เกษตรกรบ้านเรา !!!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

เกษตรกรบ้านเรา !!!!

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ศึกหนักปศุสัตว์ ปี"50 ราคาดิ่งเหว... ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด

แม้ย่างเข้าสู่ปีใหม่ 2550 แล้ว แต่ความบอบช้ำของเกษตรกรในภาคการผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่ต้องเผชิญมาตลอดช่วงปี 2549 ยังคงบาดแผลเรื้อรังมิทันจางหาย และก็ดูทีท่าว่าจะต้อง เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตที่จะถล่มเข้ามาอีกระลอกในช่วงไตรมาส 1 ปี 2550 ทันที

โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคปศุสัตว์ที่ต้องเผชิญปัญหาอย่างหนัก เริ่มจากผลพวงจากภาวะผลผลิตล้นตลาดของไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกรต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 ทำให้ส่งผลต่อเนื่องถึง ทิศทางราคาสินค้าปศุสัตว์ในปี 2550 ให้อยู่ในภาวะดิ่งหัวลง อีกทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่ตามมาระลอกแล้วระลอกเล่า

ขณะที่ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นต่อเนื่องจนขึ้นไปแตะระดับสูงสุดประมาณ 35.12 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2549 ทำให้ภาคการส่งออกสินค้าเกษตรที่จะขายล่วงหน้าในช่วงไตรมาส 1 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2550 ถึงจุดชะงักงัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหลัก เช่น ข้าว กุ้งและไก่ไม่สามารถส่งไปขายแข่งกับประเทศอื่นได้ เพราะค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นกว่าเงินสกุลอื่นถึงกว่า ร้อยละ 12-14

การส่งออกกุ้ง นอกจากจะต้องเผชิญกับ ค่าบาทที่แข็งขึ้นในช่วงสุดท้ายของไตรมาส 4 ปี 2549 แล้ว ยังถูกกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ส่งผลให้ บริษัทผู้ส่งออกกุ้งส่วนใหญ่ต้องยอมประนีประนอมกับผู้ฟ้อง กลุ่มพันธมิตรชาวประมงกุ้งภาคใต้ 8 มลรัฐ (The Southern Shrimp Alliance หรือ SSA) ด้วยการจ่ายเงินพิเศษ เพื่อขอคงอัตราภาษี AD ไว้ที่ร้อยละ 5.79-6.82% ต่อไปอีก 1 ปี

ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ราคากุ้งขาวแวนนาไมด์ ณ ตลาดทะเลไทย ได้ปรับตัวลดลงมาอย่าง ต่อเนื่อง จาก 159.48 บาท/50 ตัว /ก.ก. ในเดือนมกราคม-มิถุนายน หล่นลงมาเหลือ 120-130 บาท/50 ตัว/ก.ก. ในเดือนธันวาคม ในขณะที่ราคากุ้งกุลาดำต้นปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 200 บาท/50 ตัว/ก.ก. ปัจจุบันราคาเหลืออยู่ประมาณ 130-135 บาท/50 ตัว/ก.ก.เท่านั้น

จน สมาคมกุ้งไทยได้คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกกุ้งในปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 20 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกกุ้งได้ 340,000 ตัน ในด้านราคาคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน อาจจะมากกว่ามูลค่าการส่งออกในปีนี้ที่ 80,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักในการส่งออกยังคงเป็นตลาดสหรัฐ-สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทั้งนี้การผลิตกุ้งในปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 550,000 ตัน โดยมีสัดส่วนกุ้งขาวแวนนาไมด์ร้อยละ 98 หรือ 509,600 ตัน กุ้งกุลาดำร้อยละ 2 หรือปริมาณ 10,400 ตัน และกุ้งก้ามกรามประมาณ 10,000 ตัน

ส่งออกไก่แย่ ถูกอียูใช้โควตาภาษี

ด้านการส่งออกไก่เนื้อ ภายใต้สถานการณ์ไข้หวัดนกที่ยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ปรากฏผู้ส่งออกไก่ปรุงสุกไทยต้องถูก สหภาพยุโรป "จำกัด" ปริมาณการนำเข้าด้วยการนำระบบ โควตาภาษีมาใช้ มีผลเดือนมีนาคม 2550 โดยกำหนดโควตา ไก่หมักเกลือให้ฝ่ายไทยจำนวน 92,610 ตัน จากโควตารวมที่ให้ทั้งหมด 264,245 ตัน มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 15.4 ภาษีนอกโควตา 1,300 EU/ตัน กับโควตาไก่ปรุงสุกให้ฝ่ายไทย 160,033 ตัน จากโควตารวมทั้งหมด 250,953 ตัน มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 8 ภาษีนอกโควตา 1,024 EU/ตัน

ในขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักรองลงมาจากสหภาพยุโรป ก็ปฏิเสธที่จะเพิ่มการรับรองโรงงานไก่แปรรูปของไทย จากปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมด 54 โรงงาน ทั้งๆ ที่ฝ่ายไทยมีการเปิดโรงงานไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 6 โรงงาน ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปไปยัง ตลาดญี่ปุ่น เพื่อทดแทนตลาดสหภาพยุโรปได้ และเมื่อสถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ดูตีบตันเช่นนี้ ผลผลิตเนื้อไก่ที่เหลือจึงถูกทุ่มลงมาตลาดภายในประเทศทันที

โดย นายสัตวแพทย์ไชยศักดิ์ บุญประสพธนโชติ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ กล่าวถึงการเลี้ยงไก่ตลอดปี 2549 และทิศทางการเลี้ยงและการส่งออกไก่เนื้อปี 2550 ว่า จากปริมาณผลผลิตไก่ออกสู่ตลาด 16-17 ล้านตัวต่อสัปดาห์ ในขณะนี้ถือเป็นปริมาณที่มากเกินความต้องการ เห็นได้จากราคาไก่ใหญ่ซึ่งปกติช่วงเทศกาลปีใหม่มีการบริโภคมาก ราคาไก่เป็นหน้าฟาร์มน่าจะประมาณ 32 บาท/กิโลกรัม แต่ปัจจุบันราคาลงมาประมาณ 28-29 บาท/กิโลกรัม แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณไก่เนื้อล้นอยู่ในตลาดมาก ประกอบกับสต๊อกที่ยังเหลืออยู่คาดว่า จะไม่ต่ำกว่า 60,000-70,000 ตัน ถ้าจะให้ปริมาณที่พอดีและไม่ส่งผลกระทบต่อราคาให้ทุกคนอยู่ได้ น่าจะปรับลดให้เหลือประมาณ 13 ล้านตัว/สัปดาห์

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ดิ้น แก้ปัญหาไข่ล้นตลาด

ขณะที่ทางกลุ่มบริษัทผู้ผลิตลูกไก่และผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ประชุมมีการวิเคราะห์สถานการณ์การเลี้ยงไก่ไข่ในรอบปี 2549 ที่ผ่านมาปรากฏราคาขายเฉลี่ยตลอดปี "ต่ำกว่า" ต้นทุน และหากสถานการณ์ราคาข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักปรับตัวสูงขึ้นถึง 7 บาทกว่าต่อกิโลกรัมขนาดนี้แล้ว ก็จะยิ่งส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงมาก

โดยปัจจุบันราคาไข่คละหน้าฟาร์มราคาประมาณ 1.70 บาท/ฟอง ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 1.90-2 บาท/ฟอง ขณะที่ ปริมาณไข่ไก่ในประเทศยังมากเกินความต้อง การในการบริโภคอยู่อีกประมาณ 2 ล้านฟอง จากปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 27 ล้านฟอง/วัน แต่ความต้องการในการบริโภคมีประมาณ 25 ล้านฟอง/วัน ดังนั้นหากปี 2550 ยังคงมีปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มขึ้นและการผลิตไข่ไก่ยังออกสู่ตลาดเท่าเดิม ราคาไข่ไก่คงไม่สามารถขยับขึ้นได้ ที่ประชุมจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดปริมาณการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์/พ่อแม่พันธุ์ (G.P./P.S.) ลงจากปี 2549 ที่นำเข้า 420,000 ตัว จะต้องปรับลดไปประมาณ ร้อยละ 5-10 จึงจะแก้ปัญหาได้

หมูเกิดสงครามข่าวลือ ราคาดิ่งไม่หยุด

สถานการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มปัจจุบันได้ปรับลงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 36-38 บาท/ก.ก. จากเดิมที่ 44-45 บาท/ก.ก.ซึ่งถือเป็นการปรับลงในภาวะที่ค่อนข้าง "ผิดปกติ" เนื่องจากราคาปรับลงเร็วมาก แต่คนเลี้ยงยังมีหมูให้จับขายได้ ในปี 2550 มีแนวโน้มว่าปริมาณหมูจะออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะหมูจากฟาร์มขนาดใหญ่ ทำให้การแข่งขันยิ่งรุนแรงขึ้นถึงขั้นที่หลายคนวิเคราะห์ว่า

อนาคตการเลี้ยงหมูจะเหมือนการเลี้ยงไก่ มีเฉพาะผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้นที่แข่งขันและอยู่รอดได้ และจะมีการ "จับมือ" กันทำตลาด ส่วนผู้เลี้ยงรายกลาง/รายเล็กที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะค่อยๆ หายไปจากวงการ

http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... 2007/01/01
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

เกษตรกรบ้านเรา !!!!

โพสต์ที่ 2

โพสต์

จับตาราคาข้าวโพดปี"50 วิ่งไม่หยุดมีสิทธิแตะ 8 บาท/ก.ก.

ข้าวโพดถือเป็นพืชที่เป็นส่วนประกอบหลักในอาหารสัตว์ถึงร้อยละ 60 ดังนั้นหากราคาข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญมีราคาแพง จะส่งผลต่อต้นทุนราคาอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์โดยรวมให้สูงขึ้นไปเป็นเงาตามตัว หากเทียบราคาข้าวโพดที่ปรับขึ้น 1 บาท มีผลต่อต้นทุนอาหารสัตว์มาก หรือเปรียบเทียบกับการเลี้ยงไก่เนื้อที่อัตราแลกเนื้อ 2 : 1 อาหารไก่ 1 กิโลกรัม จะมีส่วนผสมของข้าวโพดร้อยละ 50 ถ้าเลี้ยงไก่ให้ได้น้ำหนัก 2 กิโลกรัมจะต้องใช้ข้าวโพด 1 กิโลกรัม เท่ากับราคาอาหารสัตว์ต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 1 บาท

ขณะที่สถานการณ์ ราคาข้าวโพดในปัจจุบันได้ปรับตัวขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 7 บาทกว่า และมีแนวโน้มเขยิบเข้าไปใกล้ 8 บาท ทุกขณะ กว่าที่ข้าวโพดฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาดระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550-มิถุนายน 2551 ไม่มีใครคาดคะเนได้ว่า วันนั้นราคาข้าวโพดจะวิ่งขึ้นไปถึงที่ระดับใด

แต่ที่แน่นอนวันนี้ผู้ประกอบการอาหารสัตว์สำเร็จรูปต่างเตรียมที่จะทยอยปรับราคาอาหารสัตว์ขึ้นไปรอแล้วในระดับเพดานที่ภาครัฐกำหนด พร้อมกับระบุชัดว่า หากราคาข้าวโพดพุ่งทะลุ 7.50 บาท/ก.ก. สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ก็พร้อมที่จะยื่นหนังสือถึงกรมการค้าภายใน ขอปรับราคาอาหารสัตว์ขึ้นอีกทันที

ปกติราคาข้าวโพดของไทยจะอิงกับราคาตลาดโลกเสมอ วันนี้สาเหตุที่ทำให้ราคาข้าวโพดในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สหรัฐนำข้าวโพดไปผลิตเอทานอล กับ นักเก็งกำไรจากราคาทองคำ/น้ำมัน หันเข้ามาเล่นเก็งกำไรข้าวโพดกันมากขึ้น ทำให้ราคาข้าวโพดปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ประเทศออสเตรเลีย ประสบภาวะแห้งแล้ง ทำให้ข้าวสาลีมีผลผลิตลดลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณผลผลิตรวม ส่งผลให้ราคาพืชไร่ทั่วโลกปรับตัวขึ้นตามไปด้วย ปกติถ้าพืชไร่ตัวใดประสบปัญหาก็จะฉุดราคาพืชไร่ตัวอื่นขึ้นตามกันไปด้วย

ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลให้ราคาวิ่งขึ้นเร็วกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้เช่นกัน เพราะ 1)พ่อค้าข้าวโพดในประเทศเองเมื่อเห็นทิศทางราคาในช่วงขาขึ้นก็แย่งกันซื้อ รวมทั้งมีการแย่งกันซื้อข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและกัมพูชาที่ประเทศไทยไปส่งเสริมการปลูกไว้

2)ปริมาณผลผลิตข้าวโพดในปี 2549 ที่คาดว่าจะมีประมาณ 3.65 ล้านตัน ได้ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อย ซึ่งมีราคาดีจากการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันเช่นกัน ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดลดลง ประกอบกับภาวะ น้ำท่วมส่งผลต่อผลผลิตข้าวโพดบางส่วน

3)ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2549 มีการส่งออกข้าวโพดไปต่างประเทศประมาณ 127,270 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 729.30 ล้านบาท สูงกว่าปีที่ผ่านมากว่าเท่าตัว

2550 ปีทองข้าวไทย

ในการประชุมข้าวโลก (global rice conference) เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่ประเทศเวียดนาม ผู้ส่งออกและเทรดเดอร์ค้าข้าวจากทั่วโลกได้กล่าวถึงทิศทางราคาข้าวโลกต่อจากนี้ไปจนถึงปี 2550 ว่า มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นมากจาก 3 สาเหตุหลักได้แก่ ทั้งประเทศผู้ส่งออก/นำเข้าต่างประสบปัญหาภัยธรรมชาติ พื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลกลดลง สต๊อกพืชพันธุ์ธัญญาหารทุกประเภท "ต่ำที่สุด" เป็นประวัติการณ์ ทั้งข้าว-ข้าวโพด จึงถือเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะระบายข้าวในสต๊อกประมาณ 2.8 ล้านตันออกมา

โดยในปี 2550 มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยอาจจะสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 10 ล้านตัน จากที่ประมาณการเบื้องต้นไว้ที่ 8.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณกว่า 100,000 ล้านบาท เทียบกับปี 2549 คาดว่าจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 94,000 ล้านบาท

โดยประเทศที่ต้องการนำเข้าข้าว ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ปกตินำเข้า 1.6 ล้านตัน คาดว่าปี 2550 ต้องการประมาณ 2 ล้านตัน อินโดนีเซียปีนี้นำเข้า 900,000 ตัน ปี 2550 ต้องการ 1 ล้านกว่าตัน อิรักคาดว่าจะนำเข้ามากขึ้น 1.4-1.5 ล้านตัน, อิหร่านปกติซื้อประมาณ 1.1 ล้านตัน และไนจีเรียคาดว่าปี 2550 จะนำเข้าข้าวมากขึ้น

ที่สำคัญก็คือ การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ของรัฐบาลไทย อย่างกรณีล่าสุดรัฐบาลไทยได้ตกลงขายข้าวขาวชนิด 100% ชั้น 2 ในฤดูกาลผลิต 2549/2550 ให้รัฐบาลอิหร่านปริมาณ 200,000 ตัน ราคาตันละ 320 เหรียญสหรัฐ รวมมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,300 ล้านบาท คิดอัตราแลกเปลี่ยน 36 บาท/เหรียญสหรัฐ) สูงกว่าราคาตลาด ณ วันที่ตกลงขายที่ตันละ 317 เหรียญสหรัฐ โดยชำระเป็นเงินสด และกำหนดส่งมอบระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ค. 2550

ผลของการที่รัฐบาลสามารถขายข้าวในลักษณะ G to G ให้กับรัฐบาลอิหร่าน ประกอบกับค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนตัวลงบ้าง ได้ส่งผลมีผู้นำเข้าจากต่างประเทศหันมาซื้อข้าวจากประเทศไทย ผลพวงดังกล่าวได้ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดเริ่มขยับขึ้นทันที

จึงนับเป็นแนวโน้มของตลาดข้าวไทยและโอกาสที่จะระบายข้าวในสต๊อกที่เหลือทั้งหมดเพื่อยุติปัญหาทั้งหลายทั้งมวลระหว่างโรงสี ผู้ส่งออกกับหน่วยงานของภาครัฐ

ยางพาราระวังเฮดจ์ฟันด์เก็งกำไร

ยางพาราได้กลายเป็นสินค้าเกษตรที่โดดเด่นสุดในช่วงปี 2547-2548 จากราคายางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางหาดใหญ่ จ.สงขลา ที่เคยปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 100 บาท/ก.ก. แต่ในปัจจุบันราคากลับหล่นลงมาเหลือเพียงเฉลี่ย ก.ก.ละ 55-70 บาท จากเหตุผลโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางหลายแห่งได้ชะลอการผลิตหรือปิดกิจการลงหลังประสบปัญหาขาดทุนจากราคายางพาราปรับตัวสูงในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้สัดส่วนความต้องการใช้ยางภายในประเทศน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา

ประกอบกับมีผลผลิตยางเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประเทศผู้ซื้อยางจึงชะลอการสั่งซื้อเพื่อรอดูภาวะราคายางก่อนตัดสินใจซื้อ ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกยางของไทยต่างประสบปัญหาขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้พ่อค้ารับซื้อยางใช้เป็นข้ออ้างในการกดราคารับซื้อยางในประเทศ

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังพอใจกับราคายางที่ได้รับ เพราะปี 2548 ราคายางแผ่นดิบโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 55.19 บาท/ก.ก. ขณะที่ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยปี 2549 ไม่ต่ำกว่า 75 บาท/ก.ก. ส่วนปี 2550 ตลาดยางพารามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น คาดว่า ภาวะราคายางพาราโดยเฉลี่ยในปีหน้าไม่น่าต่ำกว่า 55-60 บาท/ก.ก. โดยมีปัจจัยลบที่น่าจับตามองคือ ภัยแล้งจากปัญหาเอลนิโญเริ่มส่งสัญญาณขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี 2549 ที่ผ่านมา อาจทำให้ผลผลิตยางพาราในปีหน้ามีแนวโน้มลดลง ขณะที่ประเทศผู้ซื้อยางพารารายใหญ่ของโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ยังมีปริมาณความต้องการใช้ยางเพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์จะหันกลับมาเก็งกำไรในตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าอีกครั้งในปีหน้า อาจทำให้ภาวะราคายางอาจจะดีดตัวสูงไม่ต่ำกว่า 100 บาท/ก.ก. อย่างไรก็ตาม บริษัทร่วมทุนยางพารา 3 ประเทศ พยายามเฝ้าระวังสถานการณ์ราคายางพาราในปีหน้าอย่างใกล้ชิด

http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... 2007/01/01
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

เกษตรกรบ้านเรา !!!!

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ท่าน LOSO หันไปเล่น AFET เหรอครับ  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

เกษตรกรบ้านเรา !!!!

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ป่าวครับ ...................

วิทยายุทธไม่แข็งพอ .....................

ทางสายนี้ .......................

นอกจากขึ้นกับตลาดโลก ..........................

ยังขึ้นกับเทวดาด้วยยยยยยยยยยยยยยยยย .........................
พลพล คนกันเอง
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

เกษตรกรบ้านเรา !!!!

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คนที่คิดจะลงทุนหุ้นกลุ่มเกษตรบางตัว หรือคนที่ลงทุนไปแล้ว .......

พิจารณาดูดีดีครับ ...................
โพสต์โพสต์