลยุทธ์นี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็คงมีสายการบินที่เจ็บหนัก

กลยุทธ์ราคาจะเกิดขึ้นในช่วงโลว์ซีซั่นของทุกปี อย่างกลยุทธ์ 1 บาทของแอร์เอเชียก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีศูนย์บาทมาแล้ว แต่เมื่อลูกค้าไปซื้อจริงก็ต้องจ่ายค่าอื่นๆ อีกเป็นพันบาท ผมว่าในอนาคตคงถึงขั้นขึ้นเครื่องบินแถมเงินให้ด้วย ซึ่งวันทูโกก็จะเริ่มโปรโมชั่นซื้อตั๋วเครื่องบินแถมห้องพักโรงแรมในเร็วๆ นี้ นายอุดม กล่าว
http://news.sanook.com/economic/economic_153039.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/07/07

โพสต์ที่ 13

โพสต์

พันล.ให้ชีวิตใหม่ร.ส.พ. >> ฉะธีระ/กอดคอไปรษณีย์ไทยลุยธุรกิจลอจิสติกส์เต็มตัว [ ฉบับที่ 808 ประจำวันที่ 7-7-2007 ถึง 10-7-2007]  
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เร่งทำแผนฟื้นฟู ร.ส.พ. หลังครม.มีมติให้ฟื้นฟู พร้อมมอบหมายให้ สคร.เป็นแม่งานจัดทำแผน ฟื้นฟู เผย สคร.ต้องการให้ ร.ส.พ.เป็นบริษัทแต่สรส. ต้องการให้เป็นรัฐวิสาหกิจ แบบเดิม เพื่อผลประโยชน์สูง สุดของประเทศและประชาชน ชุลีพร ระบุแผนเบื้องต้นกองทัพ รถบรรทุก 300 คัน

หากซื้อสดใช้งบประมาณ 810 ล้านบาท แต่หากใช้ วิธี การเช่าใช้งบเพียง 120 ล้านเท่านั้น ส่วน แผนคน 800 คน ล่าสุด มีคนร.ส.พ.มาขึ้นทะเบียนแล้ว 500 คน

ย้ำ รสพ.ใหม่จะต้องเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ทัยสมัย พร้อมจับมือกับพันธิมิตรลอจิสติกส์ รุกธุรกิจแบบ Door to Door โอดยื่นหนังสือ สคร.ขอทรัพย์สินคืนแล้วตั้งแต่มิ.ย.แต่ยังเงียบอยู่ ขณะที่น้อยใจ ธีระ ไม่ให้ความร่วมมือขอใช้สถานที่ทำการย่านถนนกำแพงเพชร

นายบุญมา ป๋งมา กรรมการฟื้นฟูกิจการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) เปิดเผย สยามธุรกิจ ถึงความคืบหน้าในการฟื้นฟูกิจการ รสพ. ว่า ขณะนี้คณะกรรมการอยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟู รสพ.ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2550 ที่มีมติให้เห็นชอบให้ทำการฟื้นฟูองค์กร รสพ.ขึ้นใหม่ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นหน่วยงานหลัก และร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นหน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแนวทางฟื้นฟู รสพ. ให้ได้ข้อยุติ และนำผลการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยให้เวลาในการดำเนินการจัดทำแผนให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน

มติครม.เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2550 มีมติให้ฟื้นฟูกิจการ รสพ.ใหม่ โดยให้ สคร.และสภาพแรงงานฯ ร่วมตัวแทนสภาพ รสพ. ไปจัดทำแผนฟื้นฟูเพื่อนำเสนอต่อครม.อีกครั้ง ซึ่งต้องขอบคุณรัฐบาลที่มองเห็นคุณค่าของ รสพ. จากนี้ไปเราต้องเร่งทำแผนฟื้นฟูให้แล้วเสร็จโดนเร็ว ซึ่งคาดว่าภายในกลางเดือนน่าจะเสร็จ จากนั้นจะประชุมกับ สคร.เพื่อร่วมกันพิจารณาแผนฟื้นฟูดังกล่าวให้ได้ข้อยุติก่อนที่จะเสนอ ครม. ซึ่งที่ผ่านมาเรามีการประชุมร่วมกับพนักงาน รสพ.ทั่วประเทศไปแล้ว 2 ครั้ง ทุกคนยินดี และดีใจที่จะได้กลับมาทำงานกับรสพ.อีกครั้ง และจะประชุมอีกครั้งประมาณปลายเดือนนี้ นายบุญมา กล่าว
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... 12DDS45231
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง [ ฉบับที่ 808 ประจำวันที่ 7-7-2007 ถึง 10-7-2007]  
ฉบับนี้จะขอนำเสนอผลการประชุมรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือที่เรียกว่า GMS Ministerial Meeting ครั้งที่ 14 ที่เพิ่งจะมีการประชุมร่วมกันไปเมื่อกลางเดือน มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งมีหลายประเด็นที่ได้ผลสรุปร่วมกัน โดยหัวหน้าคณะผู้แทน ฝ่ายไทยที่ไปร่วมประชุมในครั้งนี้คือ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม ร่วมด้วยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

สำหรับผลการประชุมที่สำคัญ มีดังนี้

1.การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีน (MOU on GMS North-south Economic Corridor International Bridge) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ณ เมืองเชียงของ-ห้วยทราย ตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมจากเชียงรายไปยังคุนหมิงโดยผ่านสปป.ลาว ซึ่งเป็นโครงการตัวอย่างของความสำเร็จที่ประเทศ GMS ร่วมมือเพื่อช่วยเหลือกันเองโดยไทยให้ความช่วยเหลือในการศึกษาออกแบบรายละเอียด วงเงิน 35 ล้านบาท และร่วมกับจีนออกค่าก่อสร้างฝ่ายละครึ่งหนึ่ง วงเงินรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างสะพานในปี 2552 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554

2.เห็นชอบยุทธศาสตร์และแผนงาน/โครงการลำดับความสำคัญสูงของ 9 สาขา ซึ่งจะเป็นงานสำคัญของความร่วมมือในอนาคต โดยจะนำเสนอยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติการ 9 สาขา ระยะ 5 ปี (2551-2555) ต่อที่ประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว

3.ให้ความเห็นชอบต่อการทบทวนกลางรอบ (Midterm Review) ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนา GMS ในระยะต่อไป โดยมีสาระสำคัญในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นการดำเนินงาน จากที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่เป็นการเน้นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการอำนวยความสะดวกด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนการค้าการลงทุน และกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ควบคู่กับการพิจารณาปรับปรุงกลไกการดำเนินงานบางส่วนเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบทบาทเชิงรุกของภาคเอกชนในการพัฒนา GMS

4.เห็นชอบต่อการกำหนดแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 9 เส้นทาง (เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เส้นทาง คือ แนวเหนือ-ใต้ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวตอนใต้) ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจหลักของอนุภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมที่เป็นการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ต่อยอดจากการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งหลักในอนุภูมิภาค ตลอดจนเร่งรัดการพัฒนากฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดการค้าและการลงทุนใน GMS เพิ่มขึ้น

5.เห็นชอบแนวทางการจัดประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 3 โดยหัวข้อ (Theme) ของการประชุมคือ Enhanced Competitiveness Through Greater Connectivity หรือ การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของ GMS ด้วยการเชื่อมโยงที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศ GMS ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายการดำเนินงานความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Cross Border Transport Agreement : CBTA) ให้ครบทุกประเทศ เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวสามารถเริ่มบังคับใช้การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าในอนุภูมิภาคได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะมีกิจกรรมที่สำคัญเพิ่มเติม ได้แก่ การประชุมกลุ่มเยาวชนลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Youth Forum) การหารือระหว่างผู้นำและภาคเอกชน และการหารือระหว่างผู้นำและหุ้นส่วนการพัฒนา (Development Partners)

6.รัฐมนตรีประเทศ GMS ได้ยืนยันการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาธุรกิจ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Business Forum) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยทำหน้าที่ประธาน และส่งเสริมให้มีการหารืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในระดับปฏิบัติการและนโยบายระดับสูงโดยจะจัดให้มีการหารือระหว่างภาคเอกชนและผู้นำ 6 ประเทศ ในระหว่างการประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศครั้งที่ 3 ต่อไป

ส่วนบทบาทของประเทศไทยต่อการประชุมในครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยจาก นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ไทยได้ผลักดันในหลายประเด็น อาทิ การเร่งรัดให้ดำเนินงานตามผลการประชุม Summit ครั้งที่ 2 ให้เกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ (1) การดำเนินงานตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (CBTA) ตามกำหนด (2) การเร่งจัดตั้งเขตปลอดโรคสัตว์ของอนุภูมิภาค โดยเร่งรัดให้ GMS จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมงบประมาณ ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการจัดตั้ง Vaccine Bank ให้เป็นรูปธรรม (3) การเร่งผลักดันการก่อสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมของอนุภูมิภาคให้ครบเต็มระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกัมพูชา ลาว และพม่า ฯลฯ
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4623
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news10/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผ่าแผนจัดการ"โลจิสติกส์"แห่งชาติ กับโปรเจกต์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ - 10/7/2550

การบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ ตามแผนของรัฐบาลคือ การขนส่งทางราง จากการศึกษาโครงการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทางรถไฟ พบว่ามีความคุ้มค่าด้านการลงทุน แต่ร.ฟ.ท.ต้องทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วนเร่งรัดฟื้นฟูหัวรถจักรและแคร่ปรับตารางการเดินรถ พร้อมจัดการหัวรถจักรและจัดหารถสินค้า และสร้างทางคู่ ในวงเงินเกือบ 1.5 หมื่นล้าน ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณสินค้าในไอซีดีเพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านตันต่อปี รายได้ใหม่จะส่งผลให้ร.ฟ.ท.หมดปัญหาขาดทุนทันที

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้วางแผนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า โครงการนำร่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โดยการขนส่งทางรถไฟ ในปัจจุบันที่เป้าหมาย จังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการนั้น เบื้องต้นประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากร.ฟ.ท.มีข้อจำกัดในหลายประการ ทำให้ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ต้องเร่งแก้ไข

ในส่วนของกลุ่มธุรกิจเอกชนกำลังนำร่องถือเป็นการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงและนำร่องที่จะร่วมกันผลักดันส่งเสริมดังตัวอย่างของกลุ่มสงวนวงศ์อุตสาหกรรม, กลุ่มน้ำตาลมิตรผล หรือผู้เข้ามาเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์เคมีภัณฑ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกอย่าง Wyncoast Logistics

ตามแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปไว้ มีแรงผลักดันในการดำเนินการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางที่ระบุชัดเจน ในขณะที่ข้อมูลของการรถไฟแห่งประเทศไทยระบุถึงการขนส่งในปี 2549 จากนครราชสีมา ที่กุดจิก พื้นที่ 15,000 ตารางเมตร บ้านเกาะ พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ขนส่ง มีข้าวเป็นสินค้าหลัก จำนวน 70,000 ตัน คาดว่าในปี 2550 จะขนส่งเพิ่มเป็น 100,000 ตัน
ส่วนที่จากจิระ จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ 1,600 ตารางเมตร ในปี 2549 ขนส่งแป้งจำนวน 100,000 ตัน คาดว่าในปี 2550 จะเพิ่มเป็น 230,000 ตัน ส่วน CY ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 14,000 ตารมงเมตร ในปี 2549 ขนส่งน้ำตาล จำนวน 70,000 ตัน คาดว่าในปี 2550 จะเพิ่มเป็น 130,000 ตัน

บทบาทของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการนำร่องนั้น ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา ที่บ้านเกาะ บ.เจียเม้ง ปรับปรุงลานขนถ่ายยกขนสินค้า และเครนยกขนตู้สินค้า รวม 10 ล้านบาท ดัดแปลงแคร่ โดยบ. R & C ,NCD และ T&T รวม 286 คัน และปรังปรุงระบบการบราหรจัดากรภายในบริษัท จ.ขอนแก่น ที่ท่าพระ บ. UST ปรับปรุงตู้สินค้าเพิ่มจาก 26 ตัน เป็น 35 ตัน รวม 80 ตู้ วงเงิน 15 ล้านบาท
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177100
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news10/07/07

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ปลุกผู้ประกอบการขนส่งไทยเลือกTMSลดต้นทุนขนสินค้า - 10/7/2550

ถึงเวลาหรือยังที่ผู้ประกอบกิจการด้านการขนส่งของเมืองไทย โดยทางเฉพาะทางถนน ซึ่งมีถึงประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าโดยรวมของประเทศ ต้องเร่งปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบ โดยนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะระบบซอฟแวร์เข้ามาใช้ในการจัดการขนส่งสินค้า หรือ Transportation System Management (TMS) เพื่อให้ระบบการขนส่งสินค้าของไทยมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และแข่งกับประเทศอื่นๆ ได้

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวแนวคิดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนว่า การขนส่งสินค้าเป็นหัวใจสำคัญของการผลิต และการค้าของประเทศ ดังนั้น รัฐบาล เอกชน และนักวิชาการ จะต้องร่วมกันคิดเพื่อวางระบบที่ดีที่จะทำอย่างไรให้การขนส่งมีคุณภาพ โดยดูบทบาทแต่ละฝ่ายว่าใครควรจะทำอะไร ต้องมีการพูดกันให้ชัดเจน

"รัฐควรต้องปรับวิธีคิด ซึ่งโดยหลักแล้วรัฐเป็นผู้ที่กำกับดูแล ให้การสนับสนุน ดูแลคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งต้องมีความจริงจังและเข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ขณะเดียวกันจะต้องเร่งให้มีการนำเทคโนโลยีที่คนไทยสามารถทำได้นำเข้ามาใช้ในการขนส่ง เพื่อจะนำไปสู่การวางแผน และการบริหารจัดการที่ดี เช่น จะจัดการกับการขนส่งสินค้าอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการวิ่งเที่ยวเปล่า"

หากผู้ประกอบกิจการขนส่งยังไม่ปรับตัว เชื่อแน่ว่าในอนาคตระบบขนส่งของต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพมากกว่าจะเข้ามาในเมืองไทย และหากคนไทยตามไม่ทันก็อาจจะเสียศักยภาพไป ด้านนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยข้อมูลการขนส่งสินค้าในประเทศทางถนนว่า ในแต่ละปีจะมีการเดินรถประมาณ 71 ล้านเที่ยว คิดเป็นระยะทางเดินรถรวมกว่า 12,000 ล้านกิโลเมตรต่อปี แต่ปัญหาของการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยรถบรรทุก ที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งยังประสบอยู่นั้น คงหนีไม่พ้นการเดินรถเที่ยวเปล่าซึ่งสูงถึงร้อยละ 46 ของจำนวนเที่ยวทั้งหมด "การเดินรถบรรทุกแบบเที่ยวเปล่าจะทำให้สูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงปีละประมาณ 1,600 ล้านลิตร คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษประมาณ 1 แสนตันต่อปี ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งจะต้องปรับการบริหารจัดการของตนเอง เพราะหากสามารถทำให้สัดส่วนในจุดนี้ลดลงได้ประมาณร้อยละ 10-20 ก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากทั้งต่อตนเอง และประเทศชาติ"
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177102
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news17/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

BMCLปลื้มผู้โดยสารยอดพุ่ง  - 17/7/2550

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา มียอดผู้โดยสารสูงเป็นประวัติการณ์เฉลี่ยประมาณ 200,000 เที่ยว/วันทำงาน ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในโอกาสการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินครบรอบ 3 ปี แสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารเริ่มหันมานิยมใช้บริการของรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นช่องทางการเดินทางประจำ จนกลายเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของคนในสังคมไปแล้ว เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

สุวรรณภูมิตั้งบอร์ดปรับปรุงระบบ

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ขณะนี้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีหนังสือแต่งตั้งคณะทำงานแล้ว เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบควบคุมตรวจสอบและบริหารจัดการสินค้า (CMS) ให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบ E-Customs ของกรมศุลกากรแล้ว โดยประกอบด้วย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร ผู้ประกอบการสถานีรับส่งสินค้า สมาคม TAFA เพื่อกำหนดเนื้อหาข้อมูล และขั้นตอนการรับส่งที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อกำหนด และกฎหมายศุลกากร

บขส.ทำกำไรปี 50 เพิ่ม

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทในปีงบประมาณ 2550 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนพฤษภาคม 2550 มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคลรวม 408.37 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2549 ถึง 144.69 ล้านบาท มีกำไรสุทธิจำนวน 286.27 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 50 แต่ทั้งนี้การดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาก็ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน และการขยายตัวด้านธุรกิจการขนส่งทางอากาศ สายการบินต้นทุนต่ำ

เริ่มพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การทางพิเศษฯ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงมติรับหลักการแห่งราชพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยพ.ศ.แล้ว และได้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ 15 คนขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา โดยมีร้อยตำรวจโทฉัตรชัย บุญยะอนันต์ เป็นประธาน ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญ อาทิ ปรับปรุงวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษฯ เพิ่มอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษ เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจประเภทที่ให้บริการสาธารณะ กำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ เป็นต้น

สรุปผลศึกษาปรับปรุงด่าน ส.ค.นี้
นายทรงศักดิ์ แพเจริญ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมทางหลวงได้จ้างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจกา) ทำการศึกษาผลดี และผลเสีย ในการดำเนินการปรับปรุงด่านทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 และหมายเลข 9 เพื่อให้เป็นด่านเก็บเงินถาวร จากเดิมที่เป็นเพียงด่านเก็บเงินชั่วคราว ทั้งนี้คาดว่าไจกาจะสามารถสรุปผลการศึกษาให้ทราบภายในต้นเดือน ส.ค.นี้

เปลี่ยนนโยบายปลดเครื่องบิน

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำแผนวิสาหกิจ 10 ปี การบินไทยว่า แผนต่างๆ ฝ่ายบริหารจะวางแผนและจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ โดยเบื้องต้นจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการปลดระวางเครื่องบิน จากเดิมที่กำหนดจะต้องปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งาน 20 ปี เปลี่ยนเป็นเครื่องบินที่มีอายุการใช้งาน 15 ปีแทน

ขบ.ฟ้องบริษัทไม่จ่ายค่าทะเบียนสวย

นายศิลป์ชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบก เตรียมดำเนินการฟ้องร้องบริษัทเอกชน ทั้งที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และนายหน้าที่เข้าประมูลเลขทะเบียนสวยกับกรมการขนส่งทางบกไปแล้ว แต่ยังไม่ชำระค่าประมูล โดยปัจจุบันยอดค้างชำระมีสูงกว่า 20 ล้านบาท รวมกว่า 100 เลขหมาย ทั้งนี้ที่ผ่านมา เมื่อบุคคล หรือนิติบุคลประมูลเลขทะเบียนได้ ต้องมีการชำระค่าประมูล และนำเลขหมายไปจดทะเบียน ภายใน 6 เดือน แต่บริษัทเอกชน เหล่านี้ได้ประมูลเลขได้แล้ว กลับไม่ชำระค่าประมูลเลข และไม่จดทะเบียนในกรอบเวลา ทำให้เกิดความเสียหาย
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177577
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news17/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

"การเมืองไม่แน่นอน ค่าเงินบาทแข็ง น้ำมันแพงกระทบขนส่งสินค้าอย่างรุนแรง" - 17/7/2550

การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ระบบการขนส่งถือว่ามีบทบาทสำคัญมาก ซึ่งปัจจุบันการขนส่งสินค้าในประเทศ จะเป็นการขนส่งทางถนนถึงร้อยละกว่า 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าโดยรวมของประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 20 จะเป็นการขนส่งสินค้าทางราง น้ำ และอากาศ แต่ขณะนี้การขนส่งสินค้ากำลังประสบปัญหาการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล สร้างความหนักใจให้กับผู้ประกอบการขนส่งอย่างมาก จากปัญหาดังกล่าว "สยามรัฐ" ได้มีโอกาสจับเข่าคุยกับ "ทองอยู่ คงขันธ์" เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ซึ่งสวมหมวกอีกใบในฐานะนายกสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก เพื่อสะท้อนภาพของการพัฒนาการขนส่งของเมืองไทย ตลอดจนทิศทางก้าวไปข้างหน้า ซึ่งจากประสบการณ์อยู่ในแวดวงขนส่งมายาวนาน เขามีมุมมองที่สะท้อนไปถึงภาครัฐอย่างสนใจ และชวนติดตามนับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป

การขนส่งทางบกเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลจิสติกส์ และถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขนส่งของประเทศ โดยต้นทุนหลักของการขนส่งอยู่ที่ ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่จะต้องเร่งแก้ไข เพราะปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสูง และในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งเข้ามาช่วยพัฒนาระบบขนส่ง และแก้ปัญหาลดต้นทุนอย่างจริงจัง แบบตรงประเด็น เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนที่ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะเริ่มใช้ในปี 2553 ที่ผ่านมายังไม่เห็นการพัฒนาระบบขนส่งที่ชัดเจนจากรัฐบาล ไม่มีการสนองตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้ว่า ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ พวกเราผู้ประกอบการรู้สึกผิดหวังมากในส่วนของเรื่องการลดต้นทุนการขนส่ง แต่ก็ยังดีใจที่กระทรวงคมนาคมได้ออกสมุดปกขาว " แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาโลจิสติกส์" และแนวทางการพัฒนาลดต้นทุนการขนส่ง ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอดและแข่งกับประเทศอื่นๆ ได้"

"ยิ่งในช่วงสภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัว การเมืองไม่มีความแน่นอน ค่าเงินบาทแข็ง ราคาน้ำมันแพงขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งสินค้าค่อนข้างรุนแรงมาก รวมทั้งภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ทำให้พืชผลทางการเกษตรราคาตก ส่งผลให้อัตราค่าขนส่งตกไปด้วย โดยขณะนี้ภาคการขนส่งทางถนนที่พอจะทำให้สามารถอยู่รอดได้ ก็จะเป็นเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก แต่ในส่วนอื่นๆ เช่น หิน ดิน ทราย ได้รับผลกระทบมาก" นายทองอยู่ ยังบอกว่า ในการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ผ่านมาในการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ก็เข้าใจว่าพยายามช่วยเหลืออยู่ เช่น การเปิดเว็บไซต์ www. ThaiTruckcenter.com ในการประสานงานระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งช่วยจัดการขนส่งสินค้าต้นทางปลายทาง เพื่อลดเที่ยววิ่งเปล่าของรถบรรทุกนั้น ก็ไม่ค่อยมีผู้เข้ามาใช้บริการ เพราะผู้ใช้บริการก็ไม่มั่นใจว่าสินค้าจะส่งถึงต้นทางปลายทางจริงหรือไม่ รวมทั้งผู้ประกอบการก็ไม่แน่ใจว่าจะได้รับเงินหรือไม่

ทั้งนี้ สิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขคือ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันคิดแบบบูรณาการ ไม่ใช่ต่างคนต่างคิด งบประมาณ และฐานข้อมูลด้านโลจิสติกส์ควรรวมอยู่ที่เดียว ไม่ใช่กระจัดกระจาย ไม่เช่นนั้นปัญหาจะแก้ไขไม่ได้ รัฐบาลควรมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน ส่วนเอกชนก็ควรนำแผนของรัฐบาลไปปฏิบัติ ซึ่งการออกสมุดปกขาวนั้นเดินมาถูกทางแล้ว เพราะได้มีการกำหนดบทบาทของแต่ละฝ่าย และมีเป้าหมายว่าจะเดินไปในทิศทางใด

ขณะเดียวกันแนวนโยบายทางเลือกของรัฐบาลต้องชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ระบบโครงสร้างภาษี การใช้พลังงานทางเลือก อาทิ ไบโอดีเซล รวมทั้งเรื่องการแก้ปัญหาต้นทุนแฝง หรือที่คุ้นหูกันดีว่า "ส่วย" ซึ่งเป็นปัญหามานานกว่า 10 ปี ต้องรีบทำให้หมด ซึ่งในรัฐบาลชุดนี้อำนาจอยู่ในมือก็น่าจะแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ ทั้งนี้วิธีแก้ปัญหาส่วยนั้น ตนเห็นว่าควรเพิ่มเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อที่เขาจะได้ไม่ไปหาผลประโยชน์จากผู้ประกอบการอีก

สำหรับเรื่องกฎหมายต่างๆ ก็ควรต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นสากล เช่น บทลงโทษของผู้ที่บรรทุกน้ำหนักเกินที่กำหนด ควรเปลี่ยนจากการจำคุกผู้ขับรถ เป็นการจ่ายค่าปรับที่สูง การถอนใบอนุญาติ การระงับการต่อภาษี เป็นต้น รวมทั้งเอาผิดกับผู้ใช้บริการที่สมรู้ร่วมคิดด้วย ทั้งนี้ขณะนี้มีผู้ประกอบการอีกประมาณร้อยละ 36 ที่ยังคงมีพฤติกรรมที่เอาเปรียบสังคม ด้วยการบรรทุกน้ำหนักเกิน ซึ่งควรที่จะมีการขึ้นบัญชีดำผู้ประกอบการเหล่านี้ เพราะหากแก้ปัญหานี้ได้จะช่วยลดงบประมาณในการซ่อมแซมถนนได้มาก

"เป็นเรื่องที่น่าสงสารมาก ไม่ใช่พบว่ารถน้ำหนักเกินก็จับคนขับเข้าคุก เพราะขณะนี้แรงงานในภาคขนส่ง โดยเฉพาะคนขับรถก็ยังขาดอยู่หลายหมื่นคน ซึ่งปัญหาบรรทุกน้ำหนักเกินนั้นรัฐบาลก็ควรต้องเร่งเข้าไปดูแล โดยควรจะมีการเพิ่มด่านชั่งให้มากกว่าเดิม และเพิ่มเจ้าหน้าที่จากหลายส่วนเข้าไปดูแล เพื่อให้มีการคานอำนาจกัน ซึ่งข้อเสนอนี้เคยเสนอกับรัฐบาลไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง"

เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ทิ้งท้ายว่า ได้แต่หวังว่าแนวคิดและข้อเสนอเหล่านี้คงจะเป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุน พัฒนาระบบขนส่งอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้อนาคตของผู้ประกอบการไทยอยู่รอดได้ ไม่ล้มหายตายจากเหมือนกับร้านค้าโชว์ห่วย ที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็น เพราะบริษัทจากต่างชาติเข้ามาดำเนินการในเมืองไทย
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177585
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

จัดงบฯ1.1หมื่นล้านเร่งโลจิสติคส์ หวั่นไล่หลังระบบขนส่งเวียดนาม

โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:53 น.
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (คบส.) ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านโลจิสติคส์ในปี 2551 จำนวน 1.1 หมื่นล้าน สำหรับวงเงินงบประมาณดำเนินการในเบื้องต้น
นายอำพนกล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักในการวางระบบโลจิสติคส์ไทยให้สามารถเชื่อมโยงกับภูมิภาคและโลกได้ (Global Logistics Management) ทั้งการจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าให้ครอบคลุมทั่วโลก

วันนี้เวียดนามกำลังพัฒนาระบบโลจิสติคส์ให้เป็นรูปธรรมทุกวัน และถึงแม้ว่าสินค้าของไทยจะดีกว่า แต่ถ้าการขนส่งไม่ดีอนาคตประเทศไทยคงลำบาก เพราะถ้าระบบขนส่งของเวียดนามดีขึ้นจนแซงหน้าประเทศไทย ต่อไปการตัดสินใจจะย้ายฐานลงทุนของประเทศต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น นายอำพนกล่าว

ที่ประชุมยังมอบหมายให้กระทรวงการคลังและกรมศุลกากร ไปพิจารณาระบบพิธีการทางศุลกากรทั้งเข้าและออก (Single Window) ให้ลดเวลาดำเนินการจากต้นทางถึงปลายทางจากปัจจุบัน 30 วัน เหลือ 15 วัน เช่นเดียวกับสิงคโปร์ พร้อมทั้ง ควรหาวิธีรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผ่านสินค้าและบริการมาไว้ในจุดเดียวกันให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน จากนั้นจะต้องมารายงานผลต่อที่ประชุมในเดือนตุลาคม 2550
http://news.sanook.com/economic/economic_158970.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news28/07/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

บีทีเอสส้มหล่นค่าเงินบาทแข็ง ประหยัดงบฯซื้อรถ20ล.เหรียญ

"บีทีเอส" ส้มหล่นจากค่าเงินบาทแข็ง ประหยัดเงินซื้อรถไฟฟ้า 12 ขบวนจาก "มิตซุย-ชางชุน" ได้ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านแผนลุ้นระทึกฟื้นฟูกิจการ รอศาลฎีกาตัดสินกรณีเจ้าหนี้ 4 รายคัดค้าน ส่งผลทุนใหม่ชะลอตัดสินใจเข้ามาลงทุน 2 หมื่นล้าน

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยว่า บริษัทได้รับประโยชน์จากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะจะทำให้วงเงินที่ใช้ซื้อรถไฟฟ้าใหม่อีกจำนวน 12 ขบวน ซึ่งสั่งซื้อโดยใช้เงินสกุลดอลลาสหรัฐ ลดลงกว่าเดิม เห็นได้จาก ก่อนหน้านี้บริษัท มิตชุย และ ชางชุน จำกัด เสนอราคาขายรถไฟฟ้าคิดเป็นวงเงิน 70 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าวงเงินที่ประเมินตั้งไว้แต่แรกที่อยู่ในระดับ 90 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับประหยัดเงิน ไปได้ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงิน ที่เหลือไปใช้ในการติดตั้งระบบอาณัติ สัญญาณ และเครื่องมือสื่อสารสำหรับรถไฟฟ้าขบวนใหม่ โดยได้เซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา

"เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลดีต่อเรามาก ทำให้ซื้อของได้ถูกลง เพราะการจ่ายเงินจะคิดจากค่าเงิน ณ วันที่จ่ายตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ตอนที่เราตกลงซื้อรถไฟฟ้าจากบริษัทมิตซุยและชางชุน ค่าเงินบาทอยู่ที่ 34 บาท แต่ตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นมาเป็น 32-33 บาท ทำให้สามารถประหยัดเงินได้ส่วนหนึ่ง โดยเร็วๆ นี้บริษัทจะจ่ายเงินค่าซื้อรถไฟฟ้างวดแรก โดยใช้เงินสดที่มีอยู่ในมือประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท"

นายคีรีกล่าวว่า สำหรับรถไฟฟ้าขบวนใหม่ทั้ง 12 ขบวน จะนำเข้ามาให้บริการในอีก 2 ปีข้างหน้า โดย 1 ขบวนจะมี 4 ตู้ จุผู้โดยสารประมาณ 1,100 คน ส่วนรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ 35 ขบวน ขณะนี้ยังพอรับปริมาณผู้โดยสารได้อีก 3 ปี ซึ่งรวมถึงการเข้าไปรับบริหารโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย บีทีเอส อีก 2.2 กิโลเมตร จากสถานีตากสิน-แยกตากสิน ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วย แต่ช่วงเปิดให้บริการเส้นทางส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าขบวนใหม่จะเข้ามาพอดี

"การที่เราเลือกรถไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศจีน เพราะมั่นใจเกิน 100% ว่าคุณภาพดีและราคาถูก นอกจากนี้ในประเทศจีนก็ใช้อยู่ จึงไม่น่าห่วงเรื่องคุณภาพ แต่ถ้าเลือกซีเมนส์ ราคาจะแพงกว่าหลายเท่า ที่สำคัญสามารถใช้ร่วมกับระบบอาณัติ สัญญาณที่ติดตั้งใหม่โดยใช้ของบอมบาดิเอร์ได้ด้วย เพราะไม่มีการล็อกรหัสเหมือนที่ผ่านมา"

นายคีรีกล่าวว่า สำหรับการฟื้นฟูกิจการของบีทีเอสซี ซึ่งมีภาระหนี้กว่า 60,000 ล้านบาท มีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหนี้รายเก่า 4 รายยื่นอุทธรณ์คัดค้านการฟื้นฟูกิจการที่ศาลฎีกา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ส่งผลให้นักลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาชะลอการตัดสินใจ เพราะต้องการรอความชัดเจนจากศาลก่อน แผนฟื้นฟูจึงยังไม่มีความคืบหน้า เพราะต้องหาเงินทุนใหม่เข้ามาอีก 20,000 กว่าล้านบาท หรือ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ

"ทุนใหม่ที่เข้ามาจะมีทั้งในรูปแบบเพิ่มทุน และแบบให้เงินกู้ อยู่กับการพิจารณาว่าจะเป็นในรูปแบบไหนจะดีที่สุด"

นายคีรีกล่าวต่อว่า ส่วนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯยังจะดำเนินการตามแผนเดิมให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลฎีกาว่าจะพิจารณาคำร้องอุทธรณ์เมื่อใด แต่ถ้าไม่ทันสิ้นปีนี้ก็เลื่อนเป็นปีหน้าแทน มั่นใจว่าการชะลอเข้าจดทะเบียนในตลากหลักทรัพย์จะไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทปัญหาคือการฟื้นฟูต้องให้เสร็จจะได้หมดปัญหา และเดินหน้าส่วนต่อขยายในอนาคตได้

"ส่วนต่อขยายบีทีเอสอีก 2.2 กิโลเมตรหรือสายอื่นๆ ของ กทม. บริษัทสนใจจะเข้าไปบริหารการเดินรถไฟฟ้าให้ แต่ต้องรอความชัดเจนจาก กทม.ด้วย สำหรับผู้โดยสารปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 7% เป็น 5 แสนคน" นายคีรีกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0217
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news28/07/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ธุรกิจขานรับ "ป้องกันความเสี่ยงค่าระวาง" เชื่อแก้ผลกระทบน้ำมันผันผวน

จากกรณีที่ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) ได้เตรียมนำนวัตกรรมทางการเงินใหม่ อย่างการป้องกันความเสี่ยงด้านค่าขนส่งและระวางสินค้า มาให้บริการแก่ลูกค้าของธนาคาร โดยการลงทุนในส่วนดังกล่าวจะช่วยป้องกันความผันผวนของค่าขนส่งและระวางสินค้าทางเรือ โดยเฉพาะจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาด ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจควบคุมต้นทุนการผลิตได้คงที่ และทำให้กำหนดราคาสำหรับการแข่งขันในตลาดได้อย่างชัดเจนขึ้น

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานสภา ผู้ส่งสินค้าทางเรือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ต่อการป้องกันความเสี่ยงลักษณะ ดังกล่าวว่า เป็นโครงการที่ดีและน่าสนใจ เพราะจะทำให้ผู้ส่งออกไม่ต้องกังวลด้านความผันผวน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งผันผวนได้ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่ธนาคารจะคิดจากบริการนี้ด้วย ถ้ากำหนดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ชัดเจนและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกมาก โดยเฉพาะผู้มีวอลุ่มการส่งออกขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยไม่เพิ่มขึ้นมากนัก

สำหรับข้อดีของบริการดังกล่าว นายไพบูลย์กล่าวว่า ผู้ส่งออกสามารถระบุค่าระวางกับลูกค้าได้ชัดเจน ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นต้นทุนนิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียที่ต้นทุนนิ่งมิได้หมายถึงต้นทุนต่ำ เพราะธุรกิจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งเช่นกัน ถ้าคู่แข่งไม่มีต้นทุนส่วนนี้ก็จะทำให้เสียเปรียบทางธุรกิจต่อคู่แข่งได้เช่นกัน

นอกจากนี้ รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือยังกล่าวถึงปัจจัยความผันผวนอื่นๆ ที่มีผลต่อค่าระวางสินค้าทางเรือ ได้แก่ การประกาศขึ้นค่าระวางเรือของแต่ละบริษัทจะประกาศในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าประกาศซ้ำกัน รวมถึงบางช่วงเวลาที่มีความต้องการขนส่งทางเรือมาก จะทำให้ค่าระวางเรือต้องปรับขึ้นเป็นการชั่วคราวที่เรียกว่า "peak season surcharge"

นายไพบูลย์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ในการขนส่งสินค้าทางเรือจะมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ ค่าระวางสินค้า ซึ่งผู้ให้บริการขนส่งจะกำหนดอัตราค่าบริการล่วงหน้า และอีกส่วนหนึ่งคือค่าน้ำมัน ในกรณีที่ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงจากที่ตกลงล่วงหน้าเอาไว้ โดยผู้ให้บริการจะนำค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาเฉลี่ยเพื่อเก็บเพิ่มจากผู้ใช้บริการ

ด้าน นายสุวัฒน์ นวลขาว ผู้จัดการฝ่ายขนส่งและคลังสินค้า บริษัท กรีนสปอต จำกัด กล่าวว่า เป็นบริการที่น่าสนใจ เพราะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งได้ และเชื่อว่าธุรกิจสามารถประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนเพิ่มส่วนนี้ได้ โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา แล้วนำมาวิเคราะห์และประเมินว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนเพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งยังเชื่อว่าธุรกิจที่มีปริมาณการส่งออกจำนวนมากจะได้รับประโยชน์บริการนี้มากกว่า

ทั้งนี้ นายสุวัฒน์ยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา นอกจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือแล้ว ทางบริษัทยังเคยประสบปัญหาดังกล่าวซึ่งเกิดจากภัยธรรมชาติและภาวะสงคราม ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และทางบริษัทจะต้องรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0206
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news30/07/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

"เอดีบี"จ้องเสียบแทนเจบิก ล็อบบี้คลังเสนอปล่อยกู้รถไฟฟ้า รฟท.ติงครม.แก้ปัญหาหนี้ผิดทาง  

ผู้อำนวยการแบงก์ "เอดีบี" เสนอตัวให้รัฐบาลไทยกู้เงินไปสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย หลังจาก "เจบิก" ยื้อปล่อยกู้ ด้านผู้บริหารด้านการเงินของการรถไฟฯติงครม.หลงทาง แก้ปัญหาหนี้ร.ฟ.ท.ไม่ถูกจุด

นายฌอง ปีแอร์ เอ.เวอร์บีสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)กล่าวว่า เอดีบี มีความพร้อมที่จะปล่อยกู้ให้กับไทย ในโครงการรถไฟฟ้า โดยการเสนอปล่อยเงินกู้ของ เอดีบี จะทำเป็นแพ็กเกจ ทั้งเงินกู้ เงินช่วยเหลือ และความช่วยเหลือด้านเทคนิค ซึ่งต้นทุนเงินกู้(ดอกเบี้ย)คิดจริงๆ แล้ว ถือว่าไม่ได้สูง ขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยพร้อมที่จะขอเงินกู้หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา เอดีบี ได้ให้เงินช่วยเหลือและปล่อยกู้ในหลายๆ โครงการให้กับประเทศไทย

นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่า เอดีบี สนใจที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า หากว่ารัฐบาลไทยสนใจ เนื่องจากเอดีบีมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และที่ผ่านมาเอดีบีก็ได้ให้เงินช่วยเหลือไทยมาต่อเนื่อง ในลักษณะที่ไม่ได้เป็นเงินกู้

"ทางเอดีบีได้บอกว่า ที่ผ่านมาไทยไม่ค่อยได้ใช้เงินช่วยเหลือหรือเงินกู้จากเอดีบี ทำให้ไทยละเลยการพัฒนาชนบท การกระจายรายได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ทำให้ไม่มีคนเข้ามาช่วยดูแล ซึ่งคลังก็เห็นด้วยและต้องมาคิดว่าต้องการเงินกู้แบบไหนจากทางเอดีบีต่อไป" นายสมหมายกล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังยังยืนยันกับเอดีบีว่า ขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่น โดยธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิก)ยังคงยึดมั่นสัญญาที่จะให้เงินกู้กับไทยในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า แม้ว่าตอนนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดว่าจะปล่อยกู้ได้เมื่อไร เพราะยังติดปัญหาทางฝ่ายไทยส่งเอกสารการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้กับทางรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ครบถ้วน ทำให้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่สามารถคณะทำงานพิจารณาเงินกู้มาดูอนุมัติเงินกู้ให้กับไทยได้

ทั้งนี้ นอกจากการเสนอตัวปล่อยเงินกู้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เอดีบียังเสนอให้เงินช่วยเหลือ และเงินกู้กับโครงการต่างๆ ที่ไทยต้องการ เพราะเอดีบียืนยันว่าขณะนี้จะให้ความช่วยได้ดีกว่าที่ผ่านมา และไม่ต้องการให้รัฐบาลไทยทอดทิ้ง ซึ่งเอดีบียืนยันว่ามีของดีๆ จะให้กับไทยทั้ง เงินช่วยเหลือและเงินทุน

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ปรับแผนการก่อหนี้ต่างประเทศของโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ลดลงจาก 1.36 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.19 พันล้านบาท หรือลดลง 9.4 พันล้านบาท เงินกู้ต่างประเทศที่ลดลงมาจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีนำเงิน ที่เดิมคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีงบประมาณ 2550 แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน

สำหรับเงินกู้ที่เหลือ 4.19 พันล้านบาท เป็นเงินกู้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วง ซึ่งขณะนี้ผู้ที่รับผิดชอบยังส่งเอกสารให้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ครบ จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเงินกู้ดังกล่าวจะใช้ได้ทันก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2550 ในเดือนกันยายนนี้หรือไม่

สำหรับโครงการรถไฟฟ้า3สายประกอบด้วย สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) และสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ)สายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน)

ด้านนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ซีเอฟโอ. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงแผนฟื้นฟูกิจการของ ร.ฟ.ท.ที่ คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งประเด็นส่วนใหญ่ไปที่การพัฒนาระบบราง และการขนส่ง โดยแยกการเดินรถเชิงพาณิชย์และสังคม ซึ่งในเชิงสังคมจะให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้ให้บริการเพื่อลดภาระให้กับประชาชน ส่วนการเดินรถไฟในเชิงพาณิชย์จะเปิดให้เอกชนเข้ามาให้บริการ และมีการแข่งขันมากขึ้นนั้น นายอารักษ์ เห็นว่าประเด็นดังกล่าว เป็นเรื่องที่หลงทาง และแนวทางเหล่านี้ไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริงของการรถไฟ

"ทั้งนี้ที่ผ่านมา ยืนยันว่า ร.ฟ.ท.ได้เคยเสนอแผนรายละเอียดในการฟื้นฟูกิจการหลายครั้ง และมีความชัดเจนเพียงพอแล้ว แต่ที่ผ่านมา ได้มีความพยายามนำแผนเหล่านี้ไปรวมกับ แผนพัฒนาระบบขนส่งราง ซึ่งถือเป็นคนละเรื่อง ทำให้ภาพรวม แผนฟื้นฟูกิจการที่ออกมานี้ จะไม่ได้แก้ปัญหาที่ร.ฟ.ท.มีอยู่ในปัจจุบันเลย " นายอารักษ์กล่าว

สำหรับแนวทางเร่งด่วน ที่จะเป็นการแก้ปัญหาของ ร.ฟ.ท.อย่างแท้จริงนั้น จะต้องดำเนินการใน 4 ด้าน คือแผนแก้ปัญหาหนี้ที่ร.ฟ.ท.มีมาในอดีต แผนการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แผนปรับโครงสร้างบริหารภายในองค์กร และแผนปรับโครงสร้างการเดินรถ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้การพัฒนาและแก้ปัญหาของร.ฟ.ท. มีความชัดเจนมากขึ้น โดยขณะนี้ถือว่า การดำเนินการฟื้นฟูกิจการของร.ฟ.ท.ตามแนวทางที่ถูกต้อง เป็นปัญหาเร่งด่วน เนื่องจากภาระที่ขาดทุนจากการเดินรถเพื่อบริการสาธารณะ ( PSO ) ของร.ฟ.ท. จะพุ่งสูงขึ้นทะลุ 10,000 ล้านบาทในปี 2551 และ ร.ฟ.ทจะขาดสภาพคล่องเงินสดประมาณ 7,500 ล้านบาทด้วย

สำหรับการเร่งชำระคืนหนี้ ซึ่งเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการแข็งค่าเงินบาทนั้น ร.ฟ.ท.พร้อมจะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดย จะดำเนินการขอชำระหนี้คืนล่วงหน้า เป็นเงินสกุลเยนของญี่ปุ่นประมาณ 10,000 ล้านเยน และ ทำการซื้อล่วงหน้าสกุลเงินต่างประเทศ (สวอป) เงินยูโร อีกประมาณ 20 ล้านยูโร ซึ่งทั้งหมด เป็นหนี้การสั่งซื้อหัวรถจักรที่ร.ฟ.ท.มีมาในอดีต  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69546
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news31/07/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เล่นรอบ"หุ้นเดินเรือ"บวกสวนตลาด ค่าระวางเรือทำนิวไฮ

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:08:00

หุ้นกลุ่มเดินเรือปรับขึ้นสวนทิศทางตลาดที่อ่อนตัวลง หลังดัชนีค่าระวางเรือปิดเมื่อวานนี้ ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เช้าวันนี้ (31 ก.ค.) ราคาหุ้นกลุ่มเดินเรือช่วงเช้าปรับขึ้นอย่างคึกคัก นำโดยหุ้นโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ช่วงเช้าบวก 0.50 บาท มาที่ 51.00 บาท ขณะที่หุ้นพรีเชียส ชิพปิ้ง(PSL) บวก 1.41% มาที่ 36.00 บาท,และหุ้นอาร์ ซี แอล (RCL) บวก 0.76% มาที่ 33 บาท และหุ้นจุฑานาวี (JUTHA) บวก 0.93% มาที่ 10.80 บาท

ดัชนี BDI ปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 7 วันทำการ โดยปิดวานนี้เพิ่มขึ้น 46 จุด มาที่ 6,936 จุด เป็นระดับสูงสุดของดัชนีในปีนี้ และเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะหุ้น TTA จะเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นของ BDI มากที่สุด เนื่องจากมีค่าพี/อี ระดับต่ำเพียง 8-9 เท่าในปีนี้ และปีหน้า รวมทั้งคาดว่าในปีนี้ TTA จะมีกำไรโตได้ 54%
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/3 ... wsid=86906
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news01/08/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

แอร์เอเชียเปิดบินนครฯ-ขอนแก่น  
โดย มติชน
วัน พุธ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:23 น.

นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ผู้บริหารสายการบิน (โลว์คอสต์แอร์ไลน์) ไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ไทยแอร์เอเชียจะเปิดให้บริการเส้นทางบินไปกลับ กรุงเทพฯ -นครศรีธรรมราช และตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม จะเปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-ขอนแก่น โดยบริษัทได้ออกโปรโมชั่นราคาเริ่มต้นที่ 199 บาท เพื่อตอบสนองความต้องการในการเดินทางที่มีมากอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วงแรกตั้งเป้าให้มีอัตราที่นั่งเฉลี่ยร้อยละ 80 ต่อเที่ยวบิน
http://news.sanook.com/economic/economic_163857.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news01/08/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ร.ฟ.ท.ประมูลรางคู่5.8พันล.พิลึก ทีโออาร์ไม่วางเกณฑ์ผู้รับเหมา  
โดย มติชน
วัน พุธ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:23 น.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา บอร์ดได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อกำหนดเงื่อนไขในการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง วงเงินลงทุน 5,850 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.ไม่ได้มีการระบุคุณสมบัติของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว ขณะที่ทีโออาร์มีกำหนดออกประกาศในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในที่ประชุมบอร์ดบางคนเสนอให้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้รับเหมาไว้ด้วย เนื่องจากโครงการนี้มีมูลค่าการก่อสร้างสูง และจำเป็นที่จะต้องมีการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ เข้ามาใช้ในการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญคือหากไม่มีการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขแล้ว อาจจะเกิดการจ้างเหมาช่วงงานก่อสร้างและเกิดการละทิ้งงาน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ แต่ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติ

ร.ฟ.ท.ให้เหตุผลที่ไม่กำหนดคุณสมบัติผู้รับเหมาที่เข้าประมูลว่าต้องการเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมารายเล็ก รายน้อยเข้ามาได้ แต่บอร์ดเห็นว่าโครงการนี้มีมูลค่าสูงและต้องการให้โครงการนี้ไม่มีปัญหาด้านการก่อสร้างเพื่อให้งานแล้วเสร็จตามสัญญา ไม่เหมือนกับโครงการอื่นๆ ของ ร.ฟ.ท.ที่มีปัญหาจึงต้องกำหนดเงื่อนไข แต่สาเหตุสำคัญที่บอร์ดต้องการให้มีการกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติดังกล่าว เพราะมีอดีตข้าราชการระดับสูงในกระทรวงคมนาคม ที่เคยเป็นบอร์ด ร.ฟ.ท. ต้องการที่จะให้ผู้รับเหมาที่มีความคุ้นเคยได้รับงานนี้ ดังนั้น จะต้องดูว่าร่างทีโออาร์ที่จะออกมาในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ ร.ฟ.ท.จะมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้รับเหมาหรือไม่
http://news.sanook.com/economic/economic_163853.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news01/08/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ท่าเรือฯไม่หวั่น "บาทแข็ง" ดันรายได้ปีนี้ทะลุ8.3พันล.  

นายสุรพล รงค์ศิริกุล รองผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) สายการ เงินเทคโนโลยีและสารสนเทค เปิดเผยว่า รายได้รวมของ กทท.ในขณะนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งภายในสิ้นปีงบประมาณเดือนกันยายนนี้คาดว่ากทท.จะมีรายได้ 8,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยรายได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้รายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลการดำเนินที่ดีขึ้นตามลำดับ บวกกับกระแสตอบรับจากผู้ใช้บริการของ กทท. ภายหลังการนำระบบอี-พอร์ต ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านไอทีมาเข้ามาใช้พัฒนา

อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ นายสุรพลกล่าว ว่า กทท.ไม่มีผลกระทบทางตรง แต่จะมีผลกระทบทางอ้อมต่อภาคการส่งออกสินค้าโดยรวมเท่านั้น เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สินค้าส่งออกมีราคาแพงขึ้น ปริมาณส่งออกจึงน้อยลง แต่ในส่วนของ กทท.ยังไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะการขนส่งของท่าเรือกรุงเทพในรอบ ครึ่งปีหลัง เพิ่มขึ้น 7-8 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว โดยรวมทั้งปีแล้ว กทท.สามารถส่งออกได้ ประมาณ 134,000 ล้านตู้ TEU และท่าเรือแหลมฉบัง 46,000 ล้านตู้ TEU

ทั้งนี้ หากอัตราค่าเงินบาทยังแข็งอย่างต่อเนื่อง กทท.ก็จะต้องมีแผนสำรองในการบริหาร แต่ขณะนี้จะต้องรอดู สถานการณ์อัตราการแข็งค่าของเงินให้แน่นอนก่อน จึงจะมีการประเมินใช้แผนบริหารสำรองต่อไป

"ถึงแม้ ราคาค่าน้ำมันจะสูง และส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น แต่สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ก็สามารถทำให้กทท. ซื้อน้ำมันได้ถูกลง โดยเฉลี่ยแล้วทำให้ กทท.อยู่ตัว จึง ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน ในสภาวะขณะนี้จะส่งผลดี กับ กทท.เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร โดยใช้โอกาสช่วงนี้นำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศที่เป็นวัตถุ และปัจจัยในการผลิต สินค้าระยะยาว"นายสุรพล กล่าว  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69792
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news03/08/07

โพสต์ที่ 27

โพสต์

รถไฟฟ้าสีม่วงป่วน ล็อบบี้ย้ายจุดขึ้น-ลง เดอะฟิฟท์เรียก19ล.

รฟม.กุมขมับ รถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ยังไม่ทันตอกเข็มพบปัญหาใหม่ผุดเพียบ เผยเอกชนร้องขอเปลี่ยนจุดขึ้น-ลงสถานีทั้ง 16 สถานีตลอดเส้นทาง 23 ก.ม. โวยบดบังทางเข้า-ออกสถานประกอบการ "แกรนด์โฮมมาร์ท-เซ็นทรัลทาวน์" ย่านรัตนาธิเบศร์ขอทำทางเชื่อม ส่วนโครงการ "เดอะฟิฟท์ คอนโดมิเนียม" ของกลุ่มอุบลชาติมาแปลก ร่อนหนังสือขอค่าชดเชย 19 ล้านบาทอ้างโครงการพาดผ่านทำให้ต้องลดขนาดพื้นที่ขายลง

ยังไม่ทันจะเห็นเค้ารางคืบหน้าที่ชัดเจนของโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ปรากฏว่าผู้ประกอบการธุรกิจหลากหลายสาขาที่มีทำเลที่ตั้งอยู่เรียงรายอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดใหม่ ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่อยู่ระหว่างการลงสำรวจพื้นที่และมีการเวนคืนไปบ้างแล้วบางส่วน โดยเป็นโครงการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ล่าสุด ได้มีความเคลื่อนไหวของภาคเอกชนยื่นหนังสือร้องเรียนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ขณะที่อีกส่วนหนึ่งแสดงความต้องการขอเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วสมัยก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสในยุคแรกๆ

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ รฟม.กำลังให้ทางบริษัทที่ปรึกษา ปรับแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดขึ้น-ลงสถานีจำนวน 16 สถานีใหม่

เนื่องจากหลังที่ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ที่จะถูกเวนคืน ปรากฏว่าเอกชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและอยู่ในแนวเวนคืน ทั้งที่จะถูกเวนคืนโดยตรง และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีการร้องขอให้ รฟม.ปรับรูปแบบและจุดที่จะสร้างทางขึ้น-ลงใหม่ เนื่องจากผู้ที่จะถูกเวนคืนส่วนหนึ่งคัดค้านการเวนคืน แต่ก็มีบางส่วนที่ยินยอมให้มีการเวนคืนแต่ต้องการให้ไปก่อสร้างสถานีบริเวณพื้นที่โล่งในบริเวณใกล้ๆ กันแทน เพื่อไม่ให้การก่อสร้างสถานีมาบดบังทัศนียภาพและกีดขวางทางเข้า-ออกสถานประกอบการ

"ตอนนี้บริษัทที่ปรึกษากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับรูปแบบทั้ง 16 สถานีที่จะมีการก่อสร้างทางขึ้น-ลง เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน แนวทางคืออาจจะมีการปรับจุดขึ้น-ลงของสถานีใหม่บางจุด จากเดิมจุดก่อสร้างสถานีอาจจะไปบดบังบริเวณหน้าบ้านหรือหน้าร้าน วิธีการคือออกแบบใหม่ให้จุดขึ้น-ลงย้ายมาอยู่บริเวณที่เป็นฟุตปาทแทน"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่มีการร้องขอปรับจุดขึ้น-ลงสถานีพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกและค้าวัสดุก่อสร้าง อาทิ ห้างสรรพสินค้า "บิ๊กซี" บางใหญ่ บริเวณสถานีบางใหญ่ซึ่งเป็นสถานีหลัก ดังนั้นการออกแบบจะรองรับผู้โดยสารจำนวนมากเพราะเป็นจุดชุมทาง เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบคมนาคมขนส่งอื่นๆ โดยห้างบิ๊กซีบางใหญ่ร้องเรียนว่า จุดขึ้น-ลงสถานีตามรูปแบบเดิมจะไปบังการ เข้า-ออกบริเวณหน้าร้าน ล่าสุดทาง รฟม.ได้พิจารณาปรับแนวก่อสร้างใหม่โดยเลื่อนจุดขึ้น-ลงไม่ให้บดบังฮวงจุ้ยทางเข้าห้าง ขณะเดียวกันมีการปรับขนาดสถานีเพื่อลดผลกระทบต่อห้างบิ๊กซี

ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง "แกรนด์โฮมมาร์ท" ทำเลตั้งอยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้า "เซ็นทรัลทาวน์" ถนนรัตนาธิเบศร์ ได้ขอให้ รฟม.ปรับรูปแบบจุดขึ้น-ลงสถานีใหม่ เนื่องจากแกรนด์โฮมมาร์ทประเมินแล้วพบว่าตนจะได้รับผลกระทบสำหรับโชว์รูมที่ทางร้านเพิ่งได้ลงทุนก่อสร้าง ภายหลังจากที่ได้เจรจาหารือร่วมกัน ทาง รฟม.ยอมปรับรูปแบบใหม่ รวมทั้งทางร้านแกรนด์โฮมมาร์ทได้ขอทำทางเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าด้วย

ประเด็นการขอทำทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากร้านแกรนด์โฮมมาร์ทแล้ว ทางห้างเซ็นทรัลทาวน์ รัตนาธิเบศร์ ได้ทำหนังสือขอทำทางเชื่อมระหว่างห้างกับสถานีรถไฟฟ้าด้วย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาเดินช็อปปิ้งในห้าง

นอกจากนี้ ยังมีรายอื่นๆ อีกตลอดแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง เช่น บริษัท ลือชาทิมเบอร์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดนำบุญชัย บริษัทนนทบุรีฮอนด้า คาร์ส บริษัท เรืองจรัส จำกัด เป็นต้น

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีม่วง พบว่าในอนาคตถ้าหากการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นตัวจุดประกายเศรษฐกิจในพื้นที่เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในตัวเมืองมาแล้ว โดยผู้ประกอบการที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ในเส้นทางแนวรถไฟฟ้าตลอดสายนี้จะได้รับอานิสงส์โดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการจัดสรร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโรงแรม อาทิ โครงการพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โครงการคอนโดมิเนียมเดอะฟิฟท์ เป็นต้น

รวมไปถึงผู้ประกอบการโรงแรม อาทิ โรงแรมริชมอนด์ และผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งและห้างสรรพสินค้า พบว่ามีห้างโลตัส เตาปูน ห้างบิ๊กซี วงศ์สว่าง ห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ ห้างโลตัส แคราย ศูนย์ราชการนนทบุรี ห้างบาธมอลล์ บิ๊กซีบางใหญ่ บางใหญ่บาซาร์ ห้างอินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ ห้างคาร์ฟูร์บางใหญ่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ประกอบการจะได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้า แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากการออกแบบและก่อสร้างจุดทางขึ้น-ลงสถานีโดยขอค่าชดเชยมาด้วย ประเด็นนี้ แหล่งข่าว รฟม.เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นอกจากจะมีเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเปล่าและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างขอให้ รฟม.ปรับจุดก่อสร้างสถานีใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินของตนเองแล้ว พบว่ายังมีบางรายที่ทำหนังสือขอให้ รฟม.ชดเชยค่าเสียหาย ได้แก่ บริษัท ภาวภัทร จำกัด ธุรกิจพัฒนาที่ดินของกลุ่มอุบลชาติ เจ้าของโครงการเดอะฟิฟท์คอนโดมิเนียม แจ้งมาว่าบริษัทได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าบริเวณสถานีแยกติวานนท์ ทำให้บริษัทต้องปรับลดพื้นที่ขายโครงการลง ดังนั้นจึงขอค่าชดเชย เป็นค่าเสียโอกาสในการขายเป็นจำนวนเงิน 19 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดเรื่องนี้อยู่"

"ขณะนี้ทางบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างปรับรูปแบบและแนวเส้นทางใหม่ ยังไม่ทราบว่าจะสามารถลดผลกระทบที่จะมีการเวนคืนได้มากน้อยแค่ไหน สาเหตุสำคัญที่ รฟม.ต้องการให้มีการปรับรูปแบบแนวเวนคืนใหม่ เนื่องจากต้องการลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่เพิ่มสูงถึง 2-3 เท่า จากเดิมประมาณการค่าเวนคืน 5,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 12,000 ล้านบาท ยังไม่ทราบว่าจะสามารถประหยัดค่าเวนคืนและค่าชดเชยได้มากน้อยแค่ไหน" แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ รฟม.ได้รับรายงานจากบริษัทที่ปรึกษาถึงผลการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลราคาซื้อขายที่ดินตามแนวสายทางโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า สีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร พบว่าราคาซื้อขายที่ดินบางจุดขยับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับราคาประเมินของ กรมธนารักษ์ ซึ่งจะส่งผลให้ รฟม.ต้องจ่าย ค่าเวนคืนแก่ชาวบ้านเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเช่นเดียวกัน โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ทางบริษัทที่ปรึกษารายงานการจัดเก็บข้อมูลใหม่ สรุปว่ามีที่ดินถูกเวนคืน 1,014 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 927 หลังคาเรือน คาดว่าใช้งบฯเวนคืนเพิ่มขึ้น จากเดิม 5,000 กว่าล้านบาท เป็น 11,425 ล้านบาท สาเหตุมาจากเจ้าของที่ดิน ทราบว่าจะมีโครงการรถไฟฟ้าผ่านจึงตั้งราคาขายที่ดินค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันมีกระแสเรียกร้องขอความเป็นธรรมโดยรัฐจ่าย ค่าเวนคืนในระดับที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดด้วย

อนึ่ง สถานีจำนวน 16 สถานีตลอดเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ประกอบด้วย 1)สถานีคลองไผ่ ผลการสำรวจมีที่ดินเวนคืน 5 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1.3 ไร่ 2)สถานีตลาดบางใหญ่ 7 แปลง เนื้อที่ 2.0 ไร่ 3)สถานีสามแยกบางใหญ่ 8 แปลง 3.0 ไร่ 4)สถานีบางพลู 13 แปลง เนื้อที่ 4.0 ไร่ 5)สถานีบางรักใหญ่ 13 แปลง เนื้อที่ 2.4 ไร่ 6)สถานีท่าอิฐ 11 แปลง 2.4 ไร่ 7)สถานีไทรม้า 7 แปลง 2.0 ไร่

8)สถานีสะพานพระนั่งเกล้า 33 แปลง 7.0 ไร่ 9)สถานีแยกนนทบุรี 1 ที่ดิน 13 แปลง เนื้อที่ 1.9 ไร่ 10)สถานีศรีพรสวรรค์ 15 แปลง 3.0 ไร่ 11)สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 10 แปลง 2.0 ไร่ 12)สถานีกระทรวงสาธารณสุข 16 แปลง 4.2 ไร่ 13)สถานีแยกติวานนท์ 27 แปลง 3.6 ไร่ 14)สถานีวงศ์สว่าง 20 แปลง 3.5 ไร่ 15)สถานีบางซ่อน 42 แปลง 3.0 ไร่ 16)สถานีเตาปูน 94 แปลง 5.2 ไร่
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news06/08/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

3 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโลวคอส - 7/8/2550
เปิดศึกกลางเวหาชิงเจ้าธุรกิจ


วัน ทู โก ย้ำชัดต่อสู้กับไทยแอร์เอเชีย 100% เพื่อศักดิ์ศรีคนไทย ดีเดย์ 15 ก.ย.นี้ขอส่วนแบ่งลูกค้าที่สุวรรณภูมิ ชิงแจ้งประกาศสิทธิและข้อคุ้มครองฯ ไม่ให้ผู้โดยสารถูกเอาเปรียบ ด้าน ไทยแอร์เอเชีย ไม่สนใจคู่แข่งเดินหน้ารุกตลาดตามแผน ขณะที่ นกแอร์ปลื้ม 3 บาททำยอดกระฉูด เดือน ต.ค.นี้แตรียมเปิด 2 เส้นทางในประเทศ

การแข่งขันของธุรกิจการบินในประเทศไทยขณะนี้ นับวันจะเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลวคอสแอร์ไลน์ ที่ล่าสุดสายการบิน วัน ทู โก ก็ออกมาประกาศเจตนารมย์ชัดเจนแล้วว่าจะเป็นคู่แข่งกับสายการบินไทยแอร์เอเชียในทุกเส้นทาง ส่งผลให้แต่ละสายการบินต้องเร่งงัดกลยุทธ์ทั้งด้านราคา การบริการและการจัดโปรโมชั่นต่างๆ มาสู้กันอย่างดุเดือด เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้โดยสาร

นายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานกรรมการบริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด และบริษัท วัน ทู โก แอร์ไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินราคาประหยัด วัน ทู โก เปิดเผยว่า บริษัทจะขยายเส้นทางการบินเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2550 เป็นต้นไป บริษัทจะกลับไปเปิดเส้นทางบินภายในประเทศที่สนามบินสุวรรณภูมิใน 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ รวมวันละ 10 เที่ยวบิน

การกลับไปเปิดเที่ยวบินเพิ่มที่สุวรรณภูมิ เนื่องจากต้องการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ต้องการต่อเครื่องไปต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังเป็นการแก้เกมไม่ให้สายการบินไทยแอร์เอเชีย ยึดหัวหาดเส้นทางในประเทศที่สุวรรณภูมิเพียงรายเดียว ซึ่งเราขอประกาศย้ำว่าเราจะต่อสู้กับสายการบินไทยแอร์เอเชีย 100% เพราะเป็นเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจ และศักดิ์ศรีของคนไทย

นอกจากนี้เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจของสายการบิน วัน ทู โก ที่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง จึงได้ออกประกาศสิทธิ และข้อคุ้มครอง แก่ผู้โดยสารสายการบิน วัน ทู โก เพื่อประกาศให้ผู้โดยสารทราบถึงสิทธิที่พึงจะได้รับ เนื่องจากในปัจจุบันสายการบินโลวคอสมักจะเสนอราคาเกินจริง โดยราคาที่ระบุไม่ตรงกับราคาขาย ไม่มีการชี้แจงเงื่อนไขที่ชัดเจน ทำให้ผู้โดยสารเข้าใจผิด และถือเป็นการเอาเปรียบผู้โดยสาร

สิทธิที่ผู้โดยสารมักจะไม่ทราบคือ กรณีที่ตั๋วโดยสารหมดอายุ ท่านมีสิทธิ์ที่จะขอคืนเงินค่าภาษีสนามบินที่ได้ชำระแล้วภายในระยะเวลา 14 วัน เนื่องจากค่าภาษีสนามบินจะเรียกเก็บต่อเมื่อท่านได้เดินทางแล้ว ดังนั้นเมื่อยังไม่ได้เดินทาง ก็มีสิทธิ์ได้เงินคืน ซึ่งในปัจจุบันสายการบินส่วนใหญ่มักจะไม่คืน เพื่อนำมาเป็นรายได้ของตนเอง โดยที่ผู้โดยสารก็ไม่ทราบ

ขณะเดียวกันสายการบินวัน ทู โก ยังเอาใจลูกค้าด้วยการเปิดช่องทางการจำหน่ายบัตรโดยสาร วัน ทู โก ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-pay เพื่อให้ขั้นตอนในการซื้อบัตรโดยสารเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามร้านค้าชั้นนำที่มีสัญลักษณ์ e-pay กว่า 3,000 สาขาทั่วไทย ทั้งนี้ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.fly12go.com หรือสอบถามช่องทางการจัดจำหน่ายได้ที่โทร.0-2649-9000 ต่อ 0

ด้านนายทัศพล แบเรเวลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า แม้จะมีสายการบินอื่นมาประกาศต่อสู้กับเรา แต่บริษัทของเราก็จะไม่ไปสู้กับใคร ยังคงเดินหน้าปกติตามกรอบที่เราได้วางไว้ โดยจะเน้นราคาที่ประหยัด และเน้นเส้นทางบินในต่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้การแข่งขันถือว่าเป็นเรื่องของการตลาดเก่าๆ ซึ่งเราก็เจอมาตั้งแต่เปิดตัววันแรกแล้ว

ทั้งนี้ไทยแอร์เอเชียได้เปิดเส้นทางบินใหม่อีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ซึ่งได้เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา และกรุงเทพฯ-ขอนแก่น จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2550 โดยเปิดบริการทุกวัน เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 2 จังหวัดดังกล่าว มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี รวมทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความต้องการเดินทางด้วยเครื่องบินสูงมาก
นอกจากนี้จะออกโปรโมชั่นพิเศษสำหรับการเปิดเส้นทางบินใหม่ในราคาเริ่มต้นที่ 199 บาท ซึ่งตั้งเป้าว่าในช่วงแรกของการเปิดบริการ จะมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร 80% ต่อเที่ยวบิน และคาดว่าในปี 2550 จะมีผู้โดยสารรวมประมาณ 4.2 ล้านคน ขณะเดียวกันในปี 2551-2552 บริษัทจะขยายตลาดการบินไปยังประเทศจีน เพิ่มอีก 4-5 เมือง โดยใช้สนามบินสุวรรณภูมิเพียงสนามบินเดียว และมีแผนว่าอีก 3 ปี ข้างหน้า บริษัทจะกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย

ขณะที่นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ เปิดเผยว่า การแข่งขันธุรกิจการบินในเมืองไทยในอนาคคตคงสนุกขึ้น แต่สายการบินนกแอร์ไม่ได้คำนึงถึงคู่แข่งมากนัก เพราะเราคิดอยู่เสมอว่าคู่แข่งของเราก็คือตัวเราเอง ดังนั้นจึงต้องพัฒนาสายการบินให้ดีอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการจัดโปรโมชั่นใหม่ๆ ของบริษัทในขณะนี้คงยังไม่เกิดขึ้น เพราะหลังจากที่จัดโปรโมชั่นราคา 3 บาท ในโอกาสฉลองครบรอบ 3 ปีนั้น ส่งผลทำให้ยอดขายถล่มทลายมาก ดังนั้นจึงขอพักไปก่อน

ส่วนเส้นทางบินใหม่ภายในประเทศที่จะเปิดเพิ่มขึ้นนั้น ในเดือนตุลาคม 2550 จะเปิด 2 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ-เชียงราย ทุกวันๆ ละ 3 เที่ยวบิน เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวบริษัทต้องการขยายมานานแล้ว และขณะนี้มีเครื่องบินเพียงพอแล้ว โดยกำลังจะเข้ามาอีก 4 ลำ ซึ่งลำแรกจะมาถึงในเดือนกันยายนนี้

สำหรับในภาคใต้ ขณะนี้เราเปิดหมดแล้ว เหลือเพียงแต่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งในเส้นทางนี้เรามีความพร้อมนานแล้ว เพียงแต่กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ยังไม่อนุมัติ เนื่องจากติดกฎระเบียบของขอ. ที่ไม่ต้องการให้มีสายการบินที่ไปลง จ.สุราษฎร์ธานีเกิน 3 สายการบิน อย่างไรก็ตามในเรื่องการเปิดเส้นทางใหม่นั้น สายการบินนกแอร์มีความตั้งใจที่จะเปิดให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งหลังจากนี้ก็จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179040
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/08/07

โพสต์ที่ 29

โพสต์

แกะรอยกองเรือแห่งชาติ - 7/8/2550
แกะรอยกองเรือแห่งชาติ
ชิงเค้กค่าระว่าง3แสนล้าน


นโยบายจากภาครัฐต้องการให้บริหารกองเรือเป็นการดำเนินการโดยภาคเอกชน เนื่องจากหากบริษัท เดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) และภาครัฐดำเนินธุรกิจเองก็จะทำให้ภาครัฐกลายเป็นคู่แข่งกับภาครเอกชน ซึ่งไม่เกิดการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง

อีกทั้งบทด.ยังมีประวัติมาแล้วว่าไม่สามารถมีสายการเดินเรือแห่งชาติได้โดยลำพัง ดังจะเห็นได้จากการที่บทด.ไม่มีเรือเป็นของตนเองมาตั้งแต่ปี 2529 แม้ว่าจะได้มีความพยายามเช่าเรือมาประกอบการเองในปี 2547 ที่ผ่านมา แต่ก็ต้องหยุดการดำเนินธุรกิจดังกล่าวในที่สุด เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน
จึงได้มีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างภาครัฐต่อเอกชนเป็นร้อยละ 30:70 เท่ากับสัดส่วนที่เคยอนุมัติมาตั้งแต่เมื่อครั้งมีการประชุมคณะอนุกรรมการแปรรูปบทด.ในปี 2540 รวมถึงจากมติครม.ของรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยมีการเสนอให้เอกชนต่งชาติเข้ามาถือหุ้นในบทด.ได้ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีความต้องการให้ผู้ร่วมทุนเป็นคนไทยเท่านั้น เพื่อให้กองเรือที่เกิดขึ้นเป็นกองเรือพาณิชย์ไทยที่แท้จริง เพื่อให้แน่ใจว่าเม็ดเงินที่จะได้รับจากกองเรือนี้จะกลับคืนข้าประเทศ เพื่อจะช่วยลดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศจากการที่ไทยต้องเสียค่าระวางให้แก่เรือต่างชาติกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปีได้จริงๆ จึงได้เชิญกลุ่มบริษัทเดินเรือที่เป็นสมาชิกของสมาคมเจ้าของเรือไทย (สจท.) เข้าร่วมทุน
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมารัฐเป็นผู้เชิญชวนสจท.ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกิจการกับบทด.ทุกครั้ง ซึ่งสจท.มีไดเรียกร้องแต่อย่างใด ขณะที่น่าแปลกใจมีในบางช่วงที่รัฐบาลกลับเชิญต่างชาติให้เข้ามาร่วมทุนแทนที่จะป็นคนไทย...!!!
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกครั้งของสจท.ในการหาผู้สนใจเข้าร่วมกิจการคือ สมาชิกสจท.ทั้งหมดจะแสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมกิจการด้วยทุกครั้ง แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายชำระเงินเพื่อร่วมทุน แต่ละบริษัทกลับไม่จ่ายชำระเงิน ทำให้สจท.ไม่สามารถร่วมกิจการกับบทด.ได้เป็นผลสำเร็จ

ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตก่อนการเข้ามาร่วมกิจการในครั้งนี้ สจท.กำหนดได้หารือกันและขอให้สมาชิกที่สนใจร่วมทุนจ่ายชำระเงินจำนวนหนึ่งตามที่กำหนดไว้ เพื่อยืนยันความประสงค์และความตั้งใจจริงก่อน ซึ่งหากสมาชิกรายใดเกิดเปลี่ยนใจไม่ต้องการร่วมทุนในภายหลังจะไม่สามารถขอคนเงินดังกล่าวได้ และจะต้องยกให้สจท.ด้วย

ต่อมาปรากฏว่ามีสมาชิกสจท.จากทั้งหมด 44 ราย มี 23 รายแสดงความจำนงค์จ่ายชำระเงินขั้นต้นให้กับสจท.เพื่อเป็นหลักประกันมีเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมกิจการกับภาครัฐจริงๆ
ส่วนสมาชิกที่เหลือไม่เข้าร่วมทุนนั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและไม่พร้อมจะร่วมลงทุน กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ไม่สนใจ หรือสัดส่วนที่ถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนไม่จูงใจเพียงพอในทางธุรกิจที่จะเข้าร่วมทุน

นอกจากนี้ สาเหตุที่บทด.จะต้องหาผู้ร่วมทุนเป็นผู้ประกอบการเดินเรือในภาคเอกชนจำนวนหลายรายยังเกิดจากในการที่จะมีกองเรือทะเลขนาดใหญ่เป็นของตนเองได้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่มีเงินทุนก็ทำธุรกิจเดินเรือได้ แต่ต้องอาศัยผู้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านธุรกิจเดินเรือด้วย เช่นเดียวกับธุรกิจการบิน หรือการผลิตปูนซิเมนต์ที่ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์เฉพาะด้านในการดำเนินธุริจทั้งสิ้น

จากการที่บริษัทร่วมทุนมีแผนที่จะทำธุรกิจเรือหลากหลายประเภททั้งเป็นเรือ Tanker เรือ Container และเรือ Bulk นั้นจะช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ผู้ร่วมทุนทั้งหลายด้วย โดยหากผู้ร่วมทุนแต่ละรายไปทำธุรกิจเดินเรือทุกปรเภทเองก็คงเป็นไปได้ยากมาก เพราะเรือแต่ละประเภทต้องอาศัยความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน

ดังนั้นสมาชิกสจท.ทั้ง 23 รายถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 3.04 ต่อราย โดยแบ่งตามประภทการประกอบธุรกิจพาณิชยนาวี ดังนี้

ธุรกิจเรือ Tanker จำนวน 14 ราย คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นรวมเท่ากับร้อยละ 42.61 ธุรกิจเรือ Container จำนวน 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นรวมเท่ากับร้อยละ 6.09 ธุรกิจ Bulk จำนวน 4 ราย คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นรวมเท่ากับร้อยละ 12.17 และธุรกิจพาณิชยนาวีอื่นๆ เช่น ต่อเรือ ซ่อมเรือ และท่าเรือ เป็นต้น จำนวน 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นรวมเท่ากับร้อยละ 9.13
จากสัดส่วนการถือหุ้นข้างต้นจะเห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจเรือ Tanker จะถือหุ้นรวมกันในบริษัทร่วมทุนในสัดส่วนที่สูงสุด ร้อยละ 42.61 เพราะสมาชิกของสจท.ทั้งหมด 44 รายประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจเรือ Tanker มากสุด โดยผู้ประกอบการธุรกิจ Tanker แต่ละรายจะมีขนาดไม่ใหญ่ และไม่มีรายใดที่มีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ที่สามารถบรรทุกน้ำมันจากตะวันออกกลางได้

ในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจเรือ Bulk หรือ Container จะมีขนาดกลางจนถึงใหญ่ และมีการทำธุรกิจไปทั่วโลกอย่างกว้างขวาง จึงเป็นเหตุให้โครงการร่วมทุนเพื่อกองเรือพาณิชยนาวีแห่งชาตินี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบธุรกิจ Tanker เพราะสามารถเป็นการร่วมกันกับภาครัฐในการที่จะขยายกองเรือ Tanker ที่เป็นเรือขนน้ำมันขนาดใหญ่ เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งน้ำมันของประเทศไทย

 ส่วนผู้ประกอบการธุรกิจเรือ Bulk และ Container ที่มีขนาดปานกลางและขนาดใหญ่ไม่ได้รับความสนใจในการร่วมทุนมากนัก เนื่องจากการขยายกองเรือในกิจการของตนเองสามารถทำได้สะดวกกว่า และสามารถซื้อเรือที่ชักธงต่างประเทศอันจะได้รับข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันมากกว่ามาร่วมลงทุนในบริษัทร่วมทุน
ที่กล่าวมาจึงเป็นบันไดสู่ความสำเร็จทำให้ประเทศไทยมีกองเรือแห่งชาติ เพื่อช่วงชิงค่าขนส่งทางทะเลที่เมืองไทยสูญเสียให้เรือต่างชาติกว่า 3 แสนล้านต่อปี
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179039
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news08/08/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

รถไฟฟ้าสีม่วงคืบ คาดรัฐลงทุนเอง ยื่นบอร์ดเดือนส.ค.

โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 03:17 น.

รฟม.เผยผลศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง-น้ำเงิน เตรียมเสนอบอร์ดในเดือนนี้ คาดรัฐบาลลงทุนทั้งหมดและจ้างเอกชนเดินรถ
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะชี้แจงผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคต่อคณะกรรมการ รฟม.ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยรูปแบบลงทุนที่เหมาะสมในเบื้องต้น รฟม.จะเสนอการลงทุนทุกรูปแบบ เช่น รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า หรือรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 100% จ้างเอกชนเดินรถ

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รฟม.น่าจะเสนอรูปแบบการร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยให้รัฐบาลลงทุน 100% และจ้างเอกชนเดินรถ เพื่อสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น อาจเลือกรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนระบบรถไฟฟ้า เหมือนรถไฟฟ้าใต้ดิน

ขณะที่ นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทพร้อมเข้าประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายและมั่นใจว่าโครงการรถไฟฟ้าทั้งของ รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเปิดประมูลได้ในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน และหากรัฐกำหนดว่าบริษัทไทยสามารถเข้าร่วมประกวดราคาได้ โดยไม่ต้องมีพันธมิตรต่างชาติเข้าร่วม ช.การช่างก็มีความพร้อม
http://news.sanook.com/economic/economic_166491.php
โพสต์โพสต์